Welcome to my planet, and enjoy taking a wonderful journey

 
มิถุนายน 2558
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
19 มิถุนายน 2558
 

พระขีณาสพ


ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เรียกเต็มๆว่า พระขีณาสพ หรือ พระอรหันตขีณาสพ

ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว หมายถึงพระอรหันต์ผู้หมดอาสวะแล้ว เพราะกำจัดอาสวะคือกิเลสที่หมักหมมอยู่ในจิต ที่ชุบย้อมจิตให้ชุ่มอยู่เสมอได้แล้วอย่างสิ้นเชิงไม่กลับมาเกิดทำอันตรายจิตได้อีกต่อไป

อาสวกิเลสทั้ง 4 อย่าง คือ

  1. กาม กามาสวะ คือ ความติดใจรักใคร่ในกามคุณ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้น เครื่องหมักดองคือความยินดีในกาม ได้แก่ โลภเจตสิกที่เกิดกับโลภมูลจิต ดวง
  2. ภพ ภาวาสวะ คือ ความติดอยู่ในภพ ในความเป็นนั่นเป็นนี่ เครื่องหมักดองคือความยินดีในภพ ได้แก่ โลภเจตสิกที่เกิดกับโลภทิฏฐิคตวิปปยุตต์ ดวง
  3. อวิชชา อวิชชาสวะ คือ ความไม่รู้จริง ความลุ่มหลงมืดมัวด้วยโมหะ เครื่องหมักดองคือความไม่รู้ได้แก่ โมหเจตสิกที่เกิดกับอกุศล
  4. ทิฏฐิ ทิฎฐาสวะ คือ ความเห็นผิด เครื่องหมักดองคือความเห็นผิด ได้แก่ ทิฏฐิเจตสิกที่เกิดโลภทิฏฐิคตสัมปยุตต์ ดวง

อกุศลธรรม บางครั้งก็เรียกอกุศลว่า กิเลส, โยคะ, สังโยชน์, รวมทั้งเรียกในอาสวะ คือ สภาพธรรมที่ไหลไปหรือ เป็นเครื่องหมักดองเรียกว่า อาสวะ

อาสวะความหมายโดยละเอียด หมายถึง กิเลสเครื่องหมักดองที่ไหลไปทั่ว หมายถึง อกุศลธรรมชนิดหนึ่งที่มีสภาพหมักหมมไว้ในขันธสันดาน เหมือนกับสุราซึ่งเป็นเครื่องหมักดองที่เก็บไว้นานๆ มีอำนาจทำให้เมาและหลงใหลได้

อาสวะยังเป็นสภาพที่ไหลไป  ไหลไปสู่ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ สามารถไหลไปได้จนถึงภวัคคพรหมเมื่อว่าโดยภูมิ

แต่เมื่อว่าโดยธรรมก็ไหลไปได้จนถึงโคตรภู ทำให้สังสารวัฏเจริญสืบต่อไปเพราะอาสวะเป็นต้นเหตุให้เกิดอวิชชา(ความไม่รู้จริง) ซึ่งเป็นเงื่อนต้นของปฏิจจสมุปปาท


เมื่อละอาสวะกิเลสหมดแล้ว ก็ชื่อว่าละกิเลสประการต่างๆด้วย ละกิเลสที่เป็นกิเลส 10โยคะ 4 สังโยชน์ 10 เป็นต้น

ซึ่ง คำว่า พระขีณาสพนั้นไม่ได้ใช้จำเพาะเจาะจง เพศบรรพชิต พระภิกษุ เท่านั้น แม้แต่ เทวดา พระพรหม เป็นต้น รวมทั้งฆราวาสก็ชื่อพระขีณาสพได้หากเป็นผู้สิ้นกิเลสแล้ว เท่านั้น ใครก็ตามที่ดับกิเลสหมดสิ้นแล้ว ชื่อว่าพระอรหันต์

พระขีณาสพ ชื่อว่า นาค ล้วนแล้วแต่ แสดงถึงความเป็นผู้สิ้นกิเลสทั้งสิ้น

ซึ่งผู้ที่จะถึงความไม่มีกิเลส ละอาสวะกิเลสได้หมดสิ้นนั้นจะต้องเริ่มจากาการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ทีละเล็กละน้อยๆก็จะค่อยๆละอาสวะกิเลสประการต่างๆ ตามลำดับของปัญญาที่เจริญขึ้นนั่นเอง

พระสุตตันตปิฎกมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๙๙

ท่านละได้  ถอนขึ้นได้ สงบระงับ เป็นของไม่ควรเกิดขึ้นอีก อันท่านเผาแล้วด้วยไฟคือญาณ

ด้วยเหตุนั้น   พระอรหันต์นั้น ท่านจึง เรียกว่า พระขีณาสพ.


พระอรหันต์ คือ พระอริยบุคคลชั้นสูงสุด สามารถละสังโยชน์ได้ครบ 10 ประการ

แบ่งตามสถานะ มี 3 ประเภท

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระปัจเจกพุทธเจ้า

พระอรหันตสาวก

พระครูปลัดสัมพิพัฒนธรรมาจารย์ (ประเสริฐ มนฺตเสวี), พระนิพพาน, 2556, หน้า 29

พระอรหันต์2 คือ

1. สุกขวิปัสสก ผู้เจริญวิปัสสนาล้วนแล้วได้ปฐมฌานเมื่อบรรลุอรหัตตผล เรียกอีกอย่างว่า วิปัสสนายานิก

2. สมถยานิก ผู้มีสมถะเป็นญาณผู้เจริญสมถะกรรมฐาน จนได้ฌานก่อนแล้ว จึงเจริญวิปัสสนาต่อจนบรรลุอรหัตตผลเรียกอีกอย่างว่า อุภโตภาควิมุต

พรรณนาคาถาว่า เย ปุคฺคลา, อรรถกถาขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ รัตนสูตรในขุททกปาฐะพรรณนารัตนสูตร

พระพรหมคุณาภรณ์(ประยุทธ์ ปยุตฺโต)พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่18, กรุงเทพฯ : มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพพระธรรมปิฎก (ป. อ.ปยุตฺโต), 2553. หน้า 79-80. ISBN 974-8357-89-9


พระอรหันต์4 คือ

1. สุกขวิปัสสก ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน

2. เตวิชชะ ผู้ได้วิชชา 3

3. ฉฬภิญญะ ผู้ได้อภิญญา 6

4. ปฏิสัมภิทัปปัตตะ ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา 4


พระอรหันต์5 คือ

1. ปัญญาวิมุต

2. อุภโตภาควิมุต

3. เตวิชชะ

4. ฉฬภิญญะ

5. ปฏิสัมภิทัปปัตตะ


พระอรรถกถาจารย์แสดงความหมายของพระอรหันต์ไว้5 นัย คือ

1. ไกลจากกิเลส

2. กำจัดกิเลสได้หมดสิ้น

3. เป็นผู้หมดสังสารวัฏ คือ การเวียนว่ายตายเกิด

4. เป็นผู้ควรแก่การบูชาพิเศษของเทพและมนุษย์ทั้งหลาย

5. ไม่มีที่ลับในการทำบาป ไม่มีความชั่วเสียหายที่จะต้องปิดบัง

...





Create Date : 19 มิถุนายน 2558
Last Update : 19 มิถุนายน 2558 5:52:28 น. 0 comments
Counter : 2364 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

oozingplanet
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




ร้อนหนาวอยู่ที่กาย สุขทุกข์อยู่ที่ใจ
[Add oozingplanet's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com