สิงหาคม 2553
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
23 สิงหาคม 2553

กระบวนการสร้าง Sperm

อัณฑะจะทำหน้าที่ผลิตอสุจิได้ดีที่สุดเมื่ออยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสม นั่นก็คือต่ำกว่าอุณหภูมิร่างกายประมาณ 4 – 7 องศาเซลเซียส นั่นคือเหตุผลว่าเหตุใดถุงอัณฑะจึงอยู่ภายนอกร่างกาย อสุจิสร้างมาจากเซลล์ที่อยู่บนผนังของท่อผลิตอสุจิ โดยเซลล์เหล่านี้ได้มีการแบ่งเซลล์ซ้ำแล้วซ้ำอีกเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและรูปร่างหลายขั้นตอนกว่าจะกลายมาเป็นอสุจิ ซึ่งขั้นตอนการสร้างอสุจิภายในลูกอัณฑะนี้จะใช้เวลานานถึง 64 วันเลยทีเดียว หลังจากนั้นกระบวนการที่ช่วยให้อสุจิเดินทางผ่านท่อผลิตอสุจิออกมาสู่ท่อเก็บอสุจิและท่อนำอสุจินั้นก็จะใช้เวลาอีกประมาณ 10 – 14 วัน แม้ว่าภายในอัณฑะจะได้มีการพัฒนารูปร่างอสุจิให้สมบูรณ์เต็มที่แล้ว แต่ตัวอสุจิเองนั้นไม่เชิงมีความสมบูรณ์ในแง่ของการเคลื่อนไหว เนื่องจากอสุจิที่เพิ่งสร้างเสร็จใหม่ๆจากท่อผลิตอสุจินั้นไม่มีการเคลื่อนไหวเลย การเคลื่อนผ่านท่อผลิตอสุจิไปยังท่อเก็บอสุจิจึงเป็นการช่วยพัฒนาตัวอสุจิให้สามารถเคลื่อนไหวได้ต่อไป โดยเซลล์อีกชนิดหนึ่งที่อยู่ภายในท่อผลิตอสุจิชื่อว่า Sertoli (เซอร์โตไล) จะทำหน้าที่สร้างของเหลวภายในท่อผลิตอสุจิช่วยนำพาอสุจิไปยังท่อเก็บอสุจิ เมื่ออสุจิเดินทางมาถึงยังท่อเก็บอสุจิจะเริ่มมีการเคลื่อนไหวได้เป็นครั้งแรก แต่จะว่ายวนเป็นวงเท่านั้นเอง อสุจิจะมีการเคลื่อนไหวได้อย่างสมบูรณ์แบบเมื่อเดินทางออกมายังท่อเก็บอสุจิไปสู่ท่อนำอสุจิ จะเห็นได้ว่าทั้งท่อเก็บอสุจิและท่อนำอสุจิต่างเป็นเสมือนที่พักสะสมอสุจิ แต่จะแตกต่างกันตรงที่อสุจิในท่อนำอสุจิจะมีปริมาณเพียงพอสำหรับการหลั่งอสุจิออกมาแต่ละครั้งเท่านั้น ต่างจากท่อเก็บอสุจิซึ่งจะเก็บสะสมอสุจิทั้งหมดที่อัณฑะสร้างเอาไว้ การนำพาอสุจิจากท่อผลิตอสุจิไปยังท่อเก็บอสุจิและท่อนำอสุจิ เกิดขึ้นโดยการหดรัดตัวของท่อต่างๆเหล่านี้นั่นเอง
พัฒนาการของอัณฑะ
ในขณะที่ผู้ชายยังเป็นตัวอ่อนเจริญเติบโตอยู่ในครรภ์นั้น ได้มีการพัฒนาอวัยวะสืบพันธุ์ขึ้นมาแล้ว อัณฑะนั้นดั้งเดิมจะถูกสร้างขึ้นมาในช่องท้อง แต่พอระยะหลังของการตั้งครรภ์ ลูกอัณฑะนั้นจะค่อยๆเคลื่อนตัวลงมาอยู่ในถุงอัณฑะ เมื่อคลอดออกมาก็จะมีอัณฑะอยู่ในถุงอัณฑะเรียบร้อยแล้ว เซลล์ต้นกำเนิดที่จะได้พัฒนาไปเป็นตัวอสุจิในภายหลังนั้นได้ถูกสร้างเก็บไว้ในอัณฑะตั้งแต่เริ่มแรก เรียกว่า Primordial germ cell (ไพรมอร์เดียล เจอร์ม เซลล์) ซึ่งเกิดขึ้นครั้งแรกในถุงไข่แดงของตัวอ่อนเพศชาย ซึ่งต่อมาได้ย้ายไปยังบริเวณที่จะพัฒนาต่อไปเป็นอัณฑะในช่วงอายุครรภ์ 4 – 6 สัปดาห์ เซลล์ต้นกำเนิดของอสุจินั้นจะซ่อนตัวอยู่อย่างสงบจนกระทั่งผู้ชายเริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ ก็จะเริ่มแบ่งเซลล์เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการพัฒนาไปเป็นอสุจิต่อไป
ฮอร์โมนควบคุมการทำงานของระบบสืบพันธุ์เพศชาย
เช่นเดียวกันกับในเพศหญิง ต่อมใต้สมอง Hypothalamus และต่อม Pituitary มีส่วนเกี่ยวข้องในการควบคุมการสร้างอสุจิ แม้ว่าตัวของมันเองจะไม่ใช่อวัยวะในระบบสืบพันธุ์ก็ตาม Hypothalamus จะหลั่งฮอร์โมน GnRH ออกมาในกระแสเลือดเพื่อไปกระตุ้นให้ Pituitary หลั่งฮอร์โมนออกมาอีกสองชนิด นั่นก็คือ FSH และ LH นอกจากนี้ยังมีฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องอีกสองชนิดคือ Inhibin (อินฮิบิน) สร้างมาจาก Sertoli ซึ่งเป็นเซลล์ในท่อผลิตอสุจิ และฮอร์โมน Testosterone ซึ่งสร้างมาจากเซลล์อีกชนิดหนึ่งซึ่งอยู่ภายนอกท่อผลิตอสุจิ เรียกว่า Leydig (เลย์ดิก)
FSH ทำหน้าที่กระตุ้นให้ท่อผลิตอสุจิในอัณฑะทำการผลิตอสุจิ ในขณะที่ LH กระตุ้นให้ Leydig cells ทำการสร้างฮอร์โมน Testosterone อย่างไรก็ตาม FSH ก็มียังส่วนร่วมในการกระตุ้นให้ Leydig cells ผลิตฮอร์โมน Testosterone ด้วยเช่นกัน
ในผู้ชายวัยเจริญพันธุ์ Testosterone มีบทบาทสำคัญในการควบคุมการทำงานและการเจริญเติบโตของอวัยวะในระบบสืบพันธุ์หลายอวัยวะ และยังมีส่วนร่วมในการควบคุมการผลิตอสุจิ กลไกการทำงานของฮอร์โมนนั้นถูกควบคุมโดยฮอร์โมนด้วยกันเองเพื่อคงระดับสมดุลย์ของฮอร์โมนแต่ละชนิดเอาไว้ ฮอร์โมน Testosterone ทำหน้าที่ควบคุมการสร้าง LH ถ้าหากความเข้มข้นของฮอร์โมน Testosterone ลดลง จะส่งผลให้การสร้าง LH เพิ่มสูงขึ้น เช่นเดียวกับเมื่อระดับ Testosterone ในกระแสเลือดมีความเข้มข้นสูงก็จะมีการสร้าง LH ลดลง นอกจากนี้การควบคุมระดับฮอร์โมน LH โดย Testosterone นั้นยังส่งผลต่อเนื่องไปยัง Hypothalamus ในการควบคุมการสร้าง GnRH อีกด้วย เมื่ออัณฑะมีการผลิตอสุจิลดลงทำให้การสร้างฮอร์โมน Inhibin ลดลงด้วย ส่งผลให้ ต่อม Pituitary รับสัญญาณการเปลี่ยนแปลงนั้นและหลั่ง FSH และ LH ออกมามากขึ้น และฮอร์โมน FSH ก็จะส่งกระตุ้นการสร้างอสุจิและ Inhibin เป็นวงจรต่อเนื่องกันไปเช่นนี้




 

Create Date : 23 สิงหาคม 2553
2 comments
Last Update : 23 สิงหาคม 2553 10:01:18 น.
Counter : 10225 Pageviews.

 

 

โดย: หาแฟนตัวเป็นเกลียว 23 สิงหาคม 2553 12:19:37 น.  

 

 

โดย: สมาชิกหมายเลข 1779106 30 มีนาคม 2558 17:04:17 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


DR.TONGTIS
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




• B.Sc. Chulalongkorn University, Bangkok Thailand 1974-1978.
• M.D. Chulalongkorn University, Bangkok Thailand 1979-1980.
• Diploma Board of Obstetrics and Gynecology. Chulalongkorn University, Bangkok Thailand 1981-1983.
• Postdocteral Fellow Training. Queen's Mother Hospital, Glasgow Scotland.
• Postdocteral Fellow Training.King's College Hospital, London. UK.
• Postdocteral Fellow Training. Department of Obstetrics and Gynecology and Department of Radiology. John Hopkins Hospital, John Hopkins University.
[Add DR.TONGTIS's blog to your web]