Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
28 ตุลาคม 2554
 
All Blogs
 
แอพฯน้ำท่วม ยอดฮิต เตือนภัยน้ำท่วม บอกพิกัดอันตราย!

จากสภาวะน้ำท่วมครั้งใหญ่ทั่วประเทศ และกำลังรุกหนักเข้า กทม. ทำให้ประชาชนทั่วไปหวั่นวิตก เฝ้าระวังสถานการณ์ ส่งผลให้แอพพลิเคชั่นที่เอื้อต่อการเฝ้าระวังและติดตามการเคลื่อนที่ของน้ำได้รับความสนใจมากขึ้นๆ ยอดการดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นรายงานน้ำท่วมบนมือถือ และเว็บไซต์เกาะติดสถานการณ์ได้รับความนิยมพุ่งหลายสิบเท่าตัว



ยอดฮิตแอพรายงานน้ำท่วม
นายรวิทัต ภู่หลำ ซอฟต์แวร์อาร์ตทิสต์ บริษัท โค้ดแอพ จำกัด ผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นกว่า 30 แอพขึ้นขาย และแจกฟรีบนแอพ สโตร์ กล่าวว่า ตั้งแต่น้ำท่วมอยุธยาได้ทำแอพน้ำท่วมขึ้น 3 ตัว เป็นรายงาน 2 ตัว และรวมเลขหมายโทรศัพท์ 1 ตัว ทั้งหมดให้ดาวน์โหลดฟรี ยอดดาวน์โหลดขึ้นเป็นอันดับ 1 ของแอพฟรี ภายใน 1 สัปดาห์กว่า 1.5 แสนโหลด

แอพรายงาน 2 ตัวใช้งานคู่กัน คือ thaiflood reporter ทำหน้าที่รายงานสถานการณ์ แล้วส่งลงโซเชียล เน็ตเวิร์ค แล้วส่งเข้าเซิร์ฟเวอร์ของเขา เนื้อหาบอกพิกัด ละติจูด ลองจิจูด สถานการณ์ ณ เวลานั้นๆ โดยใส่เวิร์ดดิ้งไว้ 40-50 คำให้ผู้ใช้เข้ามาเลือกรายงาน ณ หน้างาน ซึ่งง่ายต่อการใช้ และ thaiflood reporter view ใช้ดูข้อมูลที่ทุกๆ คนช่วยกันส่งเข้ามาสู่ระบบ ณ ปัจจุบัน

การรายงานเป็นไปตามสถานการณ์ 5-6 วันก่อนที่น้ำท่วมบางบัวทองจะมีรายงานละแวกนั้นเข้ามามาก 5-6 พันรายงาน แต่ช่วงนี้จะย้ายไปเขตที่เริ่มท่วมใหม่ๆ ย่านเดิมจะไม่ค่อยมี อาจเป็นเพราะคนได้ย้ายออกไปเป็นส่วนใหญ่แล้ว ซึ่งก็จะทำให้ประเมินสถานการณ์แต่ละที่ได้ด้วย หากน้ำเข้ากรุงเทพฯ การรายงานน่าจะมาก เพราะที่ผ่านมา การใช้งานมากๆ จะอยู่เขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล

"ตอนแรกกะทำใช้เอง แล้วส่งรายงานเข้าโซเชียล เน็ตเวิร์ค หลังจากทำมาได้สักพักพอเห็นประโยชน์เลยขยายเซิร์ฟเวอร์ ทำให้เกิดคอสต์ พวกค่าอินฟราสตรักเจอร์ และเน็ตเวิร์ค จึงมาทำอีกตัว รวม 2 ตัวเข้าด้วยกัน ส่งและรับในตัวเดียวกัน เลยคิดเงินค่าใช้จ่าย 30 บาท รายได้ครึ่งหนึ่งหรือมากกว่าจะบริจาคช่วยผู้ประสบภัย และอีกส่วนเป็นค่าเช่าดาต้า เซิร์ฟเวอร์"

อย่างไรก็ตาม เหมือนเช่นที่เขาเคยบอกก่อนหน้านี้ ว่า คนเอเชีย รวมทั้งไทยไม่ค่อยจ่ายเงินเป็นค่าแอพ ดังนั้น ยอดดาวน์โหลดชนิดเสียเงินจึงยังมีประมาณเพียงใกล้ๆ 900 โหลด
ที่ตั้งเซิร์ฟเวอร์ปลอดภัย

ทั้งนี้ นายรวิทัต ระบุว่า เช่าเซิร์ฟเวอร์ที่สหรัฐอเมริกา จึงไม่ต้องกลัวว่า ถ้าน้ำท่วมประเทศไทยแล้วจะเกิดความเสียหายต่อระบบ แม้ขณะนี้น้ำจะท่วมบ้าน และสำนักงานของเขาระดับเข่า และอาจต้องอพยพออกเร็วๆ นี้ การรายงานก็จะไม่สะดุด

ขณะที่ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ก็มีโครงการพัฒนาระบบประเมินและรายงานสภาพจราจร //info.traffy.in.th/ ให้บริการข้อมูลข่าวสารด้านการจราจรและสถานการณ์น้ำท่วมอัตโนมัติ ตลอด 24 ชั่วโมง

นายวสันต์ ภัทรอธิคม หัวหน้าโครงการประเมินและรายงานจราจร เนคเทค เล่าว่า ตั้งแต่วันที่ 11-12 ต.ค. 2554 มียอดเพจวิวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กระทั่งปัจจุบันอยู่ที่ 13-14 ล้านเพจต่อวัน จากเดิมเคยอยู่ระดับ 5 แสนเพจ สถิติการเข้าชมจากหลักพันคน เติบโตขึ้น 20-40 เท่าตัว ยอดกระโดดเป็น 8 หมื่นคน

"เซิร์ฟเวอร์ ยังรับได้ ยังเร็วอยู่ เดิมอยู่ สวทช. พอน้ำท่วม เลยย้ายเซอร์วิสสำคัญๆ มาไว้ดาต้าเซ็นเตอร์ แยก 2 ส่วน ที่บางกอกไทย รางน้ำ กับทรู ไอดีซี รัชดา เซอร์วิสเน้นภาพจากกล้องวงจรปิด เพราะคนอยากเห็นตรงไหนท่วม ตรงไหนท่วมแล้ว เป็นบริการผ่านเอพีไอ โปรแกรมเมอร์คนอื่นๆ ก็ดึงไปใช้งานได้ เช่น traffroid รายงานการจราจรบนมือถือ หรือ longdo traffic ไม่ต้องดูที่เราก็ได้"



ตรวจสอบข้อมูลถูกต้อง
หัวหน้าโครงการ บอกว่า โครงการนี้เริ่มทำมา 5-6 ปีแล้ว เดิมดูภาพจากกล้อง 100 ตัว เพิ่มจากกองบังคับการตำรวจจราจรอีก 50 ตัว และกำลังเพิ่มกล้องของกรุงเทพมหานครอีกหลายร้อยตัว ซึ่งภายใน 1-2 วันนี้จะทำระบบเสร็จ ใช้ดึงภาพเข้าระบบ ใส่ชื่อและสถานที่

นอกจากนี้ ได้นำข้อมูลจากโซเชียล มีเดีย ภาพถ่ายและการทวีตมาแกะคำเช่น ฝนตก รถติด น้ำท่วม ขอความช่วยเหลือ มาคัดแยกประเภท ใส่พิกัดเพิ่มให้ทราบละติจูด ลองจิจูด เพื่อคนที่ไม่รู้จักสถานที่ได้ทราบตำแหน่ง

ส่วนข้อความจากโซเชียล มีเดีย ที่มีข่าวการลวงกันมากนั้น นายวสันต์ บอกว่า ได้คัดกรองโดยนำชื่อคนที่ส่งคนแรก และที่รีทวีตกันไป จะผูกพิกัดแสดงความเป็นจริง เพราะถ้าข้อความจริงจะมีหลายๆ คนพูดถึงและมีหลายพิกัด แต่ถ้ารีทวีตมากๆ แต่พิกัดเดียวก็มีโอกาสสูงที่จะไม่ใช่ข้อมูลจริง

พร้อมกันนี้ เขายังแสดงความเห็นกรณีที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ต้องการจะนำข้อมูลจากกล้องวงจรปิดจากหน่วยงานต่างๆ มาใช้จับภาพน้ำท่วมนั้น หากร่วมมือกับโครงการที่ทำมาก่อนเป็นเวลานาน และมีนักเทคนิคที่มีความรู้มากพอน่าจะเกิดประโยชน์ และรวดเร็วกว่าการไปเริ่มต้นใหม่



Create Date : 28 ตุลาคม 2554
Last Update : 2 พฤศจิกายน 2554 14:10:52 น. 0 comments
Counter : 941 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Panatee
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 26 คน [?]




Friends' blogs
[Add Panatee's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.