Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2552
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
16 พฤษภาคม 2552
 
All Blogs
 

White Balance : WB ...ไม่ใช่ ไวท์เทนนิ่ง !!
















ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนนะครับ ว่า WB สำหรับกล้องดิจิตอลนั้นคือ filter แก้สีให้ถูกต้อง เท่านั้นเองครับ ซึ่งจะมีหลายแบบ ให้เลือกใช้กันครับ ... แต่จะแตกต่างกันไปในแต่ละยี่ห้อ .. ซึ่ง WB เหล่านี้จะทำหน้าที่แก้สีของภาพ ในบรรยากาศตอนเราถ่ายภาพ

เราเห็นแอ๊บเปิ้ลสีแดง เพราะ แสงสะท้อนจากแอ๊บเปิ้ลนั้นวิ่งเข้าสู่ตาเราครับ ... วัตถุที่เราเห็นมีสีอะไร คือ วัตถุนั้นสะท้อนแสงนั้นเข้าตาเราครับ .. และในความหมายเดียวกันวัตถุนั้น ก้อดูดกลืนแสง(สี)ที่เรามองไม่เห็นจากวัตถุนั้นเช่นกันครับ



แหล่งกำเนิดแสงแบบต่างๆ




เหมือนสีดำ จะไม่สะท้อนสีใด แต่จะดูดกลืนทุกช่วงสี ( ผมขออธิบายง่ายๆว่าเป็นสี ไม่ขออ้างอิงเรืองความยาวคลื่นแสง หรือ การสะท้อนแสงนอกเหนือระดับ visible light) นะครับ

โดยปกติแล้ว แสงอาทิตย์ที่เราเห็น พอผ่านปริซึมหรือเมื่อมีการหักเห ก้ออกมาเป็นเจ็ดสีนั่นเองครับ (ขอเรียกสี แล้วกันนะครับ แต่จริงๆแล้ว คือ ช่วงความยาวคลื่นที่ต่างกัน )




ผลของช่วงเวลาการถ่ายภาพ




... วงเวียนนี้(รูปด้านล่าง) ก้อแสดง สีของแสง ... หรืออุณหภูมิของแสง .... เราจะได้สีของแดด ต่างกันไปในเวลาที่แตกต่างกัน แสงของแดดในแต่ละวันจะไม่เหมือนกัน แล้วแต่เมฆ แล้วแต่สภาพพื้นที่ หลายอย่างครับ ...






แม่สีที่ยกมาเป็นตัวอย่างนั้น ขออธิบายสั้นๆว่า RGB หรือ red green blue นั้นเป็นแม่สีของแสงครับ ... รวมกันแล้วได้สีขาว ..
เป็นแม่สีของระบบไฟฟ้า .... ดังนั้นค่าที่ถูกต้องของสีพวกนี้จึงต้องอ้างอิงจาก สีขาว ..หรือที่เราเรียกว่า white balance นั่นเองครับ ...

เวลาถ่ายรูปกล้องจะมี WB มาให้เลือกใช้หลายค่า เพื่อจะทำให้ภาพที่ได้มีสีที่ถูกต้อง ตามสภาพแสงที่ผิดเพี้ยนไป ... เคยถ่ายกลางคืนแล้วหน้าออกมาเขียวๆหรือแดงส้มๆไหมครับ ..



แสงต่อเนื่องกับแสงไม่ต่อเนื่อง




นั่นแหละฮะประเด็นใหญ่ .... เช่นกรณีอยู่ในห้องที่มีหลอดไส้แบบเก่า เราเรียกว่าหลอดทังสเตน ... แสงของหลอดไฟทังสเตน เกิดจากความร้อนที่ไส้หลอด แสงที่ออกมา จะเป็นพลังงานที่เกิดจากการกระโดดข้ามชั้นของอิเล็กตรอน ในโมเลกุลของไส้หลอด -*-

มันให้แสงที่มีสีที่เราเห็นนั่นแหละครับ ง่ายๆ แหะๆๆ

สีจะออกแนวส้มๆ ใช่มั้ยครับ คนที่ถูกถ่ายก้อจะส้มไปด้วย WB ในกล้องก้อเหมือนกับ filter แก้สีครับ ทำให้เหมือนใช้ filter ที่จะให้ค่าแสงถูกต้อง หน้าไม่ส้มจนเกินไปครับ โดย เราจะสามารถเลือก filter ได้ถูกต้องจากการ ทราบสภาพแสงครับ ...


การชดเชยแสง






แต่ยกตัวอย่างจาก การใช้งานจะง่ายกว่า มาดู White balance ของกล้องคุณกันนะครับ (เอาส่วนใหญ่)





อันเเรก ....... รูปพระอาทิตย์ .......

หมายถึง WB ทีเราควรจะเลือกใช้ในวันที่มีแดดดีๆครับ ..... แสงจะมีโทนอยู่ระหว่าง Cyan กับ Blue (ดูวงเวียนสีประกอบนะครับ) ... แดดดีๆเนี่ย UV ก้อมากถูกมั้ยครับ .... แสง UV จะให้สีฟ้าอมน้ำเงิน เพราะฉะนั้น... แสงที่ถูกต้องที่กล้องควรจะจับภาพคือ ต้องใส่ filter ที่มีสีตรงข้ามกัน ก้อเหมือนแก้ทางกันนะเองครับ ..... เพราะฉนั้นสีที่ตรงข้ามกันกับ UV คือสี ..............ดูวงเวียนครับ

เมื่อเราใช้ รูปก้อจะไม่ติดโทนน้ำเงินมากนักครับ .... (ลองหาฟิลเตอร์ uv ของกล้องฟิล์มมาดูนะครับ จะเห็นว่า มีสีชมพูอ่อนๆ แล้วแต่ยี่ห้อด้วยนะครับ)






white balance was set at Fluorescent, color temperature at approximately 4,200°Kelvin.







Incandescent (Tungsten) white balance, color temperature is at 3,000°Kelvin.






Direct Sunlight white balance, color temperature at 5,200°Kelvin.


อันที่หน้าตาเป็นเมฆ ... เราเรียก cloudy ครับ

........ การที่เมฆมากก้อเหมือนกับไอน้ำในอากาศมากครับ .. ไอน้ำเหล่านี้จะทำหน้าที่สะท้อนแสงแดดได้อย่างดี เปรียบเสมือนพระอาทิตย์ดวงเล็กๆนั่นเองครับ .... ดังนั้น เท่ากับว่า เหมือนกับเรามีปริมาณ UV เพิ่มขึ้นมามากกว่าเดิม ถูกมั้ยครับ ... แสดงว่าสีที่เพิ่มขึ้นก้อต้อง ........

ติดน้ำเงินมากยิ่งขึ้น.......... ดังนั้น WB ที่จะเอามาแก้แบบนี้คือ cloudy ก้อจะต้องมีสี ..........ตรงข้าม blue ก้อคือ สีแดงครับ .... ถ้าตอนนี้มีกล้องในมือก้อเอามาเล่นได้เลยนะครับ ลองปรับไปที่ WB cloudy ดูนะครับ ... ถ้าสภาพแสงปกติ จะเห็นได้เลยว่ารูปจะออกมาสีแดงๆ ... นั่นเป็นเพราะเหมือนเราใส่ filter สีแดงเข้าไปนั่นเองครับ ....






WB คือ การใส่ filter ให้กล้องเพื่อให้ได้ค่าสีที่ถูกต้อง ......

อันที่สามเป็นรูปหลอดไฟ ... หมายถึง หลอดไส้ เราเรียก wb แบบนี้ว่า ทังสเตนครับ

ไฟที่ออกมาจากหลอด สีจะออกส้มๆ ถูกมั้ยครับ ...ดังนั้น filter ก้อจะอยู่..............ตรงข้าม
คือสี ...............

ดูจากวงเวียนนะครับ .....







เพราะฉนั้นเวลาเราไปอยู่ในสภาพแสงที่แตกต่างกันเราก้อจะสามารถเลือก wb ให้ถูกต้องทำให้เราได้สีที่ถูกต้องครับ ....

อันสุดท้าย ..... หลอดยาว .... คือ หลอดฟลูออเรสเซนต์นั่นเองครับผม ....
ที่ใช้กันตามบ้านนั่นแหละครับ
หลอดฟลู นี้ เกิดจากหลักการง่ายๆคือการทำให้ก๊าซคลอรีนเรืองแสง ... สีของคลอรีน โดยทางเคมีแล้วคือสีเขียวนะครับ ...

ดังนั้นแสงที่ออกมาจะออกเขียวแต่ตาคนเราอาจะเเยกไม่ออกครับ ...

ถ้าแสงอมเขียวดังนั้น filter คือ สี ............. ม่วงงงงงงงงนั่นเอง









อุณหภูมิของสีนั้นปกตินับกันเป็น องศา Kelvin นะครับ ... หลายๆคนคงจะเห็น K เวลาตั้งค่า White Balance ที่กล้องอยู่ตลอดครับ




ค่าอุณหภูมินั้นจะนับจากสีที่อุณหภูมิน้อยที่สุด ( สีแดง ) ไปจนถึงอุณหภูมิที่สูงที่สุด ( สีน้ำเงิน ) ครับ





ที่น่าสงสัยคือปกติตามหลักศิลปะแล้วสีฟ้าน่าจะเป็นสีของความเย็นและสีแดง เป็นสีของความร้อน .... ความจริงแล้วตรงกันข้ามกันนะครับในหลักวัดองศา Kelvin




แต่ถ้าดูตามภาพที่ได้แล้วอาจจะสงสัยว่าทำไมถึงไม่มีสีเขียว ... เพราะว่าสีเขียวนั้นไม่ใช่สีที่ Kelvin วัดได้ครับ ... ไฟจะเกิดเป็นสีเขียวเฉพาะเมื่อเผากับทองแดงเท่านั้น ไม่ใช่ ธาตุอะไรซักอย่างที่ใช้เป็นหน่วยมาตรฐานความร้อนของ Kelvin ครับ



มาดูที่รูปกันนะครับ ... รูปนี้คือระยะของสีที่ตาของเรามองเห็นครับ .... แล้วระยะของอุณหภูมิสีครับ .... ปลายที่เลย ตัวอินฟินิตี้ไปแล้วคือแสง Ultra Violet ครับส่วนอีกปลายด้านนึงที่ลงสีแดงนี่เขาเรียกว่า ...X-ray







ส่วนอันนี้จะบอกว่าอุณหภูมิเท่าไหร่เป็นสีอะไรแล้วก็ เป็นสภาพแสงอย่างไหนบ้างครับ








เครื่องมือ Colour meter สำหรับคนที่ต้องวัดอุณหภูมิแสงทำ White Balance แบบแม่นยำครับ ...










สีชดเชยนั้นมีมากมายหลายชนิดครับ

หากใครใช้ Photoshop CS2 ลองดูตรง Image > Adjustment > Photo Filter ดูครับ แล้วลองแก้สีตาม Chart ที่ผมแนบมาดูครับว่าแก้สีได้อย่างว่าหรือเปล่า









ส่วนอันนี้เป็นของโบราณครับ ... หากใครยังใช้ Filter ธรรมดาอยู่ครับ ... รู้ไว้ใช่ว่าก็ดีนะครับ









อันนี้คือภาพที่ถ่ายเทียบครับว่า การตั้งค่า White Balance ต่างกันให้ผลอย่างไรครับ
ภาพนี้คือภาพถ่ายแสงอาทิตย์วันเมฆฝนบังหมดท้องฟ้า บ่ายโมงครับ





----------------------------------------------------




WB สำหรับกล้องดิจิตอลนั้นคือ filter แก้สีให้ถูกต้อง ซึ่งจะมีหลายแบบ ให้เลือกใช้กัน แต่จะแตกต่างกันไปในแต่ละยี่ห้อ ซึ่ง WB เหล่านี้จะทำหน้าที่แก้สีของภาพ ในบรรยากาศตอนเราถ่ายภาพ




เราเห็นแอ๊บเปิ้ลสีแดง เพราะ แสงสะท้อนจากแอ๊บเปิ้ลนั้นวิ่งเข้าสู่ตาเรา วัตถุที่เราเห็นมีสีอะไร คือ วัตถุนั้นสะท้อนแสงนั้นเข้าตาเรา และในความหมายเดียวกันวัตถุนั้น ก้อดูดกลืนแสง (สี) ที่เรามองไม่เห็นจากวัตถุนั้นก็เช่นกัน เช่นสีดำ จะไม่สะท้อนสีใดๆ แต่จะดูดกลืนทุกช่วงสี




โดยปกติแล้ว แสงอาทิตย์ที่เราเห็น พอผ่านปริซึมหรือเมื่อมีการหักเห ก้ออกมาเป็นเจ็ดสีนั่นเอง วงเวียนนี้ (รูปด้านล่าง) ก้อแสดง สีของแสง หรืออุณหภูมิของแสง เราจะได้สีของแดด ต่างกันไป ในเวลาที่แตกต่างกัน แสงของแดดในแต่ละวันจะไม่เหมือนกัน แล้วแต่เมฆ แล้วแต่สภาพพื้นที่ หลายอย่าง




แม่สีที่ยกมาเป็นตัวอย่างนั้น ขออธิบายสั้นๆว่า RGB หรือ red green blue นั้นเป็นแม่สีของแสง ซึ่งรวมกันแล้วได้สีขาว ดังนั้นค่าที่ถูกต้องของสีพวกนี้จึงต้องอ้างอิงจาก สีขาวหรือที่เราเรียกว่า White balance นั่นเอง




เวลาถ่ายรูปกล้องจะมี WB มาให้เลือกใช้หลายค่า เพื่อจะทำให้ภาพที่ได้มีสีที่ถูกต้อง ตามสภาพแสงที่ผิดเพี้ยนไป เช่นกรณีอยู่ในห้องที่มีหลอดไส้แบบเก่า เราเรียกว่าหลอดทังสเตน แสงของหลอดไฟทังสเตน เกิดจากความร้อนที่ไส้หลอด แสงที่ออกมา จะเป็นพลังงานที่เกิดจากการกระโดดข้ามชั้นของอิเล็กตรอน ในโมเลกุลของไส้หลอด มันให้แสงที่จะออกแนวส้มๆ คนที่ถูกถ่ายก้อจะส้มไปด้วย WB ในกล้องก้อเหมือนกับ filter แก้สี ทำให้เหมือนใช้ filter ที่จะให้ค่าแสงถูกต้อง หน้าไม่ส้มจนเกินไปโดยเราจะสามารถเลือก filter ได้ถูกต้องจากการ ทราบสภาพแสง แต่ยกตัวอย่างจาก การใช้งานจะง่ายกว่า






White balance โดยทั่วไปที่มีอยู่ในกล้อง

- Day Light (รูปพระอาทิตย์) หมายถึง WB ทีเราควรจะเลือกใช้ในวันที่มีแดดดีๆ แสงจะมีโทนอยู่ระหว่าง Cyan กับ Blue (ดูวงเวียนสีประกอบ) แดดดีๆ จะส่งผลให้มีปริมาณ UV มาก แสง UV จะให้สีฟ้าอมน้ำเงิน ดังนั้น แสงที่ถูกต้องที่กล้องควรจะจับภาพคือ ต้องใส่ filter ที่มีสีตรงข้ามกัน ซึ่งก็เหมือนแก้ทางกัน เพราะฉะนั้นสีที่ตรงข้ามกันกับ UV คือสีชมพูอ่อนๆ



- Cloudy (เมฆ) การที่เมฆมากก็เหมือนกับไอน้ำในอากาศมาก ไอน้ำเหล่านี้จะทำหน้าที่สะท้อนแสงแดดได้อย่างดี เปรียบเสมือนพระอาทิตย์ดวงเล็กๆ นั่นเอง ดังนั้น เท่ากับว่า เหมือนกับเรามีปริมาณ UV เพิ่มขึ้นมามากกว่าเดิม แสดงว่าสีที่เพิ่มขึ้นก้อต้อง ติดน้ำเงินมากยิ่งขึ้น ดังนั้น WB ที่จะเอามาแก้แบบนี้คือ cloudy ก้อจะต้องมีสี ตรงข้าม blue นั่คือ สีแดง ถ้าสภาพแสงปกติ จะเห็นได้เลยว่ารูปจะออกมาสีแดงๆ นั่นเป็นเพราะเหมือนเราใส่ filter สีแดงเข้าไปนั่นเอง





- Tungsten (รูปหลอดไฟ) หมายถึง หลอดไส้ เราเรียก WB แบบนี้ว่า ทังสเตนไฟที่ออกมาจากหลอด สีจะออกส้มๆ ดังนั้น filter ก้อจะอยู่ตรงข้าม คือสี ฟ้า

- Fluorescent (รูปหลอดยาว) คือ หลอดฟลูออเรสเซนต์ที่ใช้กันตามบ้าน หลักการของหลอดประเภทนี้ เกิดจากหลักการง่ายๆคือการทำให้ก๊าซคลอรีนเรืองแสง สีของคลอรีน โดยทางเคมีแล้วคือสีเขียว ดังนั้นแสงที่ออกมาจะออกเขียวแต่ตาคนเราอาจจะเเยกไม่ออก ดังนั้นถ้าแสงอมเขียว filter คือ สีชมพู หรือ ออกแนวบานเย็นนิดๆ





ดังนั้นถ่ายรูปแล้วสีมันไม่ได้อย่างใจ และไม่คิดจะหันหน้าเข้าหาโฟโต้ช็อบในทุกครั้ง รวมถึงอยากได้สีแป๋นๆ แรงๆ ลองเล่น WB ดูครับ



ข้อเสนอแนะ : อยากได้ WB หรือ ฟิลเตอร์สีไร แค่จำวงเวียนสีรูปด้านล่างแล้วลองไปใช้แก้ไขค่าสีดู เช่น WB ของกล้องมันให้สีชมพูไม่สะใจ เราก็ลองปรับไปที่ custom WB แล้วหา สีเขียวจัดๆ เพื่อเซตค่า WB ใหม่ ยิ่งเขียวมากเท่าไหร่ กล้องก็จะพยายามเร่งฟิลเตอร์สีตรงข้าม (คือชมพู) ให้เข้มขึ้นเท่านั้น







01 - White Balance - As Shot (auto white balance in camera)






02 - White Balance - Auto (auto white balance in Lightroom)






03 - White Balance - Daylight






04 - White Balance - Cloudy






05 - White Balance - Shade






06 - White Balance - Tungsten (not usually a good choice unless you have used tungsten lighting)






07 - White Balance - Fluorescent






08 - White Balance - Flash






09 - White Balance - Custom (eye dropper selection of car door panel)










White balance ของกล้อง Fujifilm มีดังนี้ (อ้างอิงจาก Fujifilm Finepix S6500fd)




WB Auto : กล้องจะปรับ WB ให้โดยอัติโนมัติตามอุณหภูมิสีของแหล่งกำเนิดแสง ใช้งานได้ดี แต่จะมีปัญหาในภาพที่มีสีใดสีหนึ่งมากเกินไป หรือเกินที่กล้องจะคำนวณได้เอง

Custom White Balance : แบบปรับตั้งเอง ระบบนี้จะใช้วิธีการวัดค่าจากระดาษสีขา่ว หรือสีเทาในสภาพแสงที่จะถ่ายภาพเพื่อให้ระบบทำการแก้ไข การตั้งค่ามีในคู่มือของกล้อง




Fine หรือ Daylight : เหมาะกับสภาพแสงที่อากาศแจ่มใส มีเมฆน้อย

Shade หรือ Cloudy : เหมาะกับวันที่มีเมฆมาก ครื้มๆ








Fluorescent 1 หรือ Daylight Fluorescent : ถ่ายภาพภายใต้แสง Daylight Fluorescent

Fluorescent 2 หรือ Day white Fluorescent : ถ่ายภาพภายใต้แสง Day white Fluorescent

Fluorescent 3 หรือ Cool white Fluorescent : ถ่ายภาพภายใต้แสง Cool white Fluorescent





Incandesent หรือ Tungsten : ถ่ายภาพภายใต้แสงจากหลอดไส้

หากไม่มั่นใจว่าสภาพแสงนั้นต้องตั้ง WB อันใหน ให้มองหาวัตถุสีขาว จากนั้นปรับ WB ไปเรื่อยๆ จนกว่าสีขาวจากช่องมองภาพจะเป็นสีขาวจริงๆเหมือนที่ตาเห็น (วิธีนี้ใช้ได้กับกล้อง compact, SLR-Like และ DSLR ที่มี Live view)









ที่มา
//www.pixpros.net/
//www.pixthai.com/
//mrpixman.multiply.com/















 

Create Date : 16 พฤษภาคม 2552
2 comments
Last Update : 16 พฤษภาคม 2552 0:00:41 น.
Counter : 4663 Pageviews.

 

ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ แต่ว่า ทำมะเปงอยู่ดี

 

โดย: no filling 16 พฤษภาคม 2552 14:06:58 น.  

 

ขอบคุณที่แนะนำเรื่องกล้องค่ะ จะได้เอามาใช้มั้ง

 

โดย: สแกวัลย์ 16 พฤษภาคม 2552 15:26:19 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


นอกลู่นอกทาง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]








ภาพถ่ายดาวเทียมด้านอุตุนิยมวิทยา
ภาพสดๆจากที่ต่างๆทั่วมุมโลก
Ban Na Song BKK, Thailand
Karon Beach , Phuket , Thailand
Federal Highway, Angkasapuri ,Pantai Valley , Malaysia
Delta Estate , Singapore
Malate ,Manila , Philippines
Bandar Seri Begawan , Brunei
Guangxi Guilin, China
달빛무지개분수(Banpo Bridge Fountain )Sin’gilsa-dong , Seoul , South Korea
Hong Kong skyline from Admiralty, China
Shiomidai , Kanagawa , Japan
Cable Beach, Broome, Western Australia, Australia
Keahua Hawaii , USA
Sacramento California, USA
Washington D.C., USA
Manhattan , New York , USA
McCulloch Kelowna, Canada
Niagara Falls , Ontario , Canada
Panama Canal , Bella Vista , Panama
Santiago de Chile , Región Metropolitana , Chile
Fairbanks, Alaska Forecast Arctic
Mar del Plata Buenos Aires , Argentina
Tasiilaq , Østgrønland , Greenland
London Skyline from the Sheraton Park Tower , Knightsbridge , United Kingdom
Trafalgar Square , London , United Kingdom
Eiffel Tower Paris, France
Harstad Nordland , Norway
Halsum , Svalbarð , Iceland
Amsterdam , Netherlands
Vatican City State, Saint Peter's Basilica Borgo , Italy
Berlin, Germany
Чебоксарский залив, Yakimovo, Chuvashia , Russia
Udaipur Lake Pichola , Rājasthān , India
Mount Everest , Junbesi , Sagarmāthā , Nepal
Cape Town Sanddrift, South Africa
Orpen , Richmond , South Africa
Abū Hayl Dubai , United Arab Emirates
Kairo, Egypt
Medhufushi, Maldives
Mawson station Antarctica

Profile Visitor Map - Click to view visits
หนังทุกเรื่องหรือเพลงทุกเพลงในบล็อกนี้ เป็นเจ้าของ ของลิขสิทธินั้นๆตามเจ้าของเดิม นำมาเพื่อแบ่งปันชมกันในหมู่เพื่อนพ้อง ชาวบล็อกแก้งค์เท่านั้นครับ....
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ 2539 หากผู้ใดคิดจะ ลอกเลียน หรือนำส่วนใดส่วนหนื่ง ของข้อความใน Blog แห่งนี้ไปเผยแพร่ ให้นำไปได้เลย โดยไม่ต้องขออนุญาต จขบ. แต่ต้องคัดลอกแจกจ่ายให้ครบ 50 ก็อปปี้ ไม่เช่นนั้น จะมีอันเป็นไป ต่างๆนานา ถึงขั้นชีวิตตกอับ อิอิ หากแต่ว่า..นำชื่อ จขบ. ไปใช้ในทางเสียหายหรือประจาน จะถูกดำเนินคดี ตามที่ กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด นะจ๊ะ
Friends' blogs
[Add นอกลู่นอกทาง's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.