One Love One Life ... For You... Harley Babie and Bowling
<<
มิถุนายน 2553
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
19 มิถุนายน 2553

สุนัขก็เป็นหวัดได้

สุนัขก็เป็นหวัดได้

เจ้าของสุนัขหลาย ๆ ท่านมักมีข้อสงสัยถึงเรื่องไข้หวัดสุนัข และ ไข้หวัดในคนเอง ค่ะ ซึ่งเวลาที่เจ้าของสุนัข นำสุนัขเข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาล จะมีคำถามอยู่สองข้อที่ถามกันบ่อยมาก ๆ คือ ไข้หวัดของคนจะสามารถนำไปติดสุนัขได้ไหม และ ในทางกลับกัน ไข้หวัดของสุนัขเองสามารถนำมาติดคนหรือผู้เลี้ยงได้หรือไม่ คำตอบคือ ไข้หวัดสุนัข ไม่สามารถนำมาติดคนได้ และ ไข้หวัดในคน ก็ไม่สามารถนำมาติดสุนัขได้เช่นกัน

ทั้งนี้เนื่องจาก ขบวนการของการเกิดโรคนั้น เกิดขึ้นมาจากเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคในสัตว์แต่ละชนิดที่ต่างกัน ค่ะ คราวนี้เรามาอ่านกันต่อค่ะว่า การเป็นหวัดในสุนัขนั้น สามารถเกิดขึ้นได้จากสาเหตุใดบ้าง และ มีวิธีการป้องกัน หรือ แก้ไข ได้อย่างไรบ้าง ค่ะ

การที่เราพบสุนัขเป็นหวัด ซึ่งหมายถึงว่า เจ้าของสุนัขพบว่าสุนัขของตนเองมีอาการน้ำมูกไหลนั้น สามารถเกิดขึ้นได้จากต้นเหตุหลาย ๆ ประการเลยค่ะ โดยจะขออนุญาตกล่าวถึงโรคหลัก ๆ ดังต่อไปนี้
1.โรคหวัดและหลอดลมอักเสบติดต่อ (Kennel Cough) ซึ่งต้นเหตุหลัก ๆที่ทำให้เกิดโรคนี้ก็ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย ที่ชื่อว่า Bordetella Bronchiseptica หรือเกิดจากเชื้อไวรัสอีกตัวที่ชื่อว่า Parainfluenza

อาการที่เราพบในสุนัขที่ป่วยเป็นโรคหวัดและหลอดลมอักเสบติดต่อ จะเริ่มต้นจาก พบสุนัขมีอาการไอแห้ง ๆ ตลอดเวลา จากการที่เกิดการอักเสบที่หลอดลมส่วนต้น ซึ่งโดยปกติแล้วโรคนี้สามารถพบได้บ่อยในลูกสุนัข ในช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงของอากาศ เช่น ช่วงเวลาที่เข้าสู่หน้าฝน การเปลี่ยนแปลงสถานที่อยู่อาศัยจากฟาร์ม มาสู่บ้านผู้เลี้ยงใหม่ ส่วนการติดต่อกันในระหว่างสุนัขจะเกิดขึ้นได้จากทางลมหายใจเป็นหลัก หรือการติดต่ออาจเกิดขึ้นอีกทางได้จากการสัมผัสคลุกคลีกับสัตว์ป่วยโดยตรง

ดังนั้นเราจึงมักพบสุนัขที่มีการเลี้ยงอยู่ด้วยกันหลาย ๆ ตัวในพื้นที่ ๆ จำกัดก็จะมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้ง่ายเช่นกัน ในขณะเดียวกันหากเราปล่อยสุนัขที่ป่วยทิ้งไว้หรือละเลยมัน โรคก็จะสามารถพัฒนาจากการที่มีหลอดลมส่วนต้นอักเสบต่อไปยังปอดแล้วกลายเป็นปอดบวมได้ ซึ่งในระยะนี้เราจะสังเกตเห็นว่า สุนัขจะเริ่มมีน้ำมูกไหล และไอมากขึ้น ได้

การรักษาสำหรับโรคหวัดและหลอดลมอักเสบนี้จะมีการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อควบคุมการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมกับยาที่ลดการอักเสบที่หลอดลม ซึ่งอาจจะมีตั้งแต่ ยาลดการไอ ยาขยายหลอดลม หรือยาละลายเสมหะ ในกรณีที่เริ่มมีเสมหะเข้ามาร่วมด้วย โดยการรักษาอาจใช้เวลาตั้งแต่ 7-10 วัน ไปจนกระทั่งถึง 2-3 สัปดาห์ขึ้นกับความรุนแรงในแต่ละตัว ค่ะ สุนัขที่ป่วยด้วยโรคนี้ ไม่ได้สร้างความรุนแรงของโรคมากนัก เนื่องจากตัวเชื้อเองไม่ได้ก่อความรุนแรงถึงขนาดที่ทำให้เสียชีวิต

โรคนี้มีวัคซีนที่เราสามารถนำสุนัขของเราเข้าไปที่คลินิกหรือโรงพยาบาลเพื่อขอรับวัคซีนในการกระตุ้นภูมิต่อโรคนี้ได้ โดยวัคซีนที่มีอยู่ในท้องตลาดปัจจุบันนี้จะมีตั้งแต่ วัคซีนแบบที่ใช้หยอดจมูก หรือ วัคซีนแบบที่ใช้ฉีดเข้าใต้ผิวหนังค่ะ ซึ่งเจ้าของหลาย ๆ ท่านมักเข้าใจผิดว่า เมื่อสุนัขทำวัคซีนแล้วจะไม่เป็นหวัดอีกต่อไป แต่อย่างที่กล่าวในตอนแรกค่ะ เชื้อที่ก่อให้เกิดอาการเป็นหวัด น้ำมูกไหล ในสุนัขนั้น สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุค่ะ การทำวัคซีนจึงกระทำเพื่อ กระตุ้นภูมิที่เกิดขึ้นจากเชื้อสองชนิดที่กล่าวมาในตอนแรกเท่านั้นค่ะ ดังนั้นเราต้องมาตามกันต่อว่า แล้วมีเชื้ออื่นใดอีกที่ทำให้สุนัขป่วยเป้นหวัดมีน้ำมูกไหลได้อีก ค่ะ

2.โรคไข้หัดสุนัข(Canine Distemper) โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า Distemper ซึ่งจะก่อให้เกิดอาการของโรคได้หลาย ๆ ระบบ ตั้งแต่ระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาทซึ่งจะเริ่มพบตั้งแต่ การเดินวน การไม่มีแรงลุกขึ้นเดิน มีการกระตุกของกล้ามเนื้อตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ไปจนถึงการชัก และรวมไปถึงการมองเห็น ด้วย

แต่ในวันนี้จะกล่าวถึงอาการที่พบจากระบบทางเดินหายใจเป็นหลัก โดยเจ้าของจะเริ่มเห็นตั้งแต่สุนัขมีน้ำมูกไหล มีปอดบวม มีไข้(ซึ่งมักพบว่าเมื่อเราวัดไข้จะมีอุณหภูมิตั้งแต่ 103 องศาฟาเรนไฮต์ เป็นต้นไป) สีของน้ำมูกจะเริ่มจากเป็นมูกใสแล้วค่อยเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสีเขียว แล้วอาจมีไอร่วมด้วย สุนัขที่ป่วยด้วยโรคนี้สามารถส่งผลให้สุนัขเสียชีวิตได้ ทั้งนี้จากการที่เชื้อไวรัสนี้เข้าไปกดการทำงานของภูมิคุ้มกันในร่างกายทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียอื่น ๆ แทรกซ้อนเข้ามาในร่างกาย แล้วแต่ระบบที่เชื้อแบคทีเรียนั้น ๆ เข้าไป

อาการป่วยของโรคจะเริ่มทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่เป็น ซึ่งจะต่างจากสุนัขที่ป่วยด้วยการติดเชื้อแบคทีเรียที่ทางเดินหายใจ โดยที่ในรายที่ป่วยจากการติดเชื้อทางเดินหายใจจากแบคทีเรียเพียงอย่างเดียว เมื่อมีการให้ยาปฏิชีวนะที่คุมภาวะของการติดเชื้อที่ถูกกับเชื้อแล้วนั้น อาการของโรคมักจะค่อย ๆ ดีขึ้นตามลำดับจนกระทั่งหายป่วย ปัจจุบันนี้ไม่มียาที่ใช้ในการฆ่าเชื้อไวรัสนี้โดยตรง การรักษาจึงทำได้เพียงการรักษาตามอาการและควบคุมการติดเชื้อแบคทีเรียที่แทรกซ้อนเข้ามาเท่านั้น

ในปัจจุบันนี้ก็มีการนำเข้าของสารละลายที่ใช้ในการต้านไวรัสเพื่อใช้ฉีดให้กับสุนัขที่ป่วยเพื่อช่วยในการรักษาโรคด้วย โดยเราจะเรียกชื่อของมันว่า Interferon ขณะเดียวกันโรคนี้มีวัคซีนที่ใช้ฉีดเพื่อกระตุ้นการสร้างภูมิต่อโรคนี้ โดยทั่วไปจะแนะนำให้มีการกระตุ้นภูมิสำหรับโรคนี้ประมาณ 3 ครั้ง ในช่วงแรกของการทำวัคซีน หลังจากนั้นก็ทำการกระตุ้นปีละ 1 ครั้ง ต่อเนื่องกันไป ค่ะ

คัดลอกมาจาก //www.nestle.co.th/dogloverzone/vet-talk-detail.aspx?id=14


Create Date : 19 มิถุนายน 2553
Last Update : 19 มิถุนายน 2553 13:47:23 น. 0 comments
Counter : 6543 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

mooaoun
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]




One Love One Life...
Love Harley Babie Angie and the Gangs
& Bowling...2 ka
Background.MyEm0.Com
[Add mooaoun's blog to your web]