ธันวาคม 2549

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
วงจรชีวิตเฟิร์นเป็นไงมาลองดู
เฟิน เป็นพืชไม่มีดอก ไม่มีเมล็ด แต่หลายคนคงเคยได้เห็น เฟินที่เจริญเติบโตสมบูรณ์แข็งแรง มีสปอร์เกิดขึ้นที่ใต้ใบ ซึ่งเป็นส่วนที่เฟินสร้างขึ้นแล้วปล่อยแพร่กระจายออกไป เพื่อไปดำรงเผ่าพันธุ์ของมันสืบต่อไป นั้นเอง

หากเราได้ศีกษาให้ลึกลงไป ในวิถีการดำรงเผ่าพันธุ์ของมันแล้ว เราจะได้พบว่า เฟินมีชีวิตที่น่าอัศจรรย์ไม่น้อย
เลย เป็นเรื่องที่น่าสนใจ น่าศึกษา โดยเฉพาะคนรักเฟินที่สนใจต้องการเพาะเฟินต้นใหม่จากสปอร์ ควรต้องทำความเข้าใจกับ วงจรชีวิต หรือ Life Cycle ของเฟิน เฟินและญาติของเฟิน มีวงจรชีวิตแบบสลับ Alternating generations แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ
(1) ระยะ Sporophyte ช่วงชีวิตระยะนี้ เฟินมีลักษณะแบบที่เราเห็น หรือเราปลูกเลี้ยงกันทั่วไป
(2) ระยะ Gametophyte ฃ่วงชีวิตที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ

ลักษณะเด่นสำคัญใน 2 ระยะดังกล่าว คือ

ระยะ Sporophyte มีการสร้างสปอร์ เพื่อกระจายออกไปขยายพันธุ์
ส่วนของต้นเฟินที่เราเห็นทั่วไป เซลล์ เป็น diploid คือ มี โครโมโซม 2 ชุด (2n) และสร้างสปอร์ เป็น haploid มีโครโมโซม 1 ชุด (n)

ระยะ Gametophyte มีการสร้างโปรธัลลัสขึ้นจากสปอร์ มีโครโมโซม 1 ชุด (n) มีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพสผู้และเพศเมีย เพื่อการผสมพันธุ์และได้ต้นอ่อนเฟินใหม่ มีโครโมโซม 2n ที่เจริญเติบโตเป็น Sporophyte ต่อไป

วงจรชีวิตของเฟิน มีการสลับไปมาระหว่าง 2 ระยะดังกล่าว ข้างต้นช่วงชีวิตของเฟินในระยะ Sporophyte นี้ ก็คือ เฟินที่เราพบเห็นทั่วไป
เมื่อเฟินเจริญเติบโต เป็นต้นที่สมบูรณ์แข็งแรง มีอายุพอสมควร และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เฟินจะสร้างสปอร์ขึ้น เพื่อการขยายพันธุ์ต่อไป

เฟินส่วนมาก สร้างสปอร์อยู่ที่ด้านล่างของใบ รูปร่างของสปอร์และการจัดเรียงตัวของกลุ่มสปอร์ แตกต่างกันไป ตามแต่ชนิดของเฟิน

เมื่อพลิกดูด้านใต้ใบ ใบที่มีสปอร์ เราจะเห็นเป็นกลุ่มของสปอร์ ที่เรียกว่า Sporangia หรือ sori




Sporangia มีลักษณะเหมือนเป็นกระเปาะ หรือแคบซูล ภายในมีการสร้างสปอร์บรรจุเอาไว้ภายใน ตัว Sporangia มีก้านผอมยาวอยุ่ที่ก้น ทำให้ sporangia มองดูคล้ายของเล่นเด็ก แบบที่เขย่าให้เกิดเสียงดัง เนื้อเยื่อผนังที่รัดรอบสปอร์ภายในหนาเพียงเซลล์ชั้นเดียว เรียกว่า annulus ในเฟินบางชนิด มี และเฟินบางชนิด ไม่มี เยื่อ ที่เรียกกันว่า indusium ที่สร้างขึ้นมา เพื่อปกป้องในระหว่างการสร้างสปอร์ และจะเปิดออกเมื่อสปอร์โตเต็มที่ indusium นี้


อวัยวะสืบพันธุเพศผู้ Antheridia อยู่ที่ผิวด้านล่าง รอบๆ ขอบของโปรธลลัสส่วนล่าว มีลักษณะี่เป็นติ่งเล็กๆ ยื่นออกมา และสเปิมถูกสร้างขึ้นภายใน antheridium โดยขบวนการแบ่งแซลล์แบบ mitosis เมื่อสเปิมที่สร้างขึ้นมา โตเต็มที่ และมีความชุ่มชื้นเพียงพอ ผนังของ Antheridia จะเปิดออกและปล่อยให้สเิปิม ว่ายน้ำออกไป
ส่วนอวัยวะสืบพันธุ์เพศเมีย เรียก Archegonia อยู่บริเวณใจกลางของโปรธัลลัสรูปหัวใจ มีรอยแยกลงไปในผิวของโปรธัลลัส ส่วนนี้ ทำหน้าที่สร้าง ไข่เพศเมีย เป็นเซลล์เดี่ยว เก็บไว้ภายใน
มีการสร้างผนังเป็นท่อ และสร้าง malic acid เพื่อนำร่องให้กับสเปิมเพศผู้ว่ายน้ำเข้าไป

จากนั้น ขบวนการการผสมพันธุ์จะเริ่มต้นขึ้น แต่จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อมีความชุ่มชื้นสูงมากเพียงพอ มีน้ำในปริมาณที่พอเหมาะเกาะเป็นผิวบางๆ อยู่ใต้โปรธัลลัส เท่านั้น


เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม สเปิมเพศผู้จึงว่ายน้ำออกจาก Anteridia ในขณะที่ Archegonia จะเปิดปากผนังท่อออกพร้อมกับสร้าง malic acid ออกมา เพื่อดึงดูดและนำทางให้กับสเปิม เพื่อให้สเปิมสามารถว่ายเข้าไปไข่เพศเมียใน Archegonia ได้

โดยปกติ สเปิดจากโปรธัลลัสหนึ่ง จะว่ายน้ำไปหา Archegonia บนโปรธัลลัสอีกต้นหนึ่ง เพราะ เซลล์ทั้งสองจะบนโปรธัลลัสเดียวกันจะโตเต็มวัยที่ไม่พร้อมกัน เป็นวิธีการอันชาญฉลาดของโปรธัลลัส ในการป้องกันการผสมพันธุืกันเองบนโปรธัลลัสเดียวกัน

เมื่อสเปิมเพศผู้เข้าไปหาไข่เพศเมียแล้ว ทั้งสองเซลล์ ซึ่งเป็น haploid (n) รวมตัวผสมพันธุ์กันเกิดเป็นเซลล์เดียว เป็นเซลล์ diploid zygote (2n) และเริ่มขบวนการแบ่งเซลล์แบบ mitosis เพิ่มจำนวนเซล์และพัมนาขึ้นเป็น Embryo ของ diploid sporophyte ต่อไป และถือเป็นจุดกำเนิดเริ่มต้นของชีวิตในระยะ Sporophyte

ต้นอ่อน Sporophyte ที่อยู่ใน Archegonia ระยะนี้ จะมีการสร้างเนื้อเยื่อไปยึดเกาะกับผนังภายใน เพื่อรับน้ำและอาหารจากโปรธัลลัสเข้ามาใช้ จนกระทั่งเติบโตแข็งแรง สร้างใบจริงเฟินรุ่นใหม่ขึ้นมา

ส่วนโปรธัลลัส ยังคงอยู่เพื่อเลี้ยงต้นอ่อน sporophyte ต่อไปอีกสักระยะ จนกระทั่ง sporophyte เติบโตเป็นเฟินที่สมบูรณ์แข็งแรง มีรากสำหรับยึดเกาะลำต้น และสามารถดูดน้ำและธาตุอาหารมาเลี้ยงเองได้แล้ว จากนั้นโปรธัลลัสจะสลายตัวไปเอง และเฟินต้นใหม่ เจริญเติบโตต่อไปและสร้างสปอร์รุ่นใหม่ต่อไป




Create Date : 24 ธันวาคม 2549
Last Update : 24 ธันวาคม 2549 20:01:49 น.
Counter : 7289 Pageviews.

1 comments
  
งงจัง ไม่เคยเรียนชีวะเสียด้วย

แต่ก็ได้ความรู้ติดหัวไปบ้างแล้วจ้า
โดย: biebie999 วันที่: 26 กรกฎาคม 2550 เวลา:10:31:55 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

binlaman
Location :
พัทลุง  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]



Fern love the life.