เกลียดจริง ๆ คนไม่จริงใจ
 
มีนาคม 2552
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
30 มีนาคม 2552
 
 
7. เทคโนโลยีโทรคมนาคม

ความหมายของเทคโนโลยีโทรคมนาคม
โทร แปลว่า ไกล
คมนาคม แปลว่า การสื่อสาร
โทรคมนาคม (Telecommunication)
หมายถึงการสื่อสารระยะใกล้และไกล โดยการรับส่งสัญญาณเสียง ข้อความและภาพ ผ่านสื่อสัญญาณทางสายหรือไร้สายด้วยระบบแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งอาจเป็นไฟฟ้า แสง หรือวิธีอื่นใดที่ทำงานร่วมกัน เช่น โทรสาร ววิทยุติดตามตัว โทรศัพท์เคลื่อนที่ อินเทอร์เน็ต วิทยุกระจายและโทรทัศน์ Remote Control เป็นต้น


องค์ประกอบพื้นฐานของระบบโทรคมนาคม
ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบด้วยกัน คือ

หน่วยส่งข้อมูล ------------------------ > หน่วยรับข้อมูล
ช่องทางการสื่อสารข้อมูล



1. หน่วยส่งข้อมูล เป็นหน่วยที่ต้องการแจ้งหรือส่งข้อมูลให้หน่วยื่อน ๆ ทราบ เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูล มีหน้าที่ส่งข้อมูลข่าวสาร อาจจะเป็นคน หรือวัตถุก็ได้
2. ช่องทางการสื่อสาร คือกระบวนการ ช่องทาง หรือสื่อใด ๆ ที่ทำให้ข้อมูลสามารถส่งไปถึงหน่วยรับข้อมูลอย่างไม่ผิดพลาด เป็นสื่อสัญญาณทางสายหรือไร้สายก็ได้
3. หน่วยรับข้อมูล เป็นปลลายทางของการสื่อสารข้อมูลที่ทำหน้าที่รับข้อมูลส่งมาผ่านช่องทางการสื่อสาร อาจจะเป็นคนหรือวัตถุก็ได้

ทิศทางการสื่อสารข้อมูล มี 3 ชนิดคือ
1. แบบทิศทางเดียว (Simplex หรือ One-Way) ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางหนึ่ง โดยไม่สามารถย้อนกลับมาได้ เช่น ระบบวิทยุ ระบบโทรทัศน์ การส่งอีเมล เป้นต้น
2. แบบกึ่งสองทิศทาง (Half Duplex) ข้อมูลสามารถส่งสลับกันได้ทั้ง 2 ทิศทางโดยต้องผลัดกันส่งครั้งละทิศทางเท่านั้น เช่น วิทยุสื่อสารแบบผลัดกันพูด
3. แบบสองทิศทาง (Full Duplex หรือ Both-Way) ข้อมูลสามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้ง 2 ทิศทางอย่างอิสระ เช่น ระบบโทรศัพท์ การChat Online

สัญญาณไฟฟ้าในระบบโทรคมนาคม แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. สัญญาณแอนะล็อก (Analog Signal) เป็นสัญญาณไฟฟ้าในลักษณะคลื่นต่อเนื่อง (Sine wave) สัญญาณไฟฟ้าที่จะใช้เนเสียง หรือรูปภาพ เช่น ระบบวิทยุ โทรศัพท์ โทรทัศน์ เคเบิลทีวี
2. สัญญาณดิจิทัล (Digital Signal) เป็นสัญญาณไฟฟ้าในลักษณะไม่ต่อเนื่องเป็นระบบ 2 สภาวะ คือ สภาวะที่ไม่มีสัญญาณไฟฟ้าและมีสัญญาณไฟฟ้าโดยแทนสัญญาณข้อมูลด้วย "0" หรือ "1"

วัตถุประสงค์ของการนำการสื่อสารข้อมูลเข้ามาใช้ในองค์กร
1. เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งข้อมูล
2. เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
3. เพื่อลดเวลาในการทำงาน
4. เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร
5. เพื่อช่วยขยายการดำเนินงานขององค์กรให้ดีขึ้น
6. เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารองค์กรให้สะดวกมากขึ้น



แบบฝึกหัด
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง
7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง


Create Date : 30 มีนาคม 2552
Last Update : 12 มิถุนายน 2552 10:11:47 น. 225 comments
Counter : 9368 Pageviews.

 
การสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรมและแบบขนาน


การสื่อสารแบบอนุกรมจะเป็นการส่งข้อมูลทีละบิตต่อครั้งผ่านสายสื่อสาร ในขณะที่การสื่อสารข้อมูลแบบขนานจะส่งข้อมูลเป็นชุดของบิตพร้อม ๆ กันในแต่ละครั้ง ซึ่งทำให้การส่งข้อมูลแบบขนานสามารถทำได้เร็วกว่า แต่ก็จะเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่าเช่นกัน เนื่องจากสายที่ใช้จะต้องมีช่องสัญญาณจำนวนมาก เช่น 8 ช่องเพื่อให้สามารถส่งข้อมูลได้แปดบิตพร้อมกัน



การสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรมและแบบขนาน



ระบบเครือข่ายแบบเบสแบนด์และบรอดแบนด์


ระบบเครือข่ายแบบเบสแบนด์ (Baseband) จะเป็นการสื่อสารข้อมูลที่สายสัญญาณหรือตัวกลางในการส่งผ่านสัญญาณสามารถส่งได้เพียงหนึ่งสัญญาณในเวลาขณะใดขณะหนึ่งเท่านั้น นั่นคืออุปกรณ์ที่ใช้งานสายสัญญาณในขณะนั้นจะครอบครองช่องสัญญาณทั้งหมดโดยอุปกรณ์อื่นจะไม่สามารถร่วมใช้งานได้เลย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือระบบโทรศัพท์ เป็นต้น ซึ่งการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ส่วนมากจะเป็นการสื่อสารแบบเบสแบนด์ รวมทั้งการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์อื่น ๆ (เช่น เครื่องพิมพ์ จอภาพ) การสื่อสารผ่าน และการสื่อสารผ่านเครือข่ายหลัก ๆ ด้วย ยกเว้นเครือข่ายแบบ B - ISDN ที่เป็นแบบบรอดแบนด์
ที่มา
cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/sub%20net1.htm


โดย: น.ส.ชฎาพร โสภาคำ รหัส52040281117ชีววิทยา(จุลชีววิทยา) ม.8 พฤ(เช้า) IP: 124.157.220.178 วันที่: 21 มิถุนายน 2552 เวลา:16:49:26 น.  

 
ข้อที่1

องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล

1) ผู้ส่งสาร (Transmitter) คือ สิ่งที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในการสื่อสาร เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ เครื่องส่งรหัสมอส เป็นต้น

2) ผู้รับสาร (Receiver) คือ สิ่งที่ทำหน้าที่รับข้อมูลที่ถูกส่งมา เช่น ผู้ฟัง เครื่องรับวิทยุ เป็นต้น

3) ข้อมูล (Message) คือ สิ่งที่ผู้ส่งสารต้องการส่งให้ผู้รับสาร รับทราบ เช่น ข้อความ ประกาศ รหัสลับ เป็นต้น

4) สัญญาณรบกวน (Noise) คือ สิ่งที่ทำให้เกิดการรบกวน ต่อระบบและข่าวสาร
5) สื่อ (Medium) คือ ตัวกลางที่ใช้ในการส่งข้อมูลระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร เช่น อากาศ สายไฟฟ้า สายโทรศัพท์ เป็นต้น
6) โปรโตคอล (Protocol) คือ กระบวนการ วิธีการ ประเภท หรือข้อกำหนดต่างๆ ที่ตกลงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับสารเพื่อใช้ในการสื่อสารข้อมูล เช่น การเขียนจ่าหน้าซองจดหมาย การเข้ารหัสและการถอดรหัสข้อมูล การใช้ภาษาเดียวกัน


//www.makkasan.com/mss1/index5_files/Page417.htm



ข้อที่2


แบบทิศทางเดียว (Simplex) ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทาง โดยไม่สามารถส่งย้อนกลับมาได้ เช่น ระบบวิทยุ หรือโทรทัศน์

//rbu.rbru.ac.th/~bangkom/mnelectronic.htm




ข้อที่3

แบบสองทิศทาง(Full Duplex) ข้อมูลสามารถส่งพร้อมๆ กันได้ทั้ง 2 ทิศทางอย่างอิสระ ตัวอย่างเช่น ระบบโทรศัพท์

//www.nrru.ac.th/learning/science/sc_007/03/unit8/network1.html


โดย: นางสาวปวีณา บรรยงค์ เรียนจันทร์-บ่าย หมู่1 รหัส50040302112 IP: 172.29.9.56, 202.29.5.62 วันที่: 22 มิถุนายน 2552 เวลา:14:00:09 น.  

 
ข้อที่ 1

องค์ประกอบของการสื่อสาร
การสื่อสารเป็นพฤติกรรมอย่างหนึ่งของมนุษย์ เช่นเดียวกับพฤติกรรมอย่างอื่น เช่น การกินอยู่หลับนอน การทำงาน การเล่นกีฬา และเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเป็นประจำในชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคล ซึ่งลักษณะการสื่อสารในชีวิตประจำวันของคนเรานั้น อาจเกิดขึ้นทั้งการสื่อสารระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง สื่อสารกับสัตว์อื่น ตลอดถึงการสื่อสารกับเครื่องมือ โดยเฉพาะปัจจุบันได้มีการค้นพบ และนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานต่างๆ อย่างมาก จึงมีการสื่อสารรูปแบบใหม่เกิดขึ้น คือ การสื่อสารกับเครื่องมือ อย่างไรก็ตาม การสื่อสารระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง ( Human Communication ) ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่สุด และเป็นความหมายที่แท้จริงของการสื่อสาร ซึ่งการสื่อสารจะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลหนึ่ง ต้องการถ่ายทอดหรือส่งข่าวสารไปยังบุคคลอีกคนหนึ่ง ดังนั้นกระบวนการสื่อสารจึงมีองค์ประกอบ ดังรูปที่ 1.1
คือ ผู้ส่งสาร(Sender) สาร (Message) สื่อหรือช่องทาง (Channel) และผู้รับสาร (Reciever)

นักวิชาการด้านการสื่อสารได้วิเคราะห์ กำหนดองค์ประกอบ และอธิบายความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ ในกระบวนการของการสื่อสารไว้ดังนี้ คือ
1. ผู้ส่งสาร ( Source ) หมายถึงแหล่งกำเนิดสาร อาจเป็นบุคคล องค์การ สถาบันหรือคณะบุคคลที่เป็นผู้กำหนดสาระ ความรู้ ความคิด ที่จะส่งไปยังผู้รับสาร ดังนั้นการสื่อสารจะบรรลุจุดประสงค์หรือไม่ เพียงใด จึงขึ้นอยู่กับผู้ส่งสาร และสารที่ส่งเป็นสำคัญ
สาร (Message) หมายถึงเรื่องราว ความรู้ความคิดต่างๆ ที่ผู้ส่งประสงค์จะให้ไปถึงผู้รับ มีองค์ประกอบที่เป็นปัจจัยชี้ความสำเร็จของการสื่อสาร 3 ประการ คือ (1) เนื้อหาของสาร
(2) สัญลักษณ์หรือรหัสของสาร (3) การเลือกและจัดลำดับข่าวสาร
2. ตัวเข้ารหัสสาร (Encoder) สารที่จะส่งไปยังผู้รับนั้น ปกติเป็นความรู้ความคิดที่ไม่อาจจะส่งออกไปได้โดยตรง จำเป็นต้องทำให้สารนั้นอยู่ในลักษณะที่จะส่งได้ เช่น ทำให้เป็นคำพูด สัญญาณ ภาษาท่าทาง หรือรหัสอื่นๆ การสื่อสารโดยทั่วไปผู้ส่งสาร เช่น เป็นคำพูด หรืออาจจะใช้เครื่องมือสื่อสารต่างๆ เป็นเครื่องช่วย เช่น โทรเลข โทรศัพท์
3. ช่องทางการสื่อสาร (Channel) ข่าวสารจากผู้ส่ง จะถูกถ่ายทอดโดยอาศัยสื่อ หรือตัวกลาง (Media) ซึ่งอาจเป็นสื่ออย่างง่าย เช่น การพบปะพูดคุยกันตัวต่อตัว การเขียน การแสดงกิริยาท่าทาง ไปจนถึงการใช้สื่อที่มีความซับซ้อนยิ่งขึ้น เช่น วิทยุ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ ภาพยนตร์ ฯลฯ
4. การแปลรหัสสาร (Decoder) คือการแปลความหมายของรหัสสัญญาณที่ส่งมายังผู้รับ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ หากผู้ส่งใช้รหัสสัญญาณที่ผู้รับสามารถแปลความหมายได้เองโดยตรง เช่น ใช้ภาษาที่ผู้รับเข้าใจ การสื่อสารก็จะง่ายขึ้น แต่หากผู้ส่งใช้รหัสสัญญาณที่ผู้รับไม่อาจเข้าใจได้ เช่น ใช้ภาษาที่ผู้รับฟังไม่เข้าใจ การสื่อสารก็จะเพิ่มความยุ่งยากซับซ้อนยิ่งขึ้น ซึ่งย่อมจะส่งผลต่อความสำเร็จของการสื่อสาร
5. ผู้รับ (Reciever) เป็นจุดหมายปลายทาง (Destination) ของการสื่อสารซึ่งจะต้องมีการรับรู้ เข้าใจ หรือแสดงพฤติกรรม ตามที่ผู้ส่งสารต้องการ หากไม่เป็นไปตามนั้น ก็ถือว่าการสื่อสารนั้นล้มเหลว ผู้รับสารจะต้องมีทักษะการสื่อสาร (Communication Skill) ดีเช่นเดียวกับผู้ส่งสารจึงจะช่วยให้การสื่อสารบรรลุผลสมบูรณ์
6. ปฏิกิริยาของผู้รับสาร และการตอบสนอง (Response and Feed back) เมื่อผู้รับได้รับสาร และแปลความหมายจนเป็นที่เข้าใจอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ผู้รับย่อมจะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารอย่างใดอย่างหนึ่งด้วย เช่นเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย คล้อยตามหรือต่อต้าน ซึ่งการตอบสนองของผู้รับอาจผิดไปจากผู้ส่งต้องการก็ได้ ปฏิกิริยาตอบสนองของผู้รับ หากได้มีการย้อนกลับ( Feed back) ไปยังผู้ส่งสารให้รับรู้ จะช่วยให้เกิดการปรับการสื่อสารให้ได้ผลดียิ่งขึ้น กรณีเช่นนี้เรียกว่า การสื่อสารแบบสองทาง (Two-way Communication)
การตอบสนองของผู้รับสารกลับไปยังผู้ส่งสาร ย่อมจะต้องเกิดกระบวนการสื่อสาร เริ่มต้นขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยผู้รับจะทำหน้าที่เป็นผู้ส่งสาร และผู้ส่งสารในตอนแรกจะทำหน้าที่เป็นผู้รับสารแทน ซึ่งจะต้องอาศัยองค์ประกอบต่างๆ ของการสื่อสารเช่นเดียวกับการสื่อสารในขั้นตอนแรก การสื่อสารแบบ 2 ทาง ผู้สื่อสารจะทำหน้าที่ เป็นทั้งผู้รับและผู้ส่งสารพร้อมๆ กัน




ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการสื่อสาร
การสื่อสาร มีองค์ประกอบในด้านต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว องค์ประกอบแต่ละด้านล้วนเป็นปัจจัยที่จะส่งผลให้การสื่อสารประสบผลสำเร็จหรือล้มเหลวได้ทั้งสิ้น องค์ประกอบสำคัญที่ส่งผลอย่างสูงต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการสื่อสาร ได้แก่ คุณสมบัติของผู้สื่อสาร การใช้สื่อและเทคนิควิธี ในการสื่อสาร




คุณสมบัติของผู้สื่อสาร
การสื่อสาร มีทั้งลักษณะทางเดียว และการสื่อสารแบบสองทาง ในกรณีที่เป็นการสื่อสารแบบทางเดียว ผู้รับสารและผู้ส่งสารไม่พบกัน ขาดโอกาสตอบสนองและย้อนกลับ ทำให้การสื่อสารได้ผลน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสื่อสารมวลชนต่างๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ซึ่งแม้ว่าจะมีการย้อนกลับ (Feedback) บ้างก็เป็นเพียงบางโอกาสเท่านั้น ผู้ส่งสารทำหน้าที่ส่งสารเพียงอย่างเดียว ผู้รับก็ทำหน้าที่รับเพียงอย่างเดียวเช่นกัน จึงมีโอกาสเกิดความเข้าใจผิดหรือบิดเบือนข่าวสารได้ง่าย และนอกจากนี้การสื่อสารแบบมวลชน ยังมีอุปสรรคอีกอย่างหนึ่งคือ ความไม่แน่นอนของผู้รับหรือกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้นในการสื่อสารแบบทางเดียว ฝ่ายผู้ส่งสารจะต้องมีความรู้ ความสามารถ มีทักษะในการสื่อสาร และมีความรับผิดชอบอย่างสูง ส่วนในฝ่ายรับเองก็จะต้องมีควาามรู้ความสามารถ เพียงพอที่จะวิเคราะห์ และเชื่อถือข่าวสารต่างๆ อย่างมีเหตุผล ผู้รับข่าวสารที่มีความรู้ มักวิเคราะห์ และเชื่อถือความรู้ข่าวสารต่างๆ อย่างมีเหตุผล ส่วนผู้รับสารที่ขาดความรู้ มักวิเคราะห์ วิจารณ์ หรือตัดสินใจเชื่อโดยอาศัยเพียง "สามัญสำนึก" มากกว่าการใช้เหตุผล
การสื่อสารจะประสบผลที่ต้องการเพียงใดนั้น จึงขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สื่อสาร ที่สำคัญ 5 ประการ คือ
1. มีความรู้ความสามารถ หากผู้สื่อสารมีความรู้ความสามารถทั่วไปอยู่ในระดับสูง จะมีความเชื่อมั่นในตนเอง รับรู้และเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้รวดเร็ว แต่หากผู้สื่อสารมีความรู้ความสามารถต่ำ ความสามารถในการรับรู้และเข้าใจสิ่งต่างๆ ย่อมจะต่ำไปด้วย หากผู้ส่งสารและผู้รับสารมีพื้นฐานความรู้แตกต่างกัน กรณีผู้ส่งสาร มีความรู้ ความสามารถสูงกว่าผู้รับสาร จะให้ผลสำเร็จของการสื่อสาร ดีกว่ากรณีผู้ส่งสารมีความรู้ความสามารถต่ำกว่าผู้รับสาร
2. มีทักษะในการสื่อสาร คือมีความเชี่ยวชาญ สามารถในการพูด การเขียน การแสดง มีจิตวิทยาการจูงใจสูง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะต้องอาศัยความรู้ความสามารถ และการฝึกฝนตนเองเป็นสำคัญ
3. มีเจตคติที่ดี ผู้สื่อสารที่มีเจตคติที่ดีต่อกัน จะช่วยให้เข้าใจซึ่งกันและกันได้ง่ายขึ้น รู้จักวิเคราะห์ความรู้ ความคิด ข่าวสารต่างๆ อย่างเป็นเป็นกลางและมีเหตุผล แต่หากหากผู้สื่อสารมีเจตคติที่ไม่ดีต่อกัน อาจมองกันในแง่ร้ายและบิดเบือนข่าวสาร
4. พื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรม เนื่องจากสังคม วัฒนธรรม รวมถึง เพศ และอายุ เป็นตัวกำหนดความเชื่อ ความรู้สึกนึกคิดของคนในสังคม ผู้ที่จะสื่อสารเข้าใจกันได้ดีที่สุดนั้น ได้แก่ผู้ที่มีพื้นฐานทางสังคมวัฒนธรรมเหมือนกัน ทั้งผู้รับและผู้ส่ง ผู้สื่อสารที่มีความแตกต่างทางสังคมวัฒนธรรม อาจทำให้การสื่อสารล้มเหลว ทั้งนี้เพราะ การพูดหรือการปฏิบัติอย่างหนึ่งในสังคมหนึ่ง อาจแปลความหมายแตกต่างไปจากอีกสังคมหนึ่ง




สื่อและเทคนิคการสื่อสาร
การสื่อสาร เป็นศาสตร์ที่ต้องอาศัยทั้งบุคคล วัสดุเครื่องมือ และเทคนิควิธีการในการสื่อสาร ดังนั้นความสำเร็จในการสื่อสารส่วนหนึ่งจึงขึ้นอยู่กับ การเลือก และการใช้สื่ออย่างเหมาะสม
สื่อ (Media) โดยทั่วไปหมายถึงสิ่งที่นำหรือถ่ายทอดสาร จากผู้ส่งไปยังผู้รับ เช่น เสียงพูด กิริยาท่าทาง สิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ฯลฯ ผู้รับจะรับสารได้โดยประสาทในการรู้สึก อันได้แก่ การเห็น การได้ยิน การสัมผัส การได้กลิ่น การได้รับรู้รส สื่อ จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสื่อสาร สื่อแต่ละอย่างมีคุณสมบัติที่จะก่อให้เกิดการรับรู้ แตกต่างกัน เช่น สิ่งพิมพ์ ทำให้ได้รับสารโดยการเห็น วิทยุ ทำให้รับสารได้ด้วยการได้ยิน โทรทัศน์ ให้รับสารได้ทั้งการเห็นและการได้ยิน ผู้ส่งสารจึงต้องพิจารณาเลือกว่าจะใช้สื่อประเภทใด จึงจะเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุด แม้จะเป็นสื่อประเภทเดียวกัน ก็ยังอาจต้องพิจารณาในรายละเอียดลงไปอีก เช่น เมื่อเลือกสื่อสารผ่านทางหนังสือพิมพ์ ก็ต้องพิจารณาว่าจะใช้หนังสือพิมพ์ฉบับใด หรือถ้าเป็นโทรทัศน์ จะใช้ช่องใด เป็นต้น ( ปรมะ สตะเวทิน 2526 : 60 )
สื่อ สำหรับการสื่อสารในปัจจุบัน มีมากมายหลายชนิด และมีการพัฒนารูปแบบอยู่เสมอ ผู้สื่อสารจำเป็นต้องมีความรู้และทักษะในการใช้เครื่องมือเหล่านั้นเป็นอย่างดี เช่น การใช้วิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ เครื่องฉาย เครื่องเสียง และนอกเหนือจากนี้จะต้องเข้าใจถึงข้อดี ข้อจำกัดของเครื่องมือสื่อสารแต่ละอย่างด้วย
เทคนิควิธีในการสื่อสาร มีความสำคัญไม่น้อยกว่าการรู้จักใช้สื่อ ทั้งนี้เพราะการสื่อสารในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ย่อมจะต้องอาศัยเทคนิควิธีการที่เหมาะสมแตกต่างกันไปด้วย ผู้สื่อสารต้องมีเทคนิควิธีในการสื่อสารที่ดี รู้ว่าเมื่อใดควรใช้เทคนิควิธีการใด เมื่อใดควรใช้เครื่องมือช่วย เมื่อใดจะต้องทราบปฏิกิริยาตอบสนองจากผู้รับ และจะทราบได้อย่างไร เป็นต้น ตัวอย่างของการใช้เทคนิควิธีในการสื่อสาร เช่น
- นำเสนอซ้ำหลายๆ ครั้ง
- แบ่งเนื้อหาออกเป็นตอนสั้นๆ นำเสนอทีละน้อย
- กระตุ้นให้ผู้รับ ใช้ความคิด พิจารณาเหตุผล และหาข้อสรุปด้วยตนเอง
- กระตุ้นให้เกิดความสนใจ ก่อนที่จะนำเสนอเรื่องราวที่เป็นสาระสำคัญ
- แสดงเหตุผลหรือข้อเท็จจริงประกอบหลายๆ ด้าน แล้วจึงลงสรุป เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ
- ให้ผู้รับมีส่วนร่วม หรือแสดงปฏิกิริยาตอบสนอง
ฯลฯ

ทฤษฎีและแบบจำลองการสื่อสาร
การสื่อสาร เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับ การคิด การรับรู้ การเรียนรู้ของบุคคล และมีความเกี่ยวข้องไปถึงบุคคลอื่นและสังคมด้วย เป็นกระบวนการที่มีความซับซ้อนมีลักษณะเป็นนามธรรม ยากที่จะอธิบายให้ชัดเจนได้ว่า การสื่อสารมีสภาพที่แท้จริงเป็นอย่างไร หรือมีปรากฏการณ์อะไรบ้างที่เกิดขึ้นในกระบวนการสื่อสาร นักวิชาการการสื่อสารได้พยายามศึกษา ตั้งสมมุติฐาน คิดค้นหาคำอธิบาย และสร้างแผนผังหรือแบบจำลองขึ้นมาเพื่ออธิบายลักษณะหรือปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการสื่อสาร ซึ่งแบบจำลองหรือแผนผังเพื่ออธิบายการสื่อสารดังกล่าว ในปัจจุบันมีอยู่เป็นจำนวนมาก สามารถนำมาสรุปเป็นทฤษฏีการสื่อสารที่สำคัญได้หลายทฤษฏี ที่สำคัญ คือ (ธนวดี บุญลือ 2539 : 474-529 )
1. ทฤษฎีพฤติกรรมการเข้ารหัสและถอดรหัส
ทฤษฎีนี้มีความเชื่อว่า สิ่งสำคัญในการสื่อสาร คือ กระบวนการสร้างรหัสและถอดรหัสของผู้สื่อสาร ทั้งผู้รับและผู้ส่งสาร กิจกรรมที่สำคัญของการสื่อสารได้แก่ การแปลเนื้อหาข่าวสารให้เป็นรหัสสัญญาณ (Encoding) การแปลรหัสสัญญาณกลับเป็นเนื้อหา (Decoding) และการแปลความหมายของข่าวสาร (Interpreting) สรุปสาระสำคัญของทฤษฏี ดังนี้ คือ
1.1 การสื่อสาร เป็นปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ ที่เกิดขึ้นจากความต้องการตรวจสอบและควบคุมสิ่งแวดล้อม
1.2 กระบวนการสื่อสาร ต้องมีการเข้ารหัส ถอดรหัส และแปลความหมายอยู่ตลอดเวลา
1.3 การรับรู้ ความรู้สึก ความสนใจ และการจำแนกประเภทข่าวสาร ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบเชิงสรีร เช่น ระบบกล้ามเนื้อ เกี่ยวกับการฟัง การเขียน รวมถึงกระบวนการทางอารมณ์
1.4 เน้นการศึกษาถึงความสำพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร
1.5 ระบบสมอง การคิด เป็นปัจจัยสำคัญในการวิเคราะห์ตัดสินว่าสิ่งใดที่เกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกับตนเอง เป็นตัวกระตุ้นให้สนใจที่จะรับสาร
2. ทฤษฎีเชิงระบบพฤติกรรม
ให้ความสำคัญกับเรื่องของสื่อหรือช่องทางการสื่อสารสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้คือ
2.1 มุ่งอธิบายเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้น ในการส่งข่าวสาร จากผู้ส่ง ผ่านสื่อหรือช่องทาง ไปยังผู้รับ
2.2 เปรียบเทียบการสื่อสารของมนุษย์ได้กับการทำงานของเครื่องจักร
2.3 การสื่อสารเป็นกระบวนการต่อเนื่อง หรืออาจเป็นวงกลมและเกิดสิ่งใหม่ๆ ขึ้นเสมอ
2.4 ความหมายหรือเจตนาการสื่อสาร ขึ้นอยู่กับปฏิกิริยาระหว่างผู้สื่อสารและสถานการณ์แวดล้อม
3. ทฤษฎีเชิงปฏิสัมพันธ์
สรุปสาระสำคัญดังนี้ คือ
3.1 ให้ความสำคัญกับกระบวนการเชื่อมโยง ระหว่างผู้รับและผู้ส่งสาร ซึ่งปกติจะมีความสัมพันธ์ด้วยอำนาจภายนอกและมีปัจจัยเกี่ยวข้องหลายอย่าง
3.2 การสื่อสารจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน บุคคลิกภาพ ความน่าเชื่อของผู้ส่งข่าวสารเป็นตัวกำหนดปฏิกิริยาของผู้รับสาร
3.3 พฤติกรรมทั้งหลายของคนเป็นผลมาจากพฤติกรรมทางการสื่อสาร
3.4 พฤติกรรมต่างๆ ของคนมีอิทธิพลต่อกระบวนการเชื่อมโยงระหว่างผู้รับและผู้ส่งสาร
4. ทฤษฎีเชิงบริบททางสังคม
มีสาระสำคัญดังนี้ คือ
4.1 เน้นอธิบายเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสาร
4.2 การสื่อสารเกิดขึ้นภายใต้อิทธิพลของปัจจัยทางสังคม วัฒนธรรม
4.3 กลุ่มสังคม องค์กร มีอิทธิพลต่อความคิด ความเชื่อ การตัดสินใจ
4.4 สังคมเป็นตัวควบคลุมการไหลของกระแสข่าวสาร เมื่อสังคมมีการเปลี่ยนแปลงกระแสข่าวสารก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย



ทฤษฎีการสื่อสารทั้ง 4 ทฤษฎีข้างตนเป็นเพียงการนำความคิดของนักวิชาการการสื่อสารมาจัดเป็นกลุ่มความคิดตามความคิดที่เหมือนกันบางประการเท่านั้น ความจริงนักวิชาการแต่ละคน แม้ที่ถูกจัดในกลุ่มทฤษฏีเดียวกันก็มีความแตกต่างกันอยู่มาก ซึ่งแนวความคิดของนักวิชาการสื่อสารต่างๆ สามารถอธิบายได้ด้วยแบบจำลองการสื่อสารของนักวิชาการสื่อสารแต่ละคน
แบบจำลองเรื่องการสื่อสารของเบอร์โล (Berlo)
เบอร์โล (Berlo. 1960 : 40-71) เป็นผู้คิดกระบวนของการสื่อสารไว้ในลักษณะรูป แบบจำลอง S M C R Model อันประกอบด้วย
1. ผู้ส่ง (Source) ต้องเป็นผู้ที่มีทักษะความชำนาญในการสื่อสาร โดยมีความสามารถใน "การเข้ารหัส" (Encode) เนื้อหาข่าวสาร มีทัศนคติที่ดีต่อผู้รับเพื่อผลในการสื่อสาร มีความรู้อย่างดีเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารที่จะส่ง และควรมีความสามารถในการปรับระดับของข้อมูลนั้นให้เหมาะสมและง่ายต่อระดับความรู้ของผู้รับ ตลอดจนมีพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับผู้รับด้วย
2. ข่าวสาร (Message) เกี่ยวข้องทางด้านเนื้อหา สัญลักษณ์ และวิธีการส่งข่าวสารนั้น
3. ช่องทางในการส่ง (Channel) หมายถึง วิธีการที่จะส่งข่าวสารโดยการให้ผู้รับข่าวสารข้อมูลผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 หรือเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น การฟัง การดู การสัมผัส การลิ้มรส หรือการได้กลิ่น
4. ผู้รับ (Receiver) ต้องเป็นผู้มีทักษะความชำนาญในการสื่อสาร โดยมีความสามารถใน "การถอดรหัส" (Decode) สาร เป็นผู้มีทัศนคติ ระดับความรู้ และพื้นฐานทางสังคม วัฒนธรรม เช่นเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันกับผู้ส่ง จึงจะทำให้การสื่อสารนั้นได้ผล
แบบจำลองการสื่อสารของลาสเวลล์




เป็นแบบจำลองการสื่อสารที่อธิบายกระบวนการสื่อสารเชิงพฤติกรรม (The Behavioral of Thought) เป็นการศึกษาปฏิกิริยาระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร เนื้อหาข่าวสาร ชนิดของสื่อที่ใช้และผลอันเกิดจากการกระทำการสื่อสาร ลาสเวลล์อธิบายกระบวนการสื่อสารโดยตั้งเป็นคำถามเกี่ยวกับผู้ส่งสาร ผู้รับสาร และผลของการสื่อสาร คือ ใคร พูดอะไร ผ่านช่องทางใด ถึงใคร ได้ผลอย่างไร อาจเขียนเป็นแผนภาพได้ ดังนี้ (กิดานันท์ มลิทอง 2536 : 26 )

ใคร คือ ผู้ส่งสาร ซึ่งเป็นตัวกำหนดและควบคุมเนื้อหาข่าวสาร
พูดอะไร คือ สาร หรือเนื้อหาสาระของเรื่องที่ถูกสื่อสารออกไป
ด้วยทางใด คือ ตัวกลาง หรือสื่อที่ข่าวสารถูกส่งผ่านไปยังผู้รับ
กับใคร คือ ผู้รับสาร
ผลอะไร คือ สิ่งที่เกิดขึ้นอันเป็นผลมาจากการสื่อสาร


แนวคิดโดยสรุป ตามแบบจำลองของลาสเวลล์ คือ
1. อธิบายกระบวนการสื่อสารแบบง่ายๆ ซึ่งความจริงแล้วการสื่อสารของมนุษย์มีความสลับซับซ้อนมากกว่านี้ และการสื่อสารจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยปัจจัยอื่นๆ เป็นตัวกำหนด หรือมีอิทธิพล อย่างอื่น ในการสื่อสาร เช่น สภาวะแวดล้อมทางสังคม จุดมุ่งหมายในการสื่อสาร เป็นต้น
2. เน้นการสื่อสารแบบเห็นหน้ากัน ผู้สื่อสารปรากฏตัวขณะทำการสื่อสาร
3. เนื้อหาข่าวสารที่ส่งไปยังจุดหมายปลายทาง จะต้องมีจุดมุ่งหมาย เพราะคาดว่าจะต้องเกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ความจริงแล้วไม่จำเป็นเสมอไปว่าการส่งสารจะต้องมีจุดมุ่งหมายอย่างแน่นอน หรือเฉพาะเจาะจง
4. ขาดปัจจัยสำคัญตัวหนึ่งคือ ปฏิกิริยาการป้อนกลับ
แบบจำลองการสื่อสารของชแรมม์
วิลเบอร์ ชแรมม์ ได้เสนอแบบจำลองการสื่อสารตามแนวความคิดของเขาไว้ 3 แบบ คือ
(ธนวดี บุญลือ 2529 : 507-508 )
แบบที่ 1 อธิบายการสื่อสารเป็นกระบวนการเส้นตรง ประกอบด้วย แหล่งข่าวสาร (Source) เข้ารหัส (Edcoder) สัญญาณ (Signal) ถอดรหัส (Decoder) และจุดหมายปลายทาง (Destunation) ไม่ให้ความสำคัญกับการตอบสนองและปฏิสัมพันธิ์ระหว่างผู้สื่อสาร
แบบที่ 2 อธิบายกระบวนการสื่อสารที่ผู้ส่งและผู้รับสารมีประสบการณ์บางอย่างร่วมกัน ทำการสื่อสารอยู่ภายใต้ขอบเขตประสบการณ์ของแต่ละฝ่าย ความสำเร็จของการสื่อสารจึงขึ้นอยู่กับประสบการณ์ร่วมของผู้สื่อสาร
แบบที่ 3 ในกระบวนการสื่อสาร จะมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สื่อสาร อันเกิดจากการที่ทั้งสองฝ่ายต้องทำงานเหมือนกันในระหว่างที่ทำการสื่อสาร คือการเข้ารหัสสาร แปลความ และถอดรหัสให้เป็นสัญลักษณ์ ส่งไปยังผู้รับสาร ซึ่งเมื่อรับเนื้อหาข่าวสารไว้แล้ว ก่อนที่จะทำการส่งสารออกไป ก็ต้องนำสารที่จะส่งออกมาเข้ารหัส แปลความ และถอดรหัส เช่นเดียวกัน เพื่อส่งกลับไปยังผู้รับ ซึ่งเป็นผู้ส่งในครั้งแรก ชแรมม์เรียกกระบวนการสื่อสารนี้ว่า เป็น กระบวนการสื่อสารแบบวงกลม



โดย: จ.ส.อ.อาสา โสมประยูร เสาร์บ่าย หมู่ 5 รหัส 51241151211 IP: 125.26.171.213 วันที่: 23 มิถุนายน 2552 เวลา:10:14:49 น.  

 
ข้อ 2
การถ่ายทอดสัญญาณแบบทิศทางเดียว
การควบคุมทิศทางการส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission) ยอมให้มีการส่งข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับเท่านั้น ทางฝั่งผู้รับไม่สามารถส่งข้อมูลย้อนกลับมายังผู้ส่งได้ การไหลของน้ำออกทางท่อประปาเป็นตัวอย่างที่ชัดเจน ท่อประปาเปรียบเสมือนสายสื่อสารโดยมีก๊อกเป็นอุปกรณ์สื่อสาร และน้ำคือข้อมูลที่ถูกส่งออกมาจากโรงงานผลิตน้ำประปา จะเห็นได้ว่าเมื่อผู้ใช้น้ำประปา เปิดก๊อก น้ำก็จะไหลออกมาซึ่งจะหยุดก็ต่อเมื่อปิดก็อกหรือโรงผลิตน้ำประปาหยุดส่งน้ำ ส่วนผู้ใช้น้ำประปาเองก็ไม่สามารถที่จะส่งน้ำกลับไปยังโรงผลิตน้ำประปาได้ การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียวก็มีวิธีการทำงานเช่นเดียวกัน อุปกรณ์บางชนิด เช่น จอภาพ CRT เชื่อมต่อเข้ากับโฮสต์แบบทิศทางเดียว ข้อมูลจากโฮสต์จะถูกส่งมาแสดงบนจอภาพได้ แต่ตัวจอภาพเองไม่สามารถส่งข้อมูลใด ๆ กลับไปยังโฮสต์ได้
ตัวอย่างการส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียวกันได้แก่ การถ่ายทอดข้อมูลราคาซื้อ-ขายหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไปยังสมาชิกซึ่งมักจะใช้เครื่องพีซีติดต่อเข้ามาจากที่บ้านหรือที่ทำงาน ข้อมูลจะถูกส่งไปเก็บไว้ที่ฐานข้อมูลที่เครื่องพีซีของผู้ใช้ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกดูราคาหุ้น ทั้งหมดหรือหุ้นบางตัวที่สนใจได้โดยไม่ต้องส่งข้อมูลใด ๆ กลับมาที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เพียงแค่ส่งข้อมูลส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงมายังสมาชิกเท่านั้น
//www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php


โดย: จ.ส.อ.อาสา โสมประยูร เสาร์บ่าย หมู่ 5 รหัส 51241151211 IP: 125.26.171.213 วันที่: 23 มิถุนายน 2552 เวลา:10:21:59 น.  

 
ข้อ 3

การถ่ายทอดสัญญาณแบบสองทิศทางสมบูรณ์ (Full-Duplex Transmission) ยินยอมให้ทั้งฝ่ายผู้ส่งและผู้รับข้อมูลสามารถส่งข้อมูลไปยังอีกฝ่ายหนึ่งได้ตลอดเวลา วิธีการนี้จึงใช้ประโยชน์จากการสื่อสารข้อมูลอย่างเต็มที่ แต่มีข้อจำกัดคือเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีความสามารถในการรับและส่งข้อมูลได้อย่างเต็มที่ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้สื่อที่เลือกใช้ก็จะต้องมีช่องสื่อสารสองช่อง ช่องหนึ่งสำหรับส่งข้อมูลและอีกช่องหนึ่งสำหรับรับข้อมูล ช่องสื่อสารแบบ RS-232 สามารถรองรับการทำงานแบบนี้ได้เพราะมีขาเชื่อมต่อสำหรับการสื่อสารอยู่สองชุดที่แยกจากกัน โมเด็มที่ทำงานแบบสองทิศทางสมบูรณ์ได้จะต้องได้รับมาตรฐาน CCITT V.32 และ CCITT V.34 เช่นระบบโทรศัพท์เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสื่อสารที่เกิดขึ้นทั้งแบบกึ่งสองทิศทางและแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ในกรณีที่ใช้โทรศัพท์ ภายในเขตเมืองเดียวกัน (รหัสเมืองเหมือนกัน) จะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ดังนั้นผู้ใช้โทรศัพท์ ทั้งสองฝ่ายสามารถที่จะพูดออกมาพร้อม ๆ กัน เสียงพูดของแต่ละฝ่ายจะไปดังที่โทรศัพท์ของอีก ฝ่ายหนึ่ง แม้ว่าในทางปฏิบัติอาจจะไม่มีใครทำอย่างนี้แต่ก็สามารถทำได้อย่างแน่นอน
การส่งสัญญาณในระบบโทรศัพท์ทางไกลแม้ว่าตัวระบบเองจะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์แต่จะทำงานเป็นแบบกึ่งสองทิศทาง ระบบโทรศัพท์ทั่วไปจะมีสัญญาณสะท้อนกลับ (Echo) เกิดขึ้นเสมอเนื่องจากเสียงผู้พูดฝ่ายหนึ่งที่ไปถึงอีกฝ่ายหนึ่งจะทำให้เกิดการส่งสัญญาณสะท้อนกลับมาโดยไม่ได้ตั้งใจ ถ้าเป็นโทรศัพท์ภายในเขตจังหวัดเดียวกันหรือทางไกลภายในประเทศ สัญญาณสะท้อนกลับจะเกิดขึ้นเร็วมาก เนื่องจากระยะทางสั้น และซ้อนทับกับเสียงของผู้พูด จนกระทั่งไม่สามารถแยกเสียงจริงและเสียงสะท้อนออกจากกันได้ แต่ถ้าเป็นโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ สัญญาณสะท้อนกลับจะเกิดขึ้นช้ากว่า เพราะระยะทางไกลมาก ทำให้สามารถแยกความแตกต่างออกจากกันได้ คือผู้พูดจะได้ยินเสียงตัวเองภายหลังจากตัวเองที่หยุดพูด เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ระบบโทรศัพท์ต้องใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องตัดเสียงสะท้อน (Echo Suppressor) อุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่คอยเปิด-ปิดช่องสัญญาณในระหว่างการสนทนาเพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณสะท้อน ย้อนกลับไปยังผู้พูด เนื่องจากอุปกรณ์นี้ทำงานโดยใช้เสียงผู้พูดเป็นตัวกระตุ้นเพื่อปิดช่องสื่อสารของผู้ฟัง จึงทำให้ผู้ฟังไม่สามารถพูดสวนกลับไปได้ในเวลาเดียวกัน ผลที่เกิดขึ้นจึงทำให้ระบบการสื่อสารนี้กลายเป็นแบบกึ่งสองทิศทาง



โดย: จ.ส.อ.อาสา โสมประยูร เสาร์บ่าย หมู่ 5 รหัส 51241151211 IP: 125.26.171.213 วันที่: 23 มิถุนายน 2552 เวลา:11:08:39 น.  

 
ข้อที่ 1

องค์ประกอบของการสื่อสาร
การสื่อสารเป็นพฤติกรรมอย่างหนึ่งของมนุษย์ เช่นเดียวกับพฤติกรรมอย่างอื่น เช่น การกินอยู่หลับนอน การทำงาน การเล่นกีฬา และเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเป็นประจำในชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคล ซึ่งลักษณะการสื่อสารในชีวิตประจำวันของคนเรานั้น อาจเกิดขึ้นทั้งการสื่อสารระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง สื่อสารกับสัตว์อื่น ตลอดถึงการสื่อสารกับเครื่องมือ โดยเฉพาะปัจจุบันได้มีการค้นพบ และนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานต่างๆ อย่างมาก จึงมีการสื่อสารรูปแบบใหม่เกิดขึ้น คือ การสื่อสารกับเครื่องมือ อย่างไรก็ตาม การสื่อสารระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง ( Human Communication ) ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่สุด และเป็นความหมายที่แท้จริงของการสื่อสาร ซึ่งการสื่อสารจะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลหนึ่ง ต้องการถ่ายทอดหรือส่งข่าวสารไปยังบุคคลอีกคนหนึ่ง ดังนั้นกระบวนการสื่อสารจึงมีองค์ประกอบ ดังรูปที่ 1.1
คือ ผู้ส่งสาร(Sender) สาร (Message) สื่อหรือช่องทาง (Channel) และผู้รับสาร (Reciever)

นักวิชาการด้านการสื่อสารได้วิเคราะห์ กำหนดองค์ประกอบ และอธิบายความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ ในกระบวนการของการสื่อสารไว้ดังนี้ คือ
1. ผู้ส่งสาร ( Source ) หมายถึงแหล่งกำเนิดสาร อาจเป็นบุคคล องค์การ สถาบันหรือคณะบุคคลที่เป็นผู้กำหนดสาระ ความรู้ ความคิด ที่จะส่งไปยังผู้รับสาร ดังนั้นการสื่อสารจะบรรลุจุดประสงค์หรือไม่ เพียงใด จึงขึ้นอยู่กับผู้ส่งสาร และสารที่ส่งเป็นสำคัญ
สาร (Message) หมายถึงเรื่องราว ความรู้ความคิดต่างๆ ที่ผู้ส่งประสงค์จะให้ไปถึงผู้รับ มีองค์ประกอบที่เป็นปัจจัยชี้ความสำเร็จของการสื่อสาร 3 ประการ คือ (1) เนื้อหาของสาร
(2) สัญลักษณ์หรือรหัสของสาร (3) การเลือกและจัดลำดับข่าวสาร
2. ตัวเข้ารหัสสาร (Encoder) สารที่จะส่งไปยังผู้รับนั้น ปกติเป็นความรู้ความคิดที่ไม่อาจจะส่งออกไปได้โดยตรง จำเป็นต้องทำให้สารนั้นอยู่ในลักษณะที่จะส่งได้ เช่น ทำให้เป็นคำพูด สัญญาณ ภาษาท่าทาง หรือรหัสอื่นๆ การสื่อสารโดยทั่วไปผู้ส่งสาร เช่น เป็นคำพูด หรืออาจจะใช้เครื่องมือสื่อสารต่างๆ เป็นเครื่องช่วย เช่น โทรเลข โทรศัพท์
3. ช่องทางการสื่อสาร (Channel) ข่าวสารจากผู้ส่ง จะถูกถ่ายทอดโดยอาศัยสื่อ หรือตัวกลาง (Media) ซึ่งอาจเป็นสื่ออย่างง่าย เช่น การพบปะพูดคุยกันตัวต่อตัว การเขียน การแสดงกิริยาท่าทาง ไปจนถึงการใช้สื่อที่มีความซับซ้อนยิ่งขึ้น เช่น วิทยุ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ ภาพยนตร์ ฯลฯ
4. การแปลรหัสสาร (Decoder) คือการแปลความหมายของรหัสสัญญาณที่ส่งมายังผู้รับ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ หากผู้ส่งใช้รหัสสัญญาณที่ผู้รับสามารถแปลความหมายได้เองโดยตรง เช่น ใช้ภาษาที่ผู้รับเข้าใจ การสื่อสารก็จะง่ายขึ้น แต่หากผู้ส่งใช้รหัสสัญญาณที่ผู้รับไม่อาจเข้าใจได้ เช่น ใช้ภาษาที่ผู้รับฟังไม่เข้าใจ การสื่อสารก็จะเพิ่มความยุ่งยากซับซ้อนยิ่งขึ้น ซึ่งย่อมจะส่งผลต่อความสำเร็จของการสื่อสาร
5. ผู้รับ (Reciever) เป็นจุดหมายปลายทาง (Destination) ของการสื่อสารซึ่งจะต้องมีการรับรู้ เข้าใจ หรือแสดงพฤติกรรม ตามที่ผู้ส่งสารต้องการ หากไม่เป็นไปตามนั้น ก็ถือว่าการสื่อสารนั้นล้มเหลว ผู้รับสารจะต้องมีทักษะการสื่อสาร (Communication Skill) ดีเช่นเดียวกับผู้ส่งสารจึงจะช่วยให้การสื่อสารบรรลุผลสมบูรณ์
6. ปฏิกิริยาของผู้รับสาร และการตอบสนอง (Response and Feed back) เมื่อผู้รับได้รับสาร และแปลความหมายจนเป็นที่เข้าใจอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ผู้รับย่อมจะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารอย่างใดอย่างหนึ่งด้วย เช่นเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย คล้อยตามหรือต่อต้าน ซึ่งการตอบสนองของผู้รับอาจผิดไปจากผู้ส่งต้องการก็ได้ ปฏิกิริยาตอบสนองของผู้รับ หากได้มีการย้อนกลับ( Feed back) ไปยังผู้ส่งสารให้รับรู้ จะช่วยให้เกิดการปรับการสื่อสารให้ได้ผลดียิ่งขึ้น กรณีเช่นนี้เรียกว่า การสื่อสารแบบสองทาง (Two-way Communication)
การตอบสนองของผู้รับสารกลับไปยังผู้ส่งสาร ย่อมจะต้องเกิดกระบวนการสื่อสาร เริ่มต้นขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยผู้รับจะทำหน้าที่เป็นผู้ส่งสาร และผู้ส่งสารในตอนแรกจะทำหน้าที่เป็นผู้รับสารแทน ซึ่งจะต้องอาศัยองค์ประกอบต่างๆ ของการสื่อสารเช่นเดียวกับการสื่อสารในขั้นตอนแรก การสื่อสารแบบ 2 ทาง ผู้สื่อสารจะทำหน้าที่ เป็นทั้งผู้รับและผู้ส่งสารพร้อมๆ กัน




ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการสื่อสาร
การสื่อสาร มีองค์ประกอบในด้านต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว องค์ประกอบแต่ละด้านล้วนเป็นปัจจัยที่จะส่งผลให้การสื่อสารประสบผลสำเร็จหรือล้มเหลวได้ทั้งสิ้น องค์ประกอบสำคัญที่ส่งผลอย่างสูงต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการสื่อสาร ได้แก่ คุณสมบัติของผู้สื่อสาร การใช้สื่อและเทคนิควิธี ในการสื่อสาร




คุณสมบัติของผู้สื่อสาร
การสื่อสาร มีทั้งลักษณะทางเดียว และการสื่อสารแบบสองทาง ในกรณีที่เป็นการสื่อสารแบบทางเดียว ผู้รับสารและผู้ส่งสารไม่พบกัน ขาดโอกาสตอบสนองและย้อนกลับ ทำให้การสื่อสารได้ผลน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสื่อสารมวลชนต่างๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ซึ่งแม้ว่าจะมีการย้อนกลับ (Feedback) บ้างก็เป็นเพียงบางโอกาสเท่านั้น ผู้ส่งสารทำหน้าที่ส่งสารเพียงอย่างเดียว ผู้รับก็ทำหน้าที่รับเพียงอย่างเดียวเช่นกัน จึงมีโอกาสเกิดความเข้าใจผิดหรือบิดเบือนข่าวสารได้ง่าย และนอกจากนี้การสื่อสารแบบมวลชน ยังมีอุปสรรคอีกอย่างหนึ่งคือ ความไม่แน่นอนของผู้รับหรือกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้นในการสื่อสารแบบทางเดียว ฝ่ายผู้ส่งสารจะต้องมีความรู้ ความสามารถ มีทักษะในการสื่อสาร และมีความรับผิดชอบอย่างสูง ส่วนในฝ่ายรับเองก็จะต้องมีควาามรู้ความสามารถ เพียงพอที่จะวิเคราะห์ และเชื่อถือข่าวสารต่างๆ อย่างมีเหตุผล ผู้รับข่าวสารที่มีความรู้ มักวิเคราะห์ และเชื่อถือความรู้ข่าวสารต่างๆ อย่างมีเหตุผล ส่วนผู้รับสารที่ขาดความรู้ มักวิเคราะห์ วิจารณ์ หรือตัดสินใจเชื่อโดยอาศัยเพียง "สามัญสำนึก" มากกว่าการใช้เหตุผล
การสื่อสารจะประสบผลที่ต้องการเพียงใดนั้น จึงขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สื่อสาร ที่สำคัญ 5 ประการ คือ
1. มีความรู้ความสามารถ หากผู้สื่อสารมีความรู้ความสามารถทั่วไปอยู่ในระดับสูง จะมีความเชื่อมั่นในตนเอง รับรู้และเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้รวดเร็ว แต่หากผู้สื่อสารมีความรู้ความสามารถต่ำ ความสามารถในการรับรู้และเข้าใจสิ่งต่างๆ ย่อมจะต่ำไปด้วย หากผู้ส่งสารและผู้รับสารมีพื้นฐานความรู้แตกต่างกัน กรณีผู้ส่งสาร มีความรู้ ความสามารถสูงกว่าผู้รับสาร จะให้ผลสำเร็จของการสื่อสาร ดีกว่ากรณีผู้ส่งสารมีความรู้ความสามารถต่ำกว่าผู้รับสาร
2. มีทักษะในการสื่อสาร คือมีความเชี่ยวชาญ สามารถในการพูด การเขียน การแสดง มีจิตวิทยาการจูงใจสูง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะต้องอาศัยความรู้ความสามารถ และการฝึกฝนตนเองเป็นสำคัญ
3. มีเจตคติที่ดี ผู้สื่อสารที่มีเจตคติที่ดีต่อกัน จะช่วยให้เข้าใจซึ่งกันและกันได้ง่ายขึ้น รู้จักวิเคราะห์ความรู้ ความคิด ข่าวสารต่างๆ อย่างเป็นเป็นกลางและมีเหตุผล แต่หากหากผู้สื่อสารมีเจตคติที่ไม่ดีต่อกัน อาจมองกันในแง่ร้ายและบิดเบือนข่าวสาร
4. พื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรม เนื่องจากสังคม วัฒนธรรม รวมถึง เพศ และอายุ เป็นตัวกำหนดความเชื่อ ความรู้สึกนึกคิดของคนในสังคม ผู้ที่จะสื่อสารเข้าใจกันได้ดีที่สุดนั้น ได้แก่ผู้ที่มีพื้นฐานทางสังคมวัฒนธรรมเหมือนกัน ทั้งผู้รับและผู้ส่ง ผู้สื่อสารที่มีความแตกต่างทางสังคมวัฒนธรรม อาจทำให้การสื่อสารล้มเหลว ทั้งนี้เพราะ การพูดหรือการปฏิบัติอย่างหนึ่งในสังคมหนึ่ง อาจแปลความหมายแตกต่างไปจากอีกสังคมหนึ่ง




สื่อและเทคนิคการสื่อสาร
การสื่อสาร เป็นศาสตร์ที่ต้องอาศัยทั้งบุคคล วัสดุเครื่องมือ และเทคนิควิธีการในการสื่อสาร ดังนั้นความสำเร็จในการสื่อสารส่วนหนึ่งจึงขึ้นอยู่กับ การเลือก และการใช้สื่ออย่างเหมาะสม
สื่อ (Media) โดยทั่วไปหมายถึงสิ่งที่นำหรือถ่ายทอดสาร จากผู้ส่งไปยังผู้รับ เช่น เสียงพูด กิริยาท่าทาง สิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ฯลฯ ผู้รับจะรับสารได้โดยประสาทในการรู้สึก อันได้แก่ การเห็น การได้ยิน การสัมผัส การได้กลิ่น การได้รับรู้รส สื่อ จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสื่อสาร สื่อแต่ละอย่างมีคุณสมบัติที่จะก่อให้เกิดการรับรู้ แตกต่างกัน เช่น สิ่งพิมพ์ ทำให้ได้รับสารโดยการเห็น วิทยุ ทำให้รับสารได้ด้วยการได้ยิน โทรทัศน์ ให้รับสารได้ทั้งการเห็นและการได้ยิน ผู้ส่งสารจึงต้องพิจารณาเลือกว่าจะใช้สื่อประเภทใด จึงจะเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุด แม้จะเป็นสื่อประเภทเดียวกัน ก็ยังอาจต้องพิจารณาในรายละเอียดลงไปอีก เช่น เมื่อเลือกสื่อสารผ่านทางหนังสือพิมพ์ ก็ต้องพิจารณาว่าจะใช้หนังสือพิมพ์ฉบับใด หรือถ้าเป็นโทรทัศน์ จะใช้ช่องใด เป็นต้น ( ปรมะ สตะเวทิน 2526 : 60 )
สื่อ สำหรับการสื่อสารในปัจจุบัน มีมากมายหลายชนิด และมีการพัฒนารูปแบบอยู่เสมอ ผู้สื่อสารจำเป็นต้องมีความรู้และทักษะในการใช้เครื่องมือเหล่านั้นเป็นอย่างดี เช่น การใช้วิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ เครื่องฉาย เครื่องเสียง และนอกเหนือจากนี้จะต้องเข้าใจถึงข้อดี ข้อจำกัดของเครื่องมือสื่อสารแต่ละอย่างด้วย
เทคนิควิธีในการสื่อสาร มีความสำคัญไม่น้อยกว่าการรู้จักใช้สื่อ ทั้งนี้เพราะการสื่อสารในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ย่อมจะต้องอาศัยเทคนิควิธีการที่เหมาะสมแตกต่างกันไปด้วย ผู้สื่อสารต้องมีเทคนิควิธีในการสื่อสารที่ดี รู้ว่าเมื่อใดควรใช้เทคนิควิธีการใด เมื่อใดควรใช้เครื่องมือช่วย เมื่อใดจะต้องทราบปฏิกิริยาตอบสนองจากผู้รับ และจะทราบได้อย่างไร เป็นต้น ตัวอย่างของการใช้เทคนิควิธีในการสื่อสาร เช่น
- นำเสนอซ้ำหลายๆ ครั้ง
- แบ่งเนื้อหาออกเป็นตอนสั้นๆ นำเสนอทีละน้อย
- กระตุ้นให้ผู้รับ ใช้ความคิด พิจารณาเหตุผล และหาข้อสรุปด้วยตนเอง
- กระตุ้นให้เกิดความสนใจ ก่อนที่จะนำเสนอเรื่องราวที่เป็นสาระสำคัญ
- แสดงเหตุผลหรือข้อเท็จจริงประกอบหลายๆ ด้าน แล้วจึงลงสรุป เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ
- ให้ผู้รับมีส่วนร่วม หรือแสดงปฏิกิริยาตอบสนอง
ฯลฯ

ทฤษฎีและแบบจำลองการสื่อสาร
การสื่อสาร เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับ การคิด การรับรู้ การเรียนรู้ของบุคคล และมีความเกี่ยวข้องไปถึงบุคคลอื่นและสังคมด้วย เป็นกระบวนการที่มีความซับซ้อนมีลักษณะเป็นนามธรรม ยากที่จะอธิบายให้ชัดเจนได้ว่า การสื่อสารมีสภาพที่แท้จริงเป็นอย่างไร หรือมีปรากฏการณ์อะไรบ้างที่เกิดขึ้นในกระบวนการสื่อสาร นักวิชาการการสื่อสารได้พยายามศึกษา ตั้งสมมุติฐาน คิดค้นหาคำอธิบาย และสร้างแผนผังหรือแบบจำลองขึ้นมาเพื่ออธิบายลักษณะหรือปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการสื่อสาร ซึ่งแบบจำลองหรือแผนผังเพื่ออธิบายการสื่อสารดังกล่าว ในปัจจุบันมีอยู่เป็นจำนวนมาก สามารถนำมาสรุปเป็นทฤษฏีการสื่อสารที่สำคัญได้หลายทฤษฏี ที่สำคัญ คือ (ธนวดี บุญลือ 2539 : 474-529 )
1. ทฤษฎีพฤติกรรมการเข้ารหัสและถอดรหัส
ทฤษฎีนี้มีความเชื่อว่า สิ่งสำคัญในการสื่อสาร คือ กระบวนการสร้างรหัสและถอดรหัสของผู้สื่อสาร ทั้งผู้รับและผู้ส่งสาร กิจกรรมที่สำคัญของการสื่อสารได้แก่ การแปลเนื้อหาข่าวสารให้เป็นรหัสสัญญาณ (Encoding) การแปลรหัสสัญญาณกลับเป็นเนื้อหา (Decoding) และการแปลความหมายของข่าวสาร (Interpreting) สรุปสาระสำคัญของทฤษฏี ดังนี้ คือ
1.1 การสื่อสาร เป็นปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ ที่เกิดขึ้นจากความต้องการตรวจสอบและควบคุมสิ่งแวดล้อม
1.2 กระบวนการสื่อสาร ต้องมีการเข้ารหัส ถอดรหัส และแปลความหมายอยู่ตลอดเวลา
1.3 การรับรู้ ความรู้สึก ความสนใจ และการจำแนกประเภทข่าวสาร ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบเชิงสรีร เช่น ระบบกล้ามเนื้อ เกี่ยวกับการฟัง การเขียน รวมถึงกระบวนการทางอารมณ์
1.4 เน้นการศึกษาถึงความสำพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร
1.5 ระบบสมอง การคิด เป็นปัจจัยสำคัญในการวิเคราะห์ตัดสินว่าสิ่งใดที่เกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกับตนเอง เป็นตัวกระตุ้นให้สนใจที่จะรับสาร
2. ทฤษฎีเชิงระบบพฤติกรรม
ให้ความสำคัญกับเรื่องของสื่อหรือช่องทางการสื่อสารสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้คือ
2.1 มุ่งอธิบายเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้น ในการส่งข่าวสาร จากผู้ส่ง ผ่านสื่อหรือช่องทาง ไปยังผู้รับ
2.2 เปรียบเทียบการสื่อสารของมนุษย์ได้กับการทำงานของเครื่องจักร
2.3 การสื่อสารเป็นกระบวนการต่อเนื่อง หรืออาจเป็นวงกลมและเกิดสิ่งใหม่ๆ ขึ้นเสมอ
2.4 ความหมายหรือเจตนาการสื่อสาร ขึ้นอยู่กับปฏิกิริยาระหว่างผู้สื่อสารและสถานการณ์แวดล้อม
3. ทฤษฎีเชิงปฏิสัมพันธ์
สรุปสาระสำคัญดังนี้ คือ
3.1 ให้ความสำคัญกับกระบวนการเชื่อมโยง ระหว่างผู้รับและผู้ส่งสาร ซึ่งปกติจะมีความสัมพันธ์ด้วยอำนาจภายนอกและมีปัจจัยเกี่ยวข้องหลายอย่าง
3.2 การสื่อสารจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน บุคคลิกภาพ ความน่าเชื่อของผู้ส่งข่าวสารเป็นตัวกำหนดปฏิกิริยาของผู้รับสาร
3.3 พฤติกรรมทั้งหลายของคนเป็นผลมาจากพฤติกรรมทางการสื่อสาร
3.4 พฤติกรรมต่างๆ ของคนมีอิทธิพลต่อกระบวนการเชื่อมโยงระหว่างผู้รับและผู้ส่งสาร
4. ทฤษฎีเชิงบริบททางสังคม
มีสาระสำคัญดังนี้ คือ
4.1 เน้นอธิบายเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสาร
4.2 การสื่อสารเกิดขึ้นภายใต้อิทธิพลของปัจจัยทางสังคม วัฒนธรรม
4.3 กลุ่มสังคม องค์กร มีอิทธิพลต่อความคิด ความเชื่อ การตัดสินใจ
4.4 สังคมเป็นตัวควบคลุมการไหลของกระแสข่าวสาร เมื่อสังคมมีการเปลี่ยนแปลงกระแสข่าวสารก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย



ทฤษฎีการสื่อสารทั้ง 4 ทฤษฎีข้างตนเป็นเพียงการนำความคิดของนักวิชาการการสื่อสารมาจัดเป็นกลุ่มความคิดตามความคิดที่เหมือนกันบางประการเท่านั้น ความจริงนักวิชาการแต่ละคน แม้ที่ถูกจัดในกลุ่มทฤษฏีเดียวกันก็มีความแตกต่างกันอยู่มาก ซึ่งแนวความคิดของนักวิชาการสื่อสารต่างๆ สามารถอธิบายได้ด้วยแบบจำลองการสื่อสารของนักวิชาการสื่อสารแต่ละคน
แบบจำลองเรื่องการสื่อสารของเบอร์โล (Berlo)
เบอร์โล (Berlo. 1960 : 40-71) เป็นผู้คิดกระบวนของการสื่อสารไว้ในลักษณะรูป แบบจำลอง S M C R Model อันประกอบด้วย
1. ผู้ส่ง (Source) ต้องเป็นผู้ที่มีทักษะความชำนาญในการสื่อสาร โดยมีความสามารถใน "การเข้ารหัส" (Encode) เนื้อหาข่าวสาร มีทัศนคติที่ดีต่อผู้รับเพื่อผลในการสื่อสาร มีความรู้อย่างดีเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารที่จะส่ง และควรมีความสามารถในการปรับระดับของข้อมูลนั้นให้เหมาะสมและง่ายต่อระดับความรู้ของผู้รับ ตลอดจนมีพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับผู้รับด้วย
2. ข่าวสาร (Message) เกี่ยวข้องทางด้านเนื้อหา สัญลักษณ์ และวิธีการส่งข่าวสารนั้น
3. ช่องทางในการส่ง (Channel) หมายถึง วิธีการที่จะส่งข่าวสารโดยการให้ผู้รับข่าวสารข้อมูลผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 หรือเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น การฟัง การดู การสัมผัส การลิ้มรส หรือการได้กลิ่น
4. ผู้รับ (Receiver) ต้องเป็นผู้มีทักษะความชำนาญในการสื่อสาร โดยมีความสามารถใน "การถอดรหัส" (Decode) สาร เป็นผู้มีทัศนคติ ระดับความรู้ และพื้นฐานทางสังคม วัฒนธรรม เช่นเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันกับผู้ส่ง จึงจะทำให้การสื่อสารนั้นได้ผล
แบบจำลองการสื่อสารของลาสเวลล์




เป็นแบบจำลองการสื่อสารที่อธิบายกระบวนการสื่อสารเชิงพฤติกรรม (The Behavioral of Thought) เป็นการศึกษาปฏิกิริยาระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร เนื้อหาข่าวสาร ชนิดของสื่อที่ใช้และผลอันเกิดจากการกระทำการสื่อสาร ลาสเวลล์อธิบายกระบวนการสื่อสารโดยตั้งเป็นคำถามเกี่ยวกับผู้ส่งสาร ผู้รับสาร และผลของการสื่อสาร คือ ใคร พูดอะไร ผ่านช่องทางใด ถึงใคร ได้ผลอย่างไร อาจเขียนเป็นแผนภาพได้ ดังนี้ (กิดานันท์ มลิทอง 2536 : 26 )

ใคร คือ ผู้ส่งสาร ซึ่งเป็นตัวกำหนดและควบคุมเนื้อหาข่าวสาร
พูดอะไร คือ สาร หรือเนื้อหาสาระของเรื่องที่ถูกสื่อสารออกไป
ด้วยทางใด คือ ตัวกลาง หรือสื่อที่ข่าวสารถูกส่งผ่านไปยังผู้รับ
กับใคร คือ ผู้รับสาร
ผลอะไร คือ สิ่งที่เกิดขึ้นอันเป็นผลมาจากการสื่อสาร


แนวคิดโดยสรุป ตามแบบจำลองของลาสเวลล์ คือ
1. อธิบายกระบวนการสื่อสารแบบง่ายๆ ซึ่งความจริงแล้วการสื่อสารของมนุษย์มีความสลับซับซ้อนมากกว่านี้ และการสื่อสารจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยปัจจัยอื่นๆ เป็นตัวกำหนด หรือมีอิทธิพล อย่างอื่น ในการสื่อสาร เช่น สภาวะแวดล้อมทางสังคม จุดมุ่งหมายในการสื่อสาร เป็นต้น
2. เน้นการสื่อสารแบบเห็นหน้ากัน ผู้สื่อสารปรากฏตัวขณะทำการสื่อสาร
3. เนื้อหาข่าวสารที่ส่งไปยังจุดหมายปลายทาง จะต้องมีจุดมุ่งหมาย เพราะคาดว่าจะต้องเกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ความจริงแล้วไม่จำเป็นเสมอไปว่าการส่งสารจะต้องมีจุดมุ่งหมายอย่างแน่นอน หรือเฉพาะเจาะจง
4. ขาดปัจจัยสำคัญตัวหนึ่งคือ ปฏิกิริยาการป้อนกลับ
แบบจำลองการสื่อสารของชแรมม์
วิลเบอร์ ชแรมม์ ได้เสนอแบบจำลองการสื่อสารตามแนวความคิดของเขาไว้ 3 แบบ คือ
(ธนวดี บุญลือ 2529 : 507-508 )
แบบที่ 1 อธิบายการสื่อสารเป็นกระบวนการเส้นตรง ประกอบด้วย แหล่งข่าวสาร (Source) เข้ารหัส (Edcoder) สัญญาณ (Signal) ถอดรหัส (Decoder) และจุดหมายปลายทาง (Destunation) ไม่ให้ความสำคัญกับการตอบสนองและปฏิสัมพันธิ์ระหว่างผู้สื่อสาร
แบบที่ 2 อธิบายกระบวนการสื่อสารที่ผู้ส่งและผู้รับสารมีประสบการณ์บางอย่างร่วมกัน ทำการสื่อสารอยู่ภายใต้ขอบเขตประสบการณ์ของแต่ละฝ่าย ความสำเร็จของการสื่อสารจึงขึ้นอยู่กับประสบการณ์ร่วมของผู้สื่อสาร
แบบที่ 3 ในกระบวนการสื่อสาร จะมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สื่อสาร อันเกิดจากการที่ทั้งสองฝ่ายต้องทำงานเหมือนกันในระหว่างที่ทำการสื่อสาร คือการเข้ารหัสสาร แปลความ และถอดรหัสให้เป็นสัญลักษณ์ ส่งไปยังผู้รับสาร ซึ่งเมื่อรับเนื้อหาข่าวสารไว้แล้ว ก่อนที่จะทำการส่งสารออกไป ก็ต้องนำสารที่จะส่งออกมาเข้ารหัส แปลความ และถอดรหัส เช่นเดียวกัน เพื่อส่งกลับไปยังผู้รับ ซึ่งเป็นผู้ส่งในครั้งแรก ชแรมม์เรียกกระบวนการสื่อสารนี้ว่า เป็น กระบวนการสื่อสารแบบวงกลม

ที่มา //edtechno.msu.ac.th/mod/resource/view.php?id=84



โดย: จ.ส.ต.(หญิง)พรรณสุภา ชิตเกษร เสาร์บ่าย รหัส 51241151125 IP: 125.26.171.213 วันที่: 23 มิถุนายน 2552 เวลา:11:27:40 น.  

 
ข้อ 2

ตัวอย่างการส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียวกันได้แก่ การถ่ายทอดข้อมูลราคาซื้อ-ขายหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไปยังสมาชิกซึ่งมักจะใช้เครื่องพีซีติดต่อเข้ามาจากที่บ้านหรือที่ทำงาน ข้อมูลจะถูกส่งไปเก็บไว้ที่ฐานข้อมูลที่เครื่องพีซีของผู้ใช้ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกดูราคาหุ้น ทั้งหมดหรือหุ้นบางตัวที่สนใจได้โดยไม่ต้องส่งข้อมูลใด ๆ กลับมาที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เพียงแค่ส่งข้อมูลส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงมายังสมาชิกเท่านั้น

ที่มา : //www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php


ข้อ 3

การถ่ายทอดสัญญาณแบบสองทิศทางสมบูรณ์ (Full-Duplex Transmission) ยินยอมให้ทั้งฝ่ายผู้ส่งและผู้รับข้อมูลสามารถส่งข้อมูลไปยังอีกฝ่ายหนึ่งได้ตลอดเวลา วิธีการนี้จึงใช้ประโยชน์จากการสื่อสารข้อมูลอย่างเต็มที่ แต่มีข้อจำกัดคือเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีความสามารถในการรับและส่งข้อมูลได้อย่างเต็มที่ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้สื่อที่เลือกใช้ก็จะต้องมีช่องสื่อสารสองช่อง ช่องหนึ่งสำหรับส่งข้อมูลและอีกช่องหนึ่งสำหรับรับข้อมูล ช่องสื่อสารแบบ RS-232 สามารถรองรับการทำงานแบบนี้ได้เพราะมีขาเชื่อมต่อสำหรับการสื่อสารอยู่สองชุดที่แยกจากกัน โมเด็มที่ทำงานแบบสองทิศทางสมบูรณ์ได้จะต้องได้รับมาตรฐาน CCITT V.32 และ CCITT V.34 เช่นระบบโทรศัพท์เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสื่อสารที่เกิดขึ้นทั้งแบบกึ่งสองทิศทางและแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ในกรณีที่ใช้โทรศัพท์ ภายในเขตเมืองเดียวกัน (รหัสเมืองเหมือนกัน) จะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ดังนั้นผู้ใช้โทรศัพท์ ทั้งสองฝ่ายสามารถที่จะพูดออกมาพร้อม ๆ กัน เสียงพูดของแต่ละฝ่ายจะไปดังที่โทรศัพท์ของอีก ฝ่ายหนึ่ง แม้ว่าในทางปฏิบัติอาจจะไม่มีใครทำอย่างนี้แต่ก็สามารถทำได้อย่างแน่นอน
การส่งสัญญาณในระบบโทรศัพท์ทางไกลแม้ว่าตัวระบบเองจะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์แต่จะทำงานเป็นแบบกึ่งสองทิศทาง ระบบโทรศัพท์ทั่วไปจะมีสัญญาณสะท้อนกลับ (Echo) เกิดขึ้นเสมอเนื่องจากเสียงผู้พูดฝ่ายหนึ่งที่ไปถึงอีกฝ่ายหนึ่งจะทำให้เกิดการส่งสัญญาณสะท้อนกลับมาโดยไม่ได้ตั้งใจ ถ้าเป็นโทรศัพท์ภายในเขตจังหวัดเดียวกันหรือทางไกลภายในประเทศ สัญญาณสะท้อนกลับจะเกิดขึ้นเร็วมาก เนื่องจากระยะทางสั้น และซ้อนทับกับเสียงของผู้พูด จนกระทั่งไม่สามารถแยกเสียงจริงและเสียงสะท้อนออกจากกันได้ แต่ถ้าเป็นโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ สัญญาณสะท้อนกลับจะเกิดขึ้นช้ากว่า เพราะระยะทางไกลมาก ทำให้สามารถแยกความแตกต่างออกจากกันได้ คือผู้พูดจะได้ยินเสียงตัวเองภายหลังจากตัวเองที่หยุดพูด เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ระบบโทรศัพท์ต้องใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องตัดเสียงสะท้อน (Echo Suppressor) อุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่คอยเปิด-ปิดช่องสัญญาณในระหว่างการสนทนาเพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณสะท้อน ย้อนกลับไปยังผู้พูด เนื่องจากอุปกรณ์นี้ทำงานโดยใช้เสียงผู้พูดเป็นตัวกระตุ้นเพื่อปิดช่องสื่อสารของผู้ฟัง จึงทำให้ผู้ฟังไม่สามารถพูดสวนกลับไปได้ในเวลาเดียวกัน ผลที่เกิดขึ้นจึงทำให้ระบบการสื่อสารนี้กลายเป็นแบบกึ่งสองทิศทาง


ที่มา : //www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php





โดย: จ.ส.ต.(หญิง)พรรณสุภา ชิตเกษร เสาร์บ่าย รหัส 51241151125 IP: 125.26.171.213 วันที่: 23 มิถุนายน 2552 เวลา:11:30:18 น.  

 
ข้อ.1
องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบ 5 อย่าง (ดังรูป) ได้แก่
1. ผู้ส่ง (Sender) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งข่าวสาร (Message) เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูลมีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล เช่น ผู้พูด โทรทัศน์ กล้องวิดีโอ เป็นต้น
2. ผู้รับ (Receiver) เป็นปลายทางการสื่อสาร มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้ เช่น ผู้ฟัง เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
3. สื่อกลาง (Medium) หรือตัวกลาง เป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อส่งข้อมูลอาจเป็นสายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล สายใยแก้วนำแสง หรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น เลเซอร์ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุภาคพื้นดิน หรือคลื่นวิทยุผ่านดาวเทียม
4. ข้อมูลข่าวสาร (Message) คือสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร ซึ่งอาจถูกเรียกว่า สารสนเทศ (Information) โดยแบ่งเป็น 5รูปแบบ ดังนี้
4.1 ข้อความ (Text) ใช้แทนตัวอักขระต่าง ๆ ซึ่งจะแทนด้วยรหัสต่าง ๆ เช่น รหัสแอสกี เป็นต้น
4.2 ตัวเลข (Number) ใช้แทนตัวเลขต่าง ๆ ซึ่งตัวเลขไม่ได้ถูกแทนด้วยรหัสแอสกีแต่จะถูกแปลงเป็นเลขฐานสองโดยตรง
4.3 รูปภาพ (Images) ข้อมูลของรูปภาพจะแทนด้วยจุดสีเรียงกันไปตามขนาดของรูปภาพ
4.4 เสียง (Audio) ข้อมูลเสียงจะแตกต่างจากข้อความ ตัวเลข และรูปภาพเพราะข้อมูลเสียงจะเป็นสัญญาณต่อเนื่องกันไป
4.5 วิดีโอ (Video) ใช้แสดงภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากการรวมกันของรูปภาพหลาย ๆ รูป
5. โปรโตคอล (Protocol) คือ วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่อง โดยทั้งสองฝั่งทั้งผู้รับและผู้ส่งได้ตกลงกันไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว ในคอมพิวเตอร์โปรโตคอลอยู่ในส่วนของซอฟต์แวร์ที่มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงาน ในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น X.25, SDLC, HDLC, และ TCP/IP เป็นต้น

ข้อ 2

ตัวอย่างการส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียวกันได้แก่ การถ่ายทอดข้อมูลราคาซื้อ-ขายหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไปยังสมาชิกซึ่งมักจะใช้เครื่องพีซีติดต่อเข้ามาจากที่บ้านหรือที่ทำงาน ข้อมูลจะถูกส่งไปเก็บไว้ที่ฐานข้อมูลที่เครื่องพีซีของผู้ใช้ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกดูราคาหุ้น ทั้งหมดหรือหุ้นบางตัวที่สนใจได้โดยไม่ต้องส่งข้อมูลใด ๆ กลับมาที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เพียงแค่ส่งข้อมูลส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงมายังสมาชิกเท่านั้น

ข้อ 3

การถ่ายทอดสัญญาณแบบสองทิศทางสมบูรณ์ (Full-Duplex Transmission) ยินยอมให้ทั้งฝ่ายผู้ส่งและผู้รับข้อมูลสามารถส่งข้อมูลไปยังอีกฝ่ายหนึ่งได้ตลอดเวลา วิธีการนี้จึงใช้ประโยชน์จากการสื่อสารข้อมูลอย่างเต็มที่ แต่มีข้อจำกัดคือเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีความสามารถในการรับและส่งข้อมูลได้อย่างเต็มที่ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้สื่อที่เลือกใช้ก็จะต้องมีช่องสื่อสารสองช่อง ช่องหนึ่งสำหรับส่งข้อมูลและอีกช่องหนึ่งสำหรับรับข้อมูล ช่องสื่อสารแบบ RS-232 สามารถรองรับการทำงานแบบนี้ได้เพราะมีขาเชื่อมต่อสำหรับการสื่อสารอยู่สองชุดที่แยกจากกัน โมเด็มที่ทำงานแบบสองทิศทางสมบูรณ์ได้จะต้องได้รับมาตรฐาน CCITT V.32 และ CCITT V.34 เช่นระบบโทรศัพท์เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสื่อสารที่เกิดขึ้นทั้งแบบกึ่งสองทิศทางและแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ในกรณีที่ใช้โทรศัพท์ ภายในเขตเมืองเดียวกัน (รหัสเมืองเหมือนกัน) จะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ดังนั้นผู้ใช้โทรศัพท์ ทั้งสองฝ่ายสามารถที่จะพูดออกมาพร้อม ๆ กัน เสียงพูดของแต่ละฝ่ายจะไปดังที่โทรศัพท์ของอีก ฝ่ายหนึ่ง แม้ว่าในทางปฏิบัติอาจจะไม่มีใครทำอย่างนี้แต่ก็สามารถทำได้อย่างแน่นอน
การส่งสัญญาณในระบบโทรศัพท์ทางไกลแม้ว่าตัวระบบเองจะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์แต่จะทำงานเป็นแบบกึ่งสองทิศทาง ระบบโทรศัพท์ทั่วไปจะมีสัญญาณสะท้อนกลับ (Echo) เกิดขึ้นเสมอเนื่องจากเสียงผู้พูดฝ่ายหนึ่งที่ไปถึงอีกฝ่ายหนึ่งจะทำให้เกิดการส่งสัญญาณสะท้อนกลับมาโดยไม่ได้ตั้งใจ ถ้าเป็นโทรศัพท์ภายในเขตจังหวัดเดียวกันหรือทางไกลภายในประเทศ สัญญาณสะท้อนกลับจะเกิดขึ้นเร็วมาก เนื่องจากระยะทางสั้น และซ้อนทับกับเสียงของผู้พูด จนกระทั่งไม่สามารถแยกเสียงจริงและเสียงสะท้อนออกจากกันได้ แต่ถ้าเป็นโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ สัญญาณสะท้อนกลับจะเกิดขึ้นช้ากว่า เพราะระยะทางไกลมาก ทำให้สามารถแยกความแตกต่างออกจากกันได้ คือผู้พูดจะได้ยินเสียงตัวเองภายหลังจากตัวเองที่หยุดพูด เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ระบบโทรศัพท์ต้องใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องตัดเสียงสะท้อน (Echo Suppressor) อุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่คอยเปิด-ปิดช่องสัญญาณในระหว่างการสนทนาเพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณสะท้อน ย้อนกลับไปยังผู้พูด เนื่องจากอุปกรณ์นี้ทำงานโดยใช้เสียงผู้พูดเป็นตัวกระตุ้นเพื่อปิดช่องสื่อสารของผู้ฟัง จึงทำให้ผู้ฟังไม่สามารถพูดสวนกลับไปได้ในเวลาเดียวกัน ผลที่เกิดขึ้นจึงทำให้ระบบการสื่อสารนี้กลายเป็นแบบกึ่งสองทิศทาง

//www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php



โดย: ส.อ.ชาคร ทานินนท์ เสาร์บ่าย รหัส 51241151208 IP: 125.26.171.213 วันที่: 23 มิถุนายน 2552 เวลา:12:02:26 น.  

 

องค์ประกอบของการสื่อสาร
การสื่อสารเป็นพฤติกรรมอย่างหนึ่งของมนุษย์ เช่นเดียวกับพฤติกรรมอย่างอื่น เช่น การกินอยู่หลับนอน การทำงาน การเล่นกีฬา และเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเป็นประจำในชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคล ซึ่งลักษณะการสื่อสารในชีวิตประจำวันของคนเรานั้น อาจเกิดขึ้นทั้งการสื่อสารระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง สื่อสารกับสัตว์อื่น ตลอดถึงการสื่อสารกับเครื่องมือ โดยเฉพาะปัจจุบันได้มีการค้นพบ และนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานต่างๆ อย่างมาก จึงมีการสื่อสารรูปแบบใหม่เกิดขึ้น คือ การสื่อสารกับเครื่องมือ อย่างไรก็ตาม การสื่อสารระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง ( Human Communication ) ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่สุด และเป็นความหมายที่แท้จริงของการสื่อสาร ซึ่งการสื่อสารจะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลหนึ่ง ต้องการถ่ายทอดหรือส่งข่าวสารไปยังบุคคลอีกคนหนึ่ง ดังนั้นกระบวนการสื่อสารจึงมีองค์ประกอบ ดังรูปที่ 1.1
คือ ผู้ส่งสาร(Sender) สาร (Message) สื่อหรือช่องทาง (Channel) และผู้รับสาร (Reciever)

นักวิชาการด้านการสื่อสารได้วิเคราะห์ กำหนดองค์ประกอบ และอธิบายความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ ในกระบวนการของการสื่อสารไว้ดังนี้ คือ
1. ผู้ส่งสาร ( Source ) หมายถึงแหล่งกำเนิดสาร อาจเป็นบุคคล องค์การ สถาบันหรือคณะบุคคลที่เป็นผู้กำหนดสาระ ความรู้ ความคิด ที่จะส่งไปยังผู้รับสาร ดังนั้นการสื่อสารจะบรรลุจุดประสงค์หรือไม่ เพียงใด จึงขึ้นอยู่กับผู้ส่งสาร และสารที่ส่งเป็นสำคัญ
สาร (Message) หมายถึงเรื่องราว ความรู้ความคิดต่างๆ ที่ผู้ส่งประสงค์จะให้ไปถึงผู้รับ มีองค์ประกอบที่เป็นปัจจัยชี้ความสำเร็จของการสื่อสาร 3 ประการ คือ (1) เนื้อหาของสาร
(2) สัญลักษณ์หรือรหัสของสาร (3) การเลือกและจัดลำดับข่าวสาร
2. ตัวเข้ารหัสสาร (Encoder) สารที่จะส่งไปยังผู้รับนั้น ปกติเป็นความรู้ความคิดที่ไม่อาจจะส่งออกไปได้โดยตรง จำเป็นต้องทำให้สารนั้นอยู่ในลักษณะที่จะส่งได้ เช่น ทำให้เป็นคำพูด สัญญาณ ภาษาท่าทาง หรือรหัสอื่นๆ การสื่อสารโดยทั่วไปผู้ส่งสาร เช่น เป็นคำพูด หรืออาจจะใช้เครื่องมือสื่อสารต่างๆ เป็นเครื่องช่วย เช่น โทรเลข โทรศัพท์
3. ช่องทางการสื่อสาร (Channel) ข่าวสารจากผู้ส่ง จะถูกถ่ายทอดโดยอาศัยสื่อ หรือตัวกลาง (Media) ซึ่งอาจเป็นสื่ออย่างง่าย เช่น การพบปะพูดคุยกันตัวต่อตัว การเขียน การแสดงกิริยาท่าทาง ไปจนถึงการใช้สื่อที่มีความซับซ้อนยิ่งขึ้น เช่น วิทยุ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ ภาพยนตร์ ฯลฯ
4. การแปลรหัสสาร (Decoder) คือการแปลความหมายของรหัสสัญญาณที่ส่งมายังผู้รับ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ หากผู้ส่งใช้รหัสสัญญาณที่ผู้รับสามารถแปลความหมายได้เองโดยตรง เช่น ใช้ภาษาที่ผู้รับเข้าใจ การสื่อสารก็จะง่ายขึ้น แต่หากผู้ส่งใช้รหัสสัญญาณที่ผู้รับไม่อาจเข้าใจได้ เช่น ใช้ภาษาที่ผู้รับฟังไม่เข้าใจ การสื่อสารก็จะเพิ่มความยุ่งยากซับซ้อนยิ่งขึ้น ซึ่งย่อมจะส่งผลต่อความสำเร็จของการสื่อสาร
5. ผู้รับ (Reciever) เป็นจุดหมายปลายทาง (Destination) ของการสื่อสารซึ่งจะต้องมีการรับรู้ เข้าใจ หรือแสดงพฤติกรรม ตามที่ผู้ส่งสารต้องการ หากไม่เป็นไปตามนั้น ก็ถือว่าการสื่อสารนั้นล้มเหลว ผู้รับสารจะต้องมีทักษะการสื่อสาร (Communication Skill) ดีเช่นเดียวกับผู้ส่งสารจึงจะช่วยให้การสื่อสารบรรลุผลสมบูรณ์
6. ปฏิกิริยาของผู้รับสาร และการตอบสนอง (Response and Feed back) เมื่อผู้รับได้รับสาร และแปลความหมายจนเป็นที่เข้าใจอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ผู้รับย่อมจะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารอย่างใดอย่างหนึ่งด้วย เช่นเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย คล้อยตามหรือต่อต้าน ซึ่งการตอบสนองของผู้รับอาจผิดไปจากผู้ส่งต้องการก็ได้ ปฏิกิริยาตอบสนองของผู้รับ หากได้มีการย้อนกลับ( Feed back) ไปยังผู้ส่งสารให้รับรู้ จะช่วยให้เกิดการปรับการสื่อสารให้ได้ผลดียิ่งขึ้น กรณีเช่นนี้เรียกว่า การสื่อสารแบบสองทาง (Two-way Communication)
การตอบสนองของผู้รับสารกลับไปยังผู้ส่งสาร ย่อมจะต้องเกิดกระบวนการสื่อสาร เริ่มต้นขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยผู้รับจะทำหน้าที่เป็นผู้ส่งสาร และผู้ส่งสารในตอนแรกจะทำหน้าที่เป็นผู้รับสารแทน ซึ่งจะต้องอาศัยองค์ประกอบต่างๆ ของการสื่อสารเช่นเดียวกับการสื่อสารในขั้นตอนแรก การสื่อสารแบบ 2 ทาง ผู้สื่อสารจะทำหน้าที่ เป็นทั้งผู้รับและผู้ส่งสารพร้อมๆ กัน




ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการสื่อสาร
การสื่อสาร มีองค์ประกอบในด้านต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว องค์ประกอบแต่ละด้านล้วนเป็นปัจจัยที่จะส่งผลให้การสื่อสารประสบผลสำเร็จหรือล้มเหลวได้ทั้งสิ้น องค์ประกอบสำคัญที่ส่งผลอย่างสูงต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการสื่อสาร ได้แก่ คุณสมบัติของผู้สื่อสาร การใช้สื่อและเทคนิควิธี ในการสื่อสาร




คุณสมบัติของผู้สื่อสาร
การสื่อสาร มีทั้งลักษณะทางเดียว และการสื่อสารแบบสองทาง ในกรณีที่เป็นการสื่อสารแบบทางเดียว ผู้รับสารและผู้ส่งสารไม่พบกัน ขาดโอกาสตอบสนองและย้อนกลับ ทำให้การสื่อสารได้ผลน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสื่อสารมวลชนต่างๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ซึ่งแม้ว่าจะมีการย้อนกลับ (Feedback) บ้างก็เป็นเพียงบางโอกาสเท่านั้น ผู้ส่งสารทำหน้าที่ส่งสารเพียงอย่างเดียว ผู้รับก็ทำหน้าที่รับเพียงอย่างเดียวเช่นกัน จึงมีโอกาสเกิดความเข้าใจผิดหรือบิดเบือนข่าวสารได้ง่าย และนอกจากนี้การสื่อสารแบบมวลชน ยังมีอุปสรรคอีกอย่างหนึ่งคือ ความไม่แน่นอนของผู้รับหรือกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้นในการสื่อสารแบบทางเดียว ฝ่ายผู้ส่งสารจะต้องมีความรู้ ความสามารถ มีทักษะในการสื่อสาร และมีความรับผิดชอบอย่างสูง ส่วนในฝ่ายรับเองก็จะต้องมีควาามรู้ความสามารถ เพียงพอที่จะวิเคราะห์ และเชื่อถือข่าวสารต่างๆ อย่างมีเหตุผล ผู้รับข่าวสารที่มีความรู้ มักวิเคราะห์ และเชื่อถือความรู้ข่าวสารต่างๆ อย่างมีเหตุผล ส่วนผู้รับสารที่ขาดความรู้ มักวิเคราะห์ วิจารณ์ หรือตัดสินใจเชื่อโดยอาศัยเพียง "สามัญสำนึก" มากกว่าการใช้เหตุผล
การสื่อสารจะประสบผลที่ต้องการเพียงใดนั้น จึงขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สื่อสาร ที่สำคัญ 5 ประการ คือ
1. มีความรู้ความสามารถ หากผู้สื่อสารมีความรู้ความสามารถทั่วไปอยู่ในระดับสูง จะมีความเชื่อมั่นในตนเอง รับรู้และเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้รวดเร็ว แต่หากผู้สื่อสารมีความรู้ความสามารถต่ำ ความสามารถในการรับรู้และเข้าใจสิ่งต่างๆ ย่อมจะต่ำไปด้วย หากผู้ส่งสารและผู้รับสารมีพื้นฐานความรู้แตกต่างกัน กรณีผู้ส่งสาร มีความรู้ ความสามารถสูงกว่าผู้รับสาร จะให้ผลสำเร็จของการสื่อสาร ดีกว่ากรณีผู้ส่งสารมีความรู้ความสามารถต่ำกว่าผู้รับสาร
2. มีทักษะในการสื่อสาร คือมีความเชี่ยวชาญ สามารถในการพูด การเขียน การแสดง มีจิตวิทยาการจูงใจสูง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะต้องอาศัยความรู้ความสามารถ และการฝึกฝนตนเองเป็นสำคัญ
3. มีเจตคติที่ดี ผู้สื่อสารที่มีเจตคติที่ดีต่อกัน จะช่วยให้เข้าใจซึ่งกันและกันได้ง่ายขึ้น รู้จักวิเคราะห์ความรู้ ความคิด ข่าวสารต่างๆ อย่างเป็นเป็นกลางและมีเหตุผล แต่หากหากผู้สื่อสารมีเจตคติที่ไม่ดีต่อกัน อาจมองกันในแง่ร้ายและบิดเบือนข่าวสาร
4. พื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรม เนื่องจากสังคม วัฒนธรรม รวมถึง เพศ และอายุ เป็นตัวกำหนดความเชื่อ ความรู้สึกนึกคิดของคนในสังคม ผู้ที่จะสื่อสารเข้าใจกันได้ดีที่สุดนั้น ได้แก่ผู้ที่มีพื้นฐานทางสังคมวัฒนธรรมเหมือนกัน ทั้งผู้รับและผู้ส่ง ผู้สื่อสารที่มีความแตกต่างทางสังคมวัฒนธรรม อาจทำให้การสื่อสารล้มเหลว ทั้งนี้เพราะ การพูดหรือการปฏิบัติอย่างหนึ่งในสังคมหนึ่ง อาจแปลความหมายแตกต่างไปจากอีกสังคมหนึ่ง




สื่อและเทคนิคการสื่อสาร
การสื่อสาร เป็นศาสตร์ที่ต้องอาศัยทั้งบุคคล วัสดุเครื่องมือ และเทคนิควิธีการในการสื่อสาร ดังนั้นความสำเร็จในการสื่อสารส่วนหนึ่งจึงขึ้นอยู่กับ การเลือก และการใช้สื่ออย่างเหมาะสม
สื่อ (Media) โดยทั่วไปหมายถึงสิ่งที่นำหรือถ่ายทอดสาร จากผู้ส่งไปยังผู้รับ เช่น เสียงพูด กิริยาท่าทาง สิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ฯลฯ ผู้รับจะรับสารได้โดยประสาทในการรู้สึก อันได้แก่ การเห็น การได้ยิน การสัมผัส การได้กลิ่น การได้รับรู้รส สื่อ จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสื่อสาร สื่อแต่ละอย่างมีคุณสมบัติที่จะก่อให้เกิดการรับรู้ แตกต่างกัน เช่น สิ่งพิมพ์ ทำให้ได้รับสารโดยการเห็น วิทยุ ทำให้รับสารได้ด้วยการได้ยิน โทรทัศน์ ให้รับสารได้ทั้งการเห็นและการได้ยิน ผู้ส่งสารจึงต้องพิจารณาเลือกว่าจะใช้สื่อประเภทใด จึงจะเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุด แม้จะเป็นสื่อประเภทเดียวกัน ก็ยังอาจต้องพิจารณาในรายละเอียดลงไปอีก เช่น เมื่อเลือกสื่อสารผ่านทางหนังสือพิมพ์ ก็ต้องพิจารณาว่าจะใช้หนังสือพิมพ์ฉบับใด หรือถ้าเป็นโทรทัศน์ จะใช้ช่องใด เป็นต้น ( ปรมะ สตะเวทิน 2526 : 60 )
สื่อ สำหรับการสื่อสารในปัจจุบัน มีมากมายหลายชนิด และมีการพัฒนารูปแบบอยู่เสมอ ผู้สื่อสารจำเป็นต้องมีความรู้และทักษะในการใช้เครื่องมือเหล่านั้นเป็นอย่างดี เช่น การใช้วิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ เครื่องฉาย เครื่องเสียง และนอกเหนือจากนี้จะต้องเข้าใจถึงข้อดี ข้อจำกัดของเครื่องมือสื่อสารแต่ละอย่างด้วย
เทคนิควิธีในการสื่อสาร มีความสำคัญไม่น้อยกว่าการรู้จักใช้สื่อ ทั้งนี้เพราะการสื่อสารในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ย่อมจะต้องอาศัยเทคนิควิธีการที่เหมาะสมแตกต่างกันไปด้วย ผู้สื่อสารต้องมีเทคนิควิธีในการสื่อสารที่ดี รู้ว่าเมื่อใดควรใช้เทคนิควิธีการใด เมื่อใดควรใช้เครื่องมือช่วย เมื่อใดจะต้องทราบปฏิกิริยาตอบสนองจากผู้รับ และจะทราบได้อย่างไร เป็นต้น ตัวอย่างของการใช้เทคนิควิธีในการสื่อสาร เช่น
- นำเสนอซ้ำหลายๆ ครั้ง
- แบ่งเนื้อหาออกเป็นตอนสั้นๆ นำเสนอทีละน้อย
- กระตุ้นให้ผู้รับ ใช้ความคิด พิจารณาเหตุผล และหาข้อสรุปด้วยตนเอง
- กระตุ้นให้เกิดความสนใจ ก่อนที่จะนำเสนอเรื่องราวที่เป็นสาระสำคัญ
- แสดงเหตุผลหรือข้อเท็จจริงประกอบหลายๆ ด้าน แล้วจึงลงสรุป เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ
- ให้ผู้รับมีส่วนร่วม หรือแสดงปฏิกิริยาตอบสนอง
ฯลฯ

ทฤษฎีและแบบจำลองการสื่อสาร
การสื่อสาร เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับ การคิด การรับรู้ การเรียนรู้ของบุคคล และมีความเกี่ยวข้องไปถึงบุคคลอื่นและสังคมด้วย เป็นกระบวนการที่มีความซับซ้อนมีลักษณะเป็นนามธรรม ยากที่จะอธิบายให้ชัดเจนได้ว่า การสื่อสารมีสภาพที่แท้จริงเป็นอย่างไร หรือมีปรากฏการณ์อะไรบ้างที่เกิดขึ้นในกระบวนการสื่อสาร นักวิชาการการสื่อสารได้พยายามศึกษา ตั้งสมมุติฐาน คิดค้นหาคำอธิบาย และสร้างแผนผังหรือแบบจำลองขึ้นมาเพื่ออธิบายลักษณะหรือปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการสื่อสาร ซึ่งแบบจำลองหรือแผนผังเพื่ออธิบายการสื่อสารดังกล่าว ในปัจจุบันมีอยู่เป็นจำนวนมาก สามารถนำมาสรุปเป็นทฤษฏีการสื่อสารที่สำคัญได้หลายทฤษฏี ที่สำคัญ คือ (ธนวดี บุญลือ 2539 : 474-529 )
1. ทฤษฎีพฤติกรรมการเข้ารหัสและถอดรหัส
ทฤษฎีนี้มีความเชื่อว่า สิ่งสำคัญในการสื่อสาร คือ กระบวนการสร้างรหัสและถอดรหัสของผู้สื่อสาร ทั้งผู้รับและผู้ส่งสาร กิจกรรมที่สำคัญของการสื่อสารได้แก่ การแปลเนื้อหาข่าวสารให้เป็นรหัสสัญญาณ (Encoding) การแปลรหัสสัญญาณกลับเป็นเนื้อหา (Decoding) และการแปลความหมายของข่าวสาร (Interpreting) สรุปสาระสำคัญของทฤษฏี ดังนี้ คือ
1.1 การสื่อสาร เป็นปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ ที่เกิดขึ้นจากความต้องการตรวจสอบและควบคุมสิ่งแวดล้อม
1.2 กระบวนการสื่อสาร ต้องมีการเข้ารหัส ถอดรหัส และแปลความหมายอยู่ตลอดเวลา
1.3 การรับรู้ ความรู้สึก ความสนใจ และการจำแนกประเภทข่าวสาร ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบเชิงสรีร เช่น ระบบกล้ามเนื้อ เกี่ยวกับการฟัง การเขียน รวมถึงกระบวนการทางอารมณ์
1.4 เน้นการศึกษาถึงความสำพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร
1.5 ระบบสมอง การคิด เป็นปัจจัยสำคัญในการวิเคราะห์ตัดสินว่าสิ่งใดที่เกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกับตนเอง เป็นตัวกระตุ้นให้สนใจที่จะรับสาร
2. ทฤษฎีเชิงระบบพฤติกรรม
ให้ความสำคัญกับเรื่องของสื่อหรือช่องทางการสื่อสารสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้คือ
2.1 มุ่งอธิบายเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้น ในการส่งข่าวสาร จากผู้ส่ง ผ่านสื่อหรือช่องทาง ไปยังผู้รับ
2.2 เปรียบเทียบการสื่อสารของมนุษย์ได้กับการทำงานของเครื่องจักร
2.3 การสื่อสารเป็นกระบวนการต่อเนื่อง หรืออาจเป็นวงกลมและเกิดสิ่งใหม่ๆ ขึ้นเสมอ
2.4 ความหมายหรือเจตนาการสื่อสาร ขึ้นอยู่กับปฏิกิริยาระหว่างผู้สื่อสารและสถานการณ์แวดล้อม
3. ทฤษฎีเชิงปฏิสัมพันธ์
สรุปสาระสำคัญดังนี้ คือ
3.1 ให้ความสำคัญกับกระบวนการเชื่อมโยง ระหว่างผู้รับและผู้ส่งสาร ซึ่งปกติจะมีความสัมพันธ์ด้วยอำนาจภายนอกและมีปัจจัยเกี่ยวข้องหลายอย่าง
3.2 การสื่อสารจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน บุคคลิกภาพ ความน่าเชื่อของผู้ส่งข่าวสารเป็นตัวกำหนดปฏิกิริยาของผู้รับสาร
3.3 พฤติกรรมทั้งหลายของคนเป็นผลมาจากพฤติกรรมทางการสื่อสาร
3.4 พฤติกรรมต่างๆ ของคนมีอิทธิพลต่อกระบวนการเชื่อมโยงระหว่างผู้รับและผู้ส่งสาร
4. ทฤษฎีเชิงบริบททางสังคม
มีสาระสำคัญดังนี้ คือ
4.1 เน้นอธิบายเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสาร
4.2 การสื่อสารเกิดขึ้นภายใต้อิทธิพลของปัจจัยทางสังคม วัฒนธรรม
4.3 กลุ่มสังคม องค์กร มีอิทธิพลต่อความคิด ความเชื่อ การตัดสินใจ
4.4 สังคมเป็นตัวควบคลุมการไหลของกระแสข่าวสาร เมื่อสังคมมีการเปลี่ยนแปลงกระแสข่าวสารก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย



ทฤษฎีการสื่อสารทั้ง 4 ทฤษฎีข้างตนเป็นเพียงการนำความคิดของนักวิชาการการสื่อสารมาจัดเป็นกลุ่มความคิดตามความคิดที่เหมือนกันบางประการเท่านั้น ความจริงนักวิชาการแต่ละคน แม้ที่ถูกจัดในกลุ่มทฤษฏีเดียวกันก็มีความแตกต่างกันอยู่มาก ซึ่งแนวความคิดของนักวิชาการสื่อสารต่างๆ สามารถอธิบายได้ด้วยแบบจำลองการสื่อสารของนักวิชาการสื่อสารแต่ละคน
แบบจำลองเรื่องการสื่อสารของเบอร์โล (Berlo)
เบอร์โล (Berlo. 1960 : 40-71) เป็นผู้คิดกระบวนของการสื่อสารไว้ในลักษณะรูป แบบจำลอง S M C R Model อันประกอบด้วย
1. ผู้ส่ง (Source) ต้องเป็นผู้ที่มีทักษะความชำนาญในการสื่อสาร โดยมีความสามารถใน "การเข้ารหัส" (Encode) เนื้อหาข่าวสาร มีทัศนคติที่ดีต่อผู้รับเพื่อผลในการสื่อสาร มีความรู้อย่างดีเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารที่จะส่ง และควรมีความสามารถในการปรับระดับของข้อมูลนั้นให้เหมาะสมและง่ายต่อระดับความรู้ของผู้รับ ตลอดจนมีพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับผู้รับด้วย
2. ข่าวสาร (Message) เกี่ยวข้องทางด้านเนื้อหา สัญลักษณ์ และวิธีการส่งข่าวสารนั้น
3. ช่องทางในการส่ง (Channel) หมายถึง วิธีการที่จะส่งข่าวสารโดยการให้ผู้รับข่าวสารข้อมูลผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 หรือเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น การฟัง การดู การสัมผัส การลิ้มรส หรือการได้กลิ่น
4. ผู้รับ (Receiver) ต้องเป็นผู้มีทักษะความชำนาญในการสื่อสาร โดยมีความสามารถใน "การถอดรหัส" (Decode) สาร เป็นผู้มีทัศนคติ ระดับความรู้ และพื้นฐานทางสังคม วัฒนธรรม เช่นเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันกับผู้ส่ง จึงจะทำให้การสื่อสารนั้นได้ผล
แบบจำลองการสื่อสารของลาสเวลล์




เป็นแบบจำลองการสื่อสารที่อธิบายกระบวนการสื่อสารเชิงพฤติกรรม (The Behavioral of Thought) เป็นการศึกษาปฏิกิริยาระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร เนื้อหาข่าวสาร ชนิดของสื่อที่ใช้และผลอันเกิดจากการกระทำการสื่อสาร ลาสเวลล์อธิบายกระบวนการสื่อสารโดยตั้งเป็นคำถามเกี่ยวกับผู้ส่งสาร ผู้รับสาร และผลของการสื่อสาร คือ ใคร พูดอะไร ผ่านช่องทางใด ถึงใคร ได้ผลอย่างไร อาจเขียนเป็นแผนภาพได้ ดังนี้ (กิดานันท์ มลิทอง 2536 : 26 )

ใคร คือ ผู้ส่งสาร ซึ่งเป็นตัวกำหนดและควบคุมเนื้อหาข่าวสาร
พูดอะไร คือ สาร หรือเนื้อหาสาระของเรื่องที่ถูกสื่อสารออกไป
ด้วยทางใด คือ ตัวกลาง หรือสื่อที่ข่าวสารถูกส่งผ่านไปยังผู้รับ
กับใคร คือ ผู้รับสาร
ผลอะไร คือ สิ่งที่เกิดขึ้นอันเป็นผลมาจากการสื่อสาร


แนวคิดโดยสรุป ตามแบบจำลองของลาสเวลล์ คือ
1. อธิบายกระบวนการสื่อสารแบบง่ายๆ ซึ่งความจริงแล้วการสื่อสารของมนุษย์มีความสลับซับซ้อนมากกว่านี้ และการสื่อสารจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยปัจจัยอื่นๆ เป็นตัวกำหนด หรือมีอิทธิพล อย่างอื่น ในการสื่อสาร เช่น สภาวะแวดล้อมทางสังคม จุดมุ่งหมายในการสื่อสาร เป็นต้น
2. เน้นการสื่อสารแบบเห็นหน้ากัน ผู้สื่อสารปรากฏตัวขณะทำการสื่อสาร
3. เนื้อหาข่าวสารที่ส่งไปยังจุดหมายปลายทาง จะต้องมีจุดมุ่งหมาย เพราะคาดว่าจะต้องเกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ความจริงแล้วไม่จำเป็นเสมอไปว่าการส่งสารจะต้องมีจุดมุ่งหมายอย่างแน่นอน หรือเฉพาะเจาะจง
4. ขาดปัจจัยสำคัญตัวหนึ่งคือ ปฏิกิริยาการป้อนกลับ
แบบจำลองการสื่อสารของชแรมม์
วิลเบอร์ ชแรมม์ ได้เสนอแบบจำลองการสื่อสารตามแนวความคิดของเขาไว้ 3 แบบ คือ
(ธนวดี บุญลือ 2529 : 507-508 )
แบบที่ 1 อธิบายการสื่อสารเป็นกระบวนการเส้นตรง ประกอบด้วย แหล่งข่าวสาร (Source) เข้ารหัส (Edcoder) สัญญาณ (Signal) ถอดรหัส (Decoder) และจุดหมายปลายทาง (Destunation) ไม่ให้ความสำคัญกับการตอบสนองและปฏิสัมพันธิ์ระหว่างผู้สื่อสาร
แบบที่ 2 อธิบายกระบวนการสื่อสารที่ผู้ส่งและผู้รับสารมีประสบการณ์บางอย่างร่วมกัน ทำการสื่อสารอยู่ภายใต้ขอบเขตประสบการณ์ของแต่ละฝ่าย ความสำเร็จของการสื่อสารจึงขึ้นอยู่กับประสบการณ์ร่วมของผู้สื่อสาร
แบบที่ 3 ในกระบวนการสื่อสาร จะมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สื่อสาร อันเกิดจากการที่ทั้งสองฝ่ายต้องทำงานเหมือนกันในระหว่างที่ทำการสื่อสาร คือการเข้ารหัสสาร แปลความ และถอดรหัสให้เป็นสัญลักษณ์ ส่งไปยังผู้รับสาร ซึ่งเมื่อรับเนื้อหาข่าวสารไว้แล้ว ก่อนที่จะทำการส่งสารออกไป ก็ต้องนำสารที่จะส่งออกมาเข้ารหัส แปลความ และถอดรหัส เช่นเดียวกัน เพื่อส่งกลับไปยังผู้รับ ซึ่งเป็นผู้ส่งในครั้งแรก ชแรมม์เรียกกระบวนการสื่อสารนี้ว่า เป็น กระบวนการสื่อสารแบบวงกลม



โดย: นายปิยะ ศรีกุลวงศ์ IP: 117.47.13.62 วันที่: 24 มิถุนายน 2552 เวลา:18:12:59 น.  

 

ข้อ.1
องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบ 5 อย่าง (ดังรูป) ได้แก่
1. ผู้ส่ง (Sender) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งข่าวสาร (Message) เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูลมีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล เช่น ผู้พูด โทรทัศน์ กล้องวิดีโอ เป็นต้น
2. ผู้รับ (Receiver) เป็นปลายทางการสื่อสาร มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้ เช่น ผู้ฟัง เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
3. สื่อกลาง (Medium) หรือตัวกลาง เป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อส่งข้อมูลอาจเป็นสายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล สายใยแก้วนำแสง หรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น เลเซอร์ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุภาคพื้นดิน หรือคลื่นวิทยุผ่านดาวเทียม
4. ข้อมูลข่าวสาร (Message) คือสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร ซึ่งอาจถูกเรียกว่า สารสนเทศ (Information) โดยแบ่งเป็น 5รูปแบบ ดังนี้
4.1 ข้อความ (Text) ใช้แทนตัวอักขระต่าง ๆ ซึ่งจะแทนด้วยรหัสต่าง ๆ เช่น รหัสแอสกี เป็นต้น
4.2 ตัวเลข (Number) ใช้แทนตัวเลขต่าง ๆ ซึ่งตัวเลขไม่ได้ถูกแทนด้วยรหัสแอสกีแต่จะถูกแปลงเป็นเลขฐานสองโดยตรง
4.3 รูปภาพ (Images) ข้อมูลของรูปภาพจะแทนด้วยจุดสีเรียงกันไปตามขนาดของรูปภาพ
4.4 เสียง (Audio) ข้อมูลเสียงจะแตกต่างจากข้อความ ตัวเลข และรูปภาพเพราะข้อมูลเสียงจะเป็นสัญญาณต่อเนื่องกันไป
4.5 วิดีโอ (Video) ใช้แสดงภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากการรวมกันของรูปภาพหลาย ๆ รูป
5. โปรโตคอล (Protocol) คือ วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่อง โดยทั้งสองฝั่งทั้งผู้รับและผู้ส่งได้ตกลงกันไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว ในคอมพิวเตอร์โปรโตคอลอยู่ในส่วนของซอฟต์แวร์ที่มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงาน ในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น X.25, SDLC, HDLC, และ TCP/IP เป็นต้น

ข้อ 2

ตัวอย่างการส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียวกันได้แก่ การถ่ายทอดข้อมูลราคาซื้อ-ขายหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไปยังสมาชิกซึ่งมักจะใช้เครื่องพีซีติดต่อเข้ามาจากที่บ้านหรือที่ทำงาน ข้อมูลจะถูกส่งไปเก็บไว้ที่ฐานข้อมูลที่เครื่องพีซีของผู้ใช้ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกดูราคาหุ้น ทั้งหมดหรือหุ้นบางตัวที่สนใจได้โดยไม่ต้องส่งข้อมูลใด ๆ กลับมาที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เพียงแค่ส่งข้อมูลส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงมายังสมาชิกเท่านั้น

ข้อ 3

การถ่ายทอดสัญญาณแบบสองทิศทางสมบูรณ์ (Full-Duplex Transmission) ยินยอมให้ทั้งฝ่ายผู้ส่งและผู้รับข้อมูลสามารถส่งข้อมูลไปยังอีกฝ่ายหนึ่งได้ตลอดเวลา วิธีการนี้จึงใช้ประโยชน์จากการสื่อสารข้อมูลอย่างเต็มที่ แต่มีข้อจำกัดคือเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีความสามารถในการรับและส่งข้อมูลได้อย่างเต็มที่ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้สื่อที่เลือกใช้ก็จะต้องมีช่องสื่อสารสองช่อง ช่องหนึ่งสำหรับส่งข้อมูลและอีกช่องหนึ่งสำหรับรับข้อมูล ช่องสื่อสารแบบ RS-232 สามารถรองรับการทำงานแบบนี้ได้เพราะมีขาเชื่อมต่อสำหรับการสื่อสารอยู่สองชุดที่แยกจากกัน โมเด็มที่ทำงานแบบสองทิศทางสมบูรณ์ได้จะต้องได้รับมาตรฐาน CCITT V.32 และ CCITT V.34 เช่นระบบโทรศัพท์เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสื่อสารที่เกิดขึ้นทั้งแบบกึ่งสองทิศทางและแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ในกรณีที่ใช้โทรศัพท์ ภายในเขตเมืองเดียวกัน (รหัสเมืองเหมือนกัน) จะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ดังนั้นผู้ใช้โทรศัพท์ ทั้งสองฝ่ายสามารถที่จะพูดออกมาพร้อม ๆ กัน เสียงพูดของแต่ละฝ่ายจะไปดังที่โทรศัพท์ของอีก ฝ่ายหนึ่ง แม้ว่าในทางปฏิบัติอาจจะไม่มีใครทำอย่างนี้แต่ก็สามารถทำได้อย่างแน่นอน
การส่งสัญญาณในระบบโทรศัพท์ทางไกลแม้ว่าตัวระบบเองจะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์แต่จะทำงานเป็นแบบกึ่งสองทิศทาง ระบบโทรศัพท์ทั่วไปจะมีสัญญาณสะท้อนกลับ (Echo) เกิดขึ้นเสมอเนื่องจากเสียงผู้พูดฝ่ายหนึ่งที่ไปถึงอีกฝ่ายหนึ่งจะทำให้เกิดการส่งสัญญาณสะท้อนกลับมาโดยไม่ได้ตั้งใจ ถ้าเป็นโทรศัพท์ภายในเขตจังหวัดเดียวกันหรือทางไกลภายในประเทศ สัญญาณสะท้อนกลับจะเกิดขึ้นเร็วมาก เนื่องจากระยะทางสั้น และซ้อนทับกับเสียงของผู้พูด จนกระทั่งไม่สามารถแยกเสียงจริงและเสียงสะท้อนออกจากกันได้ แต่ถ้าเป็นโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ สัญญาณสะท้อนกลับจะเกิดขึ้นช้ากว่า เพราะระยะทางไกลมาก ทำให้สามารถแยกความแตกต่างออกจากกันได้ คือผู้พูดจะได้ยินเสียงตัวเองภายหลังจากตัวเองที่หยุดพูด เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ระบบโทรศัพท์ต้องใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องตัดเสียงสะท้อน (Echo Suppressor) อุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่คอยเปิด-ปิดช่องสัญญาณในระหว่างการสนทนาเพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณสะท้อน ย้อนกลับไปยังผู้พูด เนื่องจากอุปกรณ์นี้ทำงานโดยใช้เสียงผู้พูดเป็นตัวกระตุ้นเพื่อปิดช่องสื่อสารของผู้ฟัง จึงทำให้ผู้ฟังไม่สามารถพูดสวนกลับไปได้ในเวลาเดียวกัน ผลที่เกิดขึ้นจึงทำให้ระบบการสื่อสารนี้กลายเป็นแบบกึ่งสองทิศทาง

//www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php



โดย: นายปิยะ ศรีกุลวงศ์ 51241151204 รปศ 1/51 รูปแบบพิเศษ IP: 117.47.13.62 วันที่: 24 มิถุนายน 2552 เวลา:18:19:30 น.  

 
7.1

1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)
ข้อมูลต่างๆ ที่อยู่ต้นทางจะต้องจัดเตรียมนำเข้าสู่อุปกรณ์สำหรับส่งข้อมูล ซึ่งได้แก่เครื่องพิมพ์ หรืออุปกรณ์ควบคุมต่าง ๆ จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถส่งข้อมูลนั้นได้ก่อน

2. ผู้รับ (Receiver) เป็นปลายทางการสื่อสาร มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้ เช่น ผู้ฟัง เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น

3. หน่วยรับข้อมูล เป็นปลลายทางของการสื่อสารข้อมูลที่ทำหน้าที่รับข้อมูลส่งมาผ่านช่องทางการสื่อสาร อาจจะเป็นคนหรือวัตถุก็ได้


7.2


แบบทิศทางเดียว (Simplex) ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางโดยไม่สามารถส่งย้อนกลับมาได้ เช่น ระบบวิทยุ หรือการส่งอีเมลล์



7.3

แบบสองทิศทาง (Full Duplex) ข้อมูลสามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้งสองทิศทางอย่างอิสระ เช่น โทรศัพท์มือถือ วิทยุสื่อสาร


ที่มา :backoffice.website108.com/





โดย: วันพฤหัส(เช้า) หมู่ 8 นางสาวเจนจิรา จุตตะโน IP: 1.1.1.157, 202.29.5.62 วันที่: 24 มิถุนายน 2552 เวลา:22:08:45 น.  

 
องค์ประกอบของการสื่อสาร
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบ
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้

1. ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ
ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2. ผู้รับข่าวสาร หรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร
หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่ การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ
จุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง



3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน
ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้
วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น

ข่ายการสื่อสารข้อมูล
หมายถึง การรับส่งข้อมูลหรือสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยระบบการส่งข้อมูล ทางคลื่นไฟฟ้าหรือแสง อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปเรียกว่า
ข่ายการสื่อสารข้อมูล (Data Communication Networks)

องค์ประกอบพื้นฐาน

หน่วยส่งข้อมูล (Sending Unit)
ช่องทางการส่งข้อมูล (Transmisstion Channel)
หน่วยรับข้อมูล (Receiving Unit)
วัตถุประสงค์หลักของการนำการสื่อการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในองค์การประกอบด้วย
เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล
เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
เพื่อลดเวลาการทำงาน
เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร
เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ
เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การ


Copyright by Passkorn Roungrong
//www.thaiwbi.com/course/data_com/index2.html


โดย: นาย กฤษฎา ศรีรักษา ศุกร์(เช้า) ม.15 IP: 58.147.38.36 วันที่: 25 มิถุนายน 2552 เวลา:15:49:10 น.  

 
แบบทิศทางเดียว (Simplex) ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางโดยไม่สามารถส่งย้อนกลับมาได้ เช่น ระบบวิทยุ หรือโทรทัศน์


โดย: นาย กฤษฎา ศรีรักษา ศุกร์(เช้า) ม.15 IP: 58.147.38.36 วันที่: 25 มิถุนายน 2552 เวลา:15:52:04 น.  

 
แบบสองทิศทาง (Full Duplex) ข้อมูลสามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้งสองทิศทางอย่างอิสระ เช่น ระบบโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์


โดย: นาย กฤษฎา ศรีรักษา ศุกร์(เช้า) ม.15 IP: 58.147.38.36 วันที่: 25 มิถุนายน 2552 เวลา:15:53:24 น.  

 
1. สัญญาณแอนะล็อก(Analog Signal)

เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง มีลักษณะเป็นคลื่นไซน์ (Sine Wave) โดยที่แต่ละคลื่นจะมีความถี่และความเข้มของสัญญาณที่ต่างกัน เมื่อนำสัญญาณข้อมูลเหล่านี้มาผ่านอุปกรณ์รับสัญญาณและแปลงสัญญาณและแปลงสัญญาณก็จะได้ข้อมูลที่ต้องการ



เฮิรตซ์ (Hertz) คือหน่วยวัดความถึ่ของสัญญาณข้อมูลแบบแอนะล็อก วีธีวัดความถึ่จะนับจำนวนรอบของสัญญาณที่เกิดขึ้นภายใน 1 วินาที เช่น ความถึ่ 60 Hz หมายถึง ใน 1 วินาที สัญญาณมีการเปลี่ยนแปลงระดับสัญญาณ 60 รอบ



2. สัญญาณดิจิทัล(Digital Signal)

สัญญาณดิจิทัลเป็นสัญญาณแบบไม่ต่อเนื่อง รูปสัญญาณของสัญญาณมีความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ปะติดปะต่ออย่างสัญญาณแอนะล็อก ในการสื่อสารด้วยสัญญาณดิจิทัล ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเลขฐานสอง (0และ1) จะถูกแทนด้วยสัญญาณดิจิทัล



Bit Rate เป็นอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล วิธีวัดความเร็วจะนับจำนวนบิตข้อมูลที่ส่งได้ในช่วงระยะเวลา 1 วินาที เช่น 14,400 bps หมายถึง มีความเร็วในการส่งข้อมูลจำนวน 14,4001 บิตในระยะเวลา 1 วินาที



โมเด็ม(Modulator DEModulator หรือ Modem)

โมเด็ม(Modem) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก ความเร็วในการสื่อสารข้อมูลของโมเด็มวันเป็นบิตต่อวินาที (bit per second หรือ bps) ความเร็วของโมเด็มโดยทั่วไปมีความเร็วเป็น 56 กิโลบิตต่อวินาที

ที่มาwww.bloggang.com/viewblog.php?id=numpuang&group



โดย: นางสาวลำไพ พูลเกษม ม.15 ศุกร์เช้า IP: 58.147.38.36 วันที่: 25 มิถุนายน 2552 เวลา:16:13:28 น.  

 
แบบสองทิศทาง (Full Duplex) เป็นการสื่อสาร 2 ทาง ที่เกิดขึ้นพร้อมกัน เช่นระบบโทรศัพท์
การสื่อสารข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ในเครือข่าย
แบ่งเป็น 2 แบบคือ
การสื่อสารแบบไม่ประสานจังหวะ (Asynchronous transmission) เป็นการสื่อสารแบบระบุจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด (Start – Stop) มีความเร็วต่ำ มักใช้ในการติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์รอบข้าง
การสื่อสารแบบประสานจังหวะ (Synchronous Transmission) เป็นการสื่อสารแบบส่งทีละกลุ่มข้อมูล (Packets) มักใช้ในการติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับ คอมพิวเตอร์
ที่มา //www.nawattakum.org/link/เทคโนโลยีการสื่อสาร.pps


โดย: นางสาวลำไพ พูลเกษม ม.15 ศากร์ เช้า IP: 58.147.38.36 วันที่: 25 มิถุนายน 2552 เวลา:16:18:20 น.  

 
7.1องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบ 5 อย่าง (ดังรูป) ได้แก่
1. ผู้ส่ง (Sender) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งข่าวสาร (Message) เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูลมีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล เช่น ผู้พูด โทรทัศน์ กล้องวิดีโอ เป็นต้น
2. ผู้รับ (Receiver) เป็นปลายทางการสื่อสาร มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้ เช่น ผู้ฟัง เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
3. สื่อกลาง (Medium) หรือตัวกลาง เป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อส่งข้อมูลอาจเป็นสายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล สายใยแก้วนำแสง หรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น เลเซอร์ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุภาคพื้นดิน หรือคลื่นวิทยุผ่านดาวเทียม
4. ข้อมูลข่าวสาร (Message) คือสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร ซึ่งอาจถูกเรียกว่า สารสนเทศ (Information) โดยแบ่งเป็น 5รูปแบบ ดังนี้
4.1 ข้อความ (Text) ใช้แทนตัวอักขระต่าง ๆ ซึ่งจะแทนด้วยรหัสต่าง ๆ เช่น รหัสแอสกี เป็นต้น
4.2 ตัวเลข (Number) ใช้แทนตัวเลขต่าง ๆ ซึ่งตัวเลขไม่ได้ถูกแทนด้วยรหัสแอสกีแต่จะถูกแปลงเป็นเลขฐานสองโดยตรง
4.3 รูปภาพ (Images) ข้อมูลของรูปภาพจะแทนด้วยจุดสีเรียงกันไปตามขนาดของรูปภาพ
4.4 เสียง (Audio) ข้อมูลเสียงจะแตกต่างจากข้อความ ตัวเลข และรูปภาพเพราะข้อมูลเสียงจะเป็นสัญญาณต่อเนื่องกันไป
4.5 วิดีโอ (Video) ใช้แสดงภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากการรวมกันของรูปภาพหลาย ๆ รูป
5. โปรโตคอล (Protocol) คือ วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่อง โดยทั้งสองฝั่งทั้งผู้รับและผู้ส่งได้ตกลงกันไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว ในคอมพิวเตอร์โปรโตคอลอยู่ในส่วนของซอฟต์แวร์ที่มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงาน ในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น X.25, SDLC, HDLC, และ TCP/IP เป็นต้น

ที่มา //www.krirk.ac.th/faculty/Communication_arts/truexpert/@information/cm3205/cheet01.doc

7.2แบบทิศทางเดียว เช่น ระบบวิทยุ การส่งอีเมล


ที่มา//www.ps.ac.th/elearning/m4/Learn/8.ppt#257,1,ทิศทางการสื่อสารมี 3 รูปแบบ

7.3แบบสองทิศทาง(Full Duplex) ข้อมูลสามารถส่งพร้อมๆ กันได้ทั้ง 2 ทิศทางอย่างอิสระ ตัวอย่างเช่น ระบบโทรศัพท์

//www.nrru.ac.th/learning/science/sc_007/03/unit8/network1.html





โดย: นาย นารายณ์ แก้วภักดี (ศุกร์ เช้า ม.15)รหัส 52041151113 IP: 124.157.229.83 วันที่: 25 มิถุนายน 2552 เวลา:19:50:25 น.  

 


ข้อ.1
องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบ 5 อย่าง (ดังรูป) ได้แก่
1. ผู้ส่ง (Sender) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งข่าวสาร (Message) เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูลมีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล เช่น ผู้พูด โทรทัศน์ กล้องวิดีโอ เป็นต้น
2. ผู้รับ (Receiver) เป็นปลายทางการสื่อสาร มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้ เช่น ผู้ฟัง เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
3. สื่อกลาง (Medium) หรือตัวกลาง เป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อส่งข้อมูลอาจเป็นสายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล สายใยแก้วนำแสง หรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น เลเซอร์ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุภาคพื้นดิน หรือคลื่นวิทยุผ่านดาวเทียม
4. ข้อมูลข่าวสาร (Message) คือสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร ซึ่งอาจถูกเรียกว่า สารสนเทศ (Information) โดยแบ่งเป็น 5รูปแบบ ดังนี้
4.1 ข้อความ (Text) ใช้แทนตัวอักขระต่าง ๆ ซึ่งจะแทนด้วยรหัสต่าง ๆ เช่น รหัสแอสกี เป็นต้น
4.2 ตัวเลข (Number) ใช้แทนตัวเลขต่าง ๆ ซึ่งตัวเลขไม่ได้ถูกแทนด้วยรหัสแอสกีแต่จะถูกแปลงเป็นเลขฐานสองโดยตรง
4.3 รูปภาพ (Images) ข้อมูลของรูปภาพจะแทนด้วยจุดสีเรียงกันไปตามขนาดของรูปภาพ
4.4 เสียง (Audio) ข้อมูลเสียงจะแตกต่างจากข้อความ ตัวเลข และรูปภาพเพราะข้อมูลเสียงจะเป็นสัญญาณต่อเนื่องกันไป
4.5 วิดีโอ (Video) ใช้แสดงภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากการรวมกันของรูปภาพหลาย ๆ รูป
5. โปรโตคอล (Protocol) คือ วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่อง โดยทั้งสองฝั่งทั้งผู้รับและผู้ส่งได้ตกลงกันไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว ในคอมพิวเตอร์โปรโตคอลอยู่ในส่วนของซอฟต์แวร์ที่มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงาน ในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น X.25, SDLC, HDLC, และ TCP/IP เป็นต้น

ข้อ 2

ตัวอย่างการส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียวกันได้แก่ การถ่ายทอดข้อมูลราคาซื้อ-ขายหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไปยังสมาชิกซึ่งมักจะใช้เครื่องพีซีติดต่อเข้ามาจากที่บ้านหรือที่ทำงาน ข้อมูลจะถูกส่งไปเก็บไว้ที่ฐานข้อมูลที่เครื่องพีซีของผู้ใช้ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกดูราคาหุ้น ทั้งหมดหรือหุ้นบางตัวที่สนใจได้โดยไม่ต้องส่งข้อมูลใด ๆ กลับมาที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เพียงแค่ส่งข้อมูลส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงมายังสมาชิกเท่านั้น

ข้อ 3

การถ่ายทอดสัญญาณแบบสองทิศทางสมบูรณ์ (Full-Duplex Transmission) ยินยอมให้ทั้งฝ่ายผู้ส่งและผู้รับข้อมูลสามารถส่งข้อมูลไปยังอีกฝ่ายหนึ่งได้ตลอดเวลา วิธีการนี้จึงใช้ประโยชน์จากการสื่อสารข้อมูลอย่างเต็มที่ แต่มีข้อจำกัดคือเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีความสามารถในการรับและส่งข้อมูลได้อย่างเต็มที่ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้สื่อที่เลือกใช้ก็จะต้องมีช่องสื่อสารสองช่อง ช่องหนึ่งสำหรับส่งข้อมูลและอีกช่องหนึ่งสำหรับรับข้อมูล ช่องสื่อสารแบบ RS-232 สามารถรองรับการทำงานแบบนี้ได้เพราะมีขาเชื่อมต่อสำหรับการสื่อสารอยู่สองชุดที่แยกจากกัน โมเด็มที่ทำงานแบบสองทิศทางสมบูรณ์ได้จะต้องได้รับมาตรฐาน CCITT V.32 และ CCITT V.34 เช่นระบบโทรศัพท์เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสื่อสารที่เกิดขึ้นทั้งแบบกึ่งสองทิศทางและแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ในกรณีที่ใช้โทรศัพท์ ภายในเขตเมืองเดียวกัน (รหัสเมืองเหมือนกัน) จะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ดังนั้นผู้ใช้โทรศัพท์ ทั้งสองฝ่ายสามารถที่จะพูดออกมาพร้อม ๆ กัน เสียงพูดของแต่ละฝ่ายจะไปดังที่โทรศัพท์ของอีก ฝ่ายหนึ่ง แม้ว่าในทางปฏิบัติอาจจะไม่มีใครทำอย่างนี้แต่ก็สามารถทำได้อย่างแน่นอน
การส่งสัญญาณในระบบโทรศัพท์ทางไกลแม้ว่าตัวระบบเองจะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์แต่จะทำงานเป็นแบบกึ่งสองทิศทาง ระบบโทรศัพท์ทั่วไปจะมีสัญญาณสะท้อนกลับ (Echo) เกิดขึ้นเสมอเนื่องจากเสียงผู้พูดฝ่ายหนึ่งที่ไปถึงอีกฝ่ายหนึ่งจะทำให้เกิดการส่งสัญญาณสะท้อนกลับมาโดยไม่ได้ตั้งใจ ถ้าเป็นโทรศัพท์ภายในเขตจังหวัดเดียวกันหรือทางไกลภายในประเทศ สัญญาณสะท้อนกลับจะเกิดขึ้นเร็วมาก เนื่องจากระยะทางสั้น และซ้อนทับกับเสียงของผู้พูด จนกระทั่งไม่สามารถแยกเสียงจริงและเสียงสะท้อนออกจากกันได้ แต่ถ้าเป็นโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ สัญญาณสะท้อนกลับจะเกิดขึ้นช้ากว่า เพราะระยะทางไกลมาก ทำให้สามารถแยกความแตกต่างออกจากกันได้ คือผู้พูดจะได้ยินเสียงตัวเองภายหลังจากตัวเองที่หยุดพูด เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ระบบโทรศัพท์ต้องใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องตัดเสียงสะท้อน (Echo Suppressor) อุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่คอยเปิด-ปิดช่องสัญญาณในระหว่างการสนทนาเพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณสะท้อน ย้อนกลับไปยังผู้พูด เนื่องจากอุปกรณ์นี้ทำงานโดยใช้เสียงผู้พูดเป็นตัวกระตุ้นเพื่อปิดช่องสื่อสารของผู้ฟัง จึงทำให้ผู้ฟังไม่สามารถพูดสวนกลับไปได้ในเวลาเดียวกัน ผลที่เกิดขึ้นจึงทำให้ระบบการสื่อสารนี้กลายเป็นแบบกึ่งสองทิศทาง

//www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php



โดย: นางสาว สมร นาแพงหมื่น รหัส 51241151220 รปศ.1/51 เสาร์บ่าย รูปแบบพิเศษ IP: 222.123.57.68 วันที่: 26 มิถุนายน 2552 เวลา:11:48:26 น.  

 
4.3.3 การถ่ายทอดสัญญาณแบบสองทิศทางสมบูรณ์
การถ่ายทอดสัญญาณแบบสองทิศทางสมบูรณ์ (Full-Duplex Transmission) ยินยอมให้ทั้งฝ่ายผู้ส่งและผู้รับข้อมูลสามารถส่งข้อมูลไปยังอีกฝ่ายหนึ่งได้ตลอดเวลา วิธีการนี้จึงใช้ประโยชน์จากการสื่อสารข้อมูลอย่างเต็มที่ แต่มีข้อจำกัดคือเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีความสามารถในการรับและส่งข้อมูลได้อย่างเต็มที่ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้สื่อที่เลือกใช้ก็จะต้องมีช่องสื่อสารสองช่อง ช่องหนึ่งสำหรับส่งข้อมูลและอีกช่องหนึ่งสำหรับรับข้อมูล ช่องสื่อสารแบบ RS-232 สามารถรองรับการทำงานแบบนี้ได้เพราะมีขาเชื่อมต่อสำหรับการสื่อสารอยู่สองชุดที่แยกจากกัน โมเด็มที่ทำงานแบบสองทิศทางสมบูรณ์ได้จะต้องได้รับมาตรฐาน CCITT V.32 และ CCITT V.34 เช่นระบบโทรศัพท์เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสื่อสารที่เกิดขึ้นทั้งแบบกึ่งสองทิศทางและแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ในกรณีที่ใช้โทรศัพท์ ภายในเขตเมืองเดียวกัน (รหัสเมืองเหมือนกัน) จะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ดังนั้นผู้ใช้โทรศัพท์ ทั้งสองฝ่ายสามารถที่จะพูดออกมาพร้อม ๆ กัน เสียงพูดของแต่ละฝ่ายจะไปดังที่โทรศัพท์ของอีก ฝ่ายหนึ่ง แม้ว่าในทางปฏิบัติอาจจะไม่มีใครทำอย่างนี้แต่ก็สามารถทำได้อย่างแน่นอน
การส่งสัญญาณในระบบโทรศัพท์ทางไกลแม้ว่าตัวระบบเองจะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์แต่จะทำงานเป็นแบบกึ่งสองทิศทาง ระบบโทรศัพท์ทั่วไปจะมีสัญญาณสะท้อนกลับ (Echo) เกิดขึ้นเสมอเนื่องจากเสียงผู้พูดฝ่ายหนึ่งที่ไปถึงอีกฝ่ายหนึ่งจะทำให้เกิดการส่งสัญญาณสะท้อนกลับมาโดยไม่ได้ตั้งใจ ถ้าเป็นโทรศัพท์ภายในเขตจังหวัดเดียวกันหรือทางไกลภายในประเทศ สัญญาณสะท้อนกลับจะเกิดขึ้นเร็วมาก เนื่องจากระยะทางสั้น และซ้อนทับกับเสียงของผู้พูด จนกระทั่งไม่สามารถแยกเสียงจริงและเสียงสะท้อนออกจากกันได้ แต่ถ้าเป็นโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ สัญญาณสะท้อนกลับจะเกิดขึ้นช้ากว่า เพราะระยะทางไกลมาก ทำให้สามารถแยกความแตกต่างออกจากกันได้ คือผู้พูดจะได้ยินเสียงตัวเองภายหลังจากตัวเองที่หยุดพูด เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ระบบโทรศัพท์ต้องใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องตัดเสียงสะท้อน (Echo Suppressor) อุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่คอยเปิด-ปิดช่องสัญญาณในระหว่างการสนทนาเพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณสะท้อน ย้อนกลับไปยังผู้พูด เนื่องจากอุปกรณ์นี้ทำงานโดยใช้เสียงผู้พูดเป็นตัวกระตุ้นเพื่อปิดช่องสื่อสารของผู้ฟัง จึงทำให้ผู้ฟังไม่สามารถพูดสวนกลับไปได้ในเวลาเดียวกัน ผลที่เกิดขึ้นจึงทำให้ระบบการสื่อสารนี้กลายเป็นแบบกึ่งสองทิศทาง
//www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php


โดย: ศุภชัย จันทาพูน IP: 113.53.113.191 วันที่: 26 มิถุนายน 2552 เวลา:20:40:04 น.  

 
1. ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ
ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2. ผู้รับข่าวสาร หรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร
หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่ การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ
จุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง



3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน
ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้
วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น

ข่ายการสื่อสารข้อมูล
หมายถึง การรับส่งข้อมูลหรือสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยระบบการส่งข้อมูล ทางคลื่นไฟฟ้าหรือแสง อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปเรียกว่า
ข่ายการสื่อสารข้อมูล (Data Communication Networks)

องค์ประกอบพื้นฐาน

หน่วยส่งข้อมูล (Sending Unit)
ช่องทางการส่งข้อมูล (Transmisstion Channel)
หน่วยรับข้อมูล (Receiving Unit)
วัตถุประสงค์หลักของการนำการสื่อการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในองค์การประกอบด้วย
เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล
เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
เพื่อลดเวลาการทำงาน
เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร
เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ
เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การ


Copyright by Passkorn Roungrong
//www.thaiwbi.com/course/data_com/index2.html


โดย: ณัฐวุฒิ ศิริพันธ์ 51241151106 รปศ.(พิเศษ)เสาร์ บ่าย IP: 172.29.85.69, 202.29.5.62 วันที่: 27 มิถุนายน 2552 เวลา:10:40:40 น.  

 
องค์ประกอบพื้นฐานของระบบสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์นั้น จะทำได้ก็ต่อเมื่อมีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)



ข้อมูลต่างๆ ที่อยู่ต้นทางจะต้องจัดเตรียมนำเข้าสู่อุปกรณ์สำหรับส่งข้อมูล ซึ่งได้แก่เครื่องพิมพ์ หรืออุปกรณ์ควบคุมต่าง ๆ จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถส่งข้อมูลนั้นได้ก่อน


2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver)



ข้อมูลที่ถูกส่งจากอุปกรณ์ส่งข้อมูลต้นทาง เมื่อไปถึงปลายทางก็จะมีอุปกรณ์สำหรับรับข้อมูลเหล่านั้นเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ เครื่องพิมพ์ คอมพิวเตอร์ จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม ฯลฯ



3. โปรโตคอล (Protocol)



โปรโตคอล คือ กฎระเบียบ หรือวิธีการใช้เป็นข้อกำหนดสำหรับการสื่อสาร เพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งเข้าใจกันได้ ซึ่งมีหลายชนิดให้เลือกใช้ เช่น TCP/IP, X.25, SDLC เป็นต้น

4. ซอฟต์แวร์ (Software)



การส่งข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีโปรแกรมสำหรับดำเนินการ และควบคุมการส่งข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลตามที่กำหนดไว้ ได้แก่ Novell's NetWare UNIX Windows NT ฯลฯ

5. ข่าวสาร (Message)



เป็นรายละเอียดซึ่งอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ที่จะส่งผ่านระบบการสื่อสาร ซึ่งมีหลายรูปแบบดังนี้

5.1 ข้อมูล (Data) เป็นรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ ซึ่งถูกสร้างและจัดเก็บด้วยคอมพิวเตอร์ มีรูปแบบแน่นอน เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า เป็นต้น ข้อมูลสามารถนับจำนวนได้และส่งผ่านระบบสื่อสารได้เร็ว
5.2 ข้อความ (Text) อยู่ในรูปของเอกสารหรือตัวอักขระ ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ชัดเจนนับจำนวนได้คอนข้างยาก และมีความสามารถในการส่งปานกลาง

5.3 รูปภาพ (Image) เป็นข่าวสารที่อยู่ในรูปของภาพกราฟิกแบบต่าง ๆ ได้แก่ รูปภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพวิดีโอ ซึ่งข้อมูลชนิดนี้จะต้องอาศัยสื่อสำหรับเก็บและใช้หน่วยความจำเป็นจำนวนมาก

5.4 เสียง (Voice) อยู่ในรูปของเสียงพูด เสียงดนตรี หรือเสียงอื่น ๆ ข้อมูลชนิดนี้จะกระจัดกระจาย ไม่สามารถวัดขนาดที่แน่นอนได้ การส่งจะทำได้ด้วยความเร็ว ค่อนข้างต่ำ

6. ตัวกลาง (Medium)



เป็นตัวกลางหรือสื่อกลางที่ทำหน้าที่นำข่าวสารในรูปแบบต่าง ๆ จากผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งต้นทางไปยังผู้รับหรืออุปกรณ์รับปลายทาง ซึ่งมีหลายรูปแบบได้แก่ สายไป ขดลวด สายเคเบิล สายไฟเบอร์ออฟติก ตัวกลางอาจจะอยู่ในรูปของคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ คลื่นดาวเทียม หรือคลื่นวิทยุ เป็นต้น

ที่มา//elearning.northcm.ac.th/it/lesson6-1.asp





โดย: สุรพงษ์ ลือรัตนกุลชัย 51241151119 พิเศษ รปศ. เสาร์บ่าย IP: 172.29.85.69, 202.29.5.62 วันที่: 27 มิถุนายน 2552 เวลา:10:42:31 น.  

 
การสื่อสารข้อมูล หมายถึง การส่งข้อมูลที่อยู่ในรูปของเลขฐานสอง ที่เกิดจากอุปกรณ์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2เครื่องขึ้นไปโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารตลอดจนแบ่งปันการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด

องค์ประกอบของระบบสื่อสารข้อมูล
ระบบสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบพื้นฐาน 5 ประการ ดังนี้ คือ



1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)
เป็นต้นทางการสื่อสาร มีหน้าที่เตรียมข้อมมูลข่าวสารเพื่อจัดส่ง
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล(Receiver)
เป็นปลายทางของการสื่อสารข้อมูล มีหน้าที่รับส่งข้อมูลข่าวสารที่ผู้ส่งจัดส่งมาให้
3. สื่อกลาง(Medium)
เป็นเส้นทางการสื่อสาร เพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อกลางการสื่อสารนี้ อาจเป็นเส้นลวดทองแดง สายเคเบิล
สายใยแก้วนำแสง หรือคลื่นต่างๆ ที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไม่โครเวฟ คลื่นวิทยุ
4.ข่าวสาร(Massage)
เป็นสัญญานที่ใช้ส่งผ่านไปในสื่อกลาง แบ่งออกเป็น 4รูปแบบ ดังนี้คือ
1. เสียง
2. ข้อมูล
3. ข้อความ
4. รูปภาพ
5. โปรโตรคอล(Protocol)
หมายถึงกฎระเบียบหรือข้อตกลงที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจหรือพูดคุยกันได้

ที่มา //comschool.site40.net/data1.htm



โดย: พ.อ.ท.ปิยะ ชอมชื่น 51241151144 เสาร์บ่าย หมู่5 รปศ.(พิเศษ) IP: 172.29.85.69, 202.29.5.62 วันที่: 27 มิถุนายน 2552 เวลา:10:45:49 น.  

 
องค์ประกอบพื้นฐานของระบบสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์นั้น จะทำได้ก็ต่อเมื่อมีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)



ข้อมูลต่างๆ ที่อยู่ต้นทางจะต้องจัดเตรียมนำเข้าสู่อุปกรณ์สำหรับส่งข้อมูล ซึ่งได้แก่เครื่องพิมพ์ หรืออุปกรณ์ควบคุมต่าง ๆ จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถส่งข้อมูลนั้นได้ก่อน


2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver)



ข้อมูลที่ถูกส่งจากอุปกรณ์ส่งข้อมูลต้นทาง เมื่อไปถึงปลายทางก็จะมีอุปกรณ์สำหรับรับข้อมูลเหล่านั้นเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ เครื่องพิมพ์ คอมพิวเตอร์ จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม ฯลฯ



3. โปรโตคอล (Protocol)



โปรโตคอล คือ กฎระเบียบ หรือวิธีการใช้เป็นข้อกำหนดสำหรับการสื่อสาร เพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งเข้าใจกันได้ ซึ่งมีหลายชนิดให้เลือกใช้ เช่น TCP/IP, X.25, SDLC เป็นต้น

4. ซอฟต์แวร์ (Software)



การส่งข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีโปรแกรมสำหรับดำเนินการ และควบคุมการส่งข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลตามที่กำหนดไว้ ได้แก่ Novell's NetWare UNIX Windows NT ฯลฯ

5. ข่าวสาร (Message)



เป็นรายละเอียดซึ่งอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ที่จะส่งผ่านระบบการสื่อสาร ซึ่งมีหลายรูปแบบดังนี้

5.1 ข้อมูล (Data) เป็นรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ ซึ่งถูกสร้างและจัดเก็บด้วยคอมพิวเตอร์ มีรูปแบบแน่นอน เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า เป็นต้น ข้อมูลสามารถนับจำนวนได้และส่งผ่านระบบสื่อสารได้เร็ว
5.2 ข้อความ (Text) อยู่ในรูปของเอกสารหรือตัวอักขระ ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ชัดเจนนับจำนวนได้คอนข้างยาก และมีความสามารถในการส่งปานกลาง

5.3 รูปภาพ (Image) เป็นข่าวสารที่อยู่ในรูปของภาพกราฟิกแบบต่าง ๆ ได้แก่ รูปภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพวิดีโอ ซึ่งข้อมูลชนิดนี้จะต้องอาศัยสื่อสำหรับเก็บและใช้หน่วยความจำเป็นจำนวนมาก

5.4 เสียง (Voice) อยู่ในรูปของเสียงพูด เสียงดนตรี หรือเสียงอื่น ๆ ข้อมูลชนิดนี้จะกระจัดกระจาย ไม่สามารถวัดขนาดที่แน่นอนได้ การส่งจะทำได้ด้วยความเร็ว ค่อนข้างต่ำ

6. ตัวกลาง (Medium)



เป็นตัวกลางหรือสื่อกลางที่ทำหน้าที่นำข่าวสารในรูปแบบต่าง ๆ จากผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งต้นทางไปยังผู้รับหรืออุปกรณ์รับปลายทาง ซึ่งมีหลายรูปแบบได้แก่ สายไป ขดลวด สายเคเบิล สายไฟเบอร์ออฟติก ตัวกลางอาจจะอยู่ในรูปของคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ คลื่นดาวเทียม หรือคลื่นวิทยุ เป็นต้น

ที่มา//elearning.northcm.ac.th/it/lesson6-1.asp





โดย: โสฬส เชี่ยวสงคราม 51241151230 หมู่5เสาร์บ่าย รปศ IP: 172.29.85.69, 202.29.5.62 วันที่: 27 มิถุนายน 2552 เวลา:10:48:03 น.  

 
ข้อ.1
องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบ 5 อย่าง (ดังรูป) ได้แก่
1. ผู้ส่ง (Sender) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งข่าวสาร (Message) เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูลมีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล เช่น ผู้พูด โทรทัศน์ กล้องวิดีโอ เป็นต้น
2. ผู้รับ (Receiver) เป็นปลายทางการสื่อสาร มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้ เช่น ผู้ฟัง เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
3. สื่อกลาง (Medium) หรือตัวกลาง เป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อส่งข้อมูลอาจเป็นสายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล สายใยแก้วนำแสง หรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น เลเซอร์ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุภาคพื้นดิน หรือคลื่นวิทยุผ่านดาวเทียม
4. ข้อมูลข่าวสาร (Message) คือสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร ซึ่งอาจถูกเรียกว่า สารสนเทศ (Information) โดยแบ่งเป็น 5รูปแบบ ดังนี้
4.1 ข้อความ (Text) ใช้แทนตัวอักขระต่าง ๆ ซึ่งจะแทนด้วยรหัสต่าง ๆ เช่น รหัสแอสกี เป็นต้น
4.2 ตัวเลข (Number) ใช้แทนตัวเลขต่าง ๆ ซึ่งตัวเลขไม่ได้ถูกแทนด้วยรหัสแอสกีแต่จะถูกแปลงเป็นเลขฐานสองโดยตรง
4.3 รูปภาพ (Images) ข้อมูลของรูปภาพจะแทนด้วยจุดสีเรียงกันไปตามขนาดของรูปภาพ
4.4 เสียง (Audio) ข้อมูลเสียงจะแตกต่างจากข้อความ ตัวเลข และรูปภาพเพราะข้อมูลเสียงจะเป็นสัญญาณต่อเนื่องกันไป
4.5 วิดีโอ (Video) ใช้แสดงภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากการรวมกันของรูปภาพหลาย ๆ รูป
5. โปรโตคอล (Protocol) คือ วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่อง โดยทั้งสองฝั่งทั้งผู้รับและผู้ส่งได้ตกลงกันไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว ในคอมพิวเตอร์โปรโตคอลอยู่ในส่วนของซอฟต์แวร์ที่มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงาน ในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น X.25, SDLC, HDLC, และ TCP/IP เป็นต้น

ข้อ 2

ตัวอย่างการส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียวกันได้แก่ การถ่ายทอดข้อมูลราคาซื้อ-ขายหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไปยังสมาชิกซึ่งมักจะใช้เครื่องพีซีติดต่อเข้ามาจากที่บ้านหรือที่ทำงาน ข้อมูลจะถูกส่งไปเก็บไว้ที่ฐานข้อมูลที่เครื่องพีซีของผู้ใช้ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกดูราคาหุ้น ทั้งหมดหรือหุ้นบางตัวที่สนใจได้โดยไม่ต้องส่งข้อมูลใด ๆ กลับมาที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เพียงแค่ส่งข้อมูลส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงมายังสมาชิกเท่านั้น

ข้อ 3

การถ่ายทอดสัญญาณแบบสองทิศทางสมบูรณ์ (Full-Duplex Transmission) ยินยอมให้ทั้งฝ่ายผู้ส่งและผู้รับข้อมูลสามารถส่งข้อมูลไปยังอีกฝ่ายหนึ่งได้ตลอดเวลา วิธีการนี้จึงใช้ประโยชน์จากการสื่อสารข้อมูลอย่างเต็มที่ แต่มีข้อจำกัดคือเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีความสามารถในการรับและส่งข้อมูลได้อย่างเต็มที่ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้สื่อที่เลือกใช้ก็จะต้องมีช่องสื่อสารสองช่อง ช่องหนึ่งสำหรับส่งข้อมูลและอีกช่องหนึ่งสำหรับรับข้อมูล ช่องสื่อสารแบบ RS-232 สามารถรองรับการทำงานแบบนี้ได้เพราะมีขาเชื่อมต่อสำหรับการสื่อสารอยู่สองชุดที่แยกจากกัน โมเด็มที่ทำงานแบบสองทิศทางสมบูรณ์ได้จะต้องได้รับมาตรฐาน CCITT V.32 และ CCITT V.34 เช่นระบบโทรศัพท์เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสื่อสารที่เกิดขึ้นทั้งแบบกึ่งสองทิศทางและแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ในกรณีที่ใช้โทรศัพท์ ภายในเขตเมืองเดียวกัน (รหัสเมืองเหมือนกัน) จะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ดังนั้นผู้ใช้โทรศัพท์ ทั้งสองฝ่ายสามารถที่จะพูดออกมาพร้อม ๆ กัน เสียงพูดของแต่ละฝ่ายจะไปดังที่โทรศัพท์ของอีก ฝ่ายหนึ่ง แม้ว่าในทางปฏิบัติอาจจะไม่มีใครทำอย่างนี้แต่ก็สามารถทำได้อย่างแน่นอน
การส่งสัญญาณในระบบโทรศัพท์ทางไกลแม้ว่าตัวระบบเองจะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์แต่จะทำงานเป็นแบบกึ่งสองทิศทาง ระบบโทรศัพท์ทั่วไปจะมีสัญญาณสะท้อนกลับ (Echo) เกิดขึ้นเสมอเนื่องจากเสียงผู้พูดฝ่ายหนึ่งที่ไปถึงอีกฝ่ายหนึ่งจะทำให้เกิดการส่งสัญญาณสะท้อนกลับมาโดยไม่ได้ตั้งใจ ถ้าเป็นโทรศัพท์ภายในเขตจังหวัดเดียวกันหรือทางไกลภายในประเทศ สัญญาณสะท้อนกลับจะเกิดขึ้นเร็วมาก เนื่องจากระยะทางสั้น และซ้อนทับกับเสียงของผู้พูด จนกระทั่งไม่สามารถแยกเสียงจริงและเสียงสะท้อนออกจากกันได้ แต่ถ้าเป็นโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ สัญญาณสะท้อนกลับจะเกิดขึ้นช้ากว่า เพราะระยะทางไกลมาก ทำให้สามารถแยกความแตกต่างออกจากกันได้ คือผู้พูดจะได้ยินเสียงตัวเองภายหลังจากตัวเองที่หยุดพูด เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ระบบโทรศัพท์ต้องใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องตัดเสียงสะท้อน (Echo Suppressor) อุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่คอยเปิด-ปิดช่องสัญญาณในระหว่างการสนทนาเพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณสะท้อน ย้อนกลับไปยังผู้พูด เนื่องจากอุปกรณ์นี้ทำงานโดยใช้เสียงผู้พูดเป็นตัวกระตุ้นเพื่อปิดช่องสื่อสารของผู้ฟัง จึงทำให้ผู้ฟังไม่สามารถพูดสวนกลับไปได้ในเวลาเดียวกัน ผลที่เกิดขึ้นจึงทำให้ระบบการสื่อสารนี้กลายเป็นแบบกึ่งสองทิศทาง

//www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php


โดย: ทองคูณ ยางขัน 51241151207 รปศ เสาร์ พิเศษบ่าย หมู่5 IP: 172.29.85.69, 202.29.5.62 วันที่: 27 มิถุนายน 2552 เวลา:10:52:31 น.  

 
ข้อ.1
องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบ 5 อย่าง (ดังรูป) ได้แก่
1. ผู้ส่ง (Sender) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งข่าวสาร (Message) เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูลมีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล เช่น ผู้พูด โทรทัศน์ กล้องวิดีโอ เป็นต้น
2. ผู้รับ (Receiver) เป็นปลายทางการสื่อสาร มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้ เช่น ผู้ฟัง เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
3. สื่อกลาง (Medium) หรือตัวกลาง เป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อส่งข้อมูลอาจเป็นสายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล สายใยแก้วนำแสง หรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น เลเซอร์ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุภาคพื้นดิน หรือคลื่นวิทยุผ่านดาวเทียม
4. ข้อมูลข่าวสาร (Message) คือสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร ซึ่งอาจถูกเรียกว่า สารสนเทศ (Information) โดยแบ่งเป็น 5รูปแบบ ดังนี้
4.1 ข้อความ (Text) ใช้แทนตัวอักขระต่าง ๆ ซึ่งจะแทนด้วยรหัสต่าง ๆ เช่น รหัสแอสกี เป็นต้น
4.2 ตัวเลข (Number) ใช้แทนตัวเลขต่าง ๆ ซึ่งตัวเลขไม่ได้ถูกแทนด้วยรหัสแอสกีแต่จะถูกแปลงเป็นเลขฐานสองโดยตรง
4.3 รูปภาพ (Images) ข้อมูลของรูปภาพจะแทนด้วยจุดสีเรียงกันไปตามขนาดของรูปภาพ
4.4 เสียง (Audio) ข้อมูลเสียงจะแตกต่างจากข้อความ ตัวเลข และรูปภาพเพราะข้อมูลเสียงจะเป็นสัญญาณต่อเนื่องกันไป
4.5 วิดีโอ (Video) ใช้แสดงภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากการรวมกันของรูปภาพหลาย ๆ รูป
5. โปรโตคอล (Protocol) คือ วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่อง โดยทั้งสองฝั่งทั้งผู้รับและผู้ส่งได้ตกลงกันไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว ในคอมพิวเตอร์โปรโตคอลอยู่ในส่วนของซอฟต์แวร์ที่มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงาน ในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น X.25, SDLC, HDLC, และ TCP/IP เป็นต้น

ข้อ 2

ตัวอย่างการส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียวกันได้แก่ การถ่ายทอดข้อมูลราคาซื้อ-ขายหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไปยังสมาชิกซึ่งมักจะใช้เครื่องพีซีติดต่อเข้ามาจากที่บ้านหรือที่ทำงาน ข้อมูลจะถูกส่งไปเก็บไว้ที่ฐานข้อมูลที่เครื่องพีซีของผู้ใช้ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกดูราคาหุ้น ทั้งหมดหรือหุ้นบางตัวที่สนใจได้โดยไม่ต้องส่งข้อมูลใด ๆ กลับมาที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เพียงแค่ส่งข้อมูลส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงมายังสมาชิกเท่านั้น

ข้อ 3

การถ่ายทอดสัญญาณแบบสองทิศทางสมบูรณ์ (Full-Duplex Transmission) ยินยอมให้ทั้งฝ่ายผู้ส่งและผู้รับข้อมูลสามารถส่งข้อมูลไปยังอีกฝ่ายหนึ่งได้ตลอดเวลา วิธีการนี้จึงใช้ประโยชน์จากการสื่อสารข้อมูลอย่างเต็มที่ แต่มีข้อจำกัดคือเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีความสามารถในการรับและส่งข้อมูลได้อย่างเต็มที่ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้สื่อที่เลือกใช้ก็จะต้องมีช่องสื่อสารสองช่อง ช่องหนึ่งสำหรับส่งข้อมูลและอีกช่องหนึ่งสำหรับรับข้อมูล ช่องสื่อสารแบบ RS-232 สามารถรองรับการทำงานแบบนี้ได้เพราะมีขาเชื่อมต่อสำหรับการสื่อสารอยู่สองชุดที่แยกจากกัน โมเด็มที่ทำงานแบบสองทิศทางสมบูรณ์ได้จะต้องได้รับมาตรฐาน CCITT V.32 และ CCITT V.34 เช่นระบบโทรศัพท์เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสื่อสารที่เกิดขึ้นทั้งแบบกึ่งสองทิศทางและแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ในกรณีที่ใช้โทรศัพท์ ภายในเขตเมืองเดียวกัน (รหัสเมืองเหมือนกัน) จะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ดังนั้นผู้ใช้โทรศัพท์ ทั้งสองฝ่ายสามารถที่จะพูดออกมาพร้อม ๆ กัน เสียงพูดของแต่ละฝ่ายจะไปดังที่โทรศัพท์ของอีก ฝ่ายหนึ่ง แม้ว่าในทางปฏิบัติอาจจะไม่มีใครทำอย่างนี้แต่ก็สามารถทำได้อย่างแน่นอน
การส่งสัญญาณในระบบโทรศัพท์ทางไกลแม้ว่าตัวระบบเองจะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์แต่จะทำงานเป็นแบบกึ่งสองทิศทาง ระบบโทรศัพท์ทั่วไปจะมีสัญญาณสะท้อนกลับ (Echo) เกิดขึ้นเสมอเนื่องจากเสียงผู้พูดฝ่ายหนึ่งที่ไปถึงอีกฝ่ายหนึ่งจะทำให้เกิดการส่งสัญญาณสะท้อนกลับมาโดยไม่ได้ตั้งใจ ถ้าเป็นโทรศัพท์ภายในเขตจังหวัดเดียวกันหรือทางไกลภายในประเทศ สัญญาณสะท้อนกลับจะเกิดขึ้นเร็วมาก เนื่องจากระยะทางสั้น และซ้อนทับกับเสียงของผู้พูด จนกระทั่งไม่สามารถแยกเสียงจริงและเสียงสะท้อนออกจากกันได้ แต่ถ้าเป็นโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ สัญญาณสะท้อนกลับจะเกิดขึ้นช้ากว่า เพราะระยะทางไกลมาก ทำให้สามารถแยกความแตกต่างออกจากกันได้ คือผู้พูดจะได้ยินเสียงตัวเองภายหลังจากตัวเองที่หยุดพูด เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ระบบโทรศัพท์ต้องใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องตัดเสียงสะท้อน (Echo Suppressor) อุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่คอยเปิด-ปิดช่องสัญญาณในระหว่างการสนทนาเพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณสะท้อน ย้อนกลับไปยังผู้พูด เนื่องจากอุปกรณ์นี้ทำงานโดยใช้เสียงผู้พูดเป็นตัวกระตุ้นเพื่อปิดช่องสื่อสารของผู้ฟัง จึงทำให้ผู้ฟังไม่สามารถพูดสวนกลับไปได้ในเวลาเดียวกัน ผลที่เกิดขึ้นจึงทำให้ระบบการสื่อสารนี้กลายเป็นแบบกึ่งสองทิศทาง

//www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php







โดย: จ.ท.ถิรพงษ์ แพงมา 51241151126 ม. 5 เสาร์บ่าย รปศ. พิเศษ IP: 172.29.85.81, 202.29.5.62 วันที่: 27 มิถุนายน 2552 เวลา:10:55:19 น.  

 
ข้อ 7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง
ตอบ
องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล
องค์ประกอบ พื้นฐานหลัก 4 องค์ประกอบในระบบการสื่อสาร
1.2.1 ผู้ส่ง (Sender) และผู้รับ (Receiver) ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูลต้นทางของการสื่อสารข้อมูลเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสารทำหน้าที่จัดส่งข่าวสารเข้าสู่ระบบ โดยที่ผู้ผลิตหรือสร้างข่าวสารที่ แท้จริงอาจเป็นพนักงานที่พิมพ์ข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมอาจเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดข่าวสารต่อเนื่องมาจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ ส่วนผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูลทำหน้าที่ในการรับข้อมูลที่ถูกถ่ายทอดมาจากผู้ส่งข้อมูลผ่านสื่อที่เชื่อมระหว่างกัน การสื่อสารจะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อข่าวสารที่ผู้รับข้อมูลได้รับนั้นเป็นข่าวสารเดียวกันกับข่าวสารที่ผู้ส่งข้อมูลได้ถ่ายทอดผ่านสื่อมายังผู้รับข้อมูล อุปกรณ์รับข้อมูลมี 2 ชนิด คือ อุปกรณ์รับข้อมูลปลายทาง (Data Terminal Equipment; DTE) เป็นแหล่งกำเนิดและรับข้อมูล ซึ่งอาจเป็นเทอร์มินอลคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ หรือตัวควบคุม และ อุปกรณ์การสื่อสารข้อมูล (Data Communication Equipment; DCE) หมายถึง โมเด็ม (Modem) จานไมโครเวฟ หรือจานดาวเทียม เป็นต้น
1.2.2 โพรโทคอล (Protocol) และ ซอฟต์แวร์ (Software) โพรโทคอล คือวิธีการหรือกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อควบคุมการทำงานของระบบสื่อสารข้อมูลทั้งผู้ส่งและผู้รับเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่องเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เช่น คนไทยคนหนึ่งอยู่ในประเทศไทยหมุนโทรศัพท์ติดต่อไปยังอีกคนหนึ่งที่อยู่ในประเทศจีนได้สำเร็จ ซึ่งเป็นเพียงการสร้างวงจรสื่อสารขึ้นมาเท่านั้นแต่ทั้งสองคนอาจจะไม่สามารถสื่อสารถึงกันเข้าใจได้ เนื่องจากพูดกันคนละภาษาโพรโทคอลจึงเปรียบเสมือนการบังคับให้ทั้งสองคนนั้นใช้ภาษากลาง ซึ่งอาจจะเป็นภาษาอะไรก็ได้ที่ทั้งสองคน เข้าใจได้ ดังนั้นคนทั้งสองคนนี้จึงจะสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารคอมพิวเตอร์ได้แก่ X.25, BSC, SDLC, HDLC เป็นต้น ส่วนซอฟต์แวร์มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงานในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ ได้แก่ Novell Netware ของระบบ LAN, UNIX, MS-DOS, OS/2, LINUX เป็นต้น
1.2.3 ข่าวสาร (Message) สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสารข้อมูลเรียกว่า ข่าวสาร หรือสารสนเทศ (Information) รูปแบบของข่าวสารที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลมี 4 รูปแบบ ด้วยกัน คือ
1.2.3.1 เสียง (Voice) อาจจะเป็นเสียงที่เกิดจากมนุษย์หรือเสียงที่สร้างขึ้นจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ข้อมูลจะกระจัดกระจายคาดการณ์ล่วงหน้าไม่ได้ การส่งข้อมูลจะส่งด้วยความเร็วต่ำ
1.2.3.2 ข้อมูล (Data) ข้อมูลถูกสร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์มีรูปแบบแน่นอนเป็น รหัสบิต การส่งข้อมูลจะส่งด้วยความเร็วสูง
1.2.3.3 ข้อความ (Text) ไม่มีรูปแบบที่แน่นอนส่วนใหญ่เป็นรูปแบบของอักขระหรือเอกสาร การส่งข่าวสารที่เป็นข้อความจะส่งด้วยความเร็วปานกลาง
1.2.3.4 ภาพ (Image) อยู่ในรูปของกราฟิกแบบต่าง ๆ เช่น รูปภาพ ภาพวิดีโอ ใช้ปริมาณหรือหน่วยความจำมาก การส่งข้อมูลจะส่งด้วยความเร็วสูง
ในการสื่อสารแต่ละวิธี รูปแบบของข่าวสารที่ส่งออกไปอาจจะแตกต่างกันหรือเหมือนกัน เช่น การสื่อสารในระบบโทรศัพท์สาธารณะสามารถส่งผ่านข้อมูลเข้าไปได้ทั้งที่เป็นไฟล์ข้อมูล ข้อความ เสียงและภาพ ในปัจจุบันเทคโนโลยีของระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์ก็สามารถส่งรับข้อมูลได้ทั้งเสียง ข้อมูล ข้อความ และภาพ ส่วนรูปแบบข้อมูลในระบบวิดีโอเท็กซ์จะเป็นข้อมูล ข้อความและภาพเท่านั้น เป็นต้น
1.2.4 สื่อกลาง (Medium) สื่อกลางเป็นเส้นทางการสื่อสาร เพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยัง ปลายทาง สื่อกลางการสื่อสารอาจเป็นเส้นลวดทองแดง สายไฟ สายเคเบิ้ล สายไฟเบอร์ออปติกหรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ สัญญาณวิทยุ หรือแสงก็ได้

ระบบการสื่อสารทุกชนิดจะต้องมีองค์ประกอบครบตามรูปแบบถ้าขาดส่วนใดส่วนหนึ่งแล้วการสื่อสารจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน เช่น การโทรศัพท์ไปหาเพื่อนแต่ไม่มีผู้รับสายหรือเป็นเสียงตอบรับจากเครื่องตอบรับโทรศัพท์แบบอัตโนมัติก็จะไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้น ในกรณีนี้สิ่งที่ขาดหายไปคือ ผู้รับข้อมูล แต่ถ้าเพื่อนผู้นี้สามารถตอบรับโทรศัพท์ก็แสดงว่าการสื่อสารได้เริ่มต้นขึ้นแล้วลักษณะ เช่นนี้เรียกว่าวงจรสื่อสารได้รับการจัดตั้งขึ้นเรียบร้อยแล้ว

//www.hs1an.org/index.php?option=com_content&task=view&id=551&Itemid=31

ข้อ7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ 1. วิทยุ
2. โทรทัศน์



ข้อ 7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ 1.ระบบโทรศัพท์
2.การ chat ทาง Internet

//www.sawi.ac.th/elearning/networks/page1.htm


โดย: งสาวมาริษา ดวงกุลสา 52040305128 สาขาภาษาอังกฤษธุรกิจ เรียนเช้าวันพฤหัสบดี IP: 117.47.130.24 วันที่: 28 มิถุนายน 2552 เวลา:12:22:58 น.  

 


ข้อ.1
องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบ 5 อย่าง (ดังรูป) ได้แก่
1. ผู้ส่ง (Sender) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งข่าวสาร (Message) เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูลมีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล เช่น ผู้พูด โทรทัศน์ กล้องวิดีโอ เป็นต้น
2. ผู้รับ (Receiver) เป็นปลายทางการสื่อสาร มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้ เช่น ผู้ฟัง เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
3. สื่อกลาง (Medium) หรือตัวกลาง เป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อส่งข้อมูลอาจเป็นสายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล สายใยแก้วนำแสง หรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น เลเซอร์ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุภาคพื้นดิน หรือคลื่นวิทยุผ่านดาวเทียม
4. ข้อมูลข่าวสาร (Message) คือสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร ซึ่งอาจถูกเรียกว่า สารสนเทศ (Information) โดยแบ่งเป็น 5รูปแบบ ดังนี้
4.1 ข้อความ (Text) ใช้แทนตัวอักขระต่าง ๆ ซึ่งจะแทนด้วยรหัสต่าง ๆ เช่น รหัสแอสกี เป็นต้น
4.2 ตัวเลข (Number) ใช้แทนตัวเลขต่าง ๆ ซึ่งตัวเลขไม่ได้ถูกแทนด้วยรหัสแอสกีแต่จะถูกแปลงเป็นเลขฐานสองโดยตรง
4.3 รูปภาพ (Images) ข้อมูลของรูปภาพจะแทนด้วยจุดสีเรียงกันไปตามขนาดของรูปภาพ
4.4 เสียง (Audio) ข้อมูลเสียงจะแตกต่างจากข้อความ ตัวเลข และรูปภาพเพราะข้อมูลเสียงจะเป็นสัญญาณต่อเนื่องกันไป
4.5 วิดีโอ (Video) ใช้แสดงภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากการรวมกันของรูปภาพหลาย ๆ รูป
5. โปรโตคอล (Protocol) คือ วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่อง โดยทั้งสองฝั่งทั้งผู้รับและผู้ส่งได้ตกลงกันไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว ในคอมพิวเตอร์โปรโตคอลอยู่ในส่วนของซอฟต์แวร์ที่มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงาน ในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น X.25, SDLC, HDLC, และ TCP/IP เป็นต้น

ข้อ 2

ตัวอย่างการส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียวกันได้แก่ การถ่ายทอดข้อมูลราคาซื้อ-ขายหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไปยังสมาชิกซึ่งมักจะใช้เครื่องพีซีติดต่อเข้ามาจากที่บ้านหรือที่ทำงาน ข้อมูลจะถูกส่งไปเก็บไว้ที่ฐานข้อมูลที่เครื่องพีซีของผู้ใช้ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกดูราคาหุ้น ทั้งหมดหรือหุ้นบางตัวที่สนใจได้โดยไม่ต้องส่งข้อมูลใด ๆ กลับมาที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เพียงแค่ส่งข้อมูลส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงมายังสมาชิกเท่านั้น

ข้อ 3

การถ่ายทอดสัญญาณแบบสองทิศทางสมบูรณ์ (Full-Duplex Transmission) ยินยอมให้ทั้งฝ่ายผู้ส่งและผู้รับข้อมูลสามารถส่งข้อมูลไปยังอีกฝ่ายหนึ่งได้ตลอดเวลา วิธีการนี้จึงใช้ประโยชน์จากการสื่อสารข้อมูลอย่างเต็มที่ แต่มีข้อจำกัดคือเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีความสามารถในการรับและส่งข้อมูลได้อย่างเต็มที่ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้สื่อที่เลือกใช้ก็จะต้องมีช่องสื่อสารสองช่อง ช่องหนึ่งสำหรับส่งข้อมูลและอีกช่องหนึ่งสำหรับรับข้อมูล ช่องสื่อสารแบบ RS-232 สามารถรองรับการทำงานแบบนี้ได้เพราะมีขาเชื่อมต่อสำหรับการสื่อสารอยู่สองชุดที่แยกจากกัน โมเด็มที่ทำงานแบบสองทิศทางสมบูรณ์ได้จะต้องได้รับมาตรฐาน CCITT V.32 และ CCITT V.34 เช่นระบบโทรศัพท์เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสื่อสารที่เกิดขึ้นทั้งแบบกึ่งสองทิศทางและแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ในกรณีที่ใช้โทรศัพท์ ภายในเขตเมืองเดียวกัน (รหัสเมืองเหมือนกัน) จะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ดังนั้นผู้ใช้โทรศัพท์ ทั้งสองฝ่ายสามารถที่จะพูดออกมาพร้อม ๆ กัน เสียงพูดของแต่ละฝ่ายจะไปดังที่โทรศัพท์ของอีก ฝ่ายหนึ่ง แม้ว่าในทางปฏิบัติอาจจะไม่มีใครทำอย่างนี้แต่ก็สามารถทำได้อย่างแน่นอน
การส่งสัญญาณในระบบโทรศัพท์ทางไกลแม้ว่าตัวระบบเองจะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์แต่จะทำงานเป็นแบบกึ่งสองทิศทาง ระบบโทรศัพท์ทั่วไปจะมีสัญญาณสะท้อนกลับ (Echo) เกิดขึ้นเสมอเนื่องจากเสียงผู้พูดฝ่ายหนึ่งที่ไปถึงอีกฝ่ายหนึ่งจะทำให้เกิดการส่งสัญญาณสะท้อนกลับมาโดยไม่ได้ตั้งใจ ถ้าเป็นโทรศัพท์ภายในเขตจังหวัดเดียวกันหรือทางไกลภายในประเทศ สัญญาณสะท้อนกลับจะเกิดขึ้นเร็วมาก เนื่องจากระยะทางสั้น และซ้อนทับกับเสียงของผู้พูด จนกระทั่งไม่สามารถแยกเสียงจริงและเสียงสะท้อนออกจากกันได้ แต่ถ้าเป็นโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ สัญญาณสะท้อนกลับจะเกิดขึ้นช้ากว่า เพราะระยะทางไกลมาก ทำให้สามารถแยกความแตกต่างออกจากกันได้ คือผู้พูดจะได้ยินเสียงตัวเองภายหลังจากตัวเองที่หยุดพูด เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ระบบโทรศัพท์ต้องใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องตัดเสียงสะท้อน (Echo Suppressor) อุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่คอยเปิด-ปิดช่องสัญญาณในระหว่างการสนทนาเพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณสะท้อน ย้อนกลับไปยังผู้พูด เนื่องจากอุปกรณ์นี้ทำงานโดยใช้เสียงผู้พูดเป็นตัวกระตุ้นเพื่อปิดช่องสื่อสารของผู้ฟัง จึงทำให้ผู้ฟังไม่สามารถพูดสวนกลับไปได้ในเวลาเดียวกัน ผลที่เกิดขึ้นจึงทำให้ระบบการสื่อสารนี้กลายเป็นแบบกึ่งสองทิศทาง

//www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php



โดย: น.ส.วินภา พินิจมนตรี 51241151116 สาขารัฐประศาสนศาสตร์ เรียนบ่ายวันเสาร์ รูปแบบพิเศษ หมู่ 5 IP: 125.26.178.231 วันที่: 29 มิถุนายน 2552 เวลา:10:11:04 น.  

 
องค์ประกอบพื้นฐานของระบบสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์นั้น จะทำได้ก็ต่อเมื่อมีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)



ข้อมูลต่างๆ ที่อยู่ต้นทางจะต้องจัดเตรียมนำเข้าสู่อุปกรณ์สำหรับส่งข้อมูล ซึ่งได้แก่เครื่องพิมพ์ หรืออุปกรณ์ควบคุมต่าง ๆ จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถส่งข้อมูลนั้นได้ก่อน


2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver)



ข้อมูลที่ถูกส่งจากอุปกรณ์ส่งข้อมูลต้นทาง เมื่อไปถึงปลายทางก็จะมีอุปกรณ์สำหรับรับข้อมูลเหล่านั้นเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ เครื่องพิมพ์ คอมพิวเตอร์ จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม ฯลฯ



3. โปรโตคอล (Protocol)



โปรโตคอล คือ กฎระเบียบ หรือวิธีการใช้เป็นข้อกำหนดสำหรับการสื่อสาร เพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งเข้าใจกันได้ ซึ่งมีหลายชนิดให้เลือกใช้ เช่น TCP/IP, X.25, SDLC เป็นต้น

4. ซอฟต์แวร์ (Software)



การส่งข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีโปรแกรมสำหรับดำเนินการ และควบคุมการส่งข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลตามที่กำหนดไว้ ได้แก่ Novell's NetWare UNIX Windows NT ฯลฯ

5. ข่าวสาร (Message)



เป็นรายละเอียดซึ่งอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ที่จะส่งผ่านระบบการสื่อสาร ซึ่งมีหลายรูปแบบดังนี้

5.1 ข้อมูล (Data) เป็นรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ ซึ่งถูกสร้างและจัดเก็บด้วยคอมพิวเตอร์ มีรูปแบบแน่นอน เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า เป็นต้น ข้อมูลสามารถนับจำนวนได้และส่งผ่านระบบสื่อสารได้เร็ว
5.2 ข้อความ (Text) อยู่ในรูปของเอกสารหรือตัวอักขระ ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ชัดเจนนับจำนวนได้คอนข้างยาก และมีความสามารถในการส่งปานกลาง

5.3 รูปภาพ (Image) เป็นข่าวสารที่อยู่ในรูปของภาพกราฟิกแบบต่าง ๆ ได้แก่ รูปภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพวิดีโอ ซึ่งข้อมูลชนิดนี้จะต้องอาศัยสื่อสำหรับเก็บและใช้หน่วยความจำเป็นจำนวนมาก

5.4 เสียง (Voice) อยู่ในรูปของเสียงพูด เสียงดนตรี หรือเสียงอื่น ๆ ข้อมูลชนิดนี้จะกระจัดกระจาย ไม่สามารถวัดขนาดที่แน่นอนได้ การส่งจะทำได้ด้วยความเร็ว ค่อนข้างต่ำ

6. ตัวกลาง (Medium)



เป็นตัวกลางหรือสื่อกลางที่ทำหน้าที่นำข่าวสารในรูปแบบต่าง ๆ จากผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งต้นทางไปยังผู้รับหรืออุปกรณ์รับปลายทาง ซึ่งมีหลายรูปแบบได้แก่ สายไป ขดลวด สายเคเบิล สายไฟเบอร์ออฟติก ตัวกลางอาจจะอยู่ในรูปของคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ คลื่นดาวเทียม หรือคลื่นวิทยุ เป็นต้น

ที่มา//elearning.northcm.ac.th/it/lesson6-1.asp


โดย: นายสุรพล อินทร์ธิราช หมู่ 5 รูปแบบพิเศษวันเสาร์บ่ายโมง IP: 125.26.178.231 วันที่: 29 มิถุนายน 2552 เวลา:10:34:00 น.  

 
1.ใหญ่ เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล
ในปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสาร ทำให้เราหันมาให้ความสำคัญต่อการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เราสามารถติดต่อเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันได้ทั่วโลก ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของอินเทอร์เน็ต หรือด้านการติดต่อสื่อสารโทรคมนาคมในระยะไกลต่าง ๆ ก่อให้เกิดการนำเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลมาใช้ในวงการธุรกิจต่าง ๆ เป็นการนำความรู้จากข้อมูลข่าวสารที่ได้รับมาสร้างทางเลือกในการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ ส่งผลให้เราสามารถลดต้นทุน ลดเวลาในการติดต่อสื่อสารส่งเสริมให้เกิดการใช้งานทรัพยากรร่วมกัน ซึ่งเหมาะกับสภาพขององค์กรในปัจจุบันที่ต้องการการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง
จากจุดเริ่มแรกทำให้มีการใช้บริการด้านการสื่อสารโทรคมนาคมเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และเว็บไซต์เพื่อการพาณิชย์ต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดแรงผลักดันในการพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เห็นได้ง่าย ๆ จากการเปลี่ยนแปลงจากการสื่อสารแบบอนาล็อกเป็นเทคโนโลยีเครือข่ายดิจิทัล ทำให้มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงขึ้น และส่งข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก ลดความผิดพลาดในการส่งข้อมูล ซึ่งสามารถส่งสารสนเทศทั้งที่เป็นข้อมูลประเภท เสียง และวิดีโอ ไปพร้อม ๆ กัน อีกทั้งการใช้ดาวเทียมสื่อสารทำให้สามารถส่งข้อมูลภาพและเสียงข้ามซีกโลกได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งการใช้เซลลูลาห์หรือเครือข่ายไร้สายอื่น ๆ นับว่าเป็นการทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการใช้อุปกรณ์แบบพกพาแบบต่าง ๆ ทำให้เราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลก

2.ใหญ่ ทิศทางของการสื่อสารข้อมูล

สามารถแบ่งทิศทางการสื่อสารของข้อมูลได้เป็น 3 แบบ คือ

1. แบบทิศทางเดียว (Simplex)เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางโดยไม่สามารถส่งข้อมูลย้อนกลับมาได้เช่นระบบวิทยุหรือโทรทัศน์





3.ใหญ่ แบบสองทิศทาง (Full Duplex) เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลสามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้ง 2 ทิศทาง ในเวลาเดียวกัน เช่น ระบบโทรศัพท์




โดย: นายวรวัฒน์ ศรีใจ รหัส 52040332110 พฤหัส (เช้า) IP: 172.29.168.188, 58.137.131.62 วันที่: 29 มิถุนายน 2552 เวลา:15:10:43 น.  

 
ข้อ1
องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล

การสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบ 5 อย่าง ได้แก่


1. ผู้ส่ง (Sender) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งข่าวสาร (Message) เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูลมีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล เช่น ผู้พูด โทรทัศน์ กล้องวิดีโอ เป็นต้น
2. ผู้รับ (Receiver) เป็นปลายทางการสื่อสาร มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้ เช่น ผู้ฟัง เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
3. สื่อกลาง (Medium) หรือตัวกลาง เป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อส่งข้อมูลอาจเป็นสายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล สายใยแก้วนำแสง หรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น เลเซอร์ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุภาคพื้นดิน หรือคลื่นวิทยุผ่านดาวเทียม
4. ข้อมูลข่าวสาร (Message) คือสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร ซึ่งอาจถูกเรียกว่า สารสนเทศ (Information) โดยแบ่งเป็น 5รูปแบบ ดังนี้
4.1 ข้อความ (Text) ใช้แทนตัวอักขระต่าง ๆ ซึ่งจะแทนด้วยรหัสต่าง ๆ เช่น รหัสแอสกี เป็นต้น
4.2 ตัวเลข (Number) ใช้แทนตัวเลขต่าง ๆ ซึ่งตัวเลขไม่ได้ถูกแทนด้วยรหัสแอสกีแต่จะถูกแปลงเป็นเลขฐานสองโดยตรง
4.3 รูปภาพ (Images) ข้อมูลของรูปภาพจะแทนด้วยจุดสีเรียงกันไปตามขนาดของรูปภาพ
4.4 เสียง (Audio) ข้อมูลเสียงจะแตกต่างจากข้อความ ตัวเลข และรูปภาพเพราะข้อมูลเสียงจะเป็นสัญญาณต่อเนื่องกันไป
4.5 วิดีโอ (Video) ใช้แสดงภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากการรวมกันของรูปภาพหลาย ๆ รูป
5. โปรโตคอล (Protocol) คือ วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่อง โดยทั้งสองฝั่งทั้งผู้รับและผู้ส่งได้ตกลงกันไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว ในคอมพิวเตอร์โปรโตคอลอยู่ในส่วนของซอฟต์แวร์ที่มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงาน ในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น X.25, SDLC, HDLC, และ TCP/IP เป็นต้น

ที่มา//www.promma.ac.th/special_science/supplementary/computer(10)/network/net_datacom2.htm


ข้อ2
แบบทิศทางเดียวหรือซิมเพล็กซ์ (One-way หรือ Simplex)
เป็นการส่งข้อมูลในทิศทางเดียว คือข้อมู่ลถูกส่งไปในทางเดียว เช่น
1.สถานีวิทยุกระจายเสียง
2.การแพร่ภาพทางโทรทัศน์
ที่มา//www.vcharkarn.com/vcafe/81178

ข้อ3.
แบบทางคู่หรือดูเพล็กซ์เต็ม (Full - Duplex )
เป็นการส่งข้อมูลแบบที่สามารถส่ง และรับข้อมูลได้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน ซึ่งวิธีนี้ทำให้การทำงานเร็วขึ้นมาก เช่น1.การพูด
2.ทางโทรศัพท์
ที่มา//www.vcharkarn.com/vcafe/81178




โดย: น.ส นิภารัตน์ เครือเนตร (ม.1 จันทร์ บ่าย)รหัส 51040240103 IP: 172.29.168.65, 58.137.131.62 วันที่: 29 มิถุนายน 2552 เวลา:16:57:13 น.  

 
แบบฝึกหัดที่ 7

7.1 องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง

ตอบ
องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ส่วน

1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นแหล่งต้นทางของการสื่อสารโดยมีหน้าที่ในการให้กำเนิดข้อมูล หรือเตรียมข้อมูล เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ต้นทาง เป็นต้น
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นแหล่งปลายทางของการสื่อสาร หรือเป็นอุปกรณ์สำหรับข้อมูลที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ดำเนินการต่อไป เช่น ผู้รับ คอมพิวเตอร์ปลายทาง เครื่องพิมพ์
3. ข่าวสาร (Massage) เป็นตัวเนื้อหาของข้อมูล ซึ่งมีได้หลายรูปแบบดังนี้ คือ
- ข้อความ (Text) ข้อมูลที่อยู่ในรูปอักขระ หรือเอกสาร เช่น ข้อความในหนังสือ เป็นต้น
- เสียง (Voice) ข้อมูลเสียงที่แหล่งต้นทางสร้างขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นเสียงที่มนุษย์หรืออุปกรณ์บางอย่างเป็นตัวสร้างก็ได้
- รูปภาพ (Image) เป็นข้อมูลที่ไม่เหมือนข้อความตัวอักษรที่เรียงติดต่อกัน แต่จะมีลักษณะเหมือนรูปภาพ เช่น การสแกนภาพเข้าคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลรูปภาพกับข้อมูลข้อความ แล้วรูปภาพจะมีขนาดใหญ่กว่า
- สื่อผสม (Multimedia) ข้อมูลที่ผสมลักษณะของทั้งรูปภาพ เสียงและข้อความเข้าด้วยกัน โดยสามารถเคลื่อนไหวได้ เช่น การเรียนผ่านระบบ VDO conference เป็นต้น โดยข้อมูลจะมีขนาดใหญ่มาก
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium) เป็นสื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มีสายสัญญาณ เช่น สายไฟ หรือตัวกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น อากาศ เป็นต้น
5. โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน

ที่มา //www.hs1an.org/index.php?option=com_content&task=view&id=551&Itemid=31

7.2 จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง

ตอบ การสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว (Simplex Transmission) เป็นการติดต่อสื่อสารเพียงทิศทางเดียว คือ ผู้ส่งจะส่งข้อมูลเพียงฝ่ายเดียวและโดยฝ่ายผู้รับไม่มีการตอบกลับ เช่น การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ , การส่งจดหมาย

ที่มา //www.hs1an.org/index.php?option=com_content&task=view&id=551&Itemid=31

7.3 จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง

ตอบ

การสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทาง (Full Duplex) เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลที่สามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้ง 2 ทิศทาง ในเวลาเดียวกัน เช่น การคุยผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ( เช่น msn , qq ) , ระบบโทรศัพท์

ที่มา //www.phcpl.com/ch/teleputer/itsection2/itsection2.htm




โดย: นางสาวสมฤทัย มิตรอุดม รหัสนักศึกษา 51040240104 ( หมู่ 1 จันทร์บ่าย ) IP: 172.29.168.67, 58.137.131.62 วันที่: 29 มิถุนายน 2552 เวลา:17:52:15 น.  

 

7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ
แบบทิศทางเดียวหรือซิมเพล็กซ์ (One-way หรือ Simplex)
เป็นการส่งข้อมูลในทิศทางเดียว คือข้อมู่ลถูกส่งไปในทางเดียว
ตัวอย่างเช่น
1. สถานีวิทยุกระจายเสียง
2.การแพร่ภาพทางโทรทัศน์

ที่มา//www.vcharkarn.com/vcafe/81178


7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง

ตอบ
แบบกิ่งทางคู่หรือครึ่งดูเพล็กซ์ (Half-Duplex)
เป็นการส่งข้อมูลแบบสลับการส่งและรับข้อมูลไปมา จะทำในเวลาเดียวกันไม่ได้
ตัวอย่าง เช่น
1. การใช้วิทยุสื่อสารที่ใช้ในราชการ คือ เฉพราะตำรวจ ทหารใช้ และอื่นๆ
2. การใช้วิทยุสื่อสารที่ใช้ทั่วไป คือ ไม่ว่าจะเป็นบนเครื่องบิน ตามสถานที่พักตากอากาศต่างๆ เช่น ลีสอด บนภูเขา และอื่นๆ

ที่มา //www.vcharkarn.com/vcafe/81178


โดย: น.ส ชฎาพร โสภาคำ 52040281117 ชีววิทยา (จุลชีววิทยา) พฤ(เช้า)หมู่ 8 IP: 124.157.245.94 วันที่: 29 มิถุนายน 2552 เวลา:19:00:44 น.  

 
7.1องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง

1) ข้อมูล

2) ผู้ส่งข้อมูล

3) ผู้รับข้อมูล

4) ตัวกลาง
ที่มา
//www.chaiwit.ac.th/webdekthai/ans40205.htm


โดย: น.ส. วริศรา ทิมแดง (ม.08 พฤ . เช้า ) IP: 172.29.85.71, 202.29.5.62 วันที่: 30 มิถุนายน 2552 เวลา:9:16:57 น.  

 
จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา
2 ตัวอย่าง

1.ระบบวิทยุ
2.โทรทัศน์

ที มา
//misspimpa.blogspot.com/2007/12/4.html


โดย: น.ส. วริศรา ทิมแดง (ม.08 พฤ . เช้า ) IP: 172.29.85.71, 202.29.5.62 วันที่: 30 มิถุนายน 2552 เวลา:9:27:52 น.  

 
จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง

1.ระบบโทรศัพท์

2.วิทยุสื่อสาร

ที่มา
//misspimpa.blogspot.com/2007/12/4.html


โดย: น.ส. วริศรา ทิมแดง (ม.08 พฤ . เช้า ) IP: 172.29.85.71, 202.29.5.62 วันที่: 30 มิถุนายน 2552 เวลา:9:31:02 น.  

 
ตอบแบบทดสอบที่7 เทคโนโลยีโทรคมนาคม

ข้อที่ 1 องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง
องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ส่วน
1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นแหล่งต้นทางของการสื่อสารโดยมีหน้าที่ในการให้กำเนิดข้อมูล หรือเตรียมข้อมูล เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ต้นทาง เป็นต้น
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นแหล่งปลายทางของการสื่อสาร หรือเป็นอุปกรณ์สำหรับข้อมูลที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ดำเนินการต่อไป เช่น ผู้รับ คอมพิวเตอร์ปลายทาง เครื่องพิมพ์
3. ข่าวสาร (Massage) เป็นตัวเนื้อหาของข้อมูล ซึ่งมีได้หลายรูปแบบดังนี้ คือ
- ข้อความ (Text) ข้อมูลที่อยู่ในรูปอักขระ หรือเอกสาร เช่น ข้อความในหนังสือ เป็นต้น
- เสียง (Voice) ข้อมูลเสียงที่แหล่งต้นทางสร้างขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นเสียงที่มนุษย์หรืออุปกรณ์บางอย่างเป็นตัวสร้างก็ได้
- รูปภาพ (Image) เป็นข้อมูลที่ไม่เหมือนข้อความตัวอักษรที่เรียงติดต่อกัน แต่จะมีลักษณะเหมือนรูปภาพ เช่น การสแกนภาพเข้าคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลรูปภาพกับข้อมูลข้อความ แล้วรูปภาพจะมีขนาดใหญ่กว่า
- สื่อผสม (Multimedia) ข้อมูลที่ผสมลักษณะของทั้งรูปภาพ เสียงและข้อความเข้าด้วยกัน โดยสามารถเคลื่อนไหวได้ เช่น การเรียนผ่านระบบ VDO conference เป็นต้น โดยข้อมูลจะมีขนาดใหญ่มาก
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium) เป็นสื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มีสายสัญญาณ เช่น สายไฟ หรือตัวกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น อากาศ เป็นต้น
5. โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน

ข้อที่ 2 จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
ตัวอย่างแรก การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียวกันได้แก่ การถ่ายทอดข้อมูลราคาซื้อ-ขายหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไปยังสมาชิกซึ่งมักจะใช้เครื่องพีซีติดต่อเข้ามาจากที่บ้านหรือที่ทำงาน ข้อมูลจะถูกส่งไปเก็บไว้ที่ฐานข้อมูลที่เครื่องพีซีของผู้ใช้ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกดูราคาหุ้น ทั้งหมดหรือหุ้นบางตัวที่สนใจได้โดยไม่ต้องส่งข้อมูลใด ๆ กลับมาที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เพียงแค่ส่งข้อมูลส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงมายังสมาชิกเท่านั้น
ตัวอย่างที่สอง สถานีวิทยุกระจายเสียง การแพร่ภาพทางโทรทัศน์

ข้อที่ 3 จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง
ส่งข้อมูลพร้อมกันไม่ได้ ตัวอย่างได้แก่ การใช้วิทยุสื่อสารของตำรวจ หรือวิทยุ สื่อสารใช้งานทั่วไป (CB Radio) ผู้พูดสามารถพูดไปอีกฝ่ายหนึ่งได้ แต่จะพูดพร้อมกันไม่ได้ คือในขณะที่ฝ่ายหนึ่งเป็นผู้พูด อีกฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นผู้ฟัง ในระบบนี้ไม่มีการบังคับอย่างชัดเจนว่าฝ่ายใดจะพูด ดังนั้นในการใช้งานจริงจึงต้องอาศัยประสบการณ์ของผู้ใช้งานเป็นสำคัญมิฉะนั้นก็อาจจะมีแต่ผู้พูดไม่มีใครยอมเป็นผู้ฟัง ในการสื่อสารข้อมูล จะไม่เกิดการแย่งกันส่งข้อมูลเด็ดขาดเนื่องจากการสื่อสารจะต้องมีโพรโทคอลหรือกฎการสื่อสารข้อมูลเป็นตัวบังคับ


ที่มา
//www.hs1an.org/index.php?option=com_content&task=view&id=551&Itemid=31
//www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php
//www.vcharkarn.com/vcafe/81178


โดย: นางสาวจิลวรรณ ปัดถาวะโร รหัส 52040281130 วทบ.ชีววิทยา (จุลชีววิทยา) พฤ.เช้า ม.08 IP: 172.29.85.24, 202.29.5.62 วันที่: 30 มิถุนายน 2552 เวลา:17:16:02 น.  

 
1.ตอบ องค์ประกอบพื้นฐานในการสื่อสารข้อมูล
องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ส่วน ดังนี้

1.1 ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นแหล่งต้นทางของการสื่อสารโดยมีหน้าที่ในการให้กำเนิดข้อมูล หรือเตรียมข้อมูล เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ต้นทาง เป็นต้น
1.2 ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นแหล่งปลายทางของการสื่อสาร หรือเป็นอุปกรณ์สำหรับข้อมูลที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ดำเนินการต่อไป เช่น ผู้รับ คอมพิวเตอร์ปลายทาง เครื่องพิมพ์
1.3 ข่าวสาร (Massage) เป็นตัวเนื้อหาของข้อมูล ซึ่งมีได้หลายรูปแบบดังนี้ คือ
- ข้อความ (Text) ข้อมูลที่อยู่ในรูปอักขระ หรือเอกสาร เช่น ข้อความในหนังสือ เป็นต้น
- เสียง (Voice) ข้อมูลเสียงที่แหล่งต้นทางสร้างขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นเสียงที่มนุษย์หรืออุปกรณ์บางอย่างเป็นตัวสร้างก็ได้
- รูปภาพ (Image) เป็นข้อมูลที่ไม่เหมือนข้อความตัวอักษรที่เรียงติดต่อกัน แต่จะมีลักษณะเหมือนรูปภาพ เช่น การสแกนภาพเข้าคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลรูปภาพกับข้อมูลข้อความ แล้วรูปภาพจะมีขนาดใหญ่กว่า
- สื่อผสม (Multimedia) ข้อมูลที่ผสมลักษณะของทั้งรูปภาพ เสียงและข้อความเข้าด้วยกัน โดยสามารถเคลื่อนไหวได้ เช่น การเรียนผ่านระบบ VDO conference เป็นต้น โดยข้อมูลจะมีขนาดใหญ่มาก
1.4 สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium) เป็นสื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มีสายสัญญาณ เช่น สายไฟ หรือตัวกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น อากาศ เป็นต้น
1.5 โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน

2.ตอบ การสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว (Simplex Transmission) เป็นการติดต่อสื่อสารเพียงทิศทางเดียว คือผู้ส่งจะส่งข้อมูลเพียงฝั่งเดียวและโดยฝั่งรับไม่มีการตอบกลับ เช่น การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ การส่ง e-mail เป็นต้น
3.ตอบ การสื่อสารข้อมูลสองทิศทางพร้อมกัน (Full Duplex Transmission) เป็นการสื่อสาร 2 ทิศทาง โดยสามารถส่งข้อมูลในเวลาเดียวกันได้ เช่น การคุยโทรศัพท์ เป็น
การสื่อสารข้อมูลสองทิศทางสลับกัน (Half Duplex Transmission) เป็นการสื่อสาร 2 ทิศทางแต่คนละเวลากัน เช่น วิทยุสื่อสาร เป็นต้น แสดงดังรูปที่ 3.3


ที่มา //computer.pcru.ac.th/nukkamon/Information_Technology_for_Learning/108_ch3_Comunication%20&%20Network.doc


โดย: 52040281122 ชื่อนางสาวณัฐติยา โกศิลา สาขาชีววิทยา (จุลชีววิทยา) (หมู่08 วันพฤหัสบดีเช้า) IP: 172.29.9.49, 202.29.5.62 วันที่: 2 กรกฎาคม 2552 เวลา:9:58:27 น.  

 
ตอบข้อที่7.1
องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสาร
การสื่อสาร เป็นกิจกรรมร่วมกันที่มีปฏิสัมพันธ์กัน ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร หมายความว่าการสื่อสารจะเกิดขึ้นได้ ต้องมีองค์ประกอบพื้นฐาน คือ
(1) ผู้ส่งสาร หรือผู้กำหนดสาร (Sender, Source Creator)
(2) สาร (Message, Information)
(3) สื่อ หรือพาหนะ หรือช่องทางในการนำสาร ส่งไป (Media หรือ Channel)
(4) ผู้รับสาร (Receiver)
(5) ปฏิกิริยา หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หลังส่ง-รับสาร (Feed Back)
เมื่อมีองค์ประกอบครบพร้อม ต่อไปดูว่าเกิดกระบวนการต่อไปนี้หรือไม่ คือ (1) มีการกำหนดสาร (Message Design & Source Data) โดยผู้ส่งสาร อาจต้องมีการเข้ารหัสของสารด้วย ขึ้นอยู่กับประเภทหรือชนิดของสาร (2) สารถูกส่งไปยังผู้รับ (Process) โดยผ่านกระบวนการต่างๆ ขึ้นอยู่กับประเภทหรือชนิดของสาร (3) สารที่ส่งออกไปถึงผู้รับปลายทาง และผู้รับก็รับรู้ถึงสารที่ส่งมานั้น (Awareness) และเกิดปฏิกิริยาโต้ตอบ อาจเป็นเชิงบวก (เห็นด้วย ยอมรับ) หรือเชิงลบ (ขัดแย้ง ไม่ยอมรับ) หรือเชิงซ่อน (รู้สึกเฉยๆ ยังไม่ลงความเห็น หรือตัดสินใจในเวลานั้น)
ที่มา
//learners.in.th/blog/excuseme23/198097


โดย: นางสาวอรสา จุไธสง หมู่1 (จันทร์บ่าย) IP: 172.29.85.69, 202.29.5.62 วันที่: 2 กรกฎาคม 2552 เวลา:10:31:33 น.  

 
ตอบข้อที่7.2
-จอคอมพิวเตอร์
-คีย์บอร์ด


โดย: นางสาวอรสา จุไธสง หมู่1 (จันทร์บ่าย) IP: 172.29.85.69, 202.29.5.62 วันที่: 2 กรกฎาคม 2552 เวลา:10:40:11 น.  

 
ตอบข้อที่7.3
-โทรศัพท์
-วิทยุสื่อสาร
ที่มา//www.ps.ac.th/elearning/m4/Learn/8.ppt


โดย: นางสาวอรสา จุไธสง หมู่1 (จันทร์บ่าย) IP: 172.29.85.69, 202.29.5.62 วันที่: 2 กรกฎาคม 2552 เวลา:10:44:58 น.  

 
ตอบข้อที่7.2
-จอคอมพิวเตอร์
-คีย์บอร์ด
ที่มา//www.ps.ac.th/elearning/m4/Learn/8.ppt


โดย: นางสาวอรสา จุไธสง หมู่1 (จันทร์บ่าย) IP: 172.29.85.69, 202.29.5.62 วันที่: 2 กรกฎาคม 2552 เวลา:10:46:02 น.  

 
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง
=ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
คือลักษณะทางกายของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายถึงตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์รอบข้าง (peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วย
หน่วยรับข้อมูล ( input unit )
หน่วยประมวลผลกลาง ( central processor unit ) หรือ CPU
หน่วยความจำหลัก
หน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit )
หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (secondary storage unit )
หน่วยรับข้อมูล จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับข้อมูลต่าง ๆ เข้าสู่คอมพิวเตอร์ จากนั้น หน่วยประมวลผลกลาง จะนำไปประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ที่ได้ออกมากให้ผู้ใช้รับทราบทาง หน่วยแสดงผลลัพธ์
หน่วยความจำหลัก จะทำหน้าที่เสมือนเก็บข้อมูลชั่วคราวที่มีขนาดไม่สูงมากนัก การที่ฮาร์ดแวร์จะทำหน้าที่ได้มีประสิทธิภาพนั้น ขึ้นอยู่กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ ส่วนการทำงานได้มากน้อยเพียงใด จะขึ้นอยู่กับหน่วยความจำหลักของเครื่องนั้น ๆ ข้อเสียของหน่วยความจำหลักคือ หากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในหน่วยความจำหลักจะหายไป ในขณะที่ข้อมูลอยู่ที่ หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง จะไม่สูญหายตราบเท่าที่ผู้ใช้ไม่ทำการลบข้อมูลนั้น รวมทั้งหน่วยเก็ยข้อมูลสำรองยังมีความจุที่สูงมาก จึงเหมาะสำหรับการเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือเก็บข้อมูลไว้ใช้ในภายหลัง ข้อเสียของหน่วยเก็บข้อมูลสำรองคือการเรียกใช้ข้อมูลจะช้ากว่าหน่วยความจำหลักมาก
ฮาร์ดแวร์ในระบบไมโครคอมพิวเตอร์
ซอฟต์แวร์ (Software)
คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานใดๆ เนื่องจากต้องมี ซอฟต์แวร์ (Software) ซึ่งเป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานต่าง ๆ ตามต้องการ โดยชุดคำสั่งหรือโปรแกรมนั้นจะเขียนขึ้นมาจาก ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมี โปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ขึ้นมา
ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆคือ
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software )
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application Software )
ซอฟต์แวร์ระบบ โดยส่วนมากแล้วจะติดตั้งมากับเครื่องคอมพิวเตอร์เนื่องจากซอฟต์แวร์ระบบเป็นส่วนควบคุมทำงานต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถเริ่มต้นการทำงานอื่น ๆ ที่ผู้ใช้ต้องการได้ต่อไป ส่วน ซอฟต์แวร์ประยุกต์ จะเป็นซอฟต์แวร์ที่เน้นในการช่วยการทำงานต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้ ซึ่งแตกต่างกันไปตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน
ซอฟต์แวร์ในระบบไมโครคอมพิวเตอร์
บุคลากร (Peopleware)
เครื่องคอมพิวเตอร์โดยมากต้องใช้บุคลากรสั่งให้เครื่องทำงาน เรียกบุคลากรเหล่านี้ว่า ผู้ใช้ หรือ ยูเซอร์ (user) แต่ก็มีบางชนิดที่สามารถทำงานได้เองโดยไม่ต้องใช้ผู้ควบคุม อย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์ก็ยังคงต้องถูกออกแบบหรือดูแลรักษาโดยมนุษย์เสมอ
ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (computer user) แบ่งได้เป็นหลายระดับ เพราะผู้ใช้คอมพิวเตอร์บางส่วนก็ทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่บางส่วนก็พยายามศึกษาโปรแกรมประยุกต์ในขั้นที่สูงขึ้น ทำให้มีความชำนาญในการใช้โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ นิยมเรียกกลุ่มนี้ว่า เพาเวอร์ยูสเซอร์ (power user)
ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ (computer professional) หมายถึงผู้ที่ได้ศึกษาวิชาการทางด้านคอมพิวเตอร์ ทั้งในระดับกลางและระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้จะนำความรู้ที่ได้ศึกษามาประยุกต์และพัฒนาใช้งาน และประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์ให้ทำงานในขั้นสูงขึ้นไปได้อีก นักเขียนโปรแกรม (programmer) ก็ถือว่าเป็นผู้เชียวชาญทางคอมพิวเตอร์เช่นกัน เพราะสามารถสร้างโปรแกรมใหม่ ๆ ได้ และเป็นเส้นทางหนึ่งที่จะนำไปสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์ต่อไป
บุคลากรก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ เพราะมีความเกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่การพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดจนถึงการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานต่าง ๆ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะงานได้ดังนี้
การดำเนินงานและเครื่องอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น การบันทึกข้อมูลลงสื่อ หรือส่งข้อมูลเข้าประมวล หรือควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล (Data Entry Operator) เป็นต้น
การพัฒนาและบำรุงรักษาโปรแกรม เช่น เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application Programmer) เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรม (System Programmer) เป็นต้น
การวิเคราะห์และออกแบบระบบงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผล เช่น เจ้าหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบงาน (System Analyst and Administrator) วิศวกรระบบ (System Engineer) เจ้าหน้าที่จัดการฐานข้อมูล (Database Adminstrator) เป็นต้น
การพัฒนาและบำรุงรักษาระบบทางฮาร์ดแวร์ เช่น เจ้าหน้าที่ควบคุมการทำงานระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Operator) เป็นต้น
การบริหารในหน่วยประมวลผลข้อมูล เช่น ผู้บริหารศูนย์ประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ (EDP Manager) เป็นต้น
ข้อมูลและสารสนเทศ (Data / Information)
ในการทำงานต่าง ๆ จะต้องมีข้อมูลเกิดขึ้นตลอดเวลา ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานที่ถูกเก็บรวบรวมมาประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ ซึ้งในปัจจุบันมีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นข้อมูลในการดัดแปลงข้อมูลให้ได้ประสิทธิภาพโดยแตกต่างๆระหว่าง ข้อมูล และ สารสนเทศ คือ
ข้อมูล คือ ได้จากการสำรวจจริง แต่ สารสนเทศ คือ ได้จากข้อมูลไม่ผ่านกระบวนการหนึ่งก่อน
สารสนเทศเป็นสิ่งที่ผู้บริหาารนำไปใช้ช่วยในการตัดสินใจ โดยที่สารสนเทศที่มีประโยชน์นั้นจะมีคุณสมบัติ
มีความสัมพันธ์กัน (relevant) สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
มีความทันสมัย (timely) ต้องมีความทันสมัยและพร้อมที่จะใช้งานได้ทันทีเมื่อต้องการ
มีความถูกต้องแม่นยำ (accurate) เมื่อป้อนข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์และผลลัพธ์ที่ได้จะต้องถูกต้องในทุกส่วน
มีความกระชับรัดกุม (concise) ข้อมูลจะต้องถูกย่นให้มีความยาวที่พอเหมาะ
มีความสมบูรณ์ในตัวเอง (complete) ต้องรวบรวมข้อมูลที่สำคัญไว้อย่างครบถ้วน
คุณสมบัติของสารสนเทศที่มีประโยชน์
การเปลี่ยนรูปจากข้อมูลสู่สารสนเทศ
กระบวนการทำงาน (Procedure)
กระบวนการทำงานหรือโพรซีเยอร์ หมายถึง ขั้นตอนที่ผู้ใช้จะต้องทำตาม เพื่อให้ได้งานเฉพาะอย่างจากคอมพิวเตอร์ซึ่งผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนต้องรู้การทำงานพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง ตัวอย่างเช่น การใช้เครื่อง ฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ ถ้าต้องการถอนเงินจะต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ ดังนี้
จอภาพแสดงข้อความเตรียมพร้อมที่จะทำงาน
สอดบัตร และพิมพ์รหัสผู้ใช้
เลือกรายการ
ใส่จำนวนเงินที่ต้องการ
รับเงิน
รับใบบันทึกรายการ และบัตร


โดย: นางสาวอุไรวรรณ หาญศึก 52240210235 IP: 172.29.6.55, 58.137.131.62 วันที่: 2 กรกฎาคม 2552 เวลา:17:36:26 น.  

 
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง

ตอบข้อ 7.1
1. ผู้ส่ง หรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) และผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) ผู้ส่ง หรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูล มีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล ส่วนผู้รับ หรืออุปกรณ์รับข้อมูลเป็นปลายทางการสื่อสารข้อมูล มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้
ทั้งอุปกรณ์รับและส่งข้อมูล อาจจะเป็นอุปกรณ์ชนิดเดียวกัน อุปกรณ์ส่ง-รับข้อมูล มี 2 ชนิด คือ DTE
(Data Terminal Equipment) และ DCE (Data Communications Equipment) DTE เป็นแหล่งกำเนิดและรับข้อมูล ซึ่งอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง (Terminal Computer) เครื่องพิมพ์ หรือตัวควบคุม ส่วน DCE เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่ง-รับข้อมูลโดยทั่วไป DCE จะหมายถึงโมเด็ม (Modem) จานไมโครเวฟ หรือจานดาวเทียม เป็นต้น

2. โปรโตคอล (Protocol) และ ซอฟต์แวร์ (Software) โปรโตคอล คือ วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล เพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกัน หรือคุยกันรู้เรื่อง ส่วนซอฟต์แวร์มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงานในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้

3. ข่าวสาร (Message) สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสารเรียกว่า ข่าวสารหรือสารสนเทศ (Information) รูปแบบของข่าวสารในการสื่อสารข้อมูลมี 4 รูปแบบ คือ

เสียง (Voice) อาจเป็นเสียงคน หรือเสียงที่สร้างขึ้นจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ข้อมูลจะกระจัดกระจายคาดการณ์ล่วงหน้าไม่ได้ การส่งข้อมูลจะส่งด้วยความเร็วต่ำ
ข้อมูล (Data) ข้อมูลถูกสร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ มีรูปแบบแน่นอน (เป็นรหัสบิต) คาดการณ์จำนวนได้ การส่งข้อมูลจะส่งด้วยความเร็วสูง
ข้อความ (Text) ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ส่วนใหญ่เป็นรูปของอักขระ หรือเอกสารการส่งข่าวสารที่เป็นข้อความจะส่งด้วยความเร็วปานกลาง
ภาพ (Image) อยู่ในรูปของกราฟิกแบบต่าง ๆ เช่น รูปภาพ ภาพวีดีทัศน์ ใช้ปริมาณหรือหน่วยความจำมาก ต้องส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง

ในการสื่อสารแต่ละวิธีรูปแบบของข่าวสารที่ส่งออกไปอาจจะแตกต่างกันหรือเหมือนกัน เช่น การสื่อสารทางโทรคมนาคม สามารถส่งข้อมูลได้ทั้งเสียง ข้อมูล ข้อความ และภาพ ระบบ เซลลูล่าของโทรศัพท์สามารถส่ง – รับข้อมูลได้เพียง 2 รูปแบบ คือ เสียง และข้อมูล ส่วนวิดีโอเท็กซ์รูปแบบข้อมูลจะเป็นข้อมูล ข้อความและภาพ

4. สื่อกลาง (Medium) สื่อกลางเป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อกลางการสื่อสารอาจจะเป็นเส้นลวด สายไฟ สายเคเบิล สายไฟเบอร์ออปกติหรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ คลื่นดาวเทียม หรือคลื่นวิทยุ


ที่มา//www.geocities.com/chaicom9/usenet/s_com2.htm



โดย: โดย นายบดินทร์ แก้วมีศรี หมู่ 01(พิเศษ) สาขาวิชา สาธารณสุขศาสตร์ IP: 172.29.6.52, 202.29.5.62 วันที่: 2 กรกฎาคม 2552 เวลา:17:45:35 น.  

 
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง
ตอบ(1.) ผู้ส่ง หรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) และผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) ผู้ส่ง หรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูล มีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล ส่วนผู้รับ หรืออุปกรณ์รับข้อมูลเป็นปลายทางการสื่อสารข้อมูล มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้
ทั้งอุปกรณ์รับและส่งข้อมูล อาจจะเป็นอุปกรณ์ชนิดเดียวกัน อุปกรณ์ส่ง-รับข้อมูล มี 2 ชนิด คือ DTE
(Data Terminal Equipment) และ DCE (Data Communications Equipment) DTE เป็นแหล่งกำเนิดและรับข้อมูล ซึ่งอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง (Terminal Computer) เครื่องพิมพ์ หรือตัวควบคุม ส่วน DCE เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่ง-รับข้อมูลโดยทั่วไป DCE จะหมายถึงโมเด็ม (Modem) จานไมโครเวฟ หรือจานดาวเทียม เป็นต้น

2. โปรโตคอล (Protocol) และ ซอฟต์แวร์ (Software) โปรโตคอล คือ วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล เพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกัน หรือคุยกันรู้เรื่อง ส่วนซอฟต์แวร์มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงานในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้

3. ข่าวสาร (Message) สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสารเรียกว่า ข่าวสารหรือสารสนเทศ (Information) รูปแบบของข่าวสารในการสื่อสารข้อมูลมี 4 รูปแบบ คือ

เสียง (Voice) อาจเป็นเสียงคน หรือเสียงที่สร้างขึ้นจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ข้อมูลจะกระจัดกระจายคาดการณ์ล่วงหน้าไม่ได้ การส่งข้อมูลจะส่งด้วยความเร็วต่ำ
ข้อมูล (Data) ข้อมูลถูกสร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ มีรูปแบบแน่นอน (เป็นรหัสบิต) คาดการณ์จำนวนได้ การส่งข้อมูลจะส่งด้วยความเร็วสูง
ข้อความ (Text) ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ส่วนใหญ่เป็นรูปของอักขระ หรือเอกสารการส่งข่าวสารที่เป็นข้อความจะส่งด้วยความเร็วปานกลาง
ภาพ (Image) อยู่ในรูปของกราฟิกแบบต่าง ๆ เช่น รูปภาพ ภาพวีดีทัศน์ ใช้ปริมาณหรือหน่วยความจำมาก ต้องส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง

ในการสื่อสารแต่ละวิธีรูปแบบของข่าวสารที่ส่งออกไปอาจจะแตกต่างกันหรือเหมือนกัน เช่น การสื่อสารทางโทรคมนาคม สามารถส่งข้อมูลได้ทั้งเสียง ข้อมูล ข้อความ และภาพ ระบบ เซลลูล่าของโทรศัพท์สามารถส่ง – รับข้อมูลได้เพียง 2 รูปแบบ คือ เสียง และข้อมูล ส่วนวิดีโอเท็กซ์รูปแบบข้อมูลจะเป็นข้อมูล ข้อความและภาพ

4. สื่อกลาง (Medium) สื่อกลางเป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อกลางการสื่อสารอาจจะเป็นเส้นลวด สายไฟ สายเคเบิล สายไฟเบอร์ออปกติหรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ คลื่นดาวเทียม หรือคลื่นวิทยุ


ที่มา//www.geocities.com/chaicom9/usenet/s_com2.htm




โดย: โดย: น.ส อังคณา สุทธิแพทย์ 52240210209 หมู่ 01(พิเศษ)พฤ.ค่ำ สาขาสาธารสุขสาศตร์ IP: 172.29.6.53, 58.137.131.62 วันที่: 2 กรกฎาคม 2552 เวลา:17:45:36 น.  

 
7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง

ตอบข้อ 7.2
-วิทยุ
-โทรทัศน์



โดย: นายบดินทร์ แก้วมีศรี หมู่ 01(พิเศษ) สาขาวิชา สาธารณสุขศาสตร์ IP: 172.29.6.52, 202.29.5.62 วันที่: 2 กรกฎาคม 2552 เวลา:17:52:40 น.  

 
แบบฝึกหัด

7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง

ตอบ 1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver
3. โปรโตคอล (Protocol)
4. ซอฟต์แวร์ (Software)
5. ข่าวสาร (Message)

ที่มา //elearning.northcm.ac.th/it/lesson6-1.asp

7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง

ตอบ 1.การส่งวิทยุกระจายเสียง 2.การแพร่ภาพโทรทัศน์


7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง

ตอบ 1.การใช้โทรศัพท์ 2.การใช้อินเตอร์เน็ต

ที่มา //elearning.northcm.ac.th/it/lesson6-1.asp


โดย: นางสาวภัทราภรณ์ อุ่นจิต หมู่ 1 พฤ-ค่ำ(พิเศษ) IP: 172.29.6.54, 202.29.5.62 วันที่: 2 กรกฎาคม 2552 เวลา:17:56:49 น.  

 
7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ (1.) วิทยุ
และ (2.) โทรทัศน์


โดย: โดย: น.ส อังคณา สุทธิแพทย์ 52240210209 หมู่ 01(พิเศษ)พฤ.ค่ำ สาขาสาธารสุขสาศตร์ IP: 172.29.6.53, 58.137.131.62 วันที่: 2 กรกฎาคม 2552 เวลา:17:58:04 น.  

 
7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง

ตอบข้อ 7.3
-โทรศัพท์
-วิทยุสื่อสารของตำรวจ


โดย: นายบดินทร์ แก้วมีศรี หมู่ 01(พิเศษ) สาขาวิชา สาธารณสุขศาสตร์ IP: 172.29.6.52, 202.29.5.62 วันที่: 2 กรกฎาคม 2552 เวลา:17:59:29 น.  

 
7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ (1.) โทรทัศน์
(2.) วิทยุสื่อสาร


โดย: โดย: น.ส อังคณา สุทธิแพทย์ 52240210209 หมู่ 01(พิเศษ)พฤ.ค่ำ สาขาสาธารสุขสาศตร์ IP: 172.29.6.53, 58.137.131.62 วันที่: 2 กรกฎาคม 2552 เวลา:18:04:49 น.  

 
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง
=
1. Source system คือ ระบบผู้ส่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ส่งข่าวสาร
2. Destination system คือ ระบบผู้รับเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข่าวสาร
3. Transmission system คือ ระบบที่เป็นสื่อกลางเชื่อมผู้และผู้รับ

*ตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียว
1.สัญญาน TV โทรทัศน์
2สํญญาน Radio วิทยุ

*ตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทาง
1.(Mobilephone) โทรศัพท์มือถือ
2.(Telephone or Internet) โทรศัพท์บ้านหรือระบบอินเตอร์เน็ต
ที่มา
//www.sawi.ac.th/elearning/networks/page1.htm


โดย: นางสาว อุไรวรรณ หาญศึก 52240210235 ม.1 (พิเษศ) IP: 58.147.39.40 วันที่: 3 กรกฎาคม 2552 เวลา:11:37:53 น.  

 
7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
=
1.สัญญาน TV โทรทัศน์
2สํญญาน Radio วิทยุ

ที่มา
//www.sawi.ac.th/elearning/networks/page1.htm



โดย: นางสาว อุไรวรรณ หาญศึก 52240210235 ม.1 (พิเษศ) IP: 58.147.39.40 วันที่: 3 กรกฎาคม 2552 เวลา:11:41:00 น.  

 
7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง
=
*ตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทาง
1.(Mobilephone) โทรศัพท์มือถือ
2.(Telephone or Internet) โทรศัพท์บ้านหรือระบบอินเตอร์เน็ต

ที่มา
//www.sawi.ac.th/elearning/networks/page1.htm



โดย: นางสาว อุไรวรรณ หาญศึก 52240210235 ม.1 (พิเษศ) IP: 58.147.39.40 วันที่: 3 กรกฎาคม 2552 เวลา:11:42:51 น.  

 
แบบฝึกหัด
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบ
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้

1. ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ
ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2. ผู้รับข่าวสาร หรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร
หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่ การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ
จุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง



3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน
ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้
วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น

ข่ายการสื่อสารข้อมูล
หมายถึง การรับส่งข้อมูลหรือสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยระบบการส่งข้อมูล ทางคลื่นไฟฟ้าหรือแสง อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปเรียกว่า
ข่ายการสื่อสารข้อมูล (Data Communication Networks)

องค์ประกอบพื้นฐาน

หน่วยส่งข้อมูล (Sending Unit)
ช่องทางการส่งข้อมูล (Transmisstion Channel)
หน่วยรับข้อมูล (Receiving Unit)
วัตถุประสงค์หลักของการนำการสื่อการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในองค์การประกอบด้วย
เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล
เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
เพื่อลดเวลาการทำงาน
เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร
เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ
เพื่อช่วยปรับป
ที่มา
knowledge.eduzones.com/knowledge-2-8-28298.html

7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
การถ่ายทอดสัญญาณแบบทิศทางเดียว
การควบคุมทิศทางการส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission) ยอมให้มีการส่งข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับเท่านั้น ทางฝั่งผู้รับไม่สามารถส่งข้อมูลย้อนกลับมายังผู้ส่งได้ การไหลของน้ำออกทางท่อประปาเป็นตัวอย่างที่ชัดเจน ท่อประปาเปรียบเสมือนสายสื่อสารโดยมีก๊อกเป็นอุปกรณ์สื่อสาร และน้ำคือข้อมูลที่ถูกส่งออกมาจากโรงงานผลิตน้ำประปา จะเห็นได้ว่าเมื่อผู้ใช้น้ำประปา เปิดก๊อก น้ำก็จะไหลออกมาซึ่งจะหยุดก็ต่อเมื่อปิดก็อกหรือโรงผลิตน้ำประปาหยุดส่งน้ำ ส่วนผู้ใช้น้ำประปาเองก็ไม่สามารถที่จะส่งน้ำกลับไปยังโรงผลิตน้ำประปาได้ การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียวก็มีวิธีการทำงานเช่นเดียวกัน อุปกรณ์บางชนิด เช่น จอภาพ CRT เชื่อมต่อเข้ากับโฮสต์แบบทิศทางเดียว ข้อมูลจากโฮสต์จะถูกส่งมาแสดงบนจอภาพได้ แต่ตัวจอภาพเองไม่สามารถส่งข้อมูลใด ๆ กลับไปยังโฮสต์ได้
ตัวอย่างการส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียวกันได้แก่ การถ่ายทอดข้อมูลราคาซื้อ-ขายหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไปยังสมาชิกซึ่งมักจะใช้เครื่องพีซีติดต่อเข้ามาจากที่บ้านหรือที่ทำงาน ข้อมูลจะถูกส่งไปเก็บไว้ที่ฐานข้อมูลที่เครื่องพีซีของผู้ใช้ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกดูราคาหุ้น ทั้งหมดหรือหุ้นบางตัวที่สนใจได้โดยไม่ต้องส่งข้อมูลใด ๆ กลับมาที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เพียงแค่ส่งข้อมูลส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงมายังสมาชิกเท่านั้น

//www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php

7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง
การถ่ายทอดสัญญาณแบบสองทิศทางสมบูรณ์
การถ่ายทอดสัญญาณแบบสองทิศทางสมบูรณ์ (Full-Duplex Transmission) ยินยอมให้ทั้งฝ่ายผู้ส่งและผู้รับข้อมูลสามารถส่งข้อมูลไปยังอีกฝ่ายหนึ่งได้ตลอดเวลา วิธีการนี้จึงใช้ประโยชน์จากการสื่อสารข้อมูลอย่างเต็มที่ แต่มีข้อจำกัดคือเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีความสามารถในการรับและส่งข้อมูลได้อย่างเต็มที่ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้สื่อที่เลือกใช้ก็จะต้องมีช่องสื่อสารสองช่อง ช่องหนึ่งสำหรับส่งข้อมูลและอีกช่องหนึ่งสำหรับรับข้อมูล ช่องสื่อสารแบบ RS-232 สามารถรองรับการทำงานแบบนี้ได้เพราะมีขาเชื่อมต่อสำหรับการสื่อสารอยู่สองชุดที่แยกจากกัน โมเด็มที่ทำงานแบบสองทิศทางสมบูรณ์ได้จะต้องได้รับมาตรฐาน CCITT V.32 และ CCITT V.34 เช่นระบบโทรศัพท์เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสื่อสารที่เกิดขึ้นทั้งแบบกึ่งสองทิศทางและแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ในกรณีที่ใช้โทรศัพท์ ภายในเขตเมืองเดียวกัน (รหัสเมืองเหมือนกัน) จะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ดังนั้นผู้ใช้โทรศัพท์ ทั้งสองฝ่ายสามารถที่จะพูดออกมาพร้อม ๆ กัน เสียงพูดของแต่ละฝ่ายจะไปดังที่โทรศัพท์ของอีก ฝ่ายหนึ่ง แม้ว่าในทางปฏิบัติอาจจะไม่มีใครทำอย่างนี้แต่ก็สามารถทำได้อย่างแน่นอน
การส่งสัญญาณในระบบโทรศัพท์ทางไกลแม้ว่าตัวระบบเองจะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์แต่จะทำงานเป็นแบบกึ่งสองทิศทาง ระบบโทรศัพท์ทั่วไปจะมีสัญญาณสะท้อนกลับ (Echo) เกิดขึ้นเสมอเนื่องจากเสียงผู้พูดฝ่ายหนึ่งที่ไปถึงอีกฝ่ายหนึ่งจะทำให้เกิดการส่งสัญญาณสะท้อนกลับมาโดยไม่ได้ตั้งใจ ถ้าเป็นโทรศัพท์ภายในเขตจังหวัดเดียวกันหรือทางไกลภายในประเทศ สัญญาณสะท้อนกลับจะเกิดขึ้นเร็วมาก เนื่องจากระยะทางสั้น และซ้อนทับกับเสียงของผู้พูด จนกระทั่งไม่สามารถแยกเสียงจริงและเสียงสะท้อนออกจากกันได้ แต่ถ้าเป็นโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ สัญญาณสะท้อนกลับจะเกิดขึ้นช้ากว่า เพราะระยะทางไกลมาก ทำให้สามารถแยกความแตกต่างออกจากกันได้ คือผู้พูดจะได้ยินเสียงตัวเองภายหลังจากตัวเองที่หยุดพูด เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ระบบโทรศัพท์ต้องใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องตัดเสียงสะท้อน (Echo Suppressor) อุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่คอยเปิด-ปิดช่องสัญญาณในระหว่างการสนทนาเพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณสะท้อน ย้อนกลับไปยังผู้พูด เนื่องจากอุปกรณ์นี้ทำงานโดยใช้เสียงผู้พูดเป็นตัวกระตุ้นเพื่อปิดช่องสื่อสารของผู้ฟัง จึงทำให้ผู้ฟังไม่สามารถพูดสวนกลับไปได้ในเวลาเดียวกัน ผลที่เกิดขึ้นจึงทำให้ระบบการสื่อสารนี้กลายเป็นแบบกึ่งสองทิศทาง

//www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php


นายวีระวิทย์ นาคเสน เรียน วันจันทร์ บ่าย หมู่ 1


โดย: นายวีระวิทย์ นาคเสน เรียน วันจันทร์ บ่าย หมู่ 1 IP: 58.147.38.208 วันที่: 3 กรกฎาคม 2552 เวลา:15:12:50 น.  

 
แบบฝึกหัด
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง

1) ข้อมูล

2) ผู้ส่งข้อมูล

3) ผู้รับข้อมูล

4) ตัวกลาง

ที่มา//www.chaiwit.ac.th/webdekthai/ans40205.htm


โดย: นางสาวสุทธิดา ยาโย วัน พฤหัสฯ ค่ำ หมู่1 IP: 113.53.169.139 วันที่: 3 กรกฎาคม 2552 เวลา:15:30:38 น.  

 
7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
1.ระบบวิทยุ
2.โทรทัศน์

ที่มา
//misspimpa.blogspot.com/2007/12/4.html


โดย: นางสาวสุทธิดา ยาโย วัน พฤหัสฯ ค่ำ หมู่1 IP: 113.53.169.139 วันที่: 3 กรกฎาคม 2552 เวลา:15:46:38 น.  

 
7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง
แบบสองทิศทาง (Full Duplex) เป็นการสื่อสาร 2 ทาง ที่เกิดขึ้นพร้อมกัน เช่นระบบโทรศัพท์ หรือ ระบบอินเตอร์เน็ต

ที่มา
//misspimpa.blogspot.com/2007/12/4.html


โดย: นางสาวสุทธิดา ยาโย วัน พฤหัสฯ ค่ำ หมู่1 IP: 113.53.169.139 วันที่: 3 กรกฎาคม 2552 เวลา:15:57:13 น.  

 
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง
ตอบ องค์ประกอบพื้นฐานหลัก 4 อย่างในระบบการสื่อสารข้อมูล ได้แก่ (ฉัตรชัย สุมามาลย์ : 4)

1. ผู้ส่ง หรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) และผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) ผู้ส่ง หรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูล มีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล ส่วนผู้รับ หรืออุปกรณ์รับข้อมูลเป็นปลายทางการสื่อสารข้อมูล มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้
ทั้งอุปกรณ์รับและส่งข้อมูล อาจจะเป็นอุปกรณ์ชนิดเดียวกัน อุปกรณ์ส่ง-รับข้อมูล มี 2 ชนิด คือ DTE
(Data Terminal Equipment) และ DCE (Data Communications Equipment) DTE เป็นแหล่งกำเนิดและรับข้อมูล ซึ่งอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง (Terminal Computer) เครื่องพิมพ์ หรือตัวควบคุม ส่วน DCE เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่ง-รับข้อมูลโดยทั่วไป DCE จะหมายถึงโมเด็ม (Modem) จานไมโครเวฟ หรือจานดาวเทียม เป็นต้น

2. โปรโตคอล (Protocol) และ ซอฟต์แวร์ (Software) โปรโตคอล คือ วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล เพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกัน หรือคุยกันรู้เรื่อง ส่วนซอฟต์แวร์มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงานในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้

3. ข่าวสาร (Message) สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสารเรียกว่า ข่าวสารหรือสารสนเทศ (Information) รูปแบบของข่าวสารในการสื่อสารข้อมูลมี 4 รูปแบบ คือ

- เสียง (Voice) อาจเป็นเสียงคน หรือเสียงที่สร้างขึ้นจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ข้อมูลจะกระจัดกระจายคาดการณ์ล่วงหน้าไม่ได้ การส่งข้อมูลจะส่งด้วยความเร็วต่ำ
ข้อมูล (Data) ข้อมูลถูกสร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ มีรูปแบบแน่นอน (เป็นรหัสบิต) คาดการณ์จำนวนได้ การส่งข้อมูลจะส่งด้วยความเร็วสูง
- ข้อความ (Text) ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ส่วนใหญ่เป็นรูปของอักขระ หรือเอกสารการส่งข่าวสารที่เป็นข้อความจะส่งด้วยความเร็วปานกลาง
- ภาพ (Image) อยู่ในรูปของกราฟิกแบบต่าง ๆ เช่น รูปภาพ ภาพวีดีทัศน์ ใช้ปริมาณหรือหน่วยความจำมาก ต้องส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง ในการสื่อสารแต่ละวิธีรูปแบบของข่าวสารที่ส่งออกไปอาจจะแตกต่างกันหรือเหมือนกัน เช่น การสื่อสารทางโทรคมนาคม สามารถส่งข้อมูลได้ทั้งเสียง ข้อมูล ข้อความ และภาพ ระบบ เซลลูล่าของโทรศัพท์สามารถส่ง – รับข้อมูลได้เพียง 2 รูปแบบ คือ เสียง และข้อมูล ส่วนวิดีโอเท็กซ์รูปแบบข้อมูลจะเป็นข้อมูล ข้อความและภาพ

4. สื่อกลาง (Medium) สื่อกลางเป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อกลางการสื่อสารอาจจะเป็นเส้นลวด สายไฟ สายเคเบิล สายไฟเบอร์ออปกติหรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ คลื่นดาวเทียม หรือคลื่นวิทยุ

ที่มา //www.geocities.com/chaicom9/usenet/s_com2.htm


โดย: นางสาวจันทร์ธิมา หงสระคู 51040240101 หมู่ 1 (วันจันทร์บ่าย) IP: 222.123.231.157 วันที่: 4 กรกฎาคม 2552 เวลา:13:44:26 น.  

 
7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ
1. ระบบวิทยุ
2. โทรทัศน์

ที่มา //202.28.94.55/web/322161/2551/001/g39/link/10.htm


โดย: นางสาวจันทร์ธิมา หงสระคู 51040240101 หมู่ 1 (วันจันทร์บ่าย) IP: 222.123.231.157 วันที่: 4 กรกฎาคม 2552 เวลา:13:51:00 น.  

 
3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง

1. วิทยุสื่อสาร
2. ระบบอินเตอร์เน็ต

ที่มา //cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/sub%20net1.htm



โดย: นางสาวจันทร์ธิมา หงสระคู 51040240101 หมู่ 1 (วันจันทร์บ่าย) IP: 222.123.231.157 วันที่: 4 กรกฎาคม 2552 เวลา:13:57:46 น.  

 
ข้อ 7.1องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบ
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้

1. ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ
ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2. ผู้รับข่าวสาร หรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร
หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่ การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ
จุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง



3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน
ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้
วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น

ข่ายการสื่อสารข้อมูล
หมายถึง การรับส่งข้อมูลหรือสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยระบบการส่งข้อมูล ทางคลื่นไฟฟ้าหรือแสง อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปเรียกว่า
ข่ายการสื่อสารข้อมูล (Data Communication Networks)

องค์ประกอบพื้นฐาน

1.หน่วยส่งข้อมูล (Sending Unit)
2.ช่องทางการส่งข้อมูล (Transmisstion Channel)
3.หน่วยรับข้อมูล (Receiving Unit)
วัตถุประสงค์หลักของการนำการสื่อการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในองค์การประกอบด้วย

1.เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล
2.เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
3.เพื่อลดเวลาการทำงาน
4.เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร
5.เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ
6.เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การ

ที่มา //blogger.sanook.com/ford2002/category/%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%

ข้อ 7.2 . แบบทิศทางเดียวหรือซิมเพล็กซ์ (One-Way หรือ Simplex) ในการส่งสัญญาณข้อมูลแบบซิมเพล็กซ์ ข้อมูลจะถูกส่งไปในทาง เดียวเท่านั้น และตลอดเวลา ตัวอย่างเช่น การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ หรือการแพร่ภาพทางโทรทัศน์

ที่มา//www.blmiacec.ac.th/E-learning/datacom/UNIT2.HTM

ข้อ 7.3 การส่งข้อมูลแบบสองทิศทาง
เป็นการสื่อสารข้อมูลทีมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลของผูส่งและผู้รับข้อมูล โดยทั้งสองฝ่ายสามารถเป็นผู้ส่งและผู้รับได้ในเวลาเดียวกัน และสามารถ ส่งข้อมูลได้พร้อมกัน ลักษณะการส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน เช่น การสื่อสารโดยใช้โทรศัพท์ ซึ่งทั้งสองฝ่ายสามารถพูดพร้อมกันได้ ในเวลาเดียวกันและ การใช้วิทยุสื่อสาร



ที่มา //www.nrru.ac.th/learning/science/sc_007/03/unit8/network1.html





โดย: นางสาว ปาริสา แคนหนอง 52040332140 หมู่ 15 ศุกร์ (เช้า) IP: 125.26.234.226 วันที่: 5 กรกฎาคม 2552 เวลา:1:12:36 น.  

 
ข้อ 7.1 องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบ
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้

1. ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ
ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2. ผู้รับข่าวสาร หรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร
หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่ การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ
จุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง


3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน
ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้
วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น

ที่มา//www.navy.mi.th/alumni/navy78/mainpage/news/a01.htm

ข้อ 7.2 การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission)

เป็นการสื่อสารข้อมูลที่มีผู้ส่งข้อมูลทำหน้าที่ส่งข้อมูลแต่เพียงอย่างเดียว และผู้รับข้อมูลก็ทำหน้าที่รับข้อมูลแต่เพียงอย่างเดียวด้วยเช่นกัน การส่งข้อมูลในลักษณะนี้ เช่น การส่งสัญญาณของสถานีโทรทัศน์ไปยังเครื่องรับโทรทัศน์ และระบบวิทยุ หรือโทรทัศน์

ที่มา //74.125.153.132/search?q=cache:jaaPwckgptsJ:www.janburi.buu.ac.th/~worawit/290111/05-DataCommunication.

ข้อ 7.3 แบบสองทิศทาง (Full Duplex) ข้อมูลสามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้งสองทิศทางอย่างอิสระ เช่น ระบบโทรศัพท์ และวิทยุสื่อสาร

ที่มา //cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/sub%20net1.htm





โดย: นางสาว อนุสรา แคนหนอง 52040332139 หมู่เรียน 15 ศุกร์ เช้า IP: 125.26.234.226 วันที่: 5 กรกฎาคม 2552 เวลา:1:21:38 น.  

 
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง

องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้
1. ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2. ผู้รับข่าวสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่ การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง
3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงานที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลาง ให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น

ที่มา //www.geocities.com/kkude2001/cable.html


7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง

แบบทิศทางเดียว (Simplex) ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางโดยไม่สามารถส่งย้อนกลับมาได้ เช่น
1.ระบบวิทยุ
2.โทรทัศน์

ที่มา //cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/sub%20net1.htm


7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง

แบบสองทิศทาง (Full Duplex) ข้อมูลสามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้งสองทิศทางอย่างอิสระ เช่น
1.ระบบโทรศัพท์
2.ระบบอินเตอร์เน็ต

ที่มา //cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/sub%20net1.htm


โดย: นส.บลสิการ ดอนโสภา หมู่เรียน 15 ศุกร์ เช้า รหัส 52041151217 IP: 113.53.166.202 วันที่: 11 กรกฎาคม 2552 เวลา:12:39:24 น.  

 
คำถามข้อที่ 1 องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง
เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล
ในปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสาร ทำให้เราหันมาให้ความสำคัญต่อการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เราสามารถติดต่อเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันได้ทั่วโลก ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของอินเทอร์เน็ต หรือด้านการติดต่อสื่อสารโทรคมนาคมในระยะไกลต่าง ๆ ก่อให้เกิดการนำเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลมาใช้ในวงการธุรกิจต่าง ๆ เป็นการนำความรู้จากข้อมูลข่าวสารที่ได้รับมาสร้างทางเลือกในการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ ส่งผลให้เราสามารถลดต้นทุน ลดเวลาในการติดต่อสื่อสารส่งเสริมให้เกิดการใช้งานทรัพยากรร่วมกัน ซึ่งเหมาะกับสภาพขององค์กรในปัจจุบันที่ต้องการการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง
จากจุดเริ่มแรกทำให้มีการใช้บริการด้านการสื่อสารโทรคมนาคมเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และเว็บไซต์เพื่อการพาณิชย์ต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดแรงผลักดันในการพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เห็นได้ง่าย ๆ จากการเปลี่ยนแปลงจากการสื่อสารแบบอนาล็อกเป็นเทคโนโลยีเครือข่ายดิจิทัล ทำให้มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงขึ้น และส่งข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก ลดความผิดพลาดในการส่งข้อมูล ซึ่งสามารถส่งสารสนเทศทั้งที่เป็นข้อมูลประเภท เสียง และวิดีโอ ไปพร้อม ๆ กัน อีกทั้งการใช้ดาวเทียมสื่อสารทำให้สามารถส่งข้อมูลภาพและเสียงข้ามซีกโลกได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งการใช้เซลลูลาห์หรือเครือข่ายไร้สายอื่น ๆ นับว่าเป็นการทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการใช้อุปกรณ์แบบพกพาแบบต่าง ๆ ทำให้เราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลก
1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูล
1.1 องค์ประกอบพื้นฐานในการสื่อสารข้อมูล
องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ส่วน
1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นแหล่งต้นทางของการสื่อสารโดยมีหน้าที่ในการให้กำเนิดข้อมูล หรือเตรียมข้อมูล เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ต้นทาง เป็นต้น
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นแหล่งปลายทางของการสื่อสาร หรือเป็นอุปกรณ์สำหรับข้อมูลที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ดำเนินการต่อไป เช่น ผู้รับ คอมพิวเตอร์ปลายทาง เครื่องพิมพ์
3. ข่าวสาร (Massage) เป็นตัวเนื้อหาของข้อมูล ซึ่งมีได้หลายรูปแบบดังนี้ คือ
- ข้อความ (Text) ข้อมูลที่อยู่ในรูปอักขระ หรือเอกสาร เช่น ข้อความในหนังสือ เป็นต้น
- เสียง (Voice) ข้อมูลเสียงที่แหล่งต้นทางสร้างขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นเสียงที่มนุษย์หรืออุปกรณ์บางอย่างเป็นตัวสร้างก็ได้
- รูปภาพ (Image) เป็นข้อมูลที่ไม่เหมือนข้อความตัวอักษรที่เรียงติดต่อกัน แต่จะมีลักษณะเหมือนรูปภาพ เช่น การสแกนภาพเข้าคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลรูปภาพกับข้อมูลข้อความ แล้วรูปภาพจะมีขนาดใหญ่กว่า
- สื่อผสม (Multimedia) ข้อมูลที่ผสมลักษณะของทั้งรูปภาพ เสียงและข้อความเข้าด้วยกัน โดยสามารถเคลื่อนไหวได้ เช่น การเรียนผ่านระบบ VDO conference เป็นต้น โดยข้อมูลจะมีขนาดใหญ่มาก
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium) เป็นสื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มีสายสัญญาณ เช่น สายไฟ หรือตัวกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น อากาศ เป็นต้น
5. โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน
คำถามข้อที่ 2 จงยกตัวอย่างการสื่อสารแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ การสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว (Simplex Transmission) เป็นการติดต่อสื่อสารเพียงทิศทางเดียว คือผู้ส่งจะส่งข้อมูลเพียงฝั่งเดียวและโดยฝั่งรับไม่มีการตอบกลับ เช่น การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ การส่ง e-mail เป็นต้น แสดงดังรูปที่ 2


เอกสารอ้างอิง
กิตติ ภักดีวัฒนะกุล. คัมภีร์ระบบสารสนเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 1 เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์.พฤศจิกายน 2546.
สถาบันราชภัฎสวนดุสิต. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 1 ศูนย์หนังสือสถาบันราชภัฎสวนดุสิต. กรกฎาคม 2544.
สัลยุทธ์ สว่างวรรณ. ระบบสารสนเทสเพื่อการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโด-ไชน่า. 2545
สุขุม เฉลยทรัพย์, จิตติมา เทียมบุญประเสริฐ, วิชชา ฉิมพลี และ สาทิพย์ ธรรมชีวีวงศ์. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 1 ศูนย์หนังสือสถาบันราชภัฎสวนดุสิต. กรกฎาคม 2544.
อนิรุทธิ์ รัชตะวราห์ และวศิน เพิ่มทรัพย์. ผ่า!คอมพิวเตอร์ ฉบับสมบูรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ โปรวิชั่น. สิงหาคม 2545.
Behrouz A.Forouzan. Data Communications and Networking. Second Edition. Mc Graw Hill . 2000
ที่มา //www.hs1an.org/index.php?option=com_content&task=view&id=551&Itemid=31
คำถามข้อที่ 3 จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบ 2 ทิศทางมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ แบบทางคู่หรือดูเพล็กซ์เต็ม (Full - Duplex )
เป็นการส่งข้อมูลแบบที่สามารถส่ง และรับข้อมูลได้พร้อม
กันในเวลาเดียวกัน ซึ่งวิธีนี้ทำให้การทำงานเร็วขึ้นมาก เช่นการพูด ทางโทรศัพท์ ลักษณะของวิธีการสื่อสาร
ที่มา //www.vcharkarn.com/vcafe/81178



โดย: ชื่อ จ.ส.อ.อาสา โสมประยูร รหัส 51241151211 เสาร์บ่าย IP: 125.26.177.77 วันที่: 13 กรกฎาคม 2552 เวลา:11:17:25 น.  

 
คำถามข้อที่ 1 องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง
เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล
ในปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสาร ทำให้เราหันมาให้ความสำคัญต่อการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เราสามารถติดต่อเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันได้ทั่วโลก ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของอินเทอร์เน็ต หรือด้านการติดต่อสื่อสารโทรคมนาคมในระยะไกลต่าง ๆ ก่อให้เกิดการนำเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลมาใช้ในวงการธุรกิจต่าง ๆ เป็นการนำความรู้จากข้อมูลข่าวสารที่ได้รับมาสร้างทางเลือกในการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ ส่งผลให้เราสามารถลดต้นทุน ลดเวลาในการติดต่อสื่อสารส่งเสริมให้เกิดการใช้งานทรัพยากรร่วมกัน ซึ่งเหมาะกับสภาพขององค์กรในปัจจุบันที่ต้องการการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง
จากจุดเริ่มแรกทำให้มีการใช้บริการด้านการสื่อสารโทรคมนาคมเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และเว็บไซต์เพื่อการพาณิชย์ต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดแรงผลักดันในการพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เห็นได้ง่าย ๆ จากการเปลี่ยนแปลงจากการสื่อสารแบบอนาล็อกเป็นเทคโนโลยีเครือข่ายดิจิทัล ทำให้มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงขึ้น และส่งข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก ลดความผิดพลาดในการส่งข้อมูล ซึ่งสามารถส่งสารสนเทศทั้งที่เป็นข้อมูลประเภท เสียง และวิดีโอ ไปพร้อม ๆ กัน อีกทั้งการใช้ดาวเทียมสื่อสารทำให้สามารถส่งข้อมูลภาพและเสียงข้ามซีกโลกได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งการใช้เซลลูลาห์หรือเครือข่ายไร้สายอื่น ๆ นับว่าเป็นการทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการใช้อุปกรณ์แบบพกพาแบบต่าง ๆ ทำให้เราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลก
1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูล
1.1 องค์ประกอบพื้นฐานในการสื่อสารข้อมูล
องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ส่วน
1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นแหล่งต้นทางของการสื่อสารโดยมีหน้าที่ในการให้กำเนิดข้อมูล หรือเตรียมข้อมูล เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ต้นทาง เป็นต้น
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นแหล่งปลายทางของการสื่อสาร หรือเป็นอุปกรณ์สำหรับข้อมูลที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ดำเนินการต่อไป เช่น ผู้รับ คอมพิวเตอร์ปลายทาง เครื่องพิมพ์
3. ข่าวสาร (Massage) เป็นตัวเนื้อหาของข้อมูล ซึ่งมีได้หลายรูปแบบดังนี้ คือ
- ข้อความ (Text) ข้อมูลที่อยู่ในรูปอักขระ หรือเอกสาร เช่น ข้อความในหนังสือ เป็นต้น
- เสียง (Voice) ข้อมูลเสียงที่แหล่งต้นทางสร้างขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นเสียงที่มนุษย์หรืออุปกรณ์บางอย่างเป็นตัวสร้างก็ได้
- รูปภาพ (Image) เป็นข้อมูลที่ไม่เหมือนข้อความตัวอักษรที่เรียงติดต่อกัน แต่จะมีลักษณะเหมือนรูปภาพ เช่น การสแกนภาพเข้าคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลรูปภาพกับข้อมูลข้อความ แล้วรูปภาพจะมีขนาดใหญ่กว่า
- สื่อผสม (Multimedia) ข้อมูลที่ผสมลักษณะของทั้งรูปภาพ เสียงและข้อความเข้าด้วยกัน โดยสามารถเคลื่อนไหวได้ เช่น การเรียนผ่านระบบ VDO conference เป็นต้น โดยข้อมูลจะมีขนาดใหญ่มาก
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium) เป็นสื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มีสายสัญญาณ เช่น สายไฟ หรือตัวกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น อากาศ เป็นต้น
5. โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน
คำถามข้อที่ 2 จงยกตัวอย่างการสื่อสารแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ การสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว (Simplex Transmission) เป็นการติดต่อสื่อสารเพียงทิศทางเดียว คือผู้ส่งจะส่งข้อมูลเพียงฝั่งเดียวและโดยฝั่งรับไม่มีการตอบกลับ เช่น การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ การส่ง e-mail เป็นต้น แสดงดังรูปที่ 2


เอกสารอ้างอิง
กิตติ ภักดีวัฒนะกุล. คัมภีร์ระบบสารสนเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 1 เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์.พฤศจิกายน 2546.
สถาบันราชภัฎสวนดุสิต. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 1 ศูนย์หนังสือสถาบันราชภัฎสวนดุสิต. กรกฎาคม 2544.
สัลยุทธ์ สว่างวรรณ. ระบบสารสนเทสเพื่อการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโด-ไชน่า. 2545
สุขุม เฉลยทรัพย์, จิตติมา เทียมบุญประเสริฐ, วิชชา ฉิมพลี และ สาทิพย์ ธรรมชีวีวงศ์. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 1 ศูนย์หนังสือสถาบันราชภัฎสวนดุสิต. กรกฎาคม 2544.
อนิรุทธิ์ รัชตะวราห์ และวศิน เพิ่มทรัพย์. ผ่า!คอมพิวเตอร์ ฉบับสมบูรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ โปรวิชั่น. สิงหาคม 2545.
Behrouz A.Forouzan. Data Communications and Networking. Second Edition. Mc Graw Hill . 2000
ที่มา //www.hs1an.org/index.php?option=com_content&task=view&id=551&Itemid=31
คำถามข้อที่ 3 จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบ 2 ทิศทางมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ แบบทางคู่หรือดูเพล็กซ์เต็ม (Full - Duplex )
เป็นการส่งข้อมูลแบบที่สามารถส่ง และรับข้อมูลได้พร้อม
กันในเวลาเดียวกัน ซึ่งวิธีนี้ทำให้การทำงานเร็วขึ้นมาก เช่นการพูด ทางโทรศัพท์ ลักษณะของวิธีการสื่อสาร
ที่มา //www.vcharkarn.com/vcafe/81178



โดย: ชื่อ จ.ส.อ.อาสา โสมประยูร รหัส 51241151211 เสาร์บ่าย IP: 125.26.177.77 วันที่: 13 กรกฎาคม 2552 เวลา:11:17:37 น.  

 
1.องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสาร
องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสาร และกระบวนการสื่อสาร
การสื่อสาร เป็นกิจกรรมร่วมกันที่มีปฏิสัมพันธ์กัน ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร หมายความว่า การสื่อสารจะเกิดขึ้นได้ ต้องมีองค์ประกอบพื้นฐาน คือ

(1) ผู้ส่งสาร หรือผู้กำหนดสาร (Sender, Source Creator)
(2) สาร (Message, Information)
(3) สื่อ หรือพาหนะ หรือช่องทางในการนำสาร ส่งไป (Media หรือ Channel)
(4) ผู้รับสาร (Receiver)
(5) ปฏิกิริยา หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หลังส่ง-รับสาร (Feed Back)

เมื่อมีองค์ประกอบครบพร้อม ต่อไปดูว่าเกิดกระบวนการต่อไปนี้หรือไม่ คือ (1) มีการกำหนดสาร (Message Design & Source Data) โดยผู้ส่งสาร อาจต้องมีการเข้ารหัสของสารด้วย ขึ้นอยู่กับประเภทหรือชนิดของสาร (2) สารถูกส่งไปยังผู้รับ (Process) โดยผ่านกระบวนการต่างๆ ขึ้นอยู่กับประเภทหรือชนิดของสาร (3) สารที่ส่งออกไปถึงผู้รับปลายทาง และผู้รับก็รับรู้ถึงสารที่ส่งมานั้น (Awareness) และเกิดปฏิกิริยาโต้ตอบ อาจเป็นเชิงบวก (เห็นด้วย ยอมรับ) หรือเชิงลบ (ขัดแย้ง ไม่ยอมรับ) หรือเชิงซ่อน (รู้สึกเฉยๆ ยังไม่ลงความเห็น หรือตัดสินใจในเวลานั้น)
ที่มา //learners.in.th/blog/excuseme23/198097
2.จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียว 2 ตัวอย่าง
ตอบ การสื่อสารแบบซิมเพล็กซ์ หรือการสื่อสารแบบทางเดียว (One-way communication)
ประกอบด้วยช่องสัญญาณเพียงช่องเดียว และปลายทางด้านหนึ่งเป็นผู้รับ ตัวอย่างเช่น การกระจายเสียงของสถานีวิทยุต่าง ๆ การแพร่ภาพทางโทรทัศน์ การส่งน้ำตามท่อหรือการจราจรระบบทางเดียว เป็นต้น
ที่มา //www.geocities.com/comsci47_suandusit/Network/senddata.html
3.จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทาง 2 ตัวอย่าง
ตอบ แบบกึ่งสองทิศทาง (Half Duplex) ข้อมูลสามารถส่งสลับกันได้ทั้งสองทิศทาง โดยต้องผลัดกันส่งครั้งละทิศทางเท่านั้น เช่น วิทยุสื่อสารแบบผลัดกันพูด
แบบสองทิศทาง (Full Duplex) ข้อมูลสามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้งสองทิศทางอย่างอิสระ เช่น ระบบโทรศัพท์
ที่มา//www.bpcd.net/new_subject/library/ebook/ict/ict_fundamental/226.html


โดย: ชื่อ จ.ส.ต.หญิงพรรณสุภา ชิตเกษร รหัส 51241151125 เสาร์บ่าย IP: 125.26.177.77 วันที่: 13 กรกฎาคม 2552 เวลา:12:34:18 น.  

 
องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง
องค์ประกอบพื้นฐานของระบบสื่อสารข้อมูล
องค์ประกอบพื้นฐานหลัก 4 อย่างในระบบการสื่อสารข้อมูล ได้แก่ (ฉัตรชัย สุมามาลย์ : 4)

1. ผู้ส่ง หรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) และผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) ผู้ส่ง หรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูล มีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล ส่วนผู้รับ หรืออุปกรณ์รับข้อมูลเป็นปลายทางการสื่อสารข้อมูล มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้
ทั้งอุปกรณ์รับและส่งข้อมูล อาจจะเป็นอุปกรณ์ชนิดเดียวกัน อุปกรณ์ส่ง-รับข้อมูล มี 2 ชนิด คือ DTE
(Data Terminal Equipment) และ DCE (Data Communications Equipment) DTE เป็นแหล่งกำเนิดและรับข้อมูล ซึ่งอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง (Terminal Computer) เครื่องพิมพ์ หรือตัวควบคุม ส่วน DCE เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่ง-รับข้อมูลโดยทั่วไป DCE จะหมายถึงโมเด็ม (Modem) จานไมโครเวฟ หรือจานดาวเทียม เป็นต้น

2. โปรโตคอล (Protocol) และ ซอฟต์แวร์ (Software) โปรโตคอล คือ วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล เพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกัน หรือคุยกันรู้เรื่อง ส่วนซอฟต์แวร์มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงานในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้

3. ข่าวสาร (Message) สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสารเรียกว่า ข่าวสารหรือสารสนเทศ (Information) รูปแบบของข่าวสารในการสื่อสารข้อมูลมี 4 รูปแบบ คือ

เสียง (Voice) อาจเป็นเสียงคน หรือเสียงที่สร้างขึ้นจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ข้อมูลจะกระจัดกระจายคาดการณ์ล่วงหน้าไม่ได้ การส่งข้อมูลจะส่งด้วยความเร็วต่ำ
ข้อมูล (Data) ข้อมูลถูกสร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ มีรูปแบบแน่นอน (เป็นรหัสบิต) คาดการณ์จำนวนได้ การส่งข้อมูลจะส่งด้วยความเร็วสูง
ข้อความ (Text) ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ส่วนใหญ่เป็นรูปของอักขระ หรือเอกสารการส่งข่าวสารที่เป็นข้อความจะส่งด้วยความเร็วปานกลาง
ภาพ (Image) อยู่ในรูปของกราฟิกแบบต่าง ๆ เช่น รูปภาพ ภาพวีดีทัศน์ ใช้ปริมาณหรือหน่วยความจำมาก ต้องส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง

ในการสื่อสารแต่ละวิธีรูปแบบของข่าวสารที่ส่งออกไปอาจจะแตกต่างกันหรือเหมือนกัน เช่น การสื่อสารทางโทรคมนาคม สามารถส่งข้อมูลได้ทั้งเสียง ข้อมูล ข้อความ และภาพ ระบบ เซลลูล่าของโทรศัพท์สามารถส่ง – รับข้อมูลได้เพียง 2 รูปแบบ คือ เสียง และข้อมูล ส่วนวิดีโอเท็กซ์รูปแบบข้อมูลจะเป็นข้อมูล ข้อความและภาพ

4. สื่อกลาง (Medium) สื่อกลางเป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อกลางการสื่อสารอาจจะเป็นเส้นลวด สายไฟ สายเคเบิล สายไฟเบอร์ออปกติหรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ คลื่นดาวเทียม หรือคลื่นวิทยุ
ที่มา//www.geocities.com/chaicom9/usenet/s_com2.htm
2.จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง

แบบทิศทางเดียว (Simplex) เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางโดยไม่สามารถส่งข้อมูลย้อนกลับมาได้ เช่นระบบวิทยุ หรือโทรทัศน์

ที่มา//e-learning.rw.ac.th/file.php/1/RWICT-NetWork/net13.htm
3.
แบบสองทิศทาง (Full Duplex หรือ Both-Way) เช่น ระบบโทรศัพท์ การChat Online

ที่มาhttps://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=numpuang&month=03-2009&group=7&date=30&gblog=8






โดย: นางสาววิภายี กลางหล้า ม. 15 ศุกร์เช้า IP: 192.168.1.102, 125.26.167.254 วันที่: 13 กรกฎาคม 2552 เวลา:14:59:00 น.  

 
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบ

องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้
1. ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ
ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2. ผู้รับข่าวสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใด
ที่การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ จุดหมายปลายทางไม่ได้รับ
ข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง





3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลง
ความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่าง ผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์ มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้ วงจรกรอง (filter)
กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น




ที่มา : //www.chakkham.ac.th/technology/network/datacommu.html

2.2

ตัวอย่างการส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียวกันได้แก่ การถ่ายทอดข้อมูลราคาซื้อ-ขายหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไปยังสมาชิกซึ่งมักจะใช้เครื่องพีซีติดต่อเข้ามาจากที่บ้านหรือที่ทำงาน ข้อมูลจะถูกส่งไปเก็บไว้ที่ฐานข้อมูลที่เครื่องพีซีของผู้ใช้ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกดูราคาหุ้น ทั้งหมดหรือหุ้นบางตัวที่สนใจได้โดยไม่ต้องส่งข้อมูลใด ๆ กลับมาที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เพียงแค่ส่งข้อมูลส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงมายังสมาชิกเท่านั้น

ที่มา : //www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php

3.3

การถ่ายทอดสัญญาณแบบสองทิศทางสมบูรณ์ (Full-Duplex Transmission) ยินยอมให้ทั้งฝ่ายผู้ส่งและผู้รับข้อมูลสามารถส่งข้อมูลไปยังอีกฝ่ายหนึ่งได้ตลอดเวลา วิธีการนี้จึงใช้ประโยชน์จากการสื่อสารข้อมูลอย่างเต็มที่ แต่มีข้อจำกัดคือเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีความสามารถในการรับและส่งข้อมูลได้อย่างเต็มที่ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้สื่อที่เลือกใช้ก็จะต้องมีช่องสื่อสารสองช่อง ช่องหนึ่งสำหรับส่งข้อมูลและอีกช่องหนึ่งสำหรับรับข้อมูล ช่องสื่อสารแบบ RS-232 สามารถรองรับการทำงานแบบนี้ได้เพราะมีขาเชื่อมต่อสำหรับการสื่อสารอยู่สองชุดที่แยกจากกัน โมเด็มที่ทำงานแบบสองทิศทางสมบูรณ์ได้จะต้องได้รับมาตรฐาน CCITT V.32 และ CCITT V.34 เช่นระบบโทรศัพท์เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสื่อสารที่เกิดขึ้นทั้งแบบกึ่งสองทิศทางและแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ในกรณีที่ใช้โทรศัพท์ ภายในเขตเมืองเดียวกัน (รหัสเมืองเหมือนกัน) จะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ดังนั้นผู้ใช้โทรศัพท์ ทั้งสองฝ่ายสามารถที่จะพูดออกมาพร้อม ๆ กัน เสียงพูดของแต่ละฝ่ายจะไปดังที่โทรศัพท์ของอีก ฝ่ายหนึ่ง แม้ว่าในทางปฏิบัติอาจจะไม่มีใครทำอย่างนี้แต่ก็สามารถทำได้อย่างแน่นอน
การส่งสัญญาณในระบบโทรศัพท์ทางไกลแม้ว่าตัวระบบเองจะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์แต่จะทำงานเป็นแบบกึ่งสองทิศทาง ระบบโทรศัพท์ทั่วไปจะมีสัญญาณสะท้อนกลับ (Echo) เกิดขึ้นเสมอเนื่องจากเสียงผู้พูดฝ่ายหนึ่งที่ไปถึงอีกฝ่ายหนึ่งจะทำให้เกิดการส่งสัญญาณสะท้อนกลับมาโดยไม่ได้ตั้งใจ ถ้าเป็นโทรศัพท์ภายในเขตจังหวัดเดียวกันหรือทางไกลภายในประเทศ สัญญาณสะท้อนกลับจะเกิดขึ้นเร็วมาก เนื่องจากระยะทางสั้น และซ้อนทับกับเสียงของผู้พูด จนกระทั่งไม่สามารถแยกเสียงจริงและเสียงสะท้อนออกจากกันได้ แต่ถ้าเป็นโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ สัญญาณสะท้อนกลับจะเกิดขึ้นช้ากว่า เพราะระยะทางไกลมาก ทำให้สามารถแยกความแตกต่างออกจากกันได้ คือผู้พูดจะได้ยินเสียงตัวเองภายหลังจากตัวเองที่หยุดพูด เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ระบบโทรศัพท์ต้องใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องตัดเสียงสะท้อน (Echo Suppressor) อุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่คอยเปิด-ปิดช่องสัญญาณในระหว่างการสนทนาเพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณสะท้อน ย้อนกลับไปยังผู้พูด เนื่องจากอุปกรณ์นี้ทำงานโดยใช้เสียงผู้พูดเป็นตัวกระตุ้นเพื่อปิดช่องสื่อสารของผู้ฟัง จึงทำให้ผู้ฟังไม่สามารถพูดสวนกลับไปได้ในเวลาเดียวกัน ผลที่เกิดขึ้นจึงทำให้ระบบการสื่อสารนี้กลายเป็นแบบกึ่งสองทิศทาง

ที่มา : //www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php


โดย: นางสาว ธัญธิตา แก้วมีศรี ม. 15 ศุกร์เช้า 52041151239 IP: 192.168.1.104, 125.26.167.254 วันที่: 13 กรกฎาคม 2552 เวลา:15:16:59 น.  

 
7.1) องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล
องค์ประกอบพื้นฐานของระบบ
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้
1. ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2. ผู้รับข่าวสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่ การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง


3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงานที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลาง ให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น

//www.geocities.com/kkude2001/cable.html


โดย: น.ส. วิไลวรรร พงค์พันธ์ ม.29 พุธเช้า 52040501303 IP: 172.24.15.33, 202.29.5.62 วันที่: 22 กรกฎาคม 2552 เวลา:8:52:46 น.  

 
7.2)ตัวอย่างการส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียวกันข้อมูลจะถูกส่งไปในทิศทางเดียวเท่านั้น โดยผู้ส่งจะสามารถส่งข้อมูลไปให้ผู้รับได้อย่างเดียว ส่วนผู้รับไม่สามารถตอบโต้กลับมาได้ เช่น จอคอมพิวเตอร์ คีย์บอร์ด วิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น //www.ps.ac.th/elearning/m4/Learn/8.ppt#257,1,


โดย: น.ส. วิไลวรรณ พงค์พันธ์ ม.29 พุธเช้า 52040501303 IP: 172.24.15.33, 202.29.5.62 วันที่: 22 กรกฎาคม 2552 เวลา:9:18:17 น.  

 
7.3)ตัวอย่างการส่งข้อมูลแบบสองทิศทาง ข้อมูลสามารถส่งได้สองทิศทางพร้อมกัน โดยผู้ส่งและผู้รับสามารถทำหน้าที่ทั้งส่งและรับข้อมูลพร้อมกัน เช่น โทรทัศน์ เป็นต้น //www.ps.ac.th/elearning/m4/Learn/8.ppt#259,3


โดย: น.ส. วิไลวรรณ พงค์พันธ์ ม.29 พุธเช้า 52040501303 IP: 172.24.15.33, 202.29.5.62 วันที่: 22 กรกฎาคม 2552 เวลา:9:28:23 น.  

 
1. องค์ประกอบพื้นฐานมี 3 องค์ประกอบ


คือ 1.หน่วยส่งข้อมูล
2.ช่องทางในการสื่อสาร
3.หน่วยรับข้อมูล


2. ตัวอย่าง one-way (ทิศทางเดียว)

1.จดหมาย
2.e-mail

3. ตัวอย่าง full puplex (สองทิศทาง)

1.shat
2.canfox


โดย: นางสาวนฤมล ภูหนองโอง ม.29 พุธเช้า 52040264108 IP: 172.24.15.21, 202.29.5.62 วันที่: 22 กรกฎาคม 2552 เวลา:9:55:31 น.  

 
4.1.1 องค์ประกอบพื้นฐานในการสื่อสารข้อมูล
องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ส่วนแสดงดังรูปที่ 4.1

รูปที่ 4.1 องค์ประกอบการสื่อสาร


1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นแหล่งต้นทางของการสื่อสารโดยมีหน้าที่ในการให้กำเนิดข้อมูล หรือเตรียมข้อมูล เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ต้นทาง เป็นต้น
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นแหล่งปลายทางของการสื่อสาร หรือเป็นอุปกรณ์สำหรับข้อมูลที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ดำเนินการต่อไป เช่น ผู้รับ คอมพิวเตอร์ปลายทาง เครื่องพิมพ์
3. ข่าวสาร (Massage) เป็นตัวเนื้อหาของข้อมูล ซึ่งมีได้หลายรูปแบบดังนี้ คือ
- ข้อความ (Text) ข้อมูลที่อยู่ในรูปอักขระ หรือเอกสาร เช่น ข้อความในหนังสือ เป็นต้น
- เสียง (Voice) ข้อมูลเสียงที่แหล่งต้นทางสร้างขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นเสียงที่มนุษย์หรืออุปกรณ์บางอย่างเป็นตัวสร้างก็ได้
- รูปภาพ (Image) เป็นข้อมูลที่ไม่เหมือนข้อความตัวอักษรที่เรียงติดต่อกัน แต่จะมีลักษณะเหมือนรูปภาพ เช่น การสแกนภาพเข้าคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลรูปภาพกับข้อมูลข้อความ แล้วรูปภาพจะมีขนาดใหญ่กว่า
- สื่อผสม (Multimedia) ข้อมูลที่ผสมลักษณะของทั้งรูปภาพ เสียงและข้อความเข้าด้วยกัน โดยสามารถเคลื่อนไหวได้ เช่น การเรียนผ่านระบบ VDO conference เป็นต้น โดยข้อมูลจะมีขนาดใหญ่มาก
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium) เป็นสื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มีสายสัญญาณ เช่น สายไฟ หรือตัวกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น อากาศ เป็นต้น
5. โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน
//computer.pcru.ac.th/kubo/4000108_Learning/doc/word/108_ch4_Comunication%20&%20Network.doc


โดย: นางสาวประทุมพร ปากกเจริญ หมู่ 29 รหัส 52040501339 บช.บ 1/3 IP: 124.157.145.197 วันที่: 22 กรกฎาคม 2552 เวลา:17:49:38 น.  

 
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง

ตอบ . ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูล มีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล ซึ่งข้อมูลจะอยู่ในรูปแบบที่สามารถส่งข้อมูลนั้นได้ก่อน ตัวอย่างอุปกรณ์ ได้แก่ วิทยุสื่อสาร โมเด็ม

2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นอุปกรณ์สำหรับรับข้อมูลเพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อไป ได้แก่ เครื่องพิมพ์ จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม

3. โปรโตคอล (Protocol) หมายถึง วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล เพื่อให้ผู้รับ ผู้ส่งสามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่อง ได้แก่ TCP / IP , X.25 , SDLC

4. ซอฟต์แวร์ (Software) เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับควบคุมการรับส่งข้อมูล รวมถึงการตรวจสอบ ได้แก่ Windows , Unix , Linux

5. ข่าวสาร (Message) บางทีเรียกว่า Information ตัวอย่างรูปแบบของข่าวสาร

5.1. อยู่ในรูปของเสียง (Voice) อาจเป็นเสียงของมนุษย์ หรือเสียงที่สร้างขึ้นมาจากอุปกรณ์บางอย่าง ข้อมูลดังกล่าวจะกระจัดกระจายคาดการณ์ ล่วงหน้าไม่ได้ การส่งข้อมูลแบบนี้จะต้องส่งด้วยความเร็วต่ำ

5.2. อยู่ในรูปของข้อมูล (data) เป็นข่าวสารที่ถูกสร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ มีรูปแบบที่แน่นอน คาดการณ์จำนวนได้ การส่งข้อมูลจะส่งด้วยความเร็วสูง

5.3. อยู่ในรูปของข้อความ (text) ข่าวสารแบบนี้ไม่มีรูปที่แน่นอน ส่วนใหญ่เป็นรูปอักขระ หรือเอกสาร การส่งข้อมูลจะส่งด้วยความเร็วปานกลาง

5.4. อยู่ในรูปของรูปภาพ (image) อยู่ในรูปของกราฟิกแบบต่างๆ เช่น รูปภาพ ภาพวิดีโอ ใช้ปริมาณหรือหน่วยความจำมาก ต้องส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง

** ในการสื่อสารแต่ละวิธีจะมีรูปแบบของการส่งข่าวสารที่แตกต่างกันออกไป เช่น การสื่อสารโทรคมนาคม สามารถส่งข่าวสารได้ทั้งภาพ เสียง ข้อความ

6. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium) สื่อกลางเป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อกลางดังกล่าวอาจจะเป็นเส้นลวด สายไฟ สายไฟเบอร์
ออปติก เช่น คลื่นไมโครเวฟ ดาวเทียม หรือคลื่นวิทยุ

7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง

ตอบ
แบบทิศทางเดียว (Simplex) ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางโดยไม่สามารถส่งย้อนกลับมาได้ เช่น ระบบวิทยุ หรือโทรทัศน์


7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง

ตอบ
แบบสองทิศทาง (Full Duplex) ข้อมูลสามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้งสองทิศทางอย่างอิสระ เช่น ระบบ



ที่มา //202.143.128.66/~webm652/media/unit_old/commu/page2.htm
//cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/sub%20net1.htm



โดย: นางสาวภัทราภรณ์ อุ่นจิต 52240236104 พฤ-ค่ำ(พิเศษ) IP: 172.29.5.133, 202.29.5.62 วันที่: 23 กรกฎาคม 2552 เวลา:17:33:49 น.  

 
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง

ตอบ . ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูล มีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล ซึ่งข้อมูลจะอยู่ในรูปแบบที่สามารถส่งข้อมูลนั้นได้ก่อน ตัวอย่างอุปกรณ์ ได้แก่ วิทยุสื่อสาร โมเด็ม

2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นอุปกรณ์สำหรับรับข้อมูลเพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อไป ได้แก่ เครื่องพิมพ์ จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม

3. โปรโตคอล (Protocol) หมายถึง วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล เพื่อให้ผู้รับ ผู้ส่งสามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่อง ได้แก่ TCP / IP , X.25 , SDLC

4. ซอฟต์แวร์ (Software) เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับควบคุมการรับส่งข้อมูล รวมถึงการตรวจสอบ ได้แก่ Windows , Unix , Linux

5. ข่าวสาร (Message) บางทีเรียกว่า Information ตัวอย่างรูปแบบของข่าวสาร

5.1. อยู่ในรูปของเสียง (Voice) อาจเป็นเสียงของมนุษย์ หรือเสียงที่สร้างขึ้นมาจากอุปกรณ์บางอย่าง ข้อมูลดังกล่าวจะกระจัดกระจายคาดการณ์ ล่วงหน้าไม่ได้ การส่งข้อมูลแบบนี้จะต้องส่งด้วยความเร็วต่ำ

5.2. อยู่ในรูปของข้อมูล (data) เป็นข่าวสารที่ถูกสร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ มีรูปแบบที่แน่นอน คาดการณ์จำนวนได้ การส่งข้อมูลจะส่งด้วยความเร็วสูง

5.3. อยู่ในรูปของข้อความ (text) ข่าวสารแบบนี้ไม่มีรูปที่แน่นอน ส่วนใหญ่เป็นรูปอักขระ หรือเอกสาร การส่งข้อมูลจะส่งด้วยความเร็วปานกลาง

5.4. อยู่ในรูปของรูปภาพ (image) อยู่ในรูปของกราฟิกแบบต่างๆ เช่น รูปภาพ ภาพวิดีโอ ใช้ปริมาณหรือหน่วยความจำมาก ต้องส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง

** ในการสื่อสารแต่ละวิธีจะมีรูปแบบของการส่งข่าวสารที่แตกต่างกันออกไป เช่น การสื่อสารโทรคมนาคม สามารถส่งข่าวสารได้ทั้งภาพ เสียง ข้อความ

6. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium) สื่อกลางเป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อกลางดังกล่าวอาจจะเป็นเส้นลวด สายไฟ สายไฟเบอร์
ออปติก เช่น คลื่นไมโครเวฟ ดาวเทียม หรือคลื่นวิทยุ

7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง

ตอบ
แบบทิศทางเดียว (Simplex) ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางโดยไม่สามารถส่งย้อนกลับมาได้ เช่น ระบบวิทยุ หรือโทรทัศน์

7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง

ตอบ
แบบสองทิศทาง (Full Duplex) ข้อมูลสามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้งสองทิศทางอย่างอิสระ เช่น ระบบ



ที่มา //202.143.128.66/~webm652/media/unit_old/commu/page2.htm
//cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/sub%20net1.htm


โดย: นายอดิศักดิ์ รักวิชา ม.1(พิเศษ) พฤ.ค่ำ 52240427132 IP: 172.29.5.133, 202.29.5.62 วันที่: 23 กรกฎาคม 2552 เวลา:17:45:12 น.  

 
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง

ตอบ . ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูล มีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล ซึ่งข้อมูลจะอยู่ในรูปแบบที่สามารถส่งข้อมูลนั้นได้ก่อน ตัวอย่างอุปกรณ์ ได้แก่ วิทยุสื่อสาร โมเด็ม

2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นอุปกรณ์สำหรับรับข้อมูลเพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อไป ได้แก่ เครื่องพิมพ์ จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม

3. โปรโตคอล (Protocol) หมายถึง วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล เพื่อให้ผู้รับ ผู้ส่งสามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่อง ได้แก่ TCP / IP , X.25 , SDLC

4. ซอฟต์แวร์ (Software) เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับควบคุมการรับส่งข้อมูล รวมถึงการตรวจสอบ ได้แก่ Windows , Unix , Linux

5. ข่าวสาร (Message) บางทีเรียกว่า Information ตัวอย่างรูปแบบของข่าวสาร

5.1. อยู่ในรูปของเสียง (Voice) อาจเป็นเสียงของมนุษย์ หรือเสียงที่สร้างขึ้นมาจากอุปกรณ์บางอย่าง ข้อมูลดังกล่าวจะกระจัดกระจายคาดการณ์ ล่วงหน้าไม่ได้ การส่งข้อมูลแบบนี้จะต้องส่งด้วยความเร็วต่ำ

5.2. อยู่ในรูปของข้อมูล (data) เป็นข่าวสารที่ถูกสร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ มีรูปแบบที่แน่นอน คาดการณ์จำนวนได้ การส่งข้อมูลจะส่งด้วยความเร็วสูง

5.3. อยู่ในรูปของข้อความ (text) ข่าวสารแบบนี้ไม่มีรูปที่แน่นอน ส่วนใหญ่เป็นรูปอักขระ หรือเอกสาร การส่งข้อมูลจะส่งด้วยความเร็วปานกลาง

5.4. อยู่ในรูปของรูปภาพ (image) อยู่ในรูปของกราฟิกแบบต่างๆ เช่น รูปภาพ ภาพวิดีโอ ใช้ปริมาณหรือหน่วยความจำมาก ต้องส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง

** ในการสื่อสารแต่ละวิธีจะมีรูปแบบของการส่งข่าวสารที่แตกต่างกันออกไป เช่น การสื่อสารโทรคมนาคม สามารถส่งข่าวสารได้ทั้งภาพ เสียง ข้อความ

6. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium) สื่อกลางเป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อกลางดังกล่าวอาจจะเป็นเส้นลวด สายไฟ สายไฟเบอร์
ออปติก เช่น คลื่นไมโครเวฟ ดาวเทียม หรือคลื่นวิทยุ

7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง

ตอบ
แบบทิศทางเดียว (Simplex) ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางโดยไม่สามารถส่งย้อนกลับมาได้ เช่น ระบบวิทยุ หรือโทรทัศน์

7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง

ตอบ
แบบสองทิศทาง (Full Duplex) ข้อมูลสามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้งสองทิศทางอย่างอิสระ เช่น ระบบ



ที่มา //202.143.128.66/~webm652/media/unit_old/commu/page2.htm
//cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/sub%20net1.htm


โดย: นายนิรัช วิจิตรกุล ม.1(พิเศษ) พฤ.ค่ำ 52240427117 IP: 117.47.10.111 วันที่: 24 กรกฎาคม 2552 เวลา:4:13:42 น.  

 
ตรวจแล้ว (ครั้งที่ 1)


โดย: อ.น้ำผึ้ง (neaup ) วันที่: 24 กรกฎาคม 2552 เวลา:8:46:06 น.  

 
7.1. องค์ประก1.1 องค์ประกอบพื้นฐานในการสื่อสารข้อมูล
องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ส่วนแสดงดังรูปที่ 1



รูปที่ 1 องค์ประกอบการสื่อสาร
1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นแหล่งต้นทางของการสื่อสารโดยมีหน้าที่ในการให้กำเนิดข้อมูล หรือเตรียมข้อมูล เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ต้นทาง เป็นต้น
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นแหล่งปลายทางของการสื่อสาร หรือเป็นอุปกรณ์สำหรับข้อมูลที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ดำเนินการต่อไป เช่น ผู้รับ คอมพิวเตอร์ปลายทาง เครื่องพิมพ์
3. ข่าวสาร (Massage) เป็นตัวเนื้อหาของข้อมูล ซึ่งมีได้หลายรูปแบบดังนี้ คือ
- ข้อความ (Text) ข้อมูลที่อยู่ในรูปอักขระ หรือเอกสาร เช่น ข้อความในหนังสือ เป็นต้น
- เสียง (Voice) ข้อมูลเสียงที่แหล่งต้นทางสร้างขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นเสียงที่มนุษย์หรืออุปกรณ์บางอย่างเป็นตัวสร้างก็ได้
- รูปภาพ (Image) เป็นข้อมูลที่ไม่เหมือนข้อความตัวอักษรที่เรียงติดต่อกัน แต่จะมีลักษณะเหมือนรูปภาพ เช่น การสแกนภาพเข้าคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลรูปภาพกับข้อมูลข้อความ แล้วรูปภาพจะมีขนาดใหญ่กว่า
- สื่อผสม (Multimedia) ข้อมูลที่ผสมลักษณะของทั้งรูปภาพ เสียงและข้อความเข้าด้วยกัน โดยสามารถเคลื่อนไหวได้ เช่น การเรียนผ่านระบบ VDO conference เป็นต้น โดยข้อมูลจะมีขนาดใหญ่มาก
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium) เป็นสื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มีสายสัญญาณ เช่น สายไฟ หรือตัวกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น อากาศ เป็นต้น
5. โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง


โดย: น.ส วนิดา ปัตตานี เช้าวันศุกร์ หมู่15 IP: 172.29.5.133, 202.29.5.62 วันที่: 26 กรกฎาคม 2552 เวลา:17:27:11 น.  

 
7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา ตัวอ1. การสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว (Simplex Transmission) เป็นการติดต่อสื่อสารเพียงทิศทางเดียว คือผู้ส่งจะส่งข้อมูลเพียงฝั่งเดียวและโดยฝั่งรับไม่มีการตอบกลับ เช่น การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ การส่ง e-mail โทรทัศน์ เป็นต้น แสดงดังรูปที่



รูปที่ 2 แสดงการสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว
ย่าง


โดย: น.ส วนิดา ปัตตานี เช้าวันศุกร์ หมู่15 IP: 172.29.5.133, 202.29.5.62 วันที่: 26 กรกฎาคม 2552 เวลา:17:31:31 น.  

 
.73. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง. การสื่อสารข้อมูลสองทิศทางสลับกัน (Half Duplex Transmission) เป็นการสื่อสาร 2 ทิศทางแต่คนละเวลากัน เช่น วิทยุสื่อสาร ระบบโทรศัพท์เป็นต้น แสดงดังรูปที่ 3



รูปที่ 3 แสดงการสื่อสารข้อมูลสองทิศทางสลับกัน


โดย: น.ส วนิดา ปัตตานี เช้าวันศุกร์ หมู่15 IP: 172.29.5.133, 202.29.5.62 วันที่: 26 กรกฎาคม 2552 เวลา:17:37:25 น.  

 
องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล

ผู้ส่ง
ผู้รับ
ช่องทางการสื่อสาร
protocal


โดย: นายนิติธรรม เช้าพฤหัส หมู่ 08 IP: 1.1.1.110, 202.29.5.62 วันที่: 26 กรกฎาคม 2552 เวลา:22:33:08 น.  

 
7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง

โทรทัศน์
แชท


โดย: นายนิติธรรม พฤหัสเช้า หมู่ 08 IP: 1.1.1.110, 202.29.5.62 วันที่: 26 กรกฎาคม 2552 เวลา:22:38:12 น.  

 
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง
ตอบ 1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)
เป็นต้นทางการสื่อสาร มีหน้าที่เตรียมข้อมมูลข่าวสารเพื่อจัดส่ง
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล(Receiver)
เป็นปลายทางของการสื่อสารข้อมูล มีหน้าที่รับส่งข้อมูลข่าวสารที่ผู้ส่งจัดส่งมาให้
3. สื่อกลาง(Medium)
เป็นเส้นทางการสื่อสาร เพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อกลางการสื่อสารนี้ อาจเป็นเส้นลวดทองแดง สายเคเบิล
สายใยแก้วนำแสง หรือคลื่นต่างๆ ที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไม่โครเวฟ คลื่นวิทยุ
4.ข่าวสาร(Massage)
เป็นสัญญานที่ใช้ส่งผ่านไปในสื่อกลาง แบ่งออกเป็น 4รูปแบบ ดังนี้คือ
1. เสียง
2. ข้อมูล
3. ข้อความ
4. รูปภาพ
5. โปรโตรคอล(Protocol)
หมายถึงกฎระเบียบหรือข้อตกลงที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจหรือพูดคุยกันได้

ที่มา //comschool.site40.net/data1.htm

7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ 1. แบบทิศทางเดียว (Simplex หรือ One-Way) ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางหนึ่ง โดยไม่สามารถย้อนกลับมาได้ เช่น ระบบวิทยุ ระบบโทรทัศน์ การส่งอีเมล เป้นต้น

7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ แบบสองทิศทาง (Full Duplex หรือ Both-Way) ข้อมูลสามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้ง 2 ทิศทางอย่างอิสระ เช่น ระบบโทรศัพท์ การChat Online



โดย: นายนิติธรรม พฤหัส เช้า หมู่ 08 IP: 1.1.1.208, 58.147.7.66 วันที่: 27 กรกฎาคม 2552 เวลา:23:26:53 น.  

 
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้

1. ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ
ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2. ผู้รับข่าวสาร หรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร
หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่ การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ
จุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง
3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน
ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้
วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น
เครือข่ายการสื่อสารข้อมูล
หมายถึง การรับส่งข้อมูลหรือสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยระบบการส่งข้อมูล ทางคลื่นไฟฟ้าหรือแสง อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปเรียกว่า
ข่ายการสื่อสารข้อมูล (Data Communication Networks)

องค์ประกอบพื้นฐาน

หน่วยส่งข้อมูล (Sending Unit)
ช่องทางการส่งข้อมูล (Transmisstion Channel)
หน่วยรับข้อมูล (Receiving Unit)
วัตถุประสงค์หลักของการนำการสื่อการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในองค์การประกอบด้วย
เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล
เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
เพื่อลดเวลาการทำงาน
เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร
เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ
เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การ

ที่มาCopyright by Passkorn Roungrong
//www.thaiwbi.com/course/data_com/index2.html

7.2จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2
ตัวอย่าง

1.การไหลของน้ำออกทางท่อประปา
2.การถ่ายทอดข้อมูลราคาซื้อ-ขายหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ที่มา
//www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php

7.3 จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ
การสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทาง (Full Duplex) เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลที่สามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้ง 2 ทิศทาง ในเวลาเดียวกัน เช่น การคุยผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ( เช่น msn , qq ) , ระบบโทรศัพท์

ที่มา //www.phcpl.com/ch/teleputer/itsection2/itsection2.htm


โดย: นางสาวสุพัตรา ธรรมสาร(หมู่15ศ.เช้า) IP: 222.123.62.82 วันที่: 28 กรกฎาคม 2552 เวลา:0:07:44 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง
ตอบ 9. การเผยแพร่ (Dissminating and Reproducting) คือ การเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่าง ๆ ทำในแบบเอกสารหรือรายงาน หรือการเสนอบนจอภาพโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้



โดย: นายนิติธรรม พฤหัส เช้า หมู่ 08 IP: 1.1.1.208, 58.147.7.66 วันที่: 28 กรกฎาคม 2552 เวลา:1:01:41 น.  

 

แบบฝึกหัด
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง
ตอบ.มี 5 ส่วน คือ
1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นแหล่งต้นทางของการสื่อสารโดยมีหน้าที่ในการให้กำเนิดข้อมูล หรือเตรียมข้อมูล เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ต้นทาง เป็นต้น
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นแหล่งปลายทางของการสื่อสารหรือเป็นอุปกรณ์สำหรับข้อมูลที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ดำเนินการต่อไป เช่น ผู้รับ คอมพิวเตอร์ปลายทาง เครื่องพิมพ์
3. ข่าวสาร (Massage) เป็นตัวเนื้อหาของข้อมูล ซึ่งมีได้หลายรูปแบบดังนี้ คือ
- ข้อความ (Text) ข้อมูลที่อยู่ในรูปอักขระ หรือเอกสาร เช่น ข้อความในหนังสือ เป็นต้น
- เสียง (Voice) ข้อมูลเสียงที่แหล่งต้นทางสร้างขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นเสียงที่มนุษย์หรืออุปกรณ์บางอย่างเป็นตัวสร้างก็ได้
- รูปภาพ (Image) เป็นข้อมูลที่ไม่เหมือนข้อความตัวอักษรที่เรียงติดต่อกัน แต่จะมีลักษณะเหมือนรูปภาพ เช่น การสแกนภาพเข้าคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลรูปภาพกับข้อมูลข้อความ แล้วรูปภาพจะมีขนาดใหญ่กว่า
- สื่อผสม (Multimedia) ข้อมูลที่ผสมลักษณะของทั้งรูปภาพ เสียงและข้อความเข้าด้วยกัน โดยสามารถเคลื่อนไหวได้ เช่น การเรียนผ่านระบบ VDO conference เป็นต้น โดยข้อมูลจะมีขนาดใหญ่มาก
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium) เป็นสื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มีสายสัญญาณ เช่น สายไฟ หรือตัวกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น อากาศ เป็นต้น
5. โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน

7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ1.โทรทัศน์
2.วิทยุ
7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ1.โทรศัพท์
2.shat

ที่มา
ี่//dusithost.dusit.ac.th/~librarian/myweb/book108_48/108_ch3_Comunication%20&%20Network.doc
Last Updated ( Monday, 02 April 2007 )


โดย: นาย สุระทิน ใจใส หมู่ 15 ศุกร์เช้า รหัส 52041151202 IP: 1.1.1.188, 58.137.131.62 วันที่: 28 กรกฎาคม 2552 เวลา:18:53:41 น.  

 
ึ7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง
ตอบ มี 5 ส่วน คือ
1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นแหล่งต้นทางของการสื่อสารโดยมีหน้าที่ในการให้กำเนิดข้อมูล หรือเตรียมข้อมูล เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ต้นทาง เป็นต้น
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นแหล่งปลายทางของการสื่อสาร หรือเป็นอุปกรณ์สำหรับข้อมูลที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ดำเนินการต่อไป เช่น ผู้รับ คอมพิวเตอร์ปลายทาง เครื่องพิมพ์
3. ข่าวสาร (Massage) เป็นตัวเนื้อหาของข้อมูล ซึ่งมีได้หลายรูปแบบดังนี้ คือ
- ข้อความ (Text) ข้อมูลที่อยู่ในรูปอักขระ หรือเอกสาร เช่น ข้อความในหนังสือ เป็นต้น
- เสียง (Voice) ข้อมูลเสียงที่แหล่งต้นทางสร้างขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นเสียงที่มนุษย์หรืออุปกรณ์บางอย่างเป็นตัวสร้างก็ได้
- รูปภาพ (Image) เป็นข้อมูลที่ไม่เหมือนข้อความตัวอักษรที่เรียงติดต่อกัน แต่จะมีลักษณะเหมือนรูปภาพ เช่น การสแกนภาพเข้าคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลรูปภาพกับข้อมูลข้อความ แล้วรูปภาพจะมีขนาดใหญ่กว่า
- สื่อผสม (Multimedia) ข้อมูลที่ผสมลักษณะของทั้งรูปภาพ เสียงและข้อความเข้าด้วยกัน โดยสามารถเคลื่อนไหวได้ เช่น การเรียนผ่านระบบ VDO conference เป็นต้น โดยข้อมูลจะมีขนาดใหญ่มาก
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium) เป็นสื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มีสายสัญญาณ เช่น สายไฟ หรือตัวกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น อากาศ เป็นต้น
5. โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน

7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ 1.โทรทัศน์
2.วิทยุ

7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ 1.โทรศัพท์
2.shat

ที่มา
ttp://dusithost.dusit.ac.th/~librarian/myweb/book108_48/108_ch3_Comunication%20&%20Network.doc
Last Updated ( Monday, 02 April 2007 )




โดย: นาย สุระทิน ใจใส หมู่ 15 ศุกร์เช้า รหัส 52041151202 IP: 1.1.1.188, 58.137.131.62 วันที่: 28 กรกฎาคม 2552 เวลา:19:03:14 น.  

 
7.1 หน่วยส่งข้อมูล ช่องทางการสื่อสาร หน่วยรับข้อมูล
7.2 ระบบวิทยุ ระบบโทรทัศน์
7.3 ระบบโทรศัพท์ การchat online


โดย: จิรวรรณ คนไว IP: 172.29.5.133, 202.29.5.62 วันที่: 29 กรกฎาคม 2552 เวลา:9:19:02 น.  

 
//oho.ipst.ac.th/Bookroom/snet1/network/it/index.html
7.1 หน่วยส่งข้อมูล ช่องทางการสื่อสาร หน่วยรับข้อมูล
7.2 ระบบวิทยุ ระบบโทรทัศน์
7.3 ระบบโทรศัพท์ การchat online


โดย: จิรวรรณ คนไว หมู่29 IP: 172.29.5.133, 202.29.5.62 วันที่: 29 กรกฎาคม 2552 เวลา:9:40:09 น.  

 
7.1องค์ประกอบพื้นฐานสื่อสารข้อมูล คือ
1. ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ
ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2. ผู้รับข่าวสาร หรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร
หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่ การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ
จุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง
. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน
ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้
วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น

7.2การสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียว คือ
1.ระบบวิทยุ
2.โทรทัศน์

7.3การสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทาง คือ
1.ระบบโทรศัพท์
2.วิทยุสื่อสาร


โดย: นางสาวชไมพร ตะโคตร 52040422103 ม.29 IP: 172.29.5.133, 58.137.131.62 วันที่: 29 กรกฎาคม 2552 เวลา:9:55:50 น.  

 
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง
การสื่อสารข้อมูล (Data Communication)

องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบ
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้

1. ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ
ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2. ผู้รับข่าวสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร
หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่ การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ
จุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง



3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน
ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้
วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น

ข่ายการสื่อสารข้อมูล
หมายถึง การรับส่งข้อมูลหรือสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยระบบการส่งข้อมูล ทางคลื่นไฟฟ้าหรือแสง อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปเรียกว่า
ข่ายการสื่อสารข้อมูล (Data Communication Networks)

องค์ประกอบพื้นฐาน

หน่วยส่งข้อมูล (Sending Unit)
ช่องทางการส่งข้อมูล (Transmisstion Channel)
หน่วยรับข้อมูล (Receiving Unit)
วัตถุประสงค์หลักของการนำการสื่อการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในองค์การประกอบด้วย
เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล
เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
เพื่อลดเวลาการทำงาน
เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร
เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ
เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การ



//dek-d.com/board/view.php?id=604138


โดย: น.ส ผกาพรรณ หงษ์ทอง หมู่1 จันทร์-บ่าย IP: 124.157.146.74 วันที่: 29 กรกฎาคม 2552 เวลา:18:15:03 น.  

 
7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
.การไหลของน้ำออกทางท่อประปา
.ระบบวิทยุ ระบบโทรทัศน์ การส่งอีเมล เป้นต้น



ttp://dusithost.dusit.ac.th/~librarian/myweb/book108_48/108_ch3_Comunication%20&%20Network.doc


โดย: น.สผกาพรรณ หงษ์ทอง หทู่ 1 จันทร์-บ่าย IP: 124.157.146.74 วันที่: 29 กรกฎาคม 2552 เวลา:18:19:10 น.  

 
7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง
วิทยุสื่อสารแบบผลัดกันพูด
ระบบโทรศัพท์

//www.sawi.ac.th/elearning/networks/page1.htm


โดย: น.สผกาพรรณ หงษ์ทอง หมู่ 1 จันทร์-บ่าย IP: 124.157.146.74 วันที่: 29 กรกฎาคม 2552 เวลา:18:22:50 น.  

 
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง

การสื่อสารข้อมูล (Data Communication)

การสื่อสารข้อมูล (Data Communications) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน

วิธีการส่งข้อมูล จะแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณ หรือรหัสเสียก่อนแล้วจึงส่งไปยังผู้รับ และเมื่อถึงปลายทางหรือผู้รับก็จะต้องมีการแปลงสัญญาณนั้น กลับมาให้อยู่ในรูปที่มนุษย์ สามารถที่จะเข้าใจได้ ในระหว่างการส่งอาจจะมีอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นก็คือ สิ่งรบกวน (Noise) จากภายนอกทำให้ข้อมูลบางส่วนเสียหาย หรือผิดเพี้ยนไปได้ซึ่งระยะทางก็มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้วยเพราะถ้าระยะทางในการส่งยิ่งมากก็อาจจะทำให้เกิดสิ่งรบกวนได้มากเช่นกัน จึงต้องมีหาวิธีลดสิ่งรบกวน
เหล่านี้ โดยการพัฒนาตัวกลางในการสื่อสารที่จะทำให้เกิดการรบกวนน้อยที่สุด

องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบ

องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้
1. ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ
ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2. ผู้รับข่าวสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใด
ที่การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ จุดหมายปลายทางไม่ได้รับ
ข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง
3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลง
ความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่าง ผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์ มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้ วงจรกรอง (filter)
กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น
7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง






โดย: นายวิทวัฒน์ พากุล ม. 29 เช้า 52040255102 IP: 124.157.144.3 วันที่: 30 กรกฎาคม 2552 เวลา:12:43:26 น.  

 
แบบฝึกหัด
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง
7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง

7.1 องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล ได้แก่

1. Source system คือ ระบบผู้ส่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ส่งข่าวสาร
2. Destination system คือ ระบบผู้รับเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข่าวสาร
3. Transmission system คือ ระบบที่เป็นสื่อกลางเชื่อมผู้และผู้รับ

7.2 แบบทิศทางเดียว (Simplex) ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางโดยไม่สามารถส่งย้อนกลับมาได้ เช่น ระบบวิทยุ หรือโทรทัศน์
การส่งข้อมูลหรือข่าวสารระหว่างจุดสองจุดที่ไม่มีสายตัวนำต่อ เชื่อมกัน การส่งสัญญาณข้อมูลโดยคลื่นวิทยุนั้นจำเป็นจะต้องใช้ตัวพา (Carrier) โดยที่สัญญาณข้อมูลจะ ขี่บนตัวพาไป ตัวพามักจะใช้สัญญาณรูปไซน์ (sinusoidal signal) ซึ่งเขียนได้เป็น Asin (๒(...)ft + ๐) โดยที่ A คือ แอมปลิจูดบอกถึงความแรงของสัญญาณ f เป็นความถี่ และ ๐ คือ เฟส (phase) ขบวนการที่ทำให้ ข้อมูลขี่บนตัวพานั้นเรียกว่า มอดดูเลชั่น (modulation) หรือการมอดดูเลต ซึ่งกระทำได้สามวิธีคือ มอดดูเลชั่นบนแอมปลิจูด (Amplitude Modulation) หรือเอเอ็ม (AM) มอดดูเลชั่นบนความถี่ (Frequency Modulation) หรือเอฟเอ็ม (FM) และมอดดูเลชั่นบนเฟส (Phase Modulation) หรือพีเอ็ม (PM) ในระบบ เอเอ็มนั้น สัญญาณข้อมูลจะขี่บนแอมปลิจูดของตัวพา กล่าวคือ แอมปลิจูดของตัวพาจะมีค่าเปลี่ยนไปตามค่า ของสัญญาณข้อมูลและในระบบเอฟเอ็มนั้น สัญญาณข้อมูลจะขี่ไปบนความถี่ของตัวพา กล่าวคือ ความถี่ของตัว พาจะมีค่าแปรเปลี่ยนไปตามค่าของสัญญาณข้อมูล ส่วนระบบพีเอ็มนั้นเฟสของตัวพาจะแปรเปลี่ยนตามค่าของ สัญญาณข้อมูล ระบบเอฟเอ็มและพีเอ็มมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดเนื่องจากความถี่และเฟสมีความเกี่ยว ข้องกัน
สถานีวิทยุกระจายเสียงต่างๆ และสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ จะใช้ความถี่ของตัวพาที่แตกต่างกันออกไป เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณรบกวนกัน เมื่อสถานีวิทยุกระจายเสียงประกาศว่ากระจายเสียงด้วยความถี่ ๘๙.๕ เมกะเฮิรตซ์ หมายความว่า ตัวพานั้นใช้ความถี่ ๘๙.๕ เมกะเฮิรตซ์ วิทยุกระจายเสียงปัจจุบันจะเป็นแบบ เอเอ็มหรือเอฟเอ็ม

ในระบบโทรศัพท์มือถือนั้น พื้นที่ที่อยู่ในเขตบริการได้ถูกแบ่งเป็นเซลล์ (cell) แต่ละเซลล์จะมี สถานีฐาน (base station) ทำหน้าที่ติดต่อกับผู้ใช้ภายในเซลล์นั้น การสื่อสารระหว่างผู้ใช้กับสถานีฐาน ใช้คลื่นวิทยุ ความถี่ที่ผู้ใช้ส่งไปยังสถานีฐาน กับความถี่ที่สถานีฐานส่งให้ผู้ใช้จะอยู่คนละแถบกัน ส่วนการติดต่อระหว่างสถานีฐานกันเอง หรือระหว่างสถานีฐานกับเครือข่ายโทรศัพท์พื้นฐาน ก็อาศัยเครือ ข่ายโทรศัพท์ที่มีอยู่แล้ว หรือสร้างเพิ่มเติม เมื่อผู้ใช้เคลื่อนที่จากเซลล์หนึ่งไปอีกเซลล์หนึ่ง สถานีฐานเดิมก็จะส่งมอบให้สถานีฐานใหม่รับช่วงในการติดต่อกับผู้ใช้ต่อไป ถ้าหากเซลล์ใหม่มีผู้ใช้ จำนวนมากจนเต็มช่องสัญญาณแล้ว ผู้ใช้รายใหม่ที่เพิ่งเข้ามาในเซลล์ก็จะไม่มีช่องสัญญาณใช้ ทำให้ถูก ตัดขาดหายไป บทสนทนาที่กำลังดำเนินอยู่ก็จะยุติโดยกระทันหัน
ระบบมือถือแบบแอนะล็อกและแบบดิจิตอล ระบบมือถือแบบแอนะล็อกจะใช้การส่งสัญญาณแบบเอฟเอ็ม ในระบบมือถือแบบดิจิตอลนั้น การส่งสัญญาณระหว่างชุมสายกับผู้ใช้จะส่งแบบดิจิตอล โดยที่เสียงพูดจะถูก นำไปเข้าเครื่องสร้างรหัส (coder) เครื่องสร้างรหัสนี้จะแบ่งเสียงพูดเป็นช่วงๆ ช่วงละประมาณ ๐.๐๒ วินาที แล้วดึงเอาค่าสำคัญ (ดังเช่น ความถี่ เสียงสูงต่ำ) ของเสียงพูดแต่ละช่วงออกมา ค่าสำคัญเหล่า นี้จะถูกแปลงเป็นสัญญาณไบนารี ในปัจจุบันเครื่องสร้างรหัสสำหรับเสียงพูดจะให้สัญญาณไบนารีประมาณ ๘,๐๐๐-๑๓,๐๐๐ บิทต่อวินาที หลังจากที่สัญญาณได้รับที่สถานีฐานแล้ว ก็จะถูกถอดรหัส ก่อนที่จะถูกส่ง ไปตามเครือข่ายโทรศัพท์ไปยังจุดหมายปลายทาง

7.3 แบบกึ่งสองทิศทาง (Half Duplex) ข้อมูลสามารถส่งสลับกันได้ทั้งสองทิศทาง โดยต้องผลัดกันส่งครั้งละทิศทางเท่านั้น เช่น วิทยุสื่อสารแบบผลัดกันพูด
4.3.3 การถ่ายทอดสัญญาณแบบสองทิศทางสมบูรณ์
การถ่ายทอดสัญญาณแบบสองทิศทางสมบูรณ์ (Full-Duplex Transmission) ยินยอมให้ทั้งฝ่ายผู้ส่งและผู้รับข้อมูลสามารถส่งข้อมูลไปยังอีกฝ่ายหนึ่งได้ตลอดเวลา วิธีการนี้จึงใช้ประโยชน์จากการสื่อสารข้อมูลอย่างเต็มที่ แต่มีข้อจำกัดคือเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีความสามารถในการรับและส่งข้อมูลได้อย่างเต็มที่ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้สื่อที่เลือกใช้ก็จะต้องมีช่องสื่อสารสองช่อง ช่องหนึ่งสำหรับส่งข้อมูลและอีกช่องหนึ่งสำหรับรับข้อมูล ช่องสื่อสารแบบ RS-232 สามารถรองรับการทำงานแบบนี้ได้เพราะมีขาเชื่อมต่อสำหรับการสื่อสารอยู่สองชุดที่แยกจากกัน โมเด็มที่ทำงานแบบสองทิศทางสมบูรณ์ได้จะต้องได้รับมาตรฐาน CCITT V.32 และ CCITT V.34 เช่นระบบโทรศัพท์เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสื่อสารที่เกิดขึ้นทั้งแบบกึ่งสองทิศทางและแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ในกรณีที่ใช้โทรศัพท์ ภายในเขตเมืองเดียวกัน (รหัสเมืองเหมือนกัน) จะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ดังนั้นผู้ใช้โทรศัพท์ ทั้งสองฝ่ายสามารถที่จะพูดออกมาพร้อม ๆ กัน เสียงพูดของแต่ละฝ่ายจะไปดังที่โทรศัพท์ของอีก ฝ่ายหนึ่ง แม้ว่าในทางปฏิบัติอาจจะไม่มีใครทำอย่างนี้แต่ก็สามารถทำได้อย่างแน่นอน
การส่งสัญญาณในระบบโทรศัพท์ทางไกลแม้ว่าตัวระบบเองจะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์แต่จะทำงานเป็นแบบกึ่งสองทิศทาง ระบบโทรศัพท์ทั่วไปจะมีสัญญาณสะท้อนกลับ (Echo) เกิดขึ้นเสมอเนื่องจากเสียงผู้พูดฝ่ายหนึ่งที่ไปถึงอีกฝ่ายหนึ่งจะทำให้เกิดการส่งสัญญาณสะท้อนกลับมาโดยไม่ได้ตั้งใจ ถ้าเป็นโทรศัพท์ภายในเขตจังหวัดเดียวกันหรือทางไกลภายในประเทศ สัญญาณสะท้อนกลับจะเกิดขึ้นเร็วมาก เนื่องจากระยะทางสั้น และซ้อนทับกับเสียงของผู้พูด จนกระทั่งไม่สามารถแยกเสียงจริงและเสียงสะท้อนออกจากกันได้ แต่ถ้าเป็นโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ สัญญาณสะท้อนกลับจะเกิดขึ้นช้ากว่า เพราะระยะทางไกลมาก ทำให้สามารถแยกความแตกต่างออกจากกันได้ คือผู้พูดจะได้ยินเสียงตัวเองภายหลังจากตัวเองที่หยุดพูด เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ระบบโทรศัพท์ต้องใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องตัดเสียงสะท้อน (Echo Suppressor) อุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่คอยเปิด-ปิดช่องสัญญาณในระหว่างการสนทนาเพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณสะท้อน ย้อนกลับไปยังผู้พูด เนื่องจากอุปกรณ์นี้ทำงานโดยใช้เสียงผู้พูดเป็นตัวกระตุ้นเพื่อปิดช่องสื่อสารของผู้ฟัง จึงทำให้ผู้ฟังไม่สามารถพูดสวนกลับไปได้ในเวลาเดียวกัน ผลที่เกิดขึ้นจึงทำให้ระบบการสื่อสารนี้กลายเป็นแบบกึ่งสองทิศทาง
//www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php


โดย: สุจิตรา มหาฤทธิ์ 51040305111 สาขาภาษาอังกฤษธุรกิจ หมู่ 01 จันทร์บ่าย IP: 172.29.5.133, 58.137.131.62 วันที่: 30 กรกฎาคม 2552 เวลา:17:51:37 น.  

 
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง

1. ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ
ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2. ผู้รับข่าวสาร หรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร
หรือ แหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่ การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ
จุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง
3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อ ความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน
ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าว สารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าว สารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้
วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น


7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง

1. การสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว (Simplex Transmission) เป็นการติดต่อสื่อสารเพียงทิศทางเดียว คือผู้ส่งจะส่งข้อมูลเพียงฝั่งเดียวและโดยฝั่งรับไม่มีการตอบกลับ เช่น การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ การส่ง e-mail เป็นต้น

2.แบบทิศทางเดียวหรือซิมเพล็กซ์ (One-way หรือ Simplex)
เป็นการส่งข้อมูลในทิศทางเดียว คือข้อมู่ลถูกส่งไปในทางเดียว เช่น สถานีวิทยุกระจายเสียง การแพร่ภาพทางโทรทัศน์


7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง

1)การถ่ายทอดสัญญาณแบบกึ่งสองทิศทาง
การถ่ายทอดสัญญาณแบบกึ่งสองทิศทาง (Half-duplex Transmission) ยินยอมให้ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้และผู้รับก็สามารถส่งข้อมูล กลับมายังผู้ส่งข้อมูลได้เช่นกัน แต่มีเงื่อนไขว่าทั้งผู้ส่งและผู้รับจะส่งข้อมูลพร้อมกันไม่ได้ ตัวอย่างได้แก่ การใช้วิทยุสื่อสารของตำรวจ หรือวิทยุ สื่อสารใช้งานทั่วไป (CB Radio) ผู้พูดสามารถพูดไปอีกฝ่ายหนึ่งได้ แต่จะพูดพร้อมกันไม่ได้ คือในขณะที่ฝ่ายหนึ่งเป็นผู้พูด อีกฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นผู้ฟัง ในระบบนี้ไม่มีการบังคับอย่างชัดเจนว่าฝ่ายใดจะพูด ดังนั้นในการใช้งานจริงจึงต้องอาศัยประสบการณ์ของผู้ใช้งานเป็นสำคัญมิ ฉะนั้นก็อาจจะมีแต่ผู้พูดไม่มีใครยอมเป็นผู้ฟัง ในการสื่อสารข้อมูล จะไม่เกิดการแย่งกันส่งข้อมูลเด็ดขาดเนื่องจากการสื่อสารจะต้องมีโพรโทคอ ลหรือกฎการสื่อสารข้อมูลเป็นตัวบังคับ
2) การถ่ายทอดสัญญาณแบบสองทิศทางสมบูรณ์
การถ่ายทอดสัญญาณแบบสองทิศทางสมบูรณ์ (Full-Duplex Transmission) ยินยอมให้ทั้งฝ่ายผู้ส่งและผู้รับข้อมูลสามารถส่งข้อมูลไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ได้ตลอดเวลา วิธีการนี้จึงใช้ประโยชน์จากการสื่อสารข้อมูลอย่างเต็มที่ แต่มีข้อจำกัดคือเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีความสามารถในการรับและส่งข้อมูล ได้อย่างเต็มที่ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้สื่อที่เลือกใช้ก็จะต้องมีช่องสื่อสารสองช่อง ช่องหนึ่งสำหรับส่งข้อมูลและอีกช่องหนึ่งสำหรับรับข้อมูล ช่องสื่อสารแบบ RS-232 สามารถรองรับการทำงานแบบนี้ได้เพราะมีขาเชื่อมต่อสำหรับการสื่อสารอยู่สอง ชุดที่แยกจากกัน โมเด็มที่ทำงานแบบสองทิศทางสมบูรณ์ได้จะต้องได้รับมาตรฐาน CCITT V.32 และ CCITT V.34 เช่นระบบโทรศัพท์เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสื่อสารที่เกิดขึ้นทั้งแบบกึ่งสอง ทิศทางและแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ในกรณีที่ใช้โทรศัพท์ ภายในเขตเมืองเดียวกัน (รหัสเมืองเหมือนกัน) จะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ดังนั้นผู้ใช้โทรศัพท์ ทั้งสองฝ่ายสามารถที่จะพูดออกมาพร้อม ๆ กัน เสียงพูดของแต่ละฝ่ายจะไปดังที่โทรศัพท์ของอีก ฝ่ายหนึ่ง แม้ว่าในทางปฏิบัติอาจจะไม่มีใครทำอย่างนี้แต่ก็สามารถทำได้อย่างแน่นอน


ที่มา //www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php

//www.vcharkarn.com/vcafe/81178
//www.hs1an.org/index.php?option=com_content&task=view&id=551&Itemid=31
//blog.eduzones.com/offy/3872?page2=16&page=&page3=





โดย: นายวิทวัฒน์ พากุล 52040255102 ม. 29 เช้า IP: 192.168.1.108, 113.53.175.235 วันที่: 30 กรกฎาคม 2552 เวลา:19:05:10 น.  

 
แบบฝึกหัด
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง
ตอบ

1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver)
3. ข่าวสาร (Message)
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium)
5. โปรโตคอล (Protocol)

7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ
1. การสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว (Simplex Transmission) เป็นการติดต่อสื่อสารเพียงทิศทางเดียว คือผู้ส่งจะส่งข้อมูลเพียงฝั่งเดียวและโดยฝั่งรับไม่มีการตอบกลับ เช่น การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ การส่ง e-mail เป็นต้น
Simplex Communication เปรียบเสมือนรถยนต์ที่วิ่งไปบนถนนวันเวย์ การเดินทางของข้อมูลจะไปในทิศทางเดียวเท่านั้น ระบบการสื่อสารข้อมูลนี้จะใช้ไม่บ่อยนัก ตัวอย่าง มันอาจจะถูกใช้เป็น
จุดที่นำข้อมูลนั้นไปสู่ปลายทางเท่านั้น




รูป แสดงการสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว


7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง

ตอบ
2.การสื่อสารข้อมูลสองทิศทางสลับกัน (Half Duplex Transmission) เป็นการสื่อสาร 2 ทิศทางแต่คนละเวลากัน เช่น วิทยุสื่อสาร เป็นต้น




รูป แสดงการสื่อสารข้อมูลสองทิศทางสลับกัน

Half-duplex Communication ข้อมูลนั้นไหลได้ทั้งสองทิศทาง แต่ไม่พร้อมกัน นั่นคือ การไหลของข้อมูลไปในทิศทางเดียวในเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น เปรียบเสมือนการจราจร
บนสะพานที่มีช่องทางเดียว Half-duplex ที่ใช้เป็นส่วนมากหรือบ่อย ๆ ในการเชื่อมต่อ
คอมพิวเตอร์ของคุณผ่านสายโทรศัพท์กับคอมพิวเตอร์อื่น ๆ มินิคอมพิวเตอร์ และเมนเฟรม ดังนั้นเมื่อคุณหมุนเข้าไปในกระดานข้อความอิเล็กโทรนิคผ่านคอมพิวเตอร์ของคุณนั้น
อาจจะกำลังใช้การสื่อสารแบบ Half-duplex อยู่ก็ได้







โดย: จิราพรรณ สุวรรณไตร IP: 1.1.1.84, 58.147.7.66 วันที่: 30 กรกฎาคม 2552 เวลา:19:11:08 น.  

 
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง
ตอบ
องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ส่วนแสดงดังรูปที่ 1



รูปที่ 1 องค์ประกอบการสื่อสาร
1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นแหล่งต้นทางของการสื่อสารโดยมีหน้าที่ในการให้กำเนิดข้อมูล หรือเตรียมข้อมูล เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ต้นทาง เป็นต้น
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นแหล่งปลายทางของการสื่อสาร หรือเป็นอุปกรณ์สำหรับข้อมูลที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ดำเนินการต่อไป เช่น ผู้รับ คอมพิวเตอร์ปลายทาง เครื่องพิมพ์
3. ข่าวสาร (Massage) เป็นตัวเนื้อหาของข้อมูล ซึ่งมีได้หลายรูปแบบดังนี้ คือ
- ข้อความ (Text) ข้อมูลที่อยู่ในรูปอักขระ หรือเอกสาร เช่น ข้อความในหนังสือ เป็นต้น
- เสียง (Voice) ข้อมูลเสียงที่แหล่งต้นทางสร้างขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นเสียงที่มนุษย์หรืออุปกรณ์บางอย่างเป็นตัวสร้างก็ได้
- รูปภาพ (Image) เป็นข้อมูลที่ไม่เหมือนข้อความตัวอักษรที่เรียงติดต่อกัน แต่จะมีลักษณะเหมือนรูปภาพ เช่น การสแกนภาพเข้าคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลรูปภาพกับข้อมูลข้อความ แล้วรูปภาพจะมีขนาดใหญ่กว่า
- สื่อผสม (Multimedia) ข้อมูลที่ผสมลักษณะของทั้งรูปภาพ เสียงและข้อความเข้าด้วยกัน โดยสามารถเคลื่อนไหวได้ เช่น การเรียนผ่านระบบ VDO conference เป็นต้น โดยข้อมูลจะมีขนาดใหญ่มาก
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium) เป็นสื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มีสายสัญญาณ เช่น สายไฟ หรือตัวกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น อากาศ เป็นต้น
5. โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน

7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ
1. การสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว (Simplex Transmission) เป็นการติดต่อสื่อสารเพียงทิศทางเดียว คือผู้ส่งจะส่งข้อมูลเพียงฝั่งเดียวและโดยฝั่งรับไม่มีการตอบกลับ เช่น การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ การส่ง e-mail เป็นต้น
Simplex Communication เปรียบเสมือนรถยนต์ที่วิ่งไปบนถนนวันเวย์ การเดินทางของข้อมูลจะไปในทิศทางเดียวเท่านั้น ระบบการสื่อสารข้อมูลนี้จะใช้ไม่บ่อยนัก ตัวอย่าง มันอาจจะถูกใช้เป็น
จุดที่นำข้อมูลนั้นไปสู่ปลายทางเท่านั้น




รูป แสดงการสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว


7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ
2.การสื่อสารข้อมูลสองทิศทางสลับกัน (Half Duplex Transmission) เป็นการสื่อสาร 2 ทิศทางแต่คนละเวลากัน เช่น วิทยุสื่อสาร เป็นต้น






รูป แสดงการสื่อสารข้อมูลสองทิศทางสลับกัน

Half-duplex Communication ข้อมูลนั้นไหลได้ทั้งสองทิศทาง แต่ไม่พร้อมกัน นั่นคือ การไหลของข้อมูลไปในทิศทางเดียวในเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น เปรียบเสมือนการจราจร
บนสะพานที่มีช่องทางเดียว Half-duplex ที่ใช้เป็นส่วนมากหรือบ่อย ๆ ในการเชื่อมต่อ
คอมพิวเตอร์ของคุณผ่านสายโทรศัพท์กับคอมพิวเตอร์อื่น ๆ มินิคอมพิวเตอร์ และเมนเฟรม ดังนั้นเมื่อคุณหมุนเข้าไปในกระดานข้อความอิเล็กโทรนิคผ่านคอมพิวเตอร์ของคุณนั้น
อาจจะกำลังใช้การสื่อสารแบบ Half-duplex อยู่ก็ได้

ที่มา
//www.hs1an.org/index.php?option=com_content&task=view&id=551&Itemid=31
//bizcom.dusit.ac.th/Web_MIS/E1/E1_48132792279_nongnapat/E1_48132792279_nongnapat.html






โดย: นางสาวจิราพรรณ สุวรรณไตร ม.29 (พุธเช้า) IP: 1.1.1.84, 58.147.7.66 วันที่: 30 กรกฎาคม 2552 เวลา:19:22:44 น.  

 
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง
ตอบ 1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นแหล่งต้นทางของการสื่อสารโดยมีหน้าที่ในการให้กำเนิดข้อมูล หรือเตรียมข้อมูล เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ต้นทาง เป็นต้น
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นแหล่งปลายทางของการสื่อสาร หรือเป็นอุปกรณ์สำหรับข้อมูลที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ดำเนินการต่อไป เช่น ผู้รับ คอมพิวเตอร์ปลายทาง เครื่องพิมพ์
3. ข่าวสาร (Massage) เป็นตัวเนื้อหาของข้อมูล ซึ่งมีได้หลายรูปแบบดังนี้ คือ
- ข้อความ (Text) ข้อมูลที่อยู่ในรูปอักขระ หรือเอกสาร เช่น ข้อความในหนังสือ เป็นต้น
- เสียง (Voice) ข้อมูลเสียงที่แหล่งต้นทางสร้างขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นเสียงที่มนุษย์หรืออุปกรณ์บางอย่างเป็นตัวสร้างก็ได้
- รูปภาพ (Image) เป็นข้อมูลที่ไม่เหมือนข้อความตัวอักษรที่เรียงติดต่อกัน แต่จะมีลักษณะเหมือนรูปภาพ เช่น การสแกนภาพเข้าคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลรูปภาพกับข้อมูลข้อความ แล้วรูปภาพจะมีขนาดใหญ่กว่า
- สื่อผสม (Multimedia) ข้อมูลที่ผสมลักษณะของทั้งรูปภาพ เสียงและข้อความเข้าด้วยกัน โดยสามารถเคลื่อนไหวได้ เช่น การเรียนผ่านระบบ VDO conference เป็นต้น โดยข้อมูลจะมีขนาดใหญ่มาก
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium) เป็นสื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มีสายสัญญาณ เช่น สายไฟ หรือตัวกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น อากาศ เป็นต้น
5. โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน

ที่มา //www.hs1an.org/index.phpoption=com_content

7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ การสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว (Simplex Transmission) เป็นการติดต่อสื่อสารเพียงทิศทางเดียว คือผู้ส่งจะส่งข้อมูลเพียงฝั่งเดียวและโดยฝั่งรับไม่มีการตอบกลับ เช่น วิทยุ โทรทัศน์

ที่มา: //www.hs1an.org/index.phpoption=com_content

7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ การสื่อสารข้อมูลสองทิศทางพร้อมกัน (Full Duplex Transmission) เป็นการสื่อสาร 2 ทิศทาง โดยสามารถส่งข้อมูลในเวลาเดียวกันได้ เช่น การคุยโทรศัพท์
การChat Online

ที่มา: //www.hs1an.org/index.phpoption=com_content








โดย: นางสาวสุภาพร รัตนา 50240210102 วท.บ.สาธารณสุขศาสตร์ IP: 114.128.129.204 วันที่: 31 กรกฎาคม 2552 เวลา:11:11:16 น.  

 
7.2
1. การสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว (Simplex Transmission) เป็นการติดต่อสื่อสารเพียงทิศทางเดียว คือผู้ส่งจะส่งข้อมูลเพียงฝั่งเดียวและโดยฝั่งรับไม่มีการตอบกลับ เช่น การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ การส่ง e-mail เป็นต้น

2.แบบทิศทางเดียวหรือซิมเพล็กซ์ (One-way หรือ Simplex)
เป็นการส่งข้อมูลในทิศทางเดียว คือข้อมู่ลถูกส่งไปในทางเดียว เช่น สถานีวิทยุกระจายเสียง การแพร่ภาพทางโทรทัศน์

ที่มา //www.vcharkarn.com/vcafe/81178
//www.hs1an.org/index.php?option=com_content&task=view&id=551&Itemid=31


โดย: นางสาวประทุมพร ปากเจริญ บช.บ หมู่ที่29 พุธเช้า IP: 125.26.171.25 วันที่: 31 กรกฎาคม 2552 เวลา:17:26:33 น.  

 

7.3
แบบสองทิศทาง (Full Duplex) ข้อมูลสามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้งสองทิศทางอย่างอิสระ เช่น โทรศัพท์มือถือ วิทยุสื่อสาร


ที่มา :backoffice.website108.com/



โดย: นางสาวประทุมพร ปากเจริญ บช.บ หมู่ที่29 พุธเช้า IP: 125.26.171.25 วันที่: 31 กรกฎาคม 2552 เวลา:17:29:00 น.  

 
แบบฝึกหัด
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง
7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง

การสื่อสารข้อมูล (Data Communication)

การสื่อสารข้อมูล (Data Communications) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน

วิธีการส่งข้อมูล จะแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณ หรือรหัสเสียก่อนแล้วจึงส่งไปยังผู้รับ และเมื่อถึงปลายทางหรือผู้รับก็จะต้องมีการแปลงสัญญาณนั้น กลับมาให้อยู่ในรูปที่มนุษย์ สามารถที่จะเข้าใจได้ ในระหว่างการส่งอาจจะมีอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นก็คือ สิ่งรบกวน (Noise) จากภายนอกทำให้ข้อมูลบางส่วนเสียหาย หรือผิดเพี้ยนไปได้ซึ่งระยะทางก็มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้วยเพราะถ้าระยะทางในการส่งยิ่งมากก็อาจจะทำให้เกิดสิ่งรบกวนได้มากเช่นกัน จึงต้องมีหาวิธีลดสิ่งรบกวน
เหล่านี้ โดยการพัฒนาตัวกลางในการสื่อสารที่จะทำให้เกิดการรบกวนน้อยที่สุด

องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบ

องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้
1. ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ
ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2. ผู้รับข่าวสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใด
ที่การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ จุดหมายปลายทางไม่ได้รับ
ข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง
3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลง
ความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่าง ผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์ มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้ วงจรกรอง (filter)
กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น
7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง

1. การสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว (Simplex Transmission) เป็นการติดต่อสื่อสารเพียงทิศทางเดียว คือผู้ส่งจะส่งข้อมูลเพียงฝั่งเดียวและโดยฝั่งรับไม่มีการตอบกลับ เช่น การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ การส่ง e-mail เป็นต้น

2.แบบทิศทางเดียวหรือซิมเพล็กซ์ (One-way หรือ Simplex)
เป็นการส่งข้อมูลในทิศทางเดียว คือข้อมู่ลถูกส่งไปในทางเดียว เช่น สถานีวิทยุกระจายเสียง การแพร่ภาพทางโทรทัศน์


7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง

1)การถ่ายทอดสัญญาณแบบกึ่งสองทิศทาง
การถ่ายทอดสัญญาณแบบกึ่งสองทิศทาง (Half-duplex Transmission) ยินยอมให้ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้และผู้รับก็สามารถส่งข้อมูล กลับมายังผู้ส่งข้อมูลได้เช่นกัน แต่มีเงื่อนไขว่าทั้งผู้ส่งและผู้รับจะส่งข้อมูลพร้อมกันไม่ได้ ตัวอย่างได้แก่ การใช้วิทยุสื่อสารของตำรวจ หรือวิทยุ สื่อสารใช้งานทั่วไป (CB Radio) ผู้พูดสามารถพูดไปอีกฝ่ายหนึ่งได้ แต่จะพูดพร้อมกันไม่ได้ คือในขณะที่ฝ่ายหนึ่งเป็นผู้พูด อีกฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นผู้ฟัง ในระบบนี้ไม่มีการบังคับอย่างชัดเจนว่าฝ่ายใดจะพูด ดังนั้นในการใช้งานจริงจึงต้องอาศัยประสบการณ์ของผู้ใช้งานเป็นสำคัญมิ ฉะนั้นก็อาจจะมีแต่ผู้พูดไม่มีใครยอมเป็นผู้ฟัง ในการสื่อสารข้อมูล จะไม่เกิดการแย่งกันส่งข้อมูลเด็ดขาดเนื่องจากการสื่อสารจะต้องมีโพรโทคอ ลหรือกฎการสื่อสารข้อมูลเป็นตัวบังคับ
2) การถ่ายทอดสัญญาณแบบสองทิศทางสมบูรณ์
การถ่ายทอดสัญญาณแบบสองทิศทางสมบูรณ์ (Full-Duplex Transmission) ยินยอมให้ทั้งฝ่ายผู้ส่งและผู้รับข้อมูลสามารถส่งข้อมูลไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ได้ตลอดเวลา วิธีการนี้จึงใช้ประโยชน์จากการสื่อสารข้อมูลอย่างเต็มที่ แต่มีข้อจำกัดคือเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีความสามารถในการรับและส่งข้อมูล ได้อย่างเต็มที่ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้สื่อที่เลือกใช้ก็จะต้องมีช่องสื่อสารสองช่อง ช่องหนึ่งสำหรับส่งข้อมูลและอีกช่องหนึ่งสำหรับรับข้อมูล ช่องสื่อสารแบบ RS-232 สามารถรองรับการทำงานแบบนี้ได้เพราะมีขาเชื่อมต่อสำหรับการสื่อสารอยู่สอง ชุดที่แยกจากกัน โมเด็มที่ทำงานแบบสองทิศทางสมบูรณ์ได้จะต้องได้รับมาตรฐาน CCITT V.32 และ CCITT V.34 เช่นระบบโทรศัพท์เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสื่อสารที่เกิดขึ้นทั้งแบบกึ่งสอง ทิศทางและแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ในกรณีที่ใช้โทรศัพท์ ภายในเขตเมืองเดียวกัน (รหัสเมืองเหมือนกัน) จะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ดังนั้นผู้ใช้โทรศัพท์ ทั้งสองฝ่ายสามารถที่จะพูดออกมาพร้อม ๆ กัน เสียงพูดของแต่ละฝ่ายจะไปดังที่โทรศัพท์ของอีก ฝ่ายหนึ่ง แม้ว่าในทางปฏิบัติอาจจะไม่มีใครทำอย่างนี้แต่ก็สามารถทำได้อย่างแน่นอน
ที่มา
//www.vcharkarn.com/vcafe/81178
//www.hs1an.org/index.php?option=com_content&task=view&id=551&Itemid=31
//blog.eduzones.com/offy/3872?page2=16&page=&page3=










โดย: นายอรรคพล วิทิยา เทคโนผลิตพืชอังคารเช้าหมู่22 IP: 125.26.167.27 วันที่: 1 สิงหาคม 2552 เวลา:18:41:45 น.  

 
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง
ตอบ 1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver)
3. ข่าวสาร (Massage)
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium)
5. โปรโตคอล (Protocol)

7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ 1.ระบบวิทยุ
2.โทรทัศน์

7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ 1 โทรศัพท์
2.วิทยุสื่อสาร



โดย: นางสาวดวงเนตร เรืองเดช 50240210101 วท.บ.สาธารณสุขศาสตร์ วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ (4000104) หมู่ 01 (นักศึกษารูปแบบพิเศษ วันพฤหัสบดี 17.00 - 21.00 น. IP: 118.174.107.220 วันที่: 4 สิงหาคม 2552 เวลา:9:33:02 น.  

 
องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล ได้แก่

1. Source system คือ ระบบผู้ส่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ส่งข่าวสาร
2. Destination system คือ ระบบผู้รับเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข่าวสาร
3. Transmission system คือ ระบบที่เป็นสื่อกลางเชื่อมผู้และผู้รับ

ที่มา//www.sawi.ac.th/elearning/networks/page1.htm


โดย: นายอภิชาติ อินทรีย์ หมู่ 22 อ.เช้า รหัสน.ศ.52040265109 IP: 117.47.12.96 วันที่: 4 สิงหาคม 2552 เวลา:12:39:57 น.  

 
7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง

1.แบบทิศทางเดียว (Simplex) ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางโดยไม่สามารถส่งย้อนกลับมาได้ เช่น ระบบวิทยุ
2.หรือโทรทัศน์
ที่มา//74.125.153.132/search?q=cache:8-fkBqIZKO4J:student.swu.ac.th/sc471010142/6.doc+%22%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7%22&cd=2&hl=th&ct=clnk&gl=th


โดย: นายอภิชาติ อินทรีย์ หมู่ 22 อ.เช้า รหัสน.ศ.52040265109 IP: 117.47.12.96 วันที่: 4 สิงหาคม 2552 เวลา:12:46:19 น.  

 
7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง
2.แบบสองทิศทาง (Full Duplex) ข้อมูลสามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้งสองทิศทางอย่างอิสระ เช่น ระบบโทรศัพท์
ที่มา //74.125.153.132/search?q=cache:8-fkBqIZKO4J:student.swu.ac.th/sc471010142/6.doc+%22%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7%22&cd=2&hl=th&ct=clnk&gl=th


โดย: นายอภิชาติ อินทรีย์ หมู่ 22 อ.เช้า รหัสน.ศ.52040265109 IP: 117.47.12.96 วันที่: 4 สิงหาคม 2552 เวลา:12:49:13 น.  

 
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง

องค์ประกอบพื้นฐานของระบบการสื่อสารข้อมูลมีดังนี้

1. ผู้รับส่งข้อมูล ( Source ) เป็นแหล่งกำเนิดข้อมูล ข่าวสาร

2. ผู้รับข้อมูล ( Destination ) เป็นจุดหมายปลายทางของข้อมูลข่าวสาร

3. สื่อกลาง ( Transmission medium ) เป็นสื่อกลางหรือช่องทางที่ใช้สำหรับข้อมูลข่าวสารผ่าน

4. ตัวแปลงสัญญาณ ได้แก่ Transmitter ทำหน้าที่แปลงข้อมูลให้เป็นสัญญาณ และ Receiver ทำหน้าที่แปลงสัญญาณให้เป็นข้อมูล

5. โปรโตคอล ( Protocol ) คือ กฎเกณฑ์หรือข้อกำหนดที่ควบคุมการสื่อสารให้ผู้ส่งและผู้รับ

6. ข้อมูล ( Data ) เป็นข้อมูลเท็จจริงที่ใช้แลกเปลี่ยนระหว่างผู้ส่งและผู้รับ

ที่มา : //pnrutkk49.igetweb.com/index.php?mo=3&art=251421


โดย: Narinee Indee IP: 125.26.180.19 วันที่: 9 สิงหาคม 2552 เวลา:18:00:11 น.  

 
ตรวจ (ครั้งที่ 2)


โดย: อ.น้ำผึ้ง (neaup ) วันที่: 10 สิงหาคม 2552 เวลา:15:21:25 น.  

 
องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล ได้แก่

1. Source system คือ ระบบผู้ส่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ส่งข่าวสาร
2. Destination system คือ ระบบผู้รับเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข่าวสาร
3. Transmission system คือ ระบบที่เป็นสื่อกลางเชื่อมผู้และผู้รับ



ชนิดของสัญญาณทางอิเล็กทรอนิกส์

สามารถแบ่งได้เป็น

• สัญญาณแบบAnalog เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง ค่าทุกค่าที่เปลี่ยนแปลงไปของระดับสัญญาณ
จะมีความหมาย ถูกรบกวนทำให้แปลความหมายผิดพลาดได้ง่าย เนื่องจากค่าทุกค่าถูกนำมาใช้งานนั่นเอง ซึ่งสัญญาณแบบ Analog นี้ เป็นสัญญาณที่สื่อกลางในการสื่อสาร ส่วนมากใช้ เช่น สัญญาณเสียงในสายโทรศัพท์
• สัญญาณ Digital ประกอบขึ้นจากระดับสัญญาณเพียง 2 ค่า อาจเป็น on/off หรือ 0/1 หรือ มีอำนาจแม่เหล็ก/ไม่มีอำนาจแม่เหล็ก
มีประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือสูง เป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ใช้



เครื่องมือในการแปลงสัญญาณ

MODEM (MOdulator-DEModulator) คือ อุปกรณ์แปลงสัญญาณดิจิตอลเป็นสัญญาณอนาลอก
และแปลงกลับ

CODEC (COder-DECoder) คือ อุปกรณ์แปลงสัญญาณอนาลอกเป็นดิจิตอล และแปลงกลับ




วิธีการสื่อสารข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์มี 2 แบบ

1. การสื่อสารแบบไม่ประสานจังหวะ (Asynchronous transmission)
2. การสื่อสารแบบประสานจังหวะ (Synchronous transmission)





ทิศทางของการสื่อสารข้อมูล มี 3 แบบ

1. แบบทิศทางเดียว (Simplex) เช่น วิทยุ หรือโทรทัศน์
2. แบบกึ่งสองทิศทาง (Half Duplex) เช่น วิทยุสื่อสารแบบผลัดกันพูด
3. แบบสองทิศทาง (Full Duplex) เช่น ระบบโทรศัพท์

การสื่อสารข้อมูล แบบอนุกรม และ แบบขนาน (Serial & Parallel Transmission)

การสื่อสารแบบอนุกรมเป็นการส่งข้อมูลทีละบิตต่อครั้งผ่านสายสื่อสาร ในขณะที่การสื่อสารข้อมูล แบบขนานจะส่งข้อมูล
เป็นชุดของบิตพร้อม ๆ กันในแต่ละครั้ง ซึ่งทำให้เร็วกว่าแบบอนุกรม แต่เสียค่าใช้จ่ายสูงกว่าเช่นกัน
เนื่องจากสายที่ใช้ต้องมีช่องสัญญาณ จำนวนมาก เช่น 8 ช่องเพื่อให้ส่งข้อมูลได้ 8 บิตพร้อมกัน

การสื่อสารข้อมูล แบบ Baseband และ แบบ Broadband

แบบBaseband ที่เวลาใดเวลาหนึ่ง จะมีสัญญาณข้อมูลเพียงตัวเดียววิ่งอยู่บนสายสัญญาณการสื่อสารข้อมูล
แบบBroadband ที่เวลาใดเวลาหนึ่ง สามารถมีสัญญาณข้อมูลหลายสัญญาณวิ่งอยู่บนสาย

ทิศทางการสื่อสารข้อมูล

แบ่งตามรูปลักษณะได้ 3 แบบ คือ
6.3.1 แบบซิมเพล็กซ์ (Simplex)
ข้อมูลส่งได้ในทางเดียวเท่านั้น บางครั้งก็เรียกว่าการส่งทิศทางเดียว (Unidirectional data bus)

6.3.2 แบบฮาล์ฟดูเพล็กซ์ (Half duplex)
ข้อมูลสามารถส่งได้ทั้ง 2 สถานี แต่จะต้องผลัดกันส่งและผลัดกันรับ จะส่งและรับพร้อมกันไม่ได้


//www.sawi.ac.th/elearning/networks/page1.htm



โดย: นายนารายณ์ แก้วภักดี ม.15 ศ. เช้า IP: 124.157.129.16 วันที่: 10 สิงหาคม 2552 เวลา:18:12:46 น.  

 
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง
1. ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2. ผู้รับข่าวสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่ การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง
3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงานที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลาง ให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น

ที่มา...
//www.geocities.com
7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
-ระบบวิทยุ
-การส่งอีเมลล์
7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง
1.โทรศัพท์เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสื่อสารที่เกิดขึ้นทั้งแบบกึ่งสองทิศทางและแบบสองทิศทางสมบูรณ์
2.วิทยุสื่อสาร

ที่มา
//www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php


โดย: น.ส.นงนุช นาเจริญ 52040258129 หมู่ 22 อังคารเช้า IP: 124.157.147.193 วันที่: 11 สิงหาคม 2552 เวลา:20:07:13 น.  

 
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง

ผู้ส่งข้อมูล (Sender) ทำหน้าที่ส่งข้อมูล
ผู้รับข้อมูล (Receiver) ทำหน้าที่รับข้อมูล
ข้อมูล (Data) ข้อมูลที่ผู้ส่งข้อมูลต้องการส่งไปยังผู้รับข้อมูล อาจอยู่ในรูปของข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว
สื่อนำข้อมูล (Medium) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการขนถ่ายข้อมูล เช่น สายเคเบิล ใยแก้วนำแสง อากาศ
โปรโตคอล (Protocol) กฎหรือวิธีที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบตามวิธีการสื่อสารที่ตกลง กันระหว่าง ผู้ส่งข้อมูล กับ ผู้รับข้อมูล

//armka2518.exteen.com/20090116/entry-2

7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง

การถ่ายทอดสัญญาณแบบทิศทางเดียว
การควบคุมทิศทางการส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission) ยอมให้มีการส่งข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับเท่านั้น ทางฝั่งผู้รับไม่สามารถส่งข้อมูลย้อนกลับมายังผู้ส่งได้ การไหลของน้ำออกทางท่อประปาเป็นตัวอย่างที่ชัดเจน ท่อประปาเปรียบเสมือนสายสื่อสารโดยมีก๊อกเป็นอุปกรณ์สื่อสาร และน้ำคือข้อมูลที่ถูกส่งออกมาจากโรงงานผลิตน้ำประปา จะเห็นได้ว่าเมื่อผู้ใช้น้ำประปา เปิดก๊อก น้ำก็จะไหลออกมาซึ่งจะหยุดก็ต่อเมื่อปิดก็อกหรือโรงผลิตน้ำประปาหยุดส่งน้ำ ส่วนผู้ใช้น้ำประปาเองก็ไม่สามารถที่จะส่งน้ำกลับไปยังโรงผลิตน้ำประปาได้ การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียวก็มีวิธีการทำงานเช่นเดียวกัน อุปกรณ์บางชนิด เช่น จอภาพ CRT เชื่อมต่อเข้ากับโฮสต์แบบทิศทางเดียว ข้อมูลจากโฮสต์จะถูกส่งมาแสดงบนจอภาพได้ แต่ตัวจอภาพเองไม่สามารถส่งข้อมูลใด ๆ กลับไปยังโฮสต์ได้
ตัวอย่างการส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียวกันได้แก่ การถ่ายทอดข้อมูลราคาซื้อ-ขายหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไปยังสมาชิกซึ่งมักจะใช้เครื่องพีซีติดต่อเข้ามาจากที่บ้านหรือที่ทำงาน ข้อมูลจะถูกส่งไปเก็บไว้ที่ฐานข้อมูลที่เครื่องพีซีของผู้ใช้ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกดูราคาหุ้น ทั้งหมดหรือหุ้นบางตัวที่สนใจได้โดยไม่ต้องส่งข้อมูลใด ๆ กลับมาที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เพียงแค่ส่งข้อมูลส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงมายังสมาชิกเท่านั้น

//www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php

7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง

การถ่ายทอดสัญญาณแบบสองทิศทางสมบูรณ์
การถ่ายทอดสัญญาณแบบสองทิศทางสมบูรณ์ (Full-Duplex Transmission) ยินยอมให้ทั้งฝ่ายผู้ส่งและผู้รับข้อมูลสามารถส่งข้อมูลไปยังอีกฝ่ายหนึ่งได้ตลอดเวลา วิธีการนี้จึงใช้ประโยชน์จากการสื่อสารข้อมูลอย่างเต็มที่ แต่มีข้อจำกัดคือเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีความสามารถในการรับและส่งข้อมูลได้อย่างเต็มที่ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้สื่อที่เลือกใช้ก็จะต้องมีช่องสื่อสารสองช่อง ช่องหนึ่งสำหรับส่งข้อมูลและอีกช่องหนึ่งสำหรับรับข้อมูล ช่องสื่อสารแบบ RS-232 สามารถรองรับการทำงานแบบนี้ได้เพราะมีขาเชื่อมต่อสำหรับการสื่อสารอยู่สองชุดที่แยกจากกัน โมเด็มที่ทำงานแบบสองทิศทางสมบูรณ์ได้จะต้องได้รับมาตรฐาน CCITT V.32 และ CCITT V.34 เช่นระบบโทรศัพท์เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสื่อสารที่เกิดขึ้นทั้งแบบกึ่งสองทิศทางและแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ในกรณีที่ใช้โทรศัพท์ ภายในเขตเมืองเดียวกัน (รหัสเมืองเหมือนกัน) จะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ดังนั้นผู้ใช้โทรศัพท์ ทั้งสองฝ่ายสามารถที่จะพูดออกมาพร้อม ๆ กัน เสียงพูดของแต่ละฝ่ายจะไปดังที่โทรศัพท์ของอีก ฝ่ายหนึ่ง แม้ว่าในทางปฏิบัติอาจจะไม่มีใครทำอย่างนี้แต่ก็สามารถทำได้อย่างแน่นอน
การส่งสัญญาณในระบบโทรศัพท์ทางไกลแม้ว่าตัวระบบเองจะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์แต่จะทำงานเป็นแบบกึ่งสองทิศทาง ระบบโทรศัพท์ทั่วไปจะมีสัญญาณสะท้อนกลับ (Echo) เกิดขึ้นเสมอเนื่องจากเสียงผู้พูดฝ่ายหนึ่งที่ไปถึงอีกฝ่ายหนึ่งจะทำให้เกิดการส่งสัญญาณสะท้อนกลับมาโดยไม่ได้ตั้งใจ ถ้าเป็นโทรศัพท์ภายในเขตจังหวัดเดียวกันหรือทางไกลภายในประเทศ สัญญาณสะท้อนกลับจะเกิดขึ้นเร็วมาก เนื่องจากระยะทางสั้น และซ้อนทับกับเสียงของผู้พูด จนกระทั่งไม่สามารถแยกเสียงจริงและเสียงสะท้อนออกจากกันได้ แต่ถ้าเป็นโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ สัญญาณสะท้อนกลับจะเกิดขึ้นช้ากว่า เพราะระยะทางไกลมาก ทำให้สามารถแยกความแตกต่างออกจากกันได้ คือผู้พูดจะได้ยินเสียงตัวเองภายหลังจากตัวเองที่หยุดพูด เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ระบบโทรศัพท์ต้องใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องตัดเสียงสะท้อน (Echo Suppressor) อุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่คอยเปิด-ปิดช่องสัญญาณในระหว่างการสนทนาเพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณสะท้อน ย้อนกลับไปยังผู้พูด เนื่องจากอุปกรณ์นี้ทำงานโดยใช้เสียงผู้พูดเป็นตัวกระตุ้นเพื่อปิดช่องสื่อสารของผู้ฟัง จึงทำให้ผู้ฟังไม่สามารถพูดสวนกลับไปได้ในเวลาเดียวกัน ผลที่เกิดขึ้นจึงทำให้ระบบการสื่อสารนี้กลายเป็นแบบกึ่งสองทิศทาง

//www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php






โดย: น.ส. ศิราณ๊ ผิววงษ์ 52040258102 หมู่ 22 (อังคารเช้า) IP: 124.157.147.193 วันที่: 11 สิงหาคม 2552 เวลา:20:32:53 น.  

 
คำตอบข้อ7.1.1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นแหล่งต้นทางของการสื่อสารโดยมีหน้าที่ในการให้กำเนิดข้อมูล หรือเตรียมข้อมูล เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ต้นทาง เป็นต้น
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นแหล่งปลายทางของการสื่อสาร หรือเป็นอุปกรณ์สำหรับข้อมูลที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ดำเนินการต่อไป เช่น ผู้รับ คอมพิวเตอร์ปลายทาง เครื่องพิมพ์
3. ข่าวสาร (Massage) เป็นตัวเนื้อหาของข้อมูล ซึ่งมีได้หลายรูปแบบดังนี้ คือ
- ข้อความ (Text) ข้อมูลที่อยู่ในรูปอักขระ หรือเอกสาร เช่น ข้อความในหนังสือ เป็นต้น
- เสียง (Voice) ข้อมูลเสียงที่แหล่งต้นทางสร้างขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นเสียงที่มนุษย์หรืออุปกรณ์บางอย่างเป็นตัวสร้างก็ได้
- รูปภาพ (Image) เป็นข้อมูลที่ไม่เหมือนข้อความตัวอักษรที่เรียงติดต่อกัน แต่จะมีลักษณะเหมือนรูปภาพ เช่น การสแกนภาพเข้าคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลรูปภาพกับข้อมูลข้อความ แล้วรูปภาพจะมีขนาดใหญ่กว่า
- สื่อผสม (Multimedia) ข้อมูลที่ผสมลักษณะของทั้งรูปภาพ เสียงและข้อความเข้าด้วยกัน โดยสามารถเคลื่อนไหวได้ เช่น การเรียนผ่านระบบ VDO conference เป็นต้น โดยข้อมูลจะมีขนาดใหญ่มาก
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium) เป็นสื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มีสายสัญญาณ เช่น สายไฟ หรือตัวกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น อากาศ เป็นต้น
5. โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน
ที่มา//www.hs1an.org/index.php?option=com_content&task=view&id=551&Itemid=31
7.2การถ่ายทอดสัญญาณแบบทิศทางเดียว
การควบคุมทิศทางการส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission) ยอมให้มีการส่งข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับเท่านั้น ทางฝั่งผู้รับไม่สามารถส่งข้อมูลย้อนกลับมายังผู้ส่งได้ การไหลของน้ำออกทางท่อประปาเป็นตัวอย่างที่ชัดเจน ท่อประปาเปรียบเสมือนสายสื่อสารโดยมีก๊อกเป็นอุปกรณ์สื่อสาร และน้ำคือข้อมูลที่ถูกส่งออกมาจากโรงงานผลิตน้ำประปา จะเห็นได้ว่าเมื่อผู้ใช้น้ำประปา เปิดก๊อก น้ำก็จะไหลออกมาซึ่งจะหยุดก็ต่อเมื่อปิดก็อกหรือโรงผลิตน้ำประปาหยุดส่งน้ำ ส่วนผู้ใช้น้ำประปาเองก็ไม่สามารถที่จะส่งน้ำกลับไปยังโรงผลิตน้ำประปาได้ การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียวก็มีวิธีการทำงานเช่นเดียวกัน อุปกรณ์บางชนิด เช่น จอภาพ CRT เชื่อมต่อเข้ากับโฮสต์แบบทิศทางเดียว ข้อมูลจากโฮสต์จะถูกส่งมาแสดงบนจอภาพได้ แต่ตัวจอภาพเองไม่สามารถส่งข้อมูลใด ๆ กลับไปยังโฮสต์ได้
ตัวอย่างการส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียวกันได้แก่ การถ่ายทอดข้อมูลราคาซื้อ-ขายหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไปยังสมาชิกซึ่งมักจะใช้เครื่องพีซีติดต่อเข้ามาจากที่บ้านหรือที่ทำงาน ข้อมูลจะถูกส่งไปเก็บไว้ที่ฐานข้อมูลที่เครื่องพีซีของผู้ใช้ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกดูราคาหุ้น ทั้งหมดหรือหุ้นบางตัวที่สนใจได้โดยไม่ต้องส่งข้อมูลใด ๆ กลับมาที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เพียงแค่ส่งข้อมูลส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงมายังสมาชิกเท่านั้น
//www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php
7.3การถ่ายทอดสัญญาณแบบสองทิศทางสมบูรณ์ (Full-Duplex Transmission) ยินยอมให้ทั้งฝ่ายผู้ส่งและผู้รับข้อมูลสามารถส่งข้อมูลไปยังอีกฝ่ายหนึ่งได้ตลอดเวลา วิธีการนี้จึงใช้ประโยชน์จากการสื่อสารข้อมูลอย่างเต็มที่ แต่มีข้อจำกัดคือเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีความสามารถในการรับและส่งข้อมูลได้อย่างเต็มที่ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้สื่อที่เลือกใช้ก็จะต้องมีช่องสื่อสารสองช่อง ช่องหนึ่งสำหรับส่งข้อมูลและอีกช่องหนึ่งสำหรับรับข้อมูล ช่องสื่อสารแบบ RS-232 สามารถรองรับการทำงานแบบนี้ได้เพราะมีขาเชื่อมต่อสำหรับการสื่อสารอยู่สองชุดที่แยกจากกัน โมเด็มที่ทำงานแบบสองทิศทางสมบูรณ์ได้จะต้องได้รับมาตรฐาน CCITT V.32 และ CCITT V.34 เช่นระบบโทรศัพท์เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสื่อสารที่เกิดขึ้นทั้งแบบกึ่งสองทิศทางและแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ในกรณีที่ใช้โทรศัพท์ ภายในเขตเมืองเดียวกัน (รหัสเมืองเหมือนกัน) จะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ดังนั้นผู้ใช้โทรศัพท์ ทั้งสองฝ่ายสามารถที่จะพูดออกมาพร้อม ๆ กัน เสียงพูดของแต่ละฝ่ายจะไปดังที่โทรศัพท์ของอีก ฝ่ายหนึ่ง แม้ว่าในทางปฏิบัติอาจจะไม่มีใครทำอย่างนี้แต่ก็สามารถทำได้อย่างแน่นอน
การส่งสัญญาณในระบบโทรศัพท์ทางไกลแม้ว่าตัวระบบเองจะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์แต่จะทำงานเป็นแบบกึ่งสองทิศทาง ระบบโทรศัพท์ทั่วไปจะมีสัญญาณสะท้อนกลับ (Echo) เกิดขึ้นเสมอเนื่องจากเสียงผู้พูดฝ่ายหนึ่งที่ไปถึงอีกฝ่ายหนึ่งจะทำให้เกิดการส่งสัญญาณสะท้อนกลับมาโดยไม่ได้ตั้งใจ ถ้าเป็นโทรศัพท์ภายในเขตจังหวัดเดียวกันหรือทางไกลภายในประเทศ สัญญาณสะท้อนกลับจะเกิดขึ้นเร็วมาก เนื่องจากระยะทางสั้น และซ้อนทับกับเสียงของผู้พูด จนกระทั่งไม่สามารถแยกเสียงจริงและเสียงสะท้อนออกจากกันได้ แต่ถ้าเป็นโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ สัญญาณสะท้อนกลับจะเกิดขึ้นช้ากว่า เพราะระยะทางไกลมาก ทำให้สามารถแยกความแตกต่างออกจากกันได้ คือผู้พูดจะได้ยินเสียงตัวเองภายหลังจากตัวเองที่หยุดพูด เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ระบบโทรศัพท์ต้องใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องตัดเสียงสะท้อน (Echo Suppressor) อุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่คอยเปิด-ปิดช่องสัญญาณในระหว่างการสนทนาเพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณสะท้อน ย้อนกลับไปยังผู้พูด เนื่องจากอุปกรณ์นี้ทำงานโดยใช้เสียงผู้พูดเป็นตัวกระตุ้นเพื่อปิดช่องสื่อสารของผู้ฟัง จึงทำให้ผู้ฟังไม่สามารถพูดสวนกลับไปได้ในเวลาเดียวกัน ผลที่เกิดขึ้นจึงทำให้ระบบการสื่อสารนี้กลายเป็นแบบกึ่งสองทิศทาง

//www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php
โดยน.สอภิญญา อุ้ยปะโค 52041278104 ม.15 ศ.เช้า


โดย: แบบฝึกหัด IP: 117.47.128.146 วันที่: 15 สิงหาคม 2552 เวลา:14:42:48 น.  

 
คำตอบข้อ7.1.1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นแหล่งต้นทางของการสื่อสารโดยมีหน้าที่ในการให้กำเนิดข้อมูล หรือเตรียมข้อมูล เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ต้นทาง เป็นต้น
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นแหล่งปลายทางของการสื่อสาร หรือเป็นอุปกรณ์สำหรับข้อมูลที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ดำเนินการต่อไป เช่น ผู้รับ คอมพิวเตอร์ปลายทาง เครื่องพิมพ์
3. ข่าวสาร (Massage) เป็นตัวเนื้อหาของข้อมูล ซึ่งมีได้หลายรูปแบบดังนี้ คือ
- ข้อความ (Text) ข้อมูลที่อยู่ในรูปอักขระ หรือเอกสาร เช่น ข้อความในหนังสือ เป็นต้น
- เสียง (Voice) ข้อมูลเสียงที่แหล่งต้นทางสร้างขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นเสียงที่มนุษย์หรืออุปกรณ์บางอย่างเป็นตัวสร้างก็ได้
- รูปภาพ (Image) เป็นข้อมูลที่ไม่เหมือนข้อความตัวอักษรที่เรียงติดต่อกัน แต่จะมีลักษณะเหมือนรูปภาพ เช่น การสแกนภาพเข้าคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลรูปภาพกับข้อมูลข้อความ แล้วรูปภาพจะมีขนาดใหญ่กว่า
- สื่อผสม (Multimedia) ข้อมูลที่ผสมลักษณะของทั้งรูปภาพ เสียงและข้อความเข้าด้วยกัน โดยสามารถเคลื่อนไหวได้ เช่น การเรียนผ่านระบบ VDO conference เป็นต้น โดยข้อมูลจะมีขนาดใหญ่มาก
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium) เป็นสื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มีสายสัญญาณ เช่น สายไฟ หรือตัวกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น อากาศ เป็นต้น
5. โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน
ที่มา//www.hs1an.org/index.php?option=com_content&task=view&id=551&Itemid=31
7.2การถ่ายทอดสัญญาณแบบทิศทางเดียว
การควบคุมทิศทางการส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission) ยอมให้มีการส่งข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับเท่านั้น ทางฝั่งผู้รับไม่สามารถส่งข้อมูลย้อนกลับมายังผู้ส่งได้ การไหลของน้ำออกทางท่อประปาเป็นตัวอย่างที่ชัดเจน ท่อประปาเปรียบเสมือนสายสื่อสารโดยมีก๊อกเป็นอุปกรณ์สื่อสาร และน้ำคือข้อมูลที่ถูกส่งออกมาจากโรงงานผลิตน้ำประปา จะเห็นได้ว่าเมื่อผู้ใช้น้ำประปา เปิดก๊อก น้ำก็จะไหลออกมาซึ่งจะหยุดก็ต่อเมื่อปิดก็อกหรือโรงผลิตน้ำประปาหยุดส่งน้ำ ส่วนผู้ใช้น้ำประปาเองก็ไม่สามารถที่จะส่งน้ำกลับไปยังโรงผลิตน้ำประปาได้ การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียวก็มีวิธีการทำงานเช่นเดียวกัน อุปกรณ์บางชนิด เช่น จอภาพ CRT เชื่อมต่อเข้ากับโฮสต์แบบทิศทางเดียว ข้อมูลจากโฮสต์จะถูกส่งมาแสดงบนจอภาพได้ แต่ตัวจอภาพเองไม่สามารถส่งข้อมูลใด ๆ กลับไปยังโฮสต์ได้
ตัวอย่างการส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียวกันได้แก่ การถ่ายทอดข้อมูลราคาซื้อ-ขายหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไปยังสมาชิกซึ่งมักจะใช้เครื่องพีซีติดต่อเข้ามาจากที่บ้านหรือที่ทำงาน ข้อมูลจะถูกส่งไปเก็บไว้ที่ฐานข้อมูลที่เครื่องพีซีของผู้ใช้ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกดูราคาหุ้น ทั้งหมดหรือหุ้นบางตัวที่สนใจได้โดยไม่ต้องส่งข้อมูลใด ๆ กลับมาที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เพียงแค่ส่งข้อมูลส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงมายังสมาชิกเท่านั้น
//www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php
7.3การถ่ายทอดสัญญาณแบบสองทิศทางสมบูรณ์ (Full-Duplex Transmission) ยินยอมให้ทั้งฝ่ายผู้ส่งและผู้รับข้อมูลสามารถส่งข้อมูลไปยังอีกฝ่ายหนึ่งได้ตลอดเวลา วิธีการนี้จึงใช้ประโยชน์จากการสื่อสารข้อมูลอย่างเต็มที่ แต่มีข้อจำกัดคือเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีความสามารถในการรับและส่งข้อมูลได้อย่างเต็มที่ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้สื่อที่เลือกใช้ก็จะต้องมีช่องสื่อสารสองช่อง ช่องหนึ่งสำหรับส่งข้อมูลและอีกช่องหนึ่งสำหรับรับข้อมูล ช่องสื่อสารแบบ RS-232 สามารถรองรับการทำงานแบบนี้ได้เพราะมีขาเชื่อมต่อสำหรับการสื่อสารอยู่สองชุดที่แยกจากกัน โมเด็มที่ทำงานแบบสองทิศทางสมบูรณ์ได้จะต้องได้รับมาตรฐาน CCITT V.32 และ CCITT V.34 เช่นระบบโทรศัพท์เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสื่อสารที่เกิดขึ้นทั้งแบบกึ่งสองทิศทางและแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ในกรณีที่ใช้โทรศัพท์ ภายในเขตเมืองเดียวกัน (รหัสเมืองเหมือนกัน) จะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ดังนั้นผู้ใช้โทรศัพท์ ทั้งสองฝ่ายสามารถที่จะพูดออกมาพร้อม ๆ กัน เสียงพูดของแต่ละฝ่ายจะไปดังที่โทรศัพท์ของอีก ฝ่ายหนึ่ง แม้ว่าในทางปฏิบัติอาจจะไม่มีใครทำอย่างนี้แต่ก็สามารถทำได้อย่างแน่นอน
การส่งสัญญาณในระบบโทรศัพท์ทางไกลแม้ว่าตัวระบบเองจะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์แต่จะทำงานเป็นแบบกึ่งสองทิศทาง ระบบโทรศัพท์ทั่วไปจะมีสัญญาณสะท้อนกลับ (Echo) เกิดขึ้นเสมอเนื่องจากเสียงผู้พูดฝ่ายหนึ่งที่ไปถึงอีกฝ่ายหนึ่งจะทำให้เกิดการส่งสัญญาณสะท้อนกลับมาโดยไม่ได้ตั้งใจ ถ้าเป็นโทรศัพท์ภายในเขตจังหวัดเดียวกันหรือทางไกลภายในประเทศ สัญญาณสะท้อนกลับจะเกิดขึ้นเร็วมาก เนื่องจากระยะทางสั้น และซ้อนทับกับเสียงของผู้พูด จนกระทั่งไม่สามารถแยกเสียงจริงและเสียงสะท้อนออกจากกันได้ แต่ถ้าเป็นโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ สัญญาณสะท้อนกลับจะเกิดขึ้นช้ากว่า เพราะระยะทางไกลมาก ทำให้สามารถแยกความแตกต่างออกจากกันได้ คือผู้พูดจะได้ยินเสียงตัวเองภายหลังจากตัวเองที่หยุดพูด เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ระบบโทรศัพท์ต้องใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องตัดเสียงสะท้อน (Echo Suppressor) อุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่คอยเปิด-ปิดช่องสัญญาณในระหว่างการสนทนาเพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณสะท้อน ย้อนกลับไปยังผู้พูด เนื่องจากอุปกรณ์นี้ทำงานโดยใช้เสียงผู้พูดเป็นตัวกระตุ้นเพื่อปิดช่องสื่อสารของผู้ฟัง จึงทำให้ผู้ฟังไม่สามารถพูดสวนกลับไปได้ในเวลาเดียวกัน ผลที่เกิดขึ้นจึงทำให้ระบบการสื่อสารนี้กลายเป็นแบบกึ่งสองทิศทาง

//www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php
โดยน.สอภิญญา อุ้ยปะโค 52041278104 ม.15 ศ.เช้า


โดย: น.สอภิญญา อุ้ยปะโค IP: 117.47.128.146 วันที่: 15 สิงหาคม 2552 เวลา:14:46:08 น.  

 
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้างตอบ การสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ คือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างต้นทางและปลายทาง โดยที่ใช้อุปกรณ์ ทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยสื่อกลางชนิดใดชนิดหนึ่ง
การสื่อสารเพื่อส่งข่าวสาร ผ่านทางสื่อต่าง ๆ เช่น โทรเลข โทรศัพท์ ไปรษณีย์ วิทยุ โทรทัศน์ วารสาร หนังสือพิมพ์ ซึ่งในยุคคอมพิวเตอร์เกิดการสื่อสารข้อ มูล(Data Communication) และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Networks)
การสื่อสารข้อมูล (Data communication) หมายถึง การแลกเปลี่ยนของข้อมูลในลักษณะของ “0” และ “1” ระหว่างอุปกรณ์สองอุปกรณ์ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ ระบบการเชื่อมโยง ระหว่างคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่สองตัวขึ้นไป เพื่อให้ระบบสามารถทำการสื่อสาร
แลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกันได้นั่นเอง

องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล ได้แก่

1. Source system คือ ระบบผู้ส่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ส่งข่าวสาร
2. Destination system คือ ระบบผู้รับเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข่าวสาร
3. Transmission system คือ ระบบที่เป็นสื่อกลางเชื่อมผู้และผู้รับ



ชนิดของสัญญาณทางอิเล็กทรอนิกส์

สามารถแบ่งได้เป็น

• สัญญาณแบบAnalog เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง ค่าทุกค่าที่เปลี่ยนแปลงไปของระดับสัญญาณ
จะมีความหมาย ถูกรบกวนทำให้แปลความหมายผิดพลาดได้ง่าย เนื่องจากค่าทุกค่าถูกนำมาใช้งานนั่นเอง ซึ่งสัญญาณแบบ Analog นี้ เป็นสัญญาณที่สื่อกลางในการสื่อสาร ส่วนมากใช้ เช่น สัญญาณเสียงในสายโทรศัพท์
• สัญญาณ Digital ประกอบขึ้นจากระดับสัญญาณเพียง 2 ค่า อาจเป็น on/off หรือ 0/1 หรือ มีอำนาจแม่เหล็ก/ไม่มีอำนาจแม่เหล็ก
มีประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือสูง เป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ใช้



เครื่องมือในการแปลงสัญญาณ

MODEM (MOdulator-DEModulator) คือ อุปกรณ์แปลงสัญญาณดิจิตอลเป็นสัญญาณอนาลอก
และแปลงกลับ

CODEC (COder-DECoder) คือ อุปกรณ์แปลงสัญญาณอนาลอกเป็นดิจิตอล และแปลงกลับ




วิธีการสื่อสารข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์มี 2 แบบ

1. การสื่อสารแบบไม่ประสานจังหวะ (Asynchronous transmission)
2. การสื่อสารแบบประสานจังหวะ (Synchronous transmission)





ทิศทางของการสื่อสารข้อมูล มี 3 แบบ

1. แบบทิศทางเดียว (Simplex) เช่น วิทยุ หรือโทรทัศน์
2. แบบกึ่งสองทิศทาง (Half Duplex) เช่น วิทยุสื่อสารแบบผลัดกันพูด
3. แบบสองทิศทาง (Full Duplex) เช่น ระบบโทรศัพท์

การสื่อสารข้อมูล แบบอนุกรม และ แบบขนาน (Serial & Parallel Transmission)

การสื่อสารแบบอนุกรมเป็นการส่งข้อมูลทีละบิตต่อครั้งผ่านสายสื่อสาร ในขณะที่การสื่อสารข้อมูล แบบขนานจะส่งข้อมูล
เป็นชุดของบิตพร้อม ๆ กันในแต่ละครั้ง ซึ่งทำให้เร็วกว่าแบบอนุกรม แต่เสียค่าใช้จ่ายสูงกว่าเช่นกัน
เนื่องจากสายที่ใช้ต้องมีช่องสัญญาณ จำนวนมาก เช่น 8 ช่องเพื่อให้ส่งข้อมูลได้ 8 บิตพร้อมกัน

การสื่อสารข้อมูล แบบ Baseband และ แบบ Broadband

แบบBaseband ที่เวลาใดเวลาหนึ่ง จะมีสัญญาณข้อมูลเพียงตัวเดียววิ่งอยู่บนสายสัญญาณการสื่อสารข้อมูล
แบบBroadband ที่เวลาใดเวลาหนึ่ง สามารถมีสัญญาณข้อมูลหลายสัญญาณวิ่งอยู่บนสาย

ที่มาwww.sawi.ac.th/elearning/networks/page1.htm

7.2 จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ 1. ระบบวิทยุ
2. โทรทัศน์
ที่มาwww.bpcd.net/new_subject/library/ebook/ict/ict.../226.html

7.3จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ 1.วิทยุสื่อสารแบบผลัดกันพูด
2.โทรศัพท์
ที่มาwww.geocities.com/krongkaewsangton/P4.7.html


โดย: 52040263105 ชื่อ น.ส. อรวรรณ ไชยยงค์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร หมู๋22 (อังคารเช้า) IP: 172.29.5.133, 58.137.131.62 วันที่: 16 สิงหาคม 2552 เวลา:15:30:01 น.  

 
1.ตอบ ระบบสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบพื้นฐาน 5 ประการ ดังนี้ คือ
1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)
เป็นต้นทางการสื่อสาร มีหน้าที่เตรียมข้อมมูลข่าวสารเพื่อจัดส่ง
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล(Receiver)
เป็นปลายทางของการสื่อสารข้อมูล มีหน้าที่รับส่งข้อมูลข่าวสารที่ผู้ส่งจัดส่งมาให้
3. สื่อกลาง(Medium)
เป็นเส้นทางการสื่อสาร เพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อกลางการสื่อสารนี้ อาจเป็นเส้นลวดทองแดง สายเคเบิล
สายใยแก้วนำแสง หรือคลื่นต่างๆ ที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไม่โครเวฟ คลื่นวิทยุ
4.ข่าวสาร(Massage)
เป็นสัญญานที่ใช้ส่งผ่านไปในสื่อกลาง แบ่งออกเป็น 4รูปแบบ ดังนี้คือ
1. เสียง
2. ข้อมูล
3. ข้อความ
4. รูปภาพ
5. โปรโตรคอล(Protocol)
หมายถึงกฎระเบียบหรือข้อตกลงที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจหรือพูดคุยกันได้

ที่มา //comschool.site40.net/data1.htm

2.ตอบ 7.2การถ่ายทอดสัญญาณแบบทิศทางเดียว
การควบคุมทิศทางการส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission) ยอมให้มีการส่งข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับเท่านั้น ทางฝั่งผู้รับไม่สามารถส่งข้อมูลย้อนกลับมายังผู้ส่งได้ การไหลของน้ำออกทางท่อประปาเป็นตัวอย่างที่ชัดเจน ท่อประปาเปรียบเสมือนสายสื่อสารโดยมีก๊อกเป็นอุปกรณ์สื่อสาร และน้ำคือข้อมูลที่ถูกส่งออกมาจากโรงงานผลิตน้ำประปา จะเห็นได้ว่าเมื่อผู้ใช้น้ำประปา เปิดก๊อก น้ำก็จะไหลออกมาซึ่งจะหยุดก็ต่อเมื่อปิดก็อกหรือโรงผลิตน้ำประปาหยุดส่งน้ำ ส่วนผู้ใช้น้ำประปาเองก็ไม่สามารถที่จะส่งน้ำกลับไปยังโรงผลิตน้ำประปาได้ การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียวก็มีวิธีการทำงานเช่นเดียวกัน อุปกรณ์บางชนิด เช่น จอภาพ CRT เชื่อมต่อเข้ากับโฮสต์แบบทิศทางเดียว ข้อมูลจากโฮสต์จะถูกส่งมาแสดงบนจอภาพได้ แต่ตัวจอภาพเองไม่สามารถส่งข้อมูลใด ๆ กลับไปยังโฮสต์ได้
ตัวอย่างการส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียวกันได้แก่ การถ่ายทอดข้อมูลราคาซื้อ-ขายหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไปยังสมาชิกซึ่งมักจะใช้เครื่องพีซีติดต่อเข้ามาจากที่บ้านหรือที่ทำงาน ข้อมูลจะถูกส่งไปเก็บไว้ที่ฐานข้อมูลที่เครื่องพีซีของผู้ใช้ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกดูราคาหุ้น ทั้งหมดหรือหุ้นบางตัวที่สนใจได้โดยไม่ต้องส่งข้อมูลใด ๆ กลับมาที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เพียงแค่ส่งข้อมูลส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงมายังสมาชิกเท่านั้น
//www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php
3.ตอบ การถ่ายทอดสัญญาณแบบสองทิศทางสมบูรณ์ (Full-Duplex Transmission) ยินยอมให้ทั้งฝ่ายผู้ส่งและผู้รับข้อมูลสามารถส่งข้อมูลไปยังอีกฝ่ายหนึ่งได้ตลอดเวลา วิธีการนี้จึงใช้ประโยชน์จากการสื่อสารข้อมูลอย่างเต็มที่ แต่มีข้อจำกัดคือเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีความสามารถในการรับและส่งข้อมูลได้อย่างเต็มที่ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้สื่อที่เลือกใช้ก็จะต้องมีช่องสื่อสารสองช่อง ช่องหนึ่งสำหรับส่งข้อมูลและอีกช่องหนึ่งสำหรับรับข้อมูล ช่องสื่อสารแบบ RS-232 สามารถรองรับการทำงานแบบนี้ได้เพราะมีขาเชื่อมต่อสำหรับการสื่อสารอยู่สองชุดที่แยกจากกัน โมเด็มที่ทำงานแบบสองทิศทางสมบูรณ์ได้จะต้องได้รับมาตรฐาน CCITT V.32 และ CCITT V.34 เช่นระบบโทรศัพท์เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสื่อสารที่เกิดขึ้นทั้งแบบกึ่งสองทิศทางและแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ในกรณีที่ใช้โทรศัพท์ ภายในเขตเมืองเดียวกัน (รหัสเมืองเหมือนกัน) จะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ดังนั้นผู้ใช้โทรศัพท์ ทั้งสองฝ่ายสามารถที่จะพูดออกมาพร้อม ๆ กัน เสียงพูดของแต่ละฝ่ายจะไปดังที่โทรศัพท์ของอีก ฝ่ายหนึ่ง แม้ว่าในทางปฏิบัติอาจจะไม่มีใครทำอย่างนี้แต่ก็สามารถทำได้อย่างแน่นอน
การส่งสัญญาณในระบบโทรศัพท์ทางไกลแม้ว่าตัวระบบเองจะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์แต่จะทำงานเป็นแบบกึ่งสองทิศทาง ระบบโทรศัพท์ทั่วไปจะมีสัญญาณสะท้อนกลับ (Echo) เกิดขึ้นเสมอเนื่องจากเสียงผู้พูดฝ่ายหนึ่งที่ไปถึงอีกฝ่ายหนึ่งจะทำให้เกิดการส่งสัญญาณสะท้อนกลับมาโดยไม่ได้ตั้งใจ ถ้าเป็นโทรศัพท์ภายในเขตจังหวัดเดียวกันหรือทางไกลภายในประเทศ สัญญาณสะท้อนกลับจะเกิดขึ้นเร็วมาก เนื่องจากระยะทางสั้น และซ้อนทับกับเสียงของผู้พูด จนกระทั่งไม่สามารถแยกเสียงจริงและเสียงสะท้อนออกจากกันได้ แต่ถ้าเป็นโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ สัญญาณสะท้อนกลับจะเกิดขึ้นช้ากว่า เพราะระยะทางไกลมาก ทำให้สามารถแยกความแตกต่างออกจากกันได้ คือผู้พูดจะได้ยินเสียงตัวเองภายหลังจากตัวเองที่หยุดพูด เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ระบบโทรศัพท์ต้องใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องตัดเสียงสะท้อน (Echo Suppressor) อุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่คอยเปิด-ปิดช่องสัญญาณในระหว่างการสนทนาเพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณสะท้อน ย้อนกลับไปยังผู้พูด เนื่องจากอุปกรณ์นี้ทำงานโดยใช้เสียงผู้พูดเป็นตัวกระตุ้นเพื่อปิดช่องสื่อสารของผู้ฟัง จึงทำให้ผู้ฟังไม่สามารถพูดสวนกลับไปได้ในเวลาเดียวกัน ผลที่เกิดขึ้นจึงทำให้ระบบการสื่อสารนี้กลายเป็นแบบกึ่งสองทิศทาง

//www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php


โดย: นางสาวคนึงนิจ ผิวบาง หมู่ที่22 IP: 124.157.148.178 วันที่: 17 สิงหาคม 2552 เวลา:19:20:47 น.  

 
7.1 องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง

องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้

1. ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ
ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2. ผู้รับข่าวสาร หรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร
หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่ การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ
จุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง



3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน
ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้
วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น
เครือข่ายการสื่อสารข้อมูล
หมายถึง การรับส่งข้อมูลหรือสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยระบบการส่งข้อมูล ทางคลื่นไฟฟ้าหรือแสง อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปเรียกว่า
ข่ายการสื่อสารข้อมูล (Data Communication Networks)

องค์ประกอบพื้นฐาน

หน่วยส่งข้อมูล (Sending Unit)
ช่องทางการส่งข้อมูล (Transmisstion Channel)
หน่วยรับข้อมูล (Receiving Unit)
วัตถุประสงค์หลักของการนำการสื่อการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในองค์การประกอบด้วย
เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล
เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
เพื่อลดเวลาการทำงาน
เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร
เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ
เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การ


ที่มาCopyright by Passkorn Roungrong
//www.thaiwbi.com/course/data_com/index2.html


7.2จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2
ตัวอย่าง

ทิศทางของการสื่อสารข้อมูล
แบบทิศทางเดียว (Simplex) เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางโดยไม่สามารถส่งข้อมูลย้อนกลับมาได้ เช่นระบบวิทยุ หรือโทรทัศน์




7.3จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง


แบบสองทิศทาง (Full Duplex หรือ Both-Way) ข้อมูลสามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้ง 2 ทิศทางอย่างอิสระ เช่น ระบบโทรศัพท์ การChat Online


ที่มา//reg.ksu.ac.th/teacher/songgrod/4123702/content/lesson3/303.html
//school.obec.go.th/wcr1/web2/text/p10.htm


โดย: นางสาว นฤมล หมู่หาญ 52040263122 หมู่22 อังคารเช้า IP: 1.1.1.182, 58.147.7.66 วันที่: 20 สิงหาคม 2552 เวลา:19:11:38 น.  

 
ข้อ 1
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบ
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้
1. ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ
ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2. ผู้รับข่าวสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใด
ที่การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ จุดหมายปลายทางไม่ได้รับ
ข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง
3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลง
ความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่าง ผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์ มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้ วงจรกรอง (filter)
กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น

ที่มา : //www.chakkham.ac.th/technology/network/datacommu.html

ข้อ 2
ตัวอย่างการส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียวกันได้แก่ การถ่ายทอดข้อมูลราคาซื้อ-ขายหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไปยังสมาชิกซึ่งมักจะใช้เครื่องพีซีติดต่อเข้ามาจากที่บ้านหรือที่ทำงาน ข้อมูลจะถูกส่งไปเก็บไว้ที่ฐานข้อมูลที่เครื่องพีซีของผู้ใช้ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกดูราคาหุ้น ทั้งหมดหรือหุ้นบางตัวที่สนใจได้โดยไม่ต้องส่งข้อมูลใด ๆ กลับมาที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เพียงแค่ส่งข้อมูลส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงมายังสมาชิกเท่านั้น

ที่มา : //www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php

ข้อ 3
การถ่ายทอดสัญญาณแบบสองทิศทางสมบูรณ์ (Full-Duplex Transmission) ยินยอมให้ทั้งฝ่ายผู้ส่งและผู้รับข้อมูลสามารถส่งข้อมูลไปยังอีกฝ่ายหนึ่งได้ตลอดเวลา วิธีการนี้จึงใช้ประโยชน์จากการสื่อสารข้อมูลอย่างเต็มที่ แต่มีข้อจำกัดคือเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีความสามารถในการรับและส่งข้อมูลได้อย่างเต็มที่ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้สื่อที่เลือกใช้ก็จะต้องมีช่องสื่อสารสองช่อง ช่องหนึ่งสำหรับส่งข้อมูลและอีกช่องหนึ่งสำหรับรับข้อมูล ช่องสื่อสารแบบ RS-232 สามารถรองรับการทำงานแบบนี้ได้เพราะมีขาเชื่อมต่อสำหรับการสื่อสารอยู่สองชุดที่แยกจากกัน โมเด็มที่ทำงานแบบสองทิศทางสมบูรณ์ได้จะต้องได้รับมาตรฐาน CCITT V.32 และ CCITT V.34 เช่นระบบโทรศัพท์เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสื่อสารที่เกิดขึ้นทั้งแบบกึ่งสองทิศทางและแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ในกรณีที่ใช้โทรศัพท์ ภายในเขตเมืองเดียวกัน (รหัสเมืองเหมือนกัน) จะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ดังนั้นผู้ใช้โทรศัพท์ ทั้งสองฝ่ายสามารถที่จะพูดออกมาพร้อม ๆ กัน เสียงพูดของแต่ละฝ่ายจะไปดังที่โทรศัพท์ของอีก ฝ่ายหนึ่ง แม้ว่าในทางปฏิบัติอาจจะไม่มีใครทำอย่างนี้แต่ก็สามารถทำได้อย่างแน่นอน
การส่งสัญญาณในระบบโทรศัพท์ทางไกลแม้ว่าตัวระบบเองจะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์แต่จะทำงานเป็นแบบกึ่งสองทิศทาง ระบบโทรศัพท์ทั่วไปจะมีสัญญาณสะท้อนกลับ (Echo) เกิดขึ้นเสมอเนื่องจากเสียงผู้พูดฝ่ายหนึ่งที่ไปถึงอีกฝ่ายหนึ่งจะทำให้เกิดการส่งสัญญาณสะท้อนกลับมาโดยไม่ได้ตั้งใจ ถ้าเป็นโทรศัพท์ภายในเขตจังหวัดเดียวกันหรือทางไกลภายในประเทศ สัญญาณสะท้อนกลับจะเกิดขึ้นเร็วมาก เนื่องจากระยะทางสั้น และซ้อนทับกับเสียงของผู้พูด จนกระทั่งไม่สามารถแยกเสียงจริงและเสียงสะท้อนออกจากกันได้ แต่ถ้าเป็นโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ สัญญาณสะท้อนกลับจะเกิดขึ้นช้ากว่า เพราะระยะทางไกลมาก ทำให้สามารถแยกความแตกต่างออกจากกันได้ คือผู้พูดจะได้ยินเสียงตัวเองภายหลังจากตัวเองที่หยุดพูด เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ระบบโทรศัพท์ต้องใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องตัดเสียงสะท้อน (Echo Suppressor) อุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่คอยเปิด-ปิดช่องสัญญาณในระหว่างการสนทนาเพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณสะท้อน ย้อนกลับไปยังผู้พูด เนื่องจากอุปกรณ์นี้ทำงานโดยใช้เสียงผู้พูดเป็นตัวกระตุ้นเพื่อปิดช่องสื่อสารของผู้ฟัง จึงทำให้ผู้ฟังไม่สามารถพูดสวนกลับไปได้ในเวลาเดียวกัน ผลที่เกิดขึ้นจึงทำให้ระบบการสื่อสารนี้กลายเป็นแบบกึ่งสองทิศทาง

ที่มา : //www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php


โดย: นางสาวสุจิตรา อินทสร้อย 52040258139 หมู่22 อังคารเช้า IP: 125.26.165.199 วันที่: 21 สิงหาคม 2552 เวลา:21:54:15 น.  

 
7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง

การส่งข้อมูลแบบซิมเพล็ก (simplex transmission) เป็นการติดต่อสื่อสารทางเดียว คือ จะมีด้านหนึ่งเป็นผู้ส่งและอีกด้านหนึ่งเป็นผู้รับ ผู้ส่งจะไม่สามารถรับได้ และผู้รับจะไม่สามารถส่งได้ เช่น การกระจายเสียงวิทยุ โทรทัศน์


7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง

การส่งข้อมูลแบบฟูลดูเพล็กซ์ (full duplex) เป็นการติดต่อสื่อสารแบบสองทิศทาง ทั้งสองฝ่ายสามารถรับและส่งข้อมูลในเวลาเดียวกัน เช่น การรับส่งอีเมล์ การแชท การโทรศัพท์


ที่มา : //school.obec.go.th/wcr1/web2/text/p10.htm

โดย น.ส นาริณี อินทร์ดี รหัสนักศึกษา 52240428208


โดย: น.ส นาริณี อินทร์ดี IP: 113.53.175.55 วันที่: 23 สิงหาคม 2552 เวลา:17:40:05 น.  

 
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง
ตอบ องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ส่วน คือ
1.ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นแหล่งต้นทางของการสื่อสารโดยมีหน้าที่ในการให้กำเนิดข้อมูล หรือเตรียมข้อมูล เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ต้นทาง เป็นต้น
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นแหล่งปลายทางของการสื่อสาร หรือเป็นอุปกรณ์สำหรับข้อมูลที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ดำเนินการต่อไป เช่น ผู้รับ คอมพิวเตอร์ปลายทาง เครื่องพิมพ์
3. ข่าวสาร (Massage) เป็นตัวเนื้อหาของข้อมูล ซึ่งมีได้หลายรูปแบบดังนี้ คือ
- ข้อความ (Text) ข้อมูลที่อยู่ในรูปอักขระ หรือเอกสาร เช่น ข้อความในหนังสือ เป็นต้น
- เสียง (Voice) ข้อมูลเสียงที่แหล่งต้นทางสร้างขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นเสียงที่มนุษย์หรืออุปกรณ์บางอย่างเป็นตัวสร้างก็ได้
- รูปภาพ (Image) เป็นข้อมูลที่ไม่เหมือนข้อความตัวอักษรที่เรียงติดต่อกัน แต่จะมีลักษณะเหมือนรูปภาพ เช่น การสแกนภาพเข้าคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลรูปภาพกับข้อมูลข้อความ แล้วรูปภาพจะมีขนาดใหญ่กว่า
- สื่อผสม (Multimedia) ข้อมูลที่ผสมลักษณะของทั้งรูปภาพ เสียงและข้อความเข้าด้วยกัน โดยสามารถเคลื่อนไหวได้ เช่น การเรียนผ่านระบบ VDO conference เป็นต้น โดยข้อมูลจะมีขนาดใหญ่มาก
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium) เป็นสื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มีสายสัญญาณ เช่น สายไฟ หรือตัวกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น อากาศ เป็นต้น
5. โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน

ที่มา : //www.hs1an.org/index.php?option=com_content&task=view&id=551&Itemid=31

7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ การส่งข้อมูลแบบซิมเพล็ก (simplex transmission) เป็นการติดต่อสื่อสารทางเดียว คือ จะมีด้านหนึ่งเป็นผู้ส่งและอีกด้านหนึ่งเป็นผู้รับ ผู้ส่งจะไม่สามารถรับได้ และผู้รับจะไม่สามารถส่งได้ เช่น การกระจายเสียงวิทยุ โทรทัศน์

ที่มา : //www.hs1an.org/index.php?option=com_content&task=view&id=551&Itemid=31

7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ การส่งข้อมูลแบบฟูลดูเพล็กซ์ (full duplex) เป็นการติดต่อสื่อสารแบบสองทิศทาง ทั้งสองฝ่ายสามารถรับและส่งข้อมูลในเวลาเดียวกัน เช่น การรับส่งอีเมล์ การแชท การโทรศัพท์


ที่มา : //www.hs1an.org/index.php?option=com_content&task=view&id=551&Itemid=31



โดย: นางสาวกฤติยา เหล่าผักสาร 52040263134 หมู่ 22 อังคารเช้า คณะเทคโนโลยี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร IP: 124.157.145.109 วันที่: 28 สิงหาคม 2552 เวลา:18:14:18 น.  

 
แบบฝึกหัด
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง
ตอบ

1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver)
3. ข่าวสาร (Message)
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium)
5. โปรโตคอล (Protocol)

7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ
1. การสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว (Simplex Transmission) เป็นการติดต่อสื่อสารเพียงทิศทางเดียว คือผู้ส่งจะส่งข้อมูลเพียงฝั่งเดียวและโดยฝั่งรับไม่มีการตอบกลับ เช่น การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ การส่ง e-mail เป็นต้น
Simplex Communication เปรียบเสมือนรถยนต์ที่วิ่งไปบนถนนวันเวย์ การเดินทางของข้อมูลจะไปในทิศทางเดียวเท่านั้น ระบบการสื่อสารข้อมูลนี้จะใช้ไม่บ่อยนัก ตัวอย่าง มันอาจจะถูกใช้เป็น
จุดที่นำข้อมูลนั้นไปสู่ปลายทางเท่านั้น




รูป แสดงการสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว


7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง

ตอบ
2.การสื่อสารข้อมูลสองทิศทางสลับกัน (Half Duplex Transmission) เป็นการสื่อสาร 2 ทิศทางแต่คนละเวลากัน เช่น วิทยุสื่อสาร เป็นต้น

ที่มา : //www.hs1an.org/index.php?option=com_content&task=view&id=551&Itemid=31



โดย: ส.ต.ต.หญิงพิพิทย์ชยานันต์ สีลาเวช รหัส 51241151133 รูปแบพิเศษวันเสาร์บ่ายโมง IP: 172.29.5.133, 58.137.131.62 วันที่: 29 สิงหาคม 2552 เวลา:13:26:19 น.  

 
ข้อ 1
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบ
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้
1. ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ
ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2. ผู้รับข่าวสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใด
ที่การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ จุดหมายปลายทางไม่ได้รับ
ข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง
3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลง
ความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่าง ผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์ มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้ วงจรกรอง (filter)
กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น

ที่มา : //www.chakkham.ac.th/technology/network/datacommu.html

ข้อ 2
ตัวอย่างการส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียวกันได้แก่ การถ่ายทอดข้อมูลราคาซื้อ-ขายหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไปยังสมาชิกซึ่งมักจะใช้เครื่องพีซีติดต่อเข้ามาจากที่บ้านหรือที่ทำงาน ข้อมูลจะถูกส่งไปเก็บไว้ที่ฐานข้อมูลที่เครื่องพีซีของผู้ใช้ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกดูราคาหุ้น ทั้งหมดหรือหุ้นบางตัวที่สนใจได้โดยไม่ต้องส่งข้อมูลใด ๆ กลับมาที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เพียงแค่ส่งข้อมูลส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงมายังสมาชิกเท่านั้น

ที่มา : //www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php

ข้อ 3
การถ่ายทอดสัญญาณแบบสองทิศทางสมบูรณ์ (Full-Duplex Transmission) ยินยอมให้ทั้งฝ่ายผู้ส่งและผู้รับข้อมูลสามารถส่งข้อมูลไปยังอีกฝ่ายหนึ่งได้ตลอดเวลา วิธีการนี้จึงใช้ประโยชน์จากการสื่อสารข้อมูลอย่างเต็มที่ แต่มีข้อจำกัดคือเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีความสามารถในการรับและส่งข้อมูลได้อย่างเต็มที่ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้สื่อที่เลือกใช้ก็จะต้องมีช่องสื่อสารสองช่อง ช่องหนึ่งสำหรับส่งข้อมูลและอีกช่องหนึ่งสำหรับรับข้อมูล ช่องสื่อสารแบบ RS-232 สามารถรองรับการทำงานแบบนี้ได้เพราะมีขาเชื่อมต่อสำหรับการสื่อสารอยู่สองชุดที่แยกจากกัน โมเด็มที่ทำงานแบบสองทิศทางสมบูรณ์ได้จะต้องได้รับมาตรฐาน CCITT V.32 และ CCITT V.34 เช่นระบบโทรศัพท์เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสื่อสารที่เกิดขึ้นทั้งแบบกึ่งสองทิศทางและแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ในกรณีที่ใช้โทรศัพท์ ภายในเขตเมืองเดียวกัน (รหัสเมืองเหมือนกัน) จะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ดังนั้นผู้ใช้โทรศัพท์ ทั้งสองฝ่ายสามารถที่จะพูดออกมาพร้อม ๆ กัน เสียงพูดของแต่ละฝ่ายจะไปดังที่โทรศัพท์ของอีก ฝ่ายหนึ่ง แม้ว่าในทางปฏิบัติอาจจะไม่มีใครทำอย่างนี้แต่ก็สามารถทำได้อย่างแน่นอน
การส่งสัญญาณในระบบโทรศัพท์ทางไกลแม้ว่าตัวระบบเองจะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์แต่จะทำงานเป็นแบบกึ่งสองทิศทาง ระบบโทรศัพท์ทั่วไปจะมีสัญญาณสะท้อนกลับ (Echo) เกิดขึ้นเสมอเนื่องจากเสียงผู้พูดฝ่ายหนึ่งที่ไปถึงอีกฝ่ายหนึ่งจะทำให้เกิดการส่งสัญญาณสะท้อนกลับมาโดยไม่ได้ตั้งใจ ถ้าเป็นโทรศัพท์ภายในเขตจังหวัดเดียวกันหรือทางไกลภายในประเทศ สัญญาณสะท้อนกลับจะเกิดขึ้นเร็วมาก เนื่องจากระยะทางสั้น และซ้อนทับกับเสียงของผู้พูด จนกระทั่งไม่สามารถแยกเสียงจริงและเสียงสะท้อนออกจากกันได้ แต่ถ้าเป็นโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ สัญญาณสะท้อนกลับจะเกิดขึ้นช้ากว่า เพราะระยะทางไกลมาก ทำให้สามารถแยกความแตกต่างออกจากกันได้ คือผู้พูดจะได้ยินเสียงตัวเองภายหลังจากตัวเองที่หยุดพูด เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ระบบโทรศัพท์ต้องใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องตัดเสียงสะท้อน (Echo Suppressor) อุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่คอยเปิด-ปิดช่องสัญญาณในระหว่างการสนทนาเพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณสะท้อน ย้อนกลับไปยังผู้พูด เนื่องจากอุปกรณ์นี้ทำงานโดยใช้เสียงผู้พูดเป็นตัวกระตุ้นเพื่อปิดช่องสื่อสารของผู้ฟัง จึงทำให้ผู้ฟังไม่สามารถพูดสวนกลับไปได้ในเวลาเดียวกัน ผลที่เกิดขึ้นจึงทำให้ระบบการสื่อสารนี้กลายเป็นแบบกึ่งสองทิศทาง

ที่มา : //www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php





โดย: นายอัศวิน บัวน้ำอ้อม 51241151118 รูปแบบพิเศษหมู่ 5 วันเสาร์บ่ายโมง IP: 172.29.5.133, 58.137.131.62 วันที่: 29 สิงหาคม 2552 เวลา:13:30:35 น.  

 
การสื่อสารข้อมูล หมายถึง การส่งข้อมูลที่อยู่ในรูปของเลขฐานสอง ที่เกิดจากอุปกรณ์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2เครื่องขึ้นไปโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารตลอดจนแบ่งปันการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด

องค์ประกอบของระบบสื่อสารข้อมูล
ระบบสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบพื้นฐาน 5 ประการ ดังนี้ คือ



1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)
เป็นต้นทางการสื่อสาร มีหน้าที่เตรียมข้อมมูลข่าวสารเพื่อจัดส่ง
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล(Receiver)
เป็นปลายทางของการสื่อสารข้อมูล มีหน้าที่รับส่งข้อมูลข่าวสารที่ผู้ส่งจัดส่งมาให้
3. สื่อกลาง(Medium)
เป็นเส้นทางการสื่อสาร เพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อกลางการสื่อสารนี้ อาจเป็นเส้นลวดทองแดง สายเคเบิล
สายใยแก้วนำแสง หรือคลื่นต่างๆ ที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไม่โครเวฟ คลื่นวิทยุ
4.ข่าวสาร(Massage)
เป็นสัญญานที่ใช้ส่งผ่านไปในสื่อกลาง แบ่งออกเป็น 4รูปแบบ ดังนี้คือ
1. เสียง
2. ข้อมูล
3. ข้อความ
4. รูปภาพ
5. โปรโตรคอล(Protocol)
หมายถึงกฎระเบียบหรือข้อตกลงที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจหรือพูดคุยกันได้
ที่มา //comschool.site40.net/data1.htm

ข้อ 2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง

ซิมเพล็กซ์ (Simplex tranmission)
ข้อมูลสามารถเดินทางไปในทิศทางเดียวเท่านั้น เหมือนการเดินรถบนถนนที่มีช่องทางเดินรถแบบทางเดียว
ตัวอย่างเช่น 1. การส่งสัญญาณโทรทัศน์ สัญญาณจะถูกส่งมาจากสถานีส่งไปยังเครื่องรับโทรทัศน์ ได้เพียงทิศทางเดียวโดยไม่มีสัญญาณตอบกลับ อุปกรณ์ส่งข้อมูลในทางคอมพิวเตอร์บางชนิดก็ส่งในลักษณะนี้ เช่น เครื่องมือตรวจวัดแรงสั่นสะเทือนของโลกจากแผ่นดินไหว
2.ที่สถานีวิทยุหรือโทรทัศน์จะทำหน้าที่ส่งข่าวสารไปยังผู้รับปลายทาง ขณะเดียวกันเครื่องรับวิทยุหรือโทรทัศน์ที่บ้านจะทำหน้าที่รับข้อมูลข่าวสาร

เท่านั้น แต่วิทยุหรือโทรทัศน์ไม่สามารถส่งสัญญาณหรือข้อมูลข่าวสารใด ๆ ไปยังสถานีส่ง และที่สถานนีส่งไม่สามารถรับสัญญาณใด ๆ จากเครื่องรับที่บ้านได้เช่นกัน
วิทยุติดตามตัวที่เรียกว่า เพจเจอร์ เป็นการสื่อสารแบบทางเดียว โดยเพจเจอร์ทำหน้าที่รับข้อมูลจากศูนย์บริการส่งไปยังผู้รับ แต่ไม่สามารถส่งข้อความมาที่ศูนย์บริการได้

ที่มา//reg.ksu.ac.th/teacher/songgrod/4123702/content/lesson3/303.html

จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง

แบบกึ่งสองทิศทาง (Half Duplex) คือ การส่งสัญญาณแบบนี้เมื่อผู้ส่งได้ทำการส่งสัญญาณไปแล้ว ผู้รับก็จะรับสัญญาณนั้นหลังจากนั้นผู้รับก็สามารถปรับมาเป็นผู้ส่งสัญญาณแทน ส่วนผู้ส่งเดิมก็ปรับมาเป็นผู้รับแทนสลับกันได้ แต่ไม่สามารถส่งสัญญาณพร้อมกันในเวลาเดียวกันได้ เช่น 1.วิทยุสื่อสารแบบผลัดกันพูด 2.วิทยุสนามที่ตำรวจใช้
ที่มา//reg.ksu.ac.th/teacher/songgrod/4123702/content/lesson3/303.html





โดย: ส.ต.ต.หญิงพิพิทย์ชยานันต์ สีลาเวช รหัส 51241151133 รูปแบบพิเศษ เรียนเสาร์บ่าย IP: 172.29.5.133, 58.137.131.62 วันที่: 29 สิงหาคม 2552 เวลา:13:45:18 น.  

 
การสื่อสารข้อมูล หมายถึง การส่งข้อมูลที่อยู่ในรูปของเลขฐานสอง ที่เกิดจากอุปกรณ์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2เครื่องขึ้นไปโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารตลอดจนแบ่งปันการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด

องค์ประกอบของระบบสื่อสารข้อมูล
ระบบสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบพื้นฐาน 5 ประการ ดังนี้ คือ



1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)
เป็นต้นทางการสื่อสาร มีหน้าที่เตรียมข้อมมูลข่าวสารเพื่อจัดส่ง
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล(Receiver)
เป็นปลายทางของการสื่อสารข้อมูล มีหน้าที่รับส่งข้อมูลข่าวสารที่ผู้ส่งจัดส่งมาให้
3. สื่อกลาง(Medium)
เป็นเส้นทางการสื่อสาร เพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อกลางการสื่อสารนี้ อาจเป็นเส้นลวดทองแดง สายเคเบิล
สายใยแก้วนำแสง หรือคลื่นต่างๆ ที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไม่โครเวฟ คลื่นวิทยุ
4.ข่าวสาร(Massage)
เป็นสัญญานที่ใช้ส่งผ่านไปในสื่อกลาง แบ่งออกเป็น 4รูปแบบ ดังนี้คือ
1. เสียง
2. ข้อมูล
3. ข้อความ
4. รูปภาพ
5. โปรโตรคอล(Protocol)
หมายถึงกฎระเบียบหรือข้อตกลงที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจหรือพูดคุยกันได้
ที่มา //comschool.site40.net/data1.htm

ข้อ 2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง

ซิมเพล็กซ์ (Simplex tranmission)
ข้อมูลสามารถเดินทางไปในทิศทางเดียวเท่านั้น เหมือนการเดินรถบนถนนที่มีช่องทางเดินรถแบบทางเดียว
ตัวอย่างเช่น 1. การส่งสัญญาณโทรทัศน์ สัญญาณจะถูกส่งมาจากสถานีส่งไปยังเครื่องรับโทรทัศน์ ได้เพียงทิศทางเดียวโดยไม่มีสัญญาณตอบกลับ อุปกรณ์ส่งข้อมูลในทางคอมพิวเตอร์บางชนิดก็ส่งในลักษณะนี้ เช่น เครื่องมือตรวจวัดแรงสั่นสะเทือนของโลกจากแผ่นดินไหว
2.ที่สถานีวิทยุหรือโทรทัศน์จะทำหน้าที่ส่งข่าวสารไปยังผู้รับปลายทาง ขณะเดียวกันเครื่องรับวิทยุหรือโทรทัศน์ที่บ้านจะทำหน้าที่รับข้อมูลข่าวสาร

เท่านั้น แต่วิทยุหรือโทรทัศน์ไม่สามารถส่งสัญญาณหรือข้อมูลข่าวสารใด ๆ ไปยังสถานีส่ง และที่สถานนีส่งไม่สามารถรับสัญญาณใด ๆ จากเครื่องรับที่บ้านได้เช่นกัน
วิทยุติดตามตัวที่เรียกว่า เพจเจอร์ เป็นการสื่อสารแบบทางเดียว โดยเพจเจอร์ทำหน้าที่รับข้อมูลจากศูนย์บริการส่งไปยังผู้รับ แต่ไม่สามารถส่งข้อความมาที่ศูนย์บริการได้

ที่มา//reg.ksu.ac.th/teacher/songgrod/4123702/content/lesson3/303.html

จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง

แบบกึ่งสองทิศทาง (Half Duplex) คือ การส่งสัญญาณแบบนี้เมื่อผู้ส่งได้ทำการส่งสัญญาณไปแล้ว ผู้รับก็จะรับสัญญาณนั้นหลังจากนั้นผู้รับก็สามารถปรับมาเป็นผู้ส่งสัญญาณแทน ส่วนผู้ส่งเดิมก็ปรับมาเป็นผู้รับแทนสลับกันได้ แต่ไม่สามารถส่งสัญญาณพร้อมกันในเวลาเดียวกันได้ เช่น 1.วิทยุสื่อสารแบบผลัดกันพูด 2.วิทยุสนามที่ตำรวจใช้
ที่มา//reg.ksu.ac.th/teacher/songgrod/4123702/content/lesson3/303.html





โดย: ดต.อัสวิน บัวน้ำอ้อม รหัส 51241151118 เรียนเสาร์บ่ายรูปแบบพิเศษ IP: 172.29.5.133, 58.137.131.62 วันที่: 29 สิงหาคม 2552 เวลา:13:47:28 น.  

 
1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง
ตอบ..องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบ
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้

1. ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ
ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2. ผู้รับข่าวสาร หรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร
หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่ การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ
จุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง
3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน
ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้
วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น

องค์ประกอบพื้นฐาน

1.หน่วยส่งข้อมูล (Sending Unit)
2.ช่องทางการส่งข้อมูล (Transmisstion Channel)
3.หน่วยรับข้อมูล (Receiving Unit)

//blog.eduzones.com/offy/3872?page2=16&page=&page3=




โดย: นางสาวสุกัญญา แก้วคูณเมือง รหัส 51241151122 (เรียนเสาร์บ่ายโมง) IP: 192.168.1.107, 114.128.224.201 วันที่: 29 สิงหาคม 2552 เวลา:18:57:26 น.  

 
2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ..1. การสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว (Simplex Transmission) เป็นการติดต่อสื่อสารเพียงทิศทางเดียว คือผู้ส่งจะส่งข้อมูลเพียงฝั่งเดียวและโดยฝั่งรับไม่มีการตอบกลับ เช่น 1.การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ
2 .การส่ง e-mail เป็นต้น

//www.hs1an.org/index.php?option=com_content&task=view&id=551&Itemid=31


โดย: นางสาวสุกัญญา แก้วคูณเมือง รหัส 51241151122 (เรียนเสาร์บ่ายโมง) IP: 192.168.1.107, 114.128.224.201 วันที่: 29 สิงหาคม 2552 เวลา:19:01:53 น.  

 
3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ..การสื่อสารข้อมูลสองทิศทางพร้อมกัน (Full Duplex Transmission) เป็นการสื่อสาร 2 ทิศทาง โดยสามารถส่งข้อมูลในเวลาเดียวกันได้ เช่น
1.การคุยโทรศัพท์
2.การเล่นออนเอ็มคุยกันเป็นต้น

//www.hs1an.org/index.php?option=com_content&task=view&id=551&Itemid=31


โดย: นางสาวสุกัญญา แก้วคูณเมือง รหัส 51241151122 (เรียนเสาร์บ่ายโมง) IP: 192.168.1.107, 114.128.224.201 วันที่: 29 สิงหาคม 2552 เวลา:19:04:59 น.  

 
7.1 องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง

องค์ประกอบพื้นฐานในการสื่อสารข้อมูล
องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ส่วน
1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นแหล่งต้นทางของการสื่อสารโดยมีหน้าที่ในการให้กำเนิดข้อมูล หรือเตรียมข้อมูล เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ต้นทาง เป็นต้น
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นแหล่งปลายทางของการสื่อสาร หรือเป็นอุปกรณ์สำหรับข้อมูลที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ดำเนินการต่อไป เช่น ผู้รับ คอมพิวเตอร์ปลายทาง เครื่องพิมพ์
3. ข่าวสาร (Massage) เป็นตัวเนื้อหาของข้อมูล ซึ่งมีได้หลายรูปแบบดังนี้ คือ
- ข้อความ (Text) ข้อมูลที่อยู่ในรูปอักขระ หรือเอกสาร เช่น ข้อความในหนังสือ เป็นต้น
- เสียง (Voice) ข้อมูลเสียงที่แหล่งต้นทางสร้างขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นเสียงที่มนุษย์หรืออุปกรณ์บางอย่างเป็นตัวสร้างก็ได้
- รูปภาพ (Image) เป็นข้อมูลที่ไม่เหมือนข้อความตัวอักษรที่เรียงติดต่อกัน แต่จะมีลักษณะเหมือนรูปภาพ เช่น การสแกนภาพเข้าคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลรูปภาพกับข้อมูลข้อความ แล้วรูปภาพจะมีขนาดใหญ่กว่า
- สื่อผสม (Multimedia) ข้อมูลที่ผสมลักษณะของทั้งรูปภาพ เสียงและข้อความเข้าด้วยกัน โดยสามารถเคลื่อนไหวได้ เช่น การเรียนผ่านระบบ VDO conference เป็นต้น โดยข้อมูลจะมีขนาดใหญ่มาก
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium) เป็นสื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มีสายสัญญาณ เช่น สายไฟ หรือตัวกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น อากาศ เป็นต้น
5. โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน


ที่มา
//www.hs1an.org/index.php?option=com_content&task=view&id=551&Itemid=31



7.2จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2
ตัวอย่าง

1.การไหลของน้ำออกทางท่อประปา
2.การถ่ายทอดข้อมูลราคาซื้อ-ขายหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ที่มา
//www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php

7.3จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง

1.โทรศัพท์เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสื่อสารที่เกิดขึ้นทั้งแบบกึ่งสองทิศทางและแบบสองทิศทางสมบูรณ์
2.วิทยุสื่อสาร

ที่มา
//www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php

โดย: นางสาวสมฤทัย ราชอินทร์(หมู่ 01 พิเศษ)



โดย: นางสาว สมร นาแพง เสาร์บ่าย 51241151220 IP: 222.123.57.208 วันที่: 31 สิงหาคม 2552 เวลา:13:10:24 น.  

 
ตอบข้อ 1.
องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง

องค์ประกอบพื้นฐานในการสื่อสารข้อมูล
องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ส่วน
1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นแหล่งต้นทางของการสื่อสารโดยมีหน้าที่ในการให้กำเนิดข้อมูล หรือเตรียมข้อมูล เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ต้นทาง เป็นต้น
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นแหล่งปลายทางของการสื่อสาร หรือเป็นอุปกรณ์สำหรับข้อมูลที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ดำเนินการต่อไป เช่น ผู้รับ คอมพิวเตอร์ปลายทาง เครื่องพิมพ์
3. ข่าวสาร (Massage) เป็นตัวเนื้อหาของข้อมูล ซึ่งมีได้หลายรูปแบบดังนี้ คือ
- ข้อความ (Text) ข้อมูลที่อยู่ในรูปอักขระ หรือเอกสาร เช่น ข้อความในหนังสือ เป็นต้น
- เสียง (Voice) ข้อมูลเสียงที่แหล่งต้นทางสร้างขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นเสียงที่มนุษย์หรืออุปกรณ์บางอย่างเป็นตัวสร้างก็ได้
- รูปภาพ (Image) เป็นข้อมูลที่ไม่เหมือนข้อความตัวอักษรที่เรียงติดต่อกัน แต่จะมีลักษณะเหมือนรูปภาพ เช่น การสแกนภาพเข้าคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลรูปภาพกับข้อมูลข้อความ แล้วรูปภาพจะมีขนาดใหญ่กว่า
- สื่อผสม (Multimedia) ข้อมูลที่ผสมลักษณะของทั้งรูปภาพ เสียงและข้อความเข้าด้วยกัน โดยสามารถเคลื่อนไหวได้ เช่น การเรียนผ่านระบบ VDO conference เป็นต้น โดยข้อมูลจะมีขนาดใหญ่มาก
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium) เป็นสื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มีสายสัญญาณ เช่น สายไฟ หรือตัวกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น อากาศ เป็นต้น
5. โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน


ที่มา
//www.hs1an.org/index.php?option=com_content&task=view&id=551&Itemid=31



ตอบข้อ 2
จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2
ตัวอย่าง

1.การไหลของน้ำออกทางท่อประปา
2.การถ่ายทอดข้อมูลราคาซื้อ-ขายหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ที่มา
//www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php

ตอบข้อ3.
จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง

1.โทรศัพท์เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสื่อสารที่เกิดขึ้นทั้งแบบกึ่งสองทิศทางและแบบสองทิศทางสมบูรณ์
2.วิทยุสื่อสาร



โดย: นางสาว จุรีพร โคตรชมภู รหัส 52040332125 พฤหัส เช้า หมู่ 08 IP: 172.29.5.133, 58.137.131.62 วันที่: 31 สิงหาคม 2552 เวลา:16:04:50 น.  

 
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง
ตอบ 1. หน่วยส่งข้อมูล เป็นหน่วยที่ต้องการแจ้งหรือส่งข้อมูลให้หน่วยื่อน ๆ ทราบ เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูล มีหน้าที่ส่งข้อมูลข่าวสาร อาจจะเป็นคน หรือวัตถุก็ได้
2. ช่องทางการสื่อสาร คือกระบวนการ ช่องทาง หรือสื่อใด ๆ ที่ทำให้ข้อมูลสามารถส่งไปถึงหน่วยรับข้อมูลอย่างไม่ผิดพลาด เป็นสื่อสัญญาณทางสายหรือไร้สายก็ได้
3. หน่วยรับข้อมูล เป็นปลายทางของการสื่อสารข้อมูลที่ทำหน้าที่รับข้อมูลส่งมาผ่านช่องทางการสื่อสาร อาจจะเป็นคนหรือวัตถุก็ได้

7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ 1. ระบบวิทยุ 2. ระบบโทรทัศน์
7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ 1.ระบบโทรศัพท์มือถือ 2. การChat Online


โดย: นางฉวีวรรณ แสงเลิศ 51241151132 รูปแบบพิเศษ รปศ. เรียนเวลา บ่ายโมงวันเสาร์ IP: 117.47.14.74 วันที่: 1 กันยายน 2552 เวลา:19:28:43 น.  

 
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง
ตอบ 1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver)
3 ข่าวสาร (Message)
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่ง
ข้อมูล (Medium)
5. โปรโตคอล (Protocol)

7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ แบบทิศทางเดียว (Simplex) ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางโดยไม่สามารถส่งย้อนกลับมาได้ เช่น ระบบวิทยุ หรือโทรทัศน์

7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ แบบสองทิศทาง (Full Duplex) ข้อมูลสามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้งสองทิศทางอย่างอิสระ เช่น ระบบโทรศัพท์ หรือการพูคุยกันผ่านอินเตอร์เน็ต




โดย: นางสาว พิชญามณฑ์ ขมวดทรัพย์ รหัส 52040281119 พฤหัสบดีเช้า หมู่ 8 IP: 124.157.129.9 วันที่: 3 กันยายน 2552 เวลา:16:09:31 น.  

 
1.1. ให้นักศึกษาอธิบายโครงสร้างของข้อมูลตั้งแต่หน่วยที่เล็กที่สุดไปหาหน่วยที่ใหญ่ที่สุด
ตอบ

- บิต (Bit) คือ ข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด เป็นข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและนำไปใช้ งานได้ ซึ่งได้แก่ เลข 0 หรือ เลข 1 เท่านั้น

- ไบต์ (Byte) หรือ อักขระ (Character) ได้แก่ ตัวเลข หรือ ตัวอักษร หรือ สัญลักษณ์พิเศษ 1 ตัว เช่น 0, 1, …, 9, A, B, …, Z และเครื่องหมายต่างๆ ซึ่ง 1 ไบต์จะเท่ากับ 8 บิต หรือ ตัวอักขระ 1 ตัว เป็นต้น

- ฟิลด์ (Field) ได้แก่ ไบต์ หรือ อักขระตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไปรวมกันเป็นฟิลด์ เช่น เลขประจำตัว(ID) ชื่อพนักงาน(name) เป็นต้น

- เรคคอร์ด (Record) ได้แก่ ฟิลด์ตั้งแต่ 1 ฟิลด์ ขึ้นไป ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องรวมกันเป็นเรคคอร์ด เช่น ชื่อ นามสกุล เลขประจำตัว ยอดขาย ข้อมูลของพนักงาน 1 คน เป็น 1 เรคคอร์ด

- ไฟล์ (Files) หรือ แฟ้มข้อมูล ได้แก่ เรคคอร์ดหลายๆ เรคคอร์ดรวมกัน ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกัน เช่น ข้อมูลของประวัติพนักงานแต่ละคนรวมกันทั้งหมด เป็นไฟล์หรือแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับประวัติพนักงานของบริษัท เป็นต้น

- ฐานข้อมูล (Database) คือ การเก็บรวบรวมไฟล์ข้อมูลหลายๆ ไฟล์ที่เกี่ยวข้องกันมารวมเข้าด้วยกัน เช่น ไฟล์ข้อมูลของแผนกต่างๆ มารวมกัน เป็นฐานข้อมูลของบริษัท เป็นต้น

1.2. โครงสร้างแบบเชิงกายภาพ และเชิงตรรกะ ต่างกันอย่างไร
ตอบ
1. โครงสร้างเชิงกายภาพ (Physical Data Structure)
อธิบายวิธีการจัดเก็บข้อมูลในสื่อต่าง ๆ เช่น เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็กและดิสก์

2. โครงสร้างเชิงตรรกะ (Logic Data Structure)
อธิบายการจัดเก็บข้อมูลและความสัมพันธ์ต่าง ๆ ของข้อมูลในระบบฐานข้อมูล แสดงให้เห็นถึงการจัดระเบียบการทำงานและการมีปฎิสัมพันธ์ภายในระบบฐานข้อมูลโดยมีลำดับขั้นจากหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุดไปยังฐานข้อมูล


โดย: นางสาว พิชญามณฑ์ ขมวดทรัพย์ รหัส 52040281119 พฤหัสบดีเช้า หมู่ 8 IP: 124.157.129.9 วันที่: 3 กันยายน 2552 เวลา:16:18:58 น.  

 
2.1. อธิบายวิธีการเข้าถึงแบบสุ่ม และแบบลำดับ

ตอบ
การเข้าถึงโดยสุ่ม (Random Access)
เป็นการเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้ทันที ไม่ต้องผ่านเรคคอร์ดที่อยู่ก่อน การเข้าถึงเรคคอร์ดแบบสุ่มจะเร็วกว่าแบบโดยลำดับมาก เหมาะสมกับงานที่ต้องการความเร็วในการดึงข้อมูลมาก ๆ สื่อที่ใช้ในการเก็บข้อมูลมักเป็นดิสก์ หรือจานแม่เหล็ก

การเข้าถึงโดยลำดับ (Sequential Access)
เป็นการเข้าถึงข้อมูลทีละเรคคอร์ดเรียงไปตามลำดับของการจัดเก็บ ถ้าจะดึงข้อมูลเรคคอร์ดที่ 10 มาใช้จะต้องอ่านข้อมูลผ่านเรคคอร์ดที่ 1 ถึง 9 ก่อนเสมอ เมื่อถึงเรคคอร์ดที่ 10 จึงจะสามารถดึงข้อมูลออกมาใช้ได้ สื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลแบบนี้มักเป็น เทป (Tape)


2.2. การประมวลผลมีกี่วิธีอะไรบ้าง พร้อมทั้งอธิบายมาพอสังเขป
ตอบ
การประมวลผลข้อมูลแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ คือ
1. การประมวลผลด้วยมือ (Manual Data Processing)
เช่น ดินสอ ปากกา ไม้บรรทัด กระดาษ ลูกคิด เครื่องคิดเลข

2. การประมวลผลด้วยมือกับเครื่องจักรกล(Manual With Machine Assistance Data Processing)

3.การประมวลผลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Processing)
เช่น ระบบงานทะเบียนและวัดผล, ระบบงานการจองตั๋วเครื่องบิน หรือระบบงานด้านการเงินและการธนาคาร



โดย: นางสาว พิชญามณฑ์ ขมวดทรัพย์ รหัส 52040281119 พฤหัสบดีเช้า หมู่ 8 IP: 124.157.129.9 วันที่: 3 กันยายน 2552 เวลา:16:29:06 น.  

 
3.1. ให้นักศึกษายกตัวอย่างความสัมพันธ์ของฐานข้อมูล ทั้ง 3 ลักษณะ (ลักษณะละ 3 ตัวอย่าง)
ตอบ
1. ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One - to - One Relationships)
-นักศึกษาหนึ่งคนมีรองเท้าหนึ่งคู่
-นักศึกษาหนึ่งคนมีกระเป๋าหนึ่งใบ
-คนหนึ่งคนเลี้ยงหมาหนึ่งตัว

2. ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม (One - to - many Relationships)
ตอบ
-นักศึกษาหนึ่งคนมีชมรมหลายชมรม
-คนหนึ่งคนมีแฟนหลายคน
-นักศึกษาหนึ่งคนมีรองเท้าหลายคู่

3. ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม (Many - to - Many Relationships)
ตอบ
-จังหวัดแต่ละแห่งมีอำเภอหลายอำเภอ
-มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งมีคณะหลายคณะ
-บ้านแต่ละหลังมีสมาชิกหลายคน


โดย: นางสาว พิชญามณฑ์ ขมวดทรัพย์ รหัส 52040281119 พฤหัสบดีเช้า หมู่ 8 IP: 124.157.129.9 วันที่: 3 กันยายน 2552 เวลา:16:44:18 น.  

 
7.1 องค์ประกอบพื้นฐานของระบบสื่อสารข้อมูล
องค์ประกอบพื้นฐานของระบบสื่อสารข้อมูล

1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล(Sender)ข้อมูลต่างๆ ที่อยู่ต้นทางจะต้องจัดเตรียมนำเข้าสู่อุปกรณ์สำหรับส่งข้อมูล ซึ่งได้แก่เครื่องพิมพ์ หรืออุปกรณ์ควบคุมต่าง ๆ จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นถูกเปลี่ยนให้อยู่ใน รูปแบบที่สามารถส่งข้อมูลนั้นได้ก่อน

2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) ข้อมูลที่ถูกส่งจากอุปกรณ์ส่งข้อมูลต้นทาง เมื่อไปถึงปลายทางก็จะมีอุปกรณ์สำหรับ รับข้อมูลเหล่านั้นเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ เครื่องพิมพ์ คอมพิวเตอร์ จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม ฯลฯ

3. โปรโตคอล (Protocal) โปรโตคอล คือ กฏระเบียบ หรือวิธีการใช้เป็นข้อกำหนดสำหรับการสื่อสาร เพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งเข้าใจกันได้ ซึ่งมีหลายชนิดให้เลือกใช้ เช่น TCP/IP, X.25, SDLC เป็นต้น

4. ซอฟต์แวร์ (Software) การส่งข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีโปรแกรมสำหรับกำเนินการ และควบคุมการส่งข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลตามที่กำหนดไว้ ได้แก่ Novell’s netware] UNIX Windows NT ฯลฯ

5. ข่าวสาร (Message) เป็นรายละเอียดซึ่งอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ที่จะส่งผ่านระบบการสื่อสาร ซึ่งมีหลายรูปแบบดังนี้ 5.1) ข้อมูล (Data) เป็นรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ ซึ่งถูกสร้างและจัดเก็บด้วยคอมพิวเตอร์ มีรูปแบบแน่นอน เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า เป็นต้น ข้อมูลสามารถนับจำนวนได้และส่งผ่านระบบสื่อสารได้เร็ว 5.2) ข้อความ (Text) อยู่ในรูปของเอกสารหรือตัวอักขระ ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ชัดเจนนับจำนวนได้ค่อนข้างยาก และมีความสามารถในการส่งปานกลาง 5.3) รูปภาพ (Image) เป็นข่าวสารที่อยู่ในรูปของภาพกราฟิกแบบต่าง ๆ ได้แก่ รูปภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพวีดีโอ ซึ่งข้อมูลชนิดนี้จะต้องอาศัยสื่อสำหรับเก็บ และใช้หน่วยความจำเป็นจำนวนมาก 5.4) เสียง (Voice) อยู่ในรูปของเสียงพูด เสียงดนตรี หรือเสียงอื่น ๆ ข้อมูลชนิดนี้จะกระจัดกระจาย ไม่สามารถวัดขนาดที่แน่นอนได้ การส่งจะทำได้ด้วยความเร็ว ค่อนข้างต่ำ

6. ตัวกลาง(Medium) เป็นตัวกลางหรือสื่อกลางที่ทำหน้าที่นำข่าวสารในรูปแบบต่าง ๆ จากผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งต้นทางไปยังผู้รับ หรืออุปกรณ์รับปลายทาง ซึ่งมีหลายรูปแบบได้แก่ สายไป ขดลวด สายเคเบิล สายไฟเบอร์ออฟติก ตัวกลางอาจจะอยู่ในรูปของคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ คลื่นดาวเทียม หรือคลื่นวิทยุ เป็น

7.2 โทรทัศน์ วิทยุ
7.3 msn QQ


//cp101km.swu.ac.th/index.php/51102010454_%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5




โดย: นางสาวชรัญดา สีปุ้ม รหัส 52040280121 หมู่ 8 เรียน พฤหัสเช้า IP: 1.1.1.104, 58.137.131.62 วันที่: 3 กันยายน 2552 เวลา:18:42:17 น.  

 
7.1องค์ประกอบพื้นฐานของระบบสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์นั้น จะทำได้ก็ต่อเมื่อมีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)

Sorry, your browser doesn't support Java(tm).

ข้อมูลต่างๆ ที่อยู่ต้นทางจะต้องจัดเตรียมนำเข้าสู่อุปกรณ์สำหรับส่งข้อมูล ซึ่งได้แก่เครื่องพิมพ์ หรืออุปกรณ์ควบคุมต่าง ๆ จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถส่งข้อมูลนั้นได้ก่อน

7.1 e-mail โทรเลข

7.2 msn วิทยุสื่อสาร


//elearning.northcm.ac.th/it/lesson6-1.asp


2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver)

Sorry, your browser doesn't support Java(tm).

ข้อมูลที่ถูกส่งจากอุปกรณ์ส่งข้อมูลต้นทาง เมื่อไปถึงปลายทางก็จะมีอุปกรณ์สำหรับรับข้อมูลเหล่านั้นเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ เครื่องพิมพ์ คอมพิวเตอร์ จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม ฯลฯ



3. โปรโตคอล (Protocol)

Sorry, your browser doesn't support Java(tm).

โปรโตคอล คือ กฎระเบียบ หรือวิธีการใช้เป็นข้อกำหนดสำหรับการสื่อสาร เพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งเข้าใจกันได้ ซึ่งมีหลายชนิดให้เลือกใช้ เช่น TCP/IP, X.25, SDLC เป็นต้น

4. ซอฟต์แวร์ (Software)

Sorry, your browser doesn't support Java(tm).

การส่งข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีโปรแกรมสำหรับดำเนินการ และควบคุมการส่งข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลตามที่กำหนดไว้ ได้แก่ Novell's NetWare UNIX Windows NT ฯลฯ

5. ข่าวสาร (Message)

Sorry, your browser doesn't support Java(tm).

เป็นรายละเอียดซึ่งอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ที่จะส่งผ่านระบบการสื่อสาร ซึ่งมีหลายรูปแบบดังนี้

5.1 ข้อมูล (Data) เป็นรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ ซึ่งถูกสร้างและจัดเก็บด้วยคอมพิวเตอร์ มีรูปแบบแน่นอน เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า เป็นต้น ข้อมูลสามารถนับจำนวนได้และส่งผ่านระบบสื่อสารได้เร็ว
5.2 ข้อความ (Text) อยู่ในรูปของเอกสารหรือตัวอักขระ ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ชัดเจนนับจำนวนได้คอนข้างยาก และมีความสามารถในการส่งปานกลาง

5.3 รูปภาพ (Image) เป็นข่าวสารที่อยู่ในรูปของภาพกราฟิกแบบต่าง ๆ ได้แก่ รูปภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพวิดีโอ ซึ่งข้อมูลชนิดนี้จะต้องอาศัยสื่อสำหรับเก็บและใช้หน่วยความจำเป็นจำนวนมาก

5.4 เสียง (Voice) อยู่ในรูปของเสียงพูด เสียงดนตรี หรือเสียงอื่น ๆ ข้อมูลชนิดนี้จะกระจัดกระจาย ไม่สามารถวัดขนาดที่แน่นอนได้ การส่งจะทำได้ด้วยความเร็ว ค่อนข้างต่ำ

6. ตัวกลาง (Medium)

Sorry, your browser doesn't support Java(tm).

เป็นตัวกลางหรือสื่อกลางที่ทำหน้าที่นำข่าวสารในรูปแบบต่าง ๆ จากผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งต้นทางไปยังผู้รับหรืออุปกรณ์รับปลายทาง ซึ่งมีหลายรูปแบบได้แก่ สายไป ขดลวด สายเคเบิล สายไฟเบอร์ออฟติก ตัวกลางอาจจะอยู่ในรูปของคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ คลื่นดาวเทียม หรือคลื่นวิทยุ เป็นต้น



โดย: นางสาวกิ่งแก้ว เชื้อบุญมมา รหัส 52040281114 หมู่ 8 เรียนพฤหัสเช้า IP: 1.1.1.104, 58.137.131.62 วันที่: 3 กันยายน 2552 เวลา:19:04:29 น.  

 
แบบฝึกหัด
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง
ตอบ

1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver)
3. ข่าวสาร (Message)
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium)
5. โปรโตคอล (Protocol)

7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ
1. การสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว (Simplex Transmission) เป็นการติดต่อสื่อสารเพียงทิศทางเดียว คือผู้ส่งจะส่งข้อมูลเพียงฝั่งเดียวและโดยฝั่งรับไม่มีการตอบกลับ เช่น การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ การส่ง e-mail เป็นต้น
Simplex Communication เปรียบเสมือนรถยนต์ที่วิ่งไปบนถนนวันเวย์ การเดินทางของข้อมูลจะไปในทิศทางเดียวเท่านั้น ระบบการสื่อสารข้อมูลนี้จะใช้ไม่บ่อยนัก ตัวอย่าง มันอาจจะถูกใช้เป็น
จุดที่นำข้อมูลนั้นไปสู่ปลายทางเท่านั้น




รูป แสดงการสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว


7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง

ตอบ
2.การสื่อสารข้อมูลสองทิศทางสลับกัน (Half Duplex Transmission) เป็นการสื่อสาร 2 ทิศทางแต่คนละเวลากัน เช่น วิทยุสื่อสาร เป็นต้น

ที่มา : //www.hs1an.org/index.php?option=com_content&task=view&id=551&Itemid=31


โดย: เกษร อัครฮาด รหัสนักศึกษา 52040003135 หมู่ 29 พุธ(เช้า) IP: 202.29.5.62 วันที่: 7 กันยายน 2552 เวลา:17:22:09 น.  

 
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง

1. ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ
ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2. ผู้รับข่าวสาร หรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร
หรือ แหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่ การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ
จุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง
3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อ ความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน
ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าว สารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าว สารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้
วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น

ที่มา //blog.eduzones.com/offy/3872?page2=16&page=&page3=


7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง

1. การสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว (Simplex Transmission) เป็นการติดต่อสื่อสารเพียงทิศทางเดียว คือผู้ส่งจะส่งข้อมูลเพียงฝั่งเดียวและโดยฝั่งรับไม่มีการตอบกลับ เช่น การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ การส่ง e-mail เป็นต้น

2.แบบทิศทางเดียวหรือซิมเพล็กซ์ (One-way หรือ Simplex)
เป็นการส่งข้อมูลในทิศทางเดียว คือข้อมู่ลถูกส่งไปในทางเดียว เช่น สถานีวิทยุกระจายเสียง การแพร่ภาพทางโทรทัศน์

ที่มา //www.vcharkarn.com/vcafe/81178
//www.hs1an.org/index.php?option=com_content&task=view&id=551&Itemid=31


7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง

1)การถ่ายทอดสัญญาณแบบกึ่งสองทิศทาง
การถ่ายทอดสัญญาณแบบกึ่งสองทิศทาง (Half-duplex Transmission) ยินยอมให้ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้และผู้รับก็สามารถส่งข้อมูล กลับมายังผู้ส่งข้อมูลได้เช่นกัน แต่มีเงื่อนไขว่าทั้งผู้ส่งและผู้รับจะส่งข้อมูลพร้อมกันไม่ได้ ตัวอย่างได้แก่ การใช้วิทยุสื่อสารของตำรวจ หรือวิทยุ สื่อสารใช้งานทั่วไป (CB Radio) ผู้พูดสามารถพูดไปอีกฝ่ายหนึ่งได้ แต่จะพูดพร้อมกันไม่ได้ คือในขณะที่ฝ่ายหนึ่งเป็นผู้พูด อีกฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นผู้ฟัง ในระบบนี้ไม่มีการบังคับอย่างชัดเจนว่าฝ่ายใดจะพูด ดังนั้นในการใช้งานจริงจึงต้องอาศัยประสบการณ์ของผู้ใช้งานเป็นสำคัญมิ ฉะนั้นก็อาจจะมีแต่ผู้พูดไม่มีใครยอมเป็นผู้ฟัง ในการสื่อสารข้อมูล จะไม่เกิดการแย่งกันส่งข้อมูลเด็ดขาดเนื่องจากการสื่อสารจะต้องมีโพรโทคอ ลหรือกฎการสื่อสารข้อมูลเป็นตัวบังคับ
2) การถ่ายทอดสัญญาณแบบสองทิศทางสมบูรณ์
การถ่ายทอดสัญญาณแบบสองทิศทางสมบูรณ์ (Full-Duplex Transmission) ยินยอมให้ทั้งฝ่ายผู้ส่งและผู้รับข้อมูลสามารถส่งข้อมูลไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ได้ตลอดเวลา วิธีการนี้จึงใช้ประโยชน์จากการสื่อสารข้อมูลอย่างเต็มที่ แต่มีข้อจำกัดคือเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีความสามารถในการรับและส่งข้อมูล ได้อย่างเต็มที่ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้สื่อที่เลือกใช้ก็จะต้องมีช่องสื่อสารสองช่อง ช่องหนึ่งสำหรับส่งข้อมูลและอีกช่องหนึ่งสำหรับรับข้อมูล ช่องสื่อสารแบบ RS-232 สามารถรองรับการทำงานแบบนี้ได้เพราะมีขาเชื่อมต่อสำหรับการสื่อสารอยู่สอง ชุดที่แยกจากกัน โมเด็มที่ทำงานแบบสองทิศทางสมบูรณ์ได้จะต้องได้รับมาตรฐาน CCITT V.32 และ CCITT V.34 เช่นระบบโทรศัพท์เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสื่อสารที่เกิดขึ้นทั้งแบบกึ่งสอง ทิศทางและแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ในกรณีที่ใช้โทรศัพท์ ภายในเขตเมืองเดียวกัน (รหัสเมืองเหมือนกัน) จะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ดังนั้นผู้ใช้โทรศัพท์ ทั้งสองฝ่ายสามารถที่จะพูดออกมาพร้อม ๆ กัน เสียงพูดของแต่ละฝ่ายจะไปดังที่โทรศัพท์ของอีก ฝ่ายหนึ่ง แม้ว่าในทางปฏิบัติอาจจะไม่มีใครทำอย่างนี้แต่ก็สามารถทำได้อย่างแน่นอน


ที่มา //www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php


โดย: ณัฐวุฒิ ไชยเสนา หมู่22 IP: 172.29.5.133, 58.147.7.66 วันที่: 8 กันยายน 2552 เวลา:9:29:20 น.  

 
ข้อ 1
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบ
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้
1. ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ
ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2. ผู้รับข่าวสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใด
ที่การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ จุดหมายปลายทางไม่ได้รับ
ข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง
3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลง
ความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่าง ผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์ มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้ วงจรกรอง (filter)
กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น

ที่มา : //www.chakkham.ac.th/technology/network/datacommu.html

ข้อ 2
ตัวอย่างการส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียวกันได้แก่ การถ่ายทอดข้อมูลราคาซื้อ-ขายหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไปยังสมาชิกซึ่งมักจะใช้เครื่องพีซีติดต่อเข้ามาจากที่บ้านหรือที่ทำงาน ข้อมูลจะถูกส่งไปเก็บไว้ที่ฐานข้อมูลที่เครื่องพีซีของผู้ใช้ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกดูราคาหุ้น ทั้งหมดหรือหุ้นบางตัวที่สนใจได้โดยไม่ต้องส่งข้อมูลใด ๆ กลับมาที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เพียงแค่ส่งข้อมูลส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงมายังสมาชิกเท่านั้น

ที่มา : //www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php

ข้อ 3
การถ่ายทอดสัญญาณแบบสองทิศทางสมบูรณ์ (Full-Duplex Transmission) ยินยอมให้ทั้งฝ่ายผู้ส่งและผู้รับข้อมูลสามารถส่งข้อมูลไปยังอีกฝ่ายหนึ่งได้ตลอดเวลา วิธีการนี้จึงใช้ประโยชน์จากการสื่อสารข้อมูลอย่างเต็มที่ แต่มีข้อจำกัดคือเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีความสามารถในการรับและส่งข้อมูลได้อย่างเต็มที่ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้สื่อที่เลือกใช้ก็จะต้องมีช่องสื่อสารสองช่อง ช่องหนึ่งสำหรับส่งข้อมูลและอีกช่องหนึ่งสำหรับรับข้อมูล ช่องสื่อสารแบบ RS-232 สามารถรองรับการทำงานแบบนี้ได้เพราะมีขาเชื่อมต่อสำหรับการสื่อสารอยู่สองชุดที่แยกจากกัน โมเด็มที่ทำงานแบบสองทิศทางสมบูรณ์ได้จะต้องได้รับมาตรฐาน CCITT V.32 และ CCITT V.34 เช่นระบบโทรศัพท์เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสื่อสารที่เกิดขึ้นทั้งแบบกึ่งสองทิศทางและแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ในกรณีที่ใช้โทรศัพท์ ภายในเขตเมืองเดียวกัน (รหัสเมืองเหมือนกัน) จะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ดังนั้นผู้ใช้โทรศัพท์ ทั้งสองฝ่ายสามารถที่จะพูดออกมาพร้อม ๆ กัน เสียงพูดของแต่ละฝ่ายจะไปดังที่โทรศัพท์ของอีก ฝ่ายหนึ่ง แม้ว่าในทางปฏิบัติอาจจะไม่มีใครทำอย่างนี้แต่ก็สามารถทำได้อย่างแน่นอน
การส่งสัญญาณในระบบโทรศัพท์ทางไกลแม้ว่าตัวระบบเองจะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์แต่จะทำงานเป็นแบบกึ่งสองทิศทาง ระบบโทรศัพท์ทั่วไปจะมีสัญญาณสะท้อนกลับ (Echo) เกิดขึ้นเสมอเนื่องจากเสียงผู้พูดฝ่ายหนึ่งที่ไปถึงอีกฝ่ายหนึ่งจะทำให้เกิดการส่งสัญญาณสะท้อนกลับมาโดยไม่ได้ตั้งใจ ถ้าเป็นโทรศัพท์ภายในเขตจังหวัดเดียวกันหรือทางไกลภายในประเทศ สัญญาณสะท้อนกลับจะเกิดขึ้นเร็วมาก เนื่องจากระยะทางสั้น และซ้อนทับกับเสียงของผู้พูด จนกระทั่งไม่สามารถแยกเสียงจริงและเสียงสะท้อนออกจากกันได้ แต่ถ้าเป็นโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ สัญญาณสะท้อนกลับจะเกิดขึ้นช้ากว่า เพราะระยะทางไกลมาก ทำให้สามารถแยกความแตกต่างออกจากกันได้ คือผู้พูดจะได้ยินเสียงตัวเองภายหลังจากตัวเองที่หยุดพูด เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ระบบโทรศัพท์ต้องใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องตัดเสียงสะท้อน (Echo Suppressor) อุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่คอยเปิด-ปิดช่องสัญญาณในระหว่างการสนทนาเพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณสะท้อน ย้อนกลับไปยังผู้พูด เนื่องจากอุปกรณ์นี้ทำงานโดยใช้เสียงผู้พูดเป็นตัวกระตุ้นเพื่อปิดช่องสื่อสารของผู้ฟัง จึงทำให้ผู้ฟังไม่สามารถพูดสวนกลับไปได้ในเวลาเดียวกัน ผลที่เกิดขึ้นจึงทำให้ระบบการสื่อสารนี้กลายเป็นแบบกึ่งสองทิศทาง

ที่มา : //www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php
โดย นาย พิษณุ มีที หมู่ 11 จันทร์/บ่าย


โดย: พิษณุ มีที IP: 192.168.1.115, 124.157.146.90 วันที่: 10 กันยายน 2552 เวลา:19:14:05 น.  

 
ข้อ 1

1.องค์ประกอบพื้นฐานของระบบสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์นั้น จะทำได้ก็ต่อเมื่อมีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)
ข้อมูลต่างๆ ที่อยู่ต้นทางจะต้องจัดเตรียมนำเข้าสู่อุปกรณ์สำหรับส่งข้อมูล ซึ่งได้แก่เครื่องพิมพ์ หรืออุปกรณ์ควบคุมต่าง ๆ จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถส่งข้อมูลนั้นได้ก่อน


2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver)
ข้อมูลที่ถูกส่งจากอุปกรณ์ส่งข้อมูลต้นทาง เมื่อไปถึงปลายทางก็จะมีอุปกรณ์สำหรับรับข้อมูลเหล่านั้นเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ เครื่องพิมพ์ คอมพิวเตอร์ จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม ฯลฯ



3. โปรโตคอล (Protocol)
โปรโตคอล คือ กฎระเบียบ หรือวิธีการใช้เป็นข้อกำหนดสำหรับการสื่อสาร เพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งเข้าใจกันได้ ซึ่งมีหลายชนิดให้เลือกใช้ เช่น TCP/IP, X.25, SDLC เป็นต้น

4. ซอฟต์แวร์ (Software)
การส่งข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีโปรแกรมสำหรับดำเนินการ และควบคุมการส่งข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลตามที่กำหนดไว้ ได้แก่ Novell's NetWare UNIX Windows NT ฯลฯ

5. ข่าวสาร (Message)

เป็นรายละเอียดซึ่งอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ที่จะส่งผ่านระบบการสื่อสาร ซึ่งมีหลายรูปแบบดังนี้

5.1 ข้อมูล (Data) เป็นรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ ซึ่งถูกสร้างและจัดเก็บด้วยคอมพิวเตอร์ มีรูปแบบแน่นอน เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า เป็นต้น ข้อมูลสามารถนับจำนวนได้และส่งผ่านระบบสื่อสารได้เร็ว
5.2 ข้อความ (Text) อยู่ในรูปของเอกสารหรือตัวอักขระ ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ชัดเจนนับจำนวนได้คอนข้างยาก และมีความสามารถในการส่งปานกลาง

5.3 รูปภาพ (Image) เป็นข่าวสารที่อยู่ในรูปของภาพกราฟิกแบบต่าง ๆ ได้แก่ รูปภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพวิดีโอ ซึ่งข้อมูลชนิดนี้จะต้องอาศัยสื่อสำหรับเก็บและใช้หน่วยความจำเป็นจำนวนมาก

5.4 เสียง (Voice) อยู่ในรูปของเสียงพูด เสียงดนตรี หรือเสียงอื่น ๆ ข้อมูลชนิดนี้จะกระจัดกระจาย ไม่สามารถวัดขนาดที่แน่นอนได้ การส่งจะทำได้ด้วยความเร็ว ค่อนข้างต่ำ

6. ตัวกลาง (Medium)
เป็นตัวกลางหรือสื่อกลางที่ทำหน้าที่นำข่าวสารในรูปแบบต่าง ๆ จากผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งต้นทางไปยังผู้รับหรืออุปกรณ์รับปลายทาง ซึ่งมีหลายรูปแบบได้แก่ สายไป ขดลวด สายเคเบิล สายไฟเบอร์ออฟติก ตัวกลางอาจจะอยู่ในรูปของคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ คลื่นดาวเทียม หรือคลื่นวิทยุ เป็นต้น


ที่มา : //elearning.northcm.ac.th/it/lesson6-1.asp



ข้อ 2.ตัวอย่างการสื่อสารทิศทางเดียว

เช่น จอคอมพิวเตอร์ คีย์บอร์ด วิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น


ที่มา ข้อ 2 ://www.google.co.th/search?hl=th&q=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7&meta=




3.ตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบ 2 ทิศทาง



การถ่ายทอดสัญญาณแบบสองทิศทางสมบูรณ์
การถ่ายทอดสัญญาณแบบสองทิศทางสมบูรณ์ (Full-Duplex Transmission) ยินยอมให้ทั้งฝ่ายผู้ส่งและผู้รับข้อมูลสามารถส่งข้อมูลไปยังอีกฝ่ายหนึ่งได้ตลอดเวลา วิธีการนี้จึงใช้ประโยชน์จากการสื่อสารข้อมูลอย่างเต็มที่ แต่มีข้อจำกัดคือเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีความสามารถในการรับและส่งข้อมูลได้อย่างเต็มที่ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้สื่อที่เลือกใช้ก็จะต้องมีช่องสื่อสารสองช่อง ช่องหนึ่งสำหรับส่งข้อมูลและอีกช่องหนึ่งสำหรับรับข้อมูล ช่องสื่อสารแบบ RS-232 สามารถรองรับการทำงานแบบนี้ได้เพราะมีขาเชื่อมต่อสำหรับการสื่อสารอยู่สองชุดที่แยกจากกัน โมเด็มที่ทำงานแบบสองทิศทางสมบูรณ์ได้จะต้องได้รับมาตรฐาน CCITT V.32 และ CCITT V.34 เช่นระบบโทรศัพท์เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสื่อสารที่เกิดขึ้นทั้งแบบกึ่งสองทิศทางและแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ในกรณีที่ใช้โทรศัพท์ ภายในเขตเมืองเดียวกัน (รหัสเมืองเหมือนกัน) จะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ดังนั้นผู้ใช้โทรศัพท์ ทั้งสองฝ่ายสามารถที่จะพูดออกมาพร้อม ๆ กัน เสียงพูดของแต่ละฝ่ายจะไปดังที่โทรศัพท์ของอีก ฝ่ายหนึ่ง แม้ว่าในทางปฏิบัติอาจจะไม่มีใครทำอย่างนี้แต่ก็สามารถทำได้อย่างแน่นอน
การส่งสัญญาณในระบบโทรศัพท์ทางไกลแม้ว่าตัวระบบเองจะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์แต่จะทำงานเป็นแบบกึ่งสองทิศทาง ระบบโทรศัพท์ทั่วไปจะมีสัญญาณสะท้อนกลับ (Echo) เกิดขึ้นเสมอเนื่องจากเสียงผู้พูดฝ่ายหนึ่งที่ไปถึงอีกฝ่ายหนึ่งจะทำให้เกิดการส่งสัญญาณสะท้อนกลับมาโดยไม่ได้ตั้งใจ ถ้าเป็นโทรศัพท์ภายในเขตจังหวัดเดียวกันหรือทางไกลภายในประเทศ สัญญาณสะท้อนกลับจะเกิดขึ้นเร็วมาก เนื่องจากระยะทางสั้น และซ้อนทับกับเสียงของผู้พูด จนกระทั่งไม่สามารถแยกเสียงจริงและเสียงสะท้อนออกจากกันได้ แต่ถ้าเป็นโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ สัญญาณสะท้อนกลับจะเกิดขึ้นช้ากว่า เพราะระยะทางไกลมาก ทำให้สามารถแยกความแตกต่างออกจากกันได้ คือผู้พูดจะได้ยินเสียงตัวเองภายหลังจากตัวเองที่หยุดพูด เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ระบบโทรศัพท์ต้องใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องตัดเสียงสะท้อน (Echo Suppressor) อุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่คอยเปิด-ปิดช่องสัญญาณในระหว่างการสนทนาเพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณสะท้อน ย้อนกลับไปยังผู้พูด เนื่องจากอุปกรณ์นี้ทำงานโดยใช้เสียงผู้พูดเป็นตัวกระตุ้นเพื่อปิดช่องสื่อสารของผู้ฟัง จึงทำให้ผู้ฟังไม่สามารถพูดสวนกลับไปได้ในเวลาเดียวกัน ผลที่เกิดขึ้นจึงทำให้ระบบการสื่อสารนี้กลายเป็นแบบกึ่งสองทิศทาง



เช่น การสนทนากันทางโทรศัพท์มือถือ หรือ MSN.




ที่มา ข้อ 3 : //www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php


โดย: น.ส.สุกัญญา มาสาซ้าย (นศ.หมู่ 08 พฤหัส เช้า) IP: 172.29.5.133, 202.29.5.62 วันที่: 11 กันยายน 2552 เวลา:10:34:20 น.  

 
ข้อ1
องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล

การสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบ 5 อย่าง ได้แก่


1. ผู้ส่ง (Sender) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งข่าวสาร (Message) เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูลมีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล เช่น ผู้พูด โทรทัศน์ กล้องวิดีโอ เป็นต้น
2. ผู้รับ (Receiver) เป็นปลายทางการสื่อสาร มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้ เช่น ผู้ฟัง เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
3. สื่อกลาง (Medium) หรือตัวกลาง เป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อส่งข้อมูลอาจเป็นสายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล สายใยแก้วนำแสง หรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น เลเซอร์ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุภาคพื้นดิน หรือคลื่นวิทยุผ่านดาวเทียม
4. ข้อมูลข่าวสาร (Message) คือสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร ซึ่งอาจถูกเรียกว่า สารสนเทศ (Information) โดยแบ่งเป็น 5รูปแบบ ดังนี้
4.1 ข้อความ (Text) ใช้แทนตัวอักขระต่าง ๆ ซึ่งจะแทนด้วยรหัสต่าง ๆ เช่น รหัสแอสกี เป็นต้น
4.2 ตัวเลข (Number) ใช้แทนตัวเลขต่าง ๆ ซึ่งตัวเลขไม่ได้ถูกแทนด้วยรหัสแอสกีแต่จะถูกแปลงเป็นเลขฐานสองโดยตรง
4.3 รูปภาพ (Images) ข้อมูลของรูปภาพจะแทนด้วยจุดสีเรียงกันไปตามขนาดของรูปภาพ
4.4 เสียง (Audio) ข้อมูลเสียงจะแตกต่างจากข้อความ ตัวเลข และรูปภาพเพราะข้อมูลเสียงจะเป็นสัญญาณต่อเนื่องกันไป
4.5 วิดีโอ (Video) ใช้แสดงภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากการรวมกันของรูปภาพหลาย ๆ รูป
5. โปรโตคอล (Protocol) คือ วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่อง โดยทั้งสองฝั่งทั้งผู้รับและผู้ส่งได้ตกลงกันไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว ในคอมพิวเตอร์โปรโตคอลอยู่ในส่วนของซอฟต์แวร์ที่มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงาน ในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น X.25, SDLC, HDLC, และ TCP/IP เป็นต้น

ที่มา//www.promma.ac.th/special_science/supplementary/computer(10)/network/net_datacom2.htm


ข้อ2
แบบทิศทางเดียวหรือซิมเพล็กซ์ (One-way หรือ Simplex)
เป็นการส่งข้อมูลในทิศทางเดียว คือข้อมู่ลถูกส่งไปในทางเดียว เช่น
1.สถานีวิทยุกระจายเสียง
2.การแพร่ภาพทางโทรทัศน์
ที่มา//www.vcharkarn.com/vcafe/81178

ข้อ3.
แบบทางคู่หรือดูเพล็กซ์เต็ม (Full - Duplex )
เป็นการส่งข้อมูลแบบที่สามารถส่ง และรับข้อมูลได้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน ซึ่งวิธีนี้ทำให้การทำงานเร็วขึ้นมาก เช่น1.การพูด
2.ทางโทรศัพท์
ที่มา//www.vcharkarn.com/vcafe/81178



โดย: นายวัชระพงศ์ โคตรชมภู 51040901205 คณะมนษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชานิติศาสตร์ หมู่01 จันทร์บ่าย IP: 172.29.5.133, 58.147.7.66 วันที่: 11 กันยายน 2552 เวลา:14:50:29 น.  

 
7.1องค์ประกอบพื้นฐานของระบบสื่อสารข้อมูล
ตอบ องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล

การสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบ 5 อย่าง ได้แก่


1. ผู้ส่ง (Sender) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งข่าวสาร (Message) เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูลมีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล เช่น ผู้พูด โทรทัศน์ กล้องวิดีโอ เป็นต้น
2. ผู้รับ (Receiver) เป็นปลายทางการสื่อสาร มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้ เช่น ผู้ฟัง เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
3. สื่อกลาง (Medium) หรือตัวกลาง เป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อส่งข้อมูลอาจเป็นสายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล สายใยแก้วนำแสง หรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น เลเซอร์ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุภาคพื้นดิน หรือคลื่นวิทยุผ่านดาวเทียม
4. ข้อมูลข่าวสาร (Message) คือสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร ซึ่งอาจถูกเรียกว่า สารสนเทศ (Information) โดยแบ่งเป็น 5รูปแบบ ดังนี้
4.1 ข้อความ (Text) ใช้แทนตัวอักขระต่าง ๆ ซึ่งจะแทนด้วยรหัสต่าง ๆ เช่น รหัสแอสกี เป็นต้น
4.2 ตัวเลข (Number) ใช้แทนตัวเลขต่าง ๆ ซึ่งตัวเลขไม่ได้ถูกแทนด้วยรหัสแอสกีแต่จะถูกแปลงเป็นเลขฐานสองโดยตรง
4.3 รูปภาพ (Images) ข้อมูลของรูปภาพจะแทนด้วยจุดสีเรียงกันไปตามขนาดของรูปภาพ
4.4 เสียง (Audio) ข้อมูลเสียงจะแตกต่างจากข้อความ ตัวเลข และรูปภาพเพราะข้อมูลเสียงจะเป็นสัญญาณต่อเนื่องกันไป
4.5 วิดีโอ (Video) ใช้แสดงภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากการรวมกันของรูปภาพหลาย ๆ รูป
5. โปรโตคอล (Protocol) คือ วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่อง โดยทั้งสองฝั่งทั้งผู้รับและผู้ส่งได้ตกลงกันไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว ในคอมพิวเตอร์โปรโตคอลอยู่ในส่วนของซอฟต์แวร์ที่มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงาน ในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น X.25, SDLC, HDLC, และ TCP/IP เป็นต้น

ที่มา //comschool.site40.net/data1.htm


โดย: โดยนางสาวสุภาพร วงศ์บุดศรี รหัส 52040332105 หมู่15 ศุกร์เช้า IP: 172.29.5.133, 58.137.131.62 วันที่: 11 กันยายน 2552 เวลา:15:54:46 น.  

 
7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ1 การถ่ายทอดสัญญาณแบบทิศทางเดียว
การควบคุมทิศทางการส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission) ยอมให้มีการส่งข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับเท่านั้น ทางฝั่งผู้รับไม่สามารถส่งข้อมูลย้อนกลับมายังผู้ส่งได้ การไหลของน้ำออกทางท่อประปาเป็นตัวอย่างที่ชัดเจน ท่อประปาเปรียบเสมือนสายสื่อสารโดยมีก๊อกเป็นอุปกรณ์สื่อสาร และน้ำคือข้อมูลที่ถูกส่งออกมาจากโรงงานผลิตน้ำประปา จะเห็นได้ว่าเมื่อผู้ใช้น้ำประปา เปิดก๊อก น้ำก็จะไหลออกมาซึ่งจะหยุดก็ต่อเมื่อปิดก็อกหรือโรงผลิตน้ำประปาหยุดส่งน้ำ ส่วนผู้ใช้น้ำประปาเองก็ไม่สามารถที่จะส่งน้ำกลับไปยังโรงผลิตน้ำประปาได้ การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียวก็มีวิธีการทำงานเช่นเดียวกัน อุปกรณ์บางชนิด เช่น จอภาพ CRT เชื่อมต่อเข้ากับโฮสต์แบบทิศทางเดียว ข้อมูลจากโฮสต์จะถูกส่งมาแสดงบนจอภาพได้ แต่ตัวจอภาพเองไม่สามารถส่งข้อมูลใด ๆ กลับไปยังโฮสต์ได้
ตัวอย่างการส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียวกันได้แก่ การถ่ายทอดข้อมูลราคาซื้อ-ขายหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไปยังสมาชิกซึ่งมักจะใช้เครื่องพีซีติดต่อเข้ามาจากที่บ้านหรือที่ทำงาน ข้อมูลจะถูกส่งไปเก็บไว้ที่ฐานข้อมูลที่เครื่องพีซีของผู้ใช้ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกดูราคาหุ้น ทั้งหมดหรือหุ้นบางตัวที่สนใจได้โดยไม่ต้องส่งข้อมูลใด ๆ กลับมาที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เพียงแค่ส่งข้อมูลส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงมายังสมาชิกเท่านั้น

ที่มา //www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php


โดย: โดยนางสาวสุภาพร วงศ์บุดศรี 52040332105 หมู่15 ศุกร์เช้า IP: 172.29.5.133, 58.137.131.62 วันที่: 11 กันยายน 2552 เวลา:16:26:12 น.  

 
7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง

1. การสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว (Simplex Transmission) เป็นการติดต่อสื่อสารเพียงทิศทางเดียว คือผู้ส่งจะส่งข้อมูลเพียงฝั่งเดียวและโดยฝั่งรับไม่มีการตอบกลับ เช่น การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ การส่ง e-mail เป็นต้น

2.แบบทิศทางเดียวหรือซิมเพล็กซ์ (One-way หรือ Simplex)
เป็นการส่งข้อมูลในทิศทางเดียว คือข้อมู่ลถูกส่งไปในทางเดียว เช่น สถานีวิทยุกระจายเสียง การแพร่ภาพทางโทรทัศน์

ที่มา //www.vcharkarn.com/vcafe/81178
//www.hs1an.org/index.php?option=com_content&task=view&id=551&Itemid=31


โดย: โดยนางสาวสุภาพร วงศ์บุดศรี 52040332105 หมู่15 ศุกร์เช้า IP: 172.29.5.133, 58.137.131.62 วันที่: 11 กันยายน 2552 เวลา:16:33:00 น.  

 

ตอบ7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง

1)การถ่ายทอดสัญญาณแบบกึ่งสองทิศทาง
การถ่ายทอดสัญญาณแบบกึ่งสองทิศทาง (Half-duplex Transmission) ยินยอมให้ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้และผู้รับก็สามารถส่งข้อมูล กลับมายังผู้ส่งข้อมูลได้เช่นกัน แต่มีเงื่อนไขว่าทั้งผู้ส่งและผู้รับจะส่งข้อมูลพร้อมกันไม่ได้ ตัวอย่างได้แก่ การใช้วิทยุสื่อสารของตำรวจ หรือวิทยุ สื่อสารใช้งานทั่วไป (CB Radio) ผู้พูดสามารถพูดไปอีกฝ่ายหนึ่งได้ แต่จะพูดพร้อมกันไม่ได้ คือในขณะที่ฝ่ายหนึ่งเป็นผู้พูด อีกฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นผู้ฟัง ในระบบนี้ไม่มีการบังคับอย่างชัดเจนว่าฝ่ายใดจะพูด ดังนั้นในการใช้งานจริงจึงต้องอาศัยประสบการณ์ของผู้ใช้งานเป็นสำคัญมิ ฉะนั้นก็อาจจะมีแต่ผู้พูดไม่มีใครยอมเป็นผู้ฟัง ในการสื่อสารข้อมูล จะไม่เกิดการแย่งกันส่งข้อมูลเด็ดขาดเนื่องจากการสื่อสารจะต้องมีโพรโทคอ ลหรือกฎการสื่อสารข้อมูลเป็นตัวบังคับ
2) การถ่ายทอดสัญญาณแบบสองทิศทางสมบูรณ์
การถ่ายทอดสัญญาณแบบสองทิศทางสมบูรณ์ (Full-Duplex Transmission) ยินยอมให้ทั้งฝ่ายผู้ส่งและผู้รับข้อมูลสามารถส่งข้อมูลไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ได้ตลอดเวลา วิธีการนี้จึงใช้ประโยชน์จากการสื่อสารข้อมูลอย่างเต็มที่ แต่มีข้อจำกัดคือเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีความสามารถในการรับและส่งข้อมูล ได้อย่างเต็มที่ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้สื่อที่เลือกใช้ก็จะต้องมีช่องสื่อสารสองช่อง ช่องหนึ่งสำหรับส่งข้อมูลและอีกช่องหนึ่งสำหรับรับข้อมูล ช่องสื่อสารแบบ RS-232 สามารถรองรับการทำงานแบบนี้ได้เพราะมีขาเชื่อมต่อสำหรับการสื่อสารอยู่สอง ชุดที่แยกจากกัน โมเด็มที่ทำงานแบบสองทิศทางสมบูรณ์ได้จะต้องได้รับมาตรฐาน CCITT V.32 และ CCITT V.34 เช่นระบบโทรศัพท์เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสื่อสารที่เกิดขึ้นทั้งแบบกึ่งสอง ทิศทางและแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ในกรณีที่ใช้โทรศัพท์ ภายในเขตเมืองเดียวกัน (รหัสเมืองเหมือนกัน) จะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ดังนั้นผู้ใช้โทรศัพท์ ทั้งสองฝ่ายสามารถที่จะพูดออกมาพร้อม ๆ กัน เสียงพูดของแต่ละฝ่ายจะไปดังที่โทรศัพท์ของอีก ฝ่ายหนึ่ง แม้ว่าในทางปฏิบัติอาจจะไม่มีใครทำอย่างนี้แต่ก็สามารถทำได้อย่างแน่นอน


ที่มา //www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php


โดย: โดยนางสาวสุภาพร วงศ์บุดศรี 52040332105 หมู่ 15 ศุกร์เช้า IP: 172.29.5.133, 58.137.131.62 วันที่: 11 กันยายน 2552 เวลา:16:40:11 น.  

 
แบบฝึกหัด
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง
ตอบ 1. Source system คือ ระบบผู้ส่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ส่งข่าวสาร
ที่มา//www.sawi.ac.th/elearning/networks/page1.htm
2. Destination system คือ ระบบผู้รับเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข่าวสาร
ตอบ คือ ระบบผู้รับเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข่าวสาร
ที่มา//www.sawi.ac.th/elearning/networks/page1.htm

3. Transmission system คือ ระบบที่เป็นสื่อกลางเชื่อมผู้และผู้รับ
ตอบ ระบบที่เป็นสื่อกลางเชื่อมผู้และผู้รับ
ที่มา
//www.sawi.ac.th/elearning/networks/page1.htm

7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ1. การสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว (Simplex Transmission) เป็นการติดต่อสื่อสารเพียงทิศทางเดียว คือผู้ส่งจะส่งข้อมูลเพียงฝั่งเดียวและโดยฝั่งรับไม่มีการตอบกลับ เช่น การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ การส่ง e-mail เป็นต้น

2.แบบทิศทางเดียวหรือซิมเพล็กซ์ (One-way หรือ Simplex)
เป็นการส่งข้อมูลในทิศทางเดียว คือข้อมู่ลถูกส่งไปในทางเดียว เช่น สถานีวิทยุกระจายเสียง การแพร่ภาพทางโทรทัศน์
ที่มา ที่มา //www.vcharkarn.com/vcafe/81178
//www.hs1an.org/index.php?option=com_content&task=view&id=551&Itemid=31

7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ 1)การถ่ายทอดสัญญาณแบบกึ่งสองทิศทาง
การถ่ายทอดสัญญาณแบบกึ่งสองทิศทาง (Half-duplex Transmission) ยินยอมให้ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้และผู้รับก็สามารถส่งข้อมูล กลับมายังผู้ส่งข้อมูลได้เช่นกัน แต่มีเงื่อนไขว่าทั้งผู้ส่งและผู้รับจะส่งข้อมูลพร้อมกันไม่ได้ ตัวอย่างได้แก่ การใช้วิทยุสื่อสารของตำรวจ หรือวิทยุ สื่อสารใช้งานทั่วไป (CB Radio) ผู้พูดสามารถพูดไปอีกฝ่ายหนึ่งได้ แต่จะพูดพร้อมกันไม่ได้ คือในขณะที่ฝ่ายหนึ่งเป็นผู้พูด อีกฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นผู้ฟัง ในระบบนี้ไม่มีการบังคับอย่างชัดเจนว่าฝ่ายใดจะพูด ดังนั้นในการใช้งานจริงจึงต้องอาศัยประสบการณ์ของผู้ใช้งานเป็นสำคัญมิ ฉะนั้นก็อาจจะมีแต่ผู้พูดไม่มีใครยอมเป็นผู้ฟัง ในการสื่อสารข้อมูล จะไม่เกิดการแย่งกันส่งข้อมูลเด็ดขาดเนื่องจากการสื่อสารจะต้องมีโพรโทคอ ลหรือกฎการสื่อสารข้อมูลเป็นตัวบังคับ
2) การถ่ายทอดสัญญาณแบบสองทิศทางสมบูรณ์
การถ่ายทอดสัญญาณแบบสองทิศทางสมบูรณ์ (Full-Duplex Transmission) ยินยอมให้ทั้งฝ่ายผู้ส่งและผู้รับข้อมูลสามารถส่งข้อมูลไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ได้ตลอดเวลา วิธีการนี้จึงใช้ประโยชน์จากการสื่อสารข้อมูลอย่างเต็มที่ แต่มีข้อจำกัดคือเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีความสามารถในการรับและส่งข้อมูล ได้อย่างเต็มที่ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้สื่อที่เลือกใช้ก็จะต้องมีช่องสื่อสารสองช่อง ช่องหนึ่งสำหรับส่งข้อมูลและอีกช่องหนึ่งสำหรับรับข้อมูล ช่องสื่อสารแบบ RS-232 สามารถรองรับการทำงานแบบนี้ได้เพราะมีขาเชื่อมต่อสำหรับการสื่อสารอยู่สอง ชุดที่แยกจากกัน โมเด็มที่ทำงานแบบสองทิศทางสมบูรณ์ได้จะต้องได้รับมาตรฐาน CCITT V.32 และ CCITT V.34 เช่นระบบโทรศัพท์เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสื่อสารที่เกิดขึ้นทั้งแบบกึ่งสอง ทิศทางและแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ในกรณีที่ใช้โทรศัพท์ ภายในเขตเมืองเดียวกัน (รหัสเมืองเหมือนกัน) จะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ดังนั้นผู้ใช้โทรศัพท์ ทั้งสองฝ่ายสามารถที่จะพูดออกมาพร้อม ๆ กัน เสียงพูดของแต่ละฝ่ายจะไปดังที่โทรศัพท์ของอีก ฝ่ายหนึ่ง แม้ว่าในทางปฏิบัติอาจจะไม่มีใครทำอย่างนี้แต่ก็สามารถทำได้อย่างแน่นอน


ที่มา //www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php










โดย: ชื่อ นางสาว ศิริพร คมกล้า รหัส 51040901250 สาขา นิติศาสตร์ หมู่01 ( จันทร์ - บ่าย ) IP: 202.29.5.62 วันที่: 14 กันยายน 2552 เวลา:13:56:27 น.  

 
การสื่อสารข้อมูล หมายถึง การส่งข้อมูลที่อยู่ในรูปของเลขฐานสอง ที่เกิดจากอุปกรณ์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2เครื่องขึ้นไปโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารตลอดจนแบ่งปันการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด

องค์ประกอบของระบบสื่อสารข้อมูล
ระบบสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบพื้นฐาน 5 ประการ ดังนี้ คือ



1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)
เป็นต้นทางการสื่อสาร มีหน้าที่เตรียมข้อมมูลข่าวสารเพื่อจัดส่ง
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล(Receiver)
เป็นปลายทางของการสื่อสารข้อมูล มีหน้าที่รับส่งข้อมูลข่าวสารที่ผู้ส่งจัดส่งมาให้
3. สื่อกลาง(Medium)
เป็นเส้นทางการสื่อสาร เพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อกลางการสื่อสารนี้ อาจเป็นเส้นลวดทองแดง สายเคเบิล
สายใยแก้วนำแสง หรือคลื่นต่างๆ ที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไม่โครเวฟ คลื่นวิทยุ
4.ข่าวสาร(Massage)
เป็นสัญญานที่ใช้ส่งผ่านไปในสื่อกลาง แบ่งออกเป็น 4รูปแบบ ดังนี้คือ
1. เสียง
2. ข้อมูล
3. ข้อความ
4. รูปภาพ
5. โปรโตรคอล(Protocol)
หมายถึงกฎระเบียบหรือข้อตกลงที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจหรือพูดคุยกันได้

ที่มา //comschool.site40.net/data1.htm


โดย: พ.อ.อ.ปิยะ หอมชื่น 51241151144 หมุ่ 05 รูปแบบพิเศษ IP: 125.26.176.50 วันที่: 14 กันยายน 2552 เวลา:15:28:02 น.  

 
7.1 องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง

องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้

1. ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ
ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2. ผู้รับข่าวสาร หรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร
หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่ การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ
จุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง



3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน
ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้
วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น
เครือข่ายการสื่อสารข้อมูล
หมายถึง การรับส่งข้อมูลหรือสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยระบบการส่งข้อมูล ทางคลื่นไฟฟ้าหรือแสง อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปเรียกว่า
ข่ายการสื่อสารข้อมูล (Data Communication Networks)

องค์ประกอบพื้นฐาน

หน่วยส่งข้อมูล (Sending Unit)
ช่องทางการส่งข้อมูล (Transmisstion Channel)
หน่วยรับข้อมูล (Receiving Unit)
วัตถุประสงค์หลักของการนำการสื่อการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในองค์การประกอบด้วย
เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล
เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
เพื่อลดเวลาการทำงาน
เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร
เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ
เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การ


ที่มาCopyright by Passkorn Roungrong
//www.thaiwbi.com/course/data_com/index2.html


7.2จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2
ตัวอย่าง

ทิศทางของการสื่อสารข้อมูล
แบบทิศทางเดียว (Simplex) เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางโดยไม่สามารถส่งข้อมูลย้อนกลับมาได้ เช่นระบบวิทยุ หรือโทรทัศน์




7.3จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง


แบบสองทิศทาง (Full Duplex หรือ Both-Way) ข้อมูลสามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้ง 2 ทิศทางอย่างอิสระ เช่น ระบบโทรศัพท์ การChat Online


ที่มา//reg.ksu.ac.th/teacher/songgrod/4123702/content/lesson3/303.html
//school.obec.go.th/wcr1/web2/text/p10.htm


โดย: จ.ส.ต.สันทัด คูหานา 51241151128 หมู่ 05 IP: 125.26.176.50 วันที่: 14 กันยายน 2552 เวลา:15:30:15 น.  

 
1.ระบบโทรศัพท์
2.chat ทางอินเตอร์เน็ต


โดย: นายจักรกริช โพธิวงษ์ หมู่ 15 ศุกรเช้า IP: 192.168.1.103, 119.42.83.235 วันที่: 14 กันยายน 2552 เวลา:19:47:34 น.  

 
1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นแหล่งต้นทางของการสื่อสารโดยมีหน้าที่ในการให้กำเนิดข้อมูล หรือเตรียมข้อมูล เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ต้นทาง เป็นต้น
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นแหล่งปลายทางของการสื่อสาร หรือเป็นอุปกรณ์สำหรับข้อมูลที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ดำเนินการต่อไป เช่น ผู้รับ คอมพิวเตอร์ปลายทาง เครื่องพิมพ์
3. ข่าวสาร (Massage) เป็นตัวเนื้อหาของข้อมูล ซึ่งมีได้หลายรูปแบบดังนี้ คือ
- ข้อความ (Text) ข้อมูลที่อยู่ในรูปอักขระ หรือเอกสาร เช่น ข้อความในหนังสือ เป็นต้น
- เสียง (Voice) ข้อมูลเสียงที่แหล่งต้นทางสร้างขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นเสียงที่มนุษย์หรืออุปกรณ์บางอย่างเป็นตัวสร้างก็ได้
- รูปภาพ (Image) เป็นข้อมูลที่ไม่เหมือนข้อความตัวอักษรที่เรียงติดต่อกัน แต่จะมีลักษณะเหมือนรูปภาพ เช่น การสแกนภาพเข้าคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลรูปภาพกับข้อมูลข้อความ แล้วรูปภาพจะมีขนาดใหญ่กว่า
- สื่อผสม (Multimedia) ข้อมูลที่ผสมลักษณะของทั้งรูปภาพ เสียงและข้อความเข้าด้วยกัน โดยสามารถเคลื่อนไหวได้ เช่น การเรียนผ่านระบบ VDO conference เป็นต้น โดยข้อมูลจะมีขนาดใหญ่มาก
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium) เป็นสื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มีสายสัญญาณ เช่น สายไฟ หรือตัวกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น อากาศ เป็นต้น
5. โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน
ที่มา
//computer.pcru.ac.th/kubo/4000108_Learning/doc/word/108_ch4_Comunication%20&%20Network.doc
โดย:นางสาวกาญจนา อุปวันดี หมู่ 01 จันทร์บ่าย วันที่ 15 กันยายน 2552 เวลา16.04 น.


โดย: กาญจนา อุปวันดี IP: 113.53.164.173 วันที่: 15 กันยายน 2552 เวลา:16:04:37 น.  

 
ึ7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง
ตอบ มี 5 ส่วน คือ
1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นแหล่งต้นทางของการสื่อสารโดยมีหน้าที่ในการให้กำเนิดข้อมูล หรือเตรียมข้อมูล เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ต้นทาง เป็นต้น
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นแหล่งปลายทางของการสื่อสาร หรือเป็นอุปกรณ์สำหรับข้อมูลที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ดำเนินการต่อไป เช่น ผู้รับ คอมพิวเตอร์ปลายทาง เครื่องพิมพ์
3. ข่าวสาร (Massage) เป็นตัวเนื้อหาของข้อมูล ซึ่งมีได้หลายรูปแบบดังนี้ คือ
- ข้อความ (Text) ข้อมูลที่อยู่ในรูปอักขระ หรือเอกสาร เช่น ข้อความในหนังสือ เป็นต้น
- เสียง (Voice) ข้อมูลเสียงที่แหล่งต้นทางสร้างขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นเสียงที่มนุษย์หรืออุปกรณ์บางอย่างเป็นตัวสร้างก็ได้
- รูปภาพ (Image) เป็นข้อมูลที่ไม่เหมือนข้อความตัวอักษรที่เรียงติดต่อกัน แต่จะมีลักษณะเหมือนรูปภาพ เช่น การสแกนภาพเข้าคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลรูปภาพกับข้อมูลข้อความ แล้วรูปภาพจะมีขนาดใหญ่กว่า
- สื่อผสม (Multimedia) ข้อมูลที่ผสมลักษณะของทั้งรูปภาพ เสียงและข้อความเข้าด้วยกัน โดยสามารถเคลื่อนไหวได้ เช่น การเรียนผ่านระบบ VDO conference เป็นต้น โดยข้อมูลจะมีขนาดใหญ่มาก
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium) เป็นสื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มีสายสัญญาณ เช่น สายไฟ หรือตัวกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น อากาศ เป็นต้น
5. โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน

7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ 1.โทรทัศน์
2.วิทยุ

7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ 1.โทรศัพท์
2.shat

ที่มา
ttp://dusithost.dusit.ac.th/~librarian/myweb/book108_48/108_ch3_Comunication%20&%20Network.doc
Last Updated ( Monday, 02 April 2007 )


โดย: นางสาวกาญจนา อุปวันดี รหัศน.ศ.51040259102 สาขาวิชา คณิตศาสตร์ หมู่01 วันจันทร์บ่าย วันที่ 15 กันยายน 2552 เวลา 16.17 น.


โดย: นางสาวกาญจนา อุปวันดี IP: 113.53.164.173 วันที่: 15 กันยายน 2552 เวลา:16:17:37 น.  

 
7.1 องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง

องค์ประกอบพื้นฐานในการสื่อสารข้อมูล
องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ส่วน
1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นแหล่งต้นทางของการสื่อสารโดยมีหน้าที่ในการให้กำเนิดข้อมูล หรือเตรียมข้อมูล เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ต้นทาง เป็นต้น
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นแหล่งปลายทางของการสื่อสาร หรือเป็นอุปกรณ์สำหรับข้อมูลที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ดำเนินการต่อไป เช่น ผู้รับ คอมพิวเตอร์ปลายทาง เครื่องพิมพ์
3. ข่าวสาร (Massage) เป็นตัวเนื้อหาของข้อมูล ซึ่งมีได้หลายรูปแบบดังนี้ คือ
- ข้อความ (Text) ข้อมูลที่อยู่ในรูปอักขระ หรือเอกสาร เช่น ข้อความในหนังสือ เป็นต้น
- เสียง (Voice) ข้อมูลเสียงที่แหล่งต้นทางสร้างขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นเสียงที่มนุษย์หรืออุปกรณ์บางอย่างเป็นตัวสร้างก็ได้
- รูปภาพ (Image) เป็นข้อมูลที่ไม่เหมือนข้อความตัวอักษรที่เรียงติดต่อกัน แต่จะมีลักษณะเหมือนรูปภาพ เช่น การสแกนภาพเข้าคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลรูปภาพกับข้อมูลข้อความ แล้วรูปภาพจะมีขนาดใหญ่กว่า
- สื่อผสม (Multimedia) ข้อมูลที่ผสมลักษณะของทั้งรูปภาพ เสียงและข้อความเข้าด้วยกัน โดยสามารถเคลื่อนไหวได้ เช่น การเรียนผ่านระบบ VDO conference เป็นต้น โดยข้อมูลจะมีขนาดใหญ่มาก
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium) เป็นสื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มีสายสัญญาณ เช่น สายไฟ หรือตัวกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น อากาศ เป็นต้น
5. โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน


ที่มา
//www.hs1an.org/index.php?option=com_content&task=view&id=551&Itemid=31



7.2จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2
ตัวอย่าง

1.การไหลของน้ำออกทางท่อประปา
2.การถ่ายทอดข้อมูลราคาซื้อ-ขายหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ที่มา
//www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php

7.3จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง

1.โทรศัพท์เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสื่อสารที่เกิดขึ้นทั้งแบบกึ่งสองทิศทางและแบบสองทิศทางสมบูรณ์
2.วิทยุสื่อสาร

ที่มา
//www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php

โดย: นางสาวปิยนุช แสงจันทร์ รหัศน.ศ.51040259121 สาขาวิชา คณิตศาสตร์ หมู่01 วันจันทร์บ่าย วันที่ 15 กันยายน 2552 เวลา 16.23 น.


โดย: นางสาวปิยนุช แสงจันทร์ IP: 113.53.164.173 วันที่: 15 กันยายน 2552 เวลา:16:25:21 น.  

 
ข้อ 7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง
ตอบ
องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล
องค์ประกอบ พื้นฐานหลัก 4 องค์ประกอบในระบบการสื่อสาร
1.2.1 ผู้ส่ง (Sender) และผู้รับ (Receiver) ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูลต้นทางของการสื่อสารข้อมูลเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสารทำหน้าที่จัดส่งข่าวสารเข้าสู่ระบบ โดยที่ผู้ผลิตหรือสร้างข่าวสารที่ แท้จริงอาจเป็นพนักงานที่พิมพ์ข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมอาจเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดข่าวสารต่อเนื่องมาจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ ส่วนผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูลทำหน้าที่ในการรับข้อมูลที่ถูกถ่ายทอดมาจากผู้ส่งข้อมูลผ่านสื่อที่เชื่อมระหว่างกัน การสื่อสารจะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อข่าวสารที่ผู้รับข้อมูลได้รับนั้นเป็นข่าวสารเดียวกันกับข่าวสารที่ผู้ส่งข้อมูลได้ถ่ายทอดผ่านสื่อมายังผู้รับข้อมูล อุปกรณ์รับข้อมูลมี 2 ชนิด คือ อุปกรณ์รับข้อมูลปลายทาง (Data Terminal Equipment; DTE) เป็นแหล่งกำเนิดและรับข้อมูล ซึ่งอาจเป็นเทอร์มินอลคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ หรือตัวควบคุม และ อุปกรณ์การสื่อสารข้อมูล (Data Communication Equipment; DCE) หมายถึง โมเด็ม (Modem) จานไมโครเวฟ หรือจานดาวเทียม เป็นต้น
1.2.2 โพรโทคอล (Protocol) และ ซอฟต์แวร์ (Software) โพรโทคอล คือวิธีการหรือกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อควบคุมการทำงานของระบบสื่อสารข้อมูลทั้งผู้ส่งและผู้รับเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่องเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เช่น คนไทยคนหนึ่งอยู่ในประเทศไทยหมุนโทรศัพท์ติดต่อไปยังอีกคนหนึ่งที่อยู่ในประเทศจีนได้สำเร็จ ซึ่งเป็นเพียงการสร้างวงจรสื่อสารขึ้นมาเท่านั้นแต่ทั้งสองคนอาจจะไม่สามารถสื่อสารถึงกันเข้าใจได้ เนื่องจากพูดกันคนละภาษาโพรโทคอลจึงเปรียบเสมือนการบังคับให้ทั้งสองคนนั้นใช้ภาษากลาง ซึ่งอาจจะเป็นภาษาอะไรก็ได้ที่ทั้งสองคน เข้าใจได้ ดังนั้นคนทั้งสองคนนี้จึงจะสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารคอมพิวเตอร์ได้แก่ X.25, BSC, SDLC, HDLC เป็นต้น ส่วนซอฟต์แวร์มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงานในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ ได้แก่ Novell Netware ของระบบ LAN, UNIX, MS-DOS, OS/2, LINUX เป็นต้น
1.2.3 ข่าวสาร (Message) สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสารข้อมูลเรียกว่า ข่าวสาร หรือสารสนเทศ (Information) รูปแบบของข่าวสารที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลมี 4 รูปแบบ ด้วยกัน คือ
1.2.3.1 เสียง (Voice) อาจจะเป็นเสียงที่เกิดจากมนุษย์หรือเสียงที่สร้างขึ้นจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ข้อมูลจะกระจัดกระจายคาดการณ์ล่วงหน้าไม่ได้ การส่งข้อมูลจะส่งด้วยความเร็วต่ำ
1.2.3.2 ข้อมูล (Data) ข้อมูลถูกสร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์มีรูปแบบแน่นอนเป็น รหัสบิต การส่งข้อมูลจะส่งด้วยความเร็วสูง
1.2.3.3 ข้อความ (Text) ไม่มีรูปแบบที่แน่นอนส่วนใหญ่เป็นรูปแบบของอักขระหรือเอกสาร การส่งข่าวสารที่เป็นข้อความจะส่งด้วยความเร็วปานกลาง
1.2.3.4 ภาพ (Image) อยู่ในรูปของกราฟิกแบบต่าง ๆ เช่น รูปภาพ ภาพวิดีโอ ใช้ปริมาณหรือหน่วยความจำมาก การส่งข้อมูลจะส่งด้วยความเร็วสูง
ในการสื่อสารแต่ละวิธี รูปแบบของข่าวสารที่ส่งออกไปอาจจะแตกต่างกันหรือเหมือนกัน เช่น การสื่อสารในระบบโทรศัพท์สาธารณะสามารถส่งผ่านข้อมูลเข้าไปได้ทั้งที่เป็นไฟล์ข้อมูล ข้อความ เสียงและภาพ ในปัจจุบันเทคโนโลยีของระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์ก็สามารถส่งรับข้อมูลได้ทั้งเสียง ข้อมูล ข้อความ และภาพ ส่วนรูปแบบข้อมูลในระบบวิดีโอเท็กซ์จะเป็นข้อมูล ข้อความและภาพเท่านั้น เป็นต้น
1.2.4 สื่อกลาง (Medium) สื่อกลางเป็นเส้นทางการสื่อสาร เพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยัง ปลายทาง สื่อกลางการสื่อสารอาจเป็นเส้นลวดทองแดง สายไฟ สายเคเบิ้ล สายไฟเบอร์ออปติกหรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ สัญญาณวิทยุ หรือแสงก็ได้

ระบบการสื่อสารทุกชนิดจะต้องมีองค์ประกอบครบตามรูปแบบถ้าขาดส่วนใดส่วนหนึ่งแล้วการสื่อสารจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน เช่น การโทรศัพท์ไปหาเพื่อนแต่ไม่มีผู้รับสายหรือเป็นเสียงตอบรับจากเครื่องตอบรับโทรศัพท์แบบอัตโนมัติก็จะไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้น ในกรณีนี้สิ่งที่ขาดหายไปคือ ผู้รับข้อมูล แต่ถ้าเพื่อนผู้นี้สามารถตอบรับโทรศัพท์ก็แสดงว่าการสื่อสารได้เริ่มต้นขึ้นแล้วลักษณะ เช่นนี้เรียกว่าวงจรสื่อสารได้รับการจัดตั้งขึ้นเรียบร้อยแล้ว

//www.hs1an.org/index.php?option=com_content&task=view&id=551&Itemid=31

ข้อ7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ 1. วิทยุ
2. โทรทัศน์



ข้อ 7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ 1.ระบบโทรศัพท์
2.การ chat ทาง Internet

//www.sawi.ac.th/elearning/networks/page1.htm


โดย: นางสาวประสิทธิ์พร เพ็งสอน รหัศน.ศ.51040259104 สาขาวิชา คณิตศาสตร์ หมู่01 วันจันทร์บ่าย วันที่ 15 กันยายน 2552 เวลา 16.32 น.


โดย: นางสาวประสิทธิ์พร เพ็งสอน IP: 113.53.164.173 วันที่: 15 กันยายน 2552 เวลา:16:33:53 น.  

 
แบบฝึกหัด
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง
ตอบ1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นแหล่งต้นทางของการสื่อสารโดยมีหน้าที่ในการให้กำเนิดข้อมูล หรือเตรียมข้อมูล เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ต้นทาง เป็นต้น
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นแหล่งปลายทางของการสื่อสาร หรือเป็นอุปกรณ์สำหรับข้อมูลที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ดำเนินการต่อไป เช่น ผู้รับ คอมพิวเตอร์ปลายทาง เครื่องพิมพ์
3. ข่าวสาร (Massage) เป็นตัวเนื้อหาของข้อมูล ซึ่งมีได้หลายรูปแบบดังนี้ คือ
- ข้อความ (Text) ข้อมูลที่อยู่ในรูปอักขระ หรือเอกสาร เช่น ข้อความในหนังสือ เป็นต้น
- เสียง (Voice) ข้อมูลเสียงที่แหล่งต้นทางสร้างขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นเสียงที่มนุษย์หรืออุปกรณ์บางอย่างเป็นตัวสร้างก็ได้
- รูปภาพ (Image) เป็นข้อมูลที่ไม่เหมือนข้อความตัวอักษรที่เรียงติดต่อกัน แต่จะมีลักษณะเหมือนรูปภาพ เช่น การสแกนภาพเข้าคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลรูปภาพกับข้อมูลข้อความ แล้วรูปภาพจะมีขนาดใหญ่กว่า
- สื่อผสม (Multimedia) ข้อมูลที่ผสมลักษณะของทั้งรูปภาพ เสียงและข้อความเข้าด้วยกัน โดยสามารถเคลื่อนไหวได้ เช่น การเรียนผ่านระบบ VDO conference เป็นต้น โดยข้อมูลจะมีขนาดใหญ่มาก
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium) เป็นสื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มีสายสัญญาณ เช่น สายไฟ หรือตัวกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น อากาศ เป็นต้น
5. โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน
ที่มา//pirun.ku.ac.th/~b5013313/page3.html
7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ1.โทรเลข 2.hi5
7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ1.โทรศัพท์2.qq





โดย: นางสาวกิตติยาพร คนดี(51040901202)สาขานิติศาสตร์ จันทร์บ่าย หมู่1 IP: 124.157.149.128 วันที่: 15 กันยายน 2552 เวลา:19:26:55 น.  

 
องค์ประกอบของระบบสื่อสารข้อมูล
ระบบสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบพื้นฐาน 5 ประการ ดังนี้ คือ



1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)
เป็นต้นทางการสื่อสาร มีหน้าที่เตรียมข้อมมูลข่าวสารเพื่อจัดส่ง
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล(Receiver)
เป็นปลายทางของการสื่อสารข้อมูล มีหน้าที่รับส่งข้อมูลข่าวสารที่ผู้ส่งจัดส่งมาให้
3. สื่อกลาง(Medium)
เป็นเส้นทางการสื่อสาร เพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อกลางการสื่อสารนี้ อาจเป็นเส้นลวดทองแดง สายเคเบิล
สายใยแก้วนำแสง หรือคลื่นต่างๆ ที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไม่โครเวฟ คลื่นวิทยุ
4.ข่าวสาร(Massage)
เป็นสัญญานที่ใช้ส่งผ่านไปในสื่อกลาง แบ่งออกเป็น 4รูปแบบ ดังนี้คือ
1. เสียง
2. ข้อมูล
3. ข้อความ
4. รูปภาพ
5. โปรโตรคอล(Protocol)
หมายถึงกฎระเบียบหรือข้อตกลงที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจหรือพูดคุยกันได้
www.sk.ac.th/lg/vocation/chimplee/structure.html


โดย: นางสาววิจิตรา สร้อยคำ52040280145พฤหัสเช้าหมู่ที่8 IP: 1.1.1.223, 202.29.5.62 วันที่: 15 กันยายน 2552 เวลา:19:46:13 น.  

 
ข้อ 2
ตัวอย่างการส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียวกันได้แก่ การถ่ายทอดข้อมูลราคาซื้อ-ขายหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไปยังสมาชิกซึ่งมักจะใช้เครื่องพีซีติดต่อเข้ามาจากที่บ้านหรือที่ทำงาน ข้อมูลจะถูกส่งไปเก็บไว้ที่ฐานข้อมูลที่เครื่องพีซีของผู้ใช้ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกดูราคาหุ้น ทั้งหมดหรือหุ้นบางตัวที่สนใจได้โดยไม่ต้องส่งข้อมูลใด ๆ กลับมาที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เพียงแค่ส่งข้อมูลส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงมายังสมาชิกเท่านั้นwww.bmasmartschool.com/watbangnanok/Basic.../p2.html


โดย: นางสาววิจิตรา สร้อยคำ52040280145พฤหัสเช้าหมู่ที่8 IP: 1.1.1.223, 202.29.5.62 วันที่: 15 กันยายน 2552 เวลา:19:50:05 น.  

 
3จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง

1.โทรศัพท์เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสื่อสารที่เกิดขึ้นทั้งแบบกึ่งสองทิศทางและแบบสองทิศทางสมบูรณ์
2.วิทยุสื่อสาร
www.thaigoodview.com/library/teachershow/.../index.html


โดย: นางสาววิจิตรา สร้อยคำ52040280145พฤหัสเช้าหมู่ที่8 IP: 1.1.1.223, 202.29.5.62 วันที่: 15 กันยายน 2552 เวลา:19:52:34 น.  

 
ึ7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง
ตอบ มี 5 ส่วน คือ
1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นแหล่งต้นทางของการสื่อสารโดยมีหน้าที่ในการให้กำเนิดข้อมูล หรือเตรียมข้อมูล เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ต้นทาง เป็นต้น
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นแหล่งปลายทางของการสื่อสาร หรือเป็นอุปกรณ์สำหรับข้อมูลที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ดำเนินการต่อไป เช่น ผู้รับ คอมพิวเตอร์ปลายทาง เครื่องพิมพ์
3. ข่าวสาร (Massage) เป็นตัวเนื้อหาของข้อมูล ซึ่งมีได้หลายรูปแบบดังนี้ คือ
- ข้อความ (Text) ข้อมูลที่อยู่ในรูปอักขระ หรือเอกสาร เช่น ข้อความในหนังสือ เป็นต้น
- เสียง (Voice) ข้อมูลเสียงที่แหล่งต้นทางสร้างขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นเสียงที่มนุษย์หรืออุปกรณ์บางอย่างเป็นตัวสร้างก็ได้
- รูปภาพ (Image) เป็นข้อมูลที่ไม่เหมือนข้อความตัวอักษรที่เรียงติดต่อกัน แต่จะมีลักษณะเหมือนรูปภาพ เช่น การสแกนภาพเข้าคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลรูปภาพกับข้อมูลข้อความ แล้วรูปภาพจะมีขนาดใหญ่กว่า
- สื่อผสม (Multimedia) ข้อมูลที่ผสมลักษณะของทั้งรูปภาพ เสียงและข้อความเข้าด้วยกัน โดยสามารถเคลื่อนไหวได้ เช่น การเรียนผ่านระบบ VDO conference เป็นต้น โดยข้อมูลจะมีขนาดใหญ่มาก
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium) เป็นสื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มีสายสัญญาณ เช่น สายไฟ หรือตัวกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น อากาศ เป็นต้น
5. โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน

7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ 1.โทรทัศน์
2.วิทยุ

7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ 1.โทรศัพท์
2.shat

ที่มา
ttp://dusithost.dusit.ac.th/~librarian/myweb/book108_48/108_ch3_Comunication%20&%20Network.doc
Last Updated ( Monday, 02 April 2007 )



โดย: นาวสาวกาญจนา อุปวันดี (หมู่01 วันจันทร์บ่าย) IP: 113.53.164.173 วันที่: 15 กันยายน 2552 เวลา:22:45:52 น.  

 
ข้อ 7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง
ตอบ
องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล
องค์ประกอบ พื้นฐานหลัก 4 องค์ประกอบในระบบการสื่อสาร
1.2.1 ผู้ส่ง (Sender) และผู้รับ (Receiver) ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูลต้นทางของการสื่อสารข้อมูลเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสารทำหน้าที่จัดส่งข่าวสารเข้าสู่ระบบ โดยที่ผู้ผลิตหรือสร้างข่าวสารที่ แท้จริงอาจเป็นพนักงานที่พิมพ์ข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมอาจเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดข่าวสารต่อเนื่องมาจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ ส่วนผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูลทำหน้าที่ในการรับข้อมูลที่ถูกถ่ายทอดมาจากผู้ส่งข้อมูลผ่านสื่อที่เชื่อมระหว่างกัน การสื่อสารจะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อข่าวสารที่ผู้รับข้อมูลได้รับนั้นเป็นข่าวสารเดียวกันกับข่าวสารที่ผู้ส่งข้อมูลได้ถ่ายทอดผ่านสื่อมายังผู้รับข้อมูล อุปกรณ์รับข้อมูลมี 2 ชนิด คือ อุปกรณ์รับข้อมูลปลายทาง (Data Terminal Equipment; DTE) เป็นแหล่งกำเนิดและรับข้อมูล ซึ่งอาจเป็นเทอร์มินอลคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ หรือตัวควบคุม และ อุปกรณ์การสื่อสารข้อมูล (Data Communication Equipment; DCE) หมายถึง โมเด็ม (Modem) จานไมโครเวฟ หรือจานดาวเทียม เป็นต้น
1.2.2 โพรโทคอล (Protocol) และ ซอฟต์แวร์ (Software) โพรโทคอล คือวิธีการหรือกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อควบคุมการทำงานของระบบสื่อสารข้อมูลทั้งผู้ส่งและผู้รับเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่องเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เช่น คนไทยคนหนึ่งอยู่ในประเทศไทยหมุนโทรศัพท์ติดต่อไปยังอีกคนหนึ่งที่อยู่ในประเทศจีนได้สำเร็จ ซึ่งเป็นเพียงการสร้างวงจรสื่อสารขึ้นมาเท่านั้นแต่ทั้งสองคนอาจจะไม่สามารถสื่อสารถึงกันเข้าใจได้ เนื่องจากพูดกันคนละภาษาโพรโทคอลจึงเปรียบเสมือนการบังคับให้ทั้งสองคนนั้นใช้ภาษากลาง ซึ่งอาจจะเป็นภาษาอะไรก็ได้ที่ทั้งสองคน เข้าใจได้ ดังนั้นคนทั้งสองคนนี้จึงจะสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารคอมพิวเตอร์ได้แก่ X.25, BSC, SDLC, HDLC เป็นต้น ส่วนซอฟต์แวร์มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงานในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ ได้แก่ Novell Netware ของระบบ LAN, UNIX, MS-DOS, OS/2, LINUX เป็นต้น
1.2.3 ข่าวสาร (Message) สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสารข้อมูลเรียกว่า ข่าวสาร หรือสารสนเทศ (Information) รูปแบบของข่าวสารที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลมี 4 รูปแบบ ด้วยกัน คือ
1.2.3.1 เสียง (Voice) อาจจะเป็นเสียงที่เกิดจากมนุษย์หรือเสียงที่สร้างขึ้นจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ข้อมูลจะกระจัดกระจายคาดการณ์ล่วงหน้าไม่ได้ การส่งข้อมูลจะส่งด้วยความเร็วต่ำ
1.2.3.2 ข้อมูล (Data) ข้อมูลถูกสร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์มีรูปแบบแน่นอนเป็น รหัสบิต การส่งข้อมูลจะส่งด้วยความเร็วสูง
1.2.3.3 ข้อความ (Text) ไม่มีรูปแบบที่แน่นอนส่วนใหญ่เป็นรูปแบบของอักขระหรือเอกสาร การส่งข่าวสารที่เป็นข้อความจะส่งด้วยความเร็วปานกลาง
1.2.3.4 ภาพ (Image) อยู่ในรูปของกราฟิกแบบต่าง ๆ เช่น รูปภาพ ภาพวิดีโอ ใช้ปริมาณหรือหน่วยความจำมาก การส่งข้อมูลจะส่งด้วยความเร็วสูง
ในการสื่อสารแต่ละวิธี รูปแบบของข่าวสารที่ส่งออกไปอาจจะแตกต่างกันหรือเหมือนกัน เช่น การสื่อสารในระบบโทรศัพท์สาธารณะสามารถส่งผ่านข้อมูลเข้าไปได้ทั้งที่เป็นไฟล์ข้อมูล ข้อความ เสียงและภาพ ในปัจจุบันเทคโนโลยีของระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์ก็สามารถส่งรับข้อมูลได้ทั้งเสียง ข้อมูล ข้อความ และภาพ ส่วนรูปแบบข้อมูลในระบบวิดีโอเท็กซ์จะเป็นข้อมูล ข้อความและภาพเท่านั้น เป็นต้น
1.2.4 สื่อกลาง (Medium) สื่อกลางเป็นเส้นทางการสื่อสาร เพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยัง ปลายทาง สื่อกลางการสื่อสารอาจเป็นเส้นลวดทองแดง สายไฟ สายเคเบิ้ล สายไฟเบอร์ออปติกหรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ สัญญาณวิทยุ หรือแสงก็ได้

ระบบการสื่อสารทุกชนิดจะต้องมีองค์ประกอบครบตามรูปแบบถ้าขาดส่วนใดส่วนหนึ่งแล้วการสื่อสารจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน เช่น การโทรศัพท์ไปหาเพื่อนแต่ไม่มีผู้รับสายหรือเป็นเสียงตอบรับจากเครื่องตอบรับโทรศัพท์แบบอัตโนมัติก็จะไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้น ในกรณีนี้สิ่งที่ขาดหายไปคือ ผู้รับข้อมูล แต่ถ้าเพื่อนผู้นี้สามารถตอบรับโทรศัพท์ก็แสดงว่าการสื่อสารได้เริ่มต้นขึ้นแล้วลักษณะ เช่นนี้เรียกว่าวงจรสื่อสารได้รับการจัดตั้งขึ้นเรียบร้อยแล้ว

//www.hs1an.org/index.php?option=com_content&task=view&id=551&Itemid=31

ข้อ7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ 1. วิทยุ
2. โทรทัศน์



ข้อ 7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ 1.ระบบโทรศัพท์
2.การ chat ทาง Internet

//www.sawi.ac.th/elearning/networks/page1.htm



โดย: นางสาวประสิทธิ์พร เพ็งสอน(หมู่01 วันจันทร์บ่าย) IP: 113.53.164.173 วันที่: 15 กันยายน 2552 เวลา:22:47:23 น.  

 
7.1 องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง

องค์ประกอบพื้นฐานในการสื่อสารข้อมูล
องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ส่วน
1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นแหล่งต้นทางของการสื่อสารโดยมีหน้าที่ในการให้กำเนิดข้อมูล หรือเตรียมข้อมูล เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ต้นทาง เป็นต้น
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นแหล่งปลายทางของการสื่อสาร หรือเป็นอุปกรณ์สำหรับข้อมูลที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ดำเนินการต่อไป เช่น ผู้รับ คอมพิวเตอร์ปลายทาง เครื่องพิมพ์
3. ข่าวสาร (Massage) เป็นตัวเนื้อหาของข้อมูล ซึ่งมีได้หลายรูปแบบดังนี้ คือ
- ข้อความ (Text) ข้อมูลที่อยู่ในรูปอักขระ หรือเอกสาร เช่น ข้อความในหนังสือ เป็นต้น
- เสียง (Voice) ข้อมูลเสียงที่แหล่งต้นทางสร้างขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นเสียงที่มนุษย์หรืออุปกรณ์บางอย่างเป็นตัวสร้างก็ได้
- รูปภาพ (Image) เป็นข้อมูลที่ไม่เหมือนข้อความตัวอักษรที่เรียงติดต่อกัน แต่จะมีลักษณะเหมือนรูปภาพ เช่น การสแกนภาพเข้าคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลรูปภาพกับข้อมูลข้อความ แล้วรูปภาพจะมีขนาดใหญ่กว่า
- สื่อผสม (Multimedia) ข้อมูลที่ผสมลักษณะของทั้งรูปภาพ เสียงและข้อความเข้าด้วยกัน โดยสามารถเคลื่อนไหวได้ เช่น การเรียนผ่านระบบ VDO conference เป็นต้น โดยข้อมูลจะมีขนาดใหญ่มาก
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium) เป็นสื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มีสายสัญญาณ เช่น สายไฟ หรือตัวกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น อากาศ เป็นต้น
5. โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน


ที่มา
//www.hs1an.org/index.php?option=com_content&task=view&id=551&Itemid=31



7.2จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2
ตัวอย่าง

1.การไหลของน้ำออกทางท่อประปา
2.การถ่ายทอดข้อมูลราคาซื้อ-ขายหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ที่มา
//www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php

7.3จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง

1.โทรศัพท์เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสื่อสารที่เกิดขึ้นทั้งแบบกึ่งสองทิศทางและแบบสองทิศทางสมบูรณ์
2.วิทยุสื่อสาร

ที่มา
//www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php



โดย: นางสาวปิยนุช แสงจันทร์(หมู่01 วันจันทร์บ่าย) IP: 113.53.164.173 วันที่: 15 กันยายน 2552 เวลา:22:48:56 น.  

 
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง
ตอบ7.1 องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง

องค์ประกอบพื้นฐานในการสื่อสารข้อมูล
องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ส่วน
1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นแหล่งต้นทางของการสื่อสารโดยมีหน้าที่ในการให้กำเนิดข้อมูล หรือเตรียมข้อมูล เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ต้นทาง เป็นต้น
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นแหล่งปลายทางของการสื่อสาร หรือเป็นอุปกรณ์สำหรับข้อมูลที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ดำเนินการต่อไป เช่น ผู้รับ คอมพิวเตอร์ปลายทาง เครื่องพิมพ์
3. ข่าวสาร (Massage) เป็นตัวเนื้อหาของข้อมูล ซึ่งมีได้หลายรูปแบบดังนี้ คือ
- ข้อความ (Text) ข้อมูลที่อยู่ในรูปอักขระ หรือเอกสาร เช่น ข้อความในหนังสือ เป็นต้น
- เสียง (Voice) ข้อมูลเสียงที่แหล่งต้นทางสร้างขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นเสียงที่มนุษย์หรืออุปกรณ์บางอย่างเป็นตัวสร้างก็ได้
- รูปภาพ (Image) เป็นข้อมูลที่ไม่เหมือนข้อความตัวอักษรที่เรียงติดต่อกัน แต่จะมีลักษณะเหมือนรูปภาพ เช่น การสแกนภาพเข้าคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลรูปภาพกับข้อมูลข้อความ แล้วรูปภาพจะมีขนาดใหญ่กว่า
- สื่อผสม (Multimedia) ข้อมูลที่ผสมลักษณะของทั้งรูปภาพ เสียงและข้อความเข้าด้วยกัน โดยสามารถเคลื่อนไหวได้ เช่น การเรียนผ่านระบบ VDO conference เป็นต้น โดยข้อมูลจะมีขนาดใหญ่มาก
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium) เป็นสื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มีสายสัญญาณ เช่น สายไฟ หรือตัวกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น อากาศ เป็นต้น
5. โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน


ที่มา
//www.hs1an.org/index.php?option=com_content&task=view&id=551&Itemid=31
7.2จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2
ตัวอย่าง

1.การไหลของน้ำออกทางท่อประปา
2.การถ่ายทอดข้อมูลราคาซื้อ-ขายหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ที่มา
//www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php

7.3จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง

1.โทรศัพท์เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสื่อสารที่เกิดขึ้นทั้งแบบกึ่งสองทิศทางและแบบสองทิศทางสมบูรณ์
2.วิทยุสื่อสาร

ที่มา
//www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php



โดย: น.ส.สุวรรณี ระวะใจ หมู่ 22 อังคารเช้า IP: 58.137.131.62 วันที่: 16 กันยายน 2552 เวลา:16:38:57 น.  

 

7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง
ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบด้วยกัน คือ
1. หน่วยส่งข้อมูล เป็นหน่วยที่ต้องการแจ้งหรือส่งข้อมูลให้หน่วยื่อน ๆ ทราบ เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูล มีหน้าที่ส่งข้อมูลข่าวสาร อาจจะเป็นคน หรือวัตถุก็ได้
2. ช่องทางการสื่อสาร คือกระบวนการ ช่องทาง หรือสื่อใด ๆ ที่ทำให้ข้อมูลสามารถส่งไปถึงหน่วยรับข้อมูลอย่างไม่ผิดพลาด เป็นสื่อสัญญาณทางสายหรือไร้สายก็ได้
3. หน่วยรับข้อมูล เป็นปลลายทางของการสื่อสารข้อมูลที่ทำหน้าที่รับข้อมูลส่งมาผ่านช่องทางการสื่อสาร อาจจะเป็นคนหรือวัตถุก็ได้
7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางหนึ่ง โดยไม่สามารถย้อนกลับมาได้ เช่น ระบบวิทยุ ระบบโทรทัศน์

7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง
แบบสองทิศทาง (Full Duplex หรือ Both-Way) ข้อมูลสามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้ง 2 ทิศทางอย่างอิสระ เช่น ระบบโทรศัพท์ การChat Online



โดย: นายอายุวัฒน์ นามมาลา 52041302111 วศ.บ.เครื่องกล หมู่.29 (พุธ เช้า ) IP: 172.29.5.133, 202.29.5.62 วันที่: 16 กันยายน 2552 เวลา:17:21:40 น.  

 
7.1 องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง

องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้

1. ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ
ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2. ผู้รับข่าวสาร หรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร
หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่ การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ
จุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง



3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน
ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้
วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น
เครือข่ายการสื่อสารข้อมูล
หมายถึง การรับส่งข้อมูลหรือสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยระบบการส่งข้อมูล ทางคลื่นไฟฟ้าหรือแสง อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปเรียกว่า
ข่ายการสื่อสารข้อมูล (Data Communication Networks)

องค์ประกอบพื้นฐาน

หน่วยส่งข้อมูล (Sending Unit)
ช่องทางการส่งข้อมูล (Transmisstion Channel)
หน่วยรับข้อมูล (Receiving Unit)
วัตถุประสงค์หลักของการนำการสื่อการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในองค์การประกอบด้วย
เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล
เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
เพื่อลดเวลาการทำงาน
เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร
เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ
เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การ


ที่มาCopyright by Passkorn Roungrong
//www.thaiwbi.com/course/data_com/index2.html


7.2จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2
ตัวอย่าง

ทิศทางของการสื่อสารข้อมูล
แบบทิศทางเดียว (Simplex) เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางโดยไม่สามารถส่งข้อมูลย้อนกลับมาได้ เช่นระบบวิทยุ หรือโทรทัศน์




7.3จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง


แบบสองทิศทาง (Full Duplex หรือ Both-Way) ข้อมูลสามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้ง 2 ทิศทางอย่างอิสระ เช่น ระบบโทรศัพท์ การChat Online


ที่มา//reg.ksu.ac.th/teacher/songgrod/4123702/content/lesson3/303.html


โดย: น.ส.สุวรรณี ระวะใจ หมู่ที่ 22 อังคารเช้า IP: 125.26.176.80 วันที่: 16 กันยายน 2552 เวลา:18:52:39 น.  

 
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง

คำตอบคือ...สามารถจำแนกได้ดังนี้...

1. ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2. ผู้รับข่าวสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่ การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง
3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงานที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลาง ให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น

ที่มา...
//www.geocities.com


โดย: วิทูร ภูนามูล (จันทร์บ่าย) IP: 117.47.9.192 วันที่: 17 กันยายน 2552 เวลา:14:40:04 น.  

 
7.2 จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง

ซิมเพล็กซ์ (Simplex tranmission)
ข้อมูลสามารถเดินทางไปในทิศทางเดียวเท่านั้น เหมือนการเดินรถบนถนนที่มีช่องทางเดินรถแบบทางเดียว
ตัวอย่างเช่น 1. การส่งสัญญาณโทรทัศน์ สัญญาณจะถูกส่งมาจากสถานีส่งไปยังเครื่องรับโทรทัศน์ ได้เพียงทิศทางเดียวโดยไม่มีสัญญาณตอบกลับ อุปกรณ์ส่งข้อมูลในทางคอมพิวเตอร์บางชนิดก็ส่งในลักษณะนี้ เช่น เครื่องมือตรวจวัดแรงสั่นสะเทือนของโลกจากแผ่นดินไหว
2.ที่สถานีวิทยุหรือโทรทัศน์จะทำหน้าที่ส่งข่าวสารไปยังผู้รับปลายทาง ขณะเดียวกันเครื่องรับวิทยุหรือโทรทัศน์ที่บ้านจะทำหน้าที่รับข้อมูลข่าวสาร

เท่านั้น แต่วิทยุหรือโทรทัศน์ไม่สามารถส่งสัญญาณหรือข้อมูลข่าวสารใด ๆ ไปยังสถานีส่ง และที่สถานนีส่งไม่สามารถรับสัญญาณใด ๆ จากเครื่องรับที่บ้านได้เช่นกัน
วิทยุติดตามตัวที่เรียกว่า เพจเจอร์ เป็นการสื่อสารแบบทางเดียว โดยเพจเจอร์ทำหน้าที่รับข้อมูลจากศูนย์บริการส่งไปยังผู้รับ แต่ไม่สามารถส่งข้อความมาที่ศูนย์บริการได้

ที่มา//reg.ksu.ac.th/teacher/songgrod/4123702/content/lesson3/303.html
//school.obec.go.th/wcr1/web2/text/p10.htm


โดย: วิทูร ภูนามูล (จันทร์บ่าย) IP: 117.47.9.192 วันที่: 17 กันยายน 2552 เวลา:14:41:08 น.  

 
7.3จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง


แบบสองทิศทาง (Full Duplex หรือ Both-Way) ข้อมูลสามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้ง 2 ทิศทางอย่างอิสระ เช่น ระบบโทรศัพท์ การChat Online


ที่มา//reg.ksu.ac.th/teacher/songgrod/4123702/content/lesson3/303.html


โดย: วิทูร ภูนามูล (จันทร์บ่าย) IP: 117.47.9.192 วันที่: 17 กันยายน 2552 เวลา:14:42:16 น.  

 
1. การสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว (Simplex Transmission) เป็นการติดต่อสื่อสารเพียงทิศทางเดียว คือผู้ส่งจะส่งข้อมูลเพียงฝั่งเดียวและโดยฝั่งรับไม่มีการตอบกลับ เช่น การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ การส่ง e-mail เป็นต้น




โดย: นายอภิเชษฐ์ หาคำ ม.8 พฤหัส (เช้า) IP: 172.29.5.133, 58.137.131.62 วันที่: 17 กันยายน 2552 เวลา:15:25:06 น.  

 


ทิศทางของการสื่อสารข้อมูล



1. แบบทิศทางเดียว (Simplex) เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางโดยไม่สามารถส่งข้อมูลย้อนกลับมาได้ เช่นระบบวิทยุ หรือโทรทัศน์


โดย: นายอภิเชษฐ์ หาคำ ม.8 พฤหัส (เช้า) IP: 172.29.5.133, 58.137.131.62 วันที่: 17 กันยายน 2552 เวลา:15:28:50 น.  

 
การสือสารข้อมูลแบบสองทิศทาง

2. แบบกึ่งสองทิศทาง (Half Duplex) เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลสามารถส่งกลับกันได้ 2 ทิศทาง แต่จะไม่สามารถส่งพร้อมกันได้ โดยต้องผลัดกันส่งครั้งละทิศทางเท่านั้น เช่น วิทยุสื่อสารแบบผลัดกันพูด (รูปที่
3. แบบสองทิศทาง (Full Duplex) เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลสามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้ง 2 ทิศทาง ในเวลาเดียวกัน เช่น ระบบโทรศัพท์


โดย: นายอภิเชษฐ์ หาคำ ม.8 พฤหัส (เช้า) IP: 172.29.5.133, 58.137.131.62 วันที่: 17 กันยายน 2552 เวลา:15:30:14 น.  

 
แบบทดสอบบทที่ 1
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง

ตอบ มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่
1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นแหล่งต้นทางของการสื่อสารโดยมีหน้าที่ในการให้กำเนิดข้อมูล หรือเตรียมข้อมูล เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ต้นทาง เป็นต้น
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นแหล่งปลายทางของการสื่อสาร หรือเป็นอุปกรณ์สำหรับข้อมูลที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ดำเนินการต่อไป เช่น ผู้รับ คอมพิวเตอร์ปลายทาง เครื่องพิมพ์
3. ข่าวสาร (Massage) เป็นตัวเนื้อหาของข้อมูล ซึ่งมีได้หลายรูปแบบดังนี้ คือ
- ข้อความ (Text) ข้อมูลที่อยู่ในรูปอักขระ หรือเอกสาร เช่น ข้อความในหนังสือ เป็นต้น
- เสียง (Voice) ข้อมูลเสียงที่แหล่งต้นทางสร้างขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นเสียงที่มนุษย์หรืออุปกรณ์บางอย่างเป็นตัวสร้างก็ได้
- รูปภาพ (Image) เป็นข้อมูลที่ไม่เหมือนข้อความตัวอักษรที่เรียงติดต่อกัน แต่จะมีลักษณะเหมือนรูปภาพ เช่น การสแกนภาพเข้าคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลรูปภาพกับข้อมูลข้อความ แล้วรูปภาพจะมีขนาดใหญ่กว่า
- สื่อผสม (Multimedia) ข้อมูลที่ผสมลักษณะของทั้งรูปภาพ เสียงและข้อความเข้าด้วยกัน โดยสามารถเคลื่อนไหวได้ เช่น การเรียนผ่านระบบ VDO conference เป็นต้น โดยข้อมูลจะมีขนาดใหญ่มาก
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium) เป็นสื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มีสายสัญญาณ เช่น สายไฟ หรือตัวกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น อากาศ เป็นต้น
5. โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน

7.2 จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
ได้แก่
ตัวอย่างการส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียวกันได้แก่ การถ่ายทอดข้อมูลราคาซื้อ-ขายหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไปยังสมาชิกซึ่งมักจะใช้เครื่องพีซีติดต่อเข้ามาจากที่บ้านหรือที่ทำงาน ข้อมูลจะถูกส่งไปเก็บไว้ที่ฐานข้อมูลที่เครื่องพีซีของผู้ใช้ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกดูราคาหุ้น ทั้งหมดหรือหุ้นบางตัวที่สนใจได้โดยไม่ต้องส่งข้อมูลใด ๆ กลับมาที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เพียงแค่ส่งข้อมูลส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงมายังสมาชิกเท่านั้น

7.3 จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง
ได้แก่
7.3แบบสองทิศทาง(Full Duplex) ข้อมูลสามารถส่งพร้อมๆ กันได้ทั้ง 2 ทิศทางอย่างอิสระ ตัวอย่างเช่น ระบบโทรศัพท์





โดย: น.ส.จิตราภรณ์ ภุเกตุ หมู่ 8 พฤหัสเช้า IP: 202.29.5.62 วันที่: 17 กันยายน 2552 เวลา:15:48:18 น.  

 
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง

1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นแหล่งต้นทางของการสื่อสารโดยมีหน้าที่ในการให้กำเนิดข้อมูล หรือเตรียมข้อมูล เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ต้นทาง เป็นต้น
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นแหล่งปลายทางของการสื่อสาร หรือเป็นอุปกรณ์สำหรับข้อมูลที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ดำเนินการต่อไป เช่น ผู้รับ คอมพิวเตอร์ปลายทาง เครื่องพิมพ์
3. ข่าวสาร (Massage) เป็นตัวเนื้อหาของข้อมูล ซึ่งมีได้หลายรูปแบบดังนี้ คือ
- ข้อความ (Text) ข้อมูลที่อยู่ในรูปอักขระ หรือเอกสาร เช่น ข้อความในหนังสือ เป็นต้น
- เสียง (Voice) ข้อมูลเสียงที่แหล่งต้นทางสร้างขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นเสียงที่มนุษย์หรืออุปกรณ์บางอย่างเป็นตัวสร้างก็ได้
- รูปภาพ (Image) เป็นข้อมูลที่ไม่เหมือนข้อความตัวอักษรที่เรียงติดต่อกัน แต่จะมีลักษณะเหมือนรูปภาพ เช่น การสแกนภาพเข้าคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลรูปภาพกับข้อมูลข้อความ แล้วรูปภาพจะมีขนาดใหญ่กว่า
- สื่อผสม (Multimedia) ข้อมูลที่ผสมลักษณะของทั้งรูปภาพ เสียงและข้อความเข้าด้วยกัน โดยสามารถเคลื่อนไหวได้ เช่น การเรียนผ่านระบบ VDO conference เป็นต้น โดยข้อมูลจะมีขนาดใหญ่มาก
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium) เป็นสื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มีสายสัญญาณ เช่น สายไฟ หรือตัวกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น อากาศ เป็นต้น
5. โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน
1.2 ชนิดของการสื่อสาร
//www.hs1an.org/index.php?option=com_content&task=view&id=551&Itemid=31


โดย: นายสุพจน์ ยางขัน หมู่ 8 พฤหัสเช้า IP: 58.137.131.62 วันที่: 19 กันยายน 2552 เวลา:14:05:48 น.  

 
7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
1.การส่ง e-mail
2.ระบบวิทยุ

7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ 1.โทรศัพท์
2.shat



โดย: นายสุพจน์ ยางขัน หมู่ 8 พฤหัสเช้า IP: 58.137.131.62 วันที่: 19 กันยายน 2552 เวลา:14:12:21 น.  

 
แบบฝึกหัด
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง
7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง


7.1 องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง

องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้

1. ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ
ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2. ผู้รับข่าวสาร หรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร
หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่ การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ
จุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง



3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน
ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้
วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น
เครือข่ายการสื่อสารข้อมูล
หมายถึง การรับส่งข้อมูลหรือสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยระบบการส่งข้อมูล ทางคลื่นไฟฟ้าหรือแสง อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปเรียกว่า
ข่ายการสื่อสารข้อมูล (Data Communication Networks)

องค์ประกอบพื้นฐาน

หน่วยส่งข้อมูล (Sending Unit)
ช่องทางการส่งข้อมูล (Transmisstion Channel)
หน่วยรับข้อมูล (Receiving Unit)
วัตถุประสงค์หลักของการนำการสื่อการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในองค์การประกอบด้วย
เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล
เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
เพื่อลดเวลาการทำงาน
เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร
เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ
เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การ


//www.thaiwbi.com/course/data_com/index2.html


7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง

1. การสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว (Simplex Transmission) เป็นการติดต่อสื่อสารเพียงทิศทางเดียว คือผู้ส่งจะส่งข้อมูลเพียงฝั่งเดียวและโดยฝั่งรับไม่มีการตอบกลับ เช่น การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ การส่ง e-mail เป็นต้น

2.แบบทิศทางเดียวหรือซิมเพล็กซ์ (One-way หรือ Simplex)
เป็นการส่งข้อมูลในทิศทางเดียว คือข้อมู่ลถูกส่งไปในทางเดียว เช่น สถานีวิทยุกระจายเสียง การแพร่ภาพทางโทรทัศน์


7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง

1)การถ่ายทอดสัญญาณแบบกึ่งสองทิศทาง
การถ่ายทอดสัญญาณแบบกึ่งสองทิศทาง (Half-duplex Transmission) ยินยอมให้ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้และผู้รับก็สามารถส่งข้อมูล กลับมายังผู้ส่งข้อมูลได้เช่นกัน แต่มีเงื่อนไขว่าทั้งผู้ส่งและผู้รับจะส่งข้อมูลพร้อมกันไม่ได้ ตัวอย่างได้แก่ การใช้วิทยุสื่อสารของตำรวจ หรือวิทยุ สื่อสารใช้งานทั่วไป (CB Radio) ผู้พูดสามารถพูดไปอีกฝ่ายหนึ่งได้ แต่จะพูดพร้อมกันไม่ได้ คือในขณะที่ฝ่ายหนึ่งเป็นผู้พูด อีกฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นผู้ฟัง ในระบบนี้ไม่มีการบังคับอย่างชัดเจนว่าฝ่ายใดจะพูด ดังนั้นในการใช้งานจริงจึงต้องอาศัยประสบการณ์ของผู้ใช้งานเป็นสำคัญมิ ฉะนั้นก็อาจจะมีแต่ผู้พูดไม่มีใครยอมเป็นผู้ฟัง ในการสื่อสารข้อมูล จะไม่เกิดการแย่งกันส่งข้อมูลเด็ดขาดเนื่องจากการสื่อสารจะต้องมีโพรโทคอ ลหรือกฎการสื่อสารข้อมูลเป็นตัวบังคับ
2) การถ่ายทอดสัญญาณแบบสองทิศทางสมบูรณ์
การถ่ายทอดสัญญาณแบบสองทิศทางสมบูรณ์ (Full-Duplex Transmission) ยินยอมให้ทั้งฝ่ายผู้ส่งและผู้รับข้อมูลสามารถส่งข้อมูลไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ได้ตลอดเวลา วิธีการนี้จึงใช้ประโยชน์จากการสื่อสารข้อมูลอย่างเต็มที่ แต่มีข้อจำกัดคือเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีความสามารถในการรับและส่งข้อมูล ได้อย่างเต็มที่ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้สื่อที่เลือกใช้ก็จะต้องมีช่องสื่อสารสองช่อง ช่องหนึ่งสำหรับส่งข้อมูลและอีกช่องหนึ่งสำหรับรับข้อมูล ช่องสื่อสารแบบ RS-232 สามารถรองรับการทำงานแบบนี้ได้เพราะมีขาเชื่อมต่อสำหรับการสื่อสารอยู่สอง ชุดที่แยกจากกัน โมเด็มที่ทำงานแบบสองทิศทางสมบูรณ์ได้จะต้องได้รับมาตรฐาน CCITT V.32 และ CCITT V.34 เช่นระบบโทรศัพท์เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสื่อสารที่เกิดขึ้นทั้งแบบกึ่งสอง ทิศทางและแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ในกรณีที่ใช้โทรศัพท์ ภายในเขตเมืองเดียวกัน (รหัสเมืองเหมือนกัน) จะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ดังนั้นผู้ใช้โทรศัพท์ ทั้งสองฝ่ายสามารถที่จะพูดออกมาพร้อม ๆ กัน เสียงพูดของแต่ละฝ่ายจะไปดังที่โทรศัพท์ของอีก ฝ่ายหนึ่ง แม้ว่าในทางปฏิบัติอาจจะไม่มีใครทำอย่างนี้แต่ก็สามารถทำได้อย่างแน่นอน


ที่มา //www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php

7.3 แบบกึ่งสองทิศทาง (Half Duplex) ข้อมูลสามารถส่งสลับกันได้ทั้งสองทิศทาง โดยต้องผลัดกันส่งครั้งละทิศทางเท่านั้น เช่น วิทยุสื่อสารแบบผลัดกันพูด
4.3.3 การถ่ายทอดสัญญาณแบบสองทิศทางสมบูรณ์
การถ่ายทอดสัญญาณแบบสองทิศทางสมบูรณ์ (Full-Duplex Transmission) ยินยอมให้ทั้งฝ่ายผู้ส่งและผู้รับข้อมูลสามารถส่งข้อมูลไปยังอีกฝ่ายหนึ่งได้ตลอดเวลา วิธีการนี้จึงใช้ประโยชน์จากการสื่อสารข้อมูลอย่างเต็มที่ แต่มีข้อจำกัดคือเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีความสามารถในการรับและส่งข้อมูลได้อย่างเต็มที่ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้สื่อที่เลือกใช้ก็จะต้องมีช่องสื่อสารสองช่อง ช่องหนึ่งสำหรับส่งข้อมูลและอีกช่องหนึ่งสำหรับรับข้อมูล ช่องสื่อสารแบบ RS-232 สามารถรองรับการทำงานแบบนี้ได้เพราะมีขาเชื่อมต่อสำหรับการสื่อสารอยู่สองชุดที่แยกจากกัน โมเด็มที่ทำงานแบบสองทิศทางสมบูรณ์ได้จะต้องได้รับมาตรฐาน CCITT V.32 และ CCITT V.34 เช่นระบบโทรศัพท์เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสื่อสารที่เกิดขึ้นทั้งแบบกึ่งสองทิศทางและแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ในกรณีที่ใช้โทรศัพท์ ภายในเขตเมืองเดียวกัน (รหัสเมืองเหมือนกัน) จะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ดังนั้นผู้ใช้โทรศัพท์ ทั้งสองฝ่ายสามารถที่จะพูดออกมาพร้อม ๆ กัน เสียงพูดของแต่ละฝ่ายจะไปดังที่โทรศัพท์ของอีก ฝ่ายหนึ่ง แม้ว่าในทางปฏิบัติอาจจะไม่มีใครทำอย่างนี้แต่ก็สามารถทำได้อย่างแน่นอน
การส่งสัญญาณในระบบโทรศัพท์ทางไกลแม้ว่าตัวระบบเองจะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์แต่จะทำงานเป็นแบบกึ่งสองทิศทาง ระบบโทรศัพท์ทั่วไปจะมีสัญญาณสะท้อนกลับ (Echo) เกิดขึ้นเสมอเนื่องจากเสียงผู้พูดฝ่ายหนึ่งที่ไปถึงอีกฝ่ายหนึ่งจะทำให้เกิดการส่งสัญญาณสะท้อนกลับมาโดยไม่ได้ตั้งใจ ถ้าเป็นโทรศัพท์ภายในเขตจังหวัดเดียวกันหรือทางไกลภายในประเทศ สัญญาณสะท้อนกลับจะเกิดขึ้นเร็วมาก เนื่องจากระยะทางสั้น และซ้อนทับกับเสียงของผู้พูด จนกระทั่งไม่สามารถแยกเสียงจริงและเสียงสะท้อนออกจากกันได้ แต่ถ้าเป็นโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ สัญญาณสะท้อนกลับจะเกิดขึ้นช้ากว่า เพราะระยะทางไกลมาก ทำให้สามารถแยกความแตกต่างออกจากกันได้ คือผู้พูดจะได้ยินเสียงตัวเองภายหลังจากตัวเองที่หยุดพูด เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ระบบโทรศัพท์ต้องใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องตัดเสียงสะท้อน (Echo Suppressor) อุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่คอยเปิด-ปิดช่องสัญญาณในระหว่างการสนทนาเพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณสะท้อน ย้อนกลับไปยังผู้พูด เนื่องจากอุปกรณ์นี้ทำงานโดยใช้เสียงผู้พูดเป็นตัวกระตุ้นเพื่อปิดช่องสื่อสารของผู้ฟัง จึงทำให้ผู้ฟังไม่สามารถพูดสวนกลับไปได้ในเวลาเดียวกัน ผลที่เกิดขึ้นจึงทำให้ระบบการสื่อสารนี้กลายเป็นแบบกึ่งสองทิศทาง
//www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php

นาย พิษณุ มีที คบ.ทัศนศิลป์ หมู่ 11 1/52 จันทร์/บ่าย 51100103115


โดย: นาย พิษณุ มีที IP: 192.168.1.124, 124.157.149.201 วันที่: 20 กันยายน 2552 เวลา:10:58:09 น.  

 
7.1 องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง

องค์ประกอบพื้นฐานในการสื่อสารข้อมูล
องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ส่วน
1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นแหล่งต้นทางของการสื่อสารโดยมีหน้าที่ในการให้กำเนิดข้อมูล หรือเตรียมข้อมูล เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ต้นทาง เป็นต้น
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นแหล่งปลายทางของการสื่อสาร หรือเป็นอุปกรณ์สำหรับข้อมูลที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ดำเนินการต่อไป เช่น ผู้รับ คอมพิวเตอร์ปลายทาง เครื่องพิมพ์
3. ข่าวสาร (Massage) เป็นตัวเนื้อหาของข้อมูล ซึ่งมีได้หลายรูปแบบดังนี้ คือ
- ข้อความ (Text) ข้อมูลที่อยู่ในรูปอักขระ หรือเอกสาร เช่น ข้อความในหนังสือ เป็นต้น
- เสียง (Voice) ข้อมูลเสียงที่แหล่งต้นทางสร้างขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นเสียงที่มนุษย์หรืออุปกรณ์บางอย่างเป็นตัวสร้างก็ได้
- รูปภาพ (Image) เป็นข้อมูลที่ไม่เหมือนข้อความตัวอักษรที่เรียงติดต่อกัน แต่จะมีลักษณะเหมือนรูปภาพ เช่น การสแกนภาพเข้าคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลรูปภาพกับข้อมูลข้อความ แล้วรูปภาพจะมีขนาดใหญ่กว่า
- สื่อผสม (Multimedia) ข้อมูลที่ผสมลักษณะของทั้งรูปภาพ เสียงและข้อความเข้าด้วยกัน โดยสามารถเคลื่อนไหวได้ เช่น การเรียนผ่านระบบ VDO conference เป็นต้น โดยข้อมูลจะมีขนาดใหญ่มาก
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium) เป็นสื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มีสายสัญญาณ เช่น สายไฟ หรือตัวกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น อากาศ เป็นต้น
5. โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน


ที่มา
//www.hs1an.org/index.php?option=com_content&task=view&id=551&Itemid=31


โดย: นาย จิติวรรษ์ คอยตาม หมู่ 8. 1/52 พฤหัสบดี เช้า IP: 124.157.139.207 วันที่: 22 กันยายน 2552 เวลา:1:35:04 น.  

 
7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง

ตอบ 1.การส่งวิทยุกระจายเสียง
2.การแพร่ภาพโทรทัศน์



โดย: นาย จิติวรรษ์ คอยตาม หมู่ 8. /52 พฤหัสบดี เช้า IP: 124.157.139.207 วันที่: 22 กันยายน 2552 เวลา:1:44:52 น.  

 
7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง

1. ระบบโทรศัพท์
2. ระบบอินเตอร์เน็ต


โดย: นาย จิติวรรษ์ คอยตาม หมู่ 8 .1/52 พฤหัสบดี เช้า IP: 124.157.139.207 วันที่: 22 กันยายน 2552 เวลา:1:51:09 น.  

 
7.1 องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง

องค์ประกอบพื้นฐานในการสื่อสารข้อมูล
องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ส่วน
1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นแหล่งต้นทางของการสื่อสารโดยมีหน้าที่ในการให้กำเนิดข้อมูล หรือเตรียมข้อมูล เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ต้นทาง เป็นต้น
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นแหล่งปลายทางของการสื่อสาร หรือเป็นอุปกรณ์สำหรับข้อมูลที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ดำเนินการต่อไป เช่น ผู้รับ คอมพิวเตอร์ปลายทาง เครื่องพิมพ์
3. ข่าวสาร (Massage) เป็นตัวเนื้อหาของข้อมูล ซึ่งมีได้หลายรูปแบบดังนี้ คือ
- ข้อความ (Text) ข้อมูลที่อยู่ในรูปอักขระ หรือเอกสาร เช่น ข้อความในหนังสือ เป็นต้น
- เสียง (Voice) ข้อมูลเสียงที่แหล่งต้นทางสร้างขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นเสียงที่มนุษย์หรืออุปกรณ์บางอย่างเป็นตัวสร้างก็ได้
- รูปภาพ (Image) เป็นข้อมูลที่ไม่เหมือนข้อความตัวอักษรที่เรียงติดต่อกัน แต่จะมีลักษณะเหมือนรูปภาพ เช่น การสแกนภาพเข้าคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลรูปภาพกับข้อมูลข้อความ แล้วรูปภาพจะมีขนาดใหญ่กว่า
- สื่อผสม (Multimedia) ข้อมูลที่ผสมลักษณะของทั้งรูปภาพ เสียงและข้อความเข้าด้วยกัน โดยสามารถเคลื่อนไหวได้ เช่น การเรียนผ่านระบบ VDO conference เป็นต้น โดยข้อมูลจะมีขนาดใหญ่มาก
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium) เป็นสื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มีสายสัญญาณ เช่น สายไฟ หรือตัวกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น อากาศ เป็นต้น
5. โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน


ที่มา
//www.hs1an.org/index.php?option=com_content&task=view&id=551&Itemid=31



7.2จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2
ตัวอย่าง

1.การไหลของน้ำออกทางท่อประปา
2.การถ่ายทอดข้อมูลราคาซื้อ-ขายหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ที่มา
//www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php

7.3จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง

1.โทรศัพท์เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสื่อสารที่เกิดขึ้นทั้งแบบกึ่งสองทิศทางและแบบสองทิศทางสมบูรณ์
2.วิทยุสื่อสาร

ที่มา
//www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php


โดย: พ.อ.อ.ปิยะ หอมชื่น หมู่05 IP: 125.26.174.110 วันที่: 22 กันยายน 2552 เวลา:11:14:40 น.  

 
.1 องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง

องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้

1. ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ
ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2. ผู้รับข่าวสาร หรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร
หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่ การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ
จุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง



3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน
ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้
วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น
เครือข่ายการสื่อสารข้อมูล
หมายถึง การรับส่งข้อมูลหรือสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยระบบการส่งข้อมูล ทางคลื่นไฟฟ้าหรือแสง อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปเรียกว่า
ข่ายการสื่อสารข้อมูล (Data Communication Networks)

องค์ประกอบพื้นฐาน

หน่วยส่งข้อมูล (Sending Unit)
ช่องทางการส่งข้อมูล (Transmisstion Channel)
หน่วยรับข้อมูล (Receiving Unit)
วัตถุประสงค์หลักของการนำการสื่อการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในองค์การประกอบด้วย
เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล
เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
เพื่อลดเวลาการทำงาน
เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร
เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ
เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การ


ที่มาCopyright by Passkorn Roungrong
//www.thaiwbi.com/course/data_com/index2.html


7.2จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2
ตัวอย่าง

ทิศทางของการสื่อสารข้อมูล
แบบทิศทางเดียว (Simplex) เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางโดยไม่สามารถส่งข้อมูลย้อนกลับมาได้ เช่นระบบวิทยุ หรือโทรทัศน์




7.3จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง


แบบสองทิศทาง (Full Duplex หรือ Both-Way) ข้อมูลสามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้ง 2 ทิศทางอย่างอิสระ เช่น ระบบโทรศัพท์ การChat Online


ที่มา//reg.ksu.ac.th/teacher/songgrod/4123702/content/lesson3/303.html
//school.obec.go.th/wcr1/web2/text/p10.htm


โดย: ส.อ.ชาคร ทานินนท์ หมู่ 05 51241151208 IP: 125.26.174.110 วันที่: 22 กันยายน 2552 เวลา:11:15:33 น.  

 
การสื่อสารข้อมูล หมายถึง การส่งข้อมูลที่อยู่ในรูปของเลขฐานสอง ที่เกิดจากอุปกรณ์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2เครื่องขึ้นไปโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารตลอดจนแบ่งปันการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด

องค์ประกอบของระบบสื่อสารข้อมูล
ระบบสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบพื้นฐาน 5 ประการ ดังนี้ คือ



1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)
เป็นต้นทางการสื่อสาร มีหน้าที่เตรียมข้อมมูลข่าวสารเพื่อจัดส่ง
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล(Receiver)
เป็นปลายทางของการสื่อสารข้อมูล มีหน้าที่รับส่งข้อมูลข่าวสารที่ผู้ส่งจัดส่งมาให้
3. สื่อกลาง(Medium)
เป็นเส้นทางการสื่อสาร เพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อกลางการสื่อสารนี้ อาจเป็นเส้นลวดทองแดง สายเคเบิล
สายใยแก้วนำแสง หรือคลื่นต่างๆ ที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไม่โครเวฟ คลื่นวิทยุ
4.ข่าวสาร(Massage)
เป็นสัญญานที่ใช้ส่งผ่านไปในสื่อกลาง แบ่งออกเป็น 4รูปแบบ ดังนี้คือ
1. เสียง
2. ข้อมูล
3. ข้อความ
4. รูปภาพ
5. โปรโตรคอล(Protocol)
หมายถึงกฎระเบียบหรือข้อตกลงที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจหรือพูดคุยกันได้

ที่มา //comschool.site40.net/data1.htm



โดย: นายสันทัด คูหานา หฒู่ 05 51241151128 IP: 125.26.174.110 วันที่: 22 กันยายน 2552 เวลา:11:16:10 น.  

 
7.1 องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง

องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้

1. ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ
ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2. ผู้รับข่าวสาร หรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร
หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่ การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ
จุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง



3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน
ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้
วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น
เครือข่ายการสื่อสารข้อมูล
หมายถึง การรับส่งข้อมูลหรือสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยระบบการส่งข้อมูล ทางคลื่นไฟฟ้าหรือแสง อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปเรียกว่า
ข่ายการสื่อสารข้อมูล (Data Communication Networks)

องค์ประกอบพื้นฐาน

หน่วยส่งข้อมูล (Sending Unit)
ช่องทางการส่งข้อมูล (Transmisstion Channel)
หน่วยรับข้อมูล (Receiving Unit)
วัตถุประสงค์หลักของการนำการสื่อการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในองค์การประกอบด้วย
เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล
เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
เพื่อลดเวลาการทำงาน
เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร
เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ
เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การ

7.2จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2
ตัวอย่าง

1.การไหลของน้ำออกทางท่อประปา
2.การถ่ายทอดข้อมูลราคาซื้อ-ขายหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง

1. ระบบโทรศัพท์
2. ระบบอินเตอร์เน็ต






โดย: นางสาวสุขชฎา อินทปัญญา หมู่ 22 รหัส 52040427216 IP: 192.168.1.112, 124.157.129.6 วันที่: 23 กันยายน 2552 เวลา:17:27:38 น.  

 
แบบฝึกหัด
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง
ตอบ 1. ผู้ส่ง หรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) และผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) ผู้ส่ง หรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูล มีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล ส่วนผู้รับ หรืออุปกรณ์รับข้อมูลเป็นปลายทางการสื่อสารข้อมูล มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้
ทั้งอุปกรณ์รับและส่งข้อมูล อาจจะเป็นอุปกรณ์ชนิดเดียวกัน อุปกรณ์ส่ง-รับข้อมูล มี 2 ชนิด คือ DTE
(Data Terminal Equipment) และ DCE (Data Communications Equipment) DTE เป็นแหล่งกำเนิดและรับข้อมูล ซึ่งอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง (Terminal Computer) เครื่องพิมพ์ หรือตัวควบคุม ส่วน DCE เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่ง-รับข้อมูลโดยทั่วไป DCE จะหมายถึงโมเด็ม (Modem) จานไมโครเวฟ หรือจานดาวเทียม เป็นต้น

2. โปรโตคอล (Protocol) และ ซอฟต์แวร์ (Software) โปรโตคอล คือ วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล เพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกัน หรือคุยกันรู้เรื่อง ส่วนซอฟต์แวร์มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงานในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้

3. ข่าวสาร (Message) สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสารเรียกว่า ข่าวสารหรือสารสนเทศ (Information) รูปแบบของข่าวสารในการสื่อสารข้อมูลมี 4 รูปแบบ คือ

- เสียง (Voice) อาจเป็นเสียงคน หรือเสียงที่สร้างขึ้นจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ข้อมูลจะกระจัดกระจายคาดการณ์ล่วงหน้าไม่ได้ การส่งข้อมูลจะส่งด้วยความเร็วต่ำ
ข้อมูล (Data) ข้อมูลถูกสร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ มีรูปแบบแน่นอน (เป็นรหัสบิต) คาดการณ์จำนวนได้ การส่งข้อมูลจะส่งด้วยความเร็วสูง
- ข้อความ (Text) ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ส่วนใหญ่เป็นรูปของอักขระ หรือเอกสารการส่งข่าวสารที่เป็นข้อความจะส่งด้วยความเร็วปานกลาง
- ภาพ (Image) อยู่ในรูปของกราฟิกแบบต่าง ๆ เช่น รูปภาพ ภาพวีดีทัศน์ ใช้ปริมาณหรือหน่วยความจำมาก ต้องส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง ในการสื่อสารแต่ละวิธีรูปแบบของข่าวสารที่ส่งออกไปอาจจะแตกต่างกันหรือเหมือนกัน เช่น การสื่อสารทางโทรคมนาคม สามารถส่งข้อมูลได้ทั้งเสียง ข้อมูล ข้อความ และภาพ ระบบ เซลลูล่าของโทรศัพท์สามารถส่ง – รับข้อมูลได้เพียง 2 รูปแบบ คือ เสียง และข้อมูล ส่วนวิดีโอเท็กซ์รูปแบบข้อมูลจะเป็นข้อมูล ข้อความและภาพ

4. สื่อกลาง (Medium) สื่อกลางเป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อกลางการสื่อสารอาจจะเป็นเส้นลวด สายไฟ สายเคเบิล สายไฟเบอร์ออปกติหรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ คลื่นดาวเทียม หรือคลื่นวิทยุ

ที่มา //www.geocities.com/chaicom9/usenet/s_com2.htm
7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ1. วิทยุผลัดกันพูด
2. จดหมาย
7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ 1.โทรศัพท์
2.MMS





โดย: นางสาวหนึ่งฤทัย มังคละแสน คณะมนุษศษสตร์และสังคมศาสตร์ สาขานิติศาสตร์หมู่01 จ.บ่าย IP: 124.157.147.100 วันที่: 23 กันยายน 2552 เวลา:19:22:39 น.  

 
แบบฝึกหัดที่1
คำถาม

1.1 ข้อมูลและสารสนเทศ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ตอบ

แตกต่างกัน คือ

ข้อมูล (data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริงสำหรับใช้เป็นหลักในการอนุมานหาความจริงหรือการคำนวณ ข้อมูลจึงมีความหมายในลักษณะที่เป็นข้อมูลดิบ (Raw data) เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่ได้จากการสังเกตปรากฎการณ์การกระทำหรือลักษณะต่าง ๆ ของวัตถุ สิ่งของ คน สัตว์ หรือพืช แล้วบันทึกไว้เป็นตัวเลข สัญลักษณ์ ภาพหรือเสียง และยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที จะนำไปใช้ได้ก็ต่อเมื่อผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว


สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่นำมาสรุปประมวลผล ดำเนินการทางสถิติ เปรียบเทียบหรือดำเนินการโดยวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้รับได้เข้าใจความเป็นไปหรือสถานการณ์ของสิ่งที่มีสารสนเทศนั้นเป็นตัวแทน ซึ่งข่าวสารที่ได้ออกมานั้นอยู่ในรูปที่สามารถนำไปใช้งานได้ทันที


1.2 เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบไปด้วยเทคโนโลยีกี่สาขา อะไรบ้าง

ตอบ

มี 2 สาขา คือ
1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
2. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม

ที่มา

//www.nrru.ac.th/preelearning/rungrot/page13004.asp
//www.sci.nu.ac.th/information-it/index.php?topic=7991.0
แบบฝึกหัดที่1
คำถาม

1.1 ข้อมูลและสารสนเทศ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ตอบ

แตกต่างกัน คือ

ข้อมูล (data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริงสำหรับใช้เป็นหลักในการอนุมานหาความจริงหรือการคำนวณ ข้อมูลจึงมีความหมายในลักษณะที่เป็นข้อมูลดิบ (Raw data) เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่ได้จากการสังเกตปรากฎการณ์การกระทำหรือลักษณะต่าง ๆ ของวัตถุ สิ่งของ คน สัตว์ หรือพืช แล้วบันทึกไว้เป็นตัวเลข สัญลักษณ์ ภาพหรือเสียง และยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที จะนำไปใช้ได้ก็ต่อเมื่อผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว


สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่นำมาสรุปประมวลผล ดำเนินการทางสถิติ เปรียบเทียบหรือดำเนินการโดยวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้รับได้เข้าใจความเป็นไปหรือสถานการณ์ของสิ่งที่มีสารสนเทศนั้นเป็นตัวแทน ซึ่งข่าวสารที่ได้ออกมานั้นอยู่ในรูปที่สามารถนำไปใช้งานได้ทันที


1.2 เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบไปด้วยเทคโนโลยีกี่สาขา อะไรบ้าง

ตอบ

มี 2 สาขา คือ
1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
2. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม

ที่มา

//www.nrru.ac.th/preelearning/rungrot/page13004.asp
//www.sci.nu.ac.th/information-it/index.php?topic=7991.0
แบบฝึกหัดที่1
คำถาม

1.1 ข้อมูลและสารสนเทศ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ตอบ

แตกต่างกัน คือ

ข้อมูล (data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริงสำหรับใช้เป็นหลักในการอนุมานหาความจริงหรือการคำนวณ ข้อมูลจึงมีความหมายในลักษณะที่เป็นข้อมูลดิบ (Raw data) เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่ได้จากการสังเกตปรากฎการณ์การกระทำหรือลักษณะต่าง ๆ ของวัตถุ สิ่งของ คน สัตว์ หรือพืช แล้วบันทึกไว้เป็นตัวเลข สัญลักษณ์ ภาพหรือเสียง และยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที จะนำไปใช้ได้ก็ต่อเมื่อผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว


สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่นำมาสรุปประมวลผล ดำเนินการทางสถิติ เปรียบเทียบหรือดำเนินการโดยวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้รับได้เข้าใจความเป็นไปหรือสถานการณ์ของสิ่งที่มีสารสนเทศนั้นเป็นตัวแทน ซึ่งข่าวสารที่ได้ออกมานั้นอยู่ในรูปที่สามารถนำไปใช้งานได้ทันที


1.2 เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบไปด้วยเทคโนโลยีกี่สาขา อะไรบ้าง

ตอบ

มี 2 สาขา คือ
1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
2. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม

ที่มา

//www.nrru.ac.th/preelearning/rungrot/page13004.asp
//www.sci.nu.ac.th/information-it/index.php?topic=7991.0


โดย: นายศรายุทธ เทพารักษ์ IP: 124.157.145.249 วันที่: 24 กันยายน 2552 เวลา:11:42:59 น.  

 
องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล ได้แก่

1. Source system คือ ระบบผู้ส่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ส่งข่าวสาร
2. Destination system คือ ระบบผู้รับเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข่าวสาร
3. Transmission system คือ ระบบที่เป็นสื่อกลางเชื่อมผู้และผู้รับ


www.sawi.ac.th


โดย: นายชัยวัฒน์ ศรีอุต หมู่ 22 อังคาร (เช้า) IP: 192.168.1.108, 124.157.139.216 วันที่: 24 กันยายน 2552 เวลา:14:07:06 น.  

 
แบบทิศทางเดียว (Simplex) ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางโดยไม่สามารถส่งย้อนกลับมาได้ เช่น ระบบวิทยุ หรือโทรทัศน์



//cptd.chandra.ac.th


โดย: นายชัยวัฒน์ ศรีอุต หมู่ 22 อังคาร (เช้า) IP: 192.168.1.108, 124.157.139.216 วันที่: 24 กันยายน 2552 เวลา:14:10:30 น.  

 
การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน เช่น การสื่อสารโดยใช้โทรศัพท์ การchat หากันทางอินเตอร์เน็ต




//www.geocities.com


โดย: นายชัยวัฒน์ ศรีอุต หมู่ 22 อังคาร (เช้า) IP: 192.168.1.108, 124.157.139.216 วันที่: 24 กันยายน 2552 เวลา:14:17:21 น.  

 
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง

คำตอบคือ...สามารถจำแนกได้ดังนี้...

1. ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2. ผู้รับข่าวสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่ การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง
3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงานที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลาง ให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น

ที่มา...
//www.geocities.com

ข้อ 2

ตัวอย่างการส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียวกันได้แก่ การถ่ายทอดข้อมูลราคาซื้อ-ขายหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไปยังสมาชิกซึ่งมักจะใช้เครื่องพีซีติดต่อเข้ามาจากที่บ้านหรือที่ทำงาน ข้อมูลจะถูกส่งไปเก็บไว้ที่ฐานข้อมูลที่เครื่องพีซีของผู้ใช้ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกดูราคาหุ้น ทั้งหมดหรือหุ้นบางตัวที่สนใจได้โดยไม่ต้องส่งข้อมูลใด ๆ กลับมาที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เพียงแค่ส่งข้อมูลส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงมายังสมาชิกเท่านั้น

ข้อ 3

การถ่ายทอดสัญญาณแบบสองทิศทางสมบูรณ์ (Full-Duplex Transmission) ยินยอมให้ทั้งฝ่ายผู้ส่งและผู้รับข้อมูลสามารถส่งข้อมูลไปยังอีกฝ่ายหนึ่งได้ตลอดเวลา วิธีการนี้จึงใช้ประโยชน์จากการสื่อสารข้อมูลอย่างเต็มที่ แต่มีข้อจำกัดคือเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีความสามารถในการรับและส่งข้อมูลได้อย่างเต็มที่ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้สื่อที่เลือกใช้ก็จะต้องมีช่องสื่อสารสองช่อง ช่องหนึ่งสำหรับส่งข้อมูลและอีกช่องหนึ่งสำหรับรับข้อมูล ช่องสื่อสารแบบ RS-232 สามารถรองรับการทำงานแบบนี้ได้เพราะมีขาเชื่อมต่อสำหรับการสื่อสารอยู่สองชุดที่แยกจากกัน โมเด็มที่ทำงานแบบสองทิศทางสมบูรณ์ได้จะต้องได้รับมาตรฐาน CCITT V.32 และ CCITT V.34 เช่นระบบโทรศัพท์เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสื่อสารที่เกิดขึ้นทั้งแบบกึ่งสองทิศทางและแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ในกรณีที่ใช้โทรศัพท์ ภายในเขตเมืองเดียวกัน (รหัสเมืองเหมือนกัน) จะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ดังนั้นผู้ใช้โทรศัพท์ ทั้งสองฝ่ายสามารถที่จะพูดออกมาพร้อม ๆ กัน เสียงพูดของแต่ละฝ่ายจะไปดังที่โทรศัพท์ของอีก ฝ่ายหนึ่ง แม้ว่าในทางปฏิบัติอาจจะไม่มีใครทำอย่างนี้แต่ก็สามารถทำได้อย่างแน่นอน
การส่งสัญญาณในระบบโทรศัพท์ทางไกลแม้ว่าตัวระบบเองจะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์แต่จะทำงานเป็นแบบกึ่งสองทิศทาง ระบบโทรศัพท์ทั่วไปจะมีสัญญาณสะท้อนกลับ (Echo) เกิดขึ้นเสมอเนื่องจากเสียงผู้พูดฝ่ายหนึ่งที่ไปถึงอีกฝ่ายหนึ่งจะทำให้เกิดการส่งสัญญาณสะท้อนกลับมาโดยไม่ได้ตั้งใจ ถ้าเป็นโทรศัพท์ภายในเขตจังหวัดเดียวกันหรือทางไกลภายในประเทศ สัญญาณสะท้อนกลับจะเกิดขึ้นเร็วมาก เนื่องจากระยะทางสั้น และซ้อนทับกับเสียงของผู้พูด จนกระทั่งไม่สามารถแยกเสียงจริงและเสียงสะท้อนออกจากกันได้ แต่ถ้าเป็นโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ สัญญาณสะท้อนกลับจะเกิดขึ้นช้ากว่า เพราะระยะทางไกลมาก ทำให้สามารถแยกความแตกต่างออกจากกันได้ คือผู้พูดจะได้ยินเสียงตัวเองภายหลังจากตัวเองที่หยุดพูด เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ระบบโทรศัพท์ต้องใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องตัดเสียงสะท้อน (Echo Suppressor) อุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่คอยเปิด-ปิดช่องสัญญาณในระหว่างการสนทนาเพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณสะท้อน ย้อนกลับไปยังผู้พูด เนื่องจากอุปกรณ์นี้ทำงานโดยใช้เสียงผู้พูดเป็นตัวกระตุ้นเพื่อปิดช่องสื่อสารของผู้ฟัง จึงทำให้ผู้ฟังไม่สามารถพูดสวนกลับไปได้ในเวลาเดียวกัน ผลที่เกิดขึ้นจึงทำให้ระบบการสื่อสารนี้กลายเป็นแบบกึ่งสองทิศทาง

//www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php

นาย เจริญชัย ผ่ามดิน หมู่ 22 อังคารเช้า


โดย: นาย เจริญชัย ผ่ามดิน IP: 202.29.5.62 วันที่: 24 กันยายน 2552 เวลา:15:09:13 น.  

 
ข้อที่ 1.
1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นแหล่งต้นทางของการสื่อสารโดยมีหน้าที่ในการให้กำเนิดข้อมูล หรือเตรียมข้อมูล เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ต้นทาง เป็นต้น
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นแหล่งปลายทางของการสื่อสาร หรือเป็นอุปกรณ์สำหรับข้อมูลที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ดำเนินการต่อไป เช่น ผู้รับ คอมพิวเตอร์ปลายทาง เครื่องพิมพ์
3. ข่าวสาร (Massage) เป็นตัวเนื้อหาของข้อมูล ซึ่งมีได้หลายรูปแบบดังนี้ คือ
- ข้อความ (Text) ข้อมูลที่อยู่ในรูปอักขระ หรือเอกสาร เช่น ข้อความในหนังสือ เป็นต้น
- เสียง (Voice) ข้อมูลเสียงที่แหล่งต้นทางสร้างขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นเสียงที่มนุษย์หรืออุปกรณ์บางอย่างเป็นตัวสร้างก็ได้
- รูปภาพ (Image) เป็นข้อมูลที่ไม่เหมือนข้อความตัวอักษรที่เรียงติดต่อกัน แต่จะมีลักษณะเหมือนรูปภาพ เช่น การสแกนภาพเข้าคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลรูปภาพกับข้อมูลข้อความ แล้วรูปภาพจะมีขนาดใหญ่กว่า
- สื่อผสม (Multimedia) ข้อมูลที่ผสมลักษณะของทั้งรูปภาพ เสียงและข้อความเข้าด้วยกัน โดยสามารถเคลื่อนไหวได้ เช่น การเรียนผ่านระบบ VDO conference เป็นต้น โดยข้อมูลจะมีขนาดใหญ่มาก
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium) เป็นสื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มีสายสัญญาณ เช่น สายไฟ หรือตัวกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น อากาศ เป็นต้น
5. โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน

ข้อที่ 2.
ตอบ 1.โทรทัศน์
2.วิทยุ

ข้อที่ 3.
ตอบ 1.โทรศัพท์
2.shat

ที่มา
ttp://dusithost.dusit.ac.th


โดย: นายพงษ์ระวี รีชัยวิจิตรกุล ม.22 อังคารเช้า IP: 192.168.1.109, 124.157.139.216 วันที่: 24 กันยายน 2552 เวลา:15:49:45 น.  

 
ข้อที่1

องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล

1) ผู้ส่งสาร (Transmitter) คือ สิ่งที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในการสื่อสาร เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ เครื่องส่งรหัสมอส เป็นต้น

2) ผู้รับสาร (Receiver) คือ สิ่งที่ทำหน้าที่รับข้อมูลที่ถูกส่งมา เช่น ผู้ฟัง เครื่องรับวิทยุ เป็นต้น

3) ข้อมูล (Message) คือ สิ่งที่ผู้ส่งสารต้องการส่งให้ผู้รับสาร รับทราบ เช่น ข้อความ ประกาศ รหัสลับ เป็นต้น

4) สัญญาณรบกวน (Noise) คือ สิ่งที่ทำให้เกิดการรบกวน ต่อระบบและข่าวสาร
5) สื่อ (Medium) คือ ตัวกลางที่ใช้ในการส่งข้อมูลระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร เช่น อากาศ สายไฟฟ้า สายโทรศัพท์ เป็นต้น
6) โปรโตคอล (Protocol) คือ กระบวนการ วิธีการ ประเภท หรือข้อกำหนดต่างๆ ที่ตกลงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับสารเพื่อใช้ในการสื่อสารข้อมูล เช่น การเขียนจ่าหน้าซองจดหมาย การเข้ารหัสและการถอดรหัสข้อมูล การใช้ภาษาเดียวกัน


//www.makkasan.com/mss1/index5_files/Page417.htm



ข้อที่2


แบบทิศทางเดียว (Simplex) ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทาง โดยไม่สามารถส่งย้อนกลับมาได้ เช่น ระบบวิทยุ หรือโทรทัศน์

//rbu.rbru.ac.th/~bangkom/mnelectronic.htm




ข้อที่3

แบบสองทิศทาง(Full Duplex) ข้อมูลสามารถส่งพร้อมๆ กันได้ทั้ง 2 ทิศทางอย่างอิสระ ตัวอย่างเช่น ระบบโทรศัพท์

//www.nrru.ac.th/learning/science/sc_007/03


นายศราวุฒิ ทดกลาง หมู่ 22 (อ.เช้า)


โดย: นายศราวุฒิ ทดกลาง IP: 58.147.7.66 วันที่: 24 กันยายน 2552 เวลา:15:55:13 น.  

 
7.1 องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง

องค์ประกอบพื้นฐานในการสื่อสารข้อมูล
องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ส่วน
1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นแหล่งต้นทางของการสื่อสารโดยมีหน้าที่ในการให้กำเนิดข้อมูล หรือเตรียมข้อมูล เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ต้นทาง เป็นต้น
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นแหล่งปลายทางของการสื่อสาร หรือเป็นอุปกรณ์สำหรับข้อมูลที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ดำเนินการต่อไป เช่น ผู้รับ คอมพิวเตอร์ปลายทาง เครื่องพิมพ์
3. ข่าวสาร (Massage) เป็นตัวเนื้อหาของข้อมูล ซึ่งมีได้หลายรูปแบบดังนี้ คือ
- ข้อความ (Text) ข้อมูลที่อยู่ในรูปอักขระ หรือเอกสาร เช่น ข้อความในหนังสือ เป็นต้น
- เสียง (Voice) ข้อมูลเสียงที่แหล่งต้นทางสร้างขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นเสียงที่มนุษย์หรืออุปกรณ์บางอย่างเป็นตัวสร้างก็ได้
- รูปภาพ (Image) เป็นข้อมูลที่ไม่เหมือนข้อความตัวอักษรที่เรียงติดต่อกัน แต่จะมีลักษณะเหมือนรูปภาพ เช่น การสแกนภาพเข้าคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลรูปภาพกับข้อมูลข้อความ แล้วรูปภาพจะมีขนาดใหญ่กว่า
- สื่อผสม (Multimedia) ข้อมูลที่ผสมลักษณะของทั้งรูปภาพ เสียงและข้อความเข้าด้วยกัน โดยสามารถเคลื่อนไหวได้ เช่น การเรียนผ่านระบบ VDO conference เป็นต้น โดยข้อมูลจะมีขนาดใหญ่มาก
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium) เป็นสื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มีสายสัญญาณ เช่น สายไฟ หรือตัวกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น อากาศ เป็นต้น
5. โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน


ที่มา
//www.hs1an.org/index.php?option=com_content&task=view&id=551&Itemid=31



7.2จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2
ตัวอย่าง

1.การไหลของน้ำออกทางท่อประปา
2.การถ่ายทอดข้อมูลราคาซื้อ-ขายหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ที่มา
//www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php

7.3จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง

1.โทรศัพท์เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสื่อสารที่เกิดขึ้นทั้งแบบกึ่งสองทิศทางและแบบสองทิศทางสมบูรณ์
2.วิทยุสื่อสาร

ที่มา
//www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php


โดย: นาย วัชฤทธิ์ มวลพิทักษ์ หมู่22 อ.เช้า IP: 125.26.175.79 วันที่: 26 กันยายน 2552 เวลา:13:56:08 น.  

 
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง

1. ผู้ส่ง หรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) และผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) ผู้ส่ง หรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูล มีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล ส่วนผู้รับ หรืออุปกรณ์รับข้อมูลเป็นปลายทางการสื่อสารข้อมูล มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้
ทั้งอุปกรณ์รับและส่งข้อมูล อาจจะเป็นอุปกรณ์ชนิดเดียวกัน อุปกรณ์ส่ง-รับข้อมูล มี 2 ชนิด คือ DTE
(Data Terminal Equipment) และ DCE (Data Communications Equipment) DTE เป็นแหล่งกำเนิดและรับข้อมูล ซึ่งอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง (Terminal Computer) เครื่องพิมพ์ หรือตัวควบคุม ส่วน DCE เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่ง-รับข้อมูลโดยทั่วไป DCE จะหมายถึงโมเด็ม (Modem) จานไมโครเวฟ หรือจานดาวเทียม เป็นต้น

2. โปรโตคอล (Protocol) และ ซอฟต์แวร์ (Software) โปรโตคอล คือ วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล เพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกัน หรือคุยกันรู้เรื่อง ส่วนซอฟต์แวร์มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงานในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้

3. ข่าวสาร (Message) สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสารเรียกว่า ข่าวสารหรือสารสนเทศ (Information) รูปแบบของข่าวสารในการสื่อสารข้อมูลมี 4 รูปแบบ คือ

- เสียง (Voice) อาจเป็นเสียงคน หรือเสียงที่สร้างขึ้นจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ข้อมูลจะกระจัดกระจายคาดการณ์ล่วงหน้าไม่ได้ การส่งข้อมูลจะส่งด้วยความเร็วต่ำ
ข้อมูล (Data) ข้อมูลถูกสร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ มีรูปแบบแน่นอน (เป็นรหัสบิต) คาดการณ์จำนวนได้ การส่งข้อมูลจะส่งด้วยความเร็วสูง
- ข้อความ (Text) ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ส่วนใหญ่เป็นรูปของอักขระ หรือเอกสารการส่งข่าวสารที่เป็นข้อความจะส่งด้วยความเร็วปานกลาง
- ภาพ (Image) อยู่ในรูปของกราฟิกแบบต่าง ๆ เช่น รูปภาพ ภาพวีดีทัศน์ ใช้ปริมาณหรือหน่วยความจำมาก ต้องส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง ในการสื่อสารแต่ละวิธีรูปแบบของข่าวสารที่ส่งออกไปอาจจะแตกต่างกันหรือเหมือนกัน เช่น การสื่อสารทางโทรคมนาคม สามารถส่งข้อมูลได้ทั้งเสียง ข้อมูล ข้อความ และภาพ ระบบ เซลลูล่าของโทรศัพท์สามารถส่ง – รับข้อมูลได้เพียง 2 รูปแบบ คือ เสียง และข้อมูล ส่วนวิดีโอเท็กซ์รูปแบบข้อมูลจะเป็นข้อมูล ข้อความและภาพ

4. สื่อกลาง (Medium) สื่อกลางเป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อกลางการสื่อสารอาจจะเป็นเส้นลวด สายไฟ สายเคเบิล สายไฟเบอร์ออปกติหรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ คลื่นดาวเทียม หรือคลื่นวิทยุ




โดย: นาย เกรียงไกร สลับศรี หมู่1 จ.บ่าย IP: 192.168.10.106, 117.47.12.205 วันที่: 26 กันยายน 2552 เวลา:17:28:11 น.  

 
7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง

1.การส่งวิทยุกระจายเสียง
2.การส่งเงินทางตุ้ atm


โดย: นาย เกรียงไกร สลับศรี หมู่1 จ.บ่าย IP: 192.168.10.106, 117.47.12.205 วันที่: 26 กันยายน 2552 เวลา:17:33:30 น.  

 
7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง
1.โทรศัพท์
2.การคุย M


โดย: นาย เกรียงไกร สลับศรี หมู่1 จ.บ่าย IP: 192.168.10.106, 117.47.12.205 วันที่: 26 กันยายน 2552 เวลา:17:36:11 น.  

 

องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง



รูปที่ 1 องค์ประกอบการสื่อสาร
1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นแหล่งต้นทางของการสื่อสารโดยมีหน้าที่ในการให้กำเนิดข้อมูล หรือเตรียมข้อมูล เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ต้นทาง เป็นต้น
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นแหล่งปลายทางของการสื่อสาร หรือเป็นอุปกรณ์สำหรับข้อมูลที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ดำเนินการต่อไป เช่น ผู้รับ คอมพิวเตอร์ปลายทาง เครื่องพิมพ์
3. ข่าวสาร (Massage) เป็นตัวเนื้อหาของข้อมูล ซึ่งมีได้หลายรูปแบบดังนี้ คือ
- ข้อความ (Text) ข้อมูลที่อยู่ในรูปอักขระ หรือเอกสาร เช่น ข้อความในหนังสือ เป็นต้น
- เสียง (Voice) ข้อมูลเสียงที่แหล่งต้นทางสร้างขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นเสียงที่มนุษย์หรืออุปกรณ์บางอย่างเป็นตัวสร้างก็ได้
- รูปภาพ (Image) เป็นข้อมูลที่ไม่เหมือนข้อความตัวอักษรที่เรียงติดต่อกัน แต่จะมีลักษณะเหมือนรูปภาพ เช่น การสแกนภาพเข้าคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลรูปภาพกับข้อมูลข้อความ แล้วรูปภาพจะมีขนาดใหญ่กว่า
- สื่อผสม (Multimedia) ข้อมูลที่ผสมลักษณะของทั้งรูปภาพ เสียงและข้อความเข้าด้วยกัน โดยสามารถเคลื่อนไหวได้ เช่น การเรียนผ่านระบบ VDO conference เป็นต้น โดยข้อมูลจะมีขนาดใหญ่มาก
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium) เป็นสื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มีสายสัญญาณ เช่น สายไฟ หรือตัวกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น อากาศ เป็นต้น
5. โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน

โดย น.ส.จิราภรณ์ ศุภรักษ์ หมู่ 15 ศุกร์(เช้า) IP: 192.168.100.37

จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง

การสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว (Simplex Transmission) เป็นการติดต่อสื่อสารเพียงทิศทางเดียว คือผู้ส่งจะส่งข้อมูลเพียงฝั่งเดียวและโดยฝั่งรับไม่มีการตอบกลับ เช่น การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ การส่ง e-mail

โดยน.ส.จิราภรณ์ ศุภรักษ์ หมู่ 15 ศุกร์(เช้า) IP: 192.168.100.37

จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง

การสื่อสารข้อมูลสองทิศทางพร้อมกัน (Full Duplex Transmission) เป็นการสื่อสาร 2 ทิศทาง โดยสามารถส่งข้อมูลในเวลาเดียวกันได้ เช่น การคุยโทรศัพท์

โดย น.ส.จิราภรณ์ ศุภรักษ์ หมู่ 15 ศุกร์(เช้า) IP: 192.168.100.37

อ้างอิง: //www.hs1an.org/index.php?option=com_content&task=view&id=551&Itemid=31

โดย น.ส.จิราภรณ์ ศุภรักษ์ หมู่ 15 ศุกร์(เช้า)


โดย: น.ส.จิราภรณ์ ศุภรักษ์ หมู่ 15 ศุกร์(เช้า) IP: 114.128.129.182 วันที่: 27 กันยายน 2552 เวลา:11:06:14 น.  

 
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบ
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้

1. ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ
ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2. ผู้รับข่าวสาร หรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร
หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่ การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ
จุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง



3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน
ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้
วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น

ข่ายการสื่อสารข้อมูล
หมายถึง การรับส่งข้อมูลหรือสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยระบบการส่งข้อมูล ทางคลื่นไฟฟ้าหรือแสง อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปเรียกว่า
ข่ายการสื่อสารข้อมูล (Data Communication Networks)

องค์ประกอบพื้นฐาน

หน่วยส่งข้อมูล (Sending Unit)
ช่องทางการส่งข้อมูล (Transmisstion Channel)
หน่วยรับข้อมูล (Receiving Unit)
วัตถุประสงค์หลักของการนำการสื่อการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในองค์การประกอบด้วย
เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล
เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
เพื่อลดเวลาการทำงาน
เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร
เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ
เพื่อช่วยปรับป
ที่มา
knowledge.eduzones.com/knowledge-2-8-28298.html

7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
การถ่ายทอดสัญญาณแบบทิศทางเดียว
การควบคุมทิศทางการส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission) ยอมให้มีการส่งข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับเท่านั้น ทางฝั่งผู้รับไม่สามารถส่งข้อมูลย้อนกลับมายังผู้ส่งได้ การไหลของน้ำออกทางท่อประปาเป็นตัวอย่างที่ชัดเจน ท่อประปาเปรียบเสมือนสายสื่อสารโดยมีก๊อกเป็นอุปกรณ์สื่อสาร และน้ำคือข้อมูลที่ถูกส่งออกมาจากโรงงานผลิตน้ำประปา จะเห็นได้ว่าเมื่อผู้ใช้น้ำประปา เปิดก๊อก น้ำก็จะไหลออกมาซึ่งจะหยุดก็ต่อเมื่อปิดก็อกหรือโรงผลิตน้ำประปาหยุดส่งน้ำ ส่วนผู้ใช้น้ำประปาเองก็ไม่สามารถที่จะส่งน้ำกลับไปยังโรงผลิตน้ำประปาได้ การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียวก็มีวิธีการทำงานเช่นเดียวกัน อุปกรณ์บางชนิด เช่น จอภาพ CRT เชื่อมต่อเข้ากับโฮสต์แบบทิศทางเดียว ข้อมูลจากโฮสต์จะถูกส่งมาแสดงบนจอภาพได้ แต่ตัวจอภาพเองไม่สามารถส่งข้อมูลใด ๆ กลับไปยังโฮสต์ได้
ตัวอย่างการส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียวกันได้แก่ การถ่ายทอดข้อมูลราคาซื้อ-ขายหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไปยังสมาชิกซึ่งมักจะใช้เครื่องพีซีติดต่อเข้ามาจากที่บ้านหรือที่ทำงาน ข้อมูลจะถูกส่งไปเก็บไว้ที่ฐานข้อมูลที่เครื่องพีซีของผู้ใช้ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกดูราคาหุ้น ทั้งหมดหรือหุ้นบางตัวที่สนใจได้โดยไม่ต้องส่งข้อมูลใด ๆ กลับมาที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เพียงแค่ส่งข้อมูลส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงมายังสมาชิกเท่านั้น

//www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php

7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง
การถ่ายทอดสัญญาณแบบสองทิศทางสมบูรณ์
การถ่ายทอดสัญญาณแบบสองทิศทางสมบูรณ์ (Full-Duplex Transmission) ยินยอมให้ทั้งฝ่ายผู้ส่งและผู้รับข้อมูลสามารถส่งข้อมูลไปยังอีกฝ่ายหนึ่งได้ตลอดเวลา วิธีการนี้จึงใช้ประโยชน์จากการสื่อสารข้อมูลอย่างเต็มที่ แต่มีข้อจำกัดคือเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีความสามารถในการรับและส่งข้อมูลได้อย่างเต็มที่ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้สื่อที่เลือกใช้ก็จะต้องมีช่องสื่อสารสองช่อง ช่องหนึ่งสำหรับส่งข้อมูลและอีกช่องหนึ่งสำหรับรับข้อมูล ช่องสื่อสารแบบ RS-232 สามารถรองรับการทำงานแบบนี้ได้เพราะมีขาเชื่อมต่อสำหรับการสื่อสารอยู่สองชุดที่แยกจากกัน โมเด็มที่ทำงานแบบสองทิศทางสมบูรณ์ได้จะต้องได้รับมาตรฐาน CCITT V.32 และ CCITT V.34 เช่นระบบโทรศัพท์เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสื่อสารที่เกิดขึ้นทั้งแบบกึ่งสองทิศทางและแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ในกรณีที่ใช้โทรศัพท์ ภายในเขตเมืองเดียวกัน (รหัสเมืองเหมือนกัน) จะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ดังนั้นผู้ใช้โทรศัพท์ ทั้งสองฝ่ายสามารถที่จะพูดออกมาพร้อม ๆ กัน เสียงพูดของแต่ละฝ่ายจะไปดังที่โทรศัพท์ของอีก ฝ่ายหนึ่ง แม้ว่าในทางปฏิบัติอาจจะไม่มีใครทำอย่างนี้แต่ก็สามารถทำได้อย่างแน่นอน
การส่งสัญญาณในระบบโทรศัพท์ทางไกลแม้ว่าตัวระบบเองจะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์แต่จะทำงานเป็นแบบกึ่งสองทิศทาง ระบบโทรศัพท์ทั่วไปจะมีสัญญาณสะท้อนกลับ (Echo) เกิดขึ้นเสมอเนื่องจากเสียงผู้พูดฝ่ายหนึ่งที่ไปถึงอีกฝ่ายหนึ่งจะทำให้เกิดการส่งสัญญาณสะท้อนกลับมาโดยไม่ได้ตั้งใจ ถ้าเป็นโทรศัพท์ภายในเขตจังหวัดเดียวกันหรือทางไกลภายในประเทศ สัญญาณสะท้อนกลับจะเกิดขึ้นเร็วมาก เนื่องจากระยะทางสั้น และซ้อนทับกับเสียงของผู้พูด จนกระทั่งไม่สามารถแยกเสียงจริงและเสียงสะท้อนออกจากกันได้ แต่ถ้าเป็นโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ สัญญาณสะท้อนกลับจะเกิดขึ้นช้ากว่า เพราะระยะทางไกลมาก ทำให้สามารถแยกความแตกต่างออกจากกันได้ คือผู้พูดจะได้ยินเสียงตัวเองภายหลังจากตัวเองที่หยุดพูด เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ระบบโทรศัพท์ต้องใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องตัดเสียงสะท้อน (Echo Suppressor) อุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่คอยเปิด-ปิดช่องสัญญาณในระหว่างการสนทนาเพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณสะท้อน ย้อนกลับไปยังผู้พูด เนื่องจากอุปกรณ์นี้ทำงานโดยใช้เสียงผู้พูดเป็นตัวกระตุ้นเพื่อปิดช่องสื่อสารของผู้ฟัง จึงทำให้ผู้ฟังไม่สามารถพูดสวนกลับไปได้ในเวลาเดียวกัน ผลที่เกิดขึ้นจึงทำให้ระบบการสื่อสารนี้กลายเป็นแบบกึ่งสองทิศทาง

//www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php



โดย: เบญจมาศ โคตรเพชร หมู่ 08 รหัส 52040332107 IP: 172.29.5.133, 58.147.7.66 วันที่: 27 กันยายน 2552 เวลา:12:51:00 น.  

 
7.1 องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง

องค์ประกอบพื้นฐานในการสื่อสารข้อมูล
องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ส่วน
1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นแหล่งต้นทางของการสื่อสารโดยมีหน้าที่ในการให้กำเนิดข้อมูล หรือเตรียมข้อมูล เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ต้นทาง เป็นต้น
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นแหล่งปลายทางของการสื่อสาร หรือเป็นอุปกรณ์สำหรับข้อมูลที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ดำเนินการต่อไป เช่น ผู้รับ คอมพิวเตอร์ปลายทาง เครื่องพิมพ์
3. ข่าวสาร (Massage) เป็นตัวเนื้อหาของข้อมูล ซึ่งมีได้หลายรูปแบบดังนี้ คือ
- ข้อความ (Text) ข้อมูลที่อยู่ในรูปอักขระ หรือเอกสาร เช่น ข้อความในหนังสือ เป็นต้น
- เสียง (Voice) ข้อมูลเสียงที่แหล่งต้นทางสร้างขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นเสียงที่มนุษย์หรืออุปกรณ์บางอย่างเป็นตัวสร้างก็ได้
- รูปภาพ (Image) เป็นข้อมูลที่ไม่เหมือนข้อความตัวอักษรที่เรียงติดต่อกัน แต่จะมีลักษณะเหมือนรูปภาพ เช่น การสแกนภาพเข้าคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลรูปภาพกับข้อมูลข้อความ แล้วรูปภาพจะมีขนาดใหญ่กว่า
- สื่อผสม (Multimedia) ข้อมูลที่ผสมลักษณะของทั้งรูปภาพ เสียงและข้อความเข้าด้วยกัน โดยสามารถเคลื่อนไหวได้ เช่น การเรียนผ่านระบบ VDO conference เป็นต้น โดยข้อมูลจะมีขนาดใหญ่มาก
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium) เป็นสื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มีสายสัญญาณ เช่น สายไฟ หรือตัวกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น อากาศ เป็นต้น
5. โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน


ที่มา
//www.hs1an.org/index.php?option=com_content&task=view&id=551&Itemid=31



7.2จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2
ตัวอย่าง

1.การไหลของน้ำออกทางท่อประปา
2.การถ่ายทอดข้อมูลราคาซื้อ-ขายหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ที่มา
//www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php

7.3จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง

1.โทรศัพท์เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสื่อสารที่เกิดขึ้นทั้งแบบกึ่งสองทิศทางและแบบสองทิศทางสมบูรณ์
2.วิทยุสื่อสาร

ที่มา
//www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php




โดย: ปรีชา กลมเกลียว หมู่8 พฤหัสบดีเช้า รหัส 52040901222 IP: 124.157.139.201 วันที่: 27 กันยายน 2552 เวลา:15:38:11 น.  

 
แบบฝึกหัดที่ 7

7.1 องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง

ตอบ
องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ส่วน

1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นแหล่งต้นทางของการสื่อสารโดยมีหน้าที่ในการให้กำเนิดข้อมูล หรือเตรียมข้อมูล เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ต้นทาง เป็นต้น
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นแหล่งปลายทางของการสื่อสาร หรือเป็นอุปกรณ์สำหรับข้อมูลที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ดำเนินการต่อไป เช่น ผู้รับ คอมพิวเตอร์ปลายทาง เครื่องพิมพ์
3. ข่าวสาร (Massage) เป็นตัวเนื้อหาของข้อมูล ซึ่งมีได้หลายรูปแบบดังนี้ คือ
- ข้อความ (Text) ข้อมูลที่อยู่ในรูปอักขระ หรือเอกสาร เช่น ข้อความในหนังสือ เป็นต้น
- เสียง (Voice) ข้อมูลเสียงที่แหล่งต้นทางสร้างขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นเสียงที่มนุษย์หรืออุปกรณ์บางอย่างเป็นตัวสร้างก็ได้
- รูปภาพ (Image) เป็นข้อมูลที่ไม่เหมือนข้อความตัวอักษรที่เรียงติดต่อกัน แต่จะมีลักษณะเหมือนรูปภาพ เช่น การสแกนภาพเข้าคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลรูปภาพกับข้อมูลข้อความ แล้วรูปภาพจะมีขนาดใหญ่กว่า
- สื่อผสม (Multimedia) ข้อมูลที่ผสมลักษณะของทั้งรูปภาพ เสียงและข้อความเข้าด้วยกัน โดยสามารถเคลื่อนไหวได้ เช่น การเรียนผ่านระบบ VDO conference เป็นต้น โดยข้อมูลจะมีขนาดใหญ่มาก
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium) เป็นสื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มีสายสัญญาณ เช่น สายไฟ หรือตัวกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น อากาศ เป็นต้น
5. โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน

ที่มา //www.hs1an.org/index.php?option=com_content&task=view&id=551&Itemid=31

7.2 จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง

ตอบ การสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว (Simplex Transmission) เป็นการติดต่อสื่อสารเพียงทิศทางเดียว คือ ผู้ส่งจะส่งข้อมูลเพียงฝ่ายเดียวและโดยฝ่ายผู้รับไม่มีการตอบกลับ เช่น การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ , การส่งจดหมาย

ที่มา //www.hs1an.org/index.php?option=com_content&task=view&id=551&Itemid=31

7.3 จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง

ตอบ

การสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทาง (Full Duplex) เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลที่สามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้ง 2 ทิศทาง ในเวลาเดียวกัน เช่น การคุยผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ( เช่น msn , qq ) , ระบบโทรศัพท์

ที่มา //www.phcpl.com/ch/teleputer/itsection2/itsection2.htm

นาย เจริญชัย ผ่ามดิน หมู่ 22 อังคาร เช้า


โดย: นาย เจริญชัย ผ่ามดิน IP: 58.137.131.62 วันที่: 28 กันยายน 2552 เวลา:8:51:12 น.  

 
องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง
1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นแหล่งต้นทางของการสื่อสารโดยมีหน้าที่ในการให้กำเนิดข้อมูล หรือเตรียมข้อมูล เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ต้นทาง เป็นต้น
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นแหล่งปลายทางของการสื่อสาร หรือเป็นอุปกรณ์สำหรับข้อมูลที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ดำเนินการต่อไป เช่น ผู้รับ คอมพิวเตอร์ปลายทาง เครื่องพิมพ์
3. ข่าวสาร (Massage) เป็นตัวเนื้อหาของข้อมูล ซึ่งมีได้หลายรูปแบบดังนี้ คือ
- ข้อความ (Text) ข้อมูลที่อยู่ในรูปอักขระ หรือเอกสาร เช่น ข้อความในหนังสือ เป็นต้น
- เสียง (Voice) ข้อมูลเสียงที่แหล่งต้นทางสร้างขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นเสียงที่มนุษย์หรืออุปกรณ์บางอย่างเป็นตัวสร้างก็ได้
- รูปภาพ (Image) เป็นข้อมูลที่ไม่เหมือนข้อความตัวอักษรที่เรียงติดต่อกัน แต่จะมีลักษณะเหมือนรูปภาพ เช่น การสแกนภาพเข้าคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลรูปภาพกับข้อมูลข้อความ แล้วรูปภาพจะมีขนาดใหญ่กว่า
- สื่อผสม (Multimedia) ข้อมูลที่ผสมลักษณะของทั้งรูปภาพ เสียงและข้อความเข้าด้วยกัน โดยสามารถเคลื่อนไหวได้ เช่น การเรียนผ่านระบบ VDO conference เป็นต้น โดยข้อมูลจะมีขนาดใหญ่มาก
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium) เป็นสื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มีสายสัญญาณ เช่น สายไฟ หรือตัวกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น อากาศ เป็นต้น
5. โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน
ที่มา..//www.hs1an.org/index.php?option=com_content&task=view&id=551&Itemid=31


โดย: นางสาวปัทมาวดี ไชยลา IP: 119.42.110.112 วันที่: 28 กันยายน 2552 เวลา:15:14:03 น.  

 
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง
1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นแหล่งต้นทางของการสื่อสารโดยมีหน้าที่ในการให้กำเนิดข้อมูล หรือเตรียมข้อมูล เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ต้นทาง เป็นต้น
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นแหล่งปลายทางของการสื่อสาร หรือเป็นอุปกรณ์สำหรับข้อมูลที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ดำเนินการต่อไป เช่น ผู้รับ คอมพิวเตอร์ปลายทาง เครื่องพิมพ์
3. ข่าวสาร (Massage) เป็นตัวเนื้อหาของข้อมูล ซึ่งมีได้หลายรูปแบบดังนี้ คือ
- ข้อความ (Text) ข้อมูลที่อยู่ในรูปอักขระ หรือเอกสาร เช่น ข้อความในหนังสือ เป็นต้น
- เสียง (Voice) ข้อมูลเสียงที่แหล่งต้นทางสร้างขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นเสียงที่มนุษย์หรืออุปกรณ์บางอย่างเป็นตัวสร้างก็ได้
- รูปภาพ (Image) เป็นข้อมูลที่ไม่เหมือนข้อความตัวอักษรที่เรียงติดต่อกัน แต่จะมีลักษณะเหมือนรูปภาพ เช่น การสแกนภาพเข้าคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลรูปภาพกับข้อมูลข้อความ แล้วรูปภาพจะมีขนาดใหญ่กว่า
- สื่อผสม (Multimedia) ข้อมูลที่ผสมลักษณะของทั้งรูปภาพ เสียงและข้อความเข้าด้วยกัน โดยสามารถเคลื่อนไหวได้ เช่น การเรียนผ่านระบบ VDO conference เป็นต้น โดยข้อมูลจะมีขนาดใหญ่มาก
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium) เป็นสื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มีสายสัญญาณ เช่น สายไฟ หรือตัวกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น อากาศ เป็นต้น
5. โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน
ที่มา //computer.pcru.ac.th/kubo/4000108_Learning/doc/word/108_ch4_Comunication%20&%20Network.doc


โดย: นางสาวปาริฉัตร สาริมุ้ย หมู่ 1 จันทร์บ่าย IP: 119.42.110.112 วันที่: 28 กันยายน 2552 เวลา:15:15:18 น.  

 
องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง
-องค์ประกอบพื้นฐานในการสื่อสารข้อมูล

1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver)
3. ข่าวสาร (Massage)
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium)
5. โปรโตคอล (Protocol)


ตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลด้วยโทรศัพท์

ผู้ส่งข้อมูล : ผู้ที่ทำการส่งข้อความในรูปแบบของเสียงรวมถึงตัวเครื่องโทรศัพท์ที่ใช้ในการติดต่อด้วย
ผู้รับข้อมูล : ผู้ที่ทำการรับข้อความเสียงรวมถึงตัวเครื่องโทรศัพท์ที่ใช้ในการรับข้อมูลด้วย
ข้อมูล : ข่าวสารที่ถูกส่งในการสนทนาระหว่าง 2 ฝ่าย ในรูปแบบของเสียง
สื่อนำข้อมูล: สายโทรศัพท์ ชุมสายโทรศัพท์
โพรโตคอล : ในการเริ่มการสื่อสาร (establishment) ผู้เริ่ม (ผู้โทร) จะต้องแนะนำตัวก่อน ในระหว่างการสนทนา
ทั้ง 2 ฝ่ายจะผลัดกันเป็นผู้ส่งและผู้รับข้อมูล เมื่อผู้ส่งพูดจบให้เว้นจังหวะ ให้คู่สนทนาพูดตอบ ถ้ารับข้อมูลไม่ชัดเจนให้ทำการแก้ไขข้อผิดพลาด (error detection) ด้วยการส่งข้อความว่า “ อะไรนะ” เพื่อให้คู่สนทนาส่งข้อมูลซ้ำอีกครั้ง ในการจบการสื่อสาร (termination) ให้พูดคำว่า ”แค่นี้นะ” และอีกฝ่ายตอบว่า “ตกลง” เป็นการตอบรับ


ที่มาภาพ : //4.bp.blogspot.com/_JeBmce75g7g/RuQpadGMTWI/AAAAAAAAABE/3n2Dq19gMrw/s320/imagesCARA8JWF.jpg







โดย: นางสาววันวิสาข์ ศรีทอง หมู่ที่ 1 เรียนวันจันทร์บ่าย IP: 119.42.110.112 วันที่: 28 กันยายน 2552 เวลา:15:23:38 น.  

 
องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง
-องค์ประกอบพื้นฐานในการสื่อสารข้อมูล

1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver)
3. ข่าวสาร (Massage)
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium)
5. โปรโตคอล (Protocol)


ตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลด้วยโทรศัพท์

ผู้ส่งข้อมูล : ผู้ที่ทำการส่งข้อความในรูปแบบของเสียงรวมถึงตัวเครื่องโทรศัพท์ที่ใช้ในการติดต่อด้วย
ผู้รับข้อมูล : ผู้ที่ทำการรับข้อความเสียงรวมถึงตัวเครื่องโทรศัพท์ที่ใช้ในการรับข้อมูลด้วย
ข้อมูล : ข่าวสารที่ถูกส่งในการสนทนาระหว่าง 2 ฝ่าย ในรูปแบบของเสียง
สื่อนำข้อมูล: สายโทรศัพท์ ชุมสายโทรศัพท์
โพรโตคอล : ในการเริ่มการสื่อสาร (establishment) ผู้เริ่ม (ผู้โทร) จะต้องแนะนำตัวก่อน ในระหว่างการสนทนา
ทั้ง 2 ฝ่ายจะผลัดกันเป็นผู้ส่งและผู้รับข้อมูล เมื่อผู้ส่งพูดจบให้เว้นจังหวะ ให้คู่สนทนาพูดตอบ ถ้ารับข้อมูลไม่ชัดเจนให้ทำการแก้ไขข้อผิดพลาด (error detection) ด้วยการส่งข้อความว่า “ อะไรนะ” เพื่อให้คู่สนทนาส่งข้อมูลซ้ำอีกครั้ง ในการจบการสื่อสาร (termination) ให้พูดคำว่า ”แค่นี้นะ” และอีกฝ่ายตอบว่า “ตกลง” เป็นการตอบรับ


ที่มาภาพ : //4.bp.blogspot.com/_JeBmce75g7g/RuQpadGMTWI/AAAAAAAAABE/3n2Dq19gMrw/s320/imagesCARA8JWF.jpg







โดย: นางสาววันวิสาข์ ศรีทอง หมู่ที่ 1 เรียนวันจันทร์บ่าย IP: 119.42.110.112 วันที่: 28 กันยายน 2552 เวลา:15:32:50 น.  

 
7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
แบบทิศทางเดียว (Simplex) เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางโดยไม่สามารถส่งข้อมูลย้อนกลับมาได้ เช่นระบบวิทยุ หรือโทรทัศน์
ที่มา//www.janburi.buu.ac.th/~worawit/290111/05-DataCommunication.doc


โดย: นางสาวปาริฉัตร สาริมุ้ย หมู่ 1จันทร์บ่าย IP: 119.42.110.112 วันที่: 28 กันยายน 2552 เวลา:15:38:49 น.  

 
จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
การถ่ายทอดสัญญาณแบบทิศทางเดียว
การควบคุมทิศทางการส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission) ยอมให้มีการส่งข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับเท่านั้น ทางฝั่งผู้รับไม่สามารถส่งข้อมูลย้อนกลับมายังผู้ส่งได้ การไหลของน้ำออกทางท่อประปาเป็นตัวอย่างที่ชัดเจน ท่อประปาเปรียบเสมือนสายสื่อสารโดยมีก๊อกเป็นอุปกรณ์สื่อสาร และน้ำคือข้อมูลที่ถูกส่งออกมาจากโรงงานผลิตน้ำประปา จะเห็นได้ว่าเมื่อผู้ใช้น้ำประปา เปิดก๊อก น้ำก็จะไหลออกมาซึ่งจะหยุดก็ต่อเมื่อปิดก็อกหรือโรงผลิตน้ำประปาหยุดส่งน้ำ ส่วนผู้ใช้น้ำประปาเองก็ไม่สามารถที่จะส่งน้ำกลับไปยังโรงผลิตน้ำประปาได้ การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียวก็มีวิธีการทำงานเช่นเดียวกัน อุปกรณ์บางชนิด เช่น จอภาพ CRT เชื่อมต่อเข้ากับโฮสต์แบบทิศทางเดียว ข้อมูลจากโฮสต์จะถูกส่งมาแสดงบนจอภาพได้ แต่ตัวจอภาพเองไม่สามารถส่งข้อมูลใด ๆ กลับไปยังโฮสต์ได้
ตัวอย่างการส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียวกันได้แก่ การถ่ายทอดข้อมูลราคาซื้อ-ขายหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไปยังสมาชิกซึ่งมักจะใช้เครื่องพีซีติดต่อเข้ามาจากที่บ้านหรือที่ทำงาน ข้อมูลจะถูกส่งไปเก็บไว้ที่ฐานข้อมูลที่เครื่องพีซีของผู้ใช้ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกดูราคาหุ้น ทั้งหมดหรือหุ้นบางตัวที่สนใจได้โดยไม่ต้องส่งข้อมูลใด ๆ กลับมาที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เพียงแค่ส่งข้อมูลส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงมายังสมาชิกเท่านั้น
ที่มา...//www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php


โดย: นางสาวปัทมาวดี ไชยลา หมู่เรียนที่ 1 เรียนบ่ายวันจันทร์ IP: 119.42.110.112 วันที่: 28 กันยายน 2552 เวลา:15:46:01 น.  

 
จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง
การถ่ายทอดสัญญาณแบบกึ่งสองทิศทาง
การถ่ายทอดสัญญาณแบบกึ่งสองทิศทาง (Half-duplex Transmission) ยินยอมให้ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้และผู้รับก็สามารถส่งข้อมูลกลับมายังผู้ส่งข้อมูลได้เช่นกัน แต่มีเงื่อนไขว่าทั้งผู้ส่งและผู้รับจะส่งข้อมูลพร้อมกันไม่ได้ ตัวอย่างได้แก่ การใช้วิทยุสื่อสารของตำรวจ หรือวิทยุ สื่อสารใช้งานทั่วไป (CB Radio) ผู้พูดสามารถพูดไปอีกฝ่ายหนึ่งได้ แต่จะพูดพร้อมกันไม่ได้ คือในขณะที่ฝ่ายหนึ่งเป็นผู้พูด อีกฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นผู้ฟัง ในระบบนี้ไม่มีการบังคับอย่างชัดเจนว่าฝ่ายใดจะพูด ดังนั้นในการใช้งานจริงจึงต้องอาศัยประสบการณ์ของผู้ใช้งานเป็นสำคัญมิฉะนั้นก็อาจจะมีแต่ผู้พูดไม่มีใครยอมเป็นผู้ฟัง ในการสื่อสารข้อมูล จะไม่เกิดการแย่งกันส่งข้อมูลเด็ดขาดเนื่องจากการสื่อสารจะต้องมีโพรโทคอลหรือกฎการสื่อสารข้อมูลเป็นตัวบังคับ
ที่มา....//www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php


โดย: นางสาวปัทมาวดี ไชยลา หมู่เรียนที่ 1 เรียนบ่ายวันจันทร์ IP: 119.42.110.112 วันที่: 28 กันยายน 2552 เวลา:15:50:48 น.  

 
7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง
แบบสองทิศทาง (Full Duplex) เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลสามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้ง 2 ทิศทาง ในเวลาเดียวกันโดยไม่ต้องหยุดรอให้อีกฝ่ายหนึ่งทำหน้าที่เสร็จก่อน เช่น ระบบโทรศัพท์
ที่มา//www.janburi.buu.ac.th/~worawit/290111/05-DataCommunication.doc


โดย: นางสาวปาริฉัตร สาริมุ้ย หมู่ 1จันทร์บ่าย IP: 119.42.110.112 วันที่: 28 กันยายน 2552 เวลา:15:52:22 น.  

 
ข้อ 2
-จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
แบบทิศทางเดียวหรือซิมเพล็กซ์ (One-way หรือ Simplex)
เป็นการส่งข้อมูลในทิศทางเดียว คือข้อมู่ลถูกส่งไปในทางเดียว เช่น สถานีวิทยุกระจายเสียง การแพร่ภาพทางโทรทัศน์


โดย: นางสาววันวิสาข์ ศรีทอง หมู่ 1เรียนจันทร์บ่าย IP: 119.42.110.112 วันที่: 28 กันยายน 2552 เวลา:15:58:33 น.  

 
ข้อ 3
จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง
- แบบกึ่งสองทิศทาง (Half Duplex) เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลสามารถส่งกลับกันได้ 2 ทิศทาง แต่จะไม่สามารถส่งพร้อมกันได้ โดยต้องผลัดกันส่งครั้งละทิศทางเท่านั้น เช่น วิทยุสื่อสารแบบผลัดกันพูด หรือการโทรศัพท์ผลัดกันพูด


โดย: นางสาววันวิสาข์ ศรีทอง หมู่ 1เรียนจันทร์บ่าย IP: 119.42.110.112 วันที่: 28 กันยายน 2552 เวลา:16:10:06 น.  

 
องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง

องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้

1. ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ
ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2. ผู้รับข่าวสาร หรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร
หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่ การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ
จุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง



3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน
ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้
วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น
เครือข่ายการสื่อสารข้อมูล
หมายถึง การรับส่งข้อมูลหรือสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยระบบการส่งข้อมูล ทางคลื่นไฟฟ้าหรือแสง อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปเรียกว่า
ข่ายการสื่อสารข้อมูล (Data Communication Networks)

องค์ประกอบพื้นฐาน

หน่วยส่งข้อมูล (Sending Unit)
ช่องทางการส่งข้อมูล (Transmisstion Channel)
หน่วยรับข้อมูล (Receiving Unit)
วัตถุประสงค์หลักของการนำการสื่อการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในองค์การประกอบด้วย
เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล
เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
เพื่อลดเวลาการทำงาน
เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร
เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ
เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การ


ที่มาCopyright by Passkorn Roungrong
//www.thaiwbi.com/course/data_com/index2.html


7.2จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2
ตัวอย่าง

ทิศทางของการสื่อสารข้อมูล
แบบทิศทางเดียว (Simplex) เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางโดยไม่สามารถส่งข้อมูลย้อนกลับมาได้ เช่นระบบวิทยุ หรือโทรทัศน์




7.3จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง


แบบสองทิศทาง (Full Duplex หรือ Both-Way) ข้อมูลสามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้ง 2 ทิศทางอย่างอิสระ เช่น ระบบโทรศัพท์ การChat Online


ที่มา//reg.ksu.ac.th/teacher/songgrod/4123702/content/lesson3/303.html
//school.obec.go.th/wcr1/web2/text/p10.htm






โดย: น.ส.สุกญญา พรมสวัสดิ์ (หมู่ที่ 15 ศุกร์ เช้า ) IP: 61.19.119.253 วันที่: 30 กันยายน 2552 เวลา:17:18:43 น.  

 
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง

คำตอบคือ...สามารถจำแนกได้ดังนี้...

1. ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2. ผู้รับข่าวสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่ การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง
3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงานที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลาง ให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น

ที่มา...
//www.geocities.com


โดย: นาย ณัฐพงศ์ มันทะลา IP: 124.157.129.36 วันที่: 30 กันยายน 2552 เวลา:18:41:18 น.  

 
องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง

องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้

1. ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ
ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2. ผู้รับข่าวสาร หรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร
หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่ การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ
จุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง



3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน
ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้
วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น
เครือข่ายการสื่อสารข้อมูล
หมายถึง การรับส่งข้อมูลหรือสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยระบบการส่งข้อมูล ทางคลื่นไฟฟ้าหรือแสง อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปเรียกว่า
ข่ายการสื่อสารข้อมูล (Data Communication Networks)

องค์ประกอบพื้นฐาน

หน่วยส่งข้อมูล (Sending Unit)
ช่องทางการส่งข้อมูล (Transmisstion Channel)
หน่วยรับข้อมูล (Receiving Unit)
วัตถุประสงค์หลักของการนำการสื่อการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในองค์การประกอบด้วย
เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล
เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
เพื่อลดเวลาการทำงาน
เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร
เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ
เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การ


ที่มาCopyright by Passkorn Roungrong
//www.thaiwbi.com/course/data_com/index2.html


7.2จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2
ตัวอย่าง

ทิศทางของการสื่อสารข้อมูล
แบบทิศทางเดียว (Simplex) เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางโดยไม่สามารถส่งข้อมูลย้อนกลับมาได้ เช่นระบบวิทยุ หรือโทรทัศน์




7.3จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง


แบบสองทิศทาง (Full Duplex หรือ Both-Way) ข้อมูลสามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้ง 2 ทิศทางอย่างอิสระ เช่น ระบบโทรศัพท์ การChat Online


ที่มา//reg.ksu.ac.th/teacher/songgrod/4123702/content/lesson3/303.html
//school.obec.go.th/wcr1/web2/text/p10.htm




หมู่ 29 พุธเช้า รหันักศึกษา 52040271103


โดย: นายจรัสพงษ์ ด้วงสดี IP: 119.31.69.140 วันที่: 2 ตุลาคม 2552 เวลา:13:39:58 น.  

 
7.1 องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง

องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้

1. ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ
ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2. ผู้รับข่าวสาร หรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร
หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่ การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ
จุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง



3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน
ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้
วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น
เครือข่ายการสื่อสารข้อมูล
หมายถึง การรับส่งข้อมูลหรือสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยระบบการส่งข้อมูล ทางคลื่นไฟฟ้าหรือแสง อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปเรียกว่า
ข่ายการสื่อสารข้อมูล (Data Communication Networks)

องค์ประกอบพื้นฐาน

หน่วยส่งข้อมูล (Sending Unit)
ช่องทางการส่งข้อมูล (Transmisstion Channel)
หน่วยรับข้อมูล (Receiving Unit)
วัตถุประสงค์หลักของการนำการสื่อการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในองค์การประกอบด้วย
เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล
เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
เพื่อลดเวลาการทำงาน
เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร
เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ
เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การ


ที่มาCopyright by Passkorn Roungrong
//www.thaiwbi.com/course/data_com/index2.html



โดย: นางสาวกฤตยา อินทร์กอ หมู่ที่ 22 IP: 118.174.3.156 วันที่: 2 ตุลาคม 2552 เวลา:23:27:12 น.  

 
7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง

1. การสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว (Simplex Transmission) เป็นการติดต่อสื่อสารเพียงทิศทางเดียว คือผู้ส่งจะส่งข้อมูลเพียงฝั่งเดียวและโดยฝั่งรับไม่มีการตอบกลับ เช่น การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ การส่ง e-mail เป็นต้น

2.แบบทิศทางเดียวหรือซิมเพล็กซ์ (One-way หรือ Simplex)
เป็นการส่งข้อมูลในทิศทางเดียว คือข้อมู่ลถูกส่งไปในทางเดียว เช่น สถานีวิทยุกระจายเสียง การแพร่ภาพทางโทรทัศน์



โดย: นางสาวกฤตยา อินทร์กอ หมู่ที่ 22 IP: 118.174.3.156 วันที่: 2 ตุลาคม 2552 เวลา:23:43:33 น.  

 
7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง

1)การถ่ายทอดสัญญาณแบบกึ่งสองทิศทาง
การถ่ายทอดสัญญาณแบบกึ่งสองทิศทาง (Half-duplex Transmission) ยินยอมให้ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้และผู้รับก็สามารถส่งข้อมูล กลับมายังผู้ส่งข้อมูลได้เช่นกัน แต่มีเงื่อนไขว่าทั้งผู้ส่งและผู้รับจะส่งข้อมูลพร้อมกันไม่ได้ ตัวอย่างได้แก่ การใช้วิทยุสื่อสารของตำรวจ หรือวิทยุ สื่อสารใช้งานทั่วไป (CB Radio) ผู้พูดสามารถพูดไปอีกฝ่ายหนึ่งได้ แต่จะพูดพร้อมกันไม่ได้ คือในขณะที่ฝ่ายหนึ่งเป็นผู้พูด อีกฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นผู้ฟัง ในระบบนี้ไม่มีการบังคับอย่างชัดเจนว่าฝ่ายใดจะพูด ดังนั้นในการใช้งานจริงจึงต้องอาศัยประสบการณ์ของผู้ใช้งานเป็นสำคัญมิ ฉะนั้นก็อาจจะมีแต่ผู้พูดไม่มีใครยอมเป็นผู้ฟัง ในการสื่อสารข้อมูล จะไม่เกิดการแย่งกันส่งข้อมูลเด็ดขาดเนื่องจากการสื่อสารจะต้องมีโพรโทคอ ลหรือกฎการสื่อสารข้อมูลเป็นตัวบังคับ
2) การถ่ายทอดสัญญาณแบบสองทิศทางสมบูรณ์
การถ่ายทอดสัญญาณแบบสองทิศทางสมบูรณ์ (Full-Duplex Transmission) ยินยอมให้ทั้งฝ่ายผู้ส่งและผู้รับข้อมูลสามารถส่งข้อมูลไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ได้ตลอดเวลา วิธีการนี้จึงใช้ประโยชน์จากการสื่อสารข้อมูลอย่างเต็มที่ แต่มีข้อจำกัดคือเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีความสามารถในการรับและส่งข้อมูล ได้อย่างเต็มที่ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้สื่อที่เลือกใช้ก็จะต้องมีช่องสื่อสารสองช่อง ช่องหนึ่งสำหรับส่งข้อมูลและอีกช่องหนึ่งสำหรับรับข้อมูล ช่องสื่อสารแบบ RS-232 สามารถรองรับการทำงานแบบนี้ได้เพราะมีขาเชื่อมต่อสำหรับการสื่อสารอยู่สอง ชุดที่แยกจากกัน โมเด็มที่ทำงานแบบสองทิศทางสมบูรณ์ได้จะต้องได้รับมาตรฐาน CCITT V.32 และ CCITT V.34 เช่นระบบโทรศัพท์เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสื่อสารที่เกิดขึ้นทั้งแบบกึ่งสอง ทิศทางและแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ในกรณีที่ใช้โทรศัพท์ ภายในเขตเมืองเดียวกัน (รหัสเมืองเหมือนกัน) จะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ดังนั้นผู้ใช้โทรศัพท์ ทั้งสองฝ่ายสามารถที่จะพูดออกมาพร้อม ๆ กัน เสียงพูดของแต่ละฝ่ายจะไปดังที่โทรศัพท์ของอีก ฝ่ายหนึ่ง แม้ว่าในทางปฏิบัติอาจจะไม่มีใครทำอย่างนี้แต่ก็สามารถทำได้อย่างแน่นอน

ที่มา //www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php
//www.vcharkarn.com/vcafe/81178
//www.hs1an.org/index.php?option=com_content&task=view&id=551&Itemid=31
//blog.eduzones.com/offy/3872?page2=16&page=&page3=



โดย: นางสาวกฤตยา อินทร์กอ หมู่ 22 IP: 118.174.6.171 วันที่: 3 ตุลาคม 2552 เวลา:1:43:51 น.  

 
7.1.) องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง

1. ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ
ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2. ผู้รับข่าวสาร หรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร
หรือ แหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่ การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ
จุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง
3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อ ความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน
ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าว สารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าว สารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้
วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น

ที่มา...
//www.geocities.com


7.2)ตัวอย่างการส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียวกันข้อมูลจะถูกส่งไปในทิศทางเดียวเท่านั้น โดยผู้ส่งจะสามารถส่งข้อมูลไปให้ผู้รับได้อย่างเดียว ส่วนผู้รับไม่สามารถตอบโต้กลับมาได้ เช่น จอคอมพิวเตอร์ คีย์บอร์ด วิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น //www.ps.ac.th/elearning/m4/Learn/8.ppt#257,1,


7.3)
การถ่ายทอดสัญญาณแบบสองทิศทางสมบูรณ์ (Full-Duplex Transmission) ยินยอมให้ทั้งฝ่ายผู้ส่งและผู้รับข้อมูลสามารถส่งข้อมูลไปยังอีกฝ่ายหนึ่งได้ตลอดเวลา วิธีการนี้จึงใช้ประโยชน์จากการสื่อสารข้อมูลอย่างเต็มที่ แต่มีข้อจำกัดคือเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีความสามารถในการรับและส่งข้อมูลได้อย่างเต็มที่ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้สื่อที่เลือกใช้ก็จะต้องมีช่องสื่อสารสองช่อง ช่องหนึ่งสำหรับส่งข้อมูลและอีกช่องหนึ่งสำหรับรับข้อมูล ช่องสื่อสารแบบ RS-232 สามารถรองรับการทำงานแบบนี้ได้เพราะมีขาเชื่อมต่อสำหรับการสื่อสารอยู่สองชุดที่แยกจากกัน โมเด็มที่ทำงานแบบสองทิศทางสมบูรณ์ได้จะต้องได้รับมาตรฐาน CCITT V.32 และ CCITT V.34 เช่นระบบโทรศัพท์เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสื่อสารที่เกิดขึ้นทั้งแบบกึ่งสองทิศทางและแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ในกรณีที่ใช้โทรศัพท์ ภายในเขตเมืองเดียวกัน (รหัสเมืองเหมือนกัน) จะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์ ดังนั้นผู้ใช้โทรศัพท์ ทั้งสองฝ่ายสามารถที่จะพูดออกมาพร้อม ๆ กัน เสียงพูดของแต่ละฝ่ายจะไปดังที่โทรศัพท์ของอีก ฝ่ายหนึ่ง แม้ว่าในทางปฏิบัติอาจจะไม่มีใครทำอย่างนี้แต่ก็สามารถทำได้อย่างแน่นอน
การส่งสัญญาณในระบบโทรศัพท์ทางไกลแม้ว่าตัวระบบเองจะเป็นแบบสองทิศทางสมบูรณ์แต่จะทำงานเป็นแบบกึ่งสองทิศทาง ระบบโทรศัพท์ทั่วไปจะมีสัญญาณสะท้อนกลับ (Echo) เกิดขึ้นเสมอเนื่องจากเสียงผู้พูดฝ่ายหนึ่งที่ไปถึงอีกฝ่ายหนึ่งจะทำให้เกิดการส่งสัญญาณสะท้อนกลับมาโดยไม่ได้ตั้งใจ ถ้าเป็นโทรศัพท์ภายในเขตจังหวัดเดียวกันหรือทางไกลภายในประเทศ สัญญาณสะท้อนกลับจะเกิดขึ้นเร็วมาก เนื่องจากระยะทางสั้น และซ้อนทับกับเสียงของผู้พูด จนกระทั่งไม่สามารถแยกเสียงจริงและเสียงสะท้อนออกจากกันได้ แต่ถ้าเป็นโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ สัญญาณสะท้อนกลับจะเกิดขึ้นช้ากว่า เพราะระยะทางไกลมาก ทำให้สามารถแยกความแตกต่างออกจากกันได้ คือผู้พูดจะได้ยินเสียงตัวเองภายหลังจากตัวเองที่หยุดพูด เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ระบบโทรศัพท์ต้องใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องตัดเสียงสะท้อน (Echo Suppressor) อุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่คอยเปิด-ปิดช่องสัญญาณในระหว่างการสนทนาเพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณสะท้อน ย้อนกลับไปยังผู้พูด เนื่องจากอุปกรณ์นี้ทำงานโดยใช้เสียงผู้พูดเป็นตัวกระตุ้นเพื่อปิดช่องสื่อสารของผู้ฟัง จึงทำให้ผู้ฟังไม่สามารถพูดสวนกลับไปได้ในเวลาเดียวกัน ผลที่เกิดขึ้นจึงทำให้ระบบการสื่อสารนี้กลายเป็นแบบกึ่งสองทิศทาง

ที่มา //www.dcs.cmru.ac.th/lesson4_3.php



โดย นางสาว สุดารัตน์ นรินทร์ หมู่ 08 เรียนพฤหัสบดี ตอนเช้า 08.00-12.00น. วันที่ 4 ตุลาคม 2552










โดย: นางสาว สุดารัตน์ นรินทร์ IP: 115.67.135.148 วันที่: 4 ตุลาคม 2552 เวลา:20:30:14 น.  

 
แบบฝึกหัด บทที่ 1
1.องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง
ตอบ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบด้วยกัน คือ
- หน่วยส่งข้อมูล
- ช่องทางการสือสารข้อมูล
- หน่วยรับข้อมูล
2.จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ -ระบบวิทยุกระจายเสียง
-ระบบโทรทัศน์
-การส่งอีเมล
3.จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ -ระบบโทรศัพท์
-การChat Online
-การใช้วิทยุสื่อสาร

อุทัยวัน โสดา 52240235103 หมู่ 05 เสาร์บ่าย


โดย: อุทัยวัน โสดา IP: 172.24.13.210, 202.29.5.62 วันที่: 15 พฤศจิกายน 2552 เวลา:14:01:14 น.  

 
แบบฝึกหัดบทที่ 2
1.ให้นักศึกษาอธิบายโครงสร้างของข้อมูลตั้งแต่หน่วยที่เล็กที่สุดไปหาหน่วยที่ใหญ่ที่สุด
ตอบ - บิต (Bit) คือ ข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด เป็นข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและนำไปใช้ งานได้ ซึ่งได้แก่ เลข 0 หรือ เลข 1 เท่านั้น

- ไบต์ (Byte) หรือ อักขระ (Character) ได้แก่ ตัวเลข หรือ ตัวอักษร หรือ สัญลักษณ์พิเศษ 1 ตัว เช่น 0, 1, …, 9, A, B, …, Z และเครื่องหมายต่างๆ ซึ่ง 1 ไบต์จะเท่ากับ 8 บิต หรือ ตัวอักขระ 1 ตัว เป็นต้น

- ฟิลด์ (Field) ได้แก่ ไบต์ หรือ อักขระตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไปรวมกันเป็นฟิลด์ เช่น เลขประจำตัว(ID) ชื่อพนักงาน(name) เป็นต้น

- เรคคอร์ด (Record) ได้แก่ ฟิลด์ตั้งแต่ 1 ฟิลด์ ขึ้นไป ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องรวมกันเป็นเรคคอร์ด เช่น ชื่อ นามสกุล เลขประจำตัว ยอดขาย ข้อมูลของพนักงาน 1 คน เป็น 1 เรคคอร์ด

- ไฟล์ (Files) หรือ แฟ้มข้อมูล ได้แก่ เรคคอร์ดหลายๆ เรคคอร์ดรวมกัน ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกัน เช่น ข้อมูลของประวัติพนักงานแต่ละคนรวมกันทั้งหมด เป็นไฟล์หรือแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับประวัติพนักงานของบริษัท เป็นต้น

- ฐานข้อมูล (Database) คือ การเก็บรวบรวมไฟล์ข้อมูลหลายๆ ไฟล์ที่เกี่ยวข้องกันมารวมเข้าด้วยกัน เช่น ไฟล์ข้อมูลของแผนกต่างๆ มารวมกัน เป็นฐานข้อมูลของบริษัท เป็นต้น


2.โครงสร้างแบบเชิงกายภาพ และเชิงตรรกะ ต่างกันอย่างไร
ตอบ โครงสร้างเชิงกายภาพ (Physical Data Structure)
คือการจัดเก็บข้อมูลในสื่อต่าง ๆ เช่น เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็กและดิสก์
ส่วนโครงสร้างเชิงตรรกะ (Logic Data Structure)
คือการจัดเก็บข้อมูลและความสัมพันธ์ต่าง ๆ ของข้อมูลในระบบฐานข้อมูล แสดงให้เห็นถึงการจัดระเบียบการทำงานและการมีปฎิสัมพันธ์ภายในระบบฐานข้อมูลโดยมีลำดับขั้นจากหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุดไปยังฐานข้อมูลที่ใหญ่ที่สุด
และง่ายในการค้นหา แก้ไขข้อมูล

อุทัยวัน โสดา 52240235103 หมู่ 05 เสาร์บ่าย



โดย: อุทัยวัน โสดา IP: 172.24.13.210, 202.29.5.62 วันที่: 15 พฤศจิกายน 2552 เวลา:14:11:45 น.  

 
แบบฝึกหัด2 ตอนที่ 2
1. อธิบายวิธีการเข้าถึงแบบสุ่ม และแบบลำดับ
ตอบ การเข้าถึงโดยลำดับ (Sequential Access)
คือการเข้าถึงข้อมูลทีละเรคคอร์ดเรียงไปตามลำดับของการจัดเก็บ ถ้าจะดึงข้อมูลเรคคอร์ดที่ 10 มาใช้จะต้องอ่านข้อมูลผ่านเรคคอร์ดที่ 1 ถึง 9 ก่อนเสมอ เมื่อถึงเรคคอร์ดที่ 10 จึงจะสามารถดึงข้อมูลออกมาใช้ได้ สื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลแบบนี้มักเป็น เทป (Tape)
ส่วนการเข้าถึงโดยสุ่ม (Random Access)
เป็นการเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้ทันที ไม่ต้องผ่านเรคคอร์ดที่อยู่ก่อน การเข้าถึงเรคคอร์ดแบบสุ่มจะเร็วกว่าแบบโดยลำดับมาก เหมาะสมกับงานที่ต้องการความเร็วในการดึงข้อมูลมาก ๆ สื่อที่ใช้ในการเก็บข้อมูลมักเป็นดิสก์ หรือจานแม่เหล็ก
2.การประมวลผลมีกี่วิธีอะไรบ้าง พร้อมทั้งอธิบายมาพอสังเขป
ตอบ การประมวลผลข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 3 วิธีใหญ่ ๆ ดังนี้
1. ระบบประมวลผลแบบกลุ่ม (Batch Processing) คือ การประมวลผลโดยผู้ใช้จะทำการรวบรวมเอกสารที่ต้องการประมวลผลไว้เป็นชุด ๆ ซึ่งเอกสารแต่ละชุดต้องให้มีขนาดเท่ากัน
2. ระบบประมวลผลแบบโต้ตอบ (Transaction Processing) หมายถึงการทำงานในลักษณะที่มีการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยผู้ใช้สามารถที่จะตรวจสอบข้อมูลได้ตลอดเวลา
3. ระบบประมวลผลแบบออนไลน์ (Online Processing) คือ การประมวลผลร่วมกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่ต่อพ่วงกับระบบสื่อสาร (Communication) โดยอาศัยอุปกรณ์ต่อพ่วง เช่น โมเด็ม (Modem) ซึ่งลักษณะการทำงานอาจจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องต่อพ่วงกันในระบบเครือข่าย (Network)

แบบฝึกหัดบทที่ 2 ตอนที่ 3
1. ให้นักศึกษายกตัวอย่างความสัมพันธ์ของฐานข้อมูล ทั้ง 3 ลักษณะ (ลักษณะละ 3 ตัวอย่าง)
ตอบ1. ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One - to - One Relationships)
เช่น - นักศึกษาหนึ่งคนต่อหนึ่งโปรแกรมวิชา
- นักศึกษาหนึ่งคนต่อหนึ่งรหัสนักศึกษา
- หนึ่งวิชาต่อหนึ่งรหัสวิชา
ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม (One - to - many Relationships)
นักศึกษากับการลงทะเบียนนักศึกษาหนึ่งคนสามารถลงทะเบียนได้หลายสาขา
อาจารย์หนึ่งคนสามารถสอนได้หลายวิชา
รหัสคณะหนึ่งรหัส สามารถนำไปเป็นรหัสนักศึกษาได้หลายคน
ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม (Many - to - Many Relationships)
- นักศึกษาหนึ่งคนสามารถลงทะเบียนได้หลายวิชา
- หนึ่งรายวิชาสามารถลงทะเบียนได้หลายคน
- ห้องเรียนหนึ่งห้องใช้เรียนได้หลายวิชา


อุทัยวัน โสดา 52240235103 หมู่ 05 เสาร์บ่าย







โดย: อุทัยวัน โสดา IP: 172.24.13.210, 202.29.5.62 วันที่: 15 พฤศจิกายน 2552 เวลา:14:33:47 น.  

 
นส.เพ็ญนภา เจริญทรง
49240428132 ม.05
ส.13.00 - 16.00 น.

1.ให้นักศึกษาอธิบายโครงสร้างของข้อมูลตั้งแต่หน่วยที่เล็กที่สุดไปหาหน่วยที่ใหญ่ที่สุด
ตอบ
- บิต (Bit) คือ ข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด เป็นข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและนำไปใช้ งานได้ ซึ่งได้แก่ เลข 0 หรือ เลข 1 เท่านั้น
- ไบต์ (Byte) หรือ อักขระ (Character) ได้แก่ ตัวเลข หรือ ตัวอักษร หรือ สัญลักษณ์พิเศษ 1 ตัว เช่น 0, 1, …, 9, A, B, …, Z และเครื่องหมายต่างๆ ซึ่ง 1 ไบต์จะเท่ากับ 8 บิต หรือ ตัวอักขระ 1 ตัว เป็นต้น
- ฟิลด์ (Field) ได้แก่ ไบต์ หรือ อักขระตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไปรวมกันเป็นฟิลด์ เช่น เลขประจำตัว(ID) ชื่อพนักงาน(name) เป็นต้น
- เรคคอร์ด (Record) ได้แก่ ฟิลด์ตั้งแต่ 1 ฟิลด์ ขึ้นไป ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องรวมกันเป็นเรคคอร์ด เช่น ชื่อ นามสกุล เลขประจำตัว ยอดขาย ข้อมูลของพนักงาน 1 คน เป็น 1 เรคคอร์ด
- ไฟล์ (Files) หรือ แฟ้มข้อมูล ได้แก่ เรคคอร์ดหลายๆ เรคคอร์ดรวมกัน ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกัน เช่น ข้อมูลของประวัติพนักงานแต่ละคนรวมกันทั้งหมด เป็นไฟล์หรือแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับประวัติพนักงานของบริษัท เป็นต้น
- ฐานข้อมูล (Database) คือ การเก็บรวบรวมไฟล์ข้อมูลหลายๆ ไฟล์ที่เกี่ยวข้องกันมารวมเข้าด้วยกัน เช่น ไฟล์ข้อมูลของแผนกต่างๆ มารวมกัน เป็นฐานข้อมูลของบริษัท เป็นต้น


2.โครงสร้างแบบเชิงกายภาพ และเชิงตรรกะ ต่างกันอย่างไร
ตอบ
โครงสร้างเชิงกายภาพ (Physical Data Structure) คือการจัดเก็บข้อมูลในสื่อต่าง ๆ เช่น เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็กและดิสก์
ส่วนโครงสร้างเชิงตรรกะ (Logic Data Structure) คือการจัดเก็บข้อมูลและความสัมพันธ์ต่าง ๆ ของข้อมูลในระบบฐานข้อมูล แสดงให้เห็นถึงการจัดระเบียบการทำงานและการมีปฎิสัมพันธ์ภายในระบบฐานข้อมูลโดยมีลำดับขั้นจากหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุดไปยังฐานข้อมูลที่ใหญ่ที่สุด
และง่ายในการค้นหา แก้ไขข้อมูล


โดย: เพ็ญนภา เจริญทรง IP: 192.168.0.103, 180.183.67.230 วันที่: 5 ธันวาคม 2552 เวลา:16:35:03 น.  

 
แบบฝึกหัด
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง
ตอบ
การสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์นั้น จะทำได้ก็ต่อเมื่อมีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)

Sorry, your browser doesn't support Java(tm).

ข้อมูลต่างๆ ที่อยู่ต้นทางจะต้องจัดเตรียมนำเข้าสู่อุปกรณ์สำหรับส่งข้อมูล ซึ่งได้แก่เครื่องพิมพ์ หรืออุปกรณ์ควบคุมต่าง ๆ จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถส่งข้อมูลนั้นได้ก่อน


2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver)

Sorry, your browser doesn't support Java(tm).

ข้อมูลที่ถูกส่งจากอุปกรณ์ส่งข้อมูลต้นทาง เมื่อไปถึงปลายทางก็จะมีอุปกรณ์สำหรับรับข้อมูลเหล่านั้นเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ เครื่องพิมพ์ คอมพิวเตอร์ จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม ฯลฯ



3. โปรโตคอล (Protocol)

Sorry, your browser doesn't support Java(tm).

โปรโตคอล คือ กฎระเบียบ หรือวิธีการใช้เป็นข้อกำหนดสำหรับการสื่อสาร เพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งเข้าใจกันได้ ซึ่งมีหลายชนิดให้เลือกใช้ เช่น TCP/IP, X.25, SDLC เป็นต้น

4. ซอฟต์แวร์ (Software)

Sorry, your browser doesn't support Java(tm).

การส่งข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีโปรแกรมสำหรับดำเนินการ และควบคุมการส่งข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลตามที่กำหนดไว้ ได้แก่ Novell's NetWare UNIX Windows NT ฯลฯ

5. ข่าวสาร (Message)

Sorry, your browser doesn't support Java(tm).

เป็นรายละเอียดซึ่งอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ที่จะส่งผ่านระบบการสื่อสาร ซึ่งมีหลายรูปแบบดังนี้

5.1 ข้อมูล (Data) เป็นรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ ซึ่งถูกสร้างและจัดเก็บด้วยคอมพิวเตอร์ มีรูปแบบแน่นอน เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า เป็นต้น ข้อมูลสามารถนับจำนวนได้และส่งผ่านระบบสื่อสารได้เร็ว
5.2 ข้อความ (Text) อยู่ในรูปของเอกสารหรือตัวอักขระ ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ชัดเจนนับจำนวนได้คอนข้างยาก และมีความสามารถในการส่งปานกลาง

5.3 รูปภาพ (Image) เป็นข่าวสารที่อยู่ในรูปของภาพกราฟิกแบบต่าง ๆ ได้แก่ รูปภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพวิดีโอ ซึ่งข้อมูลชนิดนี้จะต้องอาศัยสื่อสำหรับเก็บและใช้หน่วยความจำเป็นจำนวนมาก

5.4 เสียง (Voice) อยู่ในรูปของเสียงพูด เสียงดนตรี หรือเสียงอื่น ๆ ข้อมูลชนิดนี้จะกระจัดกระจาย ไม่สามารถวัดขนาดที่แน่นอนได้ การส่งจะทำได้ด้วยความเร็ว ค่อนข้างต่ำ

6. ตัวกลาง (Medium)

Sorry, your browser doesn't support Java(tm).

เป็นตัวกลางหรือสื่อกลางที่ทำหน้าที่นำข่าวสารในรูปแบบต่าง ๆ จากผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งต้นทางไปยังผู้รับหรืออุปกรณ์รับปลายทาง ซึ่งมีหลายรูปแบบได้แก่ สายไป ขดลวด สายเคเบิล สายไฟเบอร์ออฟติก ตัวกลางอาจจะอยู่ในรูปของคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ คลื่นดาวเทียม หรือคลื่นวิทยุ เป็นต้น

7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ
1. ดูทีวี
2. ฟังวิทยุ

7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ
-การChat Online
-การคุยโทรศัพท์



โดย: นายธีรยุทธ วันทอง คบ.ภาษาอักฤษ รหัส 52100102145 หมู่ 08 พฤหัสเช้า IP: 202.29.5.240 วันที่: 26 ธันวาคม 2552 เวลา:17:14:18 น.  

 
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง
ตอบ
ระบบการสื่อสารข้อมูลจะทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงบริการต่าง ๆ ซึ่งให้ข่าวสาร สารสนเทศ และข้อมูลต่าง ๆ ที่ต้องการ โดยผ่านระบบการสื่อสารข้อมูลโดยตรง ซึ่งสามารถเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของตนเข้ากับระบบการสื่อสารข้อมูล โดยอาศัยสื่อกลางในการนำข้อมูลจากต้นทางไปให้ยังปลายทาง ซึ่งจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์และโปรแกรมที่ใช้ควบคุมการไหลของข้อมูลและบุคลากร ผู้ดำเนินงานจะช่วยส่งเสริมในการปฏิบัติการและจัดการในส่วนต่าง ๆ ทั้งหมด องค์ประกอบ พื้นฐานหลัก 4 องค์ประกอบในระบบการสื่อสาร ได้แก่ (ฉัตรชัย สุมามาลย์, 2544, 22)
1.2.1 ผู้ส่ง (Sender) และผู้รับ (Receiver) ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูลต้นทางของการสื่อสารข้อมูลเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสารทำหน้าที่จัดส่งข่าวสารเข้าสู่ระบบ โดยที่ผู้ผลิตหรือสร้างข่าวสารที่ แท้จริงอาจเป็นพนักงานที่พิมพ์ข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมอาจเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดข่าวสารต่อเนื่องมาจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ ส่วนผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูลทำหน้าที่ในการรับข้อมูลที่ถูกถ่ายทอดมาจากผู้ส่งข้อมูลผ่านสื่อที่เชื่อมระหว่างกัน การสื่อสารจะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อข่าวสารที่ผู้รับข้อมูลได้รับนั้นเป็นข่าวสารเดียวกันกับข่าวสารที่ผู้ส่งข้อมูลได้ถ่ายทอดผ่านสื่อมายังผู้รับข้อมูล อุปกรณ์รับข้อมูลมี 2 ชนิด คือ อุปกรณ์รับข้อมูลปลายทาง (Data Terminal Equipment; DTE) เป็นแหล่งกำเนิดและรับข้อมูล ซึ่งอาจเป็นเทอร์มินอลคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ หรือตัวควบคุม และ อุปกรณ์การสื่อสารข้อมูล (Data Communication Equipment; DCE) หมายถึง โมเด็ม (Modem) จานไมโครเวฟ หรือจานดาวเทียม เป็นต้น




ภาพที่ 1.2 แสดงตัวอย่างการสื่อสารด้วยอุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูล ที่มา : ฉัตรชัย สุมามาลย์ , 2544, หน้า 8



1.2.2 โพรโทคอล (Protocol) และ ซอฟต์แวร์ (Software) โพรโทคอล คือวิธีการหรือกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อควบคุมการทำงานของระบบสื่อสารข้อมูลทั้งผู้ส่งและผู้รับเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่องเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เช่น คนไทยคนหนึ่งอยู่ในประเทศไทยหมุนโทรศัพท์ติดต่อไปยังอีกคนหนึ่งที่อยู่ในประเทศจีนได้สำเร็จ ซึ่งเป็นเพียงการสร้างวงจรสื่อสารขึ้นมาเท่านั้นแต่ทั้งสองคนอาจจะไม่สามารถสื่อสารถึงกันเข้าใจได้ เนื่องจากพูดกันคนละภาษาโพรโทคอลจึงเปรียบเสมือนการบังคับให้ทั้งสองคนนั้นใช้ภาษากลาง ซึ่งอาจจะเป็นภาษาอะไรก็ได้ที่ทั้งสองคน เข้าใจได้ ดังนั้นคนทั้งสองคนนี้จึงจะสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารคอมพิวเตอร์ได้แก่ X.25, BSC, SDLC, HDLC เป็นต้น ส่วนซอฟต์แวร์มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงานในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ ได้แก่ Novell Netware ของระบบ LAN, UNIX, MS-DOS, OS/2, LINUX เป็นต้น
1.2.3 ข่าวสาร (Message) สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสารข้อมูลเรียกว่า ข่าวสาร หรือสารสนเทศ (Information) รูปแบบของข่าวสารที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลมี 4 รูปแบบ ด้วยกัน คือ
1.2.3.1 เสียง (Voice) อาจจะเป็นเสียงที่เกิดจากมนุษย์หรือเสียงที่สร้างขึ้นจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ข้อมูลจะกระจัดกระจายคาดการณ์ล่วงหน้าไม่ได้ การส่งข้อมูลจะส่งด้วยความเร็วต่ำ
1.2.3.2 ข้อมูล (Data) ข้อมูลถูกสร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์มีรูปแบบแน่นอนเป็น รหัสบิต การส่งข้อมูลจะส่งด้วยความเร็วสูง
1.2.3.3 ข้อความ (Text) ไม่มีรูปแบบที่แน่นอนส่วนใหญ่เป็นรูปแบบของอักขระหรือเอกสาร การส่งข่าวสารที่เป็นข้อความจะส่งด้วยความเร็วปานกลาง
1.2.3.4 ภาพ (Image) อยู่ในรูปของกราฟิกแบบต่าง ๆ เช่น รูปภาพ ภาพวิดีโอ ใช้ปริมาณหรือหน่วยความจำมาก การส่งข้อมูลจะส่งด้วยความเร็วสูง
ในการสื่อสารแต่ละวิธี รูปแบบของข่าวสารที่ส่งออกไปอาจจะแตกต่างกันหรือเหมือนกัน เช่น การสื่อสารในระบบโทรศัพท์สาธารณะสามารถส่งผ่านข้อมูลเข้าไปได้ทั้งที่เป็นไฟล์ข้อมูล ข้อความ เสียงและภาพ ในปัจจุบันเทคโนโลยีของระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์ก็สามารถส่งรับข้อมูลได้ทั้งเสียง ข้อมูล ข้อความ และภาพ ส่วนรูปแบบข้อมูลในระบบวิดีโอเท็กซ์จะเป็นข้อมูล ข้อความและภาพเท่านั้น เป็นต้น
1.2.4 สื่อกลาง (Medium) สื่อกลางเป็นเส้นทางการสื่อสาร เพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยัง ปลายทาง สื่อกลางการสื่อสารอาจเป็นเส้นลวดทองแดง สายไฟ สายเคเบิ้ล สายไฟเบอร์ออปติกหรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ สัญญาณวิทยุ หรือแสงก็ได้




ภาพที่ 1. 3 แสดงองค์ประกอบการสื่อสารข้อมูล ที่มา : ฉัตรชัย สุมามาลย์ , 2544, หน้า 7


ระบบการสื่อสารทุกชนิดจะต้องมีองค์ประกอบครบตามรูปแบบถ้าขาดส่วนใดส่วนหนึ่งแล้วการสื่อสารจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน เช่น การโทรศัพท์ไปหาเพื่อนแต่ไม่มีผู้รับสายหรือเป็นเสียงตอบรับจากเครื่องตอบรับโทรศัพท์แบบอัตโนมัติก็จะไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้น ในกรณีนี้สิ่งที่ขาดหายไปคือ ผู้รับข้อมูล แต่ถ้าเพื่อนผู้นี้สามารถตอบรับโทรศัพท์ก็แสดงว่าการสื่อสารได้เริ่มต้นขึ้นแล้วลักษณะ เช่นนี้เรียกว่าวงจรสื่อสารได้รับการจัดตั้งขึ้นเรียบร้อยแล้ว



7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ
1. จอคอมพิวเตอร์
2. คีย์บอร์ด

7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ
1.การสนทนาทางโทรศัพท์
2.
โทรทัศน์




โดย: ***** นายสุรศักดิ์ พฤคณา คบ.ภาษาอังกฤษ 52100102101 หมู่ 8 พฤหัสบดี เช้า IP: 202.29.5.243 วันที่: 26 ธันวาคม 2552 เวลา:17:19:50 น.  

 



7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง
ตอบ
ระบบการสื่อสารข้อมูลจะทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงบริการต่าง ๆ ซึ่งให้ข่าวสาร สารสนเทศ และข้อมูลต่าง ๆ ที่ต้องการ โดยผ่านระบบการสื่อสารข้อมูลโดยตรง ซึ่งสามารถเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของตนเข้ากับระบบการสื่อสารข้อมูล โดยอาศัยสื่อกลางในการนำข้อมูลจากต้นทางไปให้ยังปลายทาง ซึ่งจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์และโปรแกรมที่ใช้ควบคุมการไหลของข้อมูลและบุคลากร ผู้ดำเนินงานจะช่วยส่งเสริมในการปฏิบัติการและจัดการในส่วนต่าง ๆ ทั้งหมด องค์ประกอบ พื้นฐานหลัก 4 องค์ประกอบในระบบการสื่อสาร ได้แก่ (ฉัตรชัย สุมามาลย์, 2544, 22)
1.2.1 ผู้ส่ง (Sender) และผู้รับ (Receiver) ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูลต้นทางของการสื่อสารข้อมูลเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสารทำหน้าที่จัดส่งข่าวสารเข้าสู่ระบบ โดยที่ผู้ผลิตหรือสร้างข่าวสารที่ แท้จริงอาจเป็นพนักงานที่พิมพ์ข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมอาจเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดข่าวสารต่อเนื่องมาจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ ส่วนผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูลทำหน้าที่ในการรับข้อมูลที่ถูกถ่ายทอดมาจากผู้ส่งข้อมูลผ่านสื่อที่เชื่อมระหว่างกัน การสื่อสารจะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อข่าวสารที่ผู้รับข้อมูลได้รับนั้นเป็นข่าวสารเดียวกันกับข่าวสารที่ผู้ส่งข้อมูลได้ถ่ายทอดผ่านสื่อมายังผู้รับข้อมูล อุปกรณ์รับข้อมูลมี 2 ชนิด คือ อุปกรณ์รับข้อมูลปลายทาง (Data Terminal Equipment; DTE) เป็นแหล่งกำเนิดและรับข้อมูล ซึ่งอาจเป็นเทอร์มินอลคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ หรือตัวควบคุม และ อุปกรณ์การสื่อสารข้อมูล (Data Communication Equipment; DCE) หมายถึง โมเด็ม (Modem) จานไมโครเวฟ หรือจานดาวเทียม เป็นต้น

1.2.2 โพรโทคอล (Protocol) และ ซอฟต์แวร์ (Software) โพรโทคอล คือวิธีการหรือกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อควบคุมการทำงานของระบบสื่อสารข้อมูลทั้งผู้ส่งและผู้รับเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่องเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เช่น คนไทยคนหนึ่งอยู่ในประเทศไทยหมุนโทรศัพท์ติดต่อไปยังอีกคนหนึ่งที่อยู่ในประเทศจีนได้สำเร็จ ซึ่งเป็นเพียงการสร้างวงจรสื่อสารขึ้นมาเท่านั้นแต่ทั้งสองคนอาจจะไม่สามารถสื่อสารถึงกันเข้าใจได้ เนื่องจากพูดกันคนละภาษาโพรโทคอลจึงเปรียบเสมือนการบังคับให้ทั้งสองคนนั้นใช้ภาษากลาง ซึ่งอาจจะเป็นภาษาอะไรก็ได้ที่ทั้งสองคน เข้าใจได้ ดังนั้นคนทั้งสองคนนี้จึงจะสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารคอมพิวเตอร์ได้แก่ X.25, BSC, SDLC, HDLC เป็นต้น ส่วนซอฟต์แวร์มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงานในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ ได้แก่ Novell Netware ของระบบ LAN, UNIX, MS-DOS, OS/2, LINUX เป็นต้น
1.2.3 ข่าวสาร (Message) สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสารข้อมูลเรียกว่า ข่าวสาร หรือสารสนเทศ (Information) รูปแบบของข่าวสารที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลมี 4 รูปแบบ ด้วยกัน คือ
1.2.3.1 เสียง (Voice) อาจจะเป็นเสียงที่เกิดจากมนุษย์หรือเสียงที่สร้างขึ้นจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ข้อมูลจะกระจัดกระจายคาดการณ์ล่วงหน้าไม่ได้ การส่งข้อมูลจะส่งด้วยความเร็วต่ำ
1.2.3.2 ข้อมูล (Data) ข้อมูลถูกสร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์มีรูปแบบแน่นอนเป็น รหัสบิต การส่งข้อมูลจะส่งด้วยความเร็วสูง
1.2.3.3 ข้อความ (Text) ไม่มีรูปแบบที่แน่นอนส่วนใหญ่เป็นรูปแบบของอักขระหรือเอกสาร การส่งข่าวสารที่เป็นข้อความจะส่งด้วยความเร็วปานกลาง
1.2.3.4 ภาพ (Image) อยู่ในรูปของกราฟิกแบบต่าง ๆ เช่น รูปภาพ ภาพวิดีโอ ใช้ปริมาณหรือหน่วยความจำมาก การส่งข้อมูลจะส่งด้วยความเร็วสูง
ในการสื่อสารแต่ละวิธี รูปแบบของข่าวสารที่ส่งออกไปอาจจะแตกต่างกันหรือเหมือนกัน เช่น การสื่อสารในระบบโทรศัพท์สาธารณะสามารถส่งผ่านข้อมูลเข้าไปได้ทั้งที่เป็นไฟล์ข้อมูล ข้อความ เสียงและภาพ ในปัจจุบันเทคโนโลยีของระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์ก็สามารถส่งรับข้อมูลได้ทั้งเสียง ข้อมูล ข้อความ และภาพ ส่วนรูปแบบข้อมูลในระบบวิดีโอเท็กซ์จะเป็นข้อมูล ข้อความและภาพเท่านั้น เป็นต้น
1.2.4 สื่อกลาง (Medium) สื่อกลางเป็นเส้นทางการสื่อสาร เพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยัง ปลายทาง สื่อกลางการสื่อสารอาจเป็นเส้นลวดทองแดง สายไฟ สายเคเบิ้ล สายไฟเบอร์ออปติกหรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ สัญญาณวิทยุ หรือแสงก็ได้


ระบบการสื่อสารทุกชนิดจะต้องมีองค์ประกอบครบตามรูปแบบถ้าขาดส่วนใดส่วนหนึ่งแล้วการสื่อสารจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน เช่น การโทรศัพท์ไปหาเพื่อนแต่ไม่มีผู้รับสายหรือเป็นเสียงตอบรับจากเครื่องตอบรับโทรศัพท์แบบอัตโนมัติก็จะไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้น ในกรณีนี้สิ่งที่ขาดหายไปคือ ผู้รับข้อมูล แต่ถ้าเพื่อนผู้นี้สามารถตอบรับโทรศัพท์ก็แสดงว่าการสื่อสารได้เริ่มต้นขึ้นแล้วลักษณะ เช่นนี้เรียกว่าวงจรสื่อสารได้รับการจัดตั้งขึ้นเรียบร้อยแล้ว



7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ
1. จอคอมพิวเตอร์
2. คีย์บอร์ด

7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ
1.การสนทนาทางโทรศัพท์
2.
โทรทัศน์



โดย: นายวัชระ ทาสะโก 52100102105 คบ.ภาษาอังกฤษ หมู่ 8 พฤหัสบดี เช้า IP: 1.1.1.81, 202.29.5.241 วันที่: 27 ธันวาคม 2552 เวลา:20:57:40 น.  

 
7.1. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง

ตอบ

ระบบการสื่อสารข้อมูลจะทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงบริการต่าง ๆ ซึ่งให้ข่าวสาร สารสนเทศ และข้อมูลต่าง ๆ ที่ต้องการ โดยผ่านระบบการสื่อสารข้อมูลโดยตรง ซึ่งสามารถเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของตนเข้ากับระบบการสื่อสารข้อมูล โดยอาศัยสื่อกลางในการนำข้อมูลจากต้นทางไปให้ยังปลายทาง ซึ่งจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์และโปรแกรมที่ใช้ควบคุมการไหลของข้อมูลและบุคลากร ผู้ดำเนินงานจะช่วยส่งเสริมในการปฏิบัติการและจัดการในส่วนต่าง ๆ ทั้งหมด องค์ประกอบ พื้นฐานหลัก 4 องค์ประกอบในระบบการสื่อสาร ได้แก่ (ฉัตรชัย สุมามาลย์, 2544, 22)
1.2.1 ผู้ส่ง (Sender) และผู้รับ (Receiver) ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูลต้นทางของการสื่อสารข้อมูลเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสารทำหน้าที่จัดส่งข่าวสารเข้าสู่ระบบ โดยที่ผู้ผลิตหรือสร้างข่าวสารที่ แท้จริงอาจเป็นพนักงานที่พิมพ์ข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมอาจเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดข่าวสารต่อเนื่องมาจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ ส่วนผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูลทำหน้าที่ในการรับข้อมูลที่ถูกถ่ายทอดมาจากผู้ส่งข้อมูลผ่านสื่อที่เชื่อมระหว่างกัน การสื่อสารจะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อข่าวสารที่ผู้รับข้อมูลได้รับนั้นเป็นข่าวสารเดียวกันกับข่าวสารที่ผู้ส่งข้อมูลได้ถ่ายทอดผ่านสื่อมายังผู้รับข้อมูล อุปกรณ์รับข้อมูลมี 2 ชนิด คือ อุปกรณ์รับข้อมูลปลายทาง (Data Terminal Equipment; DTE) เป็นแหล่งกำเนิดและรับข้อมูล ซึ่งอาจเป็นเทอร์มินอลคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ หรือตัวควบคุม และ อุปกรณ์การสื่อสารข้อมูล (Data Communication Equipment; DCE) หมายถึง โมเด็ม (Modem) จานไมโครเวฟ หรือจานดาวเทียม เป็นต้น
1.2.2 โพรโทคอล (Protocol) และ ซอฟต์แวร์ (Software) โพรโทคอล คือวิธีการหรือกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อควบคุมการทำงานของระบบสื่อสารข้อมูลทั้งผู้ส่งและผู้รับเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่องเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เช่น คนไทยคนหนึ่งอยู่ในประเทศไทยหมุนโทรศัพท์ติดต่อไปยังอีกคนหนึ่งที่อยู่ในประเทศจีนได้สำเร็จ ซึ่งเป็นเพียงการสร้างวงจรสื่อสารขึ้นมาเท่านั้นแต่ทั้งสองคนอาจจะไม่สามารถสื่อสารถึงกันเข้าใจได้ เนื่องจากพูดกันคนละภาษาโพรโทคอลจึงเปรียบเสมือนการบังคับให้ทั้งสองคนนั้นใช้ภาษากลาง ซึ่งอาจจะเป็นภาษาอะไรก็ได้ที่ทั้งสองคน เข้าใจได้ ดังนั้นคนทั้งสองคนนี้จึงจะสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารคอมพิวเตอร์ได้แก่ X.25, BSC, SDLC, HDLC เป็นต้น ส่วนซอฟต์แวร์มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงานในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ ได้แก่ Novell Netware ของระบบ LAN, UNIX, MS-DOS, OS/2, LINUX เป็นต้น
1.2.3 ข่าวสาร (Message) สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสารข้อมูลเรียกว่า ข่าวสาร หรือสารสนเทศ (Information) รูปแบบของข่าวสารที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลมี 4 รูปแบบ ด้วยกัน คือ
1.2.3.1 เสียง (Voice) อาจจะเป็นเสียงที่เกิดจากมนุษย์หรือเสียงที่สร้างขึ้นจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ข้อมูลจะกระจัดกระจายคาดการณ์ล่วงหน้าไม่ได้ การส่งข้อมูลจะส่งด้วยความเร็วต่ำ
1.2.3.2 ข้อมูล (Data) ข้อมูลถูกสร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์มีรูปแบบแน่นอนเป็น รหัสบิต การส่งข้อมูลจะส่งด้วยความเร็วสูง
1.2.3.3 ข้อความ (Text) ไม่มีรูปแบบที่แน่นอนส่วนใหญ่เป็นรูปแบบของอักขระหรือเอกสาร การส่งข่าวสารที่เป็นข้อความจะส่งด้วยความเร็วปานกลาง
1.2.3.4 ภาพ (Image) อยู่ในรูปของกราฟิกแบบต่าง ๆ เช่น รูปภาพ ภาพวิดีโอ ใช้ปริมาณหรือหน่วยความจำมาก การส่งข้อมูลจะส่งด้วยความเร็วสูง
ในการสื่อสารแต่ละวิธี รูปแบบของข่าวสารที่ส่งออกไปอาจจะแตกต่างกันหรือเหมือนกัน เช่น การสื่อสารในระบบโทรศัพท์สาธารณะสามารถส่งผ่านข้อมูลเข้าไปได้ทั้งที่เป็นไฟล์ข้อมูล ข้อความ เสียงและภาพ ในปัจจุบันเทคโนโลยีของระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์ก็สามารถส่งรับข้อมูลได้ทั้งเสียง ข้อมูล ข้อความ และภาพ ส่วนรูปแบบข้อมูลในระบบวิดีโอเท็กซ์จะเป็นข้อมูล ข้อความและภาพเท่านั้น เป็นต้น
1.2.4 สื่อกลาง (Medium) สื่อกลางเป็นเส้นทางการสื่อสาร เพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยัง ปลายทาง สื่อกลางการสื่อสารอาจเป็นเส้นลวดทองแดง สายไฟ สายเคเบิ้ล สายไฟเบอร์ออปติกหรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ สัญญาณวิทยุ หรือแสงก็ได้


7.2. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียวมา 2 ตัวอย่าง

ตอบ

1. จอคอมพิวเตอร์
2. คีย์บอร์ด

7.3. จงยกตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทางมา 2 ตัวอย่าง

ตอบ

1.โทรศัพท์
2.วิทยุสื่อสาร


โดย: นาย นุกุลกิจ ลีทุม 52100102146 คบ.อังกฤษ หมู่ที่ 8 พฤหัสบดี เช้า IP: 172.29.5.133, 61.19.118.250 วันที่: 17 มกราคม 2553 เวลา:15:22:22 น.  

 
อิอิอิอิอิอิ5555


โดย: 555555 IP: 192.168.2.104, 118.175.15.242 วันที่: 20 พฤษภาคม 2554 เวลา:13:07:31 น.  

 
มอสมอสมอส


โดย: 555มอส IP: 192.168.2.104, 118.175.15.242 วันที่: 20 พฤษภาคม 2554 เวลา:13:09:15 น.  

 
พ่อมุงดิ่


โดย: พ่อมุงตาย IP: 192.168.2.104, 118.175.15.242 วันที่: 20 พฤษภาคม 2554 เวลา:13:11:52 น.  

 
olo olo olo olo olo olo .i. .i.


โดย: มองolo IP: 192.168.2.104, 118.175.15.242 วันที่: 20 พฤษภาคม 2554 เวลา:13:13:31 น.  

 
อยากมีกระเทยเปนเมีอย เยสมัน 555


โดย: อยากเยสกระเทยอิอิ IP: 192.168.2.104, 118.175.15.242 วันที่: 20 พฤษภาคม 2554 เวลา:13:15:19 น.  

 
สวัสดีคร๊าบบ


โดย: สรายุทธ มาซ้อน IP: 202.143.133.85 วันที่: 31 มกราคม 2556 เวลา:9:28:40 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 

neaup
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 35 คน [?]




มาเรียนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้กันนะคะ
[Add neaup's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com