Group Blog
 
<<
กันยายน 2551
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
10 กันยายน 2551
 
All Blogs
 
คำสบถสาบาน - คำปฏิญาณ - สัตยาธิษฐาน

คำสาบาน - อาเล็ก












นิสัยประการหนึ่งของคนไทยก็คือ การชอบสบถสาบาน คำในลักษณะเดียวกับคำสบถสาบาน แต่ใช้ในลักษณะที่สูงกว่าก็มี "คำปฏิญาณ" และ "การตั้งสัตยาธิษฐาน"





คำว่า "สบถ" พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้บทนิยามไว้ดังนี้ "ก. อ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ลงโทษตนเอง เมื่อไม่เป็นอย่างพูด." ตรงกับคำบาลีว่า "สปถ" (สะ - ปะ - ถะ) และสันสกฤตว่า "ศปถ" (สะ - ปะ - ถะ)





คำว่า "สาบาน" พจนานุกรม ให้บทนิยามไว้ดังนี้ "ก. สบถโดยให้คำ ปฏิญาณ." ตรงกับคำบาลีว่า "สปน" (สะ - ปะ - นะ) และ สันสกฤตว่า "ศปน" (สะ - ปะ - นะ) และมีลูกคำอยู่คำหนึ่งคือ "สาบานธง" ซึ่งพจนานุกรมได้ให้บทนิยามไว้ว่า "ก. กล่าวคำปฏิญาณตนต่อหน้าธงชัยเฉลิมพล (ใช้แก่ทหาร)."





คำว่า "ปฏิญาณ" พจนานุกรมได้ให้บทนิยามไว้ดังนี้ "ก. ให้คำมั่นสัญญา โดยมากมักเป็นไปตามแบบพิธี."





คำว่า "ปฎิญญา" พจนานุกรมได้ให้บทนิยามไว้ดังนี้ "น. การให้คำมั่นสัญญา หรือการแสดงยืนยันโดยถือเอาสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือความสุจริตใจเป็นที่ตั้ง."





คำว่า "สัตยาธิษฐาน" พจนานุกรมได้ให้บทนิยามไว้ดังนี้ "น. การตั้งความจริงใจเป็นหลักอ้าง." เกิดจากการนำคำสันสกฤตว่า "สัตย" กับ "อธิษฐาน" มาเข้าสนธิกัน ถ้านำคำบาลีว่า "สัจจ" มาเข้าสนธิกับคำสันสกฤตว่า "อธิษฐาน" ก็จะเป็น "สัจจาธิษฐาน"





ข้าพเจ้าได้อ่านหนังสือเล่มเล็ก ๆ เล่มหนึ่ง ชื่อ "ประมวลสัจจวาจา" ที่นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรี พิมพ์แจกในงานทอดกฐินพระราชทาน ณ วัดประยุรวงศาวาส วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๗ ในหนังสือเล่มนี้ หลวงวิจิตรวาทการ อดีตเลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน ได้เขียนอธิบายเรื่อง "ประมวลสัจจวาจา" ไว้ดังนี้





"เจ้าคุณพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรี มีบัญชาให้ข้าพเจ้ารวบรวมคำปฏิญาณต่าง ๆ พิมพ์ขึ้นเป็นหนังสือประมวลคำปฏิญาณเล่มหนึ่ง เพื่อแจกในงานกฐินครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้เก็บผะสมตามที่จะหาได้ในชั่วเวลาอันเล็กน้อยมารวมไว้ในที่นี้ และให้ชื่อหนังสือนี้ว่า "ประมวลสัจจวาจา"




ที่ต้องใช้ชื่อเช่นนั้น เพราะคำที่นำมาประมวลไว้มีอยู่ไม่แต่เฉพาะ คำปฏิญาณ ยังมีสัจจาธิษฐาน และคำสาบานอยู่ด้วย คำเหล่านี้มีลักษณะต่างกัน คือ



"คำสาบาน" เป็นคำแช่ง เพราะ "สาบาน" นั้น แปลตามศัพท์ว่า "แช่ง" ฉะนั้น คำสาบานทุกเรื่องจะต้องมีการแช่งตัวเอง คือเริ่มต้นด้วยการกล่าวรับรองว่าจะปฏิบัติอย่างนั้นอย่างนี้ ถ้าไม่ปฏิบัติตามที่พูดไว้ ก็ขอให้ผลร้ายภัยอันตรายต่าง ๆ บังเกิดขึ้นแก่ตนเอง คำสาบานต้องมีลักษณะเป็นการแช่งตัวเอง ถ้าไม่มีการแช่งจะเรียกว่า สาบาน ไม่ได้





"สัจจาธิษฐาน" ตรงกันข้ามกับ สาบาน คือ แทนที่จะมีการแช่ง กลับมีการให้พรหรือขอพรไว้ข้างท้าย ทั้งนี้โดยดำเนินตามหลักในทางพระพุทธศาสนา กล่าวคือในทางพระพุทธศาสนาไม่มีการแช่ง มีแต่ว่าถ้าทำดีก็ให้มีความเจริญ ถ้าทำตามถ้อยคำที่ให้ไว้ก็ให้มีความสุขสวัสดี (เอเตน สจฺจวชฺเชน โสตฺถิ เต โหตุ สพฺพทา ด้วยอำนาจสัจจวาจานั้น ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่าน* ทุกเมื่อ)



ถ้าหากทำผิด จะได้รับผลอะไรก็ตามที แต่ในทางพระพุทธศาสนาไม่แช่งไว้ คำสัจจาธิษฐานก็เริ่มต้นอย่างเดียวกับคำสาบาน คือกล่าวรับรองว่าจะปฏิบัติอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ลงท้ายแทนที่จะแช่งตัวเองให้ได้รับภัยอันตรายต่าง ๆ





ในเมื่อกระทำผิดถ้อยคำ กลับกล่าวไปในทางที่ดี คือว่า เมื่อได้ปฏิบัติตามถ้อยคำที่พูดนั้นแล้ว ก็ขอให้มีความสวัสดี ส่วนการที่ไม่ปฏิบัติหรือทำผิดจากถ้อยคำที่ให้ไว้นั้นไม่พูดถึง เพราะการแช่งไม่ใช่คติของพระพุทธศาสนา




"คำปฏิญาณ" ผิดกับ คำสาบาน และ สัจจาธิษฐาน โดยเหตุว่าคำปฏิญาณเป็นแต่กล่าวรับรองเฉย ๆ ว่าจะทำอย่างนั้นย่างนี้ แต่ไม่มีคำสาปแช่งหรือขอพรขอรับผลดีอย่างไร เช่นคำปฏิญาณของทหารที่พิมพ์ไว้ในที่นี้เป็นต้น





"ที่ใช้กันอยู่โดยมากในเมืองเราแต่ก่อนมา มักมีคำสาบานกับสัจจาธิษฐานผสมกัน คือมีทั้งแช่งและขอพรอยู่ในเรื่องเดียวกัน แช่งตัวเองไว้ในเมื่อทำผิดวาจา และขอความสุขความเจริญแก่ตนในเมื่อได้ปฏิบัติตามถ้อยคำที่ให้ไว้



อย่างไรก็ดี มาถึงสมัยนี้ คำสาบานและสัจจาธิษฐานมีที่ใช้น้อย โดยมากเป็นแต่คำปฏิญาณ แม้คำที่เรียกว่า "สาบานธง" เดี๋ยวนี้ก็มิได้ใช้ คงใช้แต่คำปฏิญาณ ถ้าหากจะเลิกใช้คำว่า "สาบานธง" กันจริง ๆ ข้าพเจ้าก็เห็นพ้องด้วย เพราะคำว่า "สาบานธง" ก็เป็นคำใช้ที่ไม่เหมาะอยู่แล้ว



เพราะคำว่า "สาบานธง" นั้นจะแปลอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากจะต้องแปลว่า "แช่งธง" คำว่า "สาบานตัว" ก็แปลว่า แช่งตัวเอง ส่วนการกระทำสัตย์สาบานต่อหน้าสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้นจะเรียกว่า สาบานสิ่งนั้นไม่ได้





ต้องพูดให้เต็มความว่าสาบานตัวต่อหน้าสิ่งนั้น ๆ เช่นการสาบานตัวต่อหน้าพระพุทธปฏิมากร ไทยเราก็เคยพูดเต็มประโยคว่า "สาบานตัวต่อหน้าพระ" เราไม่เคยพูดว่า "สาบานพระ" เลย





หลวงวิจิตรวาทการ
หอสมุดแห่งชาติ
๒๔ ตุลาคม ๒๔๗๗"























Create Date : 10 กันยายน 2551
Last Update : 10 กันยายน 2551 0:01:47 น. 4 comments
Counter : 3198 Pageviews.

 
มันน่าคิด


โดย: boyblackcat วันที่: 10 กันยายน 2551 เวลา:0:29:56 น.  

 
เยี่ยมทั้งเนื้อหา ทั้งภาพประกอบเลยค่ะลุง


โดย: Picike วันที่: 10 กันยายน 2551 เวลา:3:52:35 น.  

 
เพลงเพราะจังค่ะ


โดย: โอน่าจอมซ่าส์ วันที่: 10 กันยายน 2551 เวลา:6:12:48 น.  

 
เพิ่งได้ความรู้เพิ่มก็วันนี้เองค่ะ ขอบคุณมากนะคะ

ชอบรูปสุดท้าย น่ารักจังเลย


โดย: แค่คนหนึ่งคน วันที่: 10 กันยายน 2551 เวลา:12:24:49 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

นอกลู่นอกทาง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]








ภาพถ่ายดาวเทียมด้านอุตุนิยมวิทยา
ภาพสดๆจากที่ต่างๆทั่วมุมโลก
Ban Na Song BKK, Thailand
Karon Beach , Phuket , Thailand
Federal Highway, Angkasapuri ,Pantai Valley , Malaysia
Delta Estate , Singapore
Malate ,Manila , Philippines
Bandar Seri Begawan , Brunei
Guangxi Guilin, China
달빛무지개분수(Banpo Bridge Fountain )Sin’gilsa-dong , Seoul , South Korea
Hong Kong skyline from Admiralty, China
Shiomidai , Kanagawa , Japan
Cable Beach, Broome, Western Australia, Australia
Keahua Hawaii , USA
Sacramento California, USA
Washington D.C., USA
Manhattan , New York , USA
McCulloch Kelowna, Canada
Niagara Falls , Ontario , Canada
Panama Canal , Bella Vista , Panama
Santiago de Chile , Región Metropolitana , Chile
Fairbanks, Alaska Forecast Arctic
Mar del Plata Buenos Aires , Argentina
Tasiilaq , Østgrønland , Greenland
London Skyline from the Sheraton Park Tower , Knightsbridge , United Kingdom
Trafalgar Square , London , United Kingdom
Eiffel Tower Paris, France
Harstad Nordland , Norway
Halsum , Svalbarð , Iceland
Amsterdam , Netherlands
Vatican City State, Saint Peter's Basilica Borgo , Italy
Berlin, Germany
Чебоксарский залив, Yakimovo, Chuvashia , Russia
Udaipur Lake Pichola , Rājasthān , India
Mount Everest , Junbesi , Sagarmāthā , Nepal
Cape Town Sanddrift, South Africa
Orpen , Richmond , South Africa
Abū Hayl Dubai , United Arab Emirates
Kairo, Egypt
Medhufushi, Maldives
Mawson station Antarctica

Profile Visitor Map - Click to view visits
หนังทุกเรื่องหรือเพลงทุกเพลงในบล็อกนี้ เป็นเจ้าของ ของลิขสิทธินั้นๆตามเจ้าของเดิม นำมาเพื่อแบ่งปันชมกันในหมู่เพื่อนพ้อง ชาวบล็อกแก้งค์เท่านั้นครับ....
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ 2539 หากผู้ใดคิดจะ ลอกเลียน หรือนำส่วนใดส่วนหนื่ง ของข้อความใน Blog แห่งนี้ไปเผยแพร่ ให้นำไปได้เลย โดยไม่ต้องขออนุญาต จขบ. แต่ต้องคัดลอกแจกจ่ายให้ครบ 50 ก็อปปี้ ไม่เช่นนั้น จะมีอันเป็นไป ต่างๆนานา ถึงขั้นชีวิตตกอับ อิอิ หากแต่ว่า..นำชื่อ จขบ. ไปใช้ในทางเสียหายหรือประจาน จะถูกดำเนินคดี ตามที่ กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด นะจ๊ะ
Friends' blogs
[Add นอกลู่นอกทาง's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.