"แจ๊ส....ฉัน"
Group Blog
 
 
สิงหาคม 2548
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
18 สิงหาคม 2548
 
All Blogs
 
Miles Davis - The Prince of Darkness ตอนที่ 2

ยุคแรกของสุดยอดวงควินเต็ต

นี่คือยุคที่ ไมล์ส ผันตัวเองจากบุคคลสำคัญมาสู่การเป็นบุคคลที่ยิ่งใหญ่ กับเพื่อนร่วมวงอีก 4 คน ประกอบด้วย John Coltrane (เทนเนอร์ แซ็ก), Red Garland (เปียโน), Paul Chambers (เบส), Philly Joe Jones (กลอง) ไมล์ส ได้รับคำกล่าวขวัญถึงเป็นอย่างมากในการว่างจ้างกลุ่มนักดนตรีหนุ่มๆ ที่ไม่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก อย่าง แชมเบอร์ส ก็ยังเป็นหนุ่มวัยรุ่นอยู่ โคลเทรน ก็ได้ชื่อว่าเป่าแซ็กเสียงแปร่งๆ และยังเป็นมือใหม่อยู่อีกต่างหาก แต่ว่าก็ว่าเถอะ 6 อัลบัมสำคัญที่ควินเต็ตกลุ่มนี้ทำไว้ก็ต้องยอมรับกันละว่า “เยี่ยมสุด” ไม่ว่าจะเป็น The New Miles Davis Quintet , Relaxin’ ออกตามมาติดๆ , Cookin’, Steamin’ และ Workin’ ออกกับเพรสทีจทั้งหมด หลังจากนั้นก็ตามด้วย Round About Midnight ซึ่งเป็นผลงานชุดเปิดตัว หลังจากโยกย้ายมาสู่ค่ายโคลัมเบีย

อัลบัมวงควินเต็ตที่ออกกับเพรสทีจนั้น บันทึกเสียงกันที่ Hackensack รัฐนิวเจอร์ซีย์ กับเอนจิเนียร์ผู้เก่งกาจ รูดี แวนเกลเดอร์ พรั่งพร้อมด้วยวัตถุดิบมากมายจากเซสชันที่เล่นกันยาวนาน เมื่อเดือนตุลาคม 1956 มันไม่มีการซ้อมเลย-เชื่อไหมล่ะ? แน่นอนเทคสองก็ไม่มี ไมล์ส เห็นว่าการซ้อมนั้นต้องเกิดขึ้นควบคู่ไปกับการแสดงด้วย อัลบัมควินเต็ตที่ 5 อัลบัมที่ออกกับเพรสทีจนั้น เป็นอัลบัมที่ต้องออกด้วยพันธสัญญาที่ยังเหลืออยู่ แต่ก็ดูเอาเถิดถึงความยิ่งใหญ่ในตัวมันเอง ตอนนั้นเขาได้บันทึกอัลบัม Round About Midnight กับโคลัมเบียเรียบร้อยแล้วในเดือนตุลาคม 1955 และมิถุนายน 1956! ช่วงนี้เป็นยุคกลางในการพัฒนาเอกลักษณ์ในการเป่าฮอร์นของตัวเอง เสียงที่เซ็กซี่ อบอุ่น หวาน บ่อยครั้งที่เขาใช้มิวต์เพื่อให้ได้เสียงอย่างนั้น ลองฟังได้จากเพลง If I Were A Bell เพลงละคร Guys and Dolls จากอัลบัม Relaxin’



แต่วงควินเต็ตวงนี้ก็ไม่ใช่ว่าจะเก่งแต่เพลงบัลลาดเท่านั้น เพลง Airegin ในอัลบัม Cookin’ ที่เล่นกับซันนีเป็นเพลงที่บ่งบอกได้ค่อนข้างชัดเจน การ์แลนด์ หยอดเปียโนได้หวานยั่วยวน ตามด้วยเสียงฟาดไฮ-แฮตอย่างดุเด็ดของ โจนส์ โคลเทรน ก็เล่นควบคู่กับ การ์แลนด์ แล้ว ไมล์ส ก็ถึงจะเข้ามาร่วมคำรามเสียงทรัมเป็ตคู่กาย โดยมี โคลเทรน เล่นเป็นคู่แข่งอยู่ข้างๆ เขาเริ่มโซโลในช่วงแรกซึ่งค่อนข้างจะหม่นมัว จนกระทั่งหลังจากช่วงท่อนแยก เมื่อเขากำลังจะโลดแล่นไปกับคอร์ดที่เปลี่ยนทาง ควบคู่ไปกับการตีทอม-ทอมของโจนส์ โคลเทรนตามติดมาด้วยการโซโลอันมีเอกลักษณ์เฉพาะที่ ไมล์ส เรียกมันว่า “Sheets of Sound” ส่วนภาคริธึมนั้นก็ไม่มีท่อนโซโลเลย การ์แลนด์ เคาะเปียโนได้งดงามมากในเพลงนี้ระหว่างที่ โคลเทรน กำลังอิมโพรไวซ์อยู่ แล้วก็เป็นที่น่าสนใจว่า นักวิจารณ์หลายๆ ท่านได้ลงความเห็นเกี่ยวกับตีกลองของ โจนส์ ไว้ว่า “ตีดังเกินไป” แต่จงรำลึกไว้เถิดว่า นั่นแหละคือสิ่งที่ ไมล์ส ต้องการให้เป็น การแสดงอันเร่าร้อนที่มากจากไซด์แมนของเขาทั้งหมด



แล้วความเร่าร้อนนั้นเองที่ผลักดันให้วงควินเต็ตวงนี้กลายเป็นความยิ่งใหญ่ของดนตรีแจ๊ซ ชายทั้งห้าคนได้สร้างสรรค์งานที่เป็นประวัติศาสตร์เสียยิ่งกว่างานเดี่ยวของตัวเองเสียอีก แล้วงานเหล่านี้ก็ได้กลายเป็นงานที่อยู่เหนือกาลเวลาไปเสียแล้ว


Create Date : 18 สิงหาคม 2548
Last Update : 25 กันยายน 2548 17:50:21 น. 2 comments
Counter : 1035 Pageviews.

 
ได้อัพตอนสองกันสักที


โดย: nunaggie (nunaggie ) วันที่: 18 สิงหาคม 2548 เวลา:10:49:48 น.  

 
Relaxin'----so cool!


โดย: winston วันที่: 22 กันยายน 2548 เวลา:0:31:45 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

nunaggie
Location :
City of Angels, Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




คุยเฉพาะเรื่องเพลง :D

"I still find each day too short for all the thoughts I want to think, all the walks I want to take, all the books I want to read, and all the friends I want to see." John Burroughs

Follow my twitter @nunaggie :)

"มีเรื่องราวอีกมากมายให้ชีวิตต้องเดินทางไปค้นหา เราคงไม่ค้นพบทุกอย่างได้ เพียงแค่ชั่วชีวิตเดียว"
Creative Commons License
© Supada Luangsirimongkol 2015.
qrcode
Friends' blogs
[Add nunaggie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.