Welcome to my planet, and enjoy taking a wonderful journey

<<
เมษายน 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
9 เมษายน 2554
 

วิธีถือศีลแปด ศีลอุโบสถ และคำอาราธนา

คำถาม 1
ปกติจะมีคำอาราธนาศีลแปด กับอาราธนาอุโบสถศีล
ความเข้าใจแต่เดิมคือ "อุโบสถศีล มีวันพระเป็นแดนเกิด สมาทานรักษาได้เฉพาะ วันพระเท่านั้น ส่วนศีล 8 สมาทานรักษาได้ทุกวัน"
แต่พอไปอ่านเรื่อง การรักษาอุโบสถศีล 3 แบบคือ ปกติอุโบสถ ปฏิชาครอุโบสถ และปาฏิหาริยปักขอุโบสถ เลยทำให้งงเล็กน้อย

คำถาม 2
ถ้าจะถืออุโบสถศีลเป็นเวลา 3 วันหรือ 7 วัน
เราจะอาราธนาอุโบสถศีลวันไหน?
- ตั้งแ่่ต่วันแรกที่ตั้งใจรักษาหรือไม่(แม้มิใช่วันพระ...)
- วันที่เป็นวันธรรมดาก็อาราธนาศีลแปดปกติ ถ้าเป็นวันพระก็อาราธนาอุโบสถศีล
- การกล่าวอาราธนาทั้งสองแบบ (โดยสมมุติว่ารักษาศีลได้บริสุทธิ์เท่ากัน) การกระทำแบบใดจะมีอนิสงค์มากกว่า และเพราะเหตุใด

คำตอบ
ไม่ว่าจะรักษาศีล8 แบบ 3 วัน หรือ 7 วัน หรือ ตลอดชีวิต
วันปกติ ให้อาราธนาศีล 8 ค่ะ
ส่วนวันพระ ให้อาราธนาอุโบสถศีล ค่ะ

(คือปกติ ควรอาราธนาศีลทุกวันค่ะ

"วันใดไม่ได้ทำทาน จะยังไม่กินข้าวกินน้ำ วันใดยังไม่ได้อาราธนาศีล จะไม่ออกจากบ้านไงคะ"

ครูไม่ใหญ่ เคยพูดในโรงเรียนว่า ให้อาราธนาด้วยเสียง เท่าที่ลำพังตัวเราพอได้ยินค่ะ)

นั่นคือ หากจะรักษา 3 วัน
วันรับ (วันโกน) ก็อาราธนาศีล 8
วันพระ ก็อาราธนาอุโบสถศีล
วันส่ง (หลังวันพระ 1 วัน) ก็อาราธนาศีล 8
วันอื่นๆ ก็อาราธนาศีล 5 ค่ะ

"การถือศีลแปดสามารถถือได้ทุกวันตามความตั้งใจของเราค่ะ ส่วนตามประเพณีไทยเรามักนิยมถือศีลแปดกันทุกๆวันพระ หรือที่เรียกกันว่าวัดอุโบสถค่ะ คือไปถือศีลแปดที่วัด
บางท่านก็ตั้งใจถือศีลแปดตลอดเข้าพรรษา(แม้ว่าไม่ได้อยู่ในวัดก็ตาม) เพราะฉะนั้นเรื่องที่ว่าจะเป็นวันเสาร์-อาทิตย์ก็ไม่ใช่ปัญหาค่ะ และสามารถถือศีลแปดได้ทั้งนอกวัดและในวัดด้วย ส่วนที่เรียกว่าบวชชีพรามณ์นั้นก็คือเราตั้งใจรักษาศีลแปดและไปทำที่วัดโดยอาราธนาศีลจากพระสงฆ์ นุ่งขาวห่มขาว และอาจจะมีการตั้งสัจจะว่าจะถือศีล8เป็นระยะเวลาเท่าไหร่ก็แล้วแต่ความตั้งใจของแต่ละคน ที่วัดพระธรรมกายก็มีค่ะแต่ว่าเราไม่ได้เรียกว่่าชีพรามณ์แต่เรียก อุบาสิกา (ผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย) ค่ะ และสามารถไปถือศีลแปดที่วัดได้โดยไม่จำกัดวัน แต่สาธุชนส่วนใหญ่มักจะสะดวกมาถือศีลกันช่วงสุดสัปดาห์ อันนี้ก็แล้วแต่ความสะดวกของแต่ละท่าน เมื่อเราจะลาศีลแปดก็ให้อาราธนาศีลห้าที่เราถือเป็นปกติครับ"


ซึ่งคำอาราธนาของศีล 8 และ อุโบสถศีล ต่างกันค่ะ
อาราธนาศีล ๘ คนเดียวในวันธรรมดา
"อะหัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ, อัฎฐะ สีลานิ ยาจามิ"

อาราธนาศีล ๘ คนเดียวในวันอุโบสถ (วันพระ)
"อะหัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ, อัฎฐังคะ สะมะนาคะตัง อุโบสะถัง ยาจามิ"

NOTE:ถ้าอาราธนาคนเดียวรู้สึกว่าจะใช้คำว่า "อะหัง ภันเต" แทนที่คำว่า "มะยัง ภันเต" นะครับ

และความเข้มข้นในการรักษาศีลต่างกันค่ะ
คือ อุโบสถศีล เป็นศีลพวง แปลว่า ต้องรักษาครบทุกข้อ
หากขาดข้อเดียว ถือว่า ขาดทั้ง 8 ข้อ ต้อง ขอขมาศีล แล้วอาราธนาใหม่

แต่ศีล 8 หากด่าง พร้อย ทะลุ ข้อใดข้อหนึ่งก็ไม่ได้ขาดทั้ง 8 ข้อค่ะ

ฉะนั้น อุโบสถศีล จึงได้อานิสงส์มากกว่าศีล 8 ค่ะ เพราะรักษา กาย วาจา ได้ยากกว่าค่ะ

อานิสงค์ของอุโบสถศีล
1. ย่อมได้โภคทรัพย์ใหญ่เพราะความไม่ประมาทเป็นเหตุ
2. กิตติศัพท์อันงามของผู้มีศีลย่อมฟุ้งขจรไปไกล
3. ผู้มีศีลเข้าไปสู่สมาคมใด ย่อมเข้าไปอย่างองอาจไม่เก้อเขิน
4. ผู้มีศีลย่อมไม่เผลอทำกาละ คือ ไม่หลงเผลอสติในเวลาตาย
5. ผู้มีศีลตายแล้วย่อมถึงสุคตจิโลกสวรรค์ ถึงความเป็นสหายแห่งเทพ

นอกจากนี้ ศีลยังเป็นบาทฐานของสมาธิ ทำให้เข้าถึงธรรมะที่ละเอียดได้ง่าย ใกล้ต่อ มรรค ผล นิพพาน

“บุคคลแม้งดงามด้วยเครื่องประดับอันมีค่า ก็ยังไม่งามเท่าผู้มีศีลเป็นอาภรณ์
ผู้มีศีลย่อมติเตียนตนเองไม่ได้ เมื่อพิจารณาถึงศีลที่บริสุทธิ์ ย่อมเกิดปีติทุกเมื่อ
ศีลจึงเป็นรากฐานแห่งความดีทุกอย่างและจำกัดชั่วทั้งปวง”


ที่มา : ส่วนท้ายของบทความดังกล่าวค่ะ
โดยพระมหาเสถียร (ปธ.9) และ พระมหาวิริยะ (ปธ.9)

["""หากมีใครที่มีความรู้ที่ดีและ ถูกต้องมากกว่า กรุณาชี้แนะด้วยนะครับ"""]
["""อนุโมทนาบุญ สาธุ _/|_ """]



Create Date : 09 เมษายน 2554
Last Update : 9 เมษายน 2554 14:47:49 น. 7 comments
Counter : 13302 Pageviews.  
 
 
 
 
คำสมาทานศีลแปดมีดังนี้ค่ะ
ข้อ 1 ปาณาติปาตา เวระมะณี , สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และใช้คนอื่นให้ฆ่า

ข้อ 2 อะทินนาทานา เวระมะณี , สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้นจากการลักทรัพย์ด้วยตนเอง และใช้ให้คนอื่นให้ลัก

ข้อ3 อะพรัหมะจริยา เวระมะณี , สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้นจากกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์

ข้อ4 มุสาวาทา เวระมณี , สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้นจากการพูดปด พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และพูดเพ้อเจ้อ

ข้อ5 สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี , สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้นจากการดื่มน้ำเมา อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

ข้อ6 วิกาละโภชะนา เวระมะณี , สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้นจากการบริโภคโภชนะในเวลาวิกาล คือตั้งแต่เที่ยงแล้วจนอรุณขึ้นมาใหม่

ข้อ7 นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนะ , มาลาคันธะวิเลปะนะ ธราะณะมัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี , สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี ดูการละเล่นต่างๆ อันเป็นข้าศึุกแก่กุศล ตลอดจนการลูบไล้ทัดทรงประดับตกแต่งร้างกายด้วยดอกไม้ ของหอม เครื่องย้อม เครื่องทา

ข้อ8 อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี , สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้นจากการนอนที่นอนอันสูงใหญ่ ภายในยัดด้วยนุ่นและสำลี

เราถือศีลแปดเพื่อประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อส่งเสริมให้การปฏิบัติธรรมของเราให้สะดวกขึ้น เพื่อปลดกังวลจากเรื่องต่างๆ ในเว็บบอร์ดของดิเอ็มซี(www.dmc.tv/forum/index?????)ก็มีกระทู้บางกระทู้ที่กล่าวถึงรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆในการรักษาศีลแปด
 
 

โดย: oozingplanet (oozingplanet ) วันที่: 9 เมษายน 2554 เวลา:14:49:18 น.  

 
 
 
ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างอุโบสถศีลกับศีล 8
อุโบสถศีล กับ ศีล 8 มีข้อห้าม 8 ข้อเหมือนกัน

1.คำอาราธนา (ขอศีล) แตกต่างกัน

2.อุโบสถศีล มีวันพระเป็นแดนเกิด สมาทานรักษาได้เฉพาะ วันพระเท่านั้น ส่วนศีล 8 สมาทานรักษาได้ทุกวัน

3.อุโบสถศีล มีอายุ 24 ชั่วโมง (วันหนึ่งคืนหนึ่ง) ส่วนศีล 8 ไม่มีกำหนดอายุในการรักษา

อุโบสถศีล เป็นศีลสำหรับชาวบ้านผู้ครองเรือน หรือเป็นศีล ของชาวบ้านผู้บริโภคกาม (กามโภคี)

ส่วนศีล 8 เป็นศีลสำหรับ ชาวบ้านผู้ไม่ครองเรือน เช่น แม่ชี
--------------------------------------------------------------------------------------
ศีลแปด หรือ อุโบสถศีล เป็นศีลของคฤหัสถ์ หมายถึง อุบาสกอุบาสิกาทั่วไป มิใช่สงฆ์ (ซึ่งมีศีลเฉพาะตนอยู่แล้ว) โดยมักจะรับศีลแปดในวันพระ นิยมรักษาศีลแปดเป็นเวลา 1 วัน หรือ 3 วัน จัดเป็นศีลขั้นตำของพระอนาคามี

โดยปกติผู้รักษาศีลจะเปล่งวาจาอธิษฐาน ที่จะขอสมาทานศีลตั้งแต่เช้าของวันนั้น หากรักษาศีลแปดเป็นเวลา 1 วัน เรียกว่า "ปกติอุโบสถ" และหากรักษา 3 วัน เรียกว่า "ปฏิชาครอุโบสถ"

 
 

โดย: oozingplanet (oozingplanet ) วันที่: 9 เมษายน 2554 เวลา:14:52:38 น.  

 
 
 
มีใครทราบบ้างต้องท่อง หันทะ มะยัง หรือไม่ครับ

อ้างจาก ข้อความนี้

เป็นไปได้ยากนะที่จะอาราธนากับพระภิกษุ เพราะเราไม่ได้เจอท่านทุกเวลาที่เราอยากอาราธนาศีล 8
ตอนอยู่ชมรมพุทธฯ รุ่นพี่นำอาราธนาเอง โดยใช้คำว่า

"หันทะ มะยัง อัฏฐะสิกขา ปะทา ปะทัง ภะนามะเส"

แต่สำหรับเราถ้าไม่ได้อยู่วัด เวลาจะอาราธนาศีลไม่ว่า 5 หรือ 8 จะอาราธนาต่อหน้าพระพุทธรูป โดยตั้งนะโมฯ ก่อน 3 จบ เพื่อระลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จากนั้นก็ท่องขอไตรสรณคมน์ เพื่อระลึกถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง แล้วค่อยตั้งใจอาราธนาศีล
 
 

โดย: oozingplanet (oozingplanet ) วันที่: 9 เมษายน 2554 เวลา:14:55:12 น.  

 
 
 
คุณ oozingplanet ครับ "อาราธนา" คือการกล่าว "ขอศีล" เพื่อไปปฏิบัติตาม ในเวลา ณ สมัยปัจจุบันคือขอจากพระสงฆ์ ซึ่งถือว่ามีสถานะสูงสุดที่ควรเคารพบูชาและเป็นเนื้อนาบุญของโลก แต่ถ้าคุณตั้งใจจะรักษาศีลเองนั้น ไม่เรียกว่าอาราธนา แต่จะเรียกว่า "สมาทาน" แปลว่า ตั้งใจปฏิบัติเพื่อการงดเว้นในสิ่งที่ควรละเว้น ดังนั้น เมื่อเราตั้งใจว่าวันพรุ่งนี้ (สมมุติ) เป็นวันพระ เราจะถืออุโบสถศีลหรือถือศีล 8 หรือศีล 5 เมื่อตื่นเช้าขึ้นมา ก็ไปกราบพระพุทธรูปแล้วกล่าวต่อหน้าพระพุทธรูป เป็นภาษาไทยก็ได้ว่า "นับแต่เช้าวันนี้ไปถึงเช้าวันพรุ่งนี้ ข้าพเจ้าตั้งใจปฏิบัติเพื่อการงดเว้นจากสิ่งที่ควรงดเว้นทั้ง.....ข้อ (ศีลอุโบสถและศีล8 ก็ 8 ข้อ ศีล 5 ก็ 5 ข้อ) ข้าพเจ้าจะเฝ้าระวังรักษาทั้งกาย วาจา และใจ มิให้ด่างพร้อยหรือขาดทะลุโดยเด็ดขาด" ดังนั้น คุณ oozingplanet ไม่ต้องกังวลนะครับ ให้คิดว่า ในอดีตกาลที่พระพุทธองค์เคยเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ชื่อว่า พระมหาชนก ท่านว่ายน้ำอยุ่ในทะเล 7 วัน ซึ่งในวันที่ 7 นี่เองที่เป็นวันขึ้น 15 ค่ำหรือวันอุโบสถ ท่านก็ใช้น้ำทะเลบ้วนปากแล้วอธิษฐานอุโบสถกลางทะเลนั้นนั่นเอง คือตั้งใจปฏิบัติเพื่อการงดเว้นจากสิ่งที่ควรงดเว้นทั้ง 8 ประการ คิดดูเถิดว่า ท่านว่ายอยู่กลางทะเลที่ไม่รู้จะถึงฝั่งเมื่อไหร่ ศีลทั้ง 8 ประการนั้นในข้อที่ทุกคนจะล่วงละเมิดได้ง่ายที่สุดคือข้อ 1 การฆ่าสัตว์ เพราะเมื่ออยู่กลางทะเล มีทั้งปลาฉลาม ปลากระเบนยักษ์ ปูยักษ์ ปลาเล็กปลาน้อย และสัตว์ทะเลมากมายมหาศาลทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็น อาจจะเข้ามาทำอันตรายพระองค์ได้ แต่พระองค์ก็ไม่ทรงกลัวความตาย ยังอุตส่าห์พยายามรักษาอุโบสถแม้จะกระทำได้โดยยากในขณะนั้น แต่ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม พระองค์จึงทรงได้รับการช่วยเหลือจากปลากระเบนยักและปูยักษ์จนกระทั่งได้รับการช่วยเหลือจากนางเทพธิดาประจำมหาสมุทรมณีเมขลานั่นเอง หรือให้คิดว่า หากจำเป็นที่เราตั้งใจจะรักษาอุโบสถศีลอย่างที่คุณตั้งใจทำ แต่ไม่สามารถไปสมาทานศีลต่อหน้าพระสงฆ์ได้ แล้วจะไม่สามารถถืออุโบสถศีลได้ก็นับว่าเป็นการน่าเสียดายจากความไม่รู้โดยแท้
 
 

โดย: หมอ IP: 182.52.158.113 วันที่: 8 มกราคม 2555 เวลา:13:06:34 น.  

 
 
 
ดังนั้น การสมาทานหรือการอธิษฐานอุโบสถศีลด้วยตนเอง จึงให้กล่าวว่า "พุทธะปัญญัตตัง อุโปสถัง อะธิฏฐามิฯ" แปลว่า "ข้าพเจ้าอธิษฐานอุโบสถ ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้" ดังนี้ .....(ว่าศีลทั้ง 8 ข้อ) แล้วกล่าวย้ำคำมั่นที่จะรักษาอุโบสถศีลอีกครั้งว่า "อิมัง อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง พุทธปัญญัตตัง อุโปสะถัง สัมมาะเทวะ อภิรักขิตุง สะมาทิยามิฯ" แปลว่า "ข้าพเจ้าจะเฝ้าระวังรักษาอุโบสถศีลที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ตลอดวันหนึ่งคืนหนึ่ง ณ บัตนี้เป็นต้นไป"
 
 

โดย: หมอ IP: 182.52.158.113 วันที่: 8 มกราคม 2555 เวลา:13:15:04 น.  

 
 
 
ขอโทษครับ พิมพ์ตกไป กล่าวย้ำคำมั่นที่จะรักษาอุโบสถศีลอีกครั้งว่า "อิมัง อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง พุทธปัญญัตตัง อุโปสะถัง อิมัญจะรัตติง อิมัญจะทิวะสัง สัมมาะเทวะ อภิรักขิตุง สะมาทิยามิฯ" แปลว่า "ข้าพเจ้าจะเฝ้าระวังรักษาอุโบสถศีลที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ตลอดวันหนึ่งคืนหนึ่ง ณ บัตนี้เป็นต้นไป"
 
 

โดย: หมอ IP: 182.52.158.113 วันที่: 8 มกราคม 2555 เวลา:13:16:39 น.  

 
 
 
ดีมากเลยค่ะเพราะถืออุโบถสศีลมาหนึ่งพรรษาตอนนี้ยังทำไปเรื่อยๆค่ะ
 
 

โดย: นาปัญชลีย์ IP: 125.27.34.45 วันที่: 1 พฤศจิกายน 2559 เวลา:22:34:15 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

oozingplanet
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




ร้อนหนาวอยู่ที่กาย สุขทุกข์อยู่ที่ใจ
[Add oozingplanet's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com