by Sawittri Kaewkhiaw
Group Blog
 
 
เมษายน 2553
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
7 เมษายน 2553
 
All Blogs
 

การบัญชีบริหาร (Managerial Accounting)

การบัญชีบริหาร (Managerial Accounting)

เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการนำข้อมูลทางการบัญชีมาเพื่อใช้ประโยชน์ภายในองค์กร โดยเฉพาะเพื่อเป็นข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจ วางแผน การควบคุมและการประเมินผลของฝ่ายบริหาร บัญชีบริหารจะเป็นข้อมูลที่มีรายละเอียดเชิงลึกซึ่งมีข้อมูลที่มากกว่าที่ปรากฏอยู่ในงบการเงิน (หรือที่เรามักเรียกกันว่า การบัญชีการเงิน) บัญชีบริหารจะเกี่ยวข้องกับหน่วยงานในระดับต่างๆขององค์กร เป็นข้อมูลที่เป็นความลับเฉพาะฝ่ายบริหารและระดับหัวหน้าหน่วยงานในองค์กร และไม่เปิดเผยแก่บุคคลภายนอกหรือต่อสาธารณะ การบัญชีบริหาร ปัจจุบันเป็นวิชาชีพด้านหนึ่งในด้านต่างๆ ตามที่ระบุอยู่ในพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗ และในสภาวิชาชีพบัญชี

การบัญชีการเงินนั้นเน้นเสนอข้อมูลเกี่ยวกับงบการเงิน (ซึ่งได้แก่ งบดุล งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น งบกระแสเงิน) แก่ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ นักลงทุน และหน่วยงานราชการ (ได้แก่ กรมสรรพากร และกระทรวงพาณิชย์) ในขณะที่ การบัญชีบริหาร เน้นนำเสนอข้อมูลเพื่อการบริหาร เพื่อการตัดสินใจ การวางแผน การอำนวยการ และการควบคุม โดยเสนอแก่ ฝ่ายบริหารของกิจการ ได้แก่ ประธานกรรมการ กรรมการบริหาร ผู้จัดการฝ่าย เป็นต้น

กระบวนการในบัญชีบริหารนั้น ประกอบด้วยการวัดผลงาน การรวบรวมข้อมูล จัดกลุ่มหรือหมวดหมู่ การจัดเตรียมข้อมูล การแปลความหมาย การกำหนดค่า และวิเคราะห์ตัวเลข เพื่อตอบสนองการใช้งานของฝ่ายบริหารโดยตรง ซึ่งส่วนใหญ่ย่อมเกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต ต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายต่างๆ ประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรในองค์กร บัญชีบริหารมักจัดทำโดยอาศัยข้อมูลจากบัญชีการเงิน ประกอบกับข้อมูลทางตรงจากหน่วยงานต่างๆ เช่น ฝ่ายผลิต ฝ่ายขาย ฝ่ายบริการซ่อมบำรุง หรือฝ่ายบริการต่างๆ เป็นต้น

การบัญชีบริหารเกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องราวของ “ต้นทุน” จนบางครั้งมีคนเรียก “บัญชีบริหาร” ว่า “บัญชีต้นทุน” ก็มี หากแต่ขอบเขตของการบัญชีบริหารนั้น พัฒนาขึ้นมาจากการบัญชีต้นทุน โดยมีขอบเขตที่กว้างกว่า เนื่องจากเน้นเทคนิคและวิธีการอื่นๆที่ผู้บริหารสามารถนำมาใช้เพื่อประกอบการบริหารงานและการตัดสินใจ

การบัญชีต้นทุนนั้น เกี่ยวข้องกับเรื่อง การจำแนกต้นทุน การศึกษาพฤติกรรมของต้นทุน การประมาณการต้นทุน การควบคุมต้นทุน และการวิเคราะห์ผลต่าง การวิเคราะห์ต้นทุนเพื่อการวางแผนและการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร การตั้งราคาโอน เป็นต้น

ในอดีตเรามักใช้เทคนิคที่เรียกว่า “การวิเคราะห์ผลแตกต่าง” (Variance Analysis) ซึ่งเป็นระบบการวัดโดยเปรียบเทียบระหว่าง “งบประมาณ” กับ “ตัวเลขที่เกิดขึ้นจริง” สำหรับปริมาณการใช้วัตถุดิบ ค่าแรงงาน ที่เกิดขึ้นในงวดต่างๆของการผลิต

ในปัจจุบันได้มีวิธีการที่ใช้ในการวิเคราะห์ใหม่ๆเกิดขึ้น เช่น การวิเคราะห์ต้นทุนโดยดูจากวงจรการผลิต (Life Cycle Cost Analysis) การบัญชีต้นทุนกิจกรรม (Activity Based Costing หรือที่เรียกว่า ABC) Balance Scorecard (BSC) และ KPI (Key Performance Indicator) เป็นต้น

การวิเคราะห์ต้นทุนโดยดูจากวงจรการผลิตนั้น เป็นแนวคิดที่เชื่อว่า เราสามารถกำหนดต้นทุนของผลิตภัณฑ์จากขั้นตอนการออกแบบ ก่อนที่วงจรการผลิตจะเริ่มต้น การเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดการออกแบบบางประการจะสามารถเปลี่ยนแปลงต้นทุนได้เป็นอย่างมาก

การบัญชีต้นทุนกิจกรรม เป็นแนวคิดที่เชื่อว่า ต้นทุนการผลิต นั้นมีปัจจัยกำหนดที่สำคัญคือ กิจกรรม ที่เกิดขึ้น ในระหว่างการผลิต จึงนำกิจกรรมต่างๆมาวิเคราะห์แจกแจงออกมา แล้วดูว่า กิจกรรมใดเป็นตัวผลักดันให้เกิดต้นทุนเป็นจำนวนมาก เรียกกิจกรรมที่เป็นตัวผลักดันสำคัญว่า เป็น Cost Driver ในบัญชีต้นทุนกิจกรรมนั้น มองค่าแรงงานทางตรงเป็น Cost Driver ที่สำคัญตัวหนึ่ง

Balance Scorecard คือระบบการบริหารงานและประเมินผลขององค์กร โดยพิจารณาจากผลที่เกิดขึ้นจากกระบวนการต่างๆ โดยเป็นเครื่องมือสำหรับการวางแผนและบริหารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning) โดยใช้หลักความสมดุลในมุมมองต่างๆ ๔ ด้าน ได้แก่ ด้านการเงิน ด้านลูกค้า ด้านการดำเนินงานภายใน และด้านการเรียนรู้และพัฒนา ซึ่งเรียกกันโดยตัวย่อว่า F-C-I-L หรือ Financial, Customer, Internal, Learning and Growth

Key Performance Indicator นั้นคือการหาตัวดรรชนีชี้วัดที่สำคัญและเกี่ยวกับกิจการ อาจเป็นตัวชี้วัดที่ทำให้เรามองเห็นโอกาสที่จะเกิดปัญหาในจุดต่างๆ หรือเป็นตัวบ่งชี้ที่บอกให้เราทราบจุดที่ควรปรับปรุงแก้ไข หรือเพิ่มประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในจุดที่การวัดค่ามักจะทำได้ยาก เช่น การวัดความพึงพอใจต่อการให้บริการ

ในวงการบัญชีบริหารนั้น ก็มีการพัฒนาวิชาชีพ โดยมีการรวมตัวกันเป็นองค์กรวิชาชีพเป็นเครือข่ายของผู้ประกอบวิชาชีพ มีองค์กรที่ชื่อว่า CIMA หรือ The Chartered Institute of Management Accountants และ Institute of Management Accountants เป็นเสมือนสถาบันของนักบัญชีบริหารนั่นเอง บุคคลที่ประกอบอาชีพในด้านนี้ก็มีใบอนุญาตที่เรียกกันว่า CMA หรือ Certified Management Accountant ก็เหมือนกับในวงการผู้สอบบัญชีที่มี CPA และ CA ที่ย่อมาจาก Certified Public Accountant และ Chartered Accountant ตามลำดับ

บริษัทขนาดกลาง ถึง ขนาดใหญ่ จะมีฝ่ายบัญชีบริหารแยกต่างหากจากฝ่ายบัญชีการเงิน เพื่อนำข้อมูลในงบการเงินมาจัดทำบัญชีบริหาร บางแห่งที่เป็นบริษัทข้ามชาติ ฝ่ายบัญชีบริหารอาจจะมีหน้าที่เพิ่มเติม คือเป็นหน่วยงานที่ต้องปรับปรุงงบการเงินจากบัญชีการเงิน ให้อยู่ในรูปแบบตามมาตรฐานการบัญชีสากล หรือ มาตรฐานการบัญชีเฉพาะของประเทศใดประเทศหนึ่งต่างหากจากมาตรฐานการบัญชีท้องถิ่นก็มี

การบัญชีการเงินนั้น มีมาตรฐานการบัญชีเป็นตัวกำกับ อยู่ในรูปแบบที่เป็นตัวเลขและจำนวนเงิน มีรูปแบบการรายงานตามมาตรฐานการบัญชี แต่การบัญชีบริหารนั้น ใช้วิธีการวิเคราะห์รายงาน เพื่อตอบสนองความต้องการของฝ่ายบริหาร เป็นอิสระจากหลักการบัญชีทั่วไป โดยรูปแบบของข้อมูลอาจมีหลายลักษณะไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปของตัวเลขเสมอไป การบัญชีบริหารไม่มีหลักการที่แน่นอนตายตัว สามารถเลือกวิเคราะห์ข้อมูลเพียงบางส่วน และใช้ดุลยพินิจในการเลือก รวบรวมข้อมูล และการเลือกใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์

การบริหารงานในปัจจุบัน บทบาทของการบัญชีบริหารได้ขยายขอบเขตออกไปครอบคลุมเรื่องต่างๆมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ดังที่กล่าวในตอนต้นว่า เทคนิคและเครื่องมือต่างๆที่มีการคิดค้นออกมาใช้ การให้ความสำคัญกับการทำแผนธุรกิจ การทำงบประมาณ การประมาณการกระแสเงินสด การวัดความพึงพอใจของลูกค้า การมุ่งหาจุดอ่อนและเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทำงาน การผลิต และการให้บริการ การบัญชีบริหาร ซึ่งเดิมที เน้นเพียงเรื่อง ต้นทุนการผลิตสำหรับกิจการที่ผลิตสินค้า หรือ ผลิตภัณฑ์เท่านั้น ปัจจุบันได้มีการขยายขอบเขตมาประยุกต์ใช้เพิ่มเติมในภาคธุรกิจบริการ ความพยายามของมนุษย์ที่จะวัดค่า (Quantify) แม้กับสิ่งที่เป็นนามธรรม ให้ออกมาเป็นมูลค่าที่เปรียบเทียบกันได้ ย่อมทำให้เกิดการพัฒนากระบวนการการได้มาซึ่งตัวเลขเพื่อเป็นฐานในการประเมินค่าสิ่งต่างๆ แม้จะไม่เป็นตัวเงินก็ตาม




 

Create Date : 07 เมษายน 2553
3 comments
Last Update : 31 กรกฎาคม 2553 17:44:53 น.
Counter : 7131 Pageviews.

 

 

โดย: หาแฟนตัวเป็นเกลียว 7 เมษายน 2553 12:24:55 น.  

 

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆนะคะ





 

โดย: puy_naka63 7 เมษายน 2553 20:03:01 น.  

 

 

โดย: thanitsita 7 เมษายน 2553 20:39:22 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


แผ่นฟ้า-พระจันทร์
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




E-MAIL to Panfah-Prajan http://panfah-prajan.bloggang.com
Friends' blogs
[Add แผ่นฟ้า-พระจันทร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.