ตัวอย่างเครื่องมือวิจัยทางการศึกษาโดยใช้เครื่องมือแบบสอบ

การทดสอบด้วยข้อสอบเป็นวิธีการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ที่ใช้ในกระบวนการเรียนการสอนมาเป็นเวลานานและยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน ข้อสอบหรือรูปแบบการประเมินผลมีรูปแบบต่างๆ เช่น แบบเลือกตอบ แบบถูกผิด แบบจับคู่ แบบเติมคำ แบบเขียนตอบและแบบผสาน ซึ่งมีรายละเอียดของข้อสอบในแต่ละแบบ ดังนี้
1. ข้อสอบแบบเลือกตอบ
ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือ ปัญหาหรือคำถามและคำตอบที่มีลักษณะเป็นตัวเลือกทั้งที่เป็นคำตอบถูกต้องและคำตอบผิด ลักษณะของข้อสอบที่นิยมใช้ประกอบด้วย ข้อสอบแบบเลือกตอบที่เป็นคำถามเดี่ยว ข้อสอบแบบเลือกตอบที่ใช้ข้อมูลชุดเดียวกันเพื่อการถามด้วยคำถามหลายข้อ เป็นต้น
แนวทางการสร้างข้อสอบแบบเลือกตอบ
1. กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้หรือผลการเรียนรู้ที่คาดว่าจะได้ จากการวัดผลประเมินผล ทั้งด้านความรู้ความคิด กระบวนการเรียนรู้และเจตคติ
2. สร้างข้อสอบที่สอดคล้องกับคุณลักษณะตามที่กำหนดไว้ ประกอบด้วยสาระการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ ระดับพฤติกรรมที่ต้องการวัด
3. พิจารณาคุณภาพของข้อสอบอย่างคลอบคลุมทั้งปัญหาหรือคำถาม ตัวเลือกและเหตุผลการสร้างตัวเลือก รวมทั้งคำตอบที่ถูกต้องและบันทึกเกี่ยวกับคำตอบ
4. ตรวจสอบความเที่ยงตรง ความเชื่อมั่น ความเป็นปรนัยความยากง่ายและอำนาจการจำแนกของข้อสอบ
ลักษณะของคำถามและตัวเลือกของข้อสอบแบบเลือกตอบ
คำถาม ควรมีลักษณะ ดังนี้
1. สั้น ชัดเจน และใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย
2. เขียนเป็นประโยคบอกเล่า ถ้าจำเป็นต้องใช้ประโยคปฏิเสธก็ควรเน้นข้อความหรือขีดเส้นใต้ข้อความที่แสดงการปฏิเสธ
3. คำถามแต่ละข้อจะต้องเป็นอิสระแก่กันโดยไม่ให้การตอบคำถามของข้อหนึ่งชี้นำหรือขึ้นอยู่กับอีกข้อหนึ่ง
4. หลีกเลี่ยงการใช้ภาษที่ชี้นำหรือสื่อความไปถึงคำตอบถูกหรือคำตองผิด
5.แต่ละคำถามจะต้องมีคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว(ยกเว้นข้อสอบเพื่อวินิจฉัยหรือวิเคราะห์ประสิทธิภาพการเรียนรู้ หรือข้อสอบเลือกตอบที่ใช้วิเคราะห์แนวคิดหลักที่คลาดเคลื่อน ซึ่งอาจมีได้หลายคำตอบ)
ตัวเลือก ควรมีลักษณะดังนี้
1. ตัวเลือกควรเป็นเรื่องหรือประเด็นเดียวกัน มีความยาวใกล้เคียงกัน
2. ต้องกระจายคำตอบของข้อสอบทั้งฉบับให้มีสัดส่วนของแต่ละตัวเลือกใกล้เคียงกัน
3. ใช้คำให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้ และหลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์หรือข้อความที่เข้าใจยาก
4. ไม่ควรใช้ตัวเลือก “ถูกทุกข้อ” หรือ “ไม่มีข้อใดถูก”
2. ข้อสอบแบบถูกผิด
เป็นข้อสอบแบบเลือกตอบรูปแบบหนึ่งที่มีลักษณะเป็นการนำเสนอข้อความเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจในแนวคิดหลัก หลักการ ทฤษฎี การแปลความหมายหรือการกำหนดตัวแปร โดยให้ผู้เรียนพิจารณาตัดสินเลือกตอบ โดยมีตัวเลือกถูกหรือผิด ซึ่งมีหลักเกณฑ์การสร้าง ดังนี้
1. ข้อความที่ต้องการให้พิจารณาว่าถูกหรือผิดต้องเป็นแนวความคิดเดียวหรืออาจรวมแนวความคิดย่อยที่เป็นเรื่องเดียวกัน
2. ศัพท์และคำที่นำมาใช้ต้องเหมาะกับระดับของผู้เรียน ใช้ภาษาถูกต้อง เข้าใจง่าย และไม่ทำให้เกิดความสับสนหรือเข้าใจผิด
3. ไม่ใช้คำหรือข้อความที่เป็นการชี้นำคำตองทั้งที่อยู่ในข้อเดียวกันหรือในข้ออื่น
4. ไม่ใช้คำปฏิเสธหรือใช้คำปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ
3. ข้อสอบแบบจับคู่
เป็นข้อสอบที่มีลักษณะการนำเสนอคำหรือข้อความ 2 ส่วน ให้เลือกเพื่อจับคู่กัน ส่วนที่ 1 คือ ปัญหาที่เขียนเป็นคำหรือข้อความซึ่งเป็นแนวคิดหลักเรียงไว้เป็นแนวตั้ง 1 แถวส่วนที่ 2 คือคำตอบซึ่งเป็นคำหรือข้อความสัมพันธ์หรือเกี่ยงข้องกับปัญหา เขียนเรียงเป็นแนวตั้งอีก 1 แถว โดยทั่วไปจำนวนข้อของปัญหามีประมาณ 6-12 ข้อ และจำนวนจ้อของคำตอบมีมากกว่าคำถาม
กรณีที่ใช้ข้อสอบจับคู่กับผู้เรียนระดับประถมศึกษา จำนวนของข้อสอบอาจเท่ากับจำนวนข้อของคำถาม และใช้วิธีลากเส้นเชื่อมโยงคำตอบแทนการนำตัวเลขมาใส่ในช่องว่างก็ได้ รวมทั้งอาจใช้ภาพประกอบเพื่อความเข้าใจง่าย และน่าสนใจ สื่อความหมายของเรื่องนั้นได้อย่างชัดเจน เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน
4. ข้อสอบแบบเติมคำ
ข้อสอบแบบเติมคำมีลักษณะเป็นการนำเสนอเนื้อหาสาระที่ยังไม่สมบูรณ์ โดยมีส่วนที่เว้นว่างให้ผู้เรียนเติมคำให้สมบูรณ์ มีแนวทางกาสร้างข้อสอบ ดังนี้
1. ไม่ควรสร้างคำถามโดยลอกสถานการณ์ตามที่มีอยู่ในหนังสือเรียน
2. คำหรือข้อความที่ขาดหายไปหรือเว้นไว้ให้เติม จะต้องมีความเฉพาะเจาะจง เป็นข้อความสั้นๆและชัดเจนเพียงพอที่จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจตรงกันและไม่ควรให้เติมหลายคำในข้อเดียวกัน
3. คำหรือข้อความที่ขาดหายไปหรือเว้นไว้ให้เติม ควรมีความหมายหรือความสำคัญและควรอยู่ท้ายประโยค แต่ถ้าต้องการให้เติมในประโยค ก็ต้องเว้นช่องว่างไว้ให้มีความกว้างใกล้เคียงกันทุกข้อและเพียงพอที่จะตอบได้อย่างครบถ้วน
5. ข้อสอบแบบเขียนตอบ
เป็นข้อสอบที่เคยเรียกว่าข้อสอบอัตนัย รูปแบบของข้อสอบมีลักษณะเป็นแบบเขียนตอบอย่างสั้น เขียนบรรยายที่มีแผนภูมิ กราฟ ตาราง เขียนผังมโนทัศน์ เขียนผังแนวคิดรูปตัววี หรือเขียนภาพการ์ตูนบรรยายเรื่องราว ปัญหาหรือคำถามของข้อสอบแบบเขียนตอบ จะต้องสร้างขึ้นด้วยความรู้ความข้าใจเนื้อหาสาระ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาสาระนั้นเป็นอย่างดีซึ่งมีแนวการสร้างและการให้คะแนนดังนี้
5.1 ข้อสอบแบบเขียนตอบอย่างสั้น
มีลักษณะสำคัญที่ผู้เรียนมีโอกาสได้แสดงความรู้ ความสามารถได้มากกว่าการทำข้อสอบแบบเลือกตอบถูกผิด จับคู่และเติมคำ แต่ยังคงกำหนดกรอบในการเขียนตอบอย่างสั้น เหมาะสำหรับการวัดความรู้ ความเข้าใจมากกว่าความสามารถด้านการประยุกต์ การวิเคราะห์การสังเคราะห์และการประเมินค่า เนื่องจากผู้เรียนไม่สามารถสื่อสารการเรียนรู้ด้วยการเขียนแสดงความรู้ ความคิด อย่างเต็มที่ ลักษณะของข้อสอบแบบเขียนตอบอย่างสั้นที่ตอบได้หลายแนวทาง มีข้อดีเพิ่มขึ้น คือใช้ประเมินผลแนวการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน
5.2 ข้อสอบเขียนตอบแบบบรรยาย
เป็นการเขียนในลักษณะความเรียงซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความรู้ความสามารรถและความคิดระดับสูง ในลักษณะของการสรุปความ การเปรียบเทียบ การประยุกต์หลักวิชาหรือการความรู้ไปใช้ มีประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการเขียน การจัดระเบียบความรู้ การเชื่อมโยงความคิดการแสดงความคิดเห็น การวิพากษ์วิจารณ์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัญหาและเนื้อหาสาระ ขั้นตอนสำคัญในการสร้างข้อสอบเขียนตอบแบบบรรยาย มีดังนี้
1. กำหนดเนื้อหาสาระเพื่อใช้เป็นปัญหาหรือคำถาม สาระสำคัญประกอบด้วย แนวคิดหลัก หรือความรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ และระดับพฤติกรรมที่ต้องการวัด
2. การตั้งปัญหาหรือคำถามควรหลีกเลี่ยงคำถามที่ใช้เขียนสิ่งที่จดจำได้แต่ควรเป็นคำถามที่ให้ผู้เขียนสามารถแสดงออกได้ตามจุดประสงค์และพฤติกรรมที่ต้องการจะวัด ประเด็นสำคัญที่อยู่ในคำถาม ประกอบด้วย
2.1 การเปรียบเทียบด้วยการบอกความเหมือนกันหรือต่างกัน
2.2 การให้นิยาม การอธิบาย การบรรยาย
2.3 การทำนาย การแสดงความคิดเห็น การวิพากษ์วิจารณ์
2.4 การพิสูจน์ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์
2.5 การแสดงภาพประกอบ การแสดงแบบจำลอง
2.6 การบอกลำดับขั้นตอนในการปฏิบัติงาน
3. การกำหนดเกณฑ์การให้คะแนน ข้อสอบแบบเขียนตอบทุกข้อควรมีแนวการตอบเพื่อนำไปใช้ในการกำหนดเกณฑ์การประเมิน หรือการให้คะแนนความรู้ความสามารถ โดยอาจกำหนดสัดส่วนหรือความสำคัญเป็นตอนๆ เพื่อสะดวกในการตรวจ
5.3 ข้อสอบแบบเขียนตอบโดยการสร้างผังมโนทัศน์
การสร้างผังมโนทัศน์เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้โอกาสผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิด การสร้างความรู้ การสรุปผลและการนำเสนอแนวคิดหลักได้ด้วยตนเอง โดยใช้ประเด็นสำคัญที่สุดของเรื่องนั้นมาใช้เป็นมโนทัศน์หลักและขยายความที่เป็นรายละเอียดประกอบด้วยมโนทัศน์ย่อย ซึ่งพฤติกรรมที่สำคัญซึ่งต้องการวัดผลประเมินผลจากการสร้างผังมโนทัศน์คือกระบวนการคิด
การสร้างผังมโนทัศน์มีกระบวนการที่สำคัญ คือ
1. กำหนดปัญหาหรือหัวข้อที่ต้องการเรียนรู้ เพื่อสร้างเป็นมโนทัศน์หลักแล้วจึงรวบรวมมโนทัศน์ของเรื่องนั้นและทำความเข้าใจกับมโนทัศน์เพื่อนำมาเรียบเรียงและจัดให้เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ
2. จัดลำดับมโนทัศน์ต่างๆให้สัมพันธ์กันอย่างเป็นขั้นตอน โดยเริ่มจากมโนทัศน์หลักไปยังมโนทัศน์รองและมโนทัศน์ย่อย ให้ลดหลั่นกันอย่างมีความหมาย พร้อมทั้งแสดงตัวอย่างประกอบในแต่ละมโนทัศน์ด้วย
3.แสดงความเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์ด้วยเส้นหรือสัญลักษณ์ที่เหมาะสม พร้อมทั้งอาจมีคำที่บอกแสดงความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์กำกับไว้ด้วยการเชื่อมโยงมโนทัศน์อาจเป็นไปตามลำดับหรือมีการเชื่อมโยงข้ามสายกันก็ได้

5.4 ข้อสอบเขียนตอบโดยการสร้างผังแนวคิดรูปตัววี
เป็นกิจกรรมการเรียนรู้มีโอกาสได้เขียนสรุปเพื่อนำเสนอความรู้ กระบวนการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ โดยมีองค์ประกอบหลัก 4 ส่วน คือ
1. หัวข้อปัญหาหรือคำถามนำ อยู่ตรงส่วนกลางของแนวคิดรูปตัววี ซึ่งหัวข้อปัญหาผู้สอนอาจเป็นผู้กำหนด หรือให้ผู้เรียนกำหนดเองก็ได้
2. ความรู้ความคิด อยู่ทางด้านซ้ายมือ ประกอบด้วยสาระสำคัญ ทฤษฏี หลักการ ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้อง
3. กระบวนการเรียนรู้ อยู่ทางด้านขวามือ ประกอบด้วยการลงมือปฏิบัติจริงที่แสดงออกได้ทั้งทักษะเชาว์ปัญญาและทักษะปฏิบัติ
4. ผลการเรียนรู้ อยู่ด้านล่างสุดของผังโครงสร้างเป็นการสรุปผลว่าได้เรียนรู้อะไรบ้างจากหัวข้อปัญหาที่กำหนด




Create Date : 21 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 22 พฤศจิกายน 2552 10:51:05 น. 3 comments
Counter : 1380 Pageviews.

 
แวะมาทักทายค่ะ


โดย: CrackyDong วันที่: 21 พฤศจิกายน 2552 เวลา:23:29:08 น.  

 
อยากบอกว่า คิดถุงมากๆๆๆๆๆๆๆๆ


โดย: เด็กมีปัญหา IP: 222.123.42.206 วันที่: 27 เมษายน 2553 เวลา:15:23:10 น.  

 
ิblog วิชาการมากๆ



เป็นนักจิตวิทยาเหรอครับ

เก่งจัง


ขอบคุณที่ไปเยี่ยม blog ผมนะครับ


โดย: อสูรกายไทฟอน วันที่: 23 ตุลาคม 2553 เวลา:19:29:29 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ontny-flint
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




คนเรา..มีตาไว้ดู มึหูไว้ฟัง สมองไว้คิด
มีชีวิตเพื่อเรียนรู้อยู่เพื่อก้าวหน้า ... เพราะไม่ช้าก้อสิ้นสลาย ชีวิตคนเราเกิด มาเพื่อความสำเร็จ มิใช่..เพื่อความล้มเหลว
.......เพราะฝนที่ตกอยู่ทางโน้น หนาวถึงคนทางนี้...ยังอยากได้ยินทุกเรื่องราว....ยังนอนดึกอยู่ใช่ไหม.....ยังสู้ไหวหรือเปล่า......อย่าลืมเล่าสู่กันฟัง
lozocat
บางสิ่งในชีวิตของเรามันผ่านไปอย่างรวดเร็ว ถ้าเราไม่ฉกฉวยช่วงเวลานั้นไว้ มันก็จะผ่านไป โดยที่เราไม่รู้ตัว และถ้าเราไม่เลือกจะเก็บมันไว้ในความทรงจำ สิ่งเหล่านั้นก็คงเลือนหายไป เหมือนกับไม่เคยเกิดขึ้นเลย
เมื่อรักได้ก้าวเข้ามาในชีวิต ทุกคนก็ต้องหวังว่าเราจะต้องอยู่กันแก่เฒ่า... แต่มีหลายคนเคยบอกไว้ว่ารักที่ดีไม่จำเป็นต้องอยู่ด้วยกันก็ได้ รัก และ ปราถนาดีต่อกันก็เพียงพอแล้ว มันพอจริงหรือเปล่าอันนี้อาจจะไม่ใช่ทุกคน..เพราะเมื่อเรารักแล้วเราก็หวังอยากจะได้รักนั้นตอบ แต่ถ้าไม่ได้หล่ะ...ก็ไม่เป็นไร อย่างน้อย เราก็ได้รู้จักกับคำว่ารัก..ใช่หรือเปล่า??
lozocat
ไม่ต้องบินให้สูงอย่างใครเขา... จงบินเอาเท่าที่เราจะบินไหว ท่าที่บินไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร แค่บินไปให้ถึงฝัน เท่านั้นพอ
lozocatความสุขไม่ยั่งยืน...ความรักไม่ยืนยาว
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2552
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
21 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ontny-flint's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.