เกลียดจริง ๆ คนไม่จริงใจ
 
มีนาคม 2552
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
27 มีนาคม 2552
 
 
4. การผลิตสารสนเทศ

การผลิตสารสนเทศจะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเพื่อการประมวล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกต การสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้ต้องมีคุณลักษณะสำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้

2. การตรวจสอบ (Verifying) เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลที่ได้รับจากการรวบรวมและบันทึกเอาไว้ถูกต้อง มีวิธีการตรวจสอบ 2 วิธีคือ
2.1 Verification ตรวจสอบว่าข้อมูลที่บันทึกหรือรวบรวมไว้นั้นตรงกับข้อมูลที่ปรากฏบนเอกสารต้นฉบับข้อมูลหรือไม่
2.2 Validation ตรวจสอบว่าข้อมูลนั้นสมเหตุสมผลของข้อมูลหรือมีความเป็นไปได้หรือไม่

3. การจำแนก (Classifying) กำหนดหลักการแบ่งประเภทเป็นหมวดหมู่หรือกลุ่มตามคุณสมบัติข้อมูล ในลักษณะที่เหมาะสม มีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน

4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) เป็นการจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร

5. การสรุป (summarizing) การจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกันหรือแบ่งกลุ่มข้อมูลและรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนีหรือสารสนเทศในขั้นต่อไป

6. การคำนวณ (calculating) เป็นการจัดการทำข้อมูลโดยอาศัยวิธีการทางคณิตศาสตร์มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เพื่อให้ได้สารสนเทศตามต้องการ

7. การจัดเก็บ (Storing) จัดเก็บไว้ในสื่อต่าง ๆ ถ้าเป็นการจัดการด้วยคอมพิวเตอร์เก็บไว้ในสื่อบันทึกข้อมูลเช่น แผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก เป็นต้น

8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหาและดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อบันทึกข้อมูล การเรียกใช้มี 2 วิธีคือ เรียกใช้เพื่อมาปรับปรุงแก้ไขข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน และเรียกใช้เพื่อนำข้อมูลนั้นมาใช้งานหรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้

9. การเผยแพร่ (Dissminating and Reproducting) คือ การเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่าง ๆ ทำในแบบเอกสารหรือรายงาน หรือการเสนอบนจอภาพโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้

แบบฝึกหัด
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง



Create Date : 27 มีนาคม 2552
Last Update : 12 มิถุนายน 2552 10:06:02 น. 134 comments
Counter : 19031 Pageviews.

 
1.การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้ อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การ ทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ความ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมุลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบ ข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมุลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะคือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูล เป็น หมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณ์ ที่หมาะสมมีความหมายและเป็น ประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูลและการกำหนด รหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล ว่าจะจัดเรียงลำดับระเบียบ ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกันหรือแบ่ง กลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้น ต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัย ของ ข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็น สารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูล ในรูปความสัมพันธ์ กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการ ของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ ผ่านการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออก จากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้าย ของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำให้แบบ เอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ
ลักษณะของสารสนเทศที่ดีต้องประกอบไปด้วยรายละเอียด ดังนี้
1. ความเที่ยงตรง (Accuracy) หมายถึง ปราศจากความเอนเอียง สารสนเทศที่ดี ต้องบอกลักษณะความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ไม่ชี้นำปทางใดทางหนึ่ง
2. ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ (Relevancy) หมายถึง มีเนื้อหาตรงกับเรื่อง ที่ต้องการใช้ของผู้ใช้แต่ละคน
3. ทันต่อเวลา (Timeliness) หมายถึง สามารถนำสารสนเทศที่ต้องการไปใช้ได้ ทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การจัดเตรียมสารสนเทศให้ทันต่อเวลา ที่ต้องการใช้ มี 2 ลักษณะ คือ การจัดทำสารสนเทศล่วงหน้าตามกำหนดเวลาที่เหตุการณ์จะเกิดในอนาคต และการจัดทำสาร สนเทศอย่างรวดเร็วเพื่อนำไปใช้ในเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น

ทึ่มา //www.geocities.com/gr421317/information.html


โดย: นศ.ณัฐชนันท์พร สรีบุญเรือง(หมู่8 พฤ.เช้า) IP: 172.29.9.50, 58.137.131.62 วันที่: 11 มิถุนายน 2552 เวลา:9:54:18 น.  

 
1.ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง



เรื่อง สภาพและปัญหาระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 9

เนื้อหา
ความเป็นมา
-
งานข้อมูลสถิติและการวางแผน และการประสานงานการจัดทำแผนการศึกษาประจำปีของสำนักศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ จำเป็นต้องอาศัยการเก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผล การวิเคราะห์ นำเสนอข้อมูล วางแผนพัฒนาจังหวัด การบริหารงบประมาณ การประสานการตรวจราชการ ซึ่งงานต่าง ๆ เหล่านี้ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องข้อมูลด้านการศึกษา การศาสนา และการวัฒนธรรม ที่จะต้องจัดระบบการผลิต สารสนเทศทางการศึกษา สำหรับการใช้และให้บริการแก่หน่วยงานอื่น และผู้สนใจทั่วไป ดังนั้นจำเป็นต้องมีกระบวนการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา 9 ขั้น ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
สภาพและปัญหาต่าง ๆ ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถและวัสดุอุปกรณ์ที่เพียงพอกับการปฏิบัติงานแต่โดยหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงจำเป็นต้องดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา ที่สมบูรณ์ ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นปัจจุบันที่สุด
ผู้วิจัยซึ่งดำรงตำแหน่งนักวิชาการศึกษา จึงสนใจที่จะศึกษาสภาพและปัญหาระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 9 เพื่อเป็นข้อสนเทศในการแก้ไขปรับปรุงพัฒนางานในสำนักศึกษาธิการจังหวัด และสำนักงานศึกษาธิการอำเภอให้เกิดประสิทธิภาพ

แนวคิดทฤษฎี
-
1.แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศของกระทรวงศึกษาธิการ
1.1 นโยบายกระทรวงศึกษาธิการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.2 วิสัยทัศน์เทคโนโลยีสารสนเทศ
1.3 ภารกิจหลักด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.4 เป้าหมายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2543-2545)
1.5 แผนงานหลัก
1.6 แผนปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
2.ระบบการผลิตข้อมูลสารสนเทศ
2.1 ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ
2.2 ระบบ และวิธีการประมวลผลข้อมูล
2.3 คุณสมบัติสารสนเทศ
2.4 ลักษณะและประเภทของสารสนเทศ
2.5 องค์ประกอบในการพัฒนาระบบสารสนเทศ
2.6 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร
2.7 สารสนเทศทางการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ
2.8 สารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษาระดับจังหวัด
3.กระบวนการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา
3.1 การรวบรวม (Capturing )
3.2 การตรวจสอบ (verifying)
3.3 การจำแนก (Classifying)
3.4 การจัดเรียงลำดับ (Arranging / Sorting)
3.5 การสรุป (Summarizing)
3.6 การคำนวณ (Calculating)
3.7 การจัดเก็บ (Storing)
3.8 การเรียกใช้ (Retrieving)
3.9 การเผยแพร่ (Disseminating)
4. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กับบทบาทหน้าที่การผลิตสารสนเทศทางการศึกษา
4.1 บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ
4.2 โครงสร้างสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
4.3 สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 9
4.4 บทบาทหน้าที่ของสำนักศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ กับระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา
5.งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
5.1 งานวิจัยในประเทศ
5.2 งานวิจัยในต่างประเทศ

วัตถุประสงค์
-
1.เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ในเขตการศึกษา 9
2.เพื่อศึกษาระดับปัญหาของระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ในเขตการศึกษา 9
3.เพื่อเปรียบเทียบระดับปัญหาระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ในเขตการศึกษา 9 ในกระบวนการผลิต 9 ขั้น

สมมุติฐานการวิจัย

- ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานมความคิดเกี่ยวกับปัญกาของระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการในเขตการศึกษา 9 โดยรวมและเป็นรายด้านไม่ต่างกัน
ระเบียบวิธีวิจัย
- ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจ
ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง

1.ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร คือ ศึกษาธิการจังหวัด ผู้ช่วยศึกษาธิการจังหวัด ศึกษาธิการอำเภอ ผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอ และผู้ปฏิบัติงาน คือนักวิชาการศึกษาจังหวัด และนักวิชาการศึกษาอำเภอ ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ในเขตการศึกษา 9 (สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. 2543 : 215-227) จำนวน 303 คน
2.กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงาน ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ในเขตการศึกษา 9 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้อัตราร้อยละ 80 และสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Randon Sanpling) ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น จำนวน 242 คน

ตัวแปร
-
นิยามศัพท์
-
1.สภาพการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา หมายถึง สภาวะที่เป็นอยู่ของการจัดดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา ในกระบวนการคิด การออกแบบ การเลือก วิธีการ ตลอดจนการนำเครื่องมือ เครื่องใช้ และสื่อต่าง ๆ มาใช้ในการปฏิบัติงานการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา ในกระบวนการ 9 ขั้น คือ ขั้นการรวบรวม การตรวจสอบ การจำแนก การจัดเรียงลำดับ การสรุปการคำนวณ การจัดเก็บ การเรียกใช้ และการเผยแพร่
2.ปัญหาการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา หมายถึง อุปสรรค หรือข้อขัดข้องต่าง ๆ ที่เกิดจากการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
-
เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีจำนวน 2 ฉบับ ดังนี้
1.ฉบับที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพและปัญหาระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 9 เพื่อสอบถามผู้บริหาร
2. ฉบับที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพและปัญหาระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 9 เพื่อสอบถามผู้ปฏิบัติงาน
นำแบบสอบถามไปทดลองใช้กับศึกษาธิการจังหวัด ผู้ช่วยศึกษาธิการจังหวัด ศึกษาธิการอำเภอ ผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอ นักวิชาการศึกษาจังหวัด และนักวิชาการศึกษาอำเภอ ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ที่จังหวัดมหาสารคาม ในเขตการศึกษา 10 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจำนวน 50 ชุด นำแบบสอบถามาหาค่าอำนาจจำแนกรายข้อโดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย ได้ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.26-0.84 และหาค่าความเชื่อมั่น โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาตามวิธีของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.98

วิธีการรวบรวมข้อมูล
-
การวิเคราะห์ข้อมูล
-
ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows ดังนี้
1.คำนวณหาค่าร้อยละ จากแบบสอบถามตอนที่ 1 และตอนที่ 2 ที่เป็นลักษณะแบบตรวจสอบรายการ
2.แบบสอบถามตอนที่ 3 ที่เป็นลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) วิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
3.วิเคราะห์เปรียบเทียบปัญหาระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติโดยรวมและจำแนกรายด้าน โดยใช้ t-test ( Independent Sample)

สรุปผลวิจัย
-
ผลการวิจัยพบว่า
1.สภาพการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 9
1.1 ด้านอาคารสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและสำนักงานศคึกษาธิการอำเภอ ส่วนใหญ่ที่มีห้องจัดระบบข้อมูลสารสนเทศเป็นห้องที่ใช้รวมกับงานอื่น ๆ มีอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ สำหรับการปฏิบัติงาน ดังนี้ เครื่องคอมพิวเตอร์ประมาณ 1-2 เครื่อง แฟ้มเก็บข้อมูลสารสนเทศ เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย โต๊ะ เก้าอี้ทำงาน กระดานไวท์บอร์ด โทรศัพท์
1.2 ด้านบุคลากร บุคลากรที่ปฏิบัติงาน ไม่เพียงพอต่อปริมาณงานที่รับผิดชอบมีเจ้าหน้าที่ด้านคอมพิวเตอร์ในระดับบริหาร
1.3 ด้านงบประมาณ ในการจัดหาเครื่องมือการผลิตสารสนเทศส่วนใหญ่ใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน
1.4 ด้านการจัดการ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด และสำนักงานคึกษาธิการอำเภอ ใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศ ผู้บริหารส่วนใหญ่รับผิดชอบงานข้อมูลสารสนเทศในหน่วยงาน รวมกับผู้ปฏิบัติงาน
2.ผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่มีการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา โดยรวมและจำแนกเป็นรายด้าน และส่วนมากมีการดำเนินงานด้านการรวบรวมข้อมูล
3. บุคลากรโดยรวมและจำแนกตามประเภทบุคลากร มีปัญหาการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา โดยรวมและจำแนกเป็นรายด้าน ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการเผยแพร่ข้อมูล และมีด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการคำนวณข้อมูล


ที่มา//www.thaiedresearch.org/result/up_result.php




โดย: นศ.เกศรินทร์ ไชยปัญญา (หมู่ 08 พฤ เช้า) IP: 58.147.38.151 วันที่: 11 มิถุนายน 2552 เวลา:12:08:25 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง

กระบวนการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา 9 ขั้น ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
สภาพและปัญหาต่าง ๆ ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถและวัสดุอุปกรณ์ที่เพียงพอกับการปฏิบัติงานแต่โดยหน้าที่รับผิด ชอบโดยตรงจำเป็นต้องดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศทางการ ศึกษา ที่สมบูรณ์ ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นปัจจุบันที่สุด
ผู้วิจัยซึ่งดำรงตำแหน่งนักวิชาการศึกษา จึงสนใจที่จะศึกษาสภาพและปัญหาระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 9 เพื่อเป็นข้อสนเทศในการแก้ไขปรับปรุงพัฒนางานในสำนักศึกษาธิการจังหวัด และสำนักงานศึกษาธิการอำเภอให้เกิดประสิทธิภาพ
แนวคิดทฤษฎี
-
1.แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศของกระทรวงศึกษาธิการ
1.1 นโยบายกระทรวงศึกษาธิการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.2 วิสัยทัศน์เทคโนโลยีสารสนเทศ
1.3 ภารกิจหลักด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.4 เป้าหมายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2543-2545)
1.5 แผนงานหลัก
1.6 แผนปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
2.ระบบการผลิตข้อมูลสารสนเทศ
2.1 ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ
2.2 ระบบ และวิธีการประมวลผลข้อมูล
2.3 คุณสมบัติสารสนเทศ
2.4 ลักษณะและประเภทของสารสนเทศ
2.5 องค์ประกอบในการพัฒนาระบบสารสนเทศ
2.6 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร
2.7 สารสนเทศทางการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ
2.8 สารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษาระดับจังหวัด
3.กระบวนการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา
3.1 การรวบรวม (Capturing )
3.2 การตรวจสอบ (verifying)
3.3 การจำแนก (Classifying)
3.4 การจัดเรียงลำดับ (Arranging / Sorting)
3.5 การสรุป (Summarizing)
3.6 การคำนวณ (Calculating)
3.7 การจัดเก็บ (Storing)
3.8 การเรียกใช้ (Retrieving)
3.9 การเผยแพร่ (Disseminating)
4. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กับบทบาทหน้าที่การผลิตสารสนเทศทางการศึกษา
4.1 บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ
4.2 โครงสร้างสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
4.3 สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 9
4.4 บทบาทหน้าที่ของสำนักศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ กับระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา
5.งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
5.1 งานวิจัยในประเทศ
5.2 งานวิจัยในต่างประเทศ
วัตถุประสงค์
-
1.เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของสำนักงาน ศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ในเขตการศึกษา 9
2.เพื่อศึกษาระดับปัญหาของระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ในเขตการศึกษา 9
3.เพื่อเปรียบเทียบระดับปัญหาระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของสำนักงาน ศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ในเขตการศึกษา 9 ในกระบวนการผลิต 9 ขั้น

สมมุติฐานการวิจัย
- ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานมความคิดเกี่ยวกับปัญกาของระบบการผลิตสารสนเทศทาง การศึกษาของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการในเขตการศึกษา 9 โดยรวมและเป็นรายด้านไม่ต่างกัน
ระเบียบวิธีวิจัย
- ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจ
ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง

1.ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร คือ ศึกษาธิการจังหวัด ผู้ช่วยศึกษาธิการจังหวัด ศึกษาธิการอำเภอ ผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอ และผู้ปฏิบัติงาน คือนักวิชาการศึกษาจังหวัด และนักวิชาการศึกษาอำเภอ ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ในเขตการศึกษา 9 (สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. 2543 : 215-227) จำนวน 303 คน
2.กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงาน ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ในเขตการศึกษา 9 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้อัตราร้อยละ 80 และสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Randon Sanpling) ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น จำนวน 242 คน
ตัวแปร
-
นิยามศัพท์
-
1.สภาพการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา หมายถึง สภาวะที่เป็นอยู่ของการจัดดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา ในกระบวนการคิด การออกแบบ การเลือก วิธีการ ตลอดจนการนำเครื่องมือ เครื่องใช้ และสื่อต่าง ๆ มาใช้ในการปฏิบัติงานการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา ในกระบวนการ 9 ขั้น คือ ขั้นการรวบรวม การตรวจสอบ การจำแนก การจัดเรียงลำดับ การสรุปการคำนวณ การจัดเก็บ การเรียกใช้ และการเผยแพร่
2.ปัญหาการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา หมายถึง อุปสรรค หรือข้อขัดข้องต่าง ๆ ที่เกิดจากการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
-
เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีจำนวน 2 ฉบับ ดังนี้
1.ฉบับที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพและปัญหาระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 9 เพื่อสอบถามผู้บริหาร
2. ฉบับที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพและปัญหาระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 9 เพื่อสอบถามผู้ปฏิบัติงาน
นำแบบสอบถามไปทดลองใช้กับศึกษาธิการจังหวัด ผู้ช่วยศึกษาธิการจังหวัด ศึกษาธิการอำเภอ ผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอ นักวิชาการศึกษาจังหวัด และนักวิชาการศึกษาอำเภอ ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ที่จังหวัดมหาสารคาม ในเขตการศึกษา 10 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจำนวน 50 ชุด นำแบบสอบถามาหาค่าอำนาจจำแนกรายข้อโดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย ได้ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.26-0.84 และหาค่าความเชื่อมั่น โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาตามวิธีของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.98
วิธีการรวบรวมข้อมูล
-
การวิเคราะห์ข้อมูล
-
ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows ดังนี้
1.คำนวณหาค่าร้อยละ จากแบบสอบถามตอนที่ 1 และตอนที่ 2 ที่เป็นลักษณะแบบตรวจสอบรายการ
2.แบบสอบถามตอนที่ 3 ที่เป็นลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) วิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
3.วิเคราะห์เปรียบเทียบปัญหาระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติโดยรวมและจำแนกรายด้าน โดยใช้ t-test ( Independent Sample)
สรุปผลวิจัย
-
ผลการวิจัยพบว่า
1.สภาพการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 9
1.1 ด้านอาคารสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและสำนักงาน ศคึกษาธิการอำเภอ ส่วนใหญ่ที่มีห้องจัดระบบข้อมูลสารสนเทศเป็นห้องที่ใช้รวมกับงานอื่น ๆ มีอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ สำหรับการปฏิบัติงาน ดังนี้ เครื่องคอมพิวเตอร์ประมาณ 1-2 เครื่อง แฟ้มเก็บข้อมูลสารสนเทศ เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย โต๊ะ เก้าอี้ทำงาน กระดานไวท์บอร์ด โทรศัพท์
1.2 ด้านบุคลากร บุคลากรที่ปฏิบัติงาน ไม่เพียงพอต่อปริมาณงานที่รับผิดชอบมีเจ้าหน้าที่ด้านคอมพิวเตอร์ในระดับบริหาร
1.3 ด้านงบประมาณ ในการจัดหาเครื่องมือการผลิตสารสนเทศส่วนใหญ่ใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน
1.4 ด้านการจัดการ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด และสำนักงานคึกษาธิการอำเภอ ใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศ ผู้บริหารส่วนใหญ่รับผิดชอบงานข้อมูลสารสนเทศในหน่วยงาน รวมกับผู้ปฏิบัติงาน
2.ผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่มีการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา โดยรวมและจำแนกเป็นรายด้าน และส่วนมากมีการดำเนินงานด้านการรวบรวมข้อมูล
3. บุคลากรโดยรวมและจำแนกตามประเภทบุคลากร มีปัญหาการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา โดยรวมและจำแนกเป็นรายด้าน ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการเผยแพร่ข้อมูล และมีด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการคำนวณข้อมูล

ข้อเสนอแนะ
-
1.ควรวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา
2.ควรวิจัยระบบและการจัดเก็บข้อสารสนเทศทางการศึกษาที่สะดวกต่อการบริหารงานและการปฏิบัติงาน

ที่มา //www.thaiedresearch.org/result/result.php?id=1501

นาย ตง ประดิชญากาญจน์ (หมู่22 อังคารเช้า)


โดย: นาย ตง ประดิชญากาญจน์ IP: 114.128.16.131 วันที่: 14 มิถุนายน 2552 เวลา:12:01:18 น.  

 

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต

ขบวนการในการผลิตประกอบด้วยงานที่ขึ้นต่อกันมากมาย โดยการนำระบบการวางแผนทรัพยากรของ องค์กรมาใช้ร่วมในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิตจะช่วยให้การทำงานมีความยืดหยุ่นและมีการจัดหาทรัพยากรที่ต้องการใช้ได้ทันต่อความต้องการ โดยจุดประสงค์ของขบวนการผลิตก็คือการผลิตได้ตรงตามความพอใจหรือความต้องการของลูกค้านั่นเอง
ในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต ภาระของผู้บริหารในการดูแลควบคุมงานจะถูกลดลงไป, งานด้านเอกสารต่างๆ จะถูกปรับให้อยู่ในรูปของขบวนการออนไลน์และการติดต่อสื่อสารข้อมูลจะใช้งานผ่านระบบการ แลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (EDI) และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแทน อีกทั้งในการวางแผนการใช้ทรัพยากรของ องค์กรเพื่อการผลิตจะใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายอินทราเน็ตในองค์กร เพื่อติดต่อกับหน่วยงานธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ เพื่อปฏิบัติงานและงานควบคุมงานต่างๆ ทั้งแบบศูนย์กลางและแบบกระจายได้ รูปที่ 16 แสดงภาพรวมของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต
ส่วนที่นำเข้าไปยังระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต

ส่วนที่นำเข้าจะได้จากกการปฏิบัติงานซึ่งเกี่ยวกับการไหลเวียนและการแปลงวัตถุดิบภายในองค์กร แหล่ง สารสนเทศที่สำคัญอาจมาจากภายนอกองค์กรก็ได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะมาจากภายใน เช่น

1. แผนเชิงกลยุทธ์และนโยบายของบริษัท ซึ่งจะเป็นส่วนที่กำหนดทิศทางของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต เช่นเอกสารเกี่ยวกับการวางแผนระยะยาวที่กล่าวถึงเรื่องคุณภาพ, การผลิต, และเป้าหมายและข้อจำกัดในการให้บริการ รวมถึงนโยบายในการเปิดโรงงานใหม่หรือการปิดโรงงานเก่าลงและเรื่องของความสามารถในการผลิตที่เพิ่มขึ้นได้, ข้อจำกัดของจำนวนพนักงานที่มี, การเปลี่ยนนโยบายการเก็บสินค้าคงคลัง และโปรแกรมการควบคุมคุณภาพใหม่ที่ต้องการใช้ เหล่านี้จัดเป็นสารสนเทศที่นำเข้าสู่ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต
2. ระบบประมวลผลรายการ ได้แก่ข้อมูลที่ได้จากระบบประมวลผลรายการด้านต่างๆที่เกี่ยวข้อในการผลิต ได้แก่ การประมวลผลการสั่งซื้อ, ข้อมูลสินค้าคงคลัง, ข้อมูลการรับและการตรวจสอบวัตถุดิบที่เข้ามาในขบวนการผลิต, ข้อมูลบุคลากร, และข้อมูลขบวนการผลิต
3. แหล่งข้อมูลภายนอก ได้แก่ ข้อมูลขบวนการในการผลิตใหม่ๆ ซึ่งอาจมาจากบริษัท, วารสาร และสิ่งพิมพ์อื่นๆ หรือได้จาก เครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือข้อมูลเกี่ยวกับสภาพวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้สามารถคาดเดาในเรื่องของแรงงาน และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับวัตถุดิบได้ นอกเหนือจากนี้ยังมีแหล่งข้อมูลภายนอกอื่นๆ อีก เช่น องค์กรผู้เชี่ยวชาญต่างๆ, สมาคมทางธุรกิจ ซึ่งสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับคู่แข่งขัน ทั้งในด้านขบวนการผลิตและกลุ่มลูกค้าใหม่ๆที่น่าสนใจได้

ระบบย่อยและผลที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต

ระบบย่อยและผลลัพธ์ที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต ได้แก่ การตรวจสอบและควบคุมการไหลเวียนของวัตถุดิบ, สินค้า และบริการต่างๆภายในองค์กร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตสินค้าได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า ตั้งแต่เริ่มขบวนการนำวัตถุดิบมาผ่านขั้นตอนการผลิตจนกระทั่งเสร็จเป็นสินค้าและบริการที่จะส่งไปยังลูกค้า โดยที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ระบบย่อยและผลลัพธ์ที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต ได้แก่

1. การออกแบบและการปฏิบัติเชิงวิศวกรรม (Design and Engineering) ได้แก่การพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยสามารถใช้ระบบการออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (Computer-Aided Design : CAD) ซึ่งเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ โดยผู้ใช้สามารถออกแบบและแก้ไข ตัวแบบได้เองบนจอภาพ
2. การจัดตารางการผลิต (Production Planning) เพื่อจัดการรายละเอียดแผนงานการผลิตทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยใช้ซอฟต์แวร์ที่ทำงานในด้านนี้เข้ามาช่วย ซึ่งในซอฟต์แวร์นี้อาจมีคุณสมบัติในการทำนายและพิจารณาหาความต้องการของสินค้าและบริการที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ทำให้สามารถวางแผนเพื่อกำหนดการผลิตให้ได้ตรงตามความต้องการ
3. การควบคุมสินค้าคงคลัง (Inventory Control) ได้แก่การใช้ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการสั่งซื้อ, การทำนาย, การผลิตเอกสารและรายงานร้านค้า, การพิจารณาหาค่าใช้จ่ายในการผลิต, การวิเคราะห์งบประมาณค่าใช้จ่ายที่วางไว้เปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายจริง, และการพัฒนาตารางการผลิต, บอกความต้องการทรัพยากรในการผลิตและวางแผนการผลิตได้อย่างอัตโนมัติ โดยปกติแล้วซอฟต์แวร์ต่างๆเหล่านี้จะมีสูตรในการคำนวณเพื่อหาจำนวนวัตถุดิบและช่วงเวลาที่จะต้องสั่งซื้อได้ วิธีการหาว่าต้องสั่งสินค้ามาไว้ในคลังปริมาณเท่าใดเรียกว่าวิธีการกาปริมาณหารสั่งซื้อมางเศรษฐกิจ (Economic Order Quantity : EOQ) โดยปริมาณที่หาได้นี้จะต้องทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุดด้วย ส่วนการหาว่าต้องสั่งสินค้ามาไว้ในคลังเมื่อใดจะใช้วิธีการหาจุดสั่งซื้อเพิ่ม Reorder Point : ROP) ซึ่งแสดงถึงค่าระดับปริมาณสินค้าคงคลังที่วิกฤติ
4. การวางแผนการใช้ทรัพยากรการผลิต(Manufacturing Resource Planning : MRPII) ได้แก่ระบบที่ใช้การวางแผนเครือข่ายเพื่อให้บุคคลต่างๆ สามารถดำเนินธุรกิจเพื่อให้บริการและผลผลิตแก่ลูกค้าได้เป็นจำนวนมาก ในขณะที่เสียค่าใช้จ่ายและมีสินค้าหรือวัตถุดิบในคลังสินค้าในปริมาณต่ำ โดยมีการทำนายความต้องการของลูกค้า, การควบคุมสินค้าคงคลัง, การวางแผนการผลิต, การแสดง รายการวัตถุดิบที่ต้องใช้, การวางแผนการสรรหาแหล่งวัตถุดิบที่ต้องใช้ เพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ จะถูกส่งไปให้แก่ลูกค้าได้ในเวลาที่ต้องการ
5. การควบคุมสินค้าและการผลิตที่ทันเวลา (Just-in-Time Inventory and Manufacturing) การเก็บสินค้าและวัตถุดิบในคลังสินค้าเป็นจำนวนมากทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูง และอาจเกิดการเสียหายได้ ดังนั้นวัตถุประสงค์หนึ่งของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิตก็คือ การควบคุมสินค้าคงคลังให้อยู่ในระดับที่ต่ำที่สุด โดยไม่กระทบกับความต้องการในการนำสินค้าหรือวัตถุดิบนั้นไปใช้ในการผลิต วิธีที่นิยมใช้ได้แก่วิธีการควบคุมคลังสินค้าแบบทันเวลา (Just-in-Time : JIT Inventory Approach) ซึ่งสินค้าและวัตถุดิบจะถูกส่งไปให้ในช่วงเวลาก่อนที่จะสินค้าหรือวัตถุดิบนั้นไปใช้ในการผลิต ทำให้ไม่ต้องเก็บไว้ในคลังสินค้าเป็นช่วงเวลานานๆ
6. การควบคุมขบวนการผลิต ในการควบคุมการผลิตมีเทคโนโลยีที่สนับสนุนมากมาย เช่น การผลิตโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (Computer-Aided Manufacturing : CAM) เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการด้านการผลิต เช่น การตรวจสอบและติดตาม ได้แก่การควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ในการผลิตต่างๆ การตรวจสอบค่าและข้อกำหนดในการผลิตต่างๆ เช่น อุณหภูมิที่ใช้ ค่าความดันอากาศฯลฯ หรือใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการกำหนดรหัสสินค้า การจัดลำดับในขบวนการผลิต เป็นต้น
7. การนำคอมพิวเตอร์เข้าไปช่วยในการผลิต (Computer-Integrated Manufacturing : CIM) ได้แก่การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมโยงองค์ประกอบต่างๆในขบวนการผลิตเข้าด้วยกันเป็นระบบที่มี ประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวมขั้นตอนการผลิตทั้งหมด เช่น การประมวลผลการสั่งซื้อ, การออกแบบผลิตภัณฑ์, การผลิต การควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพ และการขนส่งเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มประสิทธภาพในด้านการทำงานส่วนต่างๆ ที่ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน โดยอาจนำระบบการผลิตแบบคล่องตัว (Flexible Manufacturing System : FMS) เข้ามาใช้ร่วมด้วย ทำให้สามารถเปลี่ยนการผลิตสินค้าอย่างหนึ่งเป็นอีกอย่างหนึ่งเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
8. การควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพ (Quality Control and Testing) ได้แก่ขบวนการในการในการควบคุมเพื่อให้แน่ใจว่าสินค้าที่ผลิตออกมาตรงตามที่ลูกค้าต้องการ โดยใช้ซอฟต์แวร์ในการควบคุมคุณภาพ ต่างๆ ผลลัพธ์ที่ได้จากระบบการควบคุมคุณภาพ ได้แก่รายงาน ค่าใช้จ่ายที่ลดลงและยอดขายที่เพิ่มขึ้น โดยสารสนเทศที่ได้จากระบบนี้จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทราบถึงปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์การผลิตและรายงานควบคุมคุณภาพยังใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ดีขึ้นอีกด้วย

ที่มา //irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/Knowledge/Management%20Information%20Systems/mis6.htm


โดย: นายนภศักดิ์ ชาทอง ม.29 พุธเช้า IP: 110.49.84.192 วันที่: 14 มิถุนายน 2552 เวลา:13:58:17 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง

การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้ อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การ ทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ความ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมุลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบ ข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมุลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะคือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูล เป็น หมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณ์ ที่หมาะสมมีความหมายและเป็น ประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูลและการกำหนด รหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล ว่าจะจัดเรียงลำดับระเบียบ ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกันหรือแบ่ง กลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้น ต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัย ของ ข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็น สารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูล ในรูปความสัมพันธ์ กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการ ของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ ผ่านการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออก จากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้าย ของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำให้แบบ เอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ
ตัวอย่าง เช่น ระบบล้างรถอัตโนมัติ
ระบบสารสนเทศประกอบด้วย ส่วนหลักดังรูปที่ 3
ส่วนที่นำเข้า คือ รถที่สกปรก น้ำ และน้ำยาต่างๆ ที่ใช้ในการล้างรถ เวลาและพลังงานถูกใช้ในการปฏิบัติการล้างรถ ทักษะได้แก่ความสามารถเฉพาะอย่างจะถูกนำมาใช้ในการฉีดสเปรย์ ขัดโฟม และเป่าแห้ง ความรู้ถูกนำมาใช้ในการกำหนดขั้นตอนการทำงานของการล้างรถให้ทำงานไปตามขั้นตอนที่ถูกต้อง
การประมวลผล ประกอบด้วย ขั้นที่หนึ่ง การเลือกประเภทการล้างรถที่ต้องการ เช่น ล้างอย่างเดียว ล้างและขัดเงา ล้างและขัดเงาและเป่าแห้งฯลฯ และขั้นต่อไปทำการนำรถเข้าไปในเครื่องล้างรถ (สังเกตว่าในส่วนนี้จะเกิดกลไกของผลสะท้อนกลับขึ้น ได้แก่การประเมินผลของเจ้าของรถที่มีต่อขบวนการล้างรถที่กำลังเกิดขึ้น) จากนั้นของฉีดของเหลวจะฉีดน้ำ สบู่เหลว หรือครีมขัดเงาไปที่รถ ขึ้นอยู่กับตัวเลือกที่เลือกไว้ในตอนต้น
ส่วนที่แสดงผล คือรถที่สะอาดแล้ว
จากตัวอย่าง จะเห็นว่าส่วนประกอบอิสระต่างๆ ในระบบล้างรถอัตโนมัติ เช่นเครื่องฉีดของเหลว แปลงสำหรับทางโฟม และเครื่องเป่าแห้ง ทำงานโต้ตอบกัน เพื่อให้รถสะอาดนั่นเอง
ระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-Based Information Systems : CBIS)
ระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ (Hardware), ซอฟต์แวร์ (Software), ข้อมูล(Data), บุคคล (People), ขบวนการ (Procedure) และการสื่อสารข้อมูล (Telecommunication) ซึ่งถูกกำหนดขึ้นเพื่อทำการรวบรวม, จัดการ จัดเก็บและประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ รูปที่ 4 แสดงส่วนประกอบของระบบ สารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์

ที่ 4 ส่วนประกอบของสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์

1. ฮาร์ดแวร์ คืออุปกรณ์ทางกายภาพ ที่ใช้ในการรวบรวม การนำเข้า และการจัดเก็บข้อมูล, ประมวลผล ข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ และแสดงสารสนเทศที่เป็นผลลัพธ์ออกมา
2. ซอฟต์แวร์ ประกอบด้วยกลุ่มของโปรแกรมที่ใช้ในการปฏิบัติงานร่วมกับฮาร์ดแวร์และใช้ในการประมวลผลข้อมูลเป็นสารสนเทศ
3. ข้อมูล ในส่วนนี้หมายถึงข้อมูลและสารสนเทศที่ถูกเก็บอยู่ในฐานข้อมูล โดยฐานข้อมูล (Database) หมายถึงกลุ่มของค่าความจริงและสารสนเทศที่มีความเกี่ยวข้องกันนั่นเอง
4. บุคคล หมายถึงบุคคลที่ใช้งานและปฏิบัติงานร่วมกับระบบสารสนเทศ
5. ขบวนการ หมายถึงกลุ่มของคำสั่งหรือกฎ ที่แนะนำวิธีการปฏิบัติงานกับคอมพิวเตอร์ในระบบสารสนเทศ ซึ่งอาจได้แก่การแนะนำการควบคุมการเข้าใช้งานคอมพิวเตอร์, วิธีการสำรองสารสนเทศในระบบและวิธีจัดการกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้
6. การสื่อสารข้อมูล หมายถึงการส่งสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์เพื่อติดต่อสื่อสาร และช่วยให้องค์กรสามารถเชื่อมระบบคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่าย (Network) ที่มีประสิทธิภาพได้ โดยเครือข่ายใช้ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไว้ด้วยกัน อาจจะเป็นภายในอาคารเดียวกัน ในประเทศเดียวกัน หรือทั่วโลก เพื่อให้สามารถสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้

ที่มา //irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/Knowledge/Management%20Information%20Systems/mis2.htm
//www.geocities.com/gr421317/information.html


โดย: น.ส.นิตยา กลิ่นเมือง ( หมู่ 15 ศ. เช้า ) IP: 124.157.230.253 วันที่: 15 มิถุนายน 2552 เวลา:13:52:14 น.  

 
แบบฝึกหัด 4

4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง

ตอบ

การผลิตในอุตสาหกรรม และการพาณิชยกรรม การแข่งขันทางด้านการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมจำเป็นต้องหาวิธีการในการผลิตให้ได้มาก ราคาถูกลง
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เข้ามามีบทบาทมาก มีการใช้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริหาร
และการจัดการ การดำเนินการและยังรวมไปถึงการให้บริการกับลูกค้า เพื่อให้ซื้อสินค้าได้สะดวกขึ้น


ที่มา
//www.nukul.ac.th/it/content/02/2-1.html



โดย: นางสาวภัทราภรณ์ อุ่นจิต 52240236104 หมู่ 1(พิเศษ) IP: 125.26.217.119 วันที่: 15 มิถุนายน 2552 เวลา:15:44:48 น.  

 
เรื่อง สารสนเทศ และองค์ประกอบการผลิตสารสนเทศ



ข้อมูลและสารสนเทศ

ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลข ข้อความ หรือรายละเอียดซึ่งอาจอยู่ในแบบต่าง ๆ เช่น ภาพ เสียง วีดีโอ ข้อมูลคือข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจ การเก็บข้อมูลจึงเป็นการเก็บรวบรวมเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจนั่นเอง ข้อมูลจึงหมายถึงตัวแทนของข้อเท็จจริง หรือความเป็นไปของสิ่งที่เราสนใจ

สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่มีความหมายซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ สารสนเทศจึงหมายถึงข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลด้วยวิธีการที่เหมาะสมและถูกต้องเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ อยู่ในรูปแบบที่ใช้งานได้และจะต้องอยู่ในช่วงเวลาที่ต้องการ

ระบบสารสนเทศแบ่งตามประเภทสารสนเทศตามสภาพความต้องการที่จัดทำขึ้น ได้ดังนี้

1. สารสนเทศที่ทำประจำ

2. สารสนเทศที่ต้องทำตามกฎหมาย

3. สารสนเทศที่ได้รับมอบหมายให้จัดทำขึ้นโดยเฉพาะ



ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศและการผลิตสารสนเทศ

ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศมี 5 ส่วน ซึ่งทั้งห้าองค์ประกอบมีความเกี่ยวข้องกันเป็นระบบ ดังนี้

1. บุคลากร 4. ซอฟต์แวร์

2. ขั้นตอนการปฏิบัติ 5. ข้อมูล

3. เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์



วิธีการประมวลผลวิธีการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งได้ตามสภาวะการนำข้อมูลมาประมวลผล ดังนี้

1. การประมวลผลแบบเชื่อมตรง (online processing) หมายถึงการทำงานในขณะที่ข้อมูลวิ่งไปบนสายสัญญาณเชื่อมต่อจากเครื่องปลายทาง (terminal) ไปยังฐานข้อมูลของเครื่องหลักที่ใช้ในการประมวลผล การประมวลผลแบบเชื่อมตรงจึงเป็นการประมวลผลแบบทันทีทันใด เช่น การจองตั๋วเครื่องบิน การซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า การฝากถอนเอทีเอ็ม

2. การประมวลผลแบบกลุ่ม (batch processing) หมายถึง การะประมวลผลในเรื่องที่สนใจเป็นครั้ง ๆ เช่น เมื่อต้องการทราบข้อมูลผลสำรวจความนิยมของประชาชนต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน หรือที่เรียกว่า โพล (poll) ก็มีการสำรวจข้อมูลเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้วก็นำมาป้อนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วนำข้อมูลนั้นมาประมวลผลตามโปรแกรมที่ได้กำหนดไว้ เพื่อรายงานผล หรือสรุปผลหาคำตอบ การประมวลผลแบบนี้จะทำเป็นครั้ง ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ โดยจะต้องมีการรวบรวมข้อมูลไว้ก่อน

การจัดการสารสนเทศ

สารสนเทศเป็นสิ่งที่มีประโยชน์และจำเป็นสำหรับการใช้งานด้านต่าง ๆ เกิดจากการรวบรวมข้อมูล แล้วนำมาสรุปผลตามที่ต้องการ การจัดการสารสนเทศ รวมถึงขั้นตอนการดำเนินการต่าง ๆ ตั้งแต่เริ่มต้นจนได้มาซึ่งสารสนเทศ การดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศมีหลายขั้นตอน ดังนี้

1. การเก็บรวบรวมข้อมูล 6. การทำรายงาน

2. การตรวจสอบข้อมูล 7. การจัดเก็บ

3. การรวบรวมเป็นแฟ้มข้อมูล 8. การทำสำเนา

4. การจัดเรียงข้อมูล 9. การแจกจ่ายและการสื่อสารข้อมูล

10. การคำนวณ

ที่มา : //school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-6248.html


โดย: นางสาวอรธิรา บัวลา บช.บ. 1/3 เรียนวันพุธ คาบ 2 - 5 เมล์ manay_manay@hotmail.com IP: 113.53.161.51 วันที่: 16 มิถุนายน 2552 เวลา:23:04:30 น.  

 
รายละเอียด ความเป็นมา
ความเป็นมา
-
งานข้อมูลสถิติและการวางแผน และการประสานงานการจัดทำแผนการศึกษาประจำปีของสำนักศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ จำเป็นต้องอาศัยการเก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผล การวิเคราะห์ นำเสนอข้อมูล วางแผนพัฒนาจังหวัด การบริหารงบประมาณ การประสานการตรวจราชการ ซึ่งงานต่าง ๆ เหล่านี้ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องข้อมูลด้านการศึกษา การศาสนา และการวัฒนธรรม ที่จะต้องจัดระบบการผลิต สารสนเทศทางการศึกษา สำหรับการใช้และให้บริการแก่หน่วยงานอื่น และผู้สนใจทั่วไป ดังนั้นจำเป็นต้องมีกระบวนการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา 9 ขั้น ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
สภาพและปัญหาต่าง ๆ ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถและวัสดุอุปกรณ์ที่เพียงพอกับการปฏิบัติงานแต่โดยหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงจำเป็นต้องดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา ที่สมบูรณ์ ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นปัจจุบันที่สุด
ผู้วิจัยซึ่งดำรงตำแหน่งนักวิชาการศึกษา จึงสนใจที่จะศึกษาสภาพและปัญหาระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 9 เพื่อเป็นข้อสนเทศในการแก้ไขปรับปรุงพัฒนางานในสำนักศึกษาธิการจังหวัด และสำนักงานศึกษาธิการอำเภอให้เกิดประสิทธิภาพ

แนวคิดทฤษฎี
-
1.แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศของกระทรวงศึกษาธิการ
1.1 นโยบายกระทรวงศึกษาธิการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.2 วิสัยทัศน์เทคโนโลยีสารสนเทศ
1.3 ภารกิจหลักด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.4 เป้าหมายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2543-2545)
1.5 แผนงานหลัก
1.6 แผนปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
2.ระบบการผลิตข้อมูลสารสนเทศ
2.1 ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ
2.2 ระบบ และวิธีการประมวลผลข้อมูล
2.3 คุณสมบัติสารสนเทศ
2.4 ลักษณะและประเภทของสารสนเทศ
2.5 องค์ประกอบในการพัฒนาระบบสารสนเทศ
2.6 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร
2.7 สารสนเทศทางการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ
2.8 สารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษาระดับจังหวัด
3.กระบวนการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา
3.1 การรวบรวม (Capturing )
3.2 การตรวจสอบ (verifying)
3.3 การจำแนก (Classifying)
3.4 การจัดเรียงลำดับ (Arranging / Sorting)
3.5 การสรุป (Summarizing)
3.6 การคำนวณ (Calculating)
3.7 การจัดเก็บ (Storing)
3.8 การเรียกใช้ (Retrieving)
3.9 การเผยแพร่ (Disseminating)
4. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กับบทบาทหน้าที่การผลิตสารสนเทศทางการศึกษา
4.1 บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ
4.2 โครงสร้างสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
4.3 สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 9
4.4 บทบาทหน้าที่ของสำนักศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ กับระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา
5.งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
5.1 งานวิจัยในประเทศ
5.2 งานวิจัยในต่างประเทศ

ที่มา //www.thaiedresearch.org/result/result.php?id=1501


โดย: นางสาววิภาวี พลวี (หมู่ 8 พฤ เช้า ) IP: 125.26.168.206 วันที่: 17 มิถุนายน 2552 เวลา:16:35:57 น.  

 
กระบวนการผลิตสารสนเทศ

สินค้าต่างๆ เกิดจากการนำเอาวัตถุดิบมาผ่านกระบวนการผลิตเมื่อผ่านขั้นตอนนี้ก็จะได้สินค้าสำเร็จรูปที่พร้อมสำหรับนำออกวางจำหน่ายตามท้องตลาด เช่น การผลิตเสื้อ เกิดจากการนำเอาใยผ้ามาผ่านการฟอก การย้อม การออกแบบ การตัดเย็บและขั้นตอนอื่นๆ จนเสร็จเป็นเสื้อตัวหนึ่ง เปรียบได้กับการผลิตสารสนเทศที่เกิดขึ้นจากการนำเอาข้อมูลมาทำการประมวลผล จากนั้นจะได้สารสนเทศ ที่พร้อมสำหรับการนำไปใช้ประโยชน์

กระบวนการในการผลิตสารสนเทศ เรียกว่า การประมวลผล (Processing) มีองค์ประกอบ ดังนี้

1. การจัดเก็บข้อมูล เป็นขั้นตอนของการจัดเตรียมข้อมูล การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญ หากมีการจัดเตรียมข้อมูลที่ดีผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลย่อมดีตามไปด้วย

2. การบันทึกข้อมูล เป็นขั้นตอนการนำเอาข้อมูลที่มีการจัดเก็บหรือจัดเตรียมไว้มาทำการบันทึกลงในเรื่องคอมพิวเตอร์ เช่น บันทึกไว้ในแผ่นดิสเก็ต ซีดีรอม

3. การตรวจสอบความถูกต้อง เป็นขั้นตอนของการตรวจสอบข้อมูลที่ได้ทำการบันทึกลงในเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว โดยตรวจสอบว่าถูกต้องตรงกับข้อมูลต้นฉบับหรือไม่ และมีความสมเหตุสมผลหรือไม่

4. การจัดกลุ่มและการแยกประเภทข้อมูล เป็นขั้นตอนของการจัดกลุ่มและแยกประเภทข้อมูล ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นหมวดหมู่อย่างเหมาะสม เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการเรียกใช้งาน

5. การประมวลผล เป็นขั้นตอนที่ข้อมูลจะกลายเป็นสารสนเทศโดยนำเอาข้อมูลที่ได้จัดเตรียมไว้มาทำการประมวลผล เพื่อสร้างเป็นผลลัพธ์ เช่น นำเอาคะแนนสอบทั้งปีของนักเรียนมาทำการประมวลผลเป็นคะแนนรวมเพื่อตัดเกรดของนักเรียน

6. การจัดทำรายงาน เป็นขั้นตอนของการนำเอาสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลมาใช้ประโยชน์โดยจัดทำเป็นรายงานในรูปแบบต่างๆ ตามความเหมาะสมกับชนิดของงานแต่ละอย่าง เพื่อความถูกต้องและสะดวกรวดเร็วในการนำไปประกอบการตัดสินใจ

//itucke.hroyy.com/?page_id=115


โดย: นางสาวปวีณา บรรยงค์ หมู่ 1 เรียนบ่าย-วันจัทร์ รหัส50040302112 IP: 192.168.1.49, 124.157.245.253 วันที่: 17 มิถุนายน 2552 เวลา:22:02:33 น.  

 
ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง

กระบวนการในการผลิตสารสนเทศ เรียกว่า การประมวลผล (Processing) มีองค์ประกอบ ดังนี้

1. การจัดเก็บข้อมูล เป็นขั้นตอนของการจัดเตรียมข้อมูล การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญ หากมีการจัดเตรียมข้อมูลที่ดีผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลย่อมดีตามไปด้วย
2. การบันทึกข้อมูล เป็นขั้นตอนการนำเอาข้อมูลที่มีการจดเก็บหรือจัดเตรียมไว้มาทำการบันทึกลงในเรื่องคอมพิวเตอร์ เช่น บันทึกไว้ในแผ่นดิสเก็ต ซีดีรอม
3. การตรวจสอบความถูกต้อง เป็นขั้นตอนของการตรวจสอบข้อมูลที่ได้ทำการบันทึกลงในเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว โดยตรวจสอบว่าถูกต้องตรงกับข้อมูลต้นฉบับหรือไม่ และมีความสมเหตุสมผลหรือไม่
4. การจัดกลุ่มและการแยกประเภทข้อมูล เป็นขั้นตอนของการจัดกลุ่มและแยกประเภทข้อมูล ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นหมวดหมู่อย่างเหมาะสม เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการเรียกใช้งาน
5. การประมวลผล เป็นขั้นตอนที่ข้อมูลจะกลายเป็สารสนเทศโดยนำเอาข้อมูลที่ได้จัดเตรียมไว้มาทำการประมวลผล เพื่อสร้างเป็นผลลัพธ์ เช่น นำเอาคะแนนสอบทั้งปีของนักเรียนมาทำการประมวลผลเป็นคะแนนรวมเพื่อตัดเกรดของนักเรียน
6. การจัดทำรายงาน เป็นขั้นตอนของการนำเอาสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลมาใช้ประโยชน์โดยจัดทำเป็นรายงานในรูปแบบต่างๆ ตามความเหมาะสมกับชนิดของงานแต่ละอย่าง เพื่อความถูกต้องและสะดวกรวดเร็วในการนำไปประกอบการตัดสินใจ

ที่มา //www.vcharkarn.com/vcafe/53170/3




โดย: นางสาวชลดา บุญรุ่ง (หมู่ 08 พฤ เช้า) IP: 192.168.1.115, 58.147.38.196 วันที่: 18 มิถุนายน 2552 เวลา:13:57:36 น.  

 
องค์ประกอบของการผลิตสารสนเทศ
การผลิตสารสนเทศประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 5 ส่วน คือ
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมด้วยอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ได้แก่ เครื่องประมวลผล (CPU) ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูล เมาส์ (Mouse) แป้นพิมพ์ (keyboard) เครื่องพิมพ์ (Printer) รวมไปถึงระบบเครือข่ายต่างๆ ด้วย

2. ซอฟแวร์ (Software)
ซอฟแวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรม (Program) หรือชุดคำสั่งที่เรียงเป็นลำดับขั้นตอน
ที่สามารถส่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ตามต้องการและประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศตามต้องการ
เช่น Microsoft office excel (โปรแกรมเกี่ยวกับการคำนวณหรือการทำตาราง) Microsoft office word (โปรแกรมที่นิยมใช้พิมพ์งาน จดหมาย) เป็นต้น

3. บุคลากร (Peopleware)
บุคลากร (Peopleware) หมายถึง ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ได้แก่ ผู้ใช้ระบบ ผู้ควบคุมระบบ และผู้ได้รับประโยชน์จากระบบสารสนเทศ บุคลากรต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถใน
การดำเนินงานเป็นอย่างดีจึงจะสามารถทำให้ระบบสารสนเทศ มีคุณภาพและประสบความสำเร็จในการจัดระบบ

4. ข้อมูล (Data)
ข้อมูล (Data) หมายถึง ข่าวสาร เอกสาร ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของหรือเหตุการณ์ในรูปแบบของตัวเลข ภาพ ตัวอักษร และสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น คะแนนสอบวิชาภาษาไทย ราคาสินค้า จำนวนนักเรียนในโรงเรียน

5. ขั้นตอนการปฎิบัติงาน (Process)
ขั้นตอนการปฎิบัติงาน (Process) หมายถึง การวางแผนปฎิบัติงานในการจัดทำสารสนเทศ แล้วดำเนินการตามขั้นตอนที่คิดไว้เพื่อให้การผลิตสารสนเทศมีความสมบูรณ์ และเป็นสารสนเทศที่สามารถนำไปอ้างอิงได้
www.thaigoodview.com/library/contest2551/.../2/.../p8.html


โดย: น.ส.ชฎาพร โสภาคำ รหัส52040281117ชีววิทยา(จุลชีววิทยา) ม.8 พฤ(เช้า) IP: 124.157.220.178 วันที่: 21 มิถุนายน 2552 เวลา:16:09:54 น.  

 
ระบบสารสนเทศสำหรับการปฏิบัติงานทางธุรกิจ
(Information Systems for Business Operations)

ระบบสารสนเทศทางการตลาด (Marketing Information Systems)

หน้าที่ทางธุรกิจของการตลาดนั้นเกี่ยวข้องกับ การวางแผน การส่งเสริมการขายและการขายสินค้า รวมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และตลาดใหม่ๆ เพื่อให้บริการที่ดีกว่าแก่ลูกค้าปัจจุบันและลูกค้าที่มีศักยภาพ ( ในการซื้อ) ในอนาคต ดังนั้น การตลาดจึงทำหน้าที่สำคัญในการจัดการธุรกิจการค้า องค์กรธุรกิจจะต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานด้านการตลาดที่สำคัญในอันที่จะต้องเผอิญหน้ากับสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

รูปที่ 10.5 ได้แสดงให้เห็นว่าระบบสารสนเทศทางการตลาดใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนองค์ประกอบที่สำคัญของภารกิจด้านการตลาด เช่น อินเทอร์เน็ต/ อินทราเน็ตเว็บไซท์และบริการการตลาดเชิงโต้ตอบ ได้ทำให้ลูกค้าสามารถมีส่วนในการสร้างสรรค์ การตลาด การจัดซื้อ และการปรับปรุงสินค้าและบริการ ระบบแรงขายอัตโนมัติ (Sale Force Automation Systems) ได้ใช้คอมพิวเตอร์พกพา ร่วมกับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในการทำให้การประมวลผลของงานด้านส่งเสริมและจัดการด้านการขายเป็นอัตโนมัติ ระบบสารสนเทศทางด้านการตลาดอื่นๆ ได้ช่วยผู้จัดการด้านการตลาดในการวางแผนผลิตภัณฑ์ การตั้งราคา การตัดสินใจในเรื่องการจัดการผลิตภัณฑ์ การโฆษณา กลยุทธ์ส่งเสริมการขาย การวิจัยด้านการตลาด และการคาดการณ์ล่วงหน้าทางการตลาด



รูปที่ 10.5 ระบบสารสนเทศด้านการตลาดได้ให้เทคโนโลยีสารสนเทศในการส่งเสริมองค์ประกอบหลักของงานในด้านการตลาด


การตลาดเชิงโต้ตอบ ( Interactive Marketing)

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตได้ส่งผลกระทบสำคัญต่องานด้านการตลาด คำว่า การตลาดเชิงโต้ตอบ เป็นวลีใหม่ที่ใช้อธิบายการตลาดที่อยู่บนพื้นฐานของการใช้อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต และเอ็กซ์ทราเน็ต เพื่อสร้างวิธีให้เกิดการโต้ตอบ 2 ทางระหว่างบริษัทและลูกค้า เป้าหมายของการตลาดเชิงโต้ตอบ คือ การที่ทำให้บริษัทได้รับผลประโยชน์จากการใช้เครือข่ายในการทำให้ลูกค้าเกิดความสนใจและรักษาลูกค้าเหล่านั้นไว้ อันจะทำให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจในการสร้างสรรค์ การจัดซื้อ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัท

รูปที่ 10. 6 แสดงให้เห็นโครงสร้างบางประการของความแตกต่างระหว่างการตลาดเชิงโต้ตอบและรูปแบบอื่นๆของการตลาด โดยอินเทอร์เน็ตได้กลายมาเป็นช่องทางหลักการแพร่กระจายสินค้าในสิ่งแวดล้อมด้านการตลาดแบบออนไลน์


การตลาดขนาดใหญ่
การขายตรง
การตลาดเชิงโต้ตอบ

ช่องทางในการแพร่กระจายสารสนเทศ
การเผยแพร่และสื่อสิ่งพิมพ์ ( ลูกค้าไม่มีส่วนร่วม)
บริการไปรษณีย์โดยใช้รายชื่อจาก Mailing List ( ลูกค้าไม่มีส่วนร่วม)
อินเทอร์เน็ต ( ลูกค้ามีส่วนร่วมและจะช่วยวิเคราะห์ได้ว่าอะไรบ้างที่ควรนำเสนอผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์)

กลยุทธ์ทางการตลาด

( และตัวอย่างผลิตภัณฑ์)
ปริมาณมาก ( อาหาร ครื่องยนต์ สินค้าสำหรับใช้ส่วนบุคคลหรือสำหรับครอบครัว)
สินค้าที่เป็นเป้าหมาย

( สมาชิกเครดิตการ์ด การท่องเที่ยว เครื่องยนต์)
ผู้เยี่ยมชมจากเว็บไซท์ เป็นเป้าหมาย ( บริการและสารสนเทศของสินค้าทุกชนิด)

เทคโนโลยีที่ใช้
Storyboards และ Desktop Publishing
ฐานสารสนเทศและเครื่องมือทางสถิติ
แม่ข่าย บราวเซอร์ เวทีอภิปราย ( Discussion Forums)

เจ้าของวัตถุดิบด้านการตลาด
บริษัทโฆษณา
บริษัทโฆษณาและบริษัท
บริษัทและลูกค้า

ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับเมื่อการนำไปประยุกต์ใช้ประสบความสำเร็จ
ปริมาณยอดขาย
ผลกำไรจากการขาย

สารสนเทศสำหรับการวิเคราะห์
สารสนเทศสำหรับการวิเคราะห์

สัมพันธ์ภาพกับลูกค้า

แนวคิดเรื่องผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ

ผลกำไรจากปริมาณการขาย


รูปที่ 10. 6 เปรียบเทียบการตลาดเชิงโต้ตอบกับการตลาดขนาดใหญ่และระบบขายตรง


แรงขายอัตโนมัติ ( Sale Force Automation)

การเพิ่มจำนวนขึ้นของคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายทำให้เกิดปัจจัยพื้นฐานสำหรับแรงขับเคลื่อนการขายอัตโนมัติ ในหลายๆ บริษัท ใช้คอมพิวเตอร์แบบโน๊ตบุ๊ค (Notebook) เว็บบราวเซอร์ และ ซอฟแวร์ด้านการจัดการติดต่อการขายเป็นเครื่องมือที่จะเชื่อมต่อกับเว็บไซท์การตลาดบนอินเทอร์เน็ต เอ็กซ์ทราเน็ต และอินทราเน็ตของบริษัท วิธีนี้ไม่เพียงแต่เพิ่มผลผลิตของพนักงานขายแต่ละคนเท่านั้น ยังเข้าถึงสารสนเทศการขายที่ได้รับจากภายนอกไปสู่ผู้จัดการด้านการขายที่สำนักงานใหญ่ทำได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น

การจัดการการขายและผลิตภัณฑ์ (Sales and Product Management)

ผู้จัดการด้านการขายจะต้องมีการวางแผน ตรวจตรา และส่งเสริมงานด้านการขายของพนักงานขายในหน่วยงานของตน ดังนั้น องค์กรส่วนใหญ่จึงใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อทำรายงานการวิเคราะห์การขาย ซึ่งทำหน้าที่วิเคราะห์การขายตามผลิตภัณฑ์ สายการผลิต ลูกค้า ประเภทของลูกค้า พนักงานขาย และเขตการขาย ช่วยให้ผู้จัดการฝ่ายการตลาดมองเห็นผลการปฏิบัติงานด้านการขายของผลิตภัณฑ์และพนักงานขาย

การโฆษณาและส่งเสริมการขาย (Advertising and Promotion)

ผู้จัดการด้านการตลาดพยายามที่จะขายผลิตภัณฑ์ให้มากที่สุดโดยใช้ค่าใช้จ่ายให้น้อยที่สุดในการโฆษณาและส่งเสริมการขาย ระบบสารสนเทศด้านการตลาดใช้สารสนเทศด้านการวิจัยการตลาดและแบบจำลองด้านการส่งเสริมการขายเพื่อช่วย 1) เลือกสื่อและวิธีการในการส่งเสริมการขาย 2) จัดสรรแหล่งงบประมาณ 3) ควบคุมและประเมินผลของการโฆษณาและส่งเสริมการขาย

เป้าหมายทางการตลาด (Targeted Marketing)

เป้าหมายทางการตลาดกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนากลยุทธ์ในการโฆษณาและส่งเสริมการขายบนเว็บไซท์เพื่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของบริษัท รูปที่ 10.10 แสดงให้เห็นถึงเป้าหมายทางการตลาดเป็นแนวคิดในการจัดการด้านการโฆษณาและการขาย ซึ่งมีองค์ประกอบที่เป็นเป้าหมาย 5 ประการ

ประชาคม (Community) บริษัทสามารถจำแนกข้อความโฆษณาบนเว็บ และวิธีการส่งเสริมการขายเพื่อที่จะเข้าถึงคนในกลุ่มที่เฉพาะเจาะจง ที่อาจเรียกว่าเป็น กลุ่มของคนที่สนใจ (Communities of Interest) เช่น ชุมชนเสมือน (Virtual Communities) ของผู้ที่สนใจด้านกีฬา ด้านศิลปะและหัตถกรรมหรือกลุ่มด้านภูมิศาสตร์
เนื้อหา (Content) การโฆษณาแบบป้ายโฆษณาทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Billboards) หรือแถบป้าย (Banner) ที่สามารถวางไว้บนหน้าเว็บไซท์ต่างๆได้ นอกเหนือไปจากบนหน้าแรก (Home Page) ของบริษัท ข้อความเหล่านี้สามารถดึงดูดผู้ชมที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย เช่น โฆษณาของภาพยนตร์บนหน้าแรกของ เครื่องมือสืบค้น (Search Engine ) บนอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
บริบท (Context) โฆษณาที่ปรากฏบนเว็บไซท์ มักครอบคลุมผลิตภัณฑ์และการบริการ ดังนั้นโฆษณาจึงมุ่งไปที่กลุ่มคนซึ่งกำลังมองหาสารสนเทศในเรื่องนั้นอยู่แล้ว ( เช่น สารสนเทศการท่องเที่ยว) ซึ่งเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ที่บริษัทมีอยู่พอดี ( เช่น บริการรถให้เช่า)
ประชากรศาสตร์/จิตวิทยา ( Demographic/Psychographic) การตลาดได้พยายามที่จะพุ่งเป้าไปยังประเภทของกลุ่มของคนที่เฉพาะเจาะจง เช่น คนที่ยังไม่ได้แต่งงาน คนที่อายุ 30 ปีขึ้นไป คนที่มีรายได้ระดับกลาง ผู้ชายที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นต้น
พฤติกรรมออนไลน์ (Online Behavior) การโฆษณาและส่งเสริมการขายได้พยายามที่จะเจาะสารสนเทศการเข้าใช้เว็บไซท์ของผู้ใช้แต่ละคน กลยุทธ์นี้ขึ้นอยู่กับเว็บคุกกี้ (Web Cookies) ซึ่งเก็บสารสนเทศของผู้เข้าใช้จากการเข้าเยี่ยมชมครั้งก่อน แฟ้มข้อมูลของคุกกี้จะตามรอยพฤติกรรมของผู้เยี่ยมชมออนไลน์บนเว็บไซท์ ดังนั้น ความพยายามทางการตลาด จึงสามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องและสามารถพุ่งเป้าหมายไปยังการเข้าชมเว็บไซท์ของแต่ละบุคคลได้



ที่ 10. 10 องค์ประกอบที่สำคัญ 5 ประการของเป้าหมายทางการตลาดสำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์บนเว็บ


การวิจัยทางการตลาดและการคาดการณ์ (Market Research and Forecasting)

ระบบสารสนเทศด้านการวิจัยทางการตลาดทำให้เกิดการตลาดที่ชาญฉลาด (Market Intelligence) ช่วยให้ผู้จัดการคาดการณ์ทางการตลาดได้ดีขึ้นและพัฒนากลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ระบบสารสนเทศทางการตลาดช่วยให้นักวิจัยการตลาดรวบรวม วิเคราะห์ และดูแลสารสนเทศจำนวนมหาศาลของการตลาดที่มีการผันแปรอยู่ตลอดเวลา รวมไปถึงสารสนเทศเกี่ยวกับลูกค้า ลูกค้าในอนาคต ผู้บริโภค และคู่แข่งขัน

//www.spu.ac.th/~ktm/chapter10.html


โดย: นางสาวสุจิตรา มหาฤทธิ์ 51040305111 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ หมู่ 01 จันทร์บ่าย IP: 172.29.85.16, 58.137.131.62 วันที่: 23 มิถุนายน 2552 เวลา:13:23:51 น.  

 
แบบฝึกหัดที่ 4

4.1ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง

ตอบ กระบวนการผลิตสารสนเทศ

กระบวนการในการผลิตสารสนเทศ เรียกว่า การประมวลผล (Processing) มีองค์ประกอบ ดังนี้

1. การจัดเก็บข้อมูล เป็นขั้นตอนของการจัดเตรียมข้อมูล การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญ หากมีการจัดเตรียมข้อมูลที่ดีผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลย่อมดีตามไปด้วย

2. การบันทึกข้อมูล เป็นขั้นตอนการนำเอาข้อมูลที่มีการจัดเก็บหรือจัดเตรียมไว้มาทำการบันทึกลงในเรื่องคอมพิวเตอร์ เช่น บันทึกไว้ในแผ่นดิสเก็ต ซีดีรอม

3. การตรวจสอบความถูกต้อง เป็นขั้นตอนของการตรวจสอบข้อมูลที่ได้ทำการบันทึกลงในเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว โดยตรวจสอบว่าถูกต้องตรงกับข้อมูลต้นฉบับหรือไม่ และมีความสมเหตุสมผลหรือไม่

4. การจัดกลุ่มและการแยกประเภทข้อมูล เป็นขั้นตอนของการจัดกลุ่มและแยกประเภทข้อมูล ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นหมวดหมู่อย่างเหมาะสม เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการเรียกใช้งาน

5. การประมวลผล เป็นขั้นตอนที่ข้อมูลจะกลายเป็นสารสนเทศโดยนำเอาข้อมูลที่ได้จัดเตรียมไว้มาทำการประมวลผล เพื่อสร้างเป็นผลลัพธ์ เช่น นำเอาคะแนนสอบทั้งปีของนักเรียนมาทำการประมวลผลเป็นคะแนนรวมเพื่อตัดเกรดของนักเรียน

6. การจัดทำรายงาน เป็น ขั้นตอนของการนำเอาสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลมาใช้ประโยชน์โดยจัดทำเป็น รายงานในรูปแบบต่างๆ ตามความเหมาะสมกับชนิดของงานแต่ละอย่าง เพื่อความถูกต้องและสะดวกรวดเร็วในการนำไปประกอบการตัดสินใจ

ที่มา //www.mit.psu.ac.th/index.php?option=com_fireboard&Itemid=55&func=view&id=52&catid=12






โดย: นางสาว สมฤทัย มิตรอุดม รหัสนักศึกษา 51040240104 ( หมู่ 1 จันทร์บ่าย ) IP: 58.147.7.67 วันที่: 23 มิถุนายน 2552 เวลา:13:39:24 น.  

 
4.1
การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้
TOP

ที่มา :ecurriculum.mv.ac.th/techno/library/.../it/.../03Lesson2.html


โดย: วันพฤหัส(เช้า)หมู่8 นางสาวเจนจิรา จุตตะโน รหัส 52040302126 IP: 1.1.1.157, 202.29.5.62 วันที่: 24 มิถุนายน 2552 เวลา:23:05:30 น.  

 
การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้



โดย: นาย กฤษฎา ศรีรักษา ศุกร์(เช้า) ม.15 IP: 58.147.38.36 วันที่: 25 มิถุนายน 2552 เวลา:15:12:39 น.  

 
ขบวนการในการผลิตประกอบด้วยงานที่ขึ้นต่อกันมากมาย โดยการนำระบบการวางแผนทรัพยากรของ องค์กรมาใช้ร่วมในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิตจะช่วยให้การทำงานมีความยืดหยุ่นและมีการจัดหาทรัพยากรที่ต้องการใช้ได้ทันต่อความต้องการ โดยจุดประสงค์ของขบวนการผลิตก็คือการผลิตได้ตรงตามความพอใจหรือความต้องการของลูกค้านั่นเอง
ในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต ภาระของผู้บริหารในการดูแลควบคุมงานจะถูกลดลงไป, งานด้านเอกสารต่างๆ จะส่วนที่นำเข้าไปยังระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต

ส่วนที่นำเข้าจะได้จากกการปฏิบัติงานซึ่งเกี่ยวกับการไหลเวียนและการแปลงวัตถุดิบภายในองค์กร แหล่ง สารสนเทศที่สำคัญอาจมาจากภายนอกองค์กรก็ได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะมาจากภายใน เช่น

1. แผนเชิงกลยุทธ์และนโยบายของบริษัท ซึ่งจะเป็นส่วนที่กำหนดทิศทางของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต เช่นเอกสารเกี่ยวกับการวางแผนระยะยาวที่กล่าวถึงเรื่องคุณภาพ, การผลิต, และเป้าหมายและข้อจำกัดในการให้บริการ รวมถึงนโยบายในการเปิดโรงงานใหม่หรือการปิดโรงงานเก่าลงและเรื่องของความสามารถในการผลิตที่เพิ่มขึ้นได้, ข้อจำกัดของจำนวนพนักงานที่มี, การเปลี่ยนนโยบายการเก็บสินค้าคงคลัง และโปรแกรมการควบคุมคุณภาพใหม่ที่ต้องการใช้ เหล่านี้จัดเป็นสารสนเทศที่นำเข้าสู่ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต
2. ระบบประมวลผลรายการ ได้แก่ข้อมูลที่ได้จากระบบประมวลผลรายการด้านต่างๆที่เกี่ยวข้อในการผลิต ได้แก่ การประมวลผลการสั่งซื้อ, ข้อมูลสินค้าคงคลัง, ข้อมูลการรับและการตรวจสอบวัตถุดิบที่เข้ามาในขบวนการผลิต, ข้อมูลบุคลากร, และข้อมูลขบวนการผลิต
3. แหล่งข้อมูลภายนอก ได้แก่ ข้อมูลขบวนการในการผลิตใหม่ๆ ซึ่งอาจมาจากบริษัท, วารสาร และสิ่งพิมพ์อื่นๆ หรือได้จาก เครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือข้อมูลเกี่ยวกับสภาพวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้สามารถคาดเดาในเรื่องของแรงงาน และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับวัตถุดิบได้ นอกเหนือจากนี้ยังมีแหล่งข้อมูลภายนอกอื่นๆ อีก เช่น องค์กรผู้เชี่ยวชาญต่างๆ, สมาคมทางธุรกิจ ซึ่งสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับคู่แข่งขัน ทั้งในด้านขบวนการผลิตและกลุ่มลูกค้าใหม่ๆที่น่าสนใจได้

ระบบย่อยและผลที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต

ระบบย่อยและผลลัพธ์ที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต ได้แก่ การตรวจสอบและควบคุมการไหลเวียนของวัตถุดิบ, สินค้า และบริการต่างๆภายในองค์กร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตสินค้าได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า ตั้งแต่เริ่มขบวนการนำวัตถุดิบมาผ่านขั้นตอนการผลิตจนกระทั่งเสร็จเป็นสินค้าและบริการที่จะส่งไปยังลูกค้า โดยที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ระบบย่อยและผลลัพธ์ที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต ได้แก่

1. การออกแบบและการปฏิบัติเชิงวิศวกรรม (Design and Engineering) ได้แก่การพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยสามารถใช้ระบบการออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (Computer-Aided Design : CAD) ซึ่งเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ โดยผู้ใช้สามารถออกแบบและแก้ไข ตัวแบบได้เองบนจอภาพ
2. การจัดตารางการผลิต (Production Planning) เพื่อจัดการรายละเอียดแผนงานการผลิตทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยใช้ซอฟต์แวร์ที่ทำงานในด้านนี้เข้ามาช่วย ซึ่งในซอฟต์แวร์นี้อาจมีคุณสมบัติในการทำนายและพิจารณาหาความต้องการของสินค้าและบริการที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ทำให้สามารถวางแผนเพื่อกำหนดการผลิตให้ได้ตรงตามความต้องการ
3. การควบคุมสินค้าคงคลัง (Inventory Control) ได้แก่การใช้ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการสั่งซื้อ, การทำนาย, การผลิตเอกสารและรายงานร้านค้า, การพิจารณาหาค่าใช้จ่ายในการผลิต, การวิเคราะห์งบประมาณค่าใช้จ่ายที่วางไว้เปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายจริง, และการพัฒนาตารางการผลิต, บอกความต้องการทรัพยากรในการผลิตและวางแผนการผลิตได้อย่างอัตโนมัติ โดยปกติแล้วซอฟต์แวร์ต่างๆเหล่านี้จะมีสูตรในการคำนวณเพื่อหาจำนวนวัตถุดิบและช่วงเวลาที่จะต้องสั่งซื้อได้ วิธีการหาว่าต้องสั่งสินค้ามาไว้ในคลังปริมาณเท่าใดเรียกว่าวิธีการกาปริมาณหารสั่งซื้อมางเศรษฐกิจ (Economic Order Quantity : EOQ) โดยปริมาณที่หาได้นี้จะต้องทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุดด้วย ส่วนการหาว่าต้องสั่งสินค้ามาไว้ในคลังเมื่อใดจะใช้วิธีการหาจุดสั่งซื้อเพิ่ม Reorder Point : ROP) ซึ่งแสดงถึงค่าระดับปริมาณสินค้าคงคลังที่วิกฤติ
4. การวางแผนการใช้ทรัพยากรการผลิต(Manufacturing Resource Planning : MRPII) ได้แก่ระบบที่ใช้การวางแผนเครือข่ายเพื่อให้บุคคลต่างๆ สามารถดำเนินธุรกิจเพื่อให้บริการและผลผลิตแก่ลูกค้าได้เป็นจำนวนมาก ในขณะที่เสียค่าใช้จ่ายและมีสินค้าหรือวัตถุดิบในคลังสินค้าในปริมาณต่ำ โดยมีการทำนายความต้องการของลูกค้า, การควบคุมสินค้าคงคลัง, การวางแผนการผลิต, การแสดง รายการวัตถุดิบที่ต้องใช้, การวางแผนการสรรหาแหล่งวัตถุดิบที่ต้องใช้ เพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ จะถูกส่งไปให้แก่ลูกค้าได้ในเวลาที่ต้องการ
5. การควบคุมสินค้าและการผลิตที่ทันเวลา (Just-in-Time Inventory and Manufacturing) การเก็บสินค้าและวัตถุดิบในคลังสินค้าเป็นจำนวนมากทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูง และอาจเกิดการเสียหายได้ ดังนั้นวัตถุประสงค์หนึ่งของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิตก็คือ การควบคุมสินค้าคงคลังให้อยู่ในระดับที่ต่ำที่สุด โดยไม่กระทบกับความต้องการในการนำสินค้าหรือวัตถุดิบนั้นไปใช้ในการผลิต วิธีที่นิยมใช้ได้แก่วิธีการควบคุมคลังสินค้าแบบทันเวลา (Just-in-Time : JIT Inventory Approach) ซึ่งสินค้าและวัตถุดิบจะถูกส่งไปให้ในช่วงเวลาก่อนที่จะสินค้าหรือวัตถุดิบนั้นไปใช้ในการผลิต ทำให้ไม่ต้องเก็บไว้ในคลังสินค้าเป็นช่วงเวลานานๆ
6. การควบคุมขบวนการผลิต ในการควบคุมการผลิตมีเทคโนโลยีที่สนับสนุนมากมาย เช่น การผลิตโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (Computer-Aided Manufacturing : CAM) เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการด้านการผลิต เช่น การตรวจสอบและติดตาม ได้แก่การควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ในการผลิตต่างๆ การตรวจสอบค่าและข้อกำหนดในการผลิตต่างๆ เช่น อุณหภูมิที่ใช้ ค่าความดันอากาศฯลฯ หรือใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการกำหนดรหัสสินค้า การจัดลำดับในขบวนการผลิต เป็นต้น
7. การนำคอมพิวเตอร์เข้าไปช่วยในการผลิต (Computer-Integrated Manufacturing : CIM) ได้แก่การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมโยงองค์ประกอบต่างๆในขบวนการผลิตเข้าด้วยกันเป็นระบบที่มี ประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวมขั้นตอนการผลิตทั้งหมด เช่น การประมวลผลการสั่งซื้อ, การออกแบบผลิตภัณฑ์, การผลิต การควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพ และการขนส่งเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มประสิทธภาพในด้านการทำงานส่วนต่างๆ ที่ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน โดยอาจนำระบบการผลิตแบบคล่องตัว (Flexible Manufacturing System : FMS) เข้ามาใช้ร่วมด้วย ทำให้สามารถเปลี่ยนการผลิตสินค้าอย่างหนึ่งเป็นอีกอย่างหนึ่งเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
8. การควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพ (Quality Control and Testing) ได้แก่ขบวนการในการในการควบคุมเพื่อให้แน่ใจว่าสินค้าที่ผลิตออกมาตรงตามที่ลูกค้าต้องการ โดยใช้ซอฟต์แวร์ในการควบคุมคุณภาพ ต่างๆ ผลลัพธ์ที่ได้จากระบบการควบคุมคุณภาพ ได้แก่รายงาน ค่าใช้จ่ายที่ลดลงและยอดขายที่เพิ่มขึ้น โดยสารสนเทศที่ได้จากระบบนี้จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทราบถึงปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์การผลิตและรายงานควบคุมคุณภาพยังใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ดีขึ้นอีกด้วย

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการตลาด

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการตลาด จะสนับสนุนการทำงานด้านการบริหารการพัฒนาผลิตภัณฑ์, การกระจายผลิตภัณฑ์, การตัดสินใจเรื่องราคา, การโฆษณาผลิตภัณฑ์อย่างมีประสิทธิผลและการทำนายยอดขาย โดยรูปที่ 17 แสดงภาพรวมของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการตลาด

ถูกปรับให้อยู่ในรูปของขบวนการออนไลน์และการติดต่อสื่อสารข้อมูลจะใช้งานผ่านระบบการ แลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (EDI) และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแทน อีกทั้งในการวางแผนการใช้ทรัพยากรของ องค์กรเพื่อการผลิตจะใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายอินทราเน็ตในองค์กร เพื่อติดต่อกับหน่วยงานธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ เพื่อปฏิบัติงานและงานควบคุมงานต่างๆ ทั้งแบบศูนย์กลางและแบบกระจายได้ รูปที่ 16 แสดงภาพรวมของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต
ที่มา //irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/Knowledge/Management%20Information%20Systems/mis6.htm


โดย: นางสาวลำไพ พูลเกษม ม.15 ศุกร์ เช้า วันที่ 25 มิ.ย. 2552 IP: 58.147.38.36 วันที่: 25 มิถุนายน 2552 เวลา:15:25:39 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง

คำตอบคือ...

ระบบย่อยและผลที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต

ระบบย่อยและผลลัพธ์ที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต ได้แก่ การตรวจสอบและควบคุมการไหลเวียนของวัตถุดิบ, สินค้า และบริการต่างๆภายในองค์กร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตสินค้าได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า ตั้งแต่เริ่มขบวนการนำวัตถุดิบมาผ่านขั้นตอนการผลิตจนกระทั่งเสร็จเป็นสินค้าและบริการที่จะส่งไปยังลูกค้า โดยที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ระบบย่อยและผลลัพธ์ที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต ได้แก่

1. การออกแบบและการปฏิบัติเชิงวิศวกรรม (Design and Engineering) ได้แก่การพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยสามารถใช้ระบบการออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (Computer-Aided Design : CAD) ซึ่งเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ โดยผู้ใช้สามารถออกแบบและแก้ไข ตัวแบบได้เองบนจอภาพ
2. การจัดตารางการผลิต (Production Planning) เพื่อจัดการรายละเอียดแผนงานการผลิตทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยใช้ซอฟต์แวร์ที่ทำงานในด้านนี้เข้ามาช่วย ซึ่งในซอฟต์แวร์นี้อาจมีคุณสมบัติในการทำนายและพิจารณาหาความต้องการของสินค้าและบริการที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ทำให้สามารถวางแผนเพื่อกำหนดการผลิตให้ได้ตรงตามความต้องการ
3. การควบคุมสินค้าคงคลัง (Inventory Control) ได้แก่การใช้ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการสั่งซื้อ, การทำนาย, การผลิตเอกสารและรายงานร้านค้า, การพิจารณาหาค่าใช้จ่ายในการผลิต, การวิเคราะห์งบประมาณค่าใช้จ่ายที่วางไว้เปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายจริง, และการพัฒนาตารางการผลิต, บอกความต้องการทรัพยากรในการผลิตและวางแผนการผลิตได้อย่างอัตโนมัติ โดยปกติแล้วซอฟต์แวร์ต่างๆเหล่านี้จะมีสูตรในการคำนวณเพื่อหาจำนวนวัตถุดิบและช่วงเวลาที่จะต้องสั่งซื้อได้ วิธีการหาว่าต้องสั่งสินค้ามาไว้ในคลังปริมาณเท่าใดเรียกว่าวิธีการกาปริมาณหารสั่งซื้อมางเศรษฐกิจ (Economic Order Quantity : EOQ) โดยปริมาณที่หาได้นี้จะต้องทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุดด้วย ส่วนการหาว่าต้องสั่งสินค้ามาไว้ในคลังเมื่อใดจะใช้วิธีการหาจุดสั่งซื้อเพิ่ม Reorder Point : ROP) ซึ่งแสดงถึงค่าระดับปริมาณสินค้าคงคลังที่วิกฤติ
4. การวางแผนการใช้ทรัพยากรการผลิต(Manufacturing Resource Planning : MRPII) ได้แก่ระบบที่ใช้การวางแผนเครือข่ายเพื่อให้บุคคลต่างๆ สามารถดำเนินธุรกิจเพื่อให้บริการและผลผลิตแก่ลูกค้าได้เป็นจำนวนมาก ในขณะที่เสียค่าใช้จ่ายและมีสินค้าหรือวัตถุดิบในคลังสินค้าในปริมาณต่ำ โดยมีการทำนายความต้องการของลูกค้า, การควบคุมสินค้าคงคลัง, การวางแผนการผลิต, การแสดง รายการวัตถุดิบที่ต้องใช้, การวางแผนการสรรหาแหล่งวัตถุดิบที่ต้องใช้ เพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ จะถูกส่งไปให้แก่ลูกค้าได้ในเวลาที่ต้องการ
5. การควบคุมสินค้าและการผลิตที่ทันเวลา (Just-in-Time Inventory and Manufacturing) การเก็บสินค้าและวัตถุดิบในคลังสินค้าเป็นจำนวนมากทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูง และอาจเกิดการเสียหายได้ ดังนั้นวัตถุประสงค์หนึ่งของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิตก็คือ การควบคุมสินค้าคงคลังให้อยู่ในระดับที่ต่ำที่สุด โดยไม่กระทบกับความต้องการในการนำสินค้าหรือวัตถุดิบนั้นไปใช้ในการผลิต วิธีที่นิยมใช้ได้แก่วิธีการควบคุมคลังสินค้าแบบทันเวลา (Just-in-Time : JIT Inventory Approach) ซึ่งสินค้าและวัตถุดิบจะถูกส่งไปให้ในช่วงเวลาก่อนที่จะสินค้าหรือวัตถุดิบนั้นไปใช้ในการผลิต ทำให้ไม่ต้องเก็บไว้ในคลังสินค้าเป็นช่วงเวลานานๆ
6. การควบคุมขบวนการผลิต ในการควบคุมการผลิตมีเทคโนโลยีที่สนับสนุนมากมาย เช่น การผลิตโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (Computer-Aided Manufacturing : CAM) เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการด้านการผลิต เช่น การตรวจสอบและติดตาม ได้แก่การควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ในการผลิตต่างๆ การตรวจสอบค่าและข้อกำหนดในการผลิตต่างๆ เช่น อุณหภูมิที่ใช้ ค่าความดันอากาศฯลฯ หรือใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการกำหนดรหัสสินค้า การจัดลำดับในขบวนการผลิต เป็นต้น
7. การนำคอมพิวเตอร์เข้าไปช่วยในการผลิต (Computer-Integrated Manufacturing : CIM) ได้แก่การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมโยงองค์ประกอบต่างๆในขบวนการผลิตเข้าด้วยกันเป็นระบบที่มี ประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวมขั้นตอนการผลิตทั้งหมด เช่น การประมวลผลการสั่งซื้อ, การออกแบบผลิตภัณฑ์, การผลิต การควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพ และการขนส่งเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มประสิทธภาพในด้านการทำงานส่วนต่างๆ ที่ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน โดยอาจนำระบบการผลิตแบบคล่องตัว (Flexible Manufacturing System : FMS) เข้ามาใช้ร่วมด้วย ทำให้สามารถเปลี่ยนการผลิตสินค้าอย่างหนึ่งเป็นอีกอย่างหนึ่งเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
8. การควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพ (Quality Control and Testing) ได้แก่ขบวนการในการในการควบคุมเพื่อให้แน่ใจว่าสินค้าที่ผลิตออกมาตรงตามที่ลูกค้าต้องการ โดยใช้ซอฟต์แวร์ในการควบคุมคุณภาพ ต่างๆ ผลลัพธ์ที่ได้จากระบบการควบคุมคุณภาพ ได้แก่รายงาน ค่าใช้จ่ายที่ลดลงและยอดขายที่เพิ่มขึ้น โดยสารสนเทศที่ได้จากระบบนี้จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทราบถึงปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์การผลิตและรายงานควบคุมคุณภาพยังใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ดีขึ้นอีกด้วย

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการตลาด

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการตลาด จะสนับสนุนการทำงานด้านการบริหารการพัฒนาผลิตภัณฑ์, การกระจายผลิตภัณฑ์, การตัดสินใจเรื่องราคา, การโฆษณาผลิตภัณฑ์อย่างมีประสิทธิผลและการทำนายยอดขาย โดยรูปที่ 17 แสดงภาพรวมของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการตลาด

ที่มา...
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=numpuang&date=27-03-2009&group=7&gblog=5


โดย: นางสาวศศิวิมล ภาณุพงศ์ภูสิทธิ์ หมู่8(พฤหัสเช้า) IP: 125.26.243.46 วันที่: 25 มิถุนายน 2552 เวลา:22:42:40 น.  

 
แบบฝึกหัด
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง

การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้ อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การ ทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ความ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมุลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบ ข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมุลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะคือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูล เป็น หมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณ์ ที่หมาะสมมีความหมายและเป็น ประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูลและการกำหนด รหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล ว่าจะจัดเรียงลำดับระเบียบ ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกันหรือแบ่ง กลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้น ต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัย ของ ข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็น สารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูล ในรูปความสัมพันธ์ กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการ ของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ ผ่านการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออก จากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้าย ของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำให้แบบ เอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ

//www.geocities.com/gr421317/information.html
ที่มา


โดย: นางสาวอังสุมารินทร์ ลุนนิมิตร (ม.15 ศ.เช้า) IP: 172.29.6.8, 202.29.5.62 วันที่: 26 มิถุนายน 2552 เวลา:8:25:41 น.  

 
การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้
ecurriculum.mv.ac.th/techno/library/.../it/.../03Lesson2.html


โดย: นางสาวอรนนิดา วรินทรา ม. 15 (ศ.เช้า) IP: 172.29.6.25, 202.29.5.62 วันที่: 26 มิถุนายน 2552 เวลา:8:37:14 น.  

 
ระบบสารสนเทศทางการผลิต
(Production Information System)
ความหมายอย่างสั้น
ระบบสารสนเทศทางการผลิต คืออะไร?
ระบบสารสนเทศทางการผลิต (Production Information System) คือ การนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อช่วยในการทำกิจกรรมต่างๆทางการผลิต แล้วสร้างเป็นฐานข้อมูลเพื่อความสะดวกในการเก็บรักษา มีการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจในขอบเขตต่างๆ เกี่ยวกับการผลิต
ความสำคัญของเรื่อง
คอมพิวเตอร์กับการผลิต
การผลิตเป็นหน้าที่หนึ่งในองค์กร ซึ่งรับผิดชอบเกี่ยวกับการผลิตสินค้าจากวัตถุดิบ สินค้าที่ผลิตจะต้องได้คุณภาพ ทันต่อเวลาที่ต้องการใช้ และจะต้องก่อให้เกิดการสูญเสียที่น้อยที่สุด ตัวอย่างเช่น ประเทศสหรัฐอเมริกามักนิยมนำการควบคุมคุณภาพรวม (TQM) มาใช้ในการจัดการการผลิต ในยุโรปก็จะมีการกำหนดมาตรฐานในการผลิต โดยใช้มาตรฐาน ISO 9000 หรือ ISO 14000 มาใช้ในการควบคุมการผลิต แต่ในประเทศญี่ปุ่นมักจะใช้ระบบ Just-in-Time และ KaiZen มาช่วยในการควบคุมการผลิตให้ทันเวลา และมีการปรับปรุงคุณภาพตลอดเวลา เป็นต้น ผบริหารในโรงงานจำเป็นจะต้องรู้เกี่ยวกับการไหลของข้อมูลการผลิต การตัดสินใจในกระบวนการผลิตโดยส่วนใหญ่ จึงมักจะมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการผลิต เช่น
1. การออกแบบผลิตภัณฑ์ ส่วนมากโรงงานอุตสาหกรรมจะนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการช่วยออกแบบ เช่น โปรแกรมประเภท CAD, CAE และ Aotocad
2. การออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวก ภายหลังจากออกแบบผลิตภัณฑ์แล้ว ผู้บริหารอาจมีแผนสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในการผลิต เช่น การเปลี่ยนตำแหน่งในการทำงาน หรือการออกแบบผังการทำงานใหม่โดยใช้แบบจำลองของ Monte Carlo มาช่วยในการออกแบบ
3. การผลิต การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในเรื่องการผลิตสินค้า การตัดสินใจในเรื่องการผลิตสินค้า โครงการจัดทำข้อมูลองค์ความรู้ งวดที่ 1 : นิยามธุรกิจ: เทคโนโลยีสารสนเทศ (งวด2) 1/3
ความหมายอย่างละเอียด
ควบคุมการผลิตได้อย่างถูกต้องด้วย MRP II
ในปัจจุบันได้มีการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการควบคุมการผลิตมาก โดยเฉพาะ
โปรแกรม MRP II นับเป็นโปรแกรมยอดฮิตที่เข้ามามีบทบาทในเรื่องการควบคุมการผลิตมาก
การทำงานของระบบ MRP II
โดยเริ่มจากบริษัทจะต้องมีการพยากรณ์การขาย และพิจารณาถึงความสามารถในการผลิต
ของเครื่องจักร เพื่อช่วยในการจัดตารางการผลิตให้กับเครื่องจักร ในขณะเดียวกันจะได้เตรียม
เกี่ยวกับวัตถุดิบที่จำเป็นต้องใช้ในกระบวนการผลิต ซึ่งแหล่งของวัตถุดิบจะต้องมีการตรวจสอบ
จากสินค้าคงคลังที่คงเหลือ จำนวนวัตถุดิบที่ต้องการใช้ การสั่งซื้อจากผู้ขายวัตถุดิบ และ
ความสามารถในการเก็บวัตถุดิบของโกดัง เพื่อประกอบในการตัดสินใจเกี่ยวกับวัตถุดิบ
นอกจากนั้น ยังมีการแสดงผลลัพธ์ที่แท้จริงจากการผลิต และทำเป็นรายงานแจ้งผู้บริหารอีกด้วย
ระบบสารสนเทศทางการผลิตมีโปรแกรมให้เลือกใช้มากมาย การจะตัดสินใจว่าควร
เลือกใช้โปรแกรมใด ควรพิจารณาถึงลักษณะการผลิตของโรงงานเป็นหลัก เช่น การใช้ MRP II
นั้น อาจจะใช้ได้กับลักษณะการผลิตในระบบผลัก (Push System) ซึ่งมีการผลิตในแต่ละครั้งเป็น
โครงการจัดทำข้อมูลองค์ความรู้ งวดที่ 1 : นิยามธุรกิจ: เทคโนโลยีสารสนเทศ (งวด2) 2/3
(Pull System) เช่น ระบบการผลิต
แบบ Just-in-Time ของประเทศญี่ปุ่น จึงต้องมีการเลือกใช้โปรแกรมการควบคุมการผลิตที่
เหมาะสมกับการผลิต
ข้อพิจารณาในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
รูปแบบการผลิตที่ต่างกันย่อมมีระบบสารสนเทศที่ต่างกัน
เพื่อประโยชน์อันสูงสุดจากการนำระบบสารสนเทศมาใช้กับการผลิต เราควรแยกแยะ
วิธีการผลิตของแต่ละโรงงานให้ชัดเจนเสียก่อน ซึ่งวิธีการผลิตหลักๆ มีดังนี้
1. Job-shop production วิธีการผลิตจะผลิตครั้งละน้อยๆตามใบสั่งซื้อของลูกค้า หรือ
บางครั้งเรียกว่า Process-focused system
2. Flow-shop production วิธีการผลิตจะเป็นการผลิตสินค้าที่มีรูปแบบไม่มาก หรือไม่
เปลี่ยนแปลง แต่มีการผลิตครั้งละมากๆและมีการผลิตแบบต่อเนื่อง หรือบางครั้ง
เรียกว่า Product-focused system
3. Batch production วิธีนี้จะมีรูปแบบการผลิตที่แน่นอน มีการกำหนดว่าการผลิต
แต่ละครั้งได้กี่ชิ้น
คำไข (Keywords) : Production Information System, MRP II, ระบบสารสนเทศทางการผลิต การผลิต คอมพิวเตอร์ ระบบการจัดการ เทคโนโลยีสารสนเทศ ความรู้อ้างอิง นิยามธุรกิจ
แหล่งข้อมูล :
จรณิต แก้วกังวาล. การออกแบบและจัดการฐานข้อมูล. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
เกี่ยวกับผู้จัดทำ :
ชื่อ : นางสาว วัชรี ว่องอรุณ
การศึกษา : ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์ธุรกิจมหาบัณฑิต (English Program)
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2001
ประสบการณ์ : ปัจจุบันทำงานตำแหน่ง Planning Officer ให้กับ
Thai Petrochemical Industry Public Company Limited (TPI)
โครงการจัดทำข้อมูลองค์ความรู้ งวดที่ 1 : นิยามธุรกิจ: เทคโนโลยีสารสนเทศ (งวด2) 3/3


ที่มา //www.ismed.or.th/SME2/src/upload/knowledge/118915256546e10735cdefd.pdf


โดย: อนุชิต จำปาเรือง 15 (ศ ช) IP: 172.29.6.24, 202.29.5.62 วันที่: 26 มิถุนายน 2552 เวลา:9:05:44 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง

กระบวนการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา 9 ขั้น ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
สภาพและปัญหาต่าง ๆ ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถและวัสดุอุปกรณ์ที่เพียงพอกับการปฏิบัติงานแต่โดยหน้าที่รับผิด ชอบโดยตรงจำเป็นต้องดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศทางการ ศึกษา ที่สมบูรณ์ ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นปัจจุบันที่สุด
ผู้วิจัยซึ่งดำรงตำแหน่งนักวิชาการศึกษา จึงสนใจที่จะศึกษาสภาพและปัญหาระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 9 เพื่อเป็นข้อสนเทศในการแก้ไขปรับปรุงพัฒนางานในสำนักศึกษาธิการจังหวัด และสำนักงานศึกษาธิการอำเภอให้เกิดประสิทธิภาพ
แนวคิดทฤษฎี
-
1.แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศของกระทรวงศึกษาธิการ
1.1 นโยบายกระทรวงศึกษาธิการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.2 วิสัยทัศน์เทคโนโลยีสารสนเทศ
1.3 ภารกิจหลักด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.4 เป้าหมายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2543-2545)
1.5 แผนงานหลัก
1.6 แผนปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
2.ระบบการผลิตข้อมูลสารสนเทศ
2.1 ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ
2.2 ระบบ และวิธีการประมวลผลข้อมูล
2.3 คุณสมบัติสารสนเทศ
2.4 ลักษณะและประเภทของสารสนเทศ
2.5 องค์ประกอบในการพัฒนาระบบสารสนเทศ
2.6 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร
2.7 สารสนเทศทางการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ
2.8 สารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษาระดับจังหวัด
3.กระบวนการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา
3.1 การรวบรวม (Capturing )
3.2 การตรวจสอบ (verifying)
3.3 การจำแนก (Classifying)
3.4 การจัดเรียงลำดับ (Arranging / Sorting)
3.5 การสรุป (Summarizing)
3.6 การคำนวณ (Calculating)
3.7 การจัดเก็บ (Storing)
3.8 การเรียกใช้ (Retrieving)
3.9 การเผยแพร่ (Disseminating)
4. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กับบทบาทหน้าที่การผลิตสารสนเทศทางการศึกษา
4.1 บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ
4.2 โครงสร้างสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
4.3 สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 9
4.4 บทบาทหน้าที่ของสำนักศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ กับระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา
5.งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
5.1 งานวิจัยในประเทศ
5.2 งานวิจัยในต่างประเทศ
วัตถุประสงค์
-
1.เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของสำนักงาน ศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ในเขตการศึกษา 9
2.เพื่อศึกษาระดับปัญหาของระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ในเขตการศึกษา 9
3.เพื่อเปรียบเทียบระดับปัญหาระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของสำนักงาน ศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ในเขตการศึกษา 9 ในกระบวนการผลิต 9 ขั้น

สมมุติฐานการวิจัย
- ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานมความคิดเกี่ยวกับปัญกาของระบบการผลิตสารสนเทศทาง การศึกษาของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการในเขตการศึกษา 9 โดยรวมและเป็นรายด้านไม่ต่างกัน
ระเบียบวิธีวิจัย
- ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจ
ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง

1.ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร คือ ศึกษาธิการจังหวัด ผู้ช่วยศึกษาธิการจังหวัด ศึกษาธิการอำเภอ ผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอ และผู้ปฏิบัติงาน คือนักวิชาการศึกษาจังหวัด และนักวิชาการศึกษาอำเภอ ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ในเขตการศึกษา 9 (สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. 2543 : 215-227) จำนวน 303 คน
2.กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงาน ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ในเขตการศึกษา 9 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้อัตราร้อยละ 80 และสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Randon Sanpling) ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น จำนวน 242 คน
ตัวแปร
-
นิยามศัพท์
-
1.สภาพการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา หมายถึง สภาวะที่เป็นอยู่ของการจัดดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา ในกระบวนการคิด การออกแบบ การเลือก วิธีการ ตลอดจนการนำเครื่องมือ เครื่องใช้ และสื่อต่าง ๆ มาใช้ในการปฏิบัติงานการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา ในกระบวนการ 9 ขั้น คือ ขั้นการรวบรวม การตรวจสอบ การจำแนก การจัดเรียงลำดับ การสรุปการคำนวณ การจัดเก็บ การเรียกใช้ และการเผยแพร่
2.ปัญหาการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา หมายถึง อุปสรรค หรือข้อขัดข้องต่าง ๆ ที่เกิดจากการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
-
เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีจำนวน 2 ฉบับ ดังนี้
1.ฉบับที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพและปัญหาระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 9 เพื่อสอบถามผู้บริหาร
2. ฉบับที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพและปัญหาระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 9 เพื่อสอบถามผู้ปฏิบัติงาน
นำแบบสอบถามไปทดลองใช้กับศึกษาธิการจังหวัด ผู้ช่วยศึกษาธิการจังหวัด ศึกษาธิการอำเภอ ผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอ นักวิชาการศึกษาจังหวัด และนักวิชาการศึกษาอำเภอ ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ที่จังหวัดมหาสารคาม ในเขตการศึกษา 10 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจำนวน 50 ชุด นำแบบสอบถามาหาค่าอำนาจจำแนกรายข้อโดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย ได้ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.26-0.84 และหาค่าความเชื่อมั่น โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาตามวิธีของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.98
วิธีการรวบรวมข้อมูล
-
การวิเคราะห์ข้อมูล
-
ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows ดังนี้
1.คำนวณหาค่าร้อยละ จากแบบสอบถามตอนที่ 1 และตอนที่ 2 ที่เป็นลักษณะแบบตรวจสอบรายการ
2.แบบสอบถามตอนที่ 3 ที่เป็นลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) วิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
3.วิเคราะห์เปรียบเทียบปัญหาระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติโดยรวมและจำแนกรายด้าน โดยใช้ t-test ( Independent Sample)
สรุปผลวิจัย
-
ผลการวิจัยพบว่า
1.สภาพการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 9
1.1 ด้านอาคารสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและสำนักงาน ศคึกษาธิการอำเภอ ส่วนใหญ่ที่มีห้องจัดระบบข้อมูลสารสนเทศเป็นห้องที่ใช้รวมกับงานอื่น ๆ มีอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ สำหรับการปฏิบัติงาน ดังนี้ เครื่องคอมพิวเตอร์ประมาณ 1-2 เครื่อง แฟ้มเก็บข้อมูลสารสนเทศ เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย โต๊ะ เก้าอี้ทำงาน กระดานไวท์บอร์ด โทรศัพท์
1.2 ด้านบุคลากร บุคลากรที่ปฏิบัติงาน ไม่เพียงพอต่อปริมาณงานที่รับผิดชอบมีเจ้าหน้าที่ด้านคอมพิวเตอร์ในระดับบริหาร
1.3 ด้านงบประมาณ ในการจัดหาเครื่องมือการผลิตสารสนเทศส่วนใหญ่ใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน
1.4 ด้านการจัดการ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด และสำนักงานคึกษาธิการอำเภอ ใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศ ผู้บริหารส่วนใหญ่รับผิดชอบงานข้อมูลสารสนเทศในหน่วยงาน รวมกับผู้ปฏิบัติงาน
2.ผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่มีการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา โดยรวมและจำแนกเป็นรายด้าน และส่วนมากมีการดำเนินงานด้านการรวบรวมข้อมูล
3. บุคลากรโดยรวมและจำแนกตามประเภทบุคลากร มีปัญหาการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา โดยรวมและจำแนกเป็นรายด้าน ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการเผยแพร่ข้อมูล และมีด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการคำนวณข้อมูล

ข้อเสนอแนะ
-
1.ควรวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา
2.ควรวิจัยระบบและการจัดเก็บข้อสารสนเทศทางการศึกษาที่สะดวกต่อการบริหารงานและการปฏิบัติงาน

ที่มา //www.thaiedresearch.org/result/result


โดย: ศุภชัย จันทาพูน IP: 125.26.164.252 วันที่: 28 มิถุนายน 2552 เวลา:21:38:46 น.  

 

การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้
ecurriculum.mv.ac.th/techno/library/.../it/.../03Lesson2.html





โดย: นางสาววินภา พินิจมนตรี 51241151116 รูปแบบพิเศษหมู่5 วันเสาร์บ่ายโมง IP: 125.26.178.231 วันที่: 29 มิถุนายน 2552 เวลา:10:31:52 น.  

 

การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้
ecurriculum.mv.ac.th/techno/library/.../it/.../03Lesson2.html





โดย: นายสุรพล อินทร์ธิราช รูปแบบพิเศษวันเสาร์ หมู่ 5 IP: 125.26.178.231 วันที่: 29 มิถุนายน 2552 เวลา:10:32:50 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง
การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
1. การรวบรวม (Capturing)
2. การตรวจสอบ (Verifying)
3. การจำแนก (Classifying)
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging)
5. การสรุป (Summarizing)
6. การคำนวณ (Calculating)
7. การจัดเก็บ (Storing)
8. การเรียกใช้ (Retrieving)
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing)


โดย: นางสาวเบญจมาศ ปวงสุข ศศ.บ.ภาษาอังกฤษ3/1 รหัส 50040302108 หมู่ 1 เรียนจันทร์-บ่าย IP: 172.29.9.44, 58.137.131.62 วันที่: 29 มิถุนายน 2552 เวลา:13:26:32 น.  

 
ตอบข้อที่4.1
การผลิตสารสนเทศ
การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้
ที่มา //ecurriculum.mv.ac.th/techno/library/computer/it/it/HTM/03Lesson2.html


โดย: นางสาวอรสา จุไธสง หมู่ 1 (จันทร์บ่าย) IP: 172.29.9.56, 58.137.131.62 วันที่: 29 มิถุนายน 2552 เวลา:13:26:40 น.  

 
ตอบข้อที่4.1
การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้
ที่มา
//ecurriculum.mv.ac.th/techno/library/computer/it/it/HTM/03Lesson2.html


โดย: นางสาวอรสา จุไธสง หมู่ 1 (จันทร์บ่าย) IP: 172.29.9.56, 58.137.131.62 วันที่: 29 มิถุนายน 2552 เวลา:13:30:19 น.  

 
1.ตอบ การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้ อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การ ทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ความ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมุลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบ ข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมุลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะคือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูล เป็น หมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณ์ ที่หมาะสมมีความหมายและเป็น ประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูลและการกำหนด รหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล ว่าจะจัดเรียงลำดับระเบียบ ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกันหรือแบ่ง กลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้น ต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัย ของ ข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็น สารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูล ในรูปความสัมพันธ์ กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการ ของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ ผ่านการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออก จากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้าย ของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำให้แบบ เอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ


ที่มา: //www.bcoms.net/temp/lesson8.asp


โดย: 52040281122 ชื่อนางสาวณัฐติยา โกศิลา (หมู่08 วันพฤหัสบดีเช้า) IP: 172.29.168.124, 58.137.131.62 วันที่: 29 มิถุนายน 2552 เวลา:15:58:31 น.  

 
ข้อ1

การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้
ที่มา//ecurriculum.mv.ac.th/techno/library/computer/it/it/HTM/03Lesson2.html



โดย: น.ส นิภารัตน์ เครือเนตร (ม.1 จันทร์ บ่าย)รหัส 51040240103 IP: 172.29.168.65, 58.137.131.62 วันที่: 29 มิถุนายน 2552 เวลา:16:13:03 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง

วิธีการผลิตสารสนเทศ ได้แก่ การตรวจสอบและควบคุมการไหลเวียนของวัตถุดิบ, สินค้า และบริการต่างๆภายในองค์กร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตสินค้าได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า ตั้งแต่เริ่มขบวนการนำวัตถุดิบมาผ่านขั้นตอนการผลิตจนกระทั่งเสร็จเป็นสินค้าและบริการที่จะส่งไปยังลูกค้า โดยที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ระบบย่อยและผลลัพธ์ที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต ได้แก่

1. การออกแบบและการปฏิบัติเชิงวิศวกรรม (Design and Engineering) ได้แก่การพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยสามารถใช้ระบบการออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (Computer-Aided Design : CAD) ซึ่งเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ โดยผู้ใช้สามารถออกแบบและแก้ไข ตัวแบบได้เองบนจอภาพ
2. การจัดตารางการผลิต (Production Planning) เพื่อจัดการรายละเอียดแผนงานการผลิตทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยใช้ซอฟต์แวร์ที่ทำงานในด้านนี้เข้ามาช่วย ซึ่งในซอฟต์แวร์นี้อาจมีคุณสมบัติในการทำนายและพิจารณาหาความต้องการของสินค้าและบริการที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ทำให้สามารถวางแผนเพื่อกำหนดการผลิตให้ได้ตรงตามความต้องการ
3. การควบคุมสินค้าคงคลัง (Inventory Control) ได้แก่การใช้ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการสั่งซื้อ, การทำนาย, การผลิตเอกสารและรายงานร้านค้า, การพิจารณาหาค่าใช้จ่ายในการผลิต, การวิเคราะห์งบประมาณค่าใช้จ่ายที่วางไว้เปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายจริง, และการพัฒนาตารางการผลิต, บอกความต้องการทรัพยากรในการผลิตและวางแผนการผลิตได้อย่างอัตโนมัติ โดยปกติแล้วซอฟต์แวร์ต่างๆเหล่านี้จะมีสูตรในการคำนวณเพื่อหาจำนวนวัตถุดิบและช่วงเวลาที่จะต้องสั่งซื้อได้ วิธีการหาว่าต้องสั่งสินค้ามาไว้ในคลังปริมาณเท่าใดเรียกว่าวิธีการกาปริมาณหารสั่งซื้อมางเศรษฐกิจ (Economic Order Quantity : EOQ) โดยปริมาณที่หาได้นี้จะต้องทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุดด้วย ส่วนการหาว่าต้องสั่งสินค้ามาไว้ในคลังเมื่อใดจะใช้วิธีการหาจุดสั่งซื้อเพิ่ม Reorder Point : ROP) ซึ่งแสดงถึงค่าระดับปริมาณสินค้าคงคลังที่วิกฤติ
4. การวางแผนการใช้ทรัพยากรการผลิต(Manufacturing Resource Planning : MRPII) ได้แก่ระบบที่ใช้การวางแผนเครือข่ายเพื่อให้บุคคลต่างๆ สามารถดำเนินธุรกิจเพื่อให้บริการและผลผลิตแก่ลูกค้าได้เป็นจำนวนมาก ในขณะที่เสียค่าใช้จ่ายและมีสินค้าหรือวัตถุดิบในคลังสินค้าในปริมาณต่ำ โดยมีการทำนายความต้องการของลูกค้า, การควบคุมสินค้าคงคลัง, การวางแผนการผลิต, การแสดง รายการวัตถุดิบที่ต้องใช้, การวางแผนการสรรหาแหล่งวัตถุดิบที่ต้องใช้ เพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ จะถูกส่งไปให้แก่ลูกค้าได้ในเวลาที่ต้องการ
5. การควบคุมสินค้าและการผลิตที่ทันเวลา (Just-in-Time Inventory and Manufacturing) การเก็บสินค้าและวัตถุดิบในคลังสินค้าเป็นจำนวนมากทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูง และอาจเกิดการเสียหายได้ ดังนั้นวัตถุประสงค์หนึ่งของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิตก็คือ การควบคุมสินค้าคงคลังให้อยู่ในระดับที่ต่ำที่สุด โดยไม่กระทบกับความต้องการในการนำสินค้าหรือวัตถุดิบนั้นไปใช้ในการผลิต วิธีที่นิยมใช้ได้แก่วิธีการควบคุมคลังสินค้าแบบทันเวลา (Just-in-Time : JIT Inventory Approach) ซึ่งสินค้าและวัตถุดิบจะถูกส่งไปให้ในช่วงเวลาก่อนที่จะสินค้าหรือวัตถุดิบนั้นไปใช้ในการผลิต ทำให้ไม่ต้องเก็บไว้ในคลังสินค้าเป็นช่วงเวลานานๆ
6. การควบคุมขบวนการผลิต ในการควบคุมการผลิตมีเทคโนโลยีที่สนับสนุนมากมาย เช่น การผลิตโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (Computer-Aided Manufacturing : CAM) เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการด้านการผลิต เช่น การตรวจสอบและติดตาม ได้แก่การควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ในการผลิตต่างๆ การตรวจสอบค่าและข้อกำหนดในการผลิตต่างๆ เช่น อุณหภูมิที่ใช้ ค่าความดันอากาศฯลฯ หรือใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการกำหนดรหัสสินค้า การจัดลำดับในขบวนการผลิต เป็นต้น
7. การนำคอมพิวเตอร์เข้าไปช่วยในการผลิต (Computer-Integrated Manufacturing : CIM) ได้แก่การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมโยงองค์ประกอบต่างๆในขบวนการผลิตเข้าด้วยกันเป็นระบบที่มี ประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวมขั้นตอนการผลิตทั้งหมด เช่น การประมวลผลการสั่งซื้อ, การออกแบบผลิตภัณฑ์, การผลิต การควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพ และการขนส่งเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มประสิทธภาพในด้านการทำงานส่วนต่างๆ ที่ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน โดยอาจนำระบบการผลิตแบบคล่องตัว (Flexible Manufacturing System : FMS) เข้ามาใช้ร่วมด้วย ทำให้สามารถเปลี่ยนการผลิตสินค้าอย่างหนึ่งเป็นอีกอย่างหนึ่งเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
8. การควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพ (Quality Control and Testing) ได้แก่ขบวนการในการในการควบคุมเพื่อให้แน่ใจว่าสินค้าที่ผลิตออกมาตรงตามที่ลูกค้าต้องการ โดยใช้ซอฟต์แวร์ในการควบคุมคุณภาพ ต่างๆ ผลลัพธ์ที่ได้จากระบบการควบคุมคุณภาพ ได้แก่รายงาน ค่าใช้จ่ายที่ลดลงและยอดขายที่เพิ่มขึ้น โดยสารสนเทศที่ได้จากระบบนี้จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทราบถึงปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์การผลิตและรายงานควบคุมคุณภาพยังใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ดีขึ้นอีกด้วย

ที่มา

//irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/Knowledge/Management%20Information%20Systems/mis6.htm


โดย: น.ส. วริศรา ทิมแดง (ม.8 เช้า พฤ. ) IP: 172.29.85.24, 58.137.131.62 วันที่: 29 มิถุนายน 2552 เวลา:17:46:09 น.  

 
แบบฝึกหัด
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง

ตอบ ตัวอย่างการออกข้อสอบ แบบสารสนเทศ

วันที่ พฤหัสบดี สิงหาคม 2551

พิมพ์หน้านี้ | ดูบล๊อกอื่นๆ ที่ OKnation


ข้อสอบเก่า


ข้อสอบเก่า วิชา JR404
คำสั่ง : ข้อสอบประกอบด้วยคำถามทั้งหมด 5 ข้อนักศึกษาที่ทำรายงานส่ง ให้เลือกทำข้อสอบเพียง 3 ข้อเท่านั้นสำหรับนักศึกษาที่ไม่ได้ทำรายงานส่ง ต้องทำข้อสอบทุกข้อปล. สำหรับตอนสอบซ่อมให้ยึดคำสั่งเดิมนะจ๊ะ คนที่เข้าเรียนและทำรายงานส่งก็ทำ 3 ข้อ ถ้าไม่เข้าเรียนรายงานไม่มีก็เชิญทำไป 5 ข้อ...
ข้อ 1. เรื่องทั่วไปของการวิจัย
1.1 ความหมายของการวิจัย
1.2 การแบ่งประเภทการวิจัยโดยใช้เกณฑ์ระเบียบวิธีวิจัยและวิธีการศึกษา ทั้งสองวิธีแบ่งได้เป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
1.3 การวิจัยทางสังคมศาสตร์สามารถแบ่งตามระเบียบวิธีได้กี่กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีกี่ประเภท อะไรบ้าง
1.4 หัวข้อการวิจัย "อิทธิพลและประสิทธิภาพของสื่อเกี่ยวกับข่าวสารการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งอ ายุ 18-20 ปี" ควรจัดเป็นการวิจัยประเภทใด
ข้อ 2. ตัวแปรและสมมติฐาน
2.1 จากหัวข้อการวิจัย "การศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับหนังสือพิมพ์ออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง" จงระบุตัวแปรอิสระและตัวแปรตามของการวิจัยนี้
2.2 จงนิยามศัพท์และตัวแปรที่นักศึกษาระบุในข้อ
2.1 เป็นนิยามเชิงปฎิบัติการ
2.3 สมมติฐานคืออะไร จากหัวข้อวิจัย
2.1 จงเขียนสมมติฐานวิจัยมา 1 สมมติฐาน
2.4 ระดับนัยสำคัญที่ .05 หมายความว่าอย่างไร
ข้อ 3. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
3.1 ความหมายของประชากร กลุ่มตัวอย่าง และทำไมถึงต้องมีการสุ่มตัวอย่าง
3.2 การสุ่มตัวอย่างมี 2 แบบ คือ แบบไม่ใช้หลักความน่าจะเป็นและแบบใช้หลักความน่าจะเป็น วิธีการสุ่มตัวอย่างต่อไปนี้เป็นแบบใดใน 2 แบบดังกล่าวก. การสุ่มแบบเจาะจงข. การสุ่มโดยโควตาค. การสุ่มโดยการจับฉลากง. การสุ่มแบบกลุ่ม
3.3 จากหัวข้อการวิจัยใน 1.4 จงเขียนขั้นตอนการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage Sampling)
3.4 จงระบุประชากรของการวิจัยข้อ
2.1 และนักศึกษาจะกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างได้อย่างไร
ข้อ 4. การเก็บรวบรวมข้อมูลและเครื่องมือการวิจัย
4.1 ความหมายของข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ
4.2 การเก็บรวบรวมข้อมูลมีกี่วิธี อะไรบ้าง
4.3 เครื่องมือวิจัยที่มีคุณภาพสูงต้องมีลักษณะสำคัญอะไรบ้าง
4.4 จากหัวข้อการวิจัย 2.1 นักศึกษาคิดว่าสามารถใช้เครื่องมือการวิจัยใดได้บ้าง และอธิบายว่า เครื่องมือการวิจัยที่นักศึกษาเลือกนั้นมีกี่แบบ อะไรบ้างข้อ
5. การจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูล
5.1 ความหมายของการจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูล
5.2 จากหัวข้อการวิจัย 2.1 นักศึกษาคิดว่าจะใช้ สถิติพรรณนาหรือบรรยาย (Descriptive Statistics) ใดบ้าง โดยอธิบายความหมายของสถิติแต่ละค่าที่นักศึกษาเลือกด้วย
5.3 ความหมายของสถิติอ้างอิง (Inferential Statistics) และจากสมมติฐานที่นักศึกษาตั้งไว้ในข้อ 2.3 นักศึกษาคิดว่าจะใช้สถิติอ้างอิงข้อใดทดสอบสมมติฐานนี้
5.4 การนำเสนอผลการวิจัยสามารถนำเสนอข้อมูลในลักษณะใดได้บ้าง และในการเขียนรายงานวิจัยจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วน หรือบท ได้แก่อะไรบ้าง



แนวข้อสอบ JR301 เทอม2/48คำสั่ง : นักศึกษาที่ส่งรายงานในชั้นเรียนให้ทำข้อสอบเฉพาะข้อ 1 -4 เท่านั้นส่วนนักศึกษาที่ไม่ได้ส่งรายงาน ให้ทำข้อสอบทั้งหมด 6
ข้อ1. จงบอกลักษณะของ Search engine ที่เรียกว่า Keyword Index กับ Subject Directories มาอย่างละเอียด และทำการวิเคราะห์ถึงข้อแตกต่างระหว่าง Search engine ทั้ง 2 ประเภท พร้อมตัวอย่างประกอบ (20 คะแนน)
2. ให้นักศึกษาบรรยายถึงเครื่องมือที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตทั้งหมดมาอย่างละเอียด พร้อมยกตัวอย่างวิธีการนำไปใช้งาน (20 คะแนน)
3. กรณีข่าวการซื้อหุ้นของบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) จากกลุ่มนักลงทุน บริษัท เทมาเส็ก โฮลด์ดิ้งส์ จำกัด จากประเทศสิงคโปร์ หากนักศึกษาได้รับมอบหมายจากหัวหน้ากองบรรณาธิการให้ทำข่าวดังกล่าว จงอธิบายถึงวิธีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานในการสืบค้นข้อมูลจากเหตุการณ์ดังกล่าว (20 คะแนน)4. ให้นักศึกษาอธิบายความหมายของระบบสารสนเทศมาพอเป็นที่เข้าใจ อธิบายความแตกต่างระหว่าง ข้อมูล กับสารสนเทศ พร้อมยกตัวอย่างประกอบ (10 คะแนน)
5. ให้นักศึกษาวิพากย์ถึงวิธีการนำพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร พ.ศ. 2540 มาใช้ในการรายงานข่าวให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไร (20 คะแนน)6. ให้นักศึกษาอภิปรายถึงคุณประโยชน์ของการนำเอาโปรแกรม Excel มาใช้ในการจัดเตรียมข้อมูลโดยสังเขป (10คะแนน)






ข้อสอบวิชา JR 301 ภาค1/2549คำสั่งข้อสอบมี 7 ข้อ - นักศึกษาที่ส่งงาน ทำเฉพาะข้อ 1-5- นักศึกษาที่ไม่ได้ส่งงาน ทำทุกข้อ
1. จงอธิบายวิธีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการสืบค้นข้อมูลทางการเงิน รวมถึงสภาพธุรกิจของ บริษัท ชิน คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ชื่อย่อในตลาดหลักทรัพย์ว่า shin ที่ขายหุ้นให้กับ เทมาเซค โฮลดิ้ง หรือ Temasek มาอย่างละเอียด
2. จงอภิปรายการประยุกต์ใช้ search engine ในการหาข้อมูลเพื่อรายงานข่าวอย่างละเอียด โดยให้เลือก Search engine ที่เป็นของประเทศไทยกับต่างประเทศ มาอย่างละ 1 search engine
3. แหล่งข่าวนับเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญของสื่อมวลชน ให้นักศึกษาบรรยายถึงประเภทของแหล่งข่างอิเล็กทรอนิคส์ในปัจจุบันมาให้เห็นภาพ
4. จงบรรยายถึงเครื่องมือที่อยู่บนอินเตอร์เน็ตที่สามารถนำมาทำการสืบค้นข้อมูลประกอบการายงานข่าว
5. จงอภิปรายความสัมพันธ์ระหว่างสิทธิได้รู้กับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร พ.ศ. 2540 ที่สื่อมวลชนสามารถนำมาใช้ประยุกต์ในการรายงานข่าว พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
6. จงอภิปรายถึงคุณประโยชน์ของการนำโปรแกรม Excel มาใช้ในการจัดเตรียมข้อมูลโดยสังเขป
7. จงอธิบายคุณลักษณะเทคโนโลยีสารสนเทศที่เข้ามาช่วยในการรายงานข่าวในปัจจุบันมาโดยสังเขป



JR 201ภาค S ปีการศึกษา 2548คำสั่ง ข้อสอบชุดนี้เป็นอัตนัย มีจำนวน 5 ข้อ (ข้อละ 20 คะแนน รวม 100 คะแนน) ให้นักศึกษาทำทุกข้อ ยกเว้น นักศึกษาที่ส่งงานฝึกปฏิบัติครบ 3 ชิ้นงาน (คะแนนรวม 40 คะแนน) และประสงค์จะใช้คะแนนดังกล่าว ให้ทำข้อ 1-3 เท่านั้น
1. ให้นักศึกษาเรียบเรียงข้อมูลข่าวดังต่อไปนี้ ในรูปของข่าว ประกอบด้วย พาดหัวข่าว โปรยข่าว และเนื้อข่าว ตามโครงสร้างของการเขียวข่าวแบบปิรามิดหัวกลับ (Inverted Pyamid) โดยนำเสนอในรูปแบบ Indirected Quote นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รักษาการรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวในคราวการประชุมร่วมกับสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศว่า “ทางกระทรวงจะเปิดระบายข้าวหอมมะลิเก่า ซึ่งข้าวพวกนี้เป็นข้าวคุณภาพ ในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี 2547/48 จำนวนกว่า 4 แสนตันให้กับผู้ที่สนใจ ภายใต้เงื่อนไขพิเศษ คือ ข้าวที่ได้รับประมูลสามารถส่งออก และจำหน่ายภายในประเทศได้ด้วย ซึ่งเดิมที ตั้งหลักเกณฑ์ว่าผู้ประมูลได้จะต้องนำข้าวไปส่งออกตลาดต่างประเทศเท่านั้น โดยราคาประมูลจะเสนอราคาเข้ามาเป็นเงินบาท และจะต้องเป็นราคาที่สมเหตุสมผล แต่ว่าตามเงื่อนไขการประมูลเนี่ย ได้มอบหมายให้นายการุณ กิตติสถาพร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ไปประชุมร่วมกับสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ เพื่อกำหนดแนวทางในการประมูลต่อไป ส่วนข้าวหอมมะลิอีก 5 แสนตันนั้น ซึ่งเป็นข้าวที่มีการปลอมปน จะต้องระบายออกเช่นกัน ฉะนั้น ผมก็ได้สั่งการให้ปลัดกระทรวงพาณิชย์และองค์การคลังสินค้า (อคส.) ไปหารือกับ พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส จเรตำรวจแห่งชาติ ในฐานะประธานคณะกรรมการการตรวจสอบคุณภาพข้าวหอมมะลิในครั้งการรับจำนำข้าวเปลือกนา ฤดูกาล 2547/48 เพื่อจะได้หาวิธีการแก้ไขทางข้อกฎหมายที่จะสามารถระบายข้าวหอมมะลิปลอมปนควบคู่ไปกับการดำเนินคดีทางกฎหมา ยกับโกดังข้าว 57 แห่งที่มีการปลอมปน” นายการุณ กิตติสถาพร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า “เราจะเรียกสมาคมฯ หารือถึงหลักเกณฑ์ในการประมูลข้าวหอมมะลิได้ภายใน 1-2 วันนี้ เนื่องจากว่าเกณฑ์การขายข้าวจะไม่เหมือนกันการประมูลข้าวอย่างที่เคยปฏิบัติมาในอดีต”
2. จงอ่านข่าวด้านล่างต่อไปนี้ และทำตามโจทย์ที่กำหนดให้ดังนี้
2.1 เขียนส่วนโปรยข่าวแบบ When Lead
2.2 เขียนพาดหัวข่าว (News Headline)นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวถึงสถิติการผลิตและส่งออกรถยนต์ในเดือนมกราคมถึงมีนาคม 2549 ว่า ในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ ประเทศไทยผลิตรถยนต์ได้ทั้งสิ้น 3.04 แสนคัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 52,424 คัน หรือ 20.80% แบ่งเป็นการผลิตเพื่อส่งออก 1.41 แสนคัน เติบโตเพิ่มขึ้น 51.98% โดยขณะนี้มีรถยนต์สำเร็จรูปที่ส่งออกแล้วทั้งสิ้น 1.387 แสนคัน คิดเป็น 45.56% ของรถยนต์ที่ผลิตได้ทั้งหมด และส่งออกมากกว่าปีที่แล้ว 51,741 คัน เพิ่มขึ้น 59.50% คิดเป็นมูลค่า 61,979.62 ล้านบาท มากกว่าปีที่แล้ว 53.66%สาเหตุที่การผลิตรถยนต์เพื่อส่งออกขยายตัวอย่างมาก เป็นผลจากการเปิดการค้าเสรี (เอฟทีเอ) กับออสเตรเลีย ทำให้ผู้ผลิตรถยนต์หลายค่าย เช่น โตโยต้า ฮอนด้า ส่งรถยนต์ไปจำหน่ายในออสเตรเลียได้มากขึ้น นอกจากนี้ ค่ายอีซูซุ จีเอ็ม มิตซูบิชิ และ ฟอร์ด ได้ย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทยเพื่อการส่งออกอย่างเต็มตัว รวมทั้งตลาดตะวันออกกลางมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นตามภาวะราคาน้ำมันสำหรับรถยนต์นั่งในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ ประกอยได้ 74,628 คัน คิดเป็น 24.51% ของรถยนต์ที่ผลิตได้ทั้งหมด และผลิตมากกว่าปีที่แล้ว 9,187 คัน เพิ่มขึ้น 14.04% และผลิตเพื่อส่งออกเพิ่มขึ้น 51.98% ส่วนรถจักรยานยนต์ช่วง 3 เดือนที่ผ่าน ผลิตได้ทั้งสิ้น 9.579 แสนคัน มากกว่าปีที่แล้ว 10.34% ขณะที่การส่งออกเครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 2,111.85 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 41.25%ทั้งนี้ คาดว่าปีนี้ประเทศไทยจะผลิตรถยนต์ได้ทั้งสิ้น 1.245 ล้านคัน หรือ ยอดผลิตขยายตัวจากปีที่แล้ว 10% ในจำนวนแบ่งเป็นจำหน่ายในประเทศ 7.2 แสนคัน ส่งออกต่างประเทศ 5.2 แสนคัน สำหรับตลาดในประเทศคาดว่า ครึ่งปีหลังยอดขายจะเพิ่มขึ้น 55% เนื่องจากบริษัทรถยนต์มีแผนแนะนำรถรุ่นใหม่ออกสู่ตลาด แม้ว่าราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยจะปรับตัวสูงขึ้น แต่ความต้องการใช้รถของผู้บริโภคยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง
3. จงเขียนบทความแสดงความคิดเห็นส่วนบุคคล (บุคลาทรรศน์) ประกอบด้วย1. ความนำ2. ส่วนเชื่อม (มีหรือไม่มีก็ได้)3. เนื้อความ4. บทสรุป / ความจบ พร้อมตั้งชื่อเรื่อง โดยใช้ประเด็นและข้อมูลข่าวด้านล่างนี้ (กำหนดความยาวไม่น้อยกว่า 5 ย่อหน้า) นางจินาวรรณ เฮอร์แมน กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามแบรนด์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ที่ย่านประเวศ กรุงเทพฯ ผู้ผลิตเครื่องหนังส่งขายในประเทศและส่งออกต่างประเทศ นับเป็นผู้นำรายต้นๆ ของเมืองไทยที่นำหนังปลานิลมาใช้ใช่ในการผลิตเครื่องหนัง เริ่มทำมาเป็นเวลาปีเศษๆ แล้ว โดยเริ่มแรก มีผู้นำหนังปลามาเสนอให้ใช้เป็นวัสดุในการผลิตด้วยเหตุที่เธอเป็นผู้มีความชำนาญในการทำธุรกิจประเภทนี้มาหลายปี และเคยเห็นว่า มีคนเคยนำหนังปลานิลมาใช้ทำเป็นของชิ้นเล็กๆ อย่างพวงกุญแจ และด้วยคุณสมบัติพิเศษของหนรังปลานิลที่มีลักษณะแปลกกว่าปลาชนิดอื่น คือ จะซื้อกันเป็นชั้นๆ มีความเหนียว ด้าน จึงได้มีการต่อยอด พัฒนาคิดค้นผลิตภัณฑ์ให้ออกมาตรงกับความต้องการของตลาดนางจินาวรรณกล่าวว่า ผลิตภัณฑ์หนังปลานิลที่ผ่านกระบวนการสร้างสรรค์จากมันสมองของเธอ ส่งผลให้ปัจจุบันผลิตภัณฑ์มีหลายหลายรูปแบบให้ลูกค้าเลือกซื้อ อาทิ กระเป๋าสตรี ซึ่งมีทั้งแบบกระเป๋าหิ้ว กระเป๋าสะพายและกระเป๋าสตางค์ นอกจากนี้ เธอยังผลิตรองเท้าสตรีที่เน้นสีสัน และทรงของแฟชั่นที่ทันสมัย รวมไปถึงเข็มขัด กำไลข้อมือ และสร้อยคอ ซึ่งสินค้าแต่ละประเภทล้วนมีสีสันและลวดลายที่สวยงาน สะดุดตาสำหรับกรรมวิธีในการผลิตหนังปลานิลนั้น กรรมการผู้จัดการบริษัท สยามแบรนด์ เอ็นเตอร์ไพรส์ อธิบายว่า เริ่มจากการนำหนังปลานิลเข้าสู่กระบวนการฟอกหนัง โดยใช้น้ำยาเคมีเหมือนกับการฟอกหนังทั่วไป จากนั้น นำไปขึงให้ตึงแล้วตากจนแห้ง เมื่อแห้งแล้วหนังปลาจะกลายเป็นสีเทา-ดำ ขั้นต่อไป เติมสีสันด้วยการพ่นสีตามที่ต้องการและเคลือบแลกเกอร์ รอจนแห้ง ก็จะได้หนังปลาที่สมบูรณ์พร้อมใช้งานนางจินาวรรณกล่าวอีกว่า หนังปลาที่ได้ นอกจากจะเป็นสีพื้นแล้ว ยังสามารถเล่นลวดลายและสีสันด้วยการเติมสีเงินหรือสีทองลงไปตามรอยของเกล็ดปลา และอาจจะเพิ่มความน่าสนใจให้กับตัวสินค้าด้วยการปักเลื่อมหรือลูกปัดก็ได้ ต่อมา คือขั้นตอนการออกแบบและกำหนดรูปแบบของตัวผลิตภัณฑ์“ในการออกแบบนั้น ดิฉันจะยึดหลักให้ทันกับแฟชั่น คือ ต้องรู้ว่า ช่วงนี้ตลาดต้องการสินค้าแบบไหน สีอะไร เมื่อออกแบบได้ตามที่ต้องการแล้ว จึงจะนำหนังปลามาเย็นต่อกันให้เป็นแผ่นตามขนาดและสีที่ต้องการ เนื่องจากหนังปลามีขนาดเล็ก จึงต้องเย็บต่อกันเพื่อให้ได้ขนาดที่เหมาะสม จากนั้น นำหนังปลาที่เย็บเป็นแผ่นแล้วมาตัดตามแบบและรูปทรงของผลิตภัณฑ์ แล้วเย็บขึ้นรูปตามแบบที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ ปริมาณหนังปลาที่ใช้ในแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับรูปแบบและขนาดของตัวผลิตภัณฑ์ ส่วนระยะเวลาในการทำนั้น ชิ้นเล็กประมาณ 1 วัน ส่วนชิ้นใหญ่ 1-2 วัน” นางจินาวรรณกล่าวเกี่ยวกับยอดขายผลิตภัณฑ์ นางจินาวรรณ ยอมรับว่า ปัจจุบันผลิตภัณฑ์หนังปลานิลได้รับการยอมรับจากลูกค้าทั่งในและต่างประเทศเป็นจำนวนมาก โดยรองเท้าจำหน่ายราคาคู่ละประมาณ 1,200-2,500 บาท มียอดขายเดือนละ 2,000 คู่ ส่วนกระเป๋าราคาประมาณใบละ 1,500-3,000 บาท ยอดขายประมาณเดือนละ 2,000 ใบข้อมูลเพิ่มเติมประกอบการเขียนบทความภูมิปัญญาไทย หรือ ภูมิปัญญาชาวบ้าน ถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาชีวิต ความเป็นอยู่ของประชากร ทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจ เนื่องจากภูมิปัญญาชาวบ้าน เกิดขึ้นจากความรอบรู้ ประสบการณ์ แนวคิดที่ทางสังคมหรือชุมชนได้สืบทอดต่อๆ กันมา ด้วยคนไทยแต่โบราณ มีภูมิปัญญาฉลาดล้ำลึกในการประดิษฐ์คิดค้น สร้างสรรค์ เพื่อใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อม แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น เพื่อการดำรงชีวิตอย่างสุขกายสบายใจ โดยเฉพาะภูมิปัญญาด้านปัจจัยพื้นฐานแห่งการดำรงชีพ ประกอบด้วยความสามารถในการหาอาหาร การปลูกสร้างที่อยู่อาศัย การคิดค้นประดิษฐ์สิ่งทอเพื่อการนุ่งห่ม และความรู้ในการบำบัดรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งช่วยให้สังคมไทยนับแต่อดีตดำรงได้อย่างสงบสุขสืบถึงปัจจุบัน ภูมิปัญญาเหล่านี้เสริมสร้างคุณลักษณะแกสังคมไทย ให้รู้จักการผ่อนสั้น ผ่อนยาว ผ่อนหนักให้เป็นเบา ผ่อนร้ายให้กลายเป็นดี มีความมัธยัสถ์อดออม จนเกิดเป็นความมั่งคั่งทางสังคม การเมืองและเศรษฐกิจ แบบพึ่งพาตนเองได้ในลักษณะพอมีพอกิน สามารถนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้เพื่อการพัฒนาประเทศได้อย่างคุ้มค่าที่สุด รวมไปจนถึงมีระบบการจัดการด้านทรัพยากรดิน แร่ธาตุ ป่าไม้ แหล่งน้ำอย่างทรงประสิทธิภาพ
4. จงอธิบายว่า บทความประเภทบุคลาทรรศน์ และบทบรรณาธิการ มีวัตถุประสงค์ในการเขียนเพื่อการสื่อสารเหมือน หรือ ต่างกันอย่างไร5. จงอธิบายว่า บทบรรณาธิการที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร

ข้อสอบวิชาJR302 เทอม1/49 ข้อละ 20 คะแนน
1. ระบบการจัดการภาพ คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร กับการทำงานด้วยระบบดิจิตอลอธิบาย (ตอบเป็นข้อๆ)
2. Photoshop และ Illutrator สามารสรางสรรค์งานด้านภาพเพื่องานสื่อประสมได้อย่างไรบ้าง อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
3. เมื่อศึกษาการใช้งาน Photoshop แล้ว ท่านสามารถใช้โปรแกรมนี้ทำงานใดได้บ้าง บอกทุกอย่างที่ท่านสามารถใช้ประโยชน์จากโปรแกรมนี้
4. Bitmap image และ Vector image คืออะไร นำมาใช้กับงานที่ใช้กับภาพหรือสื่อที่ใช้ภาพ แตกต่างกันอย่างไร
5. การสร้างสรรค์ภาพถ่าย เพื่อนำไปใช้ร่วมกับงานด้านวารสารศาสตร์ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก ท่านคิดว่าบทบาทของภาพถ่านที่มีต่องานวารสารศาสตร์ มีความสำคัญอย่างไรอ้างอิงจาก ... //www.dek-tm.com/dektmlite/index.php?option=com_mamboboard&Itemid=43&func=view&id=1482&catid=7

JR401ภาค 2 ปีการศึกษา 2548
1. Desktop Author คืออะไร และการใช้สื่อๆ นอกจาก Text มีอะไรบ้าง
2. รูปแบบของ Multimedia คืออะไร
3. Multimedia มีอะไรบ้าง
4. กระบวนการผลิต Multimedia มีองค์ประกอบอย่างไร และมีผู้เกี่ยวข้องอะไรบ้าง
5. วิธีการทำ Multimedia E- book และ Multimedia CD-Rom

ข้อสอบวิชา JR401 - 13/09/2006 22:11 อันนี้เป็นข้อสอบซ่อม 2,S/48 ข้อละ 25 คะแนน
1. ปัจจุบันได้มาการนำสื่อประสมไปประยุกต์ใช้กับงานหลายด้าน จงยกตัวอย่างงานที่นำสื่อประสมไปประยุกต์ใช้มา 4 อย่าง พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
2. สื่อประสมคืออะไร และมีอะไรบ้าง นอกจากสื่อประสมที่ใช้กันอยู่ทั่วไปแล้ว ได้มีการคิดค้นสื่อประสมใหม่ๆขึ้น จงยกตัวอย่าง
3. ถ้าท่านได้รับมอบหมายให้ทำโครงการสื่อประสมขึ้นมา 1 ชิ้น จงตอบคำถามต่อไปนี้1. ชื่อโครงการ2. วัตถุประสงค์ของโครงการ3. กลุ่มเป้าหมาย 4. การดำเนินงานของโครงการ 5. การกระจายหรือเผยแพร่สื่อประสม
4. การใช้อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน ได้มีการนำสื่อประสมมาใช้ประโยชน์เป็นอย่างมาก จงอธิบายถึงประโยชน์ที่เกื้อ***ลกันของอินเทอร์เน็ตและสื่อประสม พร้อมยกตัวอย่าง


วิชาเทคโนโลยีสื่อประสมเพื่องานวารสารศาสตร์ เจอาร์401ภาคเรียนที่ 2/49อาจารย์ประจำวิชา อาจารย์สุขเกษม อุยโต อาจารย์พิเศษจากมหาวิทยาลัยรังสิตAssignment : 3 งานด้วยกัน รวมคะแนะเก็บทั้งหมด 40 คะแนน
1.Multimedia E-bookคำอธิบายเพิ่มเติม - อาจารย์ให้ทำหนังสืออิเล็คทรอนิค หรืออีบุ๊ค ทำจากโปรแกรมพาวเวอร์พอยต์ แล้วแปลงเป็นไฟล์ PDF หากเครื่องไหนไม่มีโปรมแกรมอะโกรแบทโปรเฟทชันนอล จะไม่มีที่แปลงไฟล์ในโปรแกรมพาวเวอร์พอยต์ เพราะฉะนั้นลองดาวด์โลดมาใช้นะครับ พอแปลงแล้วให้ไร?ลงแผ่นซีดี พร้อมกับไฟล์วีดีที่มีนามสกุลว่า wmv หรือ avi ที่เกี่ยวกับเรื่องที่เราทำเช่นต้นทำเรื่องพระมหาชนก ต้นก็มีทั้งไฟล์งาน PDF และไฟล์งาน wmv หรือ avi ในแผ่นซีดีแผ่นเดียวนะครับ 10 คะแนะนะครับสำหรับงานนี้ แต่ส่วนตัว ต้นส่ง 2 แผ่นคือลองทำอีบุคในโปรแกรม flipalbum ด้วยอาจารย์ไม่ได้สั่งหรอกแต่อยากทำ ดาวน์โลดมาใช้ได้เช่นกันนะครับ เป็นอีกทางเลือก เพราะเป็นอีบุคประเภทหนึ่ง
2.Multimedia E-book on cd romคำอธิบายเพิ่มเติม - เรียกง่ายๆว่าออกแบบเวบมา 1 เวบนั่นเองแต่ไรท์ลงแผ่นซีดีมาส่งนะครับ 20 คะแนน
3.ทำสื่อวีดีโอ หรือเขียนบทความสารานุกรมบทวิกกีพีเดียคำอธิบายเพิ่มเติม - สื่อวีดีโอ จะทำเอ็มวีก็ได้ เรียกง่ายๆว่าเป็นแผ่นวีซีดี ตัดต่อหน่อยก็ดีนะครับ ส่วนตัว ต้นทำเรื่องคนดีของน้องทอส ก็ทั้งถ่ายทำและตัดต่อ พูดเกริ่นเองด้วย โปรแกรมที่ต้นใช้จะเป็นพรีเมียร์โปร 2.0 ในการตัดต่อ หรือเพื่อนๆพี่ๆจะใชโปรแกรมอื่นๆก็ได้นะครับ เช่น ยูลีด เวกัส ไฟนอลคัด หรือในวินโดว์ก็ก็จะมี วินโดว์มูฟวี่เมกเกอร์ให้ลองทำ ในส่วนของสารานุกรมบนวีกกีพีเดียต้นไม่ได้ทำนะครับเพราะเลือกทำวีดีโอซีดี เพราะฉะนั้นต้นไม่ได้ถามอาจารย์ ไม่กล้าให้ข้อมูลครับ ส่งไม่เกิน 15 กพ นะครับ น่าจะในคาบเรียน หากส่งไม่ทันให้ส่งไปรษณีย์ตามไป แต่อีเมลล์อาจารย์ต้นไม่รู้นะครับ ไปรษณีย์ก็ไม่รู้ ถ้ารู้จะบอกอีกทีนะไปแล้วนะ มีไรถามเพิ่มเมลล์มาถามได้นะครับ namkang79@hotmail.com


JR 204 การออบแบบเวบไซต์เบื้องต้นภาค 2 ปีการศึกษา 2548คำสั่ง
1.ให้นักศึกษาเขียนคำตอบลงในสมุดคำตอบ
2.คะแนนเต็ม 100 คะแนน3.นักศึกษาที่ทำ Lab ให้เลือกทำ
3 ข้อ ที่ไมได้ทำ Lab ให้เลือกทำ 5 ข้อ
4.ขอให้อธิบายอย่างกะทัดรัดได้ใจความ
1.1 จงอธิบายหลักการออกแบบเวบไซต์ 10 คะแนน
1.2 จงอธิบายความหมายของมัลติมีเดีย มัลติมีเดียที่ใช้ในเวบไซต์มีอะไรบ้าง 10 คะแนน
2. จงอธิบายความหมายของคำว่า Resolution ของภาพ และ File Size และความสัมพันธ์ของทั้ง 2 20 คะแนน
3.1. จงอธิบายความหมายของภาพเคลื่อนไหว (Animation) การใช้งานและข้อควรพิจารณาในการทำภาพเคลื่อนไหวในเวบไซต์ 10 คะแนน
3.2. จงอธิบยความหมายของ E-Mail Link และการใช้งานของ E-Mail Link 10 คะแนน
4. หากท่านเป็น Webmaster ท่านมีวิธีการอย่างไรในการพิจารณาเลือกชนิดของภาพที่ใช้ในเว็บไซต์ของท่าน? อะไรบ้าง จงอธิบายและบอกคุณสมบัติของภาพแต่ละชนิด 20 คะแนน
5.1. จงอธิบายความหายของ Image Map และการใช้งาน 10 คะแนน
5.2. การใช้ Table ในเวบไซต์ มีการใช้งานอย่างไร 10 คะแนน
6. Form คืออะไร และมีองค์ประกอบอะไรบ้าง 20 คะแนน
7. จงอธิบายความหมายของ User Interactivity ในเวบไซต์ พร้อมยกตัวอย่าง 3 ชนิด 20 คะแนน


ถ้าไม่ตรงแนวยังไงก็ขออภัยแต่ก็จดตามที่จารย์บอกอะค่ะถ้าใครมีรายละเอียดเพิ่มเติม บอกด้วยนะค่ะjr205 (เขียนบนกระดาษคำตอบด้วยสำหรับคนที่ส่งรายงานว่า "ส่งรายงาน")ข้อสอบมี 11 ข้อข้อละ 20 คะแนน คนที่ส่งรายงาน เลือกทำ 3 ข้อ แล้ว + อีก 1 ข้อคือข้อ 11 เป็น 4 ข้อคนที่ไม่ส่งรายงานทำ 5 ข้อเขียนไม่ต่ำกว่า 10 บรรทัด
1 - 2 .* แนวคิด , ทษ.จริยธรรม -เน้นผลกระทบว่าใครว่าอย่างไรบ้าง-เน้นการปฏิบัติหน้าที่ว่าใครว่าอย่างไรบ้าง*การตัดสินใจเชิงจริยธรรมโดยใช้ทษ.Potter box (กรณีศึกษาให้ตัดสินใจ)
3. *เสรีภาพ สิทธิ ข้อจำกัด
4. *กม.หมิ่นประมาท ข้อยกเว้นไม่หมิ่นประมาท มต.330 มีไรบ้าง.....
5. *ละเมิด (กม.แพ่ง) ม.420 (ภายใน ภายนอก)มีละเมิดอะไรบ้าง......
6. *กม.ว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา แบ่งเป็นไรบ้าง
7. *พรบ.การพิมพ์ 2484 (ดูส่วนที่เป็น นสพ.) พรบ.ใดที่ไปขัด
8. *พรบ.ข้อมุลข่าวสาร สิทธิที่จะได้รู้ การเข้าถึงข้อมูลมีอุปสรรคไรบ้างสโลแกนว่าไร
9. *พรบ.ที่เกี่ยวกับวิทยุ การจัดสรรคลื่นความถี่
10. *กม. อิเล็กทรอนิกส์ว่าด้วยสื่อสารสนเทศ (อาจารย์บอกว่าไม่ออกสอบ)-*-
11. *แนวคิด ทัศนคติที่มีต่อ เสรีภาพ สิทธิ ยกตัวอย่างสื่อในสถานะการปัจจุบันนี้เป็นอย่างไร แสดงความคิดเห็นยกตักอย่างกฎหมายที่ยกเลิก (ข้อนีไม่แน่นะ จารย์บอกยังไม่ได้คิด)ขอให้ทุกคนโชคดี add มาได้คุยเรื่องเรียนได้ที่ omiya_chan@hotmail.com




โดย sposa

กลับไปที่ //www.oknation.net


ที่มา //www.oknation.net/blog/print.php?id=304023


โดย: น.ส ชฎาพร โสภาคำ 52040281117 ชีววิทยา (จุลชีววิทยา) พฤ(เช้า)หมู่ 8 IP: 124.157.245.94 วันที่: 29 มิถุนายน 2552 เวลา:17:46:16 น.  

 
ตอบแบบทดสอบที่ 4 การผลิตสารสนเทศ

การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้

ที่มา //ecurriculum.mv.ac.th/techno/library/computer/it/it/HTM/03Lesson2.html#top


โดย: นางสาวจิลวรรณ ปัดถาวะโร รหัส 52040281130 วทบ.ชีววิทยา (จุลชีววิทยา) พฤ.เช้า ม.08 IP: 172.29.85.24, 202.29.5.62 วันที่: 30 มิถุนายน 2552 เวลา:15:40:18 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง
ตอบ การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้

ที่มา //ecurriculum.mv.ac.th/techno/library/computer/it/it/HTM/03Lesson2.html



โดย: นางสาวจันทร์ธิมา หงสระคู 51040240101 หมู่ 1 (วันจันทร์บ่าย) IP: 222.123.8.89 วันที่: 30 มิถุนายน 2552 เวลา:17:08:19 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง

การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้


ที่มา//ecurriculum.mv.ac.th/techno/library/computer/it/it/HTM/03Lesson2.html






โดย: นาย กีรติ จันทร์ชมภู (พฤหัสบดี ค่ำ) IP: 172.29.6.84, 202.29.5.62 วันที่: 2 กรกฎาคม 2552 เวลา:18:09:54 น.  

 
.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1
ตัวอย่าง
=การตรวจสอบและควบคุมการไหลเวียนของวัตถุดิบ, สินค้า และบริการต่างๆภายในองค์กร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตสินค้าได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า ตั้งแต่เริ่มขบวนการนำวัตถุดิบมาผ่านขั้นตอนการผลิตจนกระทั่งเสร็จเป็นสินค้าและบริการที่จะส่งไปยังลูกค้า โดยที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ระบบย่อยและผลลัพธ์ที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต ได้แก่

1. การออกแบบและการปฏิบัติเชิงวิศวกรรม (Design and Engineering) ได้แก่การพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยสามารถใช้ระบบการออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (Computer-Aided Design : CAD) ซึ่งเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ โดยผู้ใช้สามารถออกแบบและแก้ไข ตัวแบบได้เองบนจอภาพ
2. การจัดตารางการผลิต (Production Planning) เพื่อจัดการรายละเอียดแผนงานการผลิตทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยใช้ซอฟต์แวร์ที่ทำงานในด้านนี้เข้ามาช่วย ซึ่งในซอฟต์แวร์นี้อาจมีคุณสมบัติในการทำนายและพิจารณาหาความต้องการของสินค้าและบริการที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ทำให้สามารถวางแผนเพื่อกำหนดการผลิตให้ได้ตรงตามความต้องการ
3. การควบคุมสินค้าคงคลัง (Inventory Control) ได้แก่การใช้ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการสั่งซื้อ, การทำนาย, การผลิตเอกสารและรายงานร้านค้า, การพิจารณาหาค่าใช้จ่ายในการผลิต, การวิเคราะห์งบประมาณค่าใช้จ่ายที่วางไว้เปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายจริง, และการพัฒนาตารางการผลิต, บอกความต้องการทรัพยากรในการผลิตและวางแผนการผลิตได้อย่างอัตโนมัติ โดยปกติแล้วซอฟต์แวร์ต่างๆเหล่านี้จะมีสูตรในการคำนวณเพื่อหาจำนวนวัตถุดิบและช่วงเวลาที่จะต้องสั่งซื้อได้ วิธีการหาว่าต้องสั่งสินค้ามาไว้ในคลังปริมาณเท่าใดเรียกว่าวิธีการกาปริมาณหารสั่งซื้อมางเศรษฐกิจ (Economic Order Quantity : EOQ) โดยปริมาณที่หาได้นี้จะต้องทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุดด้วย ส่วนการหาว่าต้องสั่งสินค้ามาไว้ในคลังเมื่อใดจะใช้วิธีการหาจุดสั่งซื้อเพิ่ม Reorder Point : ROP) ซึ่งแสดงถึงค่าระดับปริมาณสินค้าคงคลังที่วิกฤติ
4. การวางแผนการใช้ทรัพยากรการผลิต(Manufacturing Resource Planning : MRPII) ได้แก่ระบบที่ใช้การวางแผนเครือข่ายเพื่อให้บุคคลต่างๆ สามารถดำเนินธุรกิจเพื่อให้บริการและผลผลิตแก่ลูกค้าได้เป็นจำนวนมาก ในขณะที่เสียค่าใช้จ่ายและมีสินค้าหรือวัตถุดิบในคลังสินค้าในปริมาณต่ำ โดยมีการทำนายความต้องการของลูกค้า, การควบคุมสินค้าคงคลัง, การวางแผนการผลิต, การแสดง รายการวัตถุดิบที่ต้องใช้, การวางแผนการสรรหาแหล่งวัตถุดิบที่ต้องใช้ เพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ จะถูกส่งไปให้แก่ลูกค้าได้ในเวลาที่ต้องการ
5. การควบคุมสินค้าและการผลิตที่ทันเวลา (Just-in-Time Inventory and Manufacturing) การเก็บสินค้าและวัตถุดิบในคลังสินค้าเป็นจำนวนมากทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูง และอาจเกิดการเสียหายได้ ดังนั้นวัตถุประสงค์หนึ่งของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิตก็คือ การควบคุมสินค้าคงคลังให้อยู่ในระดับที่ต่ำที่สุด โดยไม่กระทบกับความต้องการในการนำสินค้าหรือวัตถุดิบนั้นไปใช้ในการผลิต วิธีที่นิยมใช้ได้แก่วิธีการควบคุมคลังสินค้าแบบทันเวลา (Just-in-Time : JIT Inventory Approach) ซึ่งสินค้าและวัตถุดิบจะถูกส่งไปให้ในช่วงเวลาก่อนที่จะสินค้าหรือวัตถุดิบนั้นไปใช้ในการผลิต ทำให้ไม่ต้องเก็บไว้ในคลังสินค้าเป็นช่วงเวลานานๆ
6. การควบคุมขบวนการผลิต ในการควบคุมการผลิตมีเทคโนโลยีที่สนับสนุนมากมาย เช่น การผลิตโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (Computer-Aided Manufacturing : CAM) เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการด้านการผลิต เช่น การตรวจสอบและติดตาม ได้แก่การควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ในการผลิตต่างๆ การตรวจสอบค่าและข้อกำหนดในการผลิตต่างๆ เช่น อุณหภูมิที่ใช้ ค่าความดันอากาศฯลฯ หรือใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการกำหนดรหัสสินค้า การจัดลำดับในขบวนการผลิต เป็นต้น
7. การนำคอมพิวเตอร์เข้าไปช่วยในการผลิต (Computer-Integrated Manufacturing : CIM) ได้แก่การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมโยงองค์ประกอบต่างๆในขบวนการผลิตเข้าด้วยกันเป็นระบบที่มี ประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวมขั้นตอนการผลิตทั้งหมด เช่น การประมวลผลการสั่งซื้อ, การออกแบบผลิตภัณฑ์, การผลิต การควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพ และการขนส่งเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มประสิทธภาพในด้านการทำงานส่วนต่างๆ ที่ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน โดยอาจนำระบบการผลิตแบบคล่องตัว (Flexible Manufacturing System : FMS) เข้ามาใช้ร่วมด้วย ทำให้สามารถเปลี่ยนการผลิตสินค้าอย่างหนึ่งเป็นอีกอย่างหนึ่งเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
8. การควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพ (Quality Control and Testing) ได้แก่ขบวนการในการในการควบคุมเพื่อให้แน่ใจว่าสินค้าที่ผลิตออกมาตรงตามที่ลูกค้าต้องการ โดยใช้ซอฟต์แวร์ในการควบคุมคุณภาพ ต่างๆ ผลลัพธ์ที่ได้จากระบบการควบคุมคุณภาพ ได้แก่รายงาน ค่าใช้จ่ายที่ลดลงและยอดขายที่เพิ่มขึ้น โดยสารสนเทศที่ได้จากระบบนี้จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทราบถึงปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์การผลิตและรายงานควบคุมคุณภาพยังใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ดีขึ้นอีกด้วย

ที่มา

//irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/Knowledge/Management%20Information%20Systems/mis6.htm


โดย: นางสาว อุไรวรรณ หาญศึก 52240210235 ม.1 (พิเษศ) IP: 58.147.39.40 วันที่: 3 กรกฎาคม 2552 เวลา:10:46:44 น.  

 
แบบฝึกหัด
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง

การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้
TOP

ที่มา :ecurriculum.mv.ac.th/techno/library/.../it/.../03Lesson2.html



นายวีระวิทย์ นาคเสน เรียนจันทร์ บ่าย หมู่1


โดย: นายวีระวิทย์ นาคเสน เรียนจันทร์ บ่าย หมู่1 IP: 58.147.38.208 วันที่: 3 กรกฎาคม 2552 เวลา:14:55:14 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง

ตอบ
ระบบย่อยและผลลัพธ์ที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต ได้แก่ การตรวจสอบและควบคุมการไหลเวียนของวัตถุดิบ, สินค้า และบริการต่างๆภายในองค์กร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตสินค้าได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า ตั้งแต่เริ่มขบวนการนำวัตถุดิบมาผ่านขั้นตอนการผลิตจนกระทั่งเสร็จเป็นสินค้าและบริการที่จะส่งไปยังลูกค้า โดยที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ระบบย่อยและผลลัพธ์ที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต ได้แก่

1. การออกแบบและการปฏิบัติเชิงวิศวกรรม (Design and Engineering) ได้แก่การพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยสามารถใช้ระบบการออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (Computer-Aided Design : CAD) ซึ่งเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ โดยผู้ใช้สามารถออกแบบและแก้ไข ตัวแบบได้เองบนจอภาพ
2. การจัดตารางการผลิต (Production Planning) เพื่อจัดการรายละเอียดแผนงานการผลิตทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยใช้ซอฟต์แวร์ที่ทำงานในด้านนี้เข้ามาช่วย ซึ่งในซอฟต์แวร์นี้อาจมีคุณสมบัติในการทำนายและพิจารณาหาความต้องการของสินค้าและบริการที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ทำให้สามารถวางแผนเพื่อกำหนดการผลิตให้ได้ตรงตามความต้องการ
3. การควบคุมสินค้าคงคลัง (Inventory Control) ได้แก่การใช้ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการสั่งซื้อ, การทำนาย, การผลิตเอกสารและรายงานร้านค้า, การพิจารณาหาค่าใช้จ่ายในการผลิต, การวิเคราะห์งบประมาณค่าใช้จ่ายที่วางไว้เปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายจริง, และการพัฒนาตารางการผลิต, บอกความต้องการทรัพยากรในการผลิตและวางแผนการผลิตได้อย่างอัตโนมัติ โดยปกติแล้วซอฟต์แวร์ต่างๆเหล่านี้จะมีสูตรในการคำนวณเพื่อหาจำนวนวัตถุดิบและช่วงเวลาที่จะต้องสั่งซื้อได้ วิธีการหาว่าต้องสั่งสินค้ามาไว้ในคลังปริมาณเท่าใดเรียกว่าวิธีการกาปริมาณหารสั่งซื้อมางเศรษฐกิจ (Economic Order Quantity : EOQ) โดยปริมาณที่หาได้นี้จะต้องทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุดด้วย ส่วนการหาว่าต้องสั่งสินค้ามาไว้ในคลังเมื่อใดจะใช้วิธีการหาจุดสั่งซื้อเพิ่ม Reorder Point : ROP) ซึ่งแสดงถึงค่าระดับปริมาณสินค้าคงคลังที่วิกฤติ
4. การวางแผนการใช้ทรัพยากรการผลิต(Manufacturing Resource Planning : MRPII) ได้แก่ระบบที่ใช้การวางแผนเครือข่ายเพื่อให้บุคคลต่างๆ สามารถดำเนินธุรกิจเพื่อให้บริการและผลผลิตแก่ลูกค้าได้เป็นจำนวนมาก ในขณะที่เสียค่าใช้จ่ายและมีสินค้าหรือวัตถุดิบในคลังสินค้าในปริมาณต่ำ โดยมีการทำนายความต้องการของลูกค้า, การควบคุมสินค้าคงคลัง, การวางแผนการผลิต, การแสดง รายการวัตถุดิบที่ต้องใช้, การวางแผนการสรรหาแหล่งวัตถุดิบที่ต้องใช้ เพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ จะถูกส่งไปให้แก่ลูกค้าได้ในเวลาที่ต้องการ
5. การควบคุมสินค้าและการผลิตที่ทันเวลา (Just-in-Time Inventory and Manufacturing) การเก็บสินค้าและวัตถุดิบในคลังสินค้าเป็นจำนวนมากทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูง และอาจเกิดการเสียหายได้ ดังนั้นวัตถุประสงค์หนึ่งของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิตก็คือ การควบคุมสินค้าคงคลังให้อยู่ในระดับที่ต่ำที่สุด โดยไม่กระทบกับความต้องการในการนำสินค้าหรือวัตถุดิบนั้นไปใช้ในการผลิต วิธีที่นิยมใช้ได้แก่วิธีการควบคุมคลังสินค้าแบบทันเวลา (Just-in-Time : JIT Inventory Approach) ซึ่งสินค้าและวัตถุดิบจะถูกส่งไปให้ในช่วงเวลาก่อนที่จะสินค้าหรือวัตถุดิบนั้นไปใช้ในการผลิต ทำให้ไม่ต้องเก็บไว้ในคลังสินค้าเป็นช่วงเวลานานๆ
6. การควบคุมขบวนการผลิต ในการควบคุมการผลิตมีเทคโนโลยีที่สนับสนุนมากมาย เช่น การผลิตโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (Computer-Aided Manufacturing : CAM) เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการด้านการผลิต เช่น การตรวจสอบและติดตาม ได้แก่การควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ในการผลิตต่างๆ การตรวจสอบค่าและข้อกำหนดในการผลิตต่างๆ เช่น อุณหภูมิที่ใช้ ค่าความดันอากาศฯลฯ หรือใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการกำหนดรหัสสินค้า การจัดลำดับในขบวนการผลิต เป็นต้น
7. การนำคอมพิวเตอร์เข้าไปช่วยในการผลิต (Computer-Integrated Manufacturing : CIM) ได้แก่การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมโยงองค์ประกอบต่างๆในขบวนการผลิตเข้าด้วยกันเป็นระบบที่มี ประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวมขั้นตอนการผลิตทั้งหมด เช่น การประมวลผลการสั่งซื้อ, การออกแบบผลิตภัณฑ์, การผลิต การควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพ และการขนส่งเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มประสิทธภาพในด้านการทำงานส่วนต่างๆ ที่ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน โดยอาจนำระบบการผลิตแบบคล่องตัว (Flexible Manufacturing System : FMS) เข้ามาใช้ร่วมด้วย ทำให้สามารถเปลี่ยนการผลิตสินค้าอย่างหนึ่งเป็นอีกอย่างหนึ่งเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
8. การควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพ (Quality Control and Testing) ได้แก่ ขบวนการในการในการควบคุมเพื่อให้แน่ใจว่าสินค้าที่ผลิตออกมาตรงตามที่ลูกค้า ต้องการ โดยใช้ซอฟต์แวร์ในการควบคุมคุณภาพ ต่างๆ ผลลัพธ์ที่ได้จากระบบการควบคุมคุณภาพ ได้แก่รายงาน ค่าใช้จ่ายที่ลดลงและยอดขายที่เพิ่มขึ้น โดยสารสนเทศที่ได้จากระบบนี้จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทราบถึงปัญหาเกี่ยวกับ อุปกรณ์การผลิตและรายงานควบคุมคุณภาพยังใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ดีขึ้น อีกด้วย


ที่มา:
//irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/Knowledge/Management%20Information%20Systems/mis6.htm


โดย: นางสาวสมฤทัย ราชอินทร์ หมู่01 (พิเศษ) เรียนพฤหัสบดีค่ำ รหัสนักศึกษา 52240501127 IP: 125.26.180.14 วันที่: 3 กรกฎาคม 2552 เวลา:15:20:03 น.  

 
ข้อ1 การผลิตสารสนเทศ ความต้องการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการของสถานประกอบการ
ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้วิจัย อาจารย์ไพรัช อนงค์
ปีที่วิจัย 2546

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการใช้ ปัญหา และความต้องการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการของสถานประกอบการในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยสอบถามความคิดเห็นของเจ้าของสถานประกอบการและพนักงานในสถานประกอบการ เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาของสถานประกอบ การแก้ปัญหาที่สถานประกอบการกำลังประสบอยู่ และเพื่อการพัฒนาหลักสูตร ปรับปรุงรายวิชา กำหนดแนวทางในการผลิตบัณฑิตในหลักสูตรการบริหารธุรกิจบัณฑิต แขนงคอมพิวเตอร์ธุรกิจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นสถานประกอบทุกประเภทในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 347 สถานประกอบการ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล สำหรับข้อมูลสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามและสถานประกอบการ ข้อมูลสภาพการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการของสถานประกอบการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลปัญหาและความการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการของสถานประกอบการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างสถานประกอบการแต่ละประเภทด้วย โดย ใช้ Chi-Square และ F-test
ผลการสำรวจพบว่า สถานประกอบการประเภทอุตสาหกรรมเป็นประเภทที่ใช้คอมพิวเตอร์ในองค์กรมากที่สุดคือเฉลี่ย 13.07 เครื่องต่อสถานประกอบการ รองลงมาคือประเภทธุรกิจซื้อมาขายไป เฉลี่ย 9.36 เครื่อง ต่อสถานประกอบการ และประเภทซื้อมาขายไป เป็นประเภทที่ใช้คอมพิวเตอร์ในองค์กรน้อยที่สุด คือ เฉลี่ย 3.65 เครื่องต่อสถานประกอบการ สถานประกอบการประเภทอุตสาหกรรมมีการใช้ระบบสารสนเทศมากที่สุดคือ ร้อยละ 78.69 รองลงมาคือประเภทการบริการ ร้อยละ 62.81 และประเภทการซื้อมาขายไปร้อยละ 50.00 และเมื่อรวมทั้งหมด มีสถานประกอบการถึงร้อยละ 60.81 ที่ใช้ระบบสารสนเทศ สาเหตุที่สถานประกอบการนำระบบสารสนเทศมาใช้ เนื่องจากต้องการลดต้นทุนมากที่สุด ร้อยละ 42.0 รองลงมาคือเพื่อเพิ่มคุณภาพการบริการ ร้อยละ 27.8 สถานประกอบการที่นำระบบสารสนเทศมาใช้จะนำมาใช้ในฟังก์งานบัญชีมากที่สุด ร้อยละ 81.6 รองลงมาคือการระบบสารสนเทศมาใช้ในงานการเงิน ร้อยละ 62.0 สถานประกอบการใช้วิธีการจัดหาระบบสารสนเทศด้วยวิธีการซื้อโปรแกรมสำเร็จรูปมากที่สุด ร้อยละ 49.1 รองลงมาคือการพัฒนาเองภายในองค์กรร้อยละ 30.8 สาเหตุที่สถานประกอบการยังไม่นำระบบสารสนเทศมาใช้มากที่สุดคือสถานประกอบการมีขนาดเล็กร้อยละ 44.1 รองลงมาได้แก่ขาดบุคลากรที่มีความรู้ ร้อยละ 41.2 ด้านประมาณจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในสถานประกอบการในจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีจำนวนคอมพิวเตอร์เฉลี่ยอยู่ระหว่าง 5.23 ถึง 10.71 เครื่อง ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 เมื่อเปรียบเทียบการใช้คอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการของสถานประกอบการแต่ละประเภทพบว่า จำนวนคอมพิวเตอร์เฉลี่ยในสถานประกอบการประเภทอุตสาหกรรม มีความแตกต่างจากสถานประกอบการประเภทซื้อมาขายไป ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการทดสอบความแตกต่างของการนำระบบสารสนเทศมาใช้ของสถานประกอบการแต่ละประเภท สรุปได้ว่าการนำระบบสารสนเทศมาใช้งาน มีความสันพันธ์กับประเภทของสถานประกอบการ ปัญหาการใช้ระบบสารสนเทศในการสถานประกอบการ สถานประกอบการยังมีปัญหาในการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน โดยเฉพาะปัญหาในด้านบุคลากรซึ่งมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลางค่อนมาทางระดับสูง ความต้องการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในแต่ละระดับพบว่าสถานประกอบการต้องการใช้ระบบสารสนเทศระดับสูงคือระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในการวางแผน นโยบาย กลยุทธ์ และการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง และ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในส่วนยุทธวิธีในการวางแผนการปฏิบัติ และการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง อยู่ในระดับมาก และต้องการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในระดับปฏิบัติการและการควบคุมของผู้บริหารระดับต้น และ ระบบสารสารสนเทศเพื่อการประมวลผลสำหรับพนักงาน อยู่ในระดับปานกลาง ความต้องการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในแต่ละประเภท พบว่าสถานประกอบการต้องการใช้ระบบสารสนเทศสำหรับการขาย/การตลาด ระบบสารสนเทศสำหรับการเงิน/บัญชี อยู่ในระดับมาก และต้องการใช้ระบบสารสนเทศสำหรับโรงงาน/การผลิต ระบบสารสนเทศสำหรับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และระบบสารสนเทศเพื่อการวิจัยและพัฒนาอยู่ในระดับปานกลาง


ที่มา //www.rajabhatwijai.ssru.ac.th/upload/ไพรัช%20%20อนงค์.doc


โดย: นางสาว ปาริสา แคนหนอง 52040332140 หมู่ 15 ศุกร์ (เช้า) IP: 125.26.233.139 วันที่: 4 กรกฎาคม 2552 เวลา:1:54:40 น.  

 
ข้อ 1 การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและเปรียบเทียบปัญหาการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการในเขตการศึกษา 11ระหว่างสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด กับสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นศึกษาธิการจังหวัด ผู้ช่วยศึกษาธิการจังหวัด ศึกษาธิการอำเภอ ผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอ หัวหน้าฝ่าย และนักวิชาการศึกษาในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด และสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ เขตการศึกษา 11 จำนวน 288 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ถามระดับการปฏิบัติและปัญหาการปฏิบัติงานการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 85 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.28-0.80 และมีความเชื่อมั่น 0.98 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ t-test (Independent) ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการปฏิบัติงาน การผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 11 โดยส่วนรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า การกำกับติดตามและประเมินผล การประชุมวางแผนปฏิบัติงาน และการรายงานความก้าวหน้า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงาน การกำหนดสายงาน การกำหนดเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุด การกำหนดวิธีการปฏิบัติงาน และการกำหนดวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติงาน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นส่วนของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพบว่า สภาพการปฏิบัติงานการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาในระดับจังหวัดรวมทุกข้อ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า การประชุมวางแผนปฏิบัติงาน การรายงานความก้าวหน้า และการกำกับติดตาม ประเมินผล มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนข้ออื่น ๆ นอกจากนี้มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นสำนักงานศึกษาธิการอำเภอพบว่า สภาพการปฏิบัติงานการผลิตข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาในระดับอำเภอรวมทุกข้อ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า การกำกับติดตามประเมินผล การกำหนดวัตถุประสงค์ การรายงานความก้าวหน้าและการประชุมวางแผนปฏิบัติงาน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง นอกนั้นมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 2. สภาพการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด และสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ เขตการศึกษา 11 ในกระบวนการผลิต 9 ด้าน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลางทุกด้านเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยคือ การรวบรวมข้อมูล การจำแนกข้อมูล การคำนวณข้อมูลการตรวจสอบข้อมูล การสรุปข้อมูล การเรียกใช้ข้อมูล การจัดเรียงลำดับข้อมูล การจัดเก็บข้อมูล และการเผยแพร่ข้อมูล เมื่อพิจารณาเป็นสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ พบว่าสภาพการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาโดยรวม และจำแนกเป็นรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพบว่า ด้านการคำนวณข้อมูล มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านอื่น ๆ นอกนั้นมีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง 3. ปัญหาการปฏิบัติงานการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและสำนักงานศึกษาธิการอำเภอในเขตการศึกษา 11 โดยส่วนรวมมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลางเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า การประชุมวางแผนการปฏิบัติงานการกำกับติดตามและประเมินผล การรายงานความก้าวหน้า และการกำหนดวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติงาน มีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านอื่น ๆ นอกจากนี้มีปัญหาอยู่ในระดับน้อย 4. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด และสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ในเขตการศึกษา 11 มีปัญหาการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา ในกระบวนการผลิต 9 ขั้น รวมทุกด้าน มีปัญหาอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีปัญหาอยู่ในระดับน้อยทุกด้าน เมื่อพิจารณาเป็นส่วนสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพบว่า มีปัญหารวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง และพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการคำนวณข้อมูล มีปัญหาอยู่ในระดับน้อย ส่วนด้านอื่น ๆ นอกนั้น มีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสำนักงานศึกษาธิการอำเภอพบว่ามีปัญหารวมทุกด้านอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มีปัญหาอยู่ในระดับน้อยทุกด้าน 5. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด และสำนักงานศึกษาธิการอำเภอในเขตการศึกษา 11 มีปัญหาการผลิตสารสนเทศทางการศึกษารวมทุกด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการรวบรวมข้อมูลและด้านการตรวจสอบข้อมูลมีปัญหาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่น ๆ นอกจากนี้มีปัญหาไม่แตกต่างกัน สำหรับข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไปคือ 1. ควรได้มีการวิจัยเพื่อศึกษาถึงระบบและการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาที่สะดวกต่อการบริหารงานและการปฏิบัติงาน ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการในระดับจังหวัด และระดับอำเภอ ในอันที่จะใช้ข้อมูลเป็นแนวทางปฏิบัติครั้งต่อไปด้านนี้ 2. ควรทำการวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน การผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของสำนักงานการศึกษาธิการจังหวัด และสำนักงานการศึกษาอำเภอ เพื่อประโยชน์ในการวางแผน และปรับปรุงการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป 3. ควรพิจารณากำหนดตัวแปร ที่ใช้ในทางการศึกษาให้กว้างขวางขึ้น เช่น ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน เพศ ความรู้ ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ เป็นต้น เพื่อจะช่วยให้ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับสภาพและปัญหา การผลิตสารสนเทศการศึกษาที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
ที่มา //www.tkc.go.th/thesis/abstract.asp?item_id=8549


โดย: นางสาว อนุสรา แคนหนอง 52040332139 หมู่เรียน 15 ศุกร์ เช้า IP: 125.26.234.226 วันที่: 4 กรกฎาคม 2552 เวลา:22:58:04 น.  

 

4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง
ตอบ

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต

ขบวนการในการผลิตประกอบด้วยงานที่ขึ้นต่อกันมากมาย โดยการนำระบบการวางแผนทรัพยากรของ องค์กรมาใช้ร่วมในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิตจะช่วยให้การทำงาน มีความยืดหยุ่นและมีการจัดหาทรัพยากรที่ต้องการใช้ได้ทันต่อความต้องการ โดยจุดประสงค์ของขบวนการผลิตก็คือการผลิตได้ตรงตามความพอใจหรือความต้องการ ของลูกค้านั่นเอง
ในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต ภาระของผู้บริหารในการดูแลควบคุมงานจะถูกลดลงไป, งานด้านเอกสารต่างๆ จะถูกปรับให้อยู่ในรูปของขบวนการออนไลน์และการติดต่อสื่อสารข้อมูลจะใช้งานผ่านระบบการ แลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (EDI) และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแทน อีกทั้งในการวางแผนการใช้ทรัพยากรของ องค์กรเพื่อการผลิตจะใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายอินทราเน็ตในองค์กร เพื่อติดต่อกับหน่วยงานธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ เพื่อปฏิบัติงานและงานควบคุมงานต่างๆ ทั้งแบบศูนย์กลางและแบบกระจายได้ รูปที่ 16 แสดงภาพรวมของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต


รูปที่ 16 ภาพรวมของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต


ส่วนที่นำเข้าไปยังระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต

ส่วนที่นำเข้าจะได้จากกการปฏิบัติงานซึ่งเกี่ยวกับการไหลเวียนและการแปลงวัตถุดิบภายในองค์กร แหล่ง สารสนเทศที่สำคัญอาจมาจากภายนอกองค์กรก็ได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะมาจากภายใน เช่น

1. แผนเชิงกลยุทธ์และนโยบายของบริษัท ซึ่งจะเป็นส่วนที่กำหนดทิศทางของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต เช่นเอกสารเกี่ยวกับการวางแผนระยะยาวที่กล่าวถึงเรื่องคุณภาพ, การผลิต, และเป้าหมายและข้อจำกัดในการให้บริการ รวมถึงนโยบายในการเปิดโรงงานใหม่หรือการปิดโรงงานเก่าลงและเรื่องของความสามารถในการผลิตที่เพิ่มขึ้นได้, ข้อจำกัดของจำนวนพนักงานที่มี, การเปลี่ยนนโยบายการเก็บสินค้าคงคลัง และโปรแกรมการควบคุมคุณภาพใหม่ที่ต้องการใช้ เหล่านี้จัดเป็นสารสนเทศที่นำเข้าสู่ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต
2. ระบบประมวลผลรายการ ได้แก่ข้อมูลที่ได้จากระบบประมวลผลรายการด้านต่างๆที่เกี่ยวข้อในการผลิต ได้แก่ การประมวลผลการสั่งซื้อ, ข้อมูลสินค้าคงคลัง, ข้อมูลการรับและการตรวจสอบวัตถุดิบที่เข้ามาในขบวนการผลิต, ข้อมูลบุคลากร, และข้อมูลขบวนการผลิต
3. แหล่งข้อมูลภายนอก ได้แก่ ข้อมูลขบวนการในการผลิตใหม่ๆ ซึ่งอาจมาจากบริษัท, วารสาร และสิ่งพิมพ์อื่นๆ หรือได้จาก เครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือข้อมูลเกี่ยวกับสภาพวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้สามารถคาดเดาในเรื่องของแรงงาน และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับวัตถุดิบได้ นอกเหนือจากนี้ยังมีแหล่งข้อมูลภายนอกอื่นๆ อีก เช่น องค์กรผู้เชี่ยวชาญต่างๆ, สมาคมทางธุรกิจ ซึ่งสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับคู่แข่งขัน ทั้งในด้านขบวนการผลิตและกลุ่มลูกค้าใหม่ๆที่น่าสนใจได้

ระบบย่อยและผลที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต

ระบบย่อยและผลลัพธ์ที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต ได้แก่ การตรวจสอบและควบคุมการไหลเวียนของวัตถุดิบ, สินค้า และบริการต่างๆภายในองค์กร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตสินค้าได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า ตั้งแต่เริ่มขบวนการนำวัตถุดิบมาผ่านขั้นตอนการผลิตจนกระทั่งเสร็จเป็นสินค้าและบริการที่จะส่งไปยังลูกค้า โดยที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ระบบย่อยและผลลัพธ์ที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต ได้แก่

1. การออกแบบและการปฏิบัติเชิงวิศวกรรม (Design and Engineering) ได้แก่การพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยสามารถใช้ระบบการออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (Computer-Aided Design : CAD) ซึ่งเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ โดยผู้ใช้สามารถออกแบบและแก้ไข ตัวแบบได้เองบนจอภาพ
2. การจัดตารางการผลิต (Production Planning) เพื่อจัดการรายละเอียดแผนงานการผลิตทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยใช้ซอฟต์แวร์ที่ทำงานในด้านนี้เข้ามาช่วย ซึ่งในซอฟต์แวร์นี้อาจมีคุณสมบัติในการทำนายและพิจารณาหาความต้องการของสินค้าและบริการที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ทำให้สามารถวางแผนเพื่อกำหนดการผลิตให้ได้ตรงตามความต้องการ
3. การควบคุมสินค้าคงคลัง (Inventory Control) ได้แก่การใช้ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการสั่งซื้อ, การทำนาย, การผลิตเอกสารและรายงานร้านค้า, การพิจารณาหาค่าใช้จ่ายในการผลิต, การวิเคราะห์งบประมาณค่าใช้จ่ายที่วางไว้เปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายจริง, และการพัฒนาตารางการผลิต, บอกความต้องการทรัพยากรในการผลิตและวางแผนการผลิตได้อย่างอัตโนมัติ โดยปกติแล้วซอฟต์แวร์ต่างๆเหล่านี้จะมีสูตรในการคำนวณเพื่อหาจำนวนวัตถุดิบและช่วงเวลาที่จะต้องสั่งซื้อได้ วิธีการหาว่าต้องสั่งสินค้ามาไว้ในคลังปริมาณเท่าใดเรียกว่าวิธีการกาปริมาณหารสั่งซื้อมางเศรษฐกิจ (Economic Order Quantity : EOQ) โดยปริมาณที่หาได้นี้จะต้องทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุดด้วย ส่วนการหาว่าต้องสั่งสินค้ามาไว้ในคลังเมื่อใดจะใช้วิธีการหาจุดสั่งซื้อเพิ่ม Reorder Point : ROP) ซึ่งแสดงถึงค่าระดับปริมาณสินค้าคงคลังที่วิกฤติ
4. การวางแผนการใช้ทรัพยากรการผลิต(Manufacturing Resource Planning : MRPII) ได้แก่ระบบที่ใช้การวางแผนเครือข่ายเพื่อให้บุคคลต่างๆ สามารถดำเนินธุรกิจเพื่อให้บริการและผลผลิตแก่ลูกค้าได้เป็นจำนวนมาก ในขณะที่เสียค่าใช้จ่ายและมีสินค้าหรือวัตถุดิบในคลังสินค้าในปริมาณต่ำ โดยมีการทำนายความต้องการของลูกค้า, การควบคุมสินค้าคงคลัง, การวางแผนการผลิต, การแสดง รายการวัตถุดิบที่ต้องใช้, การวางแผนการสรรหาแหล่งวัตถุดิบที่ต้องใช้ เพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ จะถูกส่งไปให้แก่ลูกค้าได้ในเวลาที่ต้องการ
5. การควบคุมสินค้าและการผลิตที่ทันเวลา (Just-in-Time Inventory and Manufacturing) การเก็บสินค้าและวัตถุดิบในคลังสินค้าเป็นจำนวนมากทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูง และอาจเกิดการเสียหายได้ ดังนั้นวัตถุประสงค์หนึ่งของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิตก็คือ การควบคุมสินค้าคงคลังให้อยู่ในระดับที่ต่ำที่สุด โดยไม่กระทบกับความต้องการในการนำสินค้าหรือวัตถุดิบนั้นไปใช้ในการผลิต วิธีที่นิยมใช้ได้แก่วิธีการควบคุมคลังสินค้าแบบทันเวลา (Just-in-Time : JIT Inventory Approach) ซึ่งสินค้าและวัตถุดิบจะถูกส่งไปให้ในช่วงเวลาก่อนที่จะสินค้าหรือวัตถุดิบนั้นไปใช้ในการผลิต ทำให้ไม่ต้องเก็บไว้ในคลังสินค้าเป็นช่วงเวลานานๆ
6. การควบคุมขบวนการผลิต ในการควบคุมการผลิตมีเทคโนโลยีที่สนับสนุนมากมาย เช่น การผลิตโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (Computer-Aided Manufacturing : CAM) เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการด้านการผลิต เช่น การตรวจสอบและติดตาม ได้แก่การควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ในการผลิตต่างๆ การตรวจสอบค่าและข้อกำหนดในการผลิตต่างๆ เช่น อุณหภูมิที่ใช้ ค่าความดันอากาศฯลฯ หรือใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการกำหนดรหัสสินค้า การจัดลำดับในขบวนการผลิต เป็นต้น
7. การนำคอมพิวเตอร์เข้าไปช่วยในการผลิต (Computer-Integrated Manufacturing : CIM) ได้แก่การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมโยงองค์ประกอบต่างๆในขบวนการผลิตเข้าด้วยกันเป็นระบบที่มี ประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวมขั้นตอนการผลิตทั้งหมด เช่น การประมวลผลการสั่งซื้อ, การออกแบบผลิตภัณฑ์, การผลิต การควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพ และการขนส่งเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มประสิทธภาพในด้านการทำงานส่วนต่างๆ ที่ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน โดยอาจนำระบบการผลิตแบบคล่องตัว (Flexible Manufacturing System : FMS) เข้ามาใช้ร่วมด้วย ทำให้สามารถเปลี่ยนการผลิตสินค้าอย่างหนึ่งเป็นอีกอย่างหนึ่งเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
8. การควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพ (Quality Control and Testing) ได้แก่ ขบวนการในการในการควบคุมเพื่อให้แน่ใจว่าสินค้าที่ผลิตออกมาตรงตามที่ลูกค้า ต้องการ โดยใช้ซอฟต์แวร์ในการควบคุมคุณภาพ ต่างๆ ผลลัพธ์ที่ได้จากระบบการควบคุมคุณภาพ ได้แก่รายงาน ค่าใช้จ่ายที่ลดลงและยอดขายที่เพิ่มขึ้น โดยสารสนเทศที่ได้จากระบบนี้จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทราบถึงปัญหาเกี่ยวกับ อุปกรณ์การผลิตและรายงานควบคุมคุณภาพยังใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ดีขึ้น อีกด้วย

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการตลาด

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการตลาด จะสนับสนุนการทำงานด้านการบริหารการพัฒนาผลิตภัณฑ์, การกระจายผลิตภัณฑ์, การตัดสินใจเรื่องราคา, การโฆษณาผลิตภัณฑ์อย่างมีประสิทธิผลและการทำนายยอดขาย โดยรูปที่ 17 แสดงภาพรวมของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการตลาด



รูปที่ 17 ภาพรวมของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการตลาด


ส่วนที่นำเข้าไปยังระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการตลาด
ส่วนที่นำเข้าไปในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการตลาด มักจะได้มาจากแหล่งข้อมูลภายนอกได้แก่ อินเทอร์เน็ต, บริษัทคู่แข่งขัน, ลูกค้า, วารสาร และนิตยสาร และสิ่งพิมพ์อื่นๆ แต่ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลภายในก็ยังคงมีความสำคัญอยู่ ได้แก่

1. แผนเชิงกลยุทธ์ และนโยบายของบริษัท ได้แก่แผนเชิงกลยุทธ์ในเรื่องเป้าหมายและทิศทางของยอดขายที่ต้องการ การกำหนดราคาสินค้าและบริการ, ช่องทางการกระจายสินค้า, รายการสนับสนุนการขาย, คุณลักษณะของสินค้าใหม่และในแผนเชิงกลยุทธ์ยังอาจมีการกำหนดแนวทางในการวิเคราะห์สารสนเทศทางด้านการตลาด และการตัดสินใจด้านการตลาดด้วย
2. ระบบประมวลผลรายการ ในระบบประมวลผลรายการจะประกอบด้วยข้อมูลด้านการขายและด้านการตลาดมากมาย เช่นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์, ลูกค้า, และการขาย เป็นต้น นอกจากข้อมูลที่ได้จากระบบประมวลผลรายการแล้ว ยังอาจได้จากระบบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) ด้วย
3. แหล่งข้อมูลภายนอก ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลภายนอก ได้แก่
- ข้อมูลเกี่ยวกับคู่แข่งขัน เช่นข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการใหม่ๆ, กลยุทธ์ในการกำหนดราคา, จุดแข็งและจุดอ่อนของประเภทผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่, การจัดหีบห่อ, การตลาด และการกระจายสินค้าไปยังลูกค้าของบริษัทคู่แข่งที่มีอยู่ในตลาด ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถหาได้จากวัตถุดิบทางการตลาดเช่น แผ่นพับ, แผนการขายที่ได้จากบริษัทคู่แข่ง, จากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตฯลฯ
- ข้อมูลเกี่ยวกับตลาด ซึ่งมักจะได้มาจากการสังเกตพฤติกรรมผู้บริโภค โดยหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในด้านวิจัยตลาด เป็นต้น

ระบบย่อยและผลที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการตลาด

ระบบย่อยในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการตลาด ได้แก่ การวิจัยตลาด, การพัฒนาผลิตภัณฑ์, การโฆษณาและรายการสนับสนุนการขาย, และการกำหนดราคาสินค้า โดยผลลัพธ์ของระบบย่อยเหล่านี้จะช่วยให้ผู้จัดการด้านการตลาดและผู้บริหารสามารถเพิ่มยอดขาย, ลดค่าใช้จ่ายในการตลาดและพัฒนาแผนในการให้บริการและการผลิตสินค้าล่วงหน้าเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้
//irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/Knowledge/Management Information Systems/mis6.ht


โดย: นางสาวมาริษา ดวงกุลสา เรียนเช้าวันพฤหัสบดี หมู่8 52040305128 ภาษาอังกฤษธุรกิจ IP: 1.1.1.18, 202.29.5.62 วันที่: 9 กรกฎาคม 2552 เวลา:23:12:16 น.  

 
4.1

การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้



ที่มา : //ecurriculum.mv.ac.th/techno/library/computer/it/it/HTM/03Lesson2.html


โดย: นส.สุกัญญา มาสาซ้าย นศ.หมู่8 พฤหัสเช้า IP: 172.29.168.202, 58.137.131.62 วันที่: 10 กรกฎาคม 2552 เวลา:15:24:23 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง

การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้


//ecurriculum.mv.ac.th/techno/library/computer/it/it/HTM/03Lesson2.html



โดย: นส.บลสิการ ดอนโสภา หมู่เรียน 15 ศุกร์ เช้า รหัส 52041151217 IP: 113.53.166.202 วันที่: 11 กรกฎาคม 2552 เวลา:11:55:59 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง
ตอบข้อ 4.1
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ไดh
ที่มา//ecurriculum.mv.ac.th/techno/library/computer/it/it/HTM/03Lesson2.html


โดย: นายบดินทร์ แก้วมีศรี หมู่ 01(พิเศษ) 52240210214 สาธารณสุขศาสตร์ IP: 113.53.166.202 วันที่: 11 กรกฎาคม 2552 เวลา:12:55:54 น.  

 
1.การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้ อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การ ทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ความ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมุลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบ ข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมุลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะคือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูล เป็น หมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณ์ ที่หมาะสมมีความหมายและเป็น ประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูลและการกำหนด รหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล ว่าจะจัดเรียงลำดับระเบียบ ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกันหรือแบ่ง กลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้น ต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัย ของ ข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็น สารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูล ในรูปความสัมพันธ์ กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการ ของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ ผ่านการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออก จากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้าย ของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำให้แบบ เอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ
ลักษณะของสารสนเทศที่ดีต้องประกอบไปด้วยรายละเอียด ดังนี้
1. ความเที่ยงตรง (Accuracy) หมายถึง ปราศจากความเอนเอียง สารสนเทศที่ดี ต้องบอกลักษณะความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ไม่ชี้นำปทางใดทางหนึ่ง
2. ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ (Relevancy) หมายถึง มีเนื้อหาตรงกับเรื่อง ที่ต้องการใช้ของผู้ใช้แต่ละคน
3. ทันต่อเวลา (Timeliness) หมายถึง สามารถนำสารสนเทศที่ต้องการไปใช้ได้ ทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การจัดเตรียมสารสนเทศให้ทันต่อเวลา ที่ต้องการใช้ มี 2 ลักษณะ คือ การจัดทำสารสนเทศล่วงหน้าตามกำหนดเวลาที่เหตุการณ์จะเกิดในอนาคต และการจัดทำสาร สนเทศอย่างรวดเร็วเพื่อนำไปใช้ในเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น

ที่มา..//rbu.rb.ac.th/~cow/science/4000107/lesson1/lesson1.1.html


โดย: น.ส.วิภาดา นาสิงห์ขันธ์ หมู่8(พฤหัสเช้า) IP: 1.1.1.141, 202.29.5.62 วันที่: 11 กรกฎาคม 2552 เวลา:23:27:15 น.  

 
แบบฝึกหัด 4

4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง

ตอบ

การผลิตในอุตสาหกรรม และการพาณิชยกรรม การแข่งขันทางด้านการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมจำเป็นต้องหาวิธีการในการผลิตให้ได้มาก ราคาถูกลง
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เข้ามามีบทบาทมาก มีการใช้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริหาร
และการจัดการ การดำเนินการและยังรวมไปถึงการให้บริการกับลูกค้า เพื่อให้ซื้อสินค้าได้สะดวกขึ้น


ที่มา
//www.nukul.ac.th/it/content/02/2-1.html



โดย: นางสาววิภายี กลางหล้า ม. 15 ศุกร์เช้า IP: 192.168.1.102, 125.26.167.254 วันที่: 13 กรกฎาคม 2552 เวลา:14:41:43 น.  

 
การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้
TOP


โดย: นางสาว ธัญธิตา แก้วมีศรี ม. 15 ศุกร์เช้า 52041151239 IP: 192.168.1.104, 125.26.167.254 วันที่: 13 กรกฎาคม 2552 เวลา:15:06:44 น.  

 
แบบฝึกหัด
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง


กระบวนการผลิตสารสนเทศ

สินค้าต่างๆ เกิดจากการนำเอาวัตถุดิบมาผ่านกระบวนการผลิตเมื่อผ่านขั้นตอนนี้ก็จะได้สินค้าสำเร็จรูปที่พร้อมสำหรับนำออกวางจำหน่ายตามท้องตลาด เช่น การผลิตเสื้อ เกิดจากการนำเอาใยผ้ามาผ่านการฟอก การย้อม การออกแบบ การตัดเย็บและขั้นตอนอื่นๆ จนเสร็จเป็นเสื้อตัวหนึ่ง เปรียบได้กับการผลิตสารสนเทศที่เกิดขึ้นจากการนำเอาข้อมูลมาทำการประมวลผล จากนั้นจะได้สารสนเทศ ที่พร้อมสำหรับการนำไปใช้ประโยชน์

กระบวนการในการผลิตสารสนเทศ เรียกว่า การประมวลผล (Processing) มีองค์ประกอบ ดังนี้

1. การจัดเก็บข้อมูล เป็นขั้นตอนของการจัดเตรียมข้อมูล การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญ หากมีการจัดเตรียมข้อมูลที่ดีผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลย่อมดีตามไปด้วย

2. การบันทึกข้อมูล เป็นขั้นตอนการนำเอาข้อมูลที่มีการจัดเก็บหรือจัดเตรียมไว้มาทำการบันทึกลงในเรื่องคอมพิวเตอร์ เช่น บันทึกไว้ในแผ่นดิสเก็ต ซีดีรอม

3. การตรวจสอบความถูกต้อง เป็นขั้นตอนของการตรวจสอบข้อมูลที่ได้ทำการบันทึกลงในเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว โดยตรวจสอบว่าถูกต้องตรงกับข้อมูลต้นฉบับหรือไม่ และมีความสมเหตุสมผลหรือไม่

4. การจัดกลุ่มและการแยกประเภทข้อมูล เป็นขั้นตอนของการจัดกลุ่มและแยกประเภทข้อมูล ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นหมวดหมู่อย่างเหมาะสม เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการเรียกใช้งาน

5. การประมวลผล เป็นขั้นตอนที่ข้อมูลจะกลายเป็นสารสนเทศโดยนำเอาข้อมูลที่ได้จัดเตรียมไว้มาทำการประมวลผล เพื่อสร้างเป็นผลลัพธ์ เช่น นำเอาคะแนนสอบทั้งปีของนักเรียนมาทำการประมวลผลเป็นคะแนนรวมเพื่อตัดเกรดของนักเรียน

6. การจัดทำรายงาน เป็นขั้นตอนของการนำเอาสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลมาใช้ประโยชน์โดยจัดทำเป็นรายงานในรูปแบบต่างๆ ตามความเหมาะสมกับชนิดของงานแต่ละอย่าง เพื่อความถูกต้องและสะดวกรวดเร็วในการนำไปประกอบการตัดสินใจ

//itucke.hroyy.com/?page_id=115




โดย: นางสาว สุทธิดา ยาโย 52240210217 วัน พฤหัสฯค่ำ หมู่ 1 IP: 119.42.82.8 วันที่: 15 กรกฎาคม 2552 เวลา:15:00:34 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง
ตอบ กระบวนการผลิตสารสนเทศ

สินค้าต่างๆ เกิดจากการนำเอาวัตถุดิบมาผ่านกระบวนการผลิตเมื่อผ่านขั้นตอนนี้ก็จะได้สินค้าสำเร็จรูปที่พร้อมสำหรับนำออกวางจำหน่ายตามท้องตลาด เช่น การผลิตเสื้อ เกิดจากการนำเอาใยผ้ามาผ่านการฟอก การย้อม การออกแบบ การตัดเย็บและขั้นตอนอื่นๆ จนเสร็จเป็นเสื้อตัวหนึ่ง เปรียบได้กับการผลิตสารสนเทศที่เกิดขึ้นจากการนำเอาข้อมูลมาทำการประมวลผล จากนั้นจะได้สารสนเทศ ที่พร้อมสำหรับการนำไปใช้ประโยชน์

กระบวนการในการผลิตสารสนเทศ เรียกว่า การประมวลผล (Processing) มีองค์ประกอบ ดังนี้

1. การจัดเก็บข้อมูล เป็นขั้นตอนของการจัดเตรียมข้อมูล การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญ หากมีการจัดเตรียมข้อมูลที่ดีผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลย่อมดีตามไปด้วย

2. การบันทึกข้อมูล เป็นขั้นตอนการนำเอาข้อมูลที่มีการจัดเก็บหรือจัดเตรียมไว้มาทำการบันทึกลงในเรื่องคอมพิวเตอร์ เช่น บันทึกไว้ในแผ่นดิสเก็ต ซีดีรอม
3. การตรวจสอบความถูกต้อง เป็นขั้นตอนของการตรวจสอบข้อมูลที่ได้ทำการบันทึกลงในเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว โดยตรวจสอบว่าถูกต้องตรงกับข้อมูลต้นฉบับหรือไม่ และมีความสมเหตุสมผลหรือไม่

4. การจัดกลุ่มและการแยกประเภทข้อมูล เป็นขั้นตอนของการจัดกลุ่มและแยกประเภทข้อมูล ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นหมวดหมู่อย่างเหมาะสม เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการเรียกใช้งาน

5. การประมวลผล เป็นขั้นตอนที่ข้อมูลจะกลายเป็นสารสนเทศโดยนำเอาข้อมูลที่ได้จัดเตรียมไว้มาทำการประมวลผล เพื่อสร้างเป็นผลลัพธ์ เช่น นำเอาคะแนนสอบทั้งปีของนักเรียนมาทำการประมวลผลเป็นคะแนนรวมเพื่อตัดเกรดของนักเรียน

6. การจัดทำรายงาน เป็นขั้นตอนของการนำเอาสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลมาใช้ประโยชน์โดยจัดทำเป็นรายงานในรูปแบบต่างๆ ตามความเหมาะสมกับชนิดของงานแต่ละอย่าง เพื่อความถูกต้องและสะดวกรวดเร็วในการนำไปประกอบการตัดสินใจ


ที่มา //itucke.hroyy.com/?page_id=115


โดย: โดยน.ส อังคณา สุทธิแพทย์52240210209 หมู่01(พิเศษ)พฤ.ค่ำ สาขา สาธารณสุขศาสตร์ IP: 119.42.82.8 วันที่: 15 กรกฎาคม 2552 เวลา:15:27:39 น.  

 
การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้



ที่มา : //ecurriculum.mv.ac.th/techno/library/computer/it/it/HTM/03Lesson2.html





โดย: นาย โชคชัย เชื้อมแก้ว ม.15 ศุกร์เช้า IP: 124.157.149.104 วันที่: 18 กรกฎาคม 2552 เวลา:12:49:07 น.  

 


การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้ อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การ ทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ความ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้



โดย: นายนนทนันท์ ดวงพิมพ์ ม.15 ศ. เช้า IP: 124.157.149.104 วันที่: 18 กรกฎาคม 2552 เวลา:12:53:59 น.  

 
4.1)การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้
//ecurriculum.mv.ac.th/techno/library/computer/it/it/HTM/03Lesson2.htm


โดย: น.ส. วิไลวรรณ พงค์พันธ์ ม.29 พุธเช้า 52040501303 IP: 124.157.145.197 วันที่: 22 กรกฎาคม 2552 เวลา:18:18:25 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง
การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้
//ecurriculum.mv.ac.th/techno/library/computer/it/it/HTM/03Lesson2.htm


โดย: นายอดิศักดิ์ รักวิชา ม.1(พิเศษ) พฤ.ค่ำ 52240427132 IP: 172.29.5.133, 202.29.5.62 วันที่: 23 กรกฎาคม 2552 เวลา:17:28:29 น.  

 
ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง
การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้
//ecurriculum.mv.ac.th/techno/library/computer/it/it/HTM/03Lesson2.htm


โดย: นายนิรัช วิจิตรกุล ม.1(พิเศษ) พฤ.ค่ำ 52240427117 IP: 117.47.10.111 วันที่: 24 กรกฎาคม 2552 เวลา:4:09:53 น.  

 
1.. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง

ตอบ การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้ แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของ ผู้ใช้ได้

ที่มา
//ecurriculum.mv.ac.th/techno/library/computer/it/it/HTM/03Lesson2.html#top


โดย: นาย สุระทิน ใจใส หมู่ 15 รหัส 52041151202 IP: 1.1.1.63, 58.137.131.62 วันที่: 26 กรกฎาคม 2552 เวลา:16:10:18 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการตลาด จะสนับสนุนการทำงานด้านการบริหารการพัฒนาผลิตภัณฑ์, การกระจายผลิตภัณฑ์, การตัดสินใจเรื่องราคา, การโฆษณาผลิตภัณฑ์อย่างมีประสิทธิผลและการทำนายยอดขาย โดยรูปที่ 17 แสดงภาพรวมของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการตลาด





รูปที่ 17 ภาพรวมของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการตลาด


ส่วนที่นำเข้าไปยังระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการตลาด
ส่วนที่นำเข้าไปในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการตลาด มักจะได้มาจากแหล่งข้อมูลภายนอกได้แก่ อินเทอร์เน็ต, บริษัทคู่แข่งขัน, ลูกค้า, วารสาร และนิตยสาร และสิ่งพิมพ์อื่นๆ แต่ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลภายในก็ยังคงมีความสำคัญอยู่ ได้แก่

1. แผนเชิงกลยุทธ์ และนโยบายของบริษัท ได้แก่แผนเชิงกลยุทธ์ในเรื่องเป้าหมายและทิศทางของยอดขายที่ต้องการ การกำหนดราคาสินค้าและบริการ, ช่องทางการกระจายสินค้า, รายการสนับสนุนการขาย, คุณลักษณะของสินค้าใหม่และในแผนเชิงกลยุทธ์ยังอาจมีการกำหนดแนวทางในการวิเคราะห์สารสนเทศทางด้านการตลาด และการตัดสินใจด้านการตลาดด้วย
2. ระบบประมวลผลรายการ ในระบบประมวลผลรายการจะประกอบด้วยข้อมูลด้านการขายและด้านการตลาดมากมาย เช่นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์, ลูกค้า, และการขาย เป็นต้น นอกจากข้อมูลที่ได้จากระบบประมวลผลรายการแล้ว ยังอาจได้จากระบบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) ด้วย
3. แหล่งข้อมูลภายนอก ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลภายนอก ได้แก่
- ข้อมูลเกี่ยวกับคู่แข่งขัน เช่นข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการใหม่ๆ, กลยุทธ์ในการกำหนดราคา, จุดแข็งและจุดอ่อนของประเภทผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่, การจัดหีบห่อ, การตลาด และการกระจายสินค้าไปยังลูกค้าของบริษัทคู่แข่งที่มีอยู่ในตลาด ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถหาได้จากวัตถุดิบทางการตลาดเช่น แผ่นพับ, แผนการขายที่ได้จากบริษัทคู่แข่ง, จากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตฯลฯ
- ข้อมูลเกี่ยวกับตลาด ซึ่งมักจะได้มาจากการสังเกตพฤติกรรมผู้บริโภค โดยหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในด้านวิจัยตลาด เป็นต้น

ระบบย่อยและผลที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการตลาด

ระบบย่อยในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการตลาด ได้แก่ การวิจัยตลาด, การพัฒนาผลิตภัณฑ์, การโฆษณาและรายการสนับสนุนการขาย, และการกำหนดราคาสินค้า โดยผลลัพธ์ของระบบย่อยเหล่านี้จะช่วยให้ผู้จัดการด้านการตลาดและผู้บริหารสามารถเพิ่มยอดขาย, ลดค่าใช้จ่ายในการตลาดและพัฒนาแผนในการให้บริการและการผลิตสินค้าล่วงหน้าเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้



โดย: น.ส วนิดา ปัตตานี เช้าวันศุกร์ หมู่15 IP: 172.29.5.133, 202.29.5.62 วันที่: 26 กรกฎาคม 2552 เวลา:16:22:58 น.  

 
ตรวจแล้ว (ครั้งที่ 1)


โดย: อ.น้ำผึ้ง (neaup ) วันที่: 28 กรกฎาคม 2552 เวลา:9:16:18 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง
การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้


//ecurriculum.mv.ac.th/techno/library/computer/it/it/HTM/03Lesson2.html





โดย: น.ส.ผกาพรรณ หงษ์ทอง หมู่ 1 จันทร์-บ่าย IP: 124.157.146.74 วันที่: 29 กรกฎาคม 2552 เวลา:19:17:27 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง

กระบวนการผลิตสารสนเทศ

สินค้าต่างๆ เกิดจากการนำเอาวัตถุดิบมาผ่านกระบวนการผลิตเมื่อผ่านขั้นตอนนี้ก็จะได้สินค้าสำเร็จรูปที่พร้อมสำหรับนำออกวางจำหน่ายตามท้องตลาด เช่น การผลิตเสื้อ เกิดจากการนำเอาใยผ้ามาผ่านการฟอก การย้อม การออกแบบ การตัดเย็บและขั้นตอนอื่นๆ จนเสร็จเป็นเสื้อตัวหนึ่ง เปรียบได้กับการผลิตสารสนเทศที่เกิดขึ้นจากการนำเอาข้อมูลมาทำการประมวลผล จากนั้นจะได้สารสนเทศ ที่พร้อมสำหรับการนำไปใช้ประโยชน์

กระบวนการในการผลิตสารสนเทศ เรียกว่า การประมวลผล (Processing) มีองค์ประกอบ ดังนี้

1. การจัดเก็บข้อมูล เป็นขั้นตอนของการจัดเตรียมข้อมูล การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญ หากมีการจัดเตรียมข้อมูลที่ดีผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลย่อมดีตามไปด้วย

2. การบันทึกข้อมูล เป็นขั้นตอนการนำเอาข้อมูลที่มีการจัดเก็บหรือจัดเตรียมไว้มาทำการบันทึกลงในเรื่องคอมพิวเตอร์ เช่น บันทึกไว้ในแผ่นดิสเก็ต ซีดีรอม

3. การตรวจสอบความถูกต้อง เป็นขั้นตอนของการตรวจสอบข้อมูลที่ได้ทำการบันทึกลงในเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว โดยตรวจสอบว่าถูกต้องตรงกับข้อมูลต้นฉบับหรือไม่ และมีความสมเหตุสมผลหรือไม่

4. การจัดกลุ่มและการแยกประเภทข้อมูล เป็นขั้นตอนของการจัดกลุ่มและแยกประเภทข้อมูล ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นหมวดหมู่อย่างเหมาะสม เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการเรียกใช้งาน

5. การประมวลผล เป็นขั้นตอนที่ข้อมูลจะกลายเป็นสารสนเทศโดยนำเอาข้อมูลที่ได้จัดเตรียมไว้มาทำการประมวลผล เพื่อสร้างเป็นผลลัพธ์ เช่น นำเอาคะแนนสอบทั้งปีของนักเรียนมาทำการประมวลผลเป็นคะแนนรวมเพื่อตัดเกรดของนักเรียน

6. การจัดทำรายงาน เป็นขั้นตอนของการนำเอาสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลมาใช้ประโยชน์โดยจัดทำเป็นรายงานในรูปแบบต่างๆ ตามความเหมาะสมกับชนิดของงานแต่ละอย่าง เพื่อความถูกต้องและสะดวกรวดเร็วในการนำไปประกอบการตัดสินใจ

ที่มา
//itucke.hroyy.com/?page_id=115




โดย: นายวิทวัฒน์ พากุล 52040255102 ม.29 เช้า IP: 192.168.1.108, 113.53.175.235 วันที่: 30 กรกฎาคม 2552 เวลา:18:30:25 น.  

 
การผลิตในอุตสาหกรรม และการพาณิชยกรรม การแข่งขันทางด้านการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมจำเป็นต้องหาวิธีการในการผลิตให้ได้มาก ราคาถูกลง
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เข้ามามีบทบาทมาก มีการใช้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริหาร
และการจัดการ การดำเนินการและยังรวมไปถึงการให้บริการกับลูกค้า เพื่อให้ซื้อสินค้าได้สะดวกขึ้น


ที่มา
//www.nukul.ac.th/it/content/02/2-1.html


โดย: นางสาวประทุมพร ปากเจริญ พุธเช้า หมู่ที่ 29 IP: 125.26.171.25 วันที่: 31 กรกฎาคม 2552 เวลา:17:50:53 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง
การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้
ที่มา//ecurriculum.mv.ac.th/techno/library/computer/it/it/HTM/03Lesson2.html


โดย: นายอรรคพล วิทิยา เทคโนผลิตพืชอังคารเช้าหมู่22 IP: 125.26.167.27 วันที่: 1 สิงหาคม 2552 เวลา:19:06:49 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง

1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้ อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การ ทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ความ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้

2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมุลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบ ข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมุลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะคือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์

3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูล เป็น หมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณ์ ที่หมาะสมมีความหมายและเป็น ประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน

4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูลและการกำหนด รหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล ว่าจะจัดเรียงลำดับระเบียบ ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร

5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกันหรือแบ่ง กลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้น ต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัย ของ ข้อมูลอีกด้วย

6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็น สารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูล ในรูปความสัมพันธ์ กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการ ของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว

7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ ผ่านการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์

8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออก จากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้

9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้าย ของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำให้แบบ เอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ
ลักษณะของสารสนเทศที่ดีต้องประกอบไปด้วยรายละเอียด ดังนี้
1. ความเที่ยงตรง (Accuracy) หมายถึง ปราศจากความเอนเอียง สารสนเทศที่ดี ต้องบอกลักษณะความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ไม่ชี้นำปทางใดทางหนึ่ง
2. ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ (Relevancy) หมายถึง มีเนื้อหาตรงกับเรื่อง ที่ต้องการใช้ของผู้ใช้แต่ละคน
3. ทันต่อเวลา (Timeliness) หมายถึง สามารถนำสารสนเทศที่ต้องการไปใช้ได้ ทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การจัดเตรียมสารสนเทศให้ทันต่อเวลา ที่ต้องการใช้ มี 2 ลักษณะ คือ การจัดทำสารสนเทศล่วงหน้าตามกำหนดเวลาที่เหตุการณ์จะเกิดในอนาคต และการจัดทำสาร สนเทศอย่างรวดเร็วเพื่อนำไปใช้ในเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น



โดย: นางสาวนฤมล ภูหนองโอง รหัส 52040264108 สาขาการจัการอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยี (พุธเช้า) ม.29 IP: 125.26.178.52 วันที่: 2 สิงหาคม 2552 เวลา:16:09:39 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง
ตอบ การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้
TOP

ที่มา:
www.ecurriculum.mv.ac.th/techno/library/.../it/.../03Lesson2.html


โดย: นางสาวสุภาพร รัตนา 50240210102 วท.บ.สาธารณสุขศาสตร์ (เรียน พฤ-ค่ำ เวลา 17.00-21.00 น.) IP: 114.128.22.96 วันที่: 5 สิงหาคม 2552 เวลา:11:16:38 น.  

 
ตรวจแล้ว (ครั้งที่ 2)


โดย: อ.น้ำผึ้ง (neaup ) วันที่: 10 สิงหาคม 2552 เวลา:16:01:39 น.  

 
การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้
//ecurriculum.mv.ac.th/techno/library/computer/it/it/HTM/03Lesson2.html


โดย: นายนารายณ์ แก้วภักดี ม.15 ศ.เช้า IP: 124.157.129.16 วันที่: 10 สิงหาคม 2552 เวลา:17:53:42 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง
การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้
//ecurriculum.mv.ac.th/techno/library/computer/it/it/HTM/03Lesson2.html


โดย: น.ส.นงนุช นาเจริญ 52040258129หมู่22 อังคารเช้า IP: 124.157.147.193 วันที่: 11 สิงหาคม 2552 เวลา:19:21:55 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง

การควบคุมสินค้าคงคลัง (Inventory Control) ได้แก่การใช้ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการสั่งซื้อ, การทำนาย, การผลิตเอกสารและรายงานร้านค้า, การพิจารณาหาค่าใช้จ่ายในการผลิต, การวิเคราะห์งบประมาณค่าใช้จ่ายที่วางไว้เปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายจริง, และการพัฒนาตารางการผลิต, บอกความต้องการทรัพยากรในการผลิตและวางแผนการผลิตได้อย่างอัตโนมัติ โดยปกติแล้วซอฟต์แวร์ต่างๆเหล่านี้จะมีสูตรในการคำนวณเพื่อหาจำนวนวัตถุดิบและช่วงเวลาที่จะต้องสั่งซื้อได้ วิธีการหาว่าต้องสั่งสินค้ามาไว้ในคลังปริมาณเท่าใดเรียกว่าวิธีการกาปริมาณหารสั่งซื้อมางเศรษฐกิจ (Economic Order Quantity : EOQ) โดยปริมาณที่หาได้นี้จะต้องทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุดด้วย ส่วนการหาว่าต้องสั่งสินค้ามาไว้ในคลังเมื่อใดจะใช้วิธีการหาจุดสั่งซื้อเพิ่ม Reorder Point : ROP) ซึ่งแสดงถึงค่าระดับปริมาณสินค้าคงคลังที่วิกฤติ

//irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/Knowledge/Management%20Information%20Systems/mis6.htm


การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้

//ecurriculum.mv.ac.th/techno/library/computer/it/it/HTM/03Lesson2.html


โดย: น.ส. ศิราณี ผิววงษ์ 52040258102 หมู่ 22 (อังคารเช้า) IP: 124.157.147.193 วันที่: 11 สิงหาคม 2552 เวลา:20:00:06 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้
ที่มาecurriculum.mv.ac.th/techno/library/.../it/.../03Lesson2.html


โดย: 52040263105 ชื่อ น.ส.อรวรรณ ไชยยงค์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร หมู่ 22 (อังคารเช้า) IP: 1.1.1.211, 58.147.7.66 วันที่: 15 สิงหาคม 2552 เวลา:11:18:36 น.  

 
4.1การควบคุมสินค้าคงคลัง (Inventory Control) ได้แก่การใช้ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการสั่งซื้อ, การทำนาย, การผลิตเอกสารและรายงานร้านค้า, การพิจารณาหาค่าใช้จ่ายในการผลิต, การวิเคราะห์งบประมาณค่าใช้จ่ายที่วางไว้เปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายจริง, และการพัฒนาตารางการผลิต, บอกความต้องการทรัพยากรในการผลิตและวางแผนการผลิตได้อย่างอัตโนมัติ โดยปกติแล้วซอฟต์แวร์ต่างๆเหล่านี้จะมีสูตรในการคำนวณเพื่อหาจำนวนวัตถุดิบและช่วงเวลาที่จะต้องสั่งซื้อได้ วิธีการหาว่าต้องสั่งสินค้ามาไว้ในคลังปริมาณเท่าใดเรียกว่าวิธีการกาปริมาณหารสั่งซื้อมางเศรษฐกิจ (Economic Order Quantity : EOQ) โดยปริมาณที่หาได้นี้จะต้องทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุดด้วย ส่วนการหาว่าต้องสั่งสินค้ามาไว้ในคลังเมื่อใดจะใช้วิธีการหาจุดสั่งซื้อเพิ่ม Reorder Point : ROP) ซึ่งแสดงถึงค่าระดับปริมาณสินค้าคงคลังที่วิกฤติ

//irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/Knowledge/Management%20Information%20Systems/mis6.htm
โดยน.สอภิญญา อุ้ยปะโค 52041278104 ม.15 ศ.เช้า


โดย: อภิญญา อุ้ยปะโค IP: 124.157.148.58 วันที่: 16 สิงหาคม 2552 เวลา:15:44:10 น.  

 
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต

ขบวนการในการผลิตประกอบด้วยงานที่ขึ้นต่อกันมากมาย โดยการนำระบบการวางแผนทรัพยากรของ องค์กรมาใช้ร่วมในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิตจะช่วยให้การทำงานมีความยืดหยุ่นและมีการจัดหาทรัพยากรที่ต้องการใช้ได้ทันต่อความต้องการ โดยจุดประสงค์ของขบวนการผลิตก็คือการผลิตได้ตรงตามความพอใจหรือความต้องการของลูกค้านั่นเอง
ในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต ภาระของผู้บริหารในการดูแลควบคุมงานจะถูกลดลงไป, งานด้านเอกสารต่างๆ จะถูกปรับให้อยู่ในรูปของขบวนการออนไลน์และการติดต่อสื่อสารข้อมูลจะใช้งานผ่านระบบการ แลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (EDI) และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแทน อีกทั้งในการวางแผนการใช้ทรัพยากรของ องค์กรเพื่อการผลิตจะใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายอินทราเน็ตในองค์กร เพื่อติดต่อกับหน่วยงานธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ เพื่อปฏิบัติงานและงานควบคุมงานต่างๆ ทั้งแบบศูนย์กลางและแบบกระจายได้ รูปที่ 16 แสดงภาพรวมของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต
ส่วนที่นำเข้าไปยังระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต

ส่วนที่นำเข้าจะได้จากกการปฏิบัติงานซึ่งเกี่ยวกับการไหลเวียนและการแปลงวัตถุดิบภายในองค์กร แหล่ง สารสนเทศที่สำคัญอาจมาจากภายนอกองค์กรก็ได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะมาจากภายใน เช่น

1. แผนเชิงกลยุทธ์และนโยบายของบริษัท ซึ่งจะเป็นส่วนที่กำหนดทิศทางของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต เช่นเอกสารเกี่ยวกับการวางแผนระยะยาวที่กล่าวถึงเรื่องคุณภาพ, การผลิต, และเป้าหมายและข้อจำกัดในการให้บริการ รวมถึงนโยบายในการเปิดโรงงานใหม่หรือการปิดโรงงานเก่าลงและเรื่องของความสามารถในการผลิตที่เพิ่มขึ้นได้, ข้อจำกัดของจำนวนพนักงานที่มี, การเปลี่ยนนโยบายการเก็บสินค้าคงคลัง และโปรแกรมการควบคุมคุณภาพใหม่ที่ต้องการใช้ เหล่านี้จัดเป็นสารสนเทศที่นำเข้าสู่ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต
2. ระบบประมวลผลรายการ ได้แก่ข้อมูลที่ได้จากระบบประมวลผลรายการด้านต่างๆที่เกี่ยวข้อในการผลิต ได้แก่ การประมวลผลการสั่งซื้อ, ข้อมูลสินค้าคงคลัง, ข้อมูลการรับและการตรวจสอบวัตถุดิบที่เข้ามาในขบวนการผลิต, ข้อมูลบุคลากร, และข้อมูลขบวนการผลิต
3. แหล่งข้อมูลภายนอก ได้แก่ ข้อมูลขบวนการในการผลิตใหม่ๆ ซึ่งอาจมาจากบริษัท, วารสาร และสิ่งพิมพ์อื่นๆ หรือได้จาก เครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือข้อมูลเกี่ยวกับสภาพวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้สามารถคาดเดาในเรื่องของแรงงาน และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับวัตถุดิบได้ นอกเหนือจากนี้ยังมีแหล่งข้อมูลภายนอกอื่นๆ อีก เช่น องค์กรผู้เชี่ยวชาญต่างๆ, สมาคมทางธุรกิจ ซึ่งสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับคู่แข่งขัน ทั้งในด้านขบวนการผลิตและกลุ่มลูกค้าใหม่ๆที่น่าสนใจได้

ระบบย่อยและผลที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต

ระบบย่อยและผลลัพธ์ที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต ได้แก่ การตรวจสอบและควบคุมการไหลเวียนของวัตถุดิบ, สินค้า และบริการต่างๆภายในองค์กร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตสินค้าได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า ตั้งแต่เริ่มขบวนการนำวัตถุดิบมาผ่านขั้นตอนการผลิตจนกระทั่งเสร็จเป็นสินค้าและบริการที่จะส่งไปยังลูกค้า โดยที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ระบบย่อยและผลลัพธ์ที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต ได้แก่

1. การออกแบบและการปฏิบัติเชิงวิศวกรรม (Design and Engineering) ได้แก่การพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยสามารถใช้ระบบการออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (Computer-Aided Design : CAD) ซึ่งเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ โดยผู้ใช้สามารถออกแบบและแก้ไข ตัวแบบได้เองบนจอภาพ
2. การจัดตารางการผลิต (Production Planning) เพื่อจัดการรายละเอียดแผนงานการผลิตทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยใช้ซอฟต์แวร์ที่ทำงานในด้านนี้เข้ามาช่วย ซึ่งในซอฟต์แวร์นี้อาจมีคุณสมบัติในการทำนายและพิจารณาหาความต้องการของสินค้าและบริการที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ทำให้สามารถวางแผนเพื่อกำหนดการผลิตให้ได้ตรงตามความต้องการ
3. การควบคุมสินค้าคงคลัง (Inventory Control) ได้แก่การใช้ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการสั่งซื้อ, การทำนาย, การผลิตเอกสารและรายงานร้านค้า, การพิจารณาหาค่าใช้จ่ายในการผลิต, การวิเคราะห์งบประมาณค่าใช้จ่ายที่วางไว้เปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายจริง, และการพัฒนาตารางการผลิต, บอกความต้องการทรัพยากรในการผลิตและวางแผนการผลิตได้อย่างอัตโนมัติ โดยปกติแล้วซอฟต์แวร์ต่างๆเหล่านี้จะมีสูตรในการคำนวณเพื่อหาจำนวนวัตถุดิบและช่วงเวลาที่จะต้องสั่งซื้อได้ วิธีการหาว่าต้องสั่งสินค้ามาไว้ในคลังปริมาณเท่าใดเรียกว่าวิธีการกาปริมาณหารสั่งซื้อมางเศรษฐกิจ (Economic Order Quantity : EOQ) โดยปริมาณที่หาได้นี้จะต้องทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุดด้วย ส่วนการหาว่าต้องสั่งสินค้ามาไว้ในคลังเมื่อใดจะใช้วิธีการหาจุดสั่งซื้อเพิ่ม Reorder Point : ROP) ซึ่งแสดงถึงค่าระดับปริมาณสินค้าคงคลังที่วิกฤติ
4. การวางแผนการใช้ทรัพยากรการผลิต(Manufacturing Resource Planning : MRPII) ได้แก่ระบบที่ใช้การวางแผนเครือข่ายเพื่อให้บุคคลต่างๆ สามารถดำเนินธุรกิจเพื่อให้บริการและผลผลิตแก่ลูกค้าได้เป็นจำนวนมาก ในขณะที่เสียค่าใช้จ่ายและมีสินค้าหรือวัตถุดิบในคลังสินค้าในปริมาณต่ำ โดยมีการทำนายความต้องการของลูกค้า, การควบคุมสินค้าคงคลัง, การวางแผนการผลิต, การแสดง รายการวัตถุดิบที่ต้องใช้, การวางแผนการสรรหาแหล่งวัตถุดิบที่ต้องใช้ เพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ จะถูกส่งไปให้แก่ลูกค้าได้ในเวลาที่ต้องการ
5. การควบคุมสินค้าและการผลิตที่ทันเวลา (Just-in-Time Inventory and Manufacturing) การเก็บสินค้าและวัตถุดิบในคลังสินค้าเป็นจำนวนมากทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูง และอาจเกิดการเสียหายได้ ดังนั้นวัตถุประสงค์หนึ่งของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิตก็คือ การควบคุมสินค้าคงคลังให้อยู่ในระดับที่ต่ำที่สุด โดยไม่กระทบกับความต้องการในการนำสินค้าหรือวัตถุดิบนั้นไปใช้ในการผลิต วิธีที่นิยมใช้ได้แก่วิธีการควบคุมคลังสินค้าแบบทันเวลา (Just-in-Time : JIT Inventory Approach) ซึ่งสินค้าและวัตถุดิบจะถูกส่งไปให้ในช่วงเวลาก่อนที่จะสินค้าหรือวัตถุดิบนั้นไปใช้ในการผลิต ทำให้ไม่ต้องเก็บไว้ในคลังสินค้าเป็นช่วงเวลานานๆ


ที่มา //irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/Knowledge/Management%20Information%20Systems/mis6.htm


โดย: นางสาวคนึงนิจ ผิวบาง หมู่22 เรียนเช้าวันอังคาร IP: 124.157.148.178 วันที่: 17 สิงหาคม 2552 เวลา:19:08:53 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง
การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้
//ecurriculum.mv.ac.th/techno/library/computer/it/it/HTM/03Lesson2.html


โดย: นางสาว นฤมล หมู่หาญ 52040263122 หมู่22 อังคารเช้า IP: 1.1.1.182, 58.147.7.66 วันที่: 20 สิงหาคม 2552 เวลา:19:04:20 น.  

 


4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง

การควบคุมสินค้าคงคลัง (Inventory Control) ได้แก่การใช้ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการสั่งซื้อ, การทำนาย, การผลิตเอกสารและรายงานร้านค้า, การพิจารณาหาค่าใช้จ่ายในการผลิต, การวิเคราะห์งบประมาณค่าใช้จ่ายที่วางไว้เปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายจริง, และการพัฒนาตารางการผลิต, บอกความต้องการทรัพยากรในการผลิตและวางแผนการผลิตได้อย่างอัตโนมัติ โดยปกติแล้วซอฟต์แวร์ต่างๆเหล่านี้จะมีสูตรในการคำนวณเพื่อหาจำนวนวัตถุดิบและช่วงเวลาที่จะต้องสั่งซื้อได้ วิธีการหาว่าต้องสั่งสินค้ามาไว้ในคลังปริมาณเท่าใดเรียกว่าวิธีการกาปริมาณหารสั่งซื้อมางเศรษฐกิจ (Economic Order Quantity : EOQ) โดยปริมาณที่หาได้นี้จะต้องทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุดด้วย ส่วนการหาว่าต้องสั่งสินค้ามาไว้ในคลังเมื่อใดจะใช้วิธีการหาจุดสั่งซื้อเพิ่ม Reorder Point : ROP) ซึ่งแสดงถึงค่าระดับปริมาณสินค้าคงคลังที่วิกฤติ

//irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/Knowledge/Management%20Information%20Systems/mis6.htm


การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้

//ecurriculum.mv.ac.th/techno/library/computer/it/it/HTM/03Lesson2.html





โดย: นางสาวสุจิตรา อินทสร้อย 52040258139 หมู่22 อังคารเช้า IP: 125.26.165.199 วันที่: 21 สิงหาคม 2552 เวลา:21:33:23 น.  

 
การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้
//ecurriculum.mv.ac.th/techno/library/computer/it/it/HTM/03Lesson2.html


โดย: นางสาวสุจิตรา อินทสร้อย 52040258139 หมู่22 อังคารเช้า IP: 125.26.165.199 วันที่: 21 สิงหาคม 2552 เวลา:21:42:34 น.  

 

การผลิตสารสนเทศ
การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้
TOP


โดย: นายวรวัฒน์ ศรีใจ 52040332110 พฤหัส เช้า หมู่ 08 IP: 58.137.131.62 วันที่: 27 สิงหาคม 2552 เวลา:17:31:01 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง
ตอบ การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้

ที่มา : //ecurriculum.mv.ac.th/techno/library/computer/it/it/HTM/03Lesson2.html


โดย: นางสาวกฤติยา เหล่าผักสาร 52040263134 หมู่ 22 อังคารเช้า คณะเทคโนโลยี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร IP: 124.157.145.109 วันที่: 28 สิงหาคม 2552 เวลา:17:48:16 น.  

 
4. การผลิตสารสนเทศ

การผลิตสารสนเทศจะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเพื่อการประมวล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกต การสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้ต้องมีคุณลักษณะสำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้

2. การตรวจสอบ (Verifying) เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลที่ได้รับจากการรวบรวมและบันทึกเอาไว้ถูกต้อง มีวิธีการตรวจสอบ 2 วิธีคือ
2.1 Verification ตรวจสอบว่าข้อมูลที่บันทึกหรือรวบรวมไว้นั้นตรงกับข้อมูลที่ปรากฏบนเอกสารต้นฉบับข้อมูลหรือไม่
2.2 Validation ตรวจสอบว่าข้อมูลนั้นสมเหตุสมผลของข้อมูลหรือมีความเป็นไปได้หรือไม่

3. การจำแนก (Classifying) กำหนดหลักการแบ่งประเภทเป็นหมวดหมู่หรือกลุ่มตามคุณสมบัติข้อมูล ในลักษณะที่เหมาะสม มีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน

4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) เป็นการจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร

5. การสรุป (summarizing) การจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกันหรือแบ่งกลุ่มข้อมูลและรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนีหรือสารสนเทศในขั้นต่อไป

6. การคำนวณ (calculating) เป็นการจัดการทำข้อมูลโดยอาศัยวิธีการทางคณิตศาสตร์มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เพื่อให้ได้สารสนเทศตามต้องการ

7. การจัดเก็บ (Storing) จัดเก็บไว้ในสื่อต่าง ๆ ถ้าเป็นการจัดการด้วยคอมพิวเตอร์เก็บไว้ในสื่อบันทึกข้อมูลเช่น แผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก เป็นต้น

8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหาและดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อบันทึกข้อมูล การเรียกใช้มี 2 วิธีคือ เรียกใช้เพื่อมาปรับปรุงแก้ไขข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน และเรียกใช้เพื่อนำข้อมูลนั้นมาใช้งานหรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้

9. การเผยแพร่ (Dissminating and Reproducting) คือ การเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่าง ๆ ทำในแบบเอกสารหรือรายงาน หรือการเสนอบนจอภาพโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้

แบบฝึกหัด
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง




Create Date : 27 มีนาคม 2552
Last Update : 12 มิถุนายน 2552 10:06:02 น. 73 comments
Counter : 483 Pageviews.







1.การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้ อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การ ทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ความ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมุลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบ ข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมุลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะคือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูล เป็น หมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณ์ ที่หมาะสมมีความหมายและเป็น ประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูลและการกำหนด รหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล ว่าจะจัดเรียงลำดับระเบียบ ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกันหรือแบ่ง กลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้น ต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัย ของ ข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็น สารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูล ในรูปความสัมพันธ์ กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการ ของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ ผ่านการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออก จากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้าย ของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำให้แบบ เอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ
ลักษณะของสารสนเทศที่ดีต้องประกอบไปด้วยรายละเอียด ดังนี้
1. ความเที่ยงตรง (Accuracy) หมายถึง ปราศจากความเอนเอียง สารสนเทศที่ดี ต้องบอกลักษณะความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ไม่ชี้นำปทางใดทางหนึ่ง
2. ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ (Relevancy) หมายถึง มีเนื้อหาตรงกับเรื่อง ที่ต้องการใช้ของผู้ใช้แต่ละคน
3. ทันต่อเวลา (Timeliness) หมายถึง สามารถนำสารสนเทศที่ต้องการไปใช้ได้ ทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การจัดเตรียมสารสนเทศให้ทันต่อเวลา ที่ต้องการใช้ มี 2 ลักษณะ คือ การจัดทำสารสนเทศล่วงหน้าตามกำหนดเวลาที่เหตุการณ์จะเกิดในอนาคต และการจัดทำสาร สนเทศอย่างรวดเร็วเพื่อนำไปใช้ในเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น

ทึ่มา //www.geocities.com/gr421317/information.html









โดย: นายอัศวิน บัวน้ำอ้อม 51241151118 รูปแบบพิเศษหมู่ 5 วันเสาร์บ่ายโมง IP: 172.29.5.133, 202.29.5.62 วันที่: 29 สิงหาคม 2552 เวลา:13:45:02 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง 1.การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้ อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การ ทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ความ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมุลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบ ข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมุลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะคือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูล เป็น หมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณ์ ที่หมาะสมมีความหมายและเป็น ประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูลและการกำหนด รหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล ว่าจะจัดเรียงลำดับระเบียบ ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกันหรือแบ่ง กลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้น ต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัย ของ ข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็น สารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูล ในรูปความสัมพันธ์ กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการ ของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ ผ่านการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออก จากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้าย ของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำให้แบบ เอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ
ลักษณะของสารสนเทศที่ดีต้องประกอบไปด้วยรายละเอียด ดังนี้
1. ความเที่ยงตรง (Accuracy) หมายถึง ปราศจากความเอนเอียง สารสนเทศที่ดี ต้องบอกลักษณะความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ไม่ชี้นำปทางใดทางหนึ่ง
2. ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ (Relevancy) หมายถึง มีเนื้อหาตรงกับเรื่อง ที่ต้องการใช้ของผู้ใช้แต่ละคน
3. ทันต่อเวลา (Timeliness) หมายถึง สามารถนำสารสนเทศที่ต้องการไปใช้ได้ ทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การจัดเตรียมสารสนเทศให้ทันต่อเวลา ที่ต้องการใช้ มี 2 ลักษณะ คือ การจัดทำสารสนเทศล่วงหน้าตามกำหนดเวลาที่เหตุการณ์จะเกิดในอนาคต และการจัดทำสาร สนเทศอย่างรวดเร็วเพื่อนำไปใช้ในเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น

ทึ่มา //www.geocities.com/gr421317/information.html




โดย: ส.ต.ต.หญิงพิพิทย์ชยานันต์ สีลาเวช 51241151133 รูปแบบพิเศษเสาร์บ่าย IP: 172.29.5.133, 58.147.7.66 วันที่: 29 สิงหาคม 2552 เวลา:14:11:33 น.  

 
1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง

ตอย...
ระบบย่อยและผลลัพธ์ที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต ได้แก่ การตรวจสอบและควบคุมการไหลเวียนของวัตถุดิบ, สินค้า และบริการต่างๆภายในองค์กร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตสินค้าได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า ตั้งแต่เริ่มขบวนการนำวัตถุดิบมาผ่านขั้นตอนการผลิตจนกระทั่งเสร็จเป็นสินค้าและบริการที่จะส่งไปยังลูกค้า โดยที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ระบบย่อยและผลลัพธ์ที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต ได้แก่

1. การออกแบบและการปฏิบัติเชิงวิศวกรรม (Design and Engineering) ได้แก่การพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยสามารถใช้ระบบการออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (Computer-Aided Design : CAD) ซึ่งเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ โดยผู้ใช้สามารถออกแบบและแก้ไข ตัวแบบได้เองบนจอภาพ
2. การจัดตารางการผลิต (Production Planning) เพื่อจัดการรายละเอียดแผนงานการผลิตทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยใช้ซอฟต์แวร์ที่ทำงานในด้านนี้เข้ามาช่วย ซึ่งในซอฟต์แวร์นี้อาจมีคุณสมบัติในการทำนายและพิจารณาหาความต้องการของสินค้าและบริการที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ทำให้สามารถวางแผนเพื่อกำหนดการผลิตให้ได้ตรงตามความต้องการ
3. การควบคุมสินค้าคงคลัง (Inventory Control) ได้แก่การใช้ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการสั่งซื้อ, การทำนาย, การผลิตเอกสารและรายงานร้านค้า, การพิจารณาหาค่าใช้จ่ายในการผลิต, การวิเคราะห์งบประมาณค่าใช้จ่ายที่วางไว้เปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายจริง, และการพัฒนาตารางการผลิต, บอกความต้องการทรัพยากรในการผลิตและวางแผนการผลิตได้อย่างอัตโนมัติ โดยปกติแล้วซอฟต์แวร์ต่างๆเหล่านี้จะมีสูตรในการคำนวณเพื่อหาจำนวนวัตถุดิบและช่วงเวลาที่จะต้องสั่งซื้อได้ วิธีการหาว่าต้องสั่งสินค้ามาไว้ในคลังปริมาณเท่าใดเรียกว่าวิธีการกาปริมาณหารสั่งซื้อมางเศรษฐกิจ (Economic Order Quantity : EOQ) โดยปริมาณที่หาได้นี้จะต้องทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุดด้วย ส่วนการหาว่าต้องสั่งสินค้ามาไว้ในคลังเมื่อใดจะใช้วิธีการหาจุดสั่งซื้อเพิ่ม Reorder Point : ROP) ซึ่งแสดงถึงค่าระดับปริมาณสินค้าคงคลังที่วิกฤติ
4. การวางแผนการใช้ทรัพยากรการผลิต(Manufacturing Resource Planning : MRPII) ได้แก่ระบบที่ใช้การวางแผนเครือข่ายเพื่อให้บุคคลต่างๆ สามารถดำเนินธุรกิจเพื่อให้บริการและผลผลิตแก่ลูกค้าได้เป็นจำนวนมาก ในขณะที่เสียค่าใช้จ่ายและมีสินค้าหรือวัตถุดิบในคลังสินค้าในปริมาณต่ำ โดยมีการทำนายความต้องการของลูกค้า, การควบคุมสินค้าคงคลัง, การวางแผนการผลิต, การแสดง รายการวัตถุดิบที่ต้องใช้, การวางแผนการสรรหาแหล่งวัตถุดิบที่ต้องใช้ เพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ จะถูกส่งไปให้แก่ลูกค้าได้ในเวลาที่ต้องการ
5. การควบคุมสินค้าและการผลิตที่ทันเวลา (Just-in-Time Inventory and Manufacturing) การเก็บสินค้าและวัตถุดิบในคลังสินค้าเป็นจำนวนมากทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูง และอาจเกิดการเสียหายได้ ดังนั้นวัตถุประสงค์หนึ่งของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิตก็คือ การควบคุมสินค้าคงคลังให้อยู่ในระดับที่ต่ำที่สุด โดยไม่กระทบกับความต้องการในการนำสินค้าหรือวัตถุดิบนั้นไปใช้ในการผลิต วิธีที่นิยมใช้ได้แก่วิธีการควบคุมคลังสินค้าแบบทันเวลา (Just-in-Time : JIT Inventory Approach) ซึ่งสินค้าและวัตถุดิบจะถูกส่งไปให้ในช่วงเวลาก่อนที่จะสินค้าหรือวัตถุดิบนั้นไปใช้ในการผลิต ทำให้ไม่ต้องเก็บไว้ในคลังสินค้าเป็นช่วงเวลานานๆ
6. การควบคุมขบวนการผลิต ในการควบคุมการผลิตมีเทคโนโลยีที่สนับสนุนมากมาย เช่น การผลิตโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (Computer-Aided Manufacturing : CAM) เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการด้านการผลิต เช่น การตรวจสอบและติดตาม ได้แก่การควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ในการผลิตต่างๆ การตรวจสอบค่าและข้อกำหนดในการผลิตต่างๆ เช่น อุณหภูมิที่ใช้ ค่าความดันอากาศฯลฯ หรือใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการกำหนดรหัสสินค้า การจัดลำดับในขบวนการผลิต เป็นต้น
7. การนำคอมพิวเตอร์เข้าไปช่วยในการผลิต (Computer-Integrated Manufacturing : CIM) ได้แก่การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมโยงองค์ประกอบต่างๆในขบวนการผลิตเข้าด้วยกันเป็นระบบที่มี ประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวมขั้นตอนการผลิตทั้งหมด เช่น การประมวลผลการสั่งซื้อ, การออกแบบผลิตภัณฑ์, การผลิต การควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพ และการขนส่งเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มประสิทธภาพในด้านการทำงานส่วนต่างๆ ที่ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน โดยอาจนำระบบการผลิตแบบคล่องตัว (Flexible Manufacturing System : FMS) เข้ามาใช้ร่วมด้วย ทำให้สามารถเปลี่ยนการผลิตสินค้าอย่างหนึ่งเป็นอีกอย่างหนึ่งเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
8. การควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพ (Quality Control and Testing) ได้แก่ขบวนการในการในการควบคุมเพื่อให้แน่ใจว่าสินค้าที่ผลิตออกมาตรงตามที่ลูกค้าต้องการ โดยใช้ซอฟต์แวร์ในการควบคุมคุณภาพ ต่างๆ ผลลัพธ์ที่ได้จากระบบการควบคุมคุณภาพ ได้แก่รายงาน ค่าใช้จ่ายที่ลดลงและยอดขายที่เพิ่มขึ้น โดยสารสนเทศที่ได้จากระบบนี้จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทราบถึงปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์การผลิตและรายงานควบคุมคุณภาพยังใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ดีขึ้นอีกด้วย


//irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/Knowledge/Management%20Information%20Systems/mis6.htm


โดย: นางสาวสุกัญญา แก้วคูณเมือง รหัส 51241151122 (เรียนเสาร์บ่ายโมง) IP: 172.29.5.133, 58.137.131.62 วันที่: 29 สิงหาคม 2552 เวลา:14:37:39 น.  

 
4. การผลิตสารสนเทศ

การผลิตสารสนเทศจะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเพื่อการประมวล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกต การสัมพันธ์ การทำแบที่มา %บสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้ต้องมีคุณลักษณะสำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้

2. การตรวจสอบ (Verifying) เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลที่ได้รับจากการรวบรวมและบันทึกเอาไว้ถูกต้อง มีวิธีการตรวจสอบ 2 วิธีคือ
2.1 Verification ตรวจสอบว่าข้อมูลที่บันทึกหรือรวบรวมไว้นั้นตรงกับข้อมูลที่ปรากฏบนเอกสารต้นฉบับข้อมูลหรือไม่
2.2 Validation ตรวจสอบว่าข้อมูลนั้นสมเหตุสมผลของข้อมูลหรือมีความเป็นไปได้หรือไม่

3. การจำแนก (Classifying) กำหนดหลักการแบ่งประเภทเป็นหมวดหมู่หรือกลุ่มตามคุณสมบัติข้อมูล ในลักษณะที่เหมาะสม มีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน

4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) เป็นการจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร

5. การสรุป (summarizing) การจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกันหรือแบ่งกลุ่มข้อมูลและรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนีหรือสารสนเทศในขั้นต่อไป

6. การคำนวณ (calculating) เป็นการจัดการทำข้อมูลโดยอาศัยวิธีการทางคณิตศาสตร์มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เพื่อให้ได้สารสนเทศตามต้องการ

7. การจัดเก็บ (Storing) จัดเก็บไว้ในสื่อต่าง ๆ ถ้าเป็นการจัดการด้วยคอมพิวเตอร์เก็บไว้ในสื่อบันทึกข้อมูลเช่น แผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก เป็นต้น

8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหาและดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อบันทึกข้อมูล การเรียกใช้มี 2 วิธีคือ เรียกใช้เพื่อมาปรับปรุงแก้ไขข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน และเรียกใช้เพื่อนำข้อมูลนั้นมาใช้งานหรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้

9. การเผยแพร่ (Dissminating and Reproducting) คือ การเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่าง ๆ ทำในแบบเอกสารหรือรายงาน หรือการเสนอบนจอภาพโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้

แบบฝึกหัด
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง
//irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/Knowledge/Management



โดย: นาย ปิยะ ศรีกุลวงศ์ เสาร์บ่าย 51241151204 IP: 202.29.5.62 วันที่: 30 สิงหาคม 2552 เวลา:17:46:50 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง

กระบวนการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา 9 ขั้น ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
สภาพและปัญหาต่าง ๆ ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถและวัสดุอุปกรณ์ที่เพียงพอกับการปฏิบัติงานแต่โดยหน้าที่รับผิด ชอบโดยตรงจำเป็นต้องดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศทางการ ศึกษา ที่สมบูรณ์ ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นปัจจุบันที่สุด
ผู้วิจัยซึ่งดำรงตำแหน่งนักวิชาการศึกษา จึงสนใจที่จะศึกษาสภาพและปัญหาระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 9 เพื่อเป็นข้อสนเทศในการแก้ไขปรับปรุงพัฒนางานในสำนักศึกษาธิการจังหวัด และสำนักงานศึกษาธิการอำเภอให้เกิดประสิทธิภาพ
แนวคิดทฤษฎี
-
1.แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศของกระทรวงศึกษาธิการ
1.1 นโยบายกระทรวงศึกษาธิการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.2 วิสัยทัศน์เทคโนโลยีสารสนเทศ
1.3 ภารกิจหลักด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.4 เป้าหมายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2543-2545)
1.5 แผนงานหลัก
1.6 แผนปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
2.ระบบการผลิตข้อมูลสารสนเทศ
2.1 ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ
2.2 ระบบ และวิธีการประมวลผลข้อมูล
2.3 คุณสมบัติสารสนเทศ
2.4 ลักษณะและประเภทของสารสนเทศ
2.5 องค์ประกอบในการพัฒนาระบบสารสนเทศ
2.6 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร
2.7 สารสนเทศทางการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ
2.8 สารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษาระดับจังหวัด
3.กระบวนการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา
3.1 การรวบรวม (Capturing )
3.2 การตรวจสอบ (verifying)
3.3 การจำแนก (Classifying)
3.4 การจัดเรียงลำดับ (Arranging / Sorting)
3.5 การสรุป (Summarizing)
3.6 การคำนวณ (Calculating)
3.7 การจัดเก็บ (Storing)
3.8 การเรียกใช้ (Retrieving)
3.9 การเผยแพร่ (Disseminating)
4. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กับบทบาทหน้าที่การผลิตสารสนเทศทางการศึกษา
4.1 บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ
4.2 โครงสร้างสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
4.3 สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 9
4.4 บทบาทหน้าที่ของสำนักศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ กับระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา
5.งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
5.1 งานวิจัยในประเทศ
5.2 งานวิจัยในต่างประเทศ
วัตถุประสงค์
-
1.เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของสำนักงาน ศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ในเขตการศึกษา 9
2.เพื่อศึกษาระดับปัญหาของระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ในเขตการศึกษา 9
3.เพื่อเปรียบเทียบระดับปัญหาระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของสำนักงาน ศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ในเขตการศึกษา 9 ในกระบวนการผลิต 9 ขั้น

สมมุติฐานการวิจัย
- ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานมความคิดเกี่ยวกับปัญกาของระบบการผลิตสารสนเทศทาง การศึกษาของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการในเขตการศึกษา 9 โดยรวมและเป็นรายด้านไม่ต่างกัน
ระเบียบวิธีวิจัย
- ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจ
ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง

1.ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร คือ ศึกษาธิการจังหวัด ผู้ช่วยศึกษาธิการจังหวัด ศึกษาธิการอำเภอ ผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอ และผู้ปฏิบัติงาน คือนักวิชาการศึกษาจังหวัด และนักวิชาการศึกษาอำเภอ ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ในเขตการศึกษา 9 (สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. 2543 : 215-227) จำนวน 303 คน
2.กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงาน ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ในเขตการศึกษา 9 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้อัตราร้อยละ 80 และสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Randon Sanpling) ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น จำนวน 242 คน
ตัวแปร
-
นิยามศัพท์
-
1.สภาพการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา หมายถึง สภาวะที่เป็นอยู่ของการจัดดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา ในกระบวนการคิด การออกแบบ การเลือก วิธีการ ตลอดจนการนำเครื่องมือ เครื่องใช้ และสื่อต่าง ๆ มาใช้ในการปฏิบัติงานการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา ในกระบวนการ 9 ขั้น คือ ขั้นการรวบรวม การตรวจสอบ การจำแนก การจัดเรียงลำดับ การสรุปการคำนวณ การจัดเก็บ การเรียกใช้ และการเผยแพร่
2.ปัญหาการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา หมายถึง อุปสรรค หรือข้อขัดข้องต่าง ๆ ที่เกิดจากการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
-
เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีจำนวน 2 ฉบับ ดังนี้
1.ฉบับที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพและปัญหาระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 9 เพื่อสอบถามผู้บริหาร
2. ฉบับที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพและปัญหาระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 9 เพื่อสอบถามผู้ปฏิบัติงาน
นำแบบสอบถามไปทดลองใช้กับศึกษาธิการจังหวัด ผู้ช่วยศึกษาธิการจังหวัด ศึกษาธิการอำเภอ ผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอ นักวิชาการศึกษาจังหวัด และนักวิชาการศึกษาอำเภอ ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ที่จังหวัดมหาสารคาม ในเขตการศึกษา 10 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจำนวน 50 ชุด นำแบบสอบถามาหาค่าอำนาจจำแนกรายข้อโดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย ได้ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.26-0.84 และหาค่าความเชื่อมั่น โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาตามวิธีของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.98
วิธีการรวบรวมข้อมูล
-
การวิเคราะห์ข้อมูล
-
ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows ดังนี้
1.คำนวณหาค่าร้อยละ จากแบบสอบถามตอนที่ 1 และตอนที่ 2 ที่เป็นลักษณะแบบตรวจสอบรายการ
2.แบบสอบถามตอนที่ 3 ที่เป็นลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) วิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
3.วิเคราะห์เปรียบเทียบปัญหาระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติโดยรวมและจำแนกรายด้าน โดยใช้ t-test ( Independent Sample)
สรุปผลวิจัย
-
ผลการวิจัยพบว่า
1.สภาพการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 9
1.1 ด้านอาคารสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและสำนักงาน ศคึกษาธิการอำเภอ ส่วนใหญ่ที่มีห้องจัดระบบข้อมูลสารสนเทศเป็นห้องที่ใช้รวมกับงานอื่น ๆ มีอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ สำหรับการปฏิบัติงาน ดังนี้ เครื่องคอมพิวเตอร์ประมาณ 1-2 เครื่อง แฟ้มเก็บข้อมูลสารสนเทศ เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย โต๊ะ เก้าอี้ทำงาน กระดานไวท์บอร์ด โทรศัพท์
1.2 ด้านบุคลากร บุคลากรที่ปฏิบัติงาน ไม่เพียงพอต่อปริมาณงานที่รับผิดชอบมีเจ้าหน้าที่ด้านคอมพิวเตอร์ในระดับบริหาร
1.3 ด้านงบประมาณ ในการจัดหาเครื่องมือการผลิตสารสนเทศส่วนใหญ่ใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน
1.4 ด้านการจัดการ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด และสำนักงานคึกษาธิการอำเภอ ใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศ ผู้บริหารส่วนใหญ่รับผิดชอบงานข้อมูลสารสนเทศในหน่วยงาน รวมกับผู้ปฏิบัติงาน
2.ผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่มีการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา โดยรวมและจำแนกเป็นรายด้าน และส่วนมากมีการดำเนินงานด้านการรวบรวมข้อมูล
3. บุคลากรโดยรวมและจำแนกตามประเภทบุคลากร มีปัญหาการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา โดยรวมและจำแนกเป็นรายด้าน ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการเผยแพร่ข้อมูล และมีด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการคำนวณข้อมูล

ข้อเสนอแนะ
-
1.ควรวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา
2.ควรวิจัยระบบและการจัดเก็บข้อสารสนเทศทางการศึกษาที่สะดวกต่อการบริหารงานและการปฏิบัติงาน

ที่มา //www.thaiedresearch.org/result/result.php?id=1501



โดย: นางสาว สมร นาแพงหมื่น เสาร์บ่าย 51241151220 IP: 222.123.10.90 วันที่: 31 สิงหาคม 2552 เวลา:12:59:35 น.  

 
ตอบข้อ.4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง

การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
(1). การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้ อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การ ทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ความ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
(2). การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมุลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบ ข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมุลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะคือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
(3). การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูล เป็น หมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณ์ ที่หมาะสมมีความหมายและเป็น ประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
(4). การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูลและการกำหนด รหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล ว่าจะจัดเรียงลำดับระเบียบ ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
(5). การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกันหรือแบ่ง กลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้น ต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัย ของ ข้อมูลอีกด้วย
(6). การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็น สารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูล ในรูปความสัมพันธ์ กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการ ของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
(7). การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ ผ่านการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์
(8). การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออก จากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้
(9). การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้าย ของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำให้แบบ เอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ
ตัวอย่าง เช่น ระบบล้างรถอัตโนมัติ
ระบบสารสนเทศประกอบด้วย ส่วนหลักดังรูปที่ 3
ส่วนที่นำเข้า คือ รถที่สกปรก น้ำ และน้ำยาต่างๆ ที่ใช้ในการล้างรถ เวลาและพลังงานถูกใช้ในการปฏิบัติการล้างรถ ทักษะได้แก่ความสามารถเฉพาะอย่างจะถูกนำมาใช้ในการฉีดสเปรย์ ขัดโฟม และเป่าแห้ง ความรู้ถูกนำมาใช้ในการกำหนดขั้นตอนการทำงานของการล้างรถให้ทำงานไปตามขั้นตอนที่ถูกต้อง
การประมวลผล ประกอบด้วย ขั้นที่หนึ่ง การเลือกประเภทการล้างรถที่ต้องการ เช่น ล้างอย่างเดียว ล้างและขัดเงา ล้างและขัดเงาและเป่าแห้งฯลฯ และขั้นต่อไปทำการนำรถเข้าไปในเครื่องล้างรถ (สังเกตว่าในส่วนนี้จะเกิดกลไกของผลสะท้อนกลับขึ้น ได้แก่การประเมินผลของเจ้าของรถที่มีต่อขบวนการล้างรถที่กำลังเกิดขึ้น) จากนั้นของฉีดของเหลวจะฉีดน้ำ สบู่เหลว หรือครีมขัดเงาไปที่รถ ขึ้นอยู่กับตัวเลือกที่เลือกไว้ในตอนต้น
ส่วนที่แสดงผล คือรถที่สะอาดแล้ว
จากตัวอย่าง จะเห็นว่าส่วนประกอบอิสระต่างๆ ในระบบล้างรถอัตโนมัติ เช่นเครื่องฉีดของเหลว แปลงสำหรับทางโฟม และเครื่องเป่าแห้ง ทำงานโต้ตอบกัน เพื่อให้รถสะอาดนั่นเอง
ระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-Based Information Systems : CBIS)
ระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ (Hardware), ซอฟต์แวร์ (Software), ข้อมูล(Data), บุคคล (People), ขบวนการ (Procedure) และการสื่อสารข้อมูล (Telecommunication) ซึ่งถูกกำหนดขึ้นเพื่อทำการรวบรวม, จัดการ จัดเก็บและประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ รูปที่ 4 แสดงส่วนประกอบของระบบ สารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์

ที่ 4 ส่วนประกอบของสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์

1. ฮาร์ดแวร์ คืออุปกรณ์ทางกายภาพ ที่ใช้ในการรวบรวม การนำเข้า และการจัดเก็บข้อมูล, ประมวลผล ข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ และแสดงสารสนเทศที่เป็นผลลัพธ์ออกมา
2. ซอฟต์แวร์ ประกอบด้วยกลุ่มของโปรแกรมที่ใช้ในการปฏิบัติงานร่วมกับฮาร์ดแวร์และใช้ในการประมวลผลข้อมูลเป็นสารสนเทศ
3. ข้อมูล ในส่วนนี้หมายถึงข้อมูลและสารสนเทศที่ถูกเก็บอยู่ในฐานข้อมูล โดยฐานข้อมูล (Database) หมายถึงกลุ่มของค่าความจริงและสารสนเทศที่มีความเกี่ยวข้องกันนั่นเอง
4. บุคคล หมายถึงบุคคลที่ใช้งานและปฏิบัติงานร่วมกับระบบสารสนเทศ
5. ขบวนการ หมายถึงกลุ่มของคำสั่งหรือกฎ ที่แนะนำวิธีการปฏิบัติงานกับคอมพิวเตอร์ในระบบสารสนเทศ ซึ่งอาจได้แก่การแนะนำการควบคุมการเข้าใช้งานคอมพิวเตอร์, วิธีการสำรองสารสนเทศในระบบและวิธีจัดการกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้
6. การสื่อสารข้อมูล หมายถึงการส่งสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์เพื่อติดต่อสื่อสาร และช่วยให้องค์กรสามารถเชื่อมระบบคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่าย (Network) ที่มีประสิทธิภาพได้ โดยเครือข่ายใช้ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไว้ด้วยกัน อาจจะเป็นภายในอาคารเดียวกัน ในประเทศเดียวกัน หรือทั่วโลก เพื่อให้สามารถสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้

ที่มา //irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/Knowledge/Management%20Information%20Systems/mis2.htm
//www.geocities.com/gr421317/information.html


โดย: นางสาว จุรีพร โคตรชมภู รหัส 52040332125 พฤหัส เช้า หมู่ 08 IP: 172.29.5.133, 202.29.5.62 วันที่: 31 สิงหาคม 2552 เวลา:16:29:00 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง
ตอบ 1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อการประมวล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกต การสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้ต้องมีคุณลักษณะสำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้


โดย: นางฉวีวรรณ แสงเลิศ 51241151132 รูปแบบพิเศษ รปศ. เรียนเวลา บ่ายโมงวันเสาร์ IP: 117.47.14.74 วันที่: 1 กันยายน 2552 เวลา:19:11:54 น.  

 
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้

ที่มา//ecurriculum.mv.ac.th/techno/library/computer/it/it/HTM/03Lesson2.html


โดย: ชื่อกิ่งแก้ว เชื้อบุญมา 52040281114 (ม. 8) พฤฯเช้า IP: 172.29.5.133, 58.137.131.62 วันที่: 3 กันยายน 2552 เวลา:11:35:49 น.  

 
การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูลและการกำหนด รหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล ว่าจะจัดเรียงลำดับระเบียบ ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
www.geocities.com/gr421317/information.html


โดย: ชื่อนางสาววิจิตรา สร้อยคำ52040280145หมู่ที่8เรียนพฤหัสเช้า IP: 172.29.5.133, 202.29.5.62 วันที่: 3 กันยายน 2552 เวลา:11:48:22 น.  

 
การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้
TOP


โดย: นางสาวชรัญดา สีปุ้ม รหัส 52040280121 หมู่ 8 เรียน พฤหัสเช้า IP: 1.1.1.104, 58.137.131.62 วันที่: 3 กันยายน 2552 เวลา:17:48:59 น.  

 
การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้
TOP //ecurriculum.mv.ac.th/techno/library/computer/it/it/HTM/03Lesson2.html


โดย: นางสาวชรัญดา สีปุ้ม รหัส 52040280121 หมู่ 8 เรียน พฤหัสเช้า IP: 1.1.1.104, 58.137.131.62 วันที่: 3 กันยายน 2552 เวลา:17:50:41 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง

การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้ อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การ ทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ความ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมุลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบ ข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมุลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะคือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูล เป็น หมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณ์ ที่หมาะสมมีความหมายและเป็น ประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูลและการกำหนด รหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล ว่าจะจัดเรียงลำดับระเบียบ ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกันหรือแบ่ง กลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้น ต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัย ของ ข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็น สารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูล ในรูปความสัมพันธ์ กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการ ของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ ผ่านการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออก จากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้าย ของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำให้แบบ เอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ
ตัวอย่าง เช่น ระบบล้างรถอัตโนมัติ
ระบบสารสนเทศประกอบด้วย ส่วนหลักดังรูปที่ 3
ส่วนที่นำเข้า คือ รถที่สกปรก น้ำ และน้ำยาต่างๆ ที่ใช้ในการล้างรถ เวลาและพลังงานถูกใช้ในการปฏิบัติการล้างรถ ทักษะได้แก่ความสามารถเฉพาะอย่างจะถูกนำมาใช้ในการฉีดสเปรย์ ขัดโฟม และเป่าแห้ง ความรู้ถูกนำมาใช้ในการกำหนดขั้นตอนการทำงานของการล้างรถให้ทำงานไปตามขั้นตอนที่ถูกต้อง
การประมวลผล ประกอบด้วย ขั้นที่หนึ่ง การเลือกประเภทการล้างรถที่ต้องการ เช่น ล้างอย่างเดียว ล้างและขัดเงา ล้างและขัดเงาและเป่าแห้งฯลฯ และขั้นต่อไปทำการนำรถเข้าไปในเครื่องล้างรถ (สังเกตว่าในส่วนนี้จะเกิดกลไกของผลสะท้อนกลับขึ้น ได้แก่การประเมินผลของเจ้าของรถที่มีต่อขบวนการล้างรถที่กำลังเกิดขึ้น) จากนั้นของฉีดของเหลวจะฉีดน้ำ สบู่เหลว หรือครีมขัดเงาไปที่รถ ขึ้นอยู่กับตัวเลือกที่เลือกไว้ในตอนต้น
ส่วนที่แสดงผล คือรถที่สะอาดแล้ว
จากตัวอย่าง จะเห็นว่าส่วนประกอบอิสระต่างๆ ในระบบล้างรถอัตโนมัติ เช่นเครื่องฉีดของเหลว แปลงสำหรับทางโฟม และเครื่องเป่าแห้ง ทำงานโต้ตอบกัน เพื่อให้รถสะอาดนั่นเอง
ระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-Based Information Systems : CBIS)
ระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ (Hardware), ซอฟต์แวร์ (Software), ข้อมูล(Data), บุคคล (People), ขบวนการ (Procedure) และการสื่อสารข้อมูล (Telecommunication) ซึ่งถูกกำหนดขึ้นเพื่อทำการรวบรวม, จัดการ จัดเก็บและประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ รูปที่ 4 แสดงส่วนประกอบของระบบ สารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์

ที่ 4 ส่วนประกอบของสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์

1. ฮาร์ดแวร์ คืออุปกรณ์ทางกายภาพ ที่ใช้ในการรวบรวม การนำเข้า และการจัดเก็บข้อมูล, ประมวลผล ข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ และแสดงสารสนเทศที่เป็นผลลัพธ์ออกมา
2. ซอฟต์แวร์ ประกอบด้วยกลุ่มของโปรแกรมที่ใช้ในการปฏิบัติงานร่วมกับฮาร์ดแวร์และใช้ในการประมวลผลข้อมูลเป็นสารสนเทศ
3. ข้อมูล ในส่วนนี้หมายถึงข้อมูลและสารสนเทศที่ถูกเก็บอยู่ในฐานข้อมูล โดยฐานข้อมูล (Database) หมายถึงกลุ่มของค่าความจริงและสารสนเทศที่มีความเกี่ยวข้องกันนั่นเอง
4. บุคคล หมายถึงบุคคลที่ใช้งานและปฏิบัติงานร่วมกับระบบสารสนเทศ
5. ขบวนการ หมายถึงกลุ่มของคำสั่งหรือกฎ ที่แนะนำวิธีการปฏิบัติงานกับคอมพิวเตอร์ในระบบสารสนเทศ ซึ่งอาจได้แก่การแนะนำการควบคุมการเข้าใช้งานคอมพิวเตอร์, วิธีการสำรองสารสนเทศในระบบและวิธีจัดการกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้
6. การสื่อสารข้อมูล หมายถึงการส่งสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์เพื่อติดต่อสื่อสาร และช่วยให้องค์กรสามารถเชื่อมระบบคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่าย (Network) ที่มีประสิทธิภาพได้ โดยเครือข่ายใช้ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไว้ด้วยกัน อาจจะเป็นภายในอาคารเดียวกัน ในประเทศเดียวกัน หรือทั่วโลก เพื่อให้สามารถสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้

ที่มา //irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/Knowledge/Management%20Information%20Systems/mis2.htm
//www.geocities.com/gr421317/information.html






โดย: นางสาวเกษร อัครฮาด รหัสนักศึกษา 52040003135 หมู่ 29 เรียนพุธเช้า IP: 202.29.5.62 วันที่: 7 กันยายน 2552 เวลา:17:50:18 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง

การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้ อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การ ทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ความ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมุลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบ ข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมุลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะคือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูล เป็น หมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณ์ ที่หมาะสมมีความหมายและเป็น ประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูลและการกำหนด รหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล ว่าจะจัดเรียงลำดับระเบียบ ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกันหรือแบ่ง กลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้น ต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัย ของ ข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็น สารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูล ในรูปความสัมพันธ์ กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการ ของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ ผ่านการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออก จากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้าย ของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำให้แบบ เอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ
ตัวอย่าง เช่น ระบบล้างรถอัตโนมัติ
ระบบสารสนเทศประกอบด้วย ส่วนหลักดังรูปที่ 3
ส่วนที่นำเข้า คือ รถที่สกปรก น้ำ และน้ำยาต่างๆ ที่ใช้ในการล้างรถ เวลาและพลังงานถูกใช้ในการปฏิบัติการล้างรถ ทักษะได้แก่ความสามารถเฉพาะอย่างจะถูกนำมาใช้ในการฉีดสเปรย์ ขัดโฟม และเป่าแห้ง ความรู้ถูกนำมาใช้ในการกำหนดขั้นตอนการทำงานของการล้างรถให้ทำงานไปตามขั้นตอนที่ถูกต้อง
การประมวลผล ประกอบด้วย ขั้นที่หนึ่ง การเลือกประเภทการล้างรถที่ต้องการ เช่น ล้างอย่างเดียว ล้างและขัดเงา ล้างและขัดเงาและเป่าแห้งฯลฯ และขั้นต่อไปทำการนำรถเข้าไปในเครื่องล้างรถ (สังเกตว่าในส่วนนี้จะเกิดกลไกของผลสะท้อนกลับขึ้น ได้แก่การประเมินผลของเจ้าของรถที่มีต่อขบวนการล้างรถที่กำลังเกิดขึ้น) จากนั้นของฉีดของเหลวจะฉีดน้ำ สบู่เหลว หรือครีมขัดเงาไปที่รถ ขึ้นอยู่กับตัวเลือกที่เลือกไว้ในตอนต้น
ส่วนที่แสดงผล คือรถที่สะอาดแล้ว
จากตัวอย่าง จะเห็นว่าส่วนประกอบอิสระต่างๆ ในระบบล้างรถอัตโนมัติ เช่นเครื่องฉีดของเหลว แปลงสำหรับทางโฟม และเครื่องเป่าแห้ง ทำงานโต้ตอบกัน เพื่อให้รถสะอาดนั่นเอง
ระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-Based Information Systems : CBIS)
ระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ (Hardware), ซอฟต์แวร์ (Software), ข้อมูล(Data), บุคคล (People), ขบวนการ (Procedure) และการสื่อสารข้อมูล (Telecommunication) ซึ่งถูกกำหนดขึ้นเพื่อทำการรวบรวม, จัดการ จัดเก็บและประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ รูปที่ 4 แสดงส่วนประกอบของระบบ สารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์

ที่ 4 ส่วนประกอบของสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์

1. ฮาร์ดแวร์ คืออุปกรณ์ทางกายภาพ ที่ใช้ในการรวบรวม การนำเข้า และการจัดเก็บข้อมูล, ประมวลผล ข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ และแสดงสารสนเทศที่เป็นผลลัพธ์ออกมา
2. ซอฟต์แวร์ ประกอบด้วยกลุ่มของโปรแกรมที่ใช้ในการปฏิบัติงานร่วมกับฮาร์ดแวร์และใช้ในการประมวลผลข้อมูลเป็นสารสนเทศ
3. ข้อมูล ในส่วนนี้หมายถึงข้อมูลและสารสนเทศที่ถูกเก็บอยู่ในฐานข้อมูล โดยฐานข้อมูล (Database) หมายถึงกลุ่มของค่าความจริงและสารสนเทศที่มีความเกี่ยวข้องกันนั่นเอง
4. บุคคล หมายถึงบุคคลที่ใช้งานและปฏิบัติงานร่วมกับระบบสารสนเทศ
5. ขบวนการ หมายถึงกลุ่มของคำสั่งหรือกฎ ที่แนะนำวิธีการปฏิบัติงานกับคอมพิวเตอร์ในระบบสารสนเทศ ซึ่งอาจได้แก่การแนะนำการควบคุมการเข้าใช้งานคอมพิวเตอร์, วิธีการสำรองสารสนเทศในระบบและวิธีจัดการกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้
6. การสื่อสารข้อมูล หมายถึงการส่งสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์เพื่อติดต่อสื่อสาร และช่วยให้องค์กรสามารถเชื่อมระบบคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่าย (Network) ที่มีประสิทธิภาพได้ โดยเครือข่ายใช้ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไว้ด้วยกัน อาจจะเป็นภายในอาคารเดียวกัน ในประเทศเดียวกัน หรือทั่วโลก เพื่อให้สามารถสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้

ที่มา //irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/Knowledge/Management%20Information%20Systems/mis2.htm
//www.geocities.com/gr421317/information.html






โดย: นางสาวเกษร อัครฮาด รหัสนักศึกษา 52040003135 หมู่ 29 เรียนพุธเช้า IP: 202.29.5.62 วันที่: 7 กันยายน 2552 เวลา:17:52:18 น.  

 
ตอบข้อ.4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง

การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
(1). การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้ อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การ ทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ความ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
(2). การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมุลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบ ข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมุลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะคือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
(3). การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูล เป็น หมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณ์ ที่หมาะสมมีความหมายและเป็น ประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
(4). การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูลและการกำหนด รหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล ว่าจะจัดเรียงลำดับระเบียบ ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
(5). การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกันหรือแบ่ง กลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้น ต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัย ของ ข้อมูลอีกด้วย
(6). การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็น สารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูล ในรูปความสัมพันธ์ กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการ ของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
(7). การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ ผ่านการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์
(8). การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออก จากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้
(9). การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้าย ของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำให้แบบ เอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ
ตัวอย่าง เช่น ระบบล้างรถอัตโนมัติ
ระบบสารสนเทศประกอบด้วย ส่วนหลักดังรูปที่ 3
ส่วนที่นำเข้า คือ รถที่สกปรก น้ำ และน้ำยาต่างๆ ที่ใช้ในการล้างรถ เวลาและพลังงานถูกใช้ในการปฏิบัติการล้างรถ ทักษะได้แก่ความสามารถเฉพาะอย่างจะถูกนำมาใช้ในการฉีดสเปรย์ ขัดโฟม และเป่าแห้ง ความรู้ถูกนำมาใช้ในการกำหนดขั้นตอนการทำงานของการล้างรถให้ทำงานไปตามขั้นตอนที่ถูกต้อง
การประมวลผล ประกอบด้วย ขั้นที่หนึ่ง การเลือกประเภทการล้างรถที่ต้องการ เช่น ล้างอย่างเดียว ล้างและขัดเงา ล้างและขัดเงาและเป่าแห้งฯลฯ และขั้นต่อไปทำการนำรถเข้าไปในเครื่องล้างรถ (สังเกตว่าในส่วนนี้จะเกิดกลไกของผลสะท้อนกลับขึ้น ได้แก่การประเมินผลของเจ้าของรถที่มีต่อขบวนการล้างรถที่กำลังเกิดขึ้น) จากนั้นของฉีดของเหลวจะฉีดน้ำ สบู่เหลว หรือครีมขัดเงาไปที่รถ ขึ้นอยู่กับตัวเลือกที่เลือกไว้ในตอนต้น
ส่วนที่แสดงผล คือรถที่สะอาดแล้ว
จากตัวอย่าง จะเห็นว่าส่วนประกอบอิสระต่างๆ ในระบบล้างรถอัตโนมัติ เช่นเครื่องฉีดของเหลว แปลงสำหรับทางโฟม และเครื่องเป่าแห้ง ทำงานโต้ตอบกัน เพื่อให้รถสะอาดนั่นเอง
ระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-Based Information Systems : CBIS)
ระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ (Hardware), ซอฟต์แวร์ (Software), ข้อมูล(Data), บุคคล (People), ขบวนการ (Procedure) และการสื่อสารข้อมูล (Telecommunication) ซึ่งถูกกำหนดขึ้นเพื่อทำการรวบรวม, จัดการ จัดเก็บและประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ รูปที่ 4 แสดงส่วนประกอบของระบบ สารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์

ที่ 4 ส่วนประกอบของสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์

1. ฮาร์ดแวร์ คืออุปกรณ์ทางกายภาพ ที่ใช้ในการรวบรวม การนำเข้า และการจัดเก็บข้อมูล, ประมวลผล ข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ และแสดงสารสนเทศที่เป็นผลลัพธ์ออกมา
2. ซอฟต์แวร์ ประกอบด้วยกลุ่มของโปรแกรมที่ใช้ในการปฏิบัติงานร่วมกับฮาร์ดแวร์และใช้ในการประมวลผลข้อมูลเป็นสารสนเทศ
3. ข้อมูล ในส่วนนี้หมายถึงข้อมูลและสารสนเทศที่ถูกเก็บอยู่ในฐานข้อมูล โดยฐานข้อมูล (Database) หมายถึงกลุ่มของค่าความจริงและสารสนเทศที่มีความเกี่ยวข้องกันนั่นเอง
4. บุคคล หมายถึงบุคคลที่ใช้งานและปฏิบัติงานร่วมกับระบบสารสนเทศ
5. ขบวนการ หมายถึงกลุ่มของคำสั่งหรือกฎ ที่แนะนำวิธีการปฏิบัติงานกับคอมพิวเตอร์ในระบบสารสนเทศ ซึ่งอาจได้แก่การแนะนำการควบคุมการเข้าใช้งานคอมพิวเตอร์, วิธีการสำรองสารสนเทศในระบบและวิธีจัดการกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้
6. การสื่อสารข้อมูล หมายถึงการส่งสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์เพื่อติดต่อสื่อสาร และช่วยให้องค์กรสามารถเชื่อมระบบคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่าย (Network) ที่มีประสิทธิภาพได้ โดยเครือข่ายใช้ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไว้ด้วยกัน อาจจะเป็นภายในอาคารเดียวกัน ในประเทศเดียวกัน หรือทั่วโลก เพื่อให้สามารถสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้

ที่มา //irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/Knowledge/Management%20Information%20Systems/mis2.htm
//www.geocities.com/gr421317/information.html


โดย: ณัฐวุฒิ ไชยเสนา หมู่22 IP: 172.29.5.133, 58.147.7.66 วันที่: 8 กันยายน 2552 เวลา:9:39:45 น.  

 
.1ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง

ตอบ กระบวนการผลิตสารสนเทศ

กระบวนการในการผลิตสารสนเทศ เรียกว่า การประมวลผล (Processing) มีองค์ประกอบ ดังนี้

1. การจัดเก็บข้อมูล เป็นขั้นตอนของการจัดเตรียมข้อมูล การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญ หากมีการจัดเตรียมข้อมูลที่ดีผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลย่อมดีตามไปด้วย

2. การบันทึกข้อมูล เป็นขั้นตอนการนำเอาข้อมูลที่มีการจัดเก็บหรือจัดเตรียมไว้มาทำการบันทึกลงในเรื่องคอมพิวเตอร์ เช่น บันทึกไว้ในแผ่นดิสเก็ต ซีดีรอม

3. การตรวจสอบความถูกต้อง เป็นขั้นตอนของการตรวจสอบข้อมูลที่ได้ทำการบันทึกลงในเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว โดยตรวจสอบว่าถูกต้องตรงกับข้อมูลต้นฉบับหรือไม่ และมีความสมเหตุสมผลหรือไม่

4. การจัดกลุ่มและการแยกประเภทข้อมูล เป็นขั้นตอนของการจัดกลุ่มและแยกประเภทข้อมูล ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นหมวดหมู่อย่างเหมาะสม เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการเรียกใช้งาน

5. การประมวลผล เป็นขั้นตอนที่ข้อมูลจะกลายเป็นสารสนเทศโดยนำเอาข้อมูลที่ได้จัดเตรียมไว้มาทำการประมวลผล เพื่อสร้างเป็นผลลัพธ์ เช่น นำเอาคะแนนสอบทั้งปีของนักเรียนมาทำการประมวลผลเป็นคะแนนรวมเพื่อตัดเกรดของนักเรียน

6. การจัดทำรายงาน เป็น ขั้นตอนของการนำเอาสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลมาใช้ประโยชน์โดยจัดทำเป็น รายงานในรูปแบบต่างๆ ตามความเหมาะสมกับชนิดของงานแต่ละอย่าง เพื่อความถูกต้องและสะดวกรวดเร็วในการนำไปประกอบการตัดสินใจ

ที่มา //www.mit.psu.ac.th/index.php?option=com_fireboard&Itemid=55&func=view&id=52&catid=12





โดย: น.สชไมพร ตะโคตร พุธ (เช้า) หมู่29 52040422103 IP: 172.29.5.133, 58.147.7.66 วันที่: 8 กันยายน 2552 เวลา:11:07:39 น.  

 
แบบฝึกหัด
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง

การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้
TOP

ที่มา :ecurriculum.mv.ac.th/techno/library/.../it/.../03Lesson2.html


โดย: นายวัชระพงศ์ โคตรชมภู 51040901205 คณะมนษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชานิติศาสตร์ หมู่01 จันทร์บ่าย IP: 172.29.5.133, 58.147.7.66 วันที่: 11 กันยายน 2552 เวลา:13:45:33 น.  

 
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต

ขบวนการในการผลิตประกอบด้วยงานที่ขึ้นต่อกันมากมาย โดยการนำระบบการวางแผนทรัพยากรของ องค์กรมาใช้ร่วมในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิตจะช่วยให้การทำงานมีความยืดหยุ่นและมีการจัดหาทรัพยากรที่ต้องการใช้ได้ทันต่อความต้องการ โดยจุดประสงค์ของขบวนการผลิตก็คือการผลิตได้ตรงตามความพอใจหรือความต้องการของลูกค้านั่นเอง
ในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต ภาระของผู้บริหารในการดูแลควบคุมงานจะถูกลดลงไป, งานด้านเอกสารต่างๆ จะถูกปรับให้อยู่ในรูปของขบวนการออนไลน์และการติดต่อสื่อสารข้อมูลจะใช้งานผ่านระบบการ แลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (EDI) และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแทน อีกทั้งในการวางแผนการใช้ทรัพยากรของ องค์กรเพื่อการผลิตจะใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายอินทราเน็ตในองค์กร เพื่อติดต่อกับหน่วยงานธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ เพื่อปฏิบัติงานและงานควบคุมงานต่างๆ ทั้งแบบศูนย์กลางและแบบกระจายได้ รูปที่ 16 แสดงภาพรวมของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต
ส่วนที่นำเข้าไปยังระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต

ส่วนที่นำเข้าจะได้จากกการปฏิบัติงานซึ่งเกี่ยวกับการไหลเวียนและการแปลงวัตถุดิบภายในองค์กร แหล่ง สารสนเทศที่สำคัญอาจมาจากภายนอกองค์กรก็ได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะมาจากภายใน เช่น

1. แผนเชิงกลยุทธ์และนโยบายของบริษัท ซึ่งจะเป็นส่วนที่กำหนดทิศทางของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต เช่นเอกสารเกี่ยวกับการวางแผนระยะยาวที่กล่าวถึงเรื่องคุณภาพ, การผลิต, และเป้าหมายและข้อจำกัดในการให้บริการ รวมถึงนโยบายในการเปิดโรงงานใหม่หรือการปิดโรงงานเก่าลงและเรื่องของความสามารถในการผลิตที่เพิ่มขึ้นได้, ข้อจำกัดของจำนวนพนักงานที่มี, การเปลี่ยนนโยบายการเก็บสินค้าคงคลัง และโปรแกรมการควบคุมคุณภาพใหม่ที่ต้องการใช้ เหล่านี้จัดเป็นสารสนเทศที่นำเข้าสู่ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต
2. ระบบประมวลผลรายการ ได้แก่ข้อมูลที่ได้จากระบบประมวลผลรายการด้านต่างๆที่เกี่ยวข้อในการผลิต ได้แก่ การประมวลผลการสั่งซื้อ, ข้อมูลสินค้าคงคลัง, ข้อมูลการรับและการตรวจสอบวัตถุดิบที่เข้ามาในขบวนการผลิต, ข้อมูลบุคลากร, และข้อมูลขบวนการผลิต
3. แหล่งข้อมูลภายนอก ได้แก่ ข้อมูลขบวนการในการผลิตใหม่ๆ ซึ่งอาจมาจากบริษัท, วารสาร และสิ่งพิมพ์อื่นๆ หรือได้จาก เครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือข้อมูลเกี่ยวกับสภาพวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้สามารถคาดเดาในเรื่องของแรงงาน และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับวัตถุดิบได้ นอกเหนือจากนี้ยังมีแหล่งข้อมูลภายนอกอื่นๆ อีก เช่น องค์กรผู้เชี่ยวชาญต่างๆ, สมาคมทางธุรกิจ ซึ่งสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับคู่แข่งขัน ทั้งในด้านขบวนการผลิตและกลุ่มลูกค้าใหม่ๆที่น่าสนใจได้

ระบบย่อยและผลที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต

ระบบย่อยและผลลัพธ์ที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต ได้แก่ การตรวจสอบและควบคุมการไหลเวียนของวัตถุดิบ, สินค้า และบริการต่างๆภายในองค์กร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตสินค้าได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า ตั้งแต่เริ่มขบวนการนำวัตถุดิบมาผ่านขั้นตอนการผลิตจนกระทั่งเสร็จเป็นสินค้าและบริการที่จะส่งไปยังลูกค้า โดยที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ระบบย่อยและผลลัพธ์ที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต ได้แก่

1. การออกแบบและการปฏิบัติเชิงวิศวกรรม (Design and Engineering) ได้แก่การพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยสามารถใช้ระบบการออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (Computer-Aided Design : CAD) ซึ่งเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ โดยผู้ใช้สามารถออกแบบและแก้ไข ตัวแบบได้เองบนจอภาพ
2. การจัดตารางการผลิต (Production Planning) เพื่อจัดการรายละเอียดแผนงานการผลิตทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยใช้ซอฟต์แวร์ที่ทำงานในด้านนี้เข้ามาช่วย ซึ่งในซอฟต์แวร์นี้อาจมีคุณสมบัติในการทำนายและพิจารณาหาความต้องการของสินค้าและบริการที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ทำให้สามารถวางแผนเพื่อกำหนดการผลิตให้ได้ตรงตามความต้องการ
3. การควบคุมสินค้าคงคลัง (Inventory Control) ได้แก่การใช้ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการสั่งซื้อ, การทำนาย, การผลิตเอกสารและรายงานร้านค้า, การพิจารณาหาค่าใช้จ่ายในการผลิต, การวิเคราะห์งบประมาณค่าใช้จ่ายที่วางไว้เปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายจริง, และการพัฒนาตารางการผลิต, บอกความต้องการทรัพยากรในการผลิตและวางแผนการผลิตได้อย่างอัตโนมัติ โดยปกติแล้วซอฟต์แวร์ต่างๆเหล่านี้จะมีสูตรในการคำนวณเพื่อหาจำนวนวัตถุดิบและช่วงเวลาที่จะต้องสั่งซื้อได้ วิธีการหาว่าต้องสั่งสินค้ามาไว้ในคลังปริมาณเท่าใดเรียกว่าวิธีการกาปริมาณหารสั่งซื้อมางเศรษฐกิจ (Economic Order Quantity : EOQ) โดยปริมาณที่หาได้นี้จะต้องทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุดด้วย ส่วนการหาว่าต้องสั่งสินค้ามาไว้ในคลังเมื่อใดจะใช้วิธีการหาจุดสั่งซื้อเพิ่ม Reorder Point : ROP) ซึ่งแสดงถึงค่าระดับปริมาณสินค้าคงคลังที่วิกฤติ
4. การวางแผนการใช้ทรัพยากรการผลิต(Manufacturing Resource Planning : MRPII) ได้แก่ระบบที่ใช้การวางแผนเครือข่ายเพื่อให้บุคคลต่างๆ สามารถดำเนินธุรกิจเพื่อให้บริการและผลผลิตแก่ลูกค้าได้เป็นจำนวนมาก ในขณะที่เสียค่าใช้จ่ายและมีสินค้าหรือวัตถุดิบในคลังสินค้าในปริมาณต่ำ โดยมีการทำนายความต้องการของลูกค้า, การควบคุมสินค้าคงคลัง, การวางแผนการผลิต, การแสดง รายการวัตถุดิบที่ต้องใช้, การวางแผนการสรรหาแหล่งวัตถุดิบที่ต้องใช้ เพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ จะถูกส่งไปให้แก่ลูกค้าได้ในเวลาที่ต้องการ
5. การควบคุมสินค้าและการผลิตที่ทันเวลา (Just-in-Time Inventory and Manufacturing) การเก็บสินค้าและวัตถุดิบในคลังสินค้าเป็นจำนวนมากทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูง และอาจเกิดการเสียหายได้ ดังนั้นวัตถุประสงค์หนึ่งของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิตก็คือ การควบคุมสินค้าคงคลังให้อยู่ในระดับที่ต่ำที่สุด โดยไม่กระทบกับความต้องการในการนำสินค้าหรือวัตถุดิบนั้นไปใช้ในการผลิต วิธีที่นิยมใช้ได้แก่วิธีการควบคุมคลังสินค้าแบบทันเวลา (Just-in-Time : JIT Inventory Approach) ซึ่งสินค้าและวัตถุดิบจะถูกส่งไปให้ในช่วงเวลาก่อนที่จะสินค้าหรือวัตถุดิบนั้นไปใช้ในการผลิต ทำให้ไม่ต้องเก็บไว้ในคลังสินค้าเป็นช่วงเวลานานๆ
6. การควบคุมขบวนการผลิต ในการควบคุมการผลิตมีเทคโนโลยีที่สนับสนุนมากมาย เช่น การผลิตโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (Computer-Aided Manufacturing : CAM) เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการด้านการผลิต เช่น การตรวจสอบและติดตาม ได้แก่การควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ในการผลิตต่างๆ การตรวจสอบค่าและข้อกำหนดในการผลิตต่างๆ เช่น อุณหภูมิที่ใช้ ค่าความดันอากาศฯลฯ หรือใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการกำหนดรหัสสินค้า การจัดลำดับในขบวนการผลิต เป็นต้น
7. การนำคอมพิวเตอร์เข้าไปช่วยในการผลิต (Computer-Integrated Manufacturing : CIM) ได้แก่การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมโยงองค์ประกอบต่างๆในขบวนการผลิตเข้าด้วยกันเป็นระบบที่มี ประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวมขั้นตอนการผลิตทั้งหมด เช่น การประมวลผลการสั่งซื้อ, การออกแบบผลิตภัณฑ์, การผลิต การควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพ และการขนส่งเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มประสิทธภาพในด้านการทำงานส่วนต่างๆ ที่ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน โดยอาจนำระบบการผลิตแบบคล่องตัว (Flexible Manufacturing System : FMS) เข้ามาใช้ร่วมด้วย ทำให้สามารถเปลี่ยนการผลิตสินค้าอย่างหนึ่งเป็นอีกอย่างหนึ่งเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
8. การควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพ (Quality Control and Testing) ได้แก่ขบวนการในการในการควบคุมเพื่อให้แน่ใจว่าสินค้าที่ผลิตออกมาตรงตามที่ลูกค้าต้องการ โดยใช้ซอฟต์แวร์ในการควบคุมคุณภาพ ต่างๆ ผลลัพธ์ที่ได้จากระบบการควบคุมคุณภาพ ได้แก่รายงาน ค่าใช้จ่ายที่ลดลงและยอดขายที่เพิ่มขึ้น โดยสารสนเทศที่ได้จากระบบนี้จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทราบถึงปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์การผลิตและรายงานควบคุมคุณภาพยังใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ดีขึ้นอีกด้วย



โดย: นายจักรกริช โพธิวงษ์ หมู่15 ศุกร์เช้า IP: 192.168.1.105, 119.42.83.235 วันที่: 14 กันยายน 2552 เวลา:19:06:25 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง


การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล

การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้ แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของ ผู้ใช้ได้


ที่มา : //ecurriculum.mv.ac.th/techno/library/computer/it/it/HTM/03Lesson2.html


โดย: น.ส. นาริณี อินทร์ดี IP: 125.26.160.68 วันที่: 14 กันยายน 2552 เวลา:22:02:03 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง

การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้


ที่มา
//ecurriculum.mv.ac.th/techno/library/computer/it/it/HTM/03Lesson2.html



โดย: นางสาวปวีณา พุทธกุล รหัส 52040263115 เรียนวันอังคาร หมู่ที่22 IP: 172.29.5.133, 58.147.7.66 วันที่: 15 กันยายน 2552 เวลา:9:04:41 น.  

 
แบบฝึกหัด
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง
ตอบ การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้


ที่มา
//ecurriculum.mv.ac.th/techno/library/computer/it/it/HTM/03Lesson2


โดย: นางสาว ศิริพร คมกล้า 51040901250 สาขา นิติศาสตร์ หมู่ 01 (จันทร์-บ่าย) IP: 222.123.14.135 วันที่: 15 กันยายน 2552 เวลา:11:40:35 น.  

 
.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง
ตอบ
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้ อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การ ทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ความ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมุลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบ ข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมุลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะคือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูล เป็น หมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณ์ ที่หมาะสมมีความหมายและเป็น ประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูลและการกำหนด รหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล ว่าจะจัดเรียงลำดับระเบียบ ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกันหรือแบ่ง กลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้น ต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัย ของ ข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็น สารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูล ในรูปความสัมพันธ์ กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการ ของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ ผ่านการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออก จากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้าย ของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำให้แบบ เอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ
ที่มา//www.geocities.com/gr421317/information.html





โดย: นางสาวกิตติยาพร คนดี(51040901202)สาขานิติศาสตร์ จันทร์บ่าย หมู่1 IP: 124.157.149.128 วันที่: 15 กันยายน 2552 เวลา:18:05:51 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง

วิธีการผลิตสารสนเทศ ได้แก่ การตรวจสอบและควบคุมการไหลเวียนของวัตถุดิบ, สินค้า และบริการต่างๆภายในองค์กร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตสินค้าได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า ตั้งแต่เริ่มขบวนการนำวัตถุดิบมาผ่านขั้นตอนการผลิตจนกระทั่งเสร็จเป็นสินค้าและบริการที่จะส่งไปยังลูกค้า โดยที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ระบบย่อยและผลลัพธ์ที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต ได้แก่

1. การออกแบบและการปฏิบัติเชิงวิศวกรรม (Design and Engineering) ได้แก่การพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยสามารถใช้ระบบการออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (Computer-Aided Design : CAD) ซึ่งเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ โดยผู้ใช้สามารถออกแบบและแก้ไข ตัวแบบได้เองบนจอภาพ
2. การจัดตารางการผลิต (Production Planning) เพื่อจัดการรายละเอียดแผนงานการผลิตทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยใช้ซอฟต์แวร์ที่ทำงานในด้านนี้เข้ามาช่วย ซึ่งในซอฟต์แวร์นี้อาจมีคุณสมบัติในการทำนายและพิจารณาหาความต้องการของสินค้าและบริการที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ทำให้สามารถวางแผนเพื่อกำหนดการผลิตให้ได้ตรงตามความต้องการ
3. การควบคุมสินค้าคงคลัง (Inventory Control) ได้แก่การใช้ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการสั่งซื้อ, การทำนาย, การผลิตเอกสารและรายงานร้านค้า, การพิจารณาหาค่าใช้จ่ายในการผลิต, การวิเคราะห์งบประมาณค่าใช้จ่ายที่วางไว้เปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายจริง, และการพัฒนาตารางการผลิต, บอกความต้องการทรัพยากรในการผลิตและวางแผนการผลิตได้อย่างอัตโนมัติ โดยปกติแล้วซอฟต์แวร์ต่างๆเหล่านี้จะมีสูตรในการคำนวณเพื่อหาจำนวนวัตถุดิบและช่วงเวลาที่จะต้องสั่งซื้อได้ วิธีการหาว่าต้องสั่งสินค้ามาไว้ในคลังปริมาณเท่าใดเรียกว่าวิธีการกาปริมาณหารสั่งซื้อมางเศรษฐกิจ (Economic Order Quantity : EOQ) โดยปริมาณที่หาได้นี้จะต้องทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุดด้วย ส่วนการหาว่าต้องสั่งสินค้ามาไว้ในคลังเมื่อใดจะใช้วิธีการหาจุดสั่งซื้อเพิ่ม Reorder Point : ROP) ซึ่งแสดงถึงค่าระดับปริมาณสินค้าคงคลังที่วิกฤติ
4. การวางแผนการใช้ทรัพยากรการผลิต(Manufacturing Resource Planning : MRPII) ได้แก่ระบบที่ใช้การวางแผนเครือข่ายเพื่อให้บุคคลต่างๆ สามารถดำเนินธุรกิจเพื่อให้บริการและผลผลิตแก่ลูกค้าได้เป็นจำนวนมาก ในขณะที่เสียค่าใช้จ่ายและมีสินค้าหรือวัตถุดิบในคลังสินค้าในปริมาณต่ำ โดยมีการทำนายความต้องการของลูกค้า, การควบคุมสินค้าคงคลัง, การวางแผนการผลิต, การแสดง รายการวัตถุดิบที่ต้องใช้, การวางแผนการสรรหาแหล่งวัตถุดิบที่ต้องใช้ เพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ จะถูกส่งไปให้แก่ลูกค้าได้ในเวลาที่ต้องการ
5. การควบคุมสินค้าและการผลิตที่ทันเวลา (Just-in-Time Inventory and Manufacturing) การเก็บสินค้าและวัตถุดิบในคลังสินค้าเป็นจำนวนมากทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูง และอาจเกิดการเสียหายได้ ดังนั้นวัตถุประสงค์หนึ่งของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิตก็คือ การควบคุมสินค้าคงคลังให้อยู่ในระดับที่ต่ำที่สุด โดยไม่กระทบกับความต้องการในการนำสินค้าหรือวัตถุดิบนั้นไปใช้ในการผลิต วิธีที่นิยมใช้ได้แก่วิธีการควบคุมคลังสินค้าแบบทันเวลา (Just-in-Time : JIT Inventory Approach) ซึ่งสินค้าและวัตถุดิบจะถูกส่งไปให้ในช่วงเวลาก่อนที่จะสินค้าหรือวัตถุดิบนั้นไปใช้ในการผลิต ทำให้ไม่ต้องเก็บไว้ในคลังสินค้าเป็นช่วงเวลานานๆ
6. การควบคุมขบวนการผลิต ในการควบคุมการผลิตมีเทคโนโลยีที่สนับสนุนมากมาย เช่น การผลิตโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (Computer-Aided Manufacturing : CAM) เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการด้านการผลิต เช่น การตรวจสอบและติดตาม ได้แก่การควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ในการผลิตต่างๆ การตรวจสอบค่าและข้อกำหนดในการผลิตต่างๆ เช่น อุณหภูมิที่ใช้ ค่าความดันอากาศฯลฯ หรือใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการกำหนดรหัสสินค้า การจัดลำดับในขบวนการผลิต เป็นต้น
7. การนำคอมพิวเตอร์เข้าไปช่วยในการผลิต (Computer-Integrated Manufacturing : CIM) ได้แก่การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมโยงองค์ประกอบต่างๆในขบวนการผลิตเข้าด้วยกันเป็นระบบที่มี ประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวมขั้นตอนการผลิตทั้งหมด เช่น การประมวลผลการสั่งซื้อ, การออกแบบผลิตภัณฑ์, การผลิต การควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพ และการขนส่งเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มประสิทธภาพในด้านการทำงานส่วนต่างๆ ที่ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน โดยอาจนำระบบการผลิตแบบคล่องตัว (Flexible Manufacturing System : FMS) เข้ามาใช้ร่วมด้วย ทำให้สามารถเปลี่ยนการผลิตสินค้าอย่างหนึ่งเป็นอีกอย่างหนึ่งเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
8. การควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพ (Quality Control and Testing) ได้แก่ขบวนการในการในการควบคุมเพื่อให้แน่ใจว่าสินค้าที่ผลิตออกมาตรงตามที่ลูกค้าต้องการ โดยใช้ซอฟต์แวร์ในการควบคุมคุณภาพ ต่างๆ ผลลัพธ์ที่ได้จากระบบการควบคุมคุณภาพ ได้แก่รายงาน ค่าใช้จ่ายที่ลดลงและยอดขายที่เพิ่มขึ้น โดยสารสนเทศที่ได้จากระบบนี้จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทราบถึงปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์การผลิตและรายงานควบคุมคุณภาพยังใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ดีขึ้นอีกด้วย

ที่มา

//irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/Knowledge/Management%20Information%20Systems/mis6.htm






โดย: นาวสาวกาญจนา อุปวันดี (หมู่01 วันจันทร์บ่าย) IP: 113.53.164.173 วันที่: 15 กันยายน 2552 เวลา:20:31:30 น.  

 

4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง
ตอบ การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้
TOP

ที่มา:
www.ecurriculum.mv.ac.th/techno/library/.../it/.../03Lesson2.html





โดย: นางสาวประสิทธิ์พร เพ็งสอน(หมู่01 วันจันทร์บ่าย) IP: 113.53.164.173 วันที่: 15 กันยายน 2552 เวลา:21:32:55 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง


กระบวนการผลิตสารสนเทศ

สินค้าต่างๆ เกิดจากการนำเอาวัตถุดิบมาผ่านกระบวนการผลิตเมื่อผ่านขั้นตอนนี้ก็จะได้สินค้าสำเร็จรูปที่พร้อมสำหรับนำออกวางจำหน่ายตามท้องตลาด เช่น การผลิตเสื้อ เกิดจากการนำเอาใยผ้ามาผ่านการฟอก การย้อม การออกแบบ การตัดเย็บและขั้นตอนอื่นๆ จนเสร็จเป็นเสื้อตัวหนึ่ง เปรียบได้กับการผลิตสารสนเทศที่เกิดขึ้นจากการนำเอาข้อมูลมาทำการประมวลผล จากนั้นจะได้สารสนเทศ ที่พร้อมสำหรับการนำไปใช้ประโยชน์

กระบวนการในการผลิตสารสนเทศ เรียกว่า การประมวลผล (Processing) มีองค์ประกอบ ดังนี้

1. การจัดเก็บข้อมูล เป็นขั้นตอนของการจัดเตรียมข้อมูล การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญ หากมีการจัดเตรียมข้อมูลที่ดีผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลย่อมดีตามไปด้วย

2. การบันทึกข้อมูล เป็นขั้นตอนการนำเอาข้อมูลที่มีการจัดเก็บหรือจัดเตรียมไว้มาทำการบันทึกลงในเรื่องคอมพิวเตอร์ เช่น บันทึกไว้ในแผ่นดิสเก็ต ซีดีรอม

3. การตรวจสอบความถูกต้อง เป็นขั้นตอนของการตรวจสอบข้อมูลที่ได้ทำการบันทึกลงในเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว โดยตรวจสอบว่าถูกต้องตรงกับข้อมูลต้นฉบับหรือไม่ และมีความสมเหตุสมผลหรือไม่

4. การจัดกลุ่มและการแยกประเภทข้อมูล เป็นขั้นตอนของการจัดกลุ่มและแยกประเภทข้อมูล ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นหมวดหมู่อย่างเหมาะสม เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการเรียกใช้งาน

5. การประมวลผล เป็นขั้นตอนที่ข้อมูลจะกลายเป็นสารสนเทศโดยนำเอาข้อมูลที่ได้จัดเตรียมไว้มาทำการประมวลผล เพื่อสร้างเป็นผลลัพธ์ เช่น นำเอาคะแนนสอบทั้งปีของนักเรียนมาทำการประมวลผลเป็นคะแนนรวมเพื่อตัดเกรดของนักเรียน

6. การจัดทำรายงาน เป็นขั้นตอนของการนำเอาสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลมาใช้ประโยชน์โดยจัดทำเป็นรายงานในรูปแบบต่างๆ ตามความเหมาะสมกับชนิดของงานแต่ละอย่าง เพื่อความถูกต้องและสะดวกรวดเร็วในการนำไปประกอบการตัดสินใจ

//itucke.hroyy.com/?page_id=115



โดย: นางสาวปิยนุช แสงจันทร์(หมู่01 วันจันทร์บ่าย) IP: 113.53.164.173 วันที่: 15 กันยายน 2552 เวลา:21:36:21 น.  

 


ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต

ขบวนการในการผลิตประกอบด้วยงานที่ขึ้นต่อกันมากมาย โดยการนำระบบการวางแผนทรัพยากรของ องค์กรมาใช้ร่วมในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิตจะช่วยให้การทำงานมีความยืดหยุ่นและมีการจัดหาทรัพยากรที่ต้องการใช้ได้ทันต่อความต้องการ โดยจุดประสงค์ของขบวนการผลิตก็คือการผลิตได้ตรงตามความพอใจหรือความต้องการของลูกค้านั่นเอง
ในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต ภาระของผู้บริหารในการดูแลควบคุมงานจะถูกลดลงไป, งานด้านเอกสารต่างๆ จะถูกปรับให้อยู่ในรูปของขบวนการออนไลน์และการติดต่อสื่อสารข้อมูลจะใช้งานผ่านระบบการ แลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (EDI) และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแทน อีกทั้งในการวางแผนการใช้ทรัพยากรของ องค์กรเพื่อการผลิตจะใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายอินทราเน็ตในองค์กร เพื่อติดต่อกับหน่วยงานธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ เพื่อปฏิบัติงานและงานควบคุมงานต่างๆ ทั้งแบบศูนย์กลางและแบบกระจายได้ รูปที่ 16 แสดงภาพรวมของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต
ส่วนที่นำเข้าไปยังระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต

ส่วนที่นำเข้าจะได้จากกการปฏิบัติงานซึ่งเกี่ยวกับการไหลเวียนและการแปลงวัตถุดิบภายในองค์กร แหล่ง สารสนเทศที่สำคัญอาจมาจากภายนอกองค์กรก็ได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะมาจากภายใน เช่น

1. แผนเชิงกลยุทธ์และนโยบายของบริษัท ซึ่งจะเป็นส่วนที่กำหนดทิศทางของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต เช่นเอกสารเกี่ยวกับการวางแผนระยะยาวที่กล่าวถึงเรื่องคุณภาพ, การผลิต, และเป้าหมายและข้อจำกัดในการให้บริการ รวมถึงนโยบายในการเปิดโรงงานใหม่หรือการปิดโรงงานเก่าลงและเรื่องของความสามารถในการผลิตที่เพิ่มขึ้นได้, ข้อจำกัดของจำนวนพนักงานที่มี, การเปลี่ยนนโยบายการเก็บสินค้าคงคลัง และโปรแกรมการควบคุมคุณภาพใหม่ที่ต้องการใช้ เหล่านี้จัดเป็นสารสนเทศที่นำเข้าสู่ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต
2. ระบบประมวลผลรายการ ได้แก่ข้อมูลที่ได้จากระบบประมวลผลรายการด้านต่างๆที่เกี่ยวข้อในการผลิต ได้แก่ การประมวลผลการสั่งซื้อ, ข้อมูลสินค้าคงคลัง, ข้อมูลการรับและการตรวจสอบวัตถุดิบที่เข้ามาในขบวนการผลิต, ข้อมูลบุคลากร, และข้อมูลขบวนการผลิต
3. แหล่งข้อมูลภายนอก ได้แก่ ข้อมูลขบวนการในการผลิตใหม่ๆ ซึ่งอาจมาจากบริษัท, วารสาร และสิ่งพิมพ์อื่นๆ หรือได้จาก เครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือข้อมูลเกี่ยวกับสภาพวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้สามารถคาดเดาในเรื่องของแรงงาน และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับวัตถุดิบได้ นอกเหนือจากนี้ยังมีแหล่งข้อมูลภายนอกอื่นๆ อีก เช่น องค์กรผู้เชี่ยวชาญต่างๆ, สมาคมทางธุรกิจ ซึ่งสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับคู่แข่งขัน ทั้งในด้านขบวนการผลิตและกลุ่มลูกค้าใหม่ๆที่น่าสนใจได้

ระบบย่อยและผลที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต

ระบบย่อยและผลลัพธ์ที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต ได้แก่ การตรวจสอบและควบคุมการไหลเวียนของวัตถุดิบ, สินค้า และบริการต่างๆภายในองค์กร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตสินค้าได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า ตั้งแต่เริ่มขบวนการนำวัตถุดิบมาผ่านขั้นตอนการผลิตจนกระทั่งเสร็จเป็นสินค้าและบริการที่จะส่งไปยังลูกค้า โดยที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ระบบย่อยและผลลัพธ์ที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต ได้แก่

1. การออกแบบและการปฏิบัติเชิงวิศวกรรม (Design and Engineering) ได้แก่การพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยสามารถใช้ระบบการออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (Computer-Aided Design : CAD) ซึ่งเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ โดยผู้ใช้สามารถออกแบบและแก้ไข ตัวแบบได้เองบนจอภาพ
2. การจัดตารางการผลิต (Production Planning) เพื่อจัดการรายละเอียดแผนงานการผลิตทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยใช้ซอฟต์แวร์ที่ทำงานในด้านนี้เข้ามาช่วย ซึ่งในซอฟต์แวร์นี้อาจมีคุณสมบัติในการทำนายและพิจารณาหาความต้องการของสินค้าและบริการที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ทำให้สามารถวางแผนเพื่อกำหนดการผลิตให้ได้ตรงตามความต้องการ
3. การควบคุมสินค้าคงคลัง (Inventory Control) ได้แก่การใช้ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการสั่งซื้อ, การทำนาย, การผลิตเอกสารและรายงานร้านค้า, การพิจารณาหาค่าใช้จ่ายในการผลิต, การวิเคราะห์งบประมาณค่าใช้จ่ายที่วางไว้เปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายจริง, และการพัฒนาตารางการผลิต, บอกความต้องการทรัพยากรในการผลิตและวางแผนการผลิตได้อย่างอัตโนมัติ โดยปกติแล้วซอฟต์แวร์ต่างๆเหล่านี้จะมีสูตรในการคำนวณเพื่อหาจำนวนวัตถุดิบและช่วงเวลาที่จะต้องสั่งซื้อได้ วิธีการหาว่าต้องสั่งสินค้ามาไว้ในคลังปริมาณเท่าใดเรียกว่าวิธีการกาปริมาณหารสั่งซื้อมางเศรษฐกิจ (Economic Order Quantity : EOQ) โดยปริมาณที่หาได้นี้จะต้องทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุดด้วย ส่วนการหาว่าต้องสั่งสินค้ามาไว้ในคลังเมื่อใดจะใช้วิธีการหาจุดสั่งซื้อเพิ่ม Reorder Point : ROP) ซึ่งแสดงถึงค่าระดับปริมาณสินค้าคงคลังที่วิกฤติ
4. การวางแผนการใช้ทรัพยากรการผลิต(Manufacturing Resource Planning : MRPII) ได้แก่ระบบที่ใช้การวางแผนเครือข่ายเพื่อให้บุคคลต่างๆ สามารถดำเนินธุรกิจเพื่อให้บริการและผลผลิตแก่ลูกค้าได้เป็นจำนวนมาก ในขณะที่เสียค่าใช้จ่ายและมีสินค้าหรือวัตถุดิบในคลังสินค้าในปริมาณต่ำ โดยมีการทำนายความต้องการของลูกค้า, การควบคุมสินค้าคงคลัง, การวางแผนการผลิต, การแสดง รายการวัตถุดิบที่ต้องใช้, การวางแผนการสรรหาแหล่งวัตถุดิบที่ต้องใช้ เพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ จะถูกส่งไปให้แก่ลูกค้าได้ในเวลาที่ต้องการ
5. การควบคุมสินค้าและการผลิตที่ทันเวลา (Just-in-Time Inventory and Manufacturing) การเก็บสินค้าและวัตถุดิบในคลังสินค้าเป็นจำนวนมากทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูง และอาจเกิดการเสียหายได้ ดังนั้นวัตถุประสงค์หนึ่งของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิตก็คือ การควบคุมสินค้าคงคลังให้อยู่ในระดับที่ต่ำที่สุด โดยไม่กระทบกับความต้องการในการนำสินค้าหรือวัตถุดิบนั้นไปใช้ในการผลิต วิธีที่นิยมใช้ได้แก่วิธีการควบคุมคลังสินค้าแบบทันเวลา (Just-in-Time : JIT Inventory Approach) ซึ่งสินค้าและวัตถุดิบจะถูกส่งไปให้ในช่วงเวลาก่อนที่จะสินค้าหรือวัตถุดิบนั้นไปใช้ในการผลิต ทำให้ไม่ต้องเก็บไว้ในคลังสินค้าเป็นช่วงเวลานานๆ
6. การควบคุมขบวนการผลิต ในการควบคุมการผลิตมีเทคโนโลยีที่สนับสนุนมากมาย เช่น การผลิตโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (Computer-Aided Manufacturing : CAM) เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการด้านการผลิต เช่น การตรวจสอบและติดตาม ได้แก่การควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ในการผลิตต่างๆ การตรวจสอบค่าและข้อกำหนดในการผลิตต่างๆ เช่น อุณหภูมิที่ใช้ ค่าความดันอากาศฯลฯ หรือใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการกำหนดรหัสสินค้า การจัดลำดับในขบวนการผลิต เป็นต้น
7. การนำคอมพิวเตอร์เข้าไปช่วยในการผลิต (Computer-Integrated Manufacturing : CIM) ได้แก่การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมโยงองค์ประกอบต่างๆในขบวนการผลิตเข้าด้วยกันเป็นระบบที่มี ประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวมขั้นตอนการผลิตทั้งหมด เช่น การประมวลผลการสั่งซื้อ, การออกแบบผลิตภัณฑ์, การผลิต การควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพ และการขนส่งเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มประสิทธภาพในด้านการทำงานส่วนต่างๆ ที่ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน โดยอาจนำระบบการผลิตแบบคล่องตัว (Flexible Manufacturing System : FMS) เข้ามาใช้ร่วมด้วย ทำให้สามารถเปลี่ยนการผลิตสินค้าอย่างหนึ่งเป็นอีกอย่างหนึ่งเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
8. การควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพ (Quality Control and Testing) ได้แก่ขบวนการในการในการควบคุมเพื่อให้แน่ใจว่าสินค้าที่ผลิตออกมาตรงตามที่ลูกค้าต้องการ โดยใช้ซอฟต์แวร์ในการควบคุมคุณภาพ ต่างๆ ผลลัพธ์ที่ได้จากระบบการควบคุมคุณภาพ ได้แก่รายงาน ค่าใช้จ่ายที่ลดลงและยอดขายที่เพิ่มขึ้น โดยสารสนเทศที่ได้จากระบบนี้จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทราบถึงปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์การผลิตและรายงานควบคุมคุณภาพยังใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ดีขึ้นอีกด้วย

ที่มา //irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/Knowledge/Management%20Information%20Systems/mis6.htm


โดย: นายอายุวัฒน์ นามมาลา 52041302111 วศ.บ.เครื่องกล หมู่.29 (พุธ เช้า ) IP: 172.29.5.133, 58.137.131.62 วันที่: 16 กันยายน 2552 เวลา:17:42:13 น.  

 



4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง

การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้ อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การ ทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ความ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมุลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบ ข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมุลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะคือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูล เป็น หมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณ์ ที่หมาะสมมีความหมายและเป็น ประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูลและการกำหนด รหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล ว่าจะจัดเรียงลำดับระเบียบ ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกันหรือแบ่ง กลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้น ต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัย ของ ข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็น สารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูล ในรูปความสัมพันธ์ กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการ ของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ ผ่านการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออก จากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้าย ของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำให้แบบ เอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ
ตัวอย่าง เช่น ระบบล้างรถอัตโนมัติ
ระบบสารสนเทศประกอบด้วย ส่วนหลักดังรูปที่ 3
ส่วนที่นำเข้า คือ รถที่สกปรก น้ำ และน้ำยาต่างๆ ที่ใช้ในการล้างรถ เวลาและพลังงานถูกใช้ในการปฏิบัติการล้างรถ ทักษะได้แก่ความสามารถเฉพาะอย่างจะถูกนำมาใช้ในการฉีดสเปรย์ ขัดโฟม และเป่าแห้ง ความรู้ถูกนำมาใช้ในการกำหนดขั้นตอนการทำงานของการล้างรถให้ทำงานไปตามขั้นตอนที่ถูกต้อง
การประมวลผล ประกอบด้วย ขั้นที่หนึ่ง การเลือกประเภทการล้างรถที่ต้องการ เช่น ล้างอย่างเดียว ล้างและขัดเงา ล้างและขัดเงาและเป่าแห้งฯลฯ และขั้นต่อไปทำการนำรถเข้าไปในเครื่องล้างรถ (สังเกตว่าในส่วนนี้จะเกิดกลไกของผลสะท้อนกลับขึ้น ได้แก่การประเมินผลของเจ้าของรถที่มีต่อขบวนการล้างรถที่กำลังเกิดขึ้น) จากนั้นของฉีดของเหลวจะฉีดน้ำ สบู่เหลว หรือครีมขัดเงาไปที่รถ ขึ้นอยู่กับตัวเลือกที่เลือกไว้ในตอนต้น
ส่วนที่แสดงผล คือรถที่สะอาดแล้ว
จากตัวอย่าง จะเห็นว่าส่วนประกอบอิสระต่างๆ ในระบบล้างรถอัตโนมัติ เช่นเครื่องฉีดของเหลว แปลงสำหรับทางโฟม และเครื่องเป่าแห้ง ทำงานโต้ตอบกัน เพื่อให้รถสะอาดนั่นเอง
ระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-Based Information Systems : CBIS)
ระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ (Hardware), ซอฟต์แวร์ (Software), ข้อมูล(Data), บุคคล (People), ขบวนการ (Procedure) และการสื่อสารข้อมูล (Telecommunication) ซึ่งถูกกำหนดขึ้นเพื่อทำการรวบรวม, จัดการ จัดเก็บและประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ รูปที่ 4 แสดงส่วนประกอบของระบบ สารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์

ที่ 4 ส่วนประกอบของสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์

1. ฮาร์ดแวร์ คืออุปกรณ์ทางกายภาพ ที่ใช้ในการรวบรวม การนำเข้า และการจัดเก็บข้อมูล, ประมวลผล ข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ และแสดงสารสนเทศที่เป็นผลลัพธ์ออกมา
2. ซอฟต์แวร์ ประกอบด้วยกลุ่มของโปรแกรมที่ใช้ในการปฏิบัติงานร่วมกับฮาร์ดแวร์และใช้ในการประมวลผลข้อมูลเป็นสารสนเทศ
3. ข้อมูล ในส่วนนี้หมายถึงข้อมูลและสารสนเทศที่ถูกเก็บอยู่ในฐานข้อมูล โดยฐานข้อมูล (Database) หมายถึงกลุ่มของค่าความจริงและสารสนเทศที่มีความเกี่ยวข้องกันนั่นเอง
4. บุคคล หมายถึงบุคคลที่ใช้งานและปฏิบัติงานร่วมกับระบบสารสนเทศ
5. ขบวนการ หมายถึงกลุ่มของคำสั่งหรือกฎ ที่แนะนำวิธีการปฏิบัติงานกับคอมพิวเตอร์ในระบบสารสนเทศ ซึ่งอาจได้แก่การแนะนำการควบคุมการเข้าใช้งานคอมพิวเตอร์, วิธีการสำรองสารสนเทศในระบบและวิธีจัดการกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้
6. การสื่อสารข้อมูล หมายถึงการส่งสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์เพื่อติดต่อสื่อสาร และช่วยให้องค์กรสามารถเชื่อมระบบคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่าย (Network) ที่มีประสิทธิภาพได้ โดยเครือข่ายใช้ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไว้ด้วยกัน อาจจะเป็นภายในอาคารเดียวกัน ในประเทศเดียวกัน หรือทั่วโลก เพื่อให้สามารถสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้

ที่มา //irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/Knowledge/Management%20Information%20Systems/mis2.htm
//www.geocities.com/gr421317/information.html


โดย: น.ส.สุวรรณี ระวะใจ หมู่ที่ 22 อังคารเช้า IP: 125.26.176.80 วันที่: 16 กันยายน 2552 เวลา:18:45:27 น.  

 
4.1

การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้



ที่มา : //ecurriculum.mv.ac.th/techno/library/computer/it/it/HTM/03Lesson2


โดย: วิทูร ภูนามูล (จันทร์บ่าย) IP: 117.47.9.192 วันที่: 17 กันยายน 2552 เวลา:14:48:33 น.  

 
แบบฝึกหัด
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง
ตอบ การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้

ที่มา //ecurriculum.mv.ac.th/techno/library/computer/it/it/HTM/03Lesson2.html








โดย: น.ส.จิตราภรณ์ ภุเกตุ หมู่ 8 พฤหัสเช้า IP: 58.137.131.62 วันที่: 17 กันยายน 2552 เวลา:16:16:17 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง

กระบวนการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา 9 ขั้น ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
สภาพและปัญหาต่าง ๆ ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถและวัสดุอุปกรณ์ที่เพียงพอกับการปฏิบัติงานแต่โดยหน้าที่รับผิด ชอบโดยตรงจำเป็นต้องดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศทางการ ศึกษา ที่สมบูรณ์ ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นปัจจุบันที่สุด
ผู้วิจัยซึ่งดำรงตำแหน่งนักวิชาการศึกษา จึงสนใจที่จะศึกษาสภาพและปัญหาระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 9 เพื่อเป็นข้อสนเทศในการแก้ไขปรับปรุงพัฒนางานในสำนักศึกษาธิการจังหวัด และสำนักงานศึกษาธิการอำเภอให้เกิดประสิทธิภาพ
แนวคิดทฤษฎี
-
1.แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศของกระทรวงศึกษาธิการ
1.1 นโยบายกระทรวงศึกษาธิการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.2 วิสัยทัศน์เทคโนโลยีสารสนเทศ
1.3 ภารกิจหลักด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.4 เป้าหมายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2543-2545)
1.5 แผนงานหลัก
1.6 แผนปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
2.ระบบการผลิตข้อมูลสารสนเทศ
2.1 ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ
2.2 ระบบ และวิธีการประมวลผลข้อมูล
2.3 คุณสมบัติสารสนเทศ
2.4 ลักษณะและประเภทของสารสนเทศ
2.5 องค์ประกอบในการพัฒนาระบบสารสนเทศ
2.6 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร
2.7 สารสนเทศทางการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ
2.8 สารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษาระดับจังหวัด
3.กระบวนการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา
3.1 การรวบรวม (Capturing )
3.2 การตรวจสอบ (verifying)
3.3 การจำแนก (Classifying)
3.4 การจัดเรียงลำดับ (Arranging / Sorting)
3.5 การสรุป (Summarizing)
3.6 การคำนวณ (Calculating)
3.7 การจัดเก็บ (Storing)
3.8 การเรียกใช้ (Retrieving)
3.9 การเผยแพร่ (Disseminating)
4. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กับบทบาทหน้าที่การผลิตสารสนเทศทางการศึกษา
4.1 บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ
4.2 โครงสร้างสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
4.3 สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 9
4.4 บทบาทหน้าที่ของสำนักศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ กับระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา
5.งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
5.1 งานวิจัยในประเทศ
5.2 งานวิจัยในต่างประเทศ
วัตถุประสงค์
-
1.เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของสำนักงาน ศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ในเขตการศึกษา 9
2.เพื่อศึกษาระดับปัญหาของระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ในเขตการศึกษา 9
3.เพื่อเปรียบเทียบระดับปัญหาระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของสำนักงาน ศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ในเขตการศึกษา 9 ในกระบวนการผลิต 9 ขั้น

สมมุติฐานการวิจัย
- ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานมความคิดเกี่ยวกับปัญกาของระบบการผลิตสารสนเทศทาง การศึกษาของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการในเขตการศึกษา 9 โดยรวมและเป็นรายด้านไม่ต่างกัน
ระเบียบวิธีวิจัย
- ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจ
ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง

1.ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร คือ ศึกษาธิการจังหวัด ผู้ช่วยศึกษาธิการจังหวัด ศึกษาธิการอำเภอ ผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอ และผู้ปฏิบัติงาน คือนักวิชาการศึกษาจังหวัด และนักวิชาการศึกษาอำเภอ ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ในเขตการศึกษา 9 (สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. 2543 : 215-227) จำนวน 303 คน
2.กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงาน ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ในเขตการศึกษา 9 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้อัตราร้อยละ 80 และสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Randon Sanpling) ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น จำนวน 242 คน
ตัวแปร
-
นิยามศัพท์
-
1.สภาพการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา หมายถึง สภาวะที่เป็นอยู่ของการจัดดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา ในกระบวนการคิด การออกแบบ การเลือก วิธีการ ตลอดจนการนำเครื่องมือ เครื่องใช้ และสื่อต่าง ๆ มาใช้ในการปฏิบัติงานการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา ในกระบวนการ 9 ขั้น คือ ขั้นการรวบรวม การตรวจสอบ การจำแนก การจัดเรียงลำดับ การสรุปการคำนวณ การจัดเก็บ การเรียกใช้ และการเผยแพร่
2.ปัญหาการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา หมายถึง อุปสรรค หรือข้อขัดข้องต่าง ๆ ที่เกิดจากการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
-
เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีจำนวน 2 ฉบับ ดังนี้
1.ฉบับที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพและปัญหาระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 9 เพื่อสอบถามผู้บริหาร
2. ฉบับที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพและปัญหาระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 9 เพื่อสอบถามผู้ปฏิบัติงาน
นำแบบสอบถามไปทดลองใช้กับศึกษาธิการจังหวัด ผู้ช่วยศึกษาธิการจังหวัด ศึกษาธิการอำเภอ ผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอ นักวิชาการศึกษาจังหวัด และนักวิชาการศึกษาอำเภอ ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ที่จังหวัดมหาสารคาม ในเขตการศึกษา 10 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจำนวน 50 ชุด นำแบบสอบถามาหาค่าอำนาจจำแนกรายข้อโดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย ได้ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.26-0.84 และหาค่าความเชื่อมั่น โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาตามวิธีของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.98
วิธีการรวบรวมข้อมูล
-
การวิเคราะห์ข้อมูล
-
ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows ดังนี้
1.คำนวณหาค่าร้อยละ จากแบบสอบถามตอนที่ 1 และตอนที่ 2 ที่เป็นลักษณะแบบตรวจสอบรายการ
2.แบบสอบถามตอนที่ 3 ที่เป็นลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) วิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
3.วิเคราะห์เปรียบเทียบปัญหาระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติโดยรวมและจำแนกรายด้าน โดยใช้ t-test ( Independent Sample)
สรุปผลวิจัย
-
ผลการวิจัยพบว่า
1.สภาพการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 9
1.1 ด้านอาคารสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและสำนักงาน ศคึกษาธิการอำเภอ ส่วนใหญ่ที่มีห้องจัดระบบข้อมูลสารสนเทศเป็นห้องที่ใช้รวมกับงานอื่น ๆ มีอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ สำหรับการปฏิบัติงาน ดังนี้ เครื่องคอมพิวเตอร์ประมาณ 1-2 เครื่อง แฟ้มเก็บข้อมูลสารสนเทศ เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย โต๊ะ เก้าอี้ทำงาน กระดานไวท์บอร์ด โทรศัพท์
1.2 ด้านบุคลากร บุคลากรที่ปฏิบัติงาน ไม่เพียงพอต่อปริมาณงานที่รับผิดชอบมีเจ้าหน้าที่ด้านคอมพิวเตอร์ในระดับบริหาร
1.3 ด้านงบประมาณ ในการจัดหาเครื่องมือการผลิตสารสนเทศส่วนใหญ่ใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน
1.4 ด้านการจัดการ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด และสำนักงานคึกษาธิการอำเภอ ใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศ ผู้บริหารส่วนใหญ่รับผิดชอบงานข้อมูลสารสนเทศในหน่วยงาน รวมกับผู้ปฏิบัติงาน
2.ผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่มีการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา โดยรวมและจำแนกเป็นรายด้าน และส่วนมากมีการดำเนินงานด้านการรวบรวมข้อมูล
3. บุคลากรโดยรวมและจำแนกตามประเภทบุคลากร มีปัญหาการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา โดยรวมและจำแนกเป็นรายด้าน ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการเผยแพร่ข้อมูล และมีด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการคำนวณข้อมูล

ข้อเสนอแนะ
-
1.ควรวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา
2.ควรวิจัยระบบและการจัดเก็บข้อสารสนเทศทางการศึกษาที่สะดวกต่อการบริหารงานและการปฏิบัติงาน

ที่มา //www.thaiedresearch.org/result/result.php?id=1501


โดย: นายอภิเชษฐ์ หาคำ ม.8 พฤหัส (เช้า) IP: 172.29.5.133, 202.29.5.62 วันที่: 17 กันยายน 2552 เวลา:17:35:41 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง
การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้


ที่มา //ecurriculum.mv.ac.th/techno/library/computer/it/it/HTM/03Lesson2.html


โดย: นายสุพจน์ ยางขัน หมู่ 8 พฤหัสเช้า IP: 58.137.131.62 วันที่: 19 กันยายน 2552 เวลา:13:19:12 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง

การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
(1). การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้ อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การ ทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ความ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
(2). การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมุลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบ ข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมุลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะคือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
(3). การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูล เป็น หมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณ์ ที่หมาะสมมีความหมายและเป็น ประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
(4). การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูลและการกำหนด รหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล ว่าจะจัดเรียงลำดับระเบียบ ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
(5). การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกันหรือแบ่ง กลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้น ต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัย ของ ข้อมูลอีกด้วย
(6). การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็น สารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูล ในรูปความสัมพันธ์ กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการ ของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
(7). การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ ผ่านการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์
(8). การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออก จากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้
(9). การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้าย ของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำให้แบบ เอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ
ตัวอย่าง เช่น ระบบล้างรถอัตโนมัติ
ระบบสารสนเทศประกอบด้วย ส่วนหลักดังรูปที่ 3
ส่วนที่นำเข้า คือ รถที่สกปรก น้ำ และน้ำยาต่างๆ ที่ใช้ในการล้างรถ เวลาและพลังงานถูกใช้ในการปฏิบัติการล้างรถ ทักษะได้แก่ความสามารถเฉพาะอย่างจะถูกนำมาใช้ในการฉีดสเปรย์ ขัดโฟม และเป่าแห้ง ความรู้ถูกนำมาใช้ในการกำหนดขั้นตอนการทำงานของการล้างรถให้ทำงานไปตามขั้นตอนที่ถูกต้อง
การประมวลผล ประกอบด้วย ขั้นที่หนึ่ง การเลือกประเภทการล้างรถที่ต้องการ เช่น ล้างอย่างเดียว ล้างและขัดเงา ล้างและขัดเงาและเป่าแห้งฯลฯ และขั้นต่อไปทำการนำรถเข้าไปในเครื่องล้างรถ (สังเกตว่าในส่วนนี้จะเกิดกลไกของผลสะท้อนกลับขึ้น ได้แก่การประเมินผลของเจ้าของรถที่มีต่อขบวนการล้างรถที่กำลังเกิดขึ้น) จากนั้นของฉีดของเหลวจะฉีดน้ำ สบู่เหลว หรือครีมขัดเงาไปที่รถ ขึ้นอยู่กับตัวเลือกที่เลือกไว้ในตอนต้น
ส่วนที่แสดงผล คือรถที่สะอาดแล้ว
จากตัวอย่าง จะเห็นว่าส่วนประกอบอิสระต่างๆ ในระบบล้างรถอัตโนมัติ เช่นเครื่องฉีดของเหลว แปลงสำหรับทางโฟม และเครื่องเป่าแห้ง ทำงานโต้ตอบกัน เพื่อให้รถสะอาดนั่นเอง
ระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-Based Information Systems : CBIS)
ระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ (Hardware), ซอฟต์แวร์ (Software), ข้อมูล(Data), บุคคล (People), ขบวนการ (Procedure) และการสื่อสารข้อมูล (Telecommunication) ซึ่งถูกกำหนดขึ้นเพื่อทำการรวบรวม, จัดการ จัดเก็บและประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ รูปที่ 4 แสดงส่วนประกอบของระบบ สารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์

ที่ 4 ส่วนประกอบของสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์

1. ฮาร์ดแวร์ คืออุปกรณ์ทางกายภาพ ที่ใช้ในการรวบรวม การนำเข้า และการจัดเก็บข้อมูล, ประมวลผล ข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ และแสดงสารสนเทศที่เป็นผลลัพธ์ออกมา
2. ซอฟต์แวร์ ประกอบด้วยกลุ่มของโปรแกรมที่ใช้ในการปฏิบัติงานร่วมกับฮาร์ดแวร์และใช้ในการประมวลผลข้อมูลเป็นสารสนเทศ
3. ข้อมูล ในส่วนนี้หมายถึงข้อมูลและสารสนเทศที่ถูกเก็บอยู่ในฐานข้อมูล โดยฐานข้อมูล (Database) หมายถึงกลุ่มของค่าความจริงและสารสนเทศที่มีความเกี่ยวข้องกันนั่นเอง
4. บุคคล หมายถึงบุคคลที่ใช้งานและปฏิบัติงานร่วมกับระบบสารสนเทศ
5. ขบวนการ หมายถึงกลุ่มของคำสั่งหรือกฎ ที่แนะนำวิธีการปฏิบัติงานกับคอมพิวเตอร์ในระบบสารสนเทศ ซึ่งอาจได้แก่การแนะนำการควบคุมการเข้าใช้งานคอมพิวเตอร์, วิธีการสำรองสารสนเทศในระบบและวิธีจัดการกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้
6. การสื่อสารข้อมูล หมายถึงการส่งสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์เพื่อติดต่อสื่อสาร และช่วยให้องค์กรสามารถเชื่อมระบบคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่าย (Network) ที่มีประสิทธิภาพได้ โดยเครือข่ายใช้ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไว้ด้วยกัน อาจจะเป็นภายในอาคารเดียวกัน ในประเทศเดียวกัน หรือทั่วโลก เพื่อให้สามารถสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้

ที่มา //irrigation.rid.go.th

นาย พิษณุ มีที คบ.ทัศนศิลป์ หมู่ 11 1/52 จันทร์/บ่าย 51100103115


โดย: นาย พิษณุ มีที คบ.ทัศนศิลป์ หมู่ 11 1/52 จันทร์/บ่าย 51100103115 IP: 192.168.1.124, 124.157.149.201 วันที่: 20 กันยายน 2552 เวลา:11:28:46 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง

การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้ อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การ ทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ความ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมุลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบ ข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมุลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะคือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูล เป็น หมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณ์ ที่หมาะสมมีความหมายและเป็น ประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูลและการกำหนด รหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล ว่าจะจัดเรียงลำดับระเบียบ ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกันหรือแบ่ง กลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้น ต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัย ของ ข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็น สารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูล ในรูปความสัมพันธ์ กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการ ของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ ผ่านการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออก จากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้าย ของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำให้แบบ เอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ
ตัวอย่าง เช่น ระบบล้างรถอัตโนมัติ
ระบบสารสนเทศประกอบด้วย ส่วนหลักดังรูปที่ 3
ส่วนที่นำเข้า คือ รถที่สกปรก น้ำ และน้ำยาต่างๆ ที่ใช้ในการล้างรถ เวลาและพลังงานถูกใช้ในการปฏิบัติการล้างรถ ทักษะได้แก่ความสามารถเฉพาะอย่างจะถูกนำมาใช้ในการฉีดสเปรย์ ขัดโฟม และเป่าแห้ง ความรู้ถูกนำมาใช้ในการกำหนดขั้นตอนการทำงานของการล้างรถให้ทำงานไปตามขั้นตอนที่ถูกต้อง
การประมวลผล ประกอบด้วย ขั้นที่หนึ่ง การเลือกประเภทการล้างรถที่ต้องการ เช่น ล้างอย่างเดียว ล้างและขัดเงา ล้างและขัดเงาและเป่าแห้งฯลฯ และขั้นต่อไปทำการนำรถเข้าไปในเครื่องล้างรถ (สังเกตว่าในส่วนนี้จะเกิดกลไกของผลสะท้อนกลับขึ้น ได้แก่การประเมินผลของเจ้าของรถที่มีต่อขบวนการล้างรถที่กำลังเกิดขึ้น) จากนั้นของฉีดของเหลวจะฉีดน้ำ สบู่เหลว หรือครีมขัดเงาไปที่รถ ขึ้นอยู่กับตัวเลือกที่เลือกไว้ในตอนต้น
ส่วนที่แสดงผล คือรถที่สะอาดแล้ว
จากตัวอย่าง จะเห็นว่าส่วนประกอบอิสระต่างๆ ในระบบล้างรถอัตโนมัติ เช่นเครื่องฉีดของเหลว แปลงสำหรับทางโฟม และเครื่องเป่าแห้ง ทำงานโต้ตอบกัน เพื่อให้รถสะอาดนั่นเอง
ระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-Based Information Systems : CBIS)
ระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ (Hardware), ซอฟต์แวร์ (Software), ข้อมูล(Data), บุคคล (People), ขบวนการ (Procedure) และการสื่อสารข้อมูล (Telecommunication) ซึ่งถูกกำหนดขึ้นเพื่อทำการรวบรวม, จัดการ จัดเก็บและประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ รูปที่ 4 แสดงส่วนประกอบของระบบ สารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์

ที่ 4 ส่วนประกอบของสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์

1. ฮาร์ดแวร์ คืออุปกรณ์ทางกายภาพ ที่ใช้ในการรวบรวม การนำเข้า และการจัดเก็บข้อมูล, ประมวลผล ข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ และแสดงสารสนเทศที่เป็นผลลัพธ์ออกมา
2. ซอฟต์แวร์ ประกอบด้วยกลุ่มของโปรแกรมที่ใช้ในการปฏิบัติงานร่วมกับฮาร์ดแวร์และใช้ในการประมวลผลข้อมูลเป็นสารสนเทศ
3. ข้อมูล ในส่วนนี้หมายถึงข้อมูลและสารสนเทศที่ถูกเก็บอยู่ในฐานข้อมูล โดยฐานข้อมูล (Database) หมายถึงกลุ่มของค่าความจริงและสารสนเทศที่มีความเกี่ยวข้องกันนั่นเอง
4. บุคคล หมายถึงบุคคลที่ใช้งานและปฏิบัติงานร่วมกับระบบสารสนเทศ
5. ขบวนการ หมายถึงกลุ่มของคำสั่งหรือกฎ ที่แนะนำวิธีการปฏิบัติงานกับคอมพิวเตอร์ในระบบสารสนเทศ ซึ่งอาจได้แก่การแนะนำการควบคุมการเข้าใช้งานคอมพิวเตอร์, วิธีการสำรองสารสนเทศในระบบและวิธีจัดการกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้
6. การสื่อสารข้อมูล หมายถึงการส่งสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์เพื่อติดต่อสื่อสาร และช่วยให้องค์กรสามารถเชื่อมระบบคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่าย (Network) ที่มีประสิทธิภาพได้ โดยเครือข่ายใช้ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไว้ด้วยกัน อาจจะเป็นภายในอาคารเดียวกัน ในประเทศเดียวกัน หรือทั่วโลก เพื่อให้สามารถสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้


โดย: นาย จิติวรรษ์ คอยตาม หมู่ 8 . 1/52 พฤหัสบดี เช้า IP: 124.157.139.207 วันที่: 22 กันยายน 2552 เวลา:1:10:23 น.  

 
1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง
1.การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้ อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การ ทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ความ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมุลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบ ข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมุลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะคือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูล เป็น หมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณ์ ที่หมาะสมมีความหมายและเป็น ประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูลและการกำหนด รหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล ว่าจะจัดเรียงลำดับระเบียบ ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกันหรือแบ่ง กลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้น ต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัย ของ ข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็น สารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูล ในรูปความสัมพันธ์ กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการ ของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ ผ่านการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออก จากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้าย ของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำให้แบบ เอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ
ลักษณะของสารสนเทศที่ดีต้องประกอบไปด้วยรายละเอียด ดังนี้
1. ความเที่ยงตรง (Accuracy) หมายถึง ปราศจากความเอนเอียง สารสนเทศที่ดี ต้องบอกลักษณะความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ไม่ชี้นำปทางใดทางหนึ่ง
2. ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ (Relevancy) หมายถึง มีเนื้อหาตรงกับเรื่อง ที่ต้องการใช้ของผู้ใช้แต่ละคน
3. ทันต่อเวลา (Timeliness) หมายถึง สามารถนำสารสนเทศที่ต้องการไปใช้ได้ ทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การจัดเตรียมสารสนเทศให้ทันต่อเวลา ที่ต้องการใช้ มี 2 ลักษณะ คือ การจัดทำสารสนเทศล่วงหน้าตามกำหนดเวลาที่เหตุการณ์จะเกิดในอนาคต และการจัดทำสาร สนเทศอย่างรวดเร็วเพื่อนำไปใช้ในเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น


โดย: นางสาวสุขชฎา อินทปัญญา หมู่ 22 รหัส 52040427216 IP: 192.168.1.112, 124.157.129.6 วันที่: 23 กันยายน 2552 เวลา:17:44:25 น.  

 
แบบฝึกหัด
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง
ตอบ การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้
TOP

ที่มา
:ecurriculum.mv.ac.th/techno/library/.../it/.../03Lesson2.html





โดย: นางสาวหนึ่งฤทัย มังคละแสน คณะมนุษศษสตร์และสังคมศาสตร์ สาขานิติศาสตร์หมู่01 จ.บ่าย IP: 124.157.147.100 วันที่: 23 กันยายน 2552 เวลา:18:59:04 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้ อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การ ทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ความ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมุลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบ ข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมุลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะคือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูล เป็น หมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณ์ ที่หมาะสมมีความหมายและเป็น ประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูลและการกำหนด รหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล ว่าจะจัดเรียงลำดับระเบียบ ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกันหรือแบ่ง กลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้น ต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัย ของ ข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็น สารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูล ในรูปความสัมพันธ์ กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการ ของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ ผ่านการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออก จากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้าย ของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำให้แบบ เอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ
ลักษณะของสารสนเทศที่ดีต้องประกอบไปด้วยรายละเอียด ดังนี้
1. ความเที่ยงตรง (Accuracy) หมายถึง ปราศจากความเอนเอียง สารสนเทศที่ดี ต้องบอกลักษณะความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ไม่ชี้นำปทางใดทางหนึ่ง
2. ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ (Relevancy) หมายถึง มีเนื้อหาตรงกับเรื่อง ที่ต้องการใช้ของผู้ใช้แต่ละคน
3. ทันต่อเวลา (Timeliness) หมายถึง สามารถนำสารสนเทศที่ต้องการไปใช้ได้ ทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การจัดเตรียมสารสนเทศให้ทันต่อเวลา ที่ต้องการใช้ มี 2 ลักษณะ คือ การจัดทำสารสนเทศล่วงหน้าตามกำหนดเวลาที่เหตุการณ์จะเกิดในอนาคต และการจัดทำสาร สนเทศอย่างรวดเร็วเพื่อนำไปใช้ในเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น

ที่มา
:ecurriculum.mv.ac.th/techno/library/.../it/.../03Lesson2.html

นายศราวุฒิ ทดกลาง หมู่22 (อ.เช้า)




โดย: นายศราวุฒิ ทดกลาง IP: 58.147.7.66 วันที่: 24 กันยายน 2552 เวลา:15:09:41 น.  

 
ตอบ

การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้ อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การ ทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ความ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมุลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบ ข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมุลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะคือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูล เป็น หมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณ์ ที่หมาะสมมีความหมายและเป็น ประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูลและการกำหนด รหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล ว่าจะจัดเรียงลำดับระเบียบ ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกันหรือแบ่ง กลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้น ต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัย ของ ข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็น สารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูล ในรูปความสัมพันธ์ กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการ ของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ ผ่านการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออก จากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้าย ของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำให้แบบ เอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ
ตัวอย่าง เช่น ระบบล้างรถอัตโนมัติ
ระบบสารสนเทศประกอบด้วย ส่วนหลักดังรูปที่ 3
ส่วนที่นำเข้า คือ รถที่สกปรก น้ำ และน้ำยาต่างๆ ที่ใช้ในการล้างรถ เวลาและพลังงานถูกใช้ในการปฏิบัติการล้างรถ ทักษะได้แก่ความสามารถเฉพาะอย่างจะถูกนำมาใช้ในการฉีดสเปรย์ ขัดโฟม และเป่าแห้ง ความรู้ถูกนำมาใช้ในการกำหนดขั้นตอนการทำงานของการล้างรถให้ทำงานไปตามขั้นตอนที่ถูกต้อง
การประมวลผล ประกอบด้วย ขั้นที่หนึ่ง การเลือกประเภทการล้างรถที่ต้องการ เช่น ล้างอย่างเดียว ล้างและขัดเงา ล้างและขัดเงาและเป่าแห้งฯลฯ และขั้นต่อไปทำการนำรถเข้าไปในเครื่องล้างรถ (สังเกตว่าในส่วนนี้จะเกิดกลไกของผลสะท้อนกลับขึ้น ได้แก่การประเมินผลของเจ้าของรถที่มีต่อขบวนการล้างรถที่กำลังเกิดขึ้น) จากนั้นของฉีดของเหลวจะฉีดน้ำ สบู่เหลว หรือครีมขัดเงาไปที่รถ ขึ้นอยู่กับตัวเลือกที่เลือกไว้ในตอนต้น
ส่วนที่แสดงผล คือรถที่สะอาดแล้ว
จากตัวอย่าง จะเห็นว่าส่วนประกอบอิสระต่างๆ ในระบบล้างรถอัตโนมัติ เช่นเครื่องฉีดของเหลว แปลงสำหรับทางโฟม และเครื่องเป่าแห้ง ทำงานโต้ตอบกัน เพื่อให้รถสะอาดนั่นเอง
ระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-Based Information Systems : CBIS)
ระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ (Hardware), ซอฟต์แวร์ (Software), ข้อมูล(Data), บุคคล (People), ขบวนการ (Procedure) และการสื่อสารข้อมูล (Telecommunication) ซึ่งถูกกำหนดขึ้นเพื่อทำการรวบรวม, จัดการ จัดเก็บและประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ รูปที่ 4 แสดงส่วนประกอบของระบบ สารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์

ที่ 4 ส่วนประกอบของสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์

1. ฮาร์ดแวร์ คืออุปกรณ์ทางกายภาพ ที่ใช้ในการรวบรวม การนำเข้า และการจัดเก็บข้อมูล, ประมวลผล ข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ และแสดงสารสนเทศที่เป็นผลลัพธ์ออกมา
2. ซอฟต์แวร์ ประกอบด้วยกลุ่มของโปรแกรมที่ใช้ในการปฏิบัติงานร่วมกับฮาร์ดแวร์และใช้ในการประมวลผลข้อมูลเป็นสารสนเทศ
3. ข้อมูล ในส่วนนี้หมายถึงข้อมูลและสารสนเทศที่ถูกเก็บอยู่ในฐานข้อมูล โดยฐานข้อมูล (Database) หมายถึงกลุ่มของค่าความจริงและสารสนเทศที่มีความเกี่ยวข้องกันนั่นเอง
4. บุคคล หมายถึงบุคคลที่ใช้งานและปฏิบัติงานร่วมกับระบบสารสนเทศ
5. ขบวนการ หมายถึงกลุ่มของคำสั่งหรือกฎ ที่แนะนำวิธีการปฏิบัติงานกับคอมพิวเตอร์ในระบบสารสนเทศ ซึ่งอาจได้แก่การแนะนำการควบคุมการเข้าใช้งานคอมพิวเตอร์, วิธีการสำรองสารสนเทศในระบบและวิธีจัดการกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้
6. การสื่อสารข้อมูล หมายถึงการส่งสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์เพื่อติดต่อสื่อสาร และช่วยให้องค์กรสามารถเชื่อมระบบคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่าย (Network) ที่มีประสิทธิภาพได้ โดยเครือข่ายใช้ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไว้ด้วยกัน อาจจะเป็นภายในอาคารเดียวกัน ในประเทศเดียวกัน หรือทั่วโลก เพื่อให้สามารถสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้

ที่มา //irrigation.rid.go.th





โดย: นายพงษ์ระวี รีชัยวิจตรกุล ม.22 อังคารเช้า IP: 192.168.1.109, 124.157.139.216 วันที่: 24 กันยายน 2552 เวลา:16:28:34 น.  

 
ขบวนการในการผลิตประกอบด้วยงานที่ขึ้นต่อกันมากมาย โดยการนำระบบการวางแผนทรัพยากรของ องค์กรมาใช้ร่วมในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิตจะช่วยให้การทำงานมีความยืดหยุ่นและมีการจัดหาทรัพยากรที่ต้องการใช้ได้ทันต่อความต้องการ โดยจุดประสงค์ของขบวนการผลิตก็คือการผลิตได้ตรงตามความพอใจหรือความต้องการของลูกค้านั่นเอง
ในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต ภาระของผู้บริหารในการดูแลควบคุมงานจะถูกลดลงไป, งานด้านเอกสารต่างๆ จะถูกปรับให้อยู่ในรูปของขบวนการออนไลน์และการติดต่อสื่อสารข้อมูลจะใช้งานผ่านระบบการ แลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (EDI) และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแทน อีกทั้งในการวางแผนการใช้ทรัพยากรของ องค์กรเพื่อการผลิตจะใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายอินทราเน็ตในองค์กร เพื่อติดต่อกับหน่วยงานธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ เพื่อปฏิบัติงานและงานควบคุมงานต่างๆ ทั้งแบบศูนย์กลางและแบบกระจายได้ รูปที่ 16 แสดงภาพรวมของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต
ส่วนที่นำเข้าไปยังระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต

ส่วนที่นำเข้าจะได้จากกการปฏิบัติงานซึ่งเกี่ยวกับการไหลเวียนและการแปลงวัตถุดิบภายในองค์กร แหล่ง สารสนเทศที่สำคัญอาจมาจากภายนอกองค์กรก็ได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะมาจากภายใน เช่น

1. แผนเชิงกลยุทธ์และนโยบายของบริษัท ซึ่งจะเป็นส่วนที่กำหนดทิศทางของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต เช่นเอกสารเกี่ยวกับการวางแผนระยะยาวที่กล่าวถึงเรื่องคุณภาพ, การผลิต, และเป้าหมายและข้อจำกัดในการให้บริการ รวมถึงนโยบายในการเปิดโรงงานใหม่หรือการปิดโรงงานเก่าลงและเรื่องของความสามารถในการผลิตที่เพิ่มขึ้นได้, ข้อจำกัดของจำนวนพนักงานที่มี, การเปลี่ยนนโยบายการเก็บสินค้าคงคลัง และโปรแกรมการควบคุมคุณภาพใหม่ที่ต้องการใช้ เหล่านี้จัดเป็นสารสนเทศที่นำเข้าสู่ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต
2. ระบบประมวลผลรายการ ได้แก่ข้อมูลที่ได้จากระบบประมวลผลรายการด้านต่างๆที่เกี่ยวข้อในการผลิต ได้แก่ การประมวลผลการสั่งซื้อ, ข้อมูลสินค้าคงคลัง, ข้อมูลการรับและการตรวจสอบวัตถุดิบที่เข้ามาในขบวนการผลิต, ข้อมูลบุคลากร, และข้อมูลขบวนการผลิต
3. แหล่งข้อมูลภายนอก ได้แก่ ข้อมูลขบวนการในการผลิตใหม่ๆ ซึ่งอาจมาจากบริษัท, วารสาร และสิ่งพิมพ์อื่นๆ หรือได้จาก เครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือข้อมูลเกี่ยวกับสภาพวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้สามารถคาดเดาในเรื่องของแรงงาน และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับวัตถุดิบได้ นอกเหนือจากนี้ยังมีแหล่งข้อมูลภายนอกอื่นๆ อีก เช่น องค์กรผู้เชี่ยวชาญต่างๆ, สมาคมทางธุรกิจ ซึ่งสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับคู่แข่งขัน ทั้งในด้านขบวนการผลิตและกลุ่มลูกค้าใหม่ๆที่น่าสนใจได้

ระบบย่อยและผลที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต

ระบบย่อยและผลลัพธ์ที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต ได้แก่ การตรวจสอบและควบคุมการไหลเวียนของวัตถุดิบ, สินค้า และบริการต่างๆภายในองค์กร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตสินค้าได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า ตั้งแต่เริ่มขบวนการนำวัตถุดิบมาผ่านขั้นตอนการผลิตจนกระทั่งเสร็จเป็นสินค้าและบริการที่จะส่งไปยังลูกค้า โดยที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ระบบย่อยและผลลัพธ์ที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต ได้แก่

1. การออกแบบและการปฏิบัติเชิงวิศวกรรม (Design and Engineering) ได้แก่การพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยสามารถใช้ระบบการออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (Computer-Aided Design : CAD) ซึ่งเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ โดยผู้ใช้สามารถออกแบบและแก้ไข ตัวแบบได้เองบนจอภาพ
2. การจัดตารางการผลิต (Production Planning) เพื่อจัดการรายละเอียดแผนงานการผลิตทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยใช้ซอฟต์แวร์ที่ทำงานในด้านนี้เข้ามาช่วย ซึ่งในซอฟต์แวร์นี้อาจมีคุณสมบัติในการทำนายและพิจารณาหาความต้องการของสินค้าและบริการที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ทำให้สามารถวางแผนเพื่อกำหนดการผลิตให้ได้ตรงตามความต้องการ
3. การควบคุมสินค้าคงคลัง (Inventory Control) ได้แก่การใช้ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการสั่งซื้อ, การทำนาย, การผลิตเอกสารและรายงานร้านค้า, การพิจารณาหาค่าใช้จ่ายในการผลิต, การวิเคราะห์งบประมาณค่าใช้จ่ายที่วางไว้เปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายจริง, และการพัฒนาตารางการผลิต, บอกความต้องการทรัพยากรในการผลิตและวางแผนการผลิตได้อย่างอัตโนมัติ โดยปกติแล้วซอฟต์แวร์ต่างๆเหล่านี้จะมีสูตรในการคำนวณเพื่อหาจำนวนวัตถุดิบและช่วงเวลาที่จะต้องสั่งซื้อได้ วิธีการหาว่าต้องสั่งสินค้ามาไว้ในคลังปริมาณเท่าใดเรียกว่าวิธีการกาปริมาณหารสั่งซื้อมางเศรษฐกิจ (Economic Order Quantity : EOQ) โดยปริมาณที่หาได้นี้จะต้องทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุดด้วย ส่วนการหาว่าต้องสั่งสินค้ามาไว้ในคลังเมื่อใดจะใช้วิธีการหาจุดสั่งซื้อเพิ่ม Reorder Point : ROP) ซึ่งแสดงถึงค่าระดับปริมาณสินค้าคงคลังที่วิกฤติ
4. การวางแผนการใช้ทรัพยากรการผลิต(Manufacturing Resource Planning : MRPII) ได้แก่ระบบที่ใช้การวางแผนเครือข่ายเพื่อให้บุคคลต่างๆ สามารถดำเนินธุรกิจเพื่อให้บริการและผลผลิตแก่ลูกค้าได้เป็นจำนวนมาก ในขณะที่เสียค่าใช้จ่ายและมีสินค้าหรือวัตถุดิบในคลังสินค้าในปริมาณต่ำ โดยมีการทำนายความต้องการของลูกค้า, การควบคุมสินค้าคงคลัง, การวางแผนการผลิต, การแสดง รายการวัตถุดิบที่ต้องใช้, การวางแผนการสรรหาแหล่งวัตถุดิบที่ต้องใช้ เพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ จะถูกส่งไปให้แก่ลูกค้าได้ในเวลาที่ต้องการ
5. การควบคุมสินค้าและการผลิตที่ทันเวลา (Just-in-Time Inventory and Manufacturing) การเก็บสินค้าและวัตถุดิบในคลังสินค้าเป็นจำนวนมากทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูง และอาจเกิดการเสียหายได้ ดังนั้นวัตถุประสงค์หนึ่งของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิตก็คือ การควบคุมสินค้าคงคลังให้อยู่ในระดับที่ต่ำที่สุด โดยไม่กระทบกับความต้องการในการนำสินค้าหรือวัตถุดิบนั้นไปใช้ในการผลิต วิธีที่นิยมใช้ได้แก่วิธีการควบคุมคลังสินค้าแบบทันเวลา (Just-in-Time : JIT Inventory Approach) ซึ่งสินค้าและวัตถุดิบจะถูกส่งไปให้ในช่วงเวลาก่อนที่จะสินค้าหรือวัตถุดิบนั้นไปใช้ในการผลิต ทำให้ไม่ต้องเก็บไว้ในคลังสินค้าเป็นช่วงเวลานานๆ
6. การควบคุมขบวนการผลิต ในการควบคุมการผลิตมีเทคโนโลยีที่สนับสนุนมากมาย เช่น การผลิตโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (Computer-Aided Manufacturing : CAM) เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการด้านการผลิต เช่น การตรวจสอบและติดตาม ได้แก่การควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ในการผลิตต่างๆ การตรวจสอบค่าและข้อกำหนดในการผลิตต่างๆ เช่น อุณหภูมิที่ใช้ ค่าความดันอากาศฯลฯ หรือใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการกำหนดรหัสสินค้า การจัดลำดับในขบวนการผลิต เป็นต้น
7. การนำคอมพิวเตอร์เข้าไปช่วยในการผลิต (Computer-Integrated Manufacturing : CIM) ได้แก่การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมโยงองค์ประกอบต่างๆในขบวนการผลิตเข้าด้วยกันเป็นระบบที่มี ประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวมขั้นตอนการผลิตทั้งหมด เช่น การประมวลผลการสั่งซื้อ, การออกแบบผลิตภัณฑ์, การผลิต การควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพ และการขนส่งเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มประสิทธภาพในด้านการทำงานส่วนต่างๆ ที่ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน โดยอาจนำระบบการผลิตแบบคล่องตัว (Flexible Manufacturing System : FMS) เข้ามาใช้ร่วมด้วย ทำให้สามารถเปลี่ยนการผลิตสินค้าอย่างหนึ่งเป็นอีกอย่างหนึ่งเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
8. การควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพ (Quality Control and Testing) ได้แก่ขบวนการในการในการควบคุมเพื่อให้แน่ใจว่าสินค้าที่ผลิตออกมาตรงตามที่ลูกค้าต้องการ โดยใช้ซอฟต์แวร์ในการควบคุมคุณภาพ ต่างๆ ผลลัพธ์ที่ได้จากระบบการควบคุมคุณภาพ ได้แก่รายงาน ค่าใช้จ่ายที่ลดลงและยอดขายที่เพิ่มขึ้น โดยสารสนเทศที่ได้จากระบบนี้จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทราบถึงปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์การผลิตและรายงานควบคุมคุณภาพยังใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ดีขึ้นอีกด้วย

ที่มา //irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/Knowledge/Management%20Information%20Systems/mis6.htm


โดย: นายชัยวัฒน์ ศรีอุต หมู่ 22 อังคาร (เช้า) IP: 192.168.1.108, 124.157.139.216 วันที่: 24 กันยายน 2552 เวลา:16:37:57 น.  

 
เรื่อง สภาพและปัญหาระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 9

เนื้อหา
ความเป็นมา
-
งานข้อมูลสถิติและการวางแผน และการประสานงานการจัดทำแผนการศึกษาประจำปีของสำนักศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ จำเป็นต้องอาศัยการเก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผล การวิเคราะห์ นำเสนอข้อมูล วางแผนพัฒนาจังหวัด การบริหารงบประมาณ การประสานการตรวจราชการ ซึ่งงานต่าง ๆ เหล่านี้ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องข้อมูลด้านการศึกษา การศาสนา และการวัฒนธรรม ที่จะต้องจัดระบบการผลิต สารสนเทศทางการศึกษา สำหรับการใช้และให้บริการแก่หน่วยงานอื่น และผู้สนใจทั่วไป ดังนั้นจำเป็นต้องมีกระบวนการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา 9 ขั้น ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
สภาพและปัญหาต่าง ๆ ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถและวัสดุอุปกรณ์ที่เพียงพอกับการปฏิบัติงานแต่โดยหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงจำเป็นต้องดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา ที่สมบูรณ์ ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นปัจจุบันที่สุด
ผู้วิจัยซึ่งดำรงตำแหน่งนักวิชาการศึกษา จึงสนใจที่จะศึกษาสภาพและปัญหาระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 9 เพื่อเป็นข้อสนเทศในการแก้ไขปรับปรุงพัฒนางานในสำนักศึกษาธิการจังหวัด และสำนักงานศึกษาธิการอำเภอให้เกิดประสิทธิภาพ

แนวคิดทฤษฎี
-
1.แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศของกระทรวงศึกษาธิการ
1.1 นโยบายกระทรวงศึกษาธิการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.2 วิสัยทัศน์เทคโนโลยีสารสนเทศ
1.3 ภารกิจหลักด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.4 เป้าหมายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2543-2545)
1.5 แผนงานหลัก
1.6 แผนปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
2.ระบบการผลิตข้อมูลสารสนเทศ
2.1 ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ
2.2 ระบบ และวิธีการประมวลผลข้อมูล
2.3 คุณสมบัติสารสนเทศ
2.4 ลักษณะและประเภทของสารสนเทศ
2.5 องค์ประกอบในการพัฒนาระบบสารสนเทศ
2.6 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร
2.7 สารสนเทศทางการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ
2.8 สารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษาระดับจังหวัด
3.กระบวนการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา
3.1 การรวบรวม (Capturing )
3.2 การตรวจสอบ (verifying)
3.3 การจำแนก (Classifying)
3.4 การจัดเรียงลำดับ (Arranging / Sorting)
3.5 การสรุป (Summarizing)
3.6 การคำนวณ (Calculating)
3.7 การจัดเก็บ (Storing)
3.8 การเรียกใช้ (Retrieving)
3.9 การเผยแพร่ (Disseminating)
4. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กับบทบาทหน้าที่การผลิตสารสนเทศทางการศึกษา
4.1 บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ
4.2 โครงสร้างสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
4.3 สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 9
4.4 บทบาทหน้าที่ของสำนักศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ กับระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา
5.งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
5.1 งานวิจัยในประเทศ
5.2 งานวิจัยในต่างประเทศ

วัตถุประสงค์
-
1.เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ในเขตการศึกษา 9
2.เพื่อศึกษาระดับปัญหาของระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ในเขตการศึกษา 9
3.เพื่อเปรียบเทียบระดับปัญหาระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ในเขตการศึกษา 9 ในกระบวนการผลิต 9 ขั้น

สมมุติฐานการวิจัย

- ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานมความคิดเกี่ยวกับปัญกาของระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการในเขตการศึกษา 9 โดยรวมและเป็นรายด้านไม่ต่างกัน
ระเบียบวิธีวิจัย
- ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจ
ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง

1.ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร คือ ศึกษาธิการจังหวัด ผู้ช่วยศึกษาธิการจังหวัด ศึกษาธิการอำเภอ ผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอ และผู้ปฏิบัติงาน คือนักวิชาการศึกษาจังหวัด และนักวิชาการศึกษาอำเภอ ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ในเขตการศึกษา 9 (สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. 2543 : 215-227) จำนวน 303 คน
2.กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงาน ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ในเขตการศึกษา 9 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้อัตราร้อยละ 80 และสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Randon Sanpling) ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น จำนวน 242 คน

ตัวแปร
-
นิยามศัพท์
-
1.สภาพการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา หมายถึง สภาวะที่เป็นอยู่ของการจัดดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา ในกระบวนการคิด การออกแบบ การเลือก วิธีการ ตลอดจนการนำเครื่องมือ เครื่องใช้ และสื่อต่าง ๆ มาใช้ในการปฏิบัติงานการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา ในกระบวนการ 9 ขั้น คือ ขั้นการรวบรวม การตรวจสอบ การจำแนก การจัดเรียงลำดับ การสรุปการคำนวณ การจัดเก็บ การเรียกใช้ และการเผยแพร่
2.ปัญหาการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา หมายถึง อุปสรรค หรือข้อขัดข้องต่าง ๆ ที่เกิดจากการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
-
เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีจำนวน 2 ฉบับ ดังนี้
1.ฉบับที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพและปัญหาระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 9 เพื่อสอบถามผู้บริหาร
2. ฉบับที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพและปัญหาระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 9 เพื่อสอบถามผู้ปฏิบัติงาน
นำแบบสอบถามไปทดลองใช้กับศึกษาธิการจังหวัด ผู้ช่วยศึกษาธิการจังหวัด ศึกษาธิการอำเภอ ผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอ นักวิชาการศึกษาจังหวัด และนักวิชาการศึกษาอำเภอ ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ที่จังหวัดมหาสารคาม ในเขตการศึกษา 10 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจำนวน 50 ชุด นำแบบสอบถามาหาค่าอำนาจจำแนกรายข้อโดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย ได้ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.26-0.84 และหาค่าความเชื่อมั่น โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาตามวิธีของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.98

วิธีการรวบรวมข้อมูล
-
การวิเคราะห์ข้อมูล
-
ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows ดังนี้
1.คำนวณหาค่าร้อยละ จากแบบสอบถามตอนที่ 1 และตอนที่ 2 ที่เป็นลักษณะแบบตรวจสอบรายการ
2.แบบสอบถามตอนที่ 3 ที่เป็นลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) วิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
3.วิเคราะห์เปรียบเทียบปัญหาระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติโดยรวมและจำแนกรายด้าน โดยใช้ t-test ( Independent Sample)

สรุปผลวิจัย
-
ผลการวิจัยพบว่า
1.สภาพการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 9
1.1 ด้านอาคารสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและสำนักงานศคึกษาธิการอำเภอ ส่วนใหญ่ที่มีห้องจัดระบบข้อมูลสารสนเทศเป็นห้องที่ใช้รวมกับงานอื่น ๆ มีอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ สำหรับการปฏิบัติงาน ดังนี้ เครื่องคอมพิวเตอร์ประมาณ 1-2 เครื่อง แฟ้มเก็บข้อมูลสารสนเทศ เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย โต๊ะ เก้าอี้ทำงาน กระดานไวท์บอร์ด โทรศัพท์
1.2 ด้านบุคลากร บุคลากรที่ปฏิบัติงาน ไม่เพียงพอต่อปริมาณงานที่รับผิดชอบมีเจ้าหน้าที่ด้านคอมพิวเตอร์ในระดับบริหาร
1.3 ด้านงบประมาณ ในการจัดหาเครื่องมือการผลิตสารสนเทศส่วนใหญ่ใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน
1.4 ด้านการจัดการ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด และสำนักงานคึกษาธิการอำเภอ ใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศ ผู้บริหารส่วนใหญ่รับผิดชอบงานข้อมูลสารสนเทศในหน่วยงาน รวมกับผู้ปฏิบัติงาน
2.ผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่มีการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา โดยรวมและจำแนกเป็นรายด้าน และส่วนมากมีการดำเนินงานด้านการรวบรวมข้อมูล
3. บุคลากรโดยรวมและจำแนกตามประเภทบุคลากร มีปัญหาการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา โดยรวมและจำแนกเป็นรายด้าน ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการเผยแพร่ข้อมูล และมีด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการคำนวณข้อมูล


ที่มา//www.thaiedresearch.org/result/up_result.php






โดย: นศ.เกศรินทร์ ไชยปัญญา (หมู่ 08 พฤ เช้า) IP: 58.147.38.151 วันที่: 11 มิถุนายน 2552 เวลา:12:08:25 น.







4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง

กระบวนการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา 9 ขั้น ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
สภาพและปัญหาต่าง ๆ ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถและวัสดุอุปกรณ์ที่เพียงพอกับการปฏิบัติงานแต่โดยหน้าที่รับผิด ชอบโดยตรงจำเป็นต้องดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศทางการ ศึกษา ที่สมบูรณ์ ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นปัจจุบันที่สุด
ผู้วิจัยซึ่งดำรงตำแหน่งนักวิชาการศึกษา จึงสนใจที่จะศึกษาสภาพและปัญหาระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 9 เพื่อเป็นข้อสนเทศในการแก้ไขปรับปรุงพัฒนางานในสำนักศึกษาธิการจังหวัด และสำนักงานศึกษาธิการอำเภอให้เกิดประสิทธิภาพ
แนวคิดทฤษฎี
-
1.แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศของกระทรวงศึกษาธิการ
1.1 นโยบายกระทรวงศึกษาธิการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.2 วิสัยทัศน์เทคโนโลยีสารสนเทศ
1.3 ภารกิจหลักด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.4 เป้าหมายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2543-2545)
1.5 แผนงานหลัก
1.6 แผนปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
2.ระบบการผลิตข้อมูลสารสนเทศ
2.1 ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ
2.2 ระบบ และวิธีการประมวลผลข้อมูล
2.3 คุณสมบัติสารสนเทศ
2.4 ลักษณะและประเภทของสารสนเทศ
2.5 องค์ประกอบในการพัฒนาระบบสารสนเทศ
2.6 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร
2.7 สารสนเทศทางการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ
2.8 สารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษาระดับจังหวัด
3.กระบวนการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา
3.1 การรวบรวม (Capturing )
3.2 การตรวจสอบ (verifying)
3.3 การจำแนก (Classifying)
3.4 การจัดเรียงลำดับ (Arranging / Sorting)
3.5 การสรุป (Summarizing)
3.6 การคำนวณ (Calculating)
3.7 การจัดเก็บ (Storing)
3.8 การเรียกใช้ (Retrieving)
3.9 การเผยแพร่ (Disseminating)
4. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กับบทบาทหน้าที่การผลิตสารสนเทศทางการศึกษา
4.1 บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ
4.2 โครงสร้างสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
4.3 สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 9
4.4 บทบาทหน้าที่ของสำนักศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ กับระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา
5.งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
5.1 งานวิจัยในประเทศ
5.2 งานวิจัยในต่างประเทศ
วัตถุประสงค์
-
1.เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของสำนักงาน ศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ในเขตการศึกษา 9
2.เพื่อศึกษาระดับปัญหาของระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ในเขตการศึกษา 9
3.เพื่อเปรียบเทียบระดับปัญหาระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของสำนักงาน ศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ในเขตการศึกษา 9 ในกระบวนการผลิต 9 ขั้น

สมมุติฐานการวิจัย
- ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานมความคิดเกี่ยวกับปัญกาของระบบการผลิตสารสนเทศทาง การศึกษาของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการในเขตการศึกษา 9 โดยรวมและเป็นรายด้านไม่ต่างกัน
ระเบียบวิธีวิจัย
- ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจ
ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง

1.ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร คือ ศึกษาธิการจังหวัด ผู้ช่วยศึกษาธิการจังหวัด ศึกษาธิการอำเภอ ผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอ และผู้ปฏิบัติงาน คือนักวิชาการศึกษาจังหวัด และนักวิชาการศึกษาอำเภอ ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ในเขตการศึกษา 9 (สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. 2543 : 215-227) จำนวน 303 คน
2.กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงาน ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ในเขตการศึกษา 9 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้อัตราร้อยละ 80 และสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Randon Sanpling) ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น จำนวน 242 คน
ตัวแปร
-
นิยามศัพท์
-
1.สภาพการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา หมายถึง สภาวะที่เป็นอยู่ของการจัดดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา ในกระบวนการคิด การออกแบบ การเลือก วิธีการ ตลอดจนการนำเครื่องมือ เครื่องใช้ และสื่อต่าง ๆ มาใช้ในการปฏิบัติงานการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา ในกระบวนการ 9 ขั้น คือ ขั้นการรวบรวม การตรวจสอบ การจำแนก การจัดเรียงลำดับ การสรุปการคำนวณ การจัดเก็บ การเรียกใช้ และการเผยแพร่
2.ปัญหาการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา หมายถึง อุปสรรค หรือข้อขัดข้องต่าง ๆ ที่เกิดจากการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
-
เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีจำนวน 2 ฉบับ ดังนี้
1.ฉบับที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพและปัญหาระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 9 เพื่อสอบถามผู้บริหาร
2. ฉบับที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพและปัญหาระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 9 เพื่อสอบถามผู้ปฏิบัติงาน
นำแบบสอบถามไปทดลองใช้กับศึกษาธิการจังหวัด ผู้ช่วยศึกษาธิการจังหวัด ศึกษาธิการอำเภอ ผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอ นักวิชาการศึกษาจังหวัด และนักวิชาการศึกษาอำเภอ ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ที่จังหวัดมหาสารคาม ในเขตการศึกษา 10 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจำนวน 50 ชุด นำแบบสอบถามาหาค่าอำนาจจำแนกรายข้อโดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย ได้ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.26-0.84 และหาค่าความเชื่อมั่น โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาตามวิธีของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.98
วิธีการรวบรวมข้อมูล
-
การวิเคราะห์ข้อมูล
-
ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows ดังนี้
1.คำนวณหาค่าร้อยละ จากแบบสอบถามตอนที่ 1 และตอนที่ 2 ที่เป็นลักษณะแบบตรวจสอบรายการ
2.แบบสอบถามตอนที่ 3 ที่เป็นลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) วิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
3.วิเคราะห์เปรียบเทียบปัญหาระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติโดยรวมและจำแนกรายด้าน โดยใช้ t-test ( Independent Sample)
สรุปผลวิจัย
-
ผลการวิจัยพบว่า
1.สภาพการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 9
1.1 ด้านอาคารสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและสำนักงาน ศคึกษาธิการอำเภอ ส่วนใหญ่ที่มีห้องจัดระบบข้อมูลสารสนเทศเป็นห้องที่ใช้รวมกับงานอื่น ๆ มีอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ สำหรับการปฏิบัติงาน ดังนี้ เครื่องคอมพิวเตอร์ประมาณ 1-2 เครื่อง แฟ้มเก็บข้อมูลสารสนเทศ เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย โต๊ะ เก้าอี้ทำงาน กระดานไวท์บอร์ด โทรศัพท์
1.2 ด้านบุคลากร บุคลากรที่ปฏิบัติงาน ไม่เพียงพอต่อปริมาณงานที่รับผิดชอบมีเจ้าหน้าที่ด้านคอมพิวเตอร์ในระดับบริหาร
1.3 ด้านงบประมาณ ในการจัดหาเครื่องมือการผลิตสารสนเทศส่วนใหญ่ใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน
1.4 ด้านการจัดการ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด และสำนักงานคึกษาธิการอำเภอ ใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศ ผู้บริหารส่วนใหญ่รับผิดชอบงานข้อมูลสารสนเทศในหน่วยงาน รวมกับผู้ปฏิบัติงาน
2.ผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่มีการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา โดยรวมและจำแนกเป็นรายด้าน และส่วนมากมีการดำเนินงานด้านการรวบรวมข้อมูล
3. บุคลากรโดยรวมและจำแนกตามประเภทบุคลากร มีปัญหาการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา โดยรวมและจำแนกเป็นรายด้าน ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการเผยแพร่ข้อมูล และมีด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการคำนวณข้อมูล

ข้อเสนอแนะ
-
1.ควรวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา
2.ควรวิจัยระบบและการจัดเก็บข้อสารสนเทศทางการศึกษาที่สะดวกต่อการบริหารงานและการปฏิบัติงาน

ที่มา //www.thaiedresearch.org/result/result.php?id=1501





โดย: นาย วัชฤทธิ์ มวลพิทักษ์ หมู่22 อ.เช้า IP: 125.26.175.79 วันที่: 26 กันยายน 2552 เวลา:13:43:23 น.  

 
1.การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้ อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การ ทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ความ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมุลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบ ข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมุลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะคือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูล เป็น หมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณ์ ที่หมาะสมมีความหมายและเป็น ประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูลและการกำหนด รหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล ว่าจะจัดเรียงลำดับระเบียบ ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกันหรือแบ่ง กลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้น ต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัย ของ ข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็น สารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูล ในรูปความสัมพันธ์ กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการ ของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ ผ่านการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออก จากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้าย ของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำให้แบบ เอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ
ลักษณะของสารสนเทศที่ดีต้องประกอบไปด้วยรายละเอียด ดังนี้
1. ความเที่ยงตรง (Accuracy) หมายถึง ปราศจากความเอนเอียง สารสนเทศที่ดี ต้องบอกลักษณะความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ไม่ชี้นำปทางใดทางหนึ่ง
2. ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ (Relevancy) หมายถึง มีเนื้อหาตรงกับเรื่อง ที่ต้องการใช้ของผู้ใช้แต่ละคน
3. ทันต่อเวลา (Timeliness) หมายถึง สามารถนำสารสนเทศที่ต้องการไปใช้ได้ ทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การจัดเตรียมสารสนเทศให้ทันต่อเวลา ที่ต้องการใช้ มี 2 ลักษณะ คือ การจัดทำสารสนเทศล่วงหน้าตามกำหนดเวลาที่เหตุการณ์จะเกิดในอนาคต และการจัดทำสาร สนเทศอย่างรวดเร็วเพื่อนำไปใช้ในเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น

ที่มา..//rbu.rb.ac.th/~cow/science/4000107/lesson1/lesson1.1.html





โดย: เบญจมาศ โคตรเพชร หมู่ 08 รหัส 52040332107 IP: 172.29.5.133, 58.137.131.62 วันที่: 27 กันยายน 2552 เวลา:13:09:38 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง

การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้ อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การ ทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ความ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมุลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบ ข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมุลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะคือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูล เป็น หมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณ์ ที่หมาะสมมีความหมายและเป็น ประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูลและการกำหนด รหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล ว่าจะจัดเรียงลำดับระเบียบ ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกันหรือแบ่ง กลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้น ต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัย ของ ข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็น สารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูล ในรูปความสัมพันธ์ กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการ ของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ ผ่านการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออก จากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้าย ของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำให้แบบ เอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ
ตัวอย่าง เช่น ระบบล้างรถอัตโนมัติ
ระบบสารสนเทศประกอบด้วย ส่วนหลักดังรูปที่ 3
ส่วนที่นำเข้า คือ รถที่สกปรก น้ำ และน้ำยาต่างๆ ที่ใช้ในการล้างรถ เวลาและพลังงานถูกใช้ในการปฏิบัติการล้างรถ ทักษะได้แก่ความสามารถเฉพาะอย่างจะถูกนำมาใช้ในการฉีดสเปรย์ ขัดโฟม และเป่าแห้ง ความรู้ถูกนำมาใช้ในการกำหนดขั้นตอนการทำงานของการล้างรถให้ทำงานไปตามขั้นตอนที่ถูกต้อง
การประมวลผล ประกอบด้วย ขั้นที่หนึ่ง การเลือกประเภทการล้างรถที่ต้องการ เช่น ล้างอย่างเดียว ล้างและขัดเงา ล้างและขัดเงาและเป่าแห้งฯลฯ และขั้นต่อไปทำการนำรถเข้าไปในเครื่องล้างรถ (สังเกตว่าในส่วนนี้จะเกิดกลไกของผลสะท้อนกลับขึ้น ได้แก่การประเมินผลของเจ้าของรถที่มีต่อขบวนการล้างรถที่กำลังเกิดขึ้น) จากนั้นของฉีดของเหลวจะฉีดน้ำ สบู่เหลว หรือครีมขัดเงาไปที่รถ ขึ้นอยู่กับตัวเลือกที่เลือกไว้ในตอนต้น
ส่วนที่แสดงผล คือรถที่สะอาดแล้ว
จากตัวอย่าง จะเห็นว่าส่วนประกอบอิสระต่างๆ ในระบบล้างรถอัตโนมัติ เช่นเครื่องฉีดของเหลว แปลงสำหรับทางโฟม และเครื่องเป่าแห้ง ทำงานโต้ตอบกัน เพื่อให้รถสะอาดนั่นเอง
ระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-Based Information Systems : CBIS)
ระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ (Hardware), ซอฟต์แวร์ (Software), ข้อมูล(Data), บุคคล (People), ขบวนการ (Procedure) และการสื่อสารข้อมูล (Telecommunication) ซึ่งถูกกำหนดขึ้นเพื่อทำการรวบรวม, จัดการ จัดเก็บและประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ รูปที่ 4 แสดงส่วนประกอบของระบบ สารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์

ที่ 4 ส่วนประกอบของสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์

1. ฮาร์ดแวร์ คืออุปกรณ์ทางกายภาพ ที่ใช้ในการรวบรวม การนำเข้า และการจัดเก็บข้อมูล, ประมวลผล ข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ และแสดงสารสนเทศที่เป็นผลลัพธ์ออกมา
2. ซอฟต์แวร์ ประกอบด้วยกลุ่มของโปรแกรมที่ใช้ในการปฏิบัติงานร่วมกับฮาร์ดแวร์และใช้ในการประมวลผลข้อมูลเป็นสารสนเทศ
3. ข้อมูล ในส่วนนี้หมายถึงข้อมูลและสารสนเทศที่ถูกเก็บอยู่ในฐานข้อมูล โดยฐานข้อมูล (Database) หมายถึงกลุ่มของค่าความจริงและสารสนเทศที่มีความเกี่ยวข้องกันนั่นเอง
4. บุคคล หมายถึงบุคคลที่ใช้งานและปฏิบัติงานร่วมกับระบบสารสนเทศ
5. ขบวนการ หมายถึงกลุ่มของคำสั่งหรือกฎ ที่แนะนำวิธีการปฏิบัติงานกับคอมพิวเตอร์ในระบบสารสนเทศ ซึ่งอาจได้แก่การแนะนำการควบคุมการเข้าใช้งานคอมพิวเตอร์, วิธีการสำรองสารสนเทศในระบบและวิธีจัดการกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้
6. การสื่อสารข้อมูล หมายถึงการส่งสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์เพื่อติดต่อสื่อสาร และช่วยให้องค์กรสามารถเชื่อมระบบคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่าย (Network) ที่มีประสิทธิภาพได้ โดยเครือข่ายใช้ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไว้ด้วยกัน อาจจะเป็นภายในอาคารเดียวกัน ในประเทศเดียวกัน หรือทั่วโลก เพื่อให้สามารถสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้

ที่มา //irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/Knowledge/Management%20Information%20Systems/mis2.htm
//www.geocities.com/gr421317/information.html


โดย: ปรีชา กลมเกลียว หมู่8 พฤหัสบดีเช้า รหัส 52040901222 IP: 124.157.139.201 วันที่: 27 กันยายน 2552 เวลา:15:00:36 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้
ที่มาecurriculum.mv.ac.th/techno/library/.../it/.../03Lesson2.html



นายเจริญชัย ผ่ามดิน หมู่ 22 (อ.เช้า)


โดย: นายเจริญชัย ผ่ามดิน IP: 58.137.131.62 วันที่: 28 กันยายน 2552 เวลา:10:15:52 น.  

 
4.1ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง
การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้


โดย: นางสาววันวิสาข์ ศรีทอง หมู่ 1เรียนจันทร์บ่าย IP: 119.42.110.112 วันที่: 28 กันยายน 2552 เวลา:16:23:34 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง
ตอบ การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้ อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การ ทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ความ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมุลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบ ข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมุลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะคือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูล เป็น หมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณ์ ที่หมาะสมมีความหมายและเป็น ประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูลและการกำหนด รหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล ว่าจะจัดเรียงลำดับระเบียบ ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกันหรือแบ่ง กลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้น ต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัย ของ ข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็น สารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูล ในรูปความสัมพันธ์ กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการ ของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ ผ่านการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออก จากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้าย ของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำให้แบบ เอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ
ลักษณะของสารสนเทศที่ดีต้องประกอบไปด้วยรายละเอียด ดังนี้
1. ความเที่ยงตรง (Accuracy) หมายถึง ปราศจากความเอนเอียง สารสนเทศที่ดี ต้องบอกลักษณะความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ไม่ชี้นำปทางใดทางหนึ่ง
2. ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ (Relevancy) หมายถึง มีเนื้อหาตรงกับเรื่อง ที่ต้องการใช้ของผู้ใช้แต่ละคน
3. ทันต่อเวลา (Timeliness) หมายถึง สามารถนำสารสนเทศที่ต้องการไปใช้ได้ ทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การจัดเตรียมสารสนเทศให้ทันต่อเวลา ที่ต้องการใช้ มี 2 ลักษณะ คือ การจัดทำสารสนเทศล่วงหน้าตามกำหนดเวลาที่เหตุการณ์จะเกิดในอนาคต และการจัดทำสาร สนเทศอย่างรวดเร็วเพื่อนำไปใช้ในเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น
ที่มา //www.geocities.com/gr421317/information.html



โดย: นางสาวปัทมาวดี ไชยลา หมู่เรียนที่ 1 เรียนบ่ายวันจันทร์ IP: 119.42.110.112 วันที่: 28 กันยายน 2552 เวลา:17:27:35 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง

การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้





โดย: น.ส.จิราภรณ์ ศุกรักษ์(หมู่15 ศุกร์ เช้า) IP: 222.123.58.158 วันที่: 30 กันยายน 2552 เวลา:12:08:35 น.  

 
อ้างอิง:
//ecurriculum.mv.ac.th/techno/library/computer/it/it/HTM/03Lesson2.html


โดย: น.ส.จิราภรณ์ ศุกรักษ์(หมู่15 ศุกร์ เช้า) IP: 222.123.58.158 วันที่: 30 กันยายน 2552 เวลา:12:10:10 น.  

 
การผลิตสารสนเทศ

การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้

ที่มา //ecurriculum.mv.ac.th/techno/library/computer/it/it/HTM/03Lesson2.html#top


โดย: น.ส.สุกญญา พรมสวัสดิ์ (หมู่ที่ 15 ศุกร์ เช้า ) IP: 61.19.119.253 วันที่: 30 กันยายน 2552 เวลา:17:15:26 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง

กระบวนการผลิตสารสนเทศ

สินค้าต่างๆ เกิดจากการนำเอาวัตถุดิบมาผ่านกระบวนการผลิตเมื่อผ่านขั้นตอนนี้ก็จะได้สินค้าสำเร็จรูปที่พร้อมสำหรับนำออกวางจำหน่ายตามท้องตลาด เช่น การผลิตเสื้อ เกิดจากการนำเอาใยผ้ามาผ่านการฟอก การย้อม การออกแบบ การตัดเย็บและขั้นตอนอื่นๆ จนเสร็จเป็นเสื้อตัวหนึ่ง เปรียบได้กับการผลิตสารสนเทศที่เกิดขึ้นจากการนำเอาข้อมูลมาทำการประมวลผล จากนั้นจะได้สารสนเทศ ที่พร้อมสำหรับการนำไปใช้ประโยชน์

กระบวนการในการผลิตสารสนเทศ เรียกว่า การประมวลผล (Processing) มีองค์ประกอบ ดังนี้

1. การจัดเก็บข้อมูล เป็นขั้นตอนของการจัดเตรียมข้อมูล การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญ หากมีการจัดเตรียมข้อมูลที่ดีผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลย่อมดีตามไปด้วย

2. การบันทึกข้อมูล เป็นขั้นตอนการนำเอาข้อมูลที่มีการจัดเก็บหรือจัดเตรียมไว้มาทำการบันทึกลงในเรื่องคอมพิวเตอร์ เช่น บันทึกไว้ในแผ่นดิสเก็ต ซีดีรอม

3. การตรวจสอบความถูกต้อง เป็นขั้นตอนของการตรวจสอบข้อมูลที่ได้ทำการบันทึกลงในเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว โดยตรวจสอบว่าถูกต้องตรงกับข้อมูลต้นฉบับหรือไม่ และมีความสมเหตุสมผลหรือไม่

4. การจัดกลุ่มและการแยกประเภทข้อมูล เป็นขั้นตอนของการจัดกลุ่มและแยกประเภทข้อมูล ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นหมวดหมู่อย่างเหมาะสม เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการเรียกใช้งาน

5. การประมวลผล เป็นขั้นตอนที่ข้อมูลจะกลายเป็นสารสนเทศโดยนำเอาข้อมูลที่ได้จัดเตรียมไว้มาทำการประมวลผล เพื่อสร้างเป็นผลลัพธ์ เช่น นำเอาคะแนนสอบทั้งปีของนักเรียนมาทำการประมวลผลเป็นคะแนนรวมเพื่อตัดเกรดของนักเรียน

6. การจัดทำรายงาน เป็นขั้นตอนของการนำเอาสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลมาใช้ประโยชน์โดยจัดทำเป็นรายงานในรูปแบบต่างๆ ตามความเหมาะสมกับชนิดของงานแต่ละอย่าง เพื่อความถูกต้องและสะดวกรวดเร็วในการนำไปประกอบการตัดสินใจ

ที่มา
//itucke.hroyy.com/?page_id=115

นาย ณัฐพงศ์ มันทะลา หมู่22



โดย: นาย ณัฐพงศ์ มันทะลา IP: 124.157.129.36 วันที่: 30 กันยายน 2552 เวลา:18:34:48 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง
ตอบ การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้
TOP

ที่มา
:ecurriculum.mv.ac.th/techno/library/.../it/.../03Lesson2.html


โดย: นางสาวกฤตยา อินทร์กอ หมู่ 22 IP: 118.174.11.203 วันที่: 3 ตุลาคม 2552 เวลา:22:08:37 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง
ตอบ การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูล และการกำหนดรหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่า จะจัดเรียงลำดับระเบียบข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
การจัดทำแฟ้มข้อมูลนั้น คือ การลงรายการข้อมูลในแบบฟอร์มหรือตารางที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างของการจำแนกข้อมูลนั่นเอง
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน หรือแบ่งกลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้นต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัยของข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูลในรูปความสัมพันธ์กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำ โดยการเก็บไว้ในสื่อต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีสื่อการจัดเก็บหลายชนิด เป็นแผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก โดยจำแนกประเภทแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ง่ายแก่การจัดเก็บ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลภายในแฟ้ม จะประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นข้อมูลโดยทั่วไป ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านการศึกษาหรือเกี่ยวข้อง ในการค้นหาต้องจัดทำคู่มือสำหรับการค้นหาในลักษณะเหมือนนามานุกรม โดยมีรายละเอียดของรหัสกำกับข้อมูลต่างๆ ไว้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำในแบบเอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือการกำหนดและออกแบบรายงานสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้
TOP

ที่มา
:ecurriculum.mv.ac.th/techno/library/.../it/.../03Lesson2.html


โดย: นางสาวกฤตยา อินทร์กอ หมู่ 22 IP: 118.174.11.203 วันที่: 3 ตุลาคม 2552 เวลา:22:09:49 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง


การเก็บรวบรวมข้อมูลการประมวลผล ข้อมูลที่เก็บมาได้มักจะเก็บในสื่อต่าง ๆ เช่น แผ่นบันทึก แผ่นซีดี หรือเทป เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำมาประมวลผลตามต้องการ เช่น แยกแยะข้อมูลเป็นกลุ่ม เรียงลำดับข้อมูล คำนวณ หรือจัดการคัดแยกข้อมุลที่จัดเก็บนั้น
//www.school.net.th/library/snet1/network/it/index.html


โดย: น.สนิชานัน กองหล้า หมู่31 เรียนวันพฤหัส วันที่ 17 พ.ย 2552 IP: 172.29.5.133, 202.29.5.62 วันที่: 19 พฤศจิกายน 2552 เวลา:18:56:59 น.  

 
นส.เพ็ญนภา เจริญทรง
49240428132 ม.05
ส.13.00-16.00 น.

1.ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง

เรื่อง สภาพและปัญหาระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 9

เนื้อหา
ความเป็นมา
-
งานข้อมูลสถิติและการวางแผน และการประสานงานการจัดทำแผนการศึกษาประจำปีของสำนักศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ จำเป็นต้องอาศัยการเก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผล การวิเคราะห์ นำเสนอข้อมูล วางแผนพัฒนาจังหวัด การบริหารงบประมาณ การประสานการตรวจราชการ ซึ่งงานต่าง ๆ เหล่านี้ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องข้อมูลด้านการศึกษา การศาสนา และการวัฒนธรรม ที่จะต้องจัดระบบการผลิต สารสนเทศทางการศึกษา สำหรับการใช้และให้บริการแก่หน่วยงานอื่น และผู้สนใจทั่วไป ดังนั้นจำเป็นต้องมีกระบวนการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา 9 ขั้น ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
สภาพและปัญหาต่าง ๆ ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถและวัสดุอุปกรณ์ที่เพียงพอกับการปฏิบัติงานแต่โดยหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงจำเป็นต้องดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา ที่สมบูรณ์ ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นปัจจุบันที่สุด
ผู้วิจัยซึ่งดำรงตำแหน่งนักวิชาการศึกษา จึงสนใจที่จะศึกษาสภาพและปัญหาระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 9 เพื่อเป็นข้อสนเทศในการแก้ไขปรับปรุงพัฒนางานในสำนักศึกษาธิการจังหวัด และสำนักงานศึกษาธิการอำเภอให้เกิดประสิทธิภาพ

แนวคิดทฤษฎี
-
1.แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศของกระทรวงศึกษาธิการ
1.1 นโยบายกระทรวงศึกษาธิการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.2 วิสัยทัศน์เทคโนโลยีสารสนเทศ
1.3 ภารกิจหลักด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.4 เป้าหมายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2543-2545)
1.5 แผนงานหลัก
1.6 แผนปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
2.ระบบการผลิตข้อมูลสารสนเทศ
2.1 ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ
2.2 ระบบ และวิธีการประมวลผลข้อมูล
2.3 คุณสมบัติสารสนเทศ
2.4 ลักษณะและประเภทของสารสนเทศ
2.5 องค์ประกอบในการพัฒนาระบบสารสนเทศ
2.6 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร
2.7 สารสนเทศทางการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ
2.8 สารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษาระดับจังหวัด
3.กระบวนการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา
3.1 การรวบรวม (Capturing )
3.2 การตรวจสอบ (verifying)
3.3 การจำแนก (Classifying)
3.4 การจัดเรียงลำดับ (Arranging / Sorting)
3.5 การสรุป (Summarizing)
3.6 การคำนวณ (Calculating)
3.7 การจัดเก็บ (Storing)
3.8 การเรียกใช้ (Retrieving)
3.9 การเผยแพร่ (Disseminating)
4. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กับบทบาทหน้าที่การผลิตสารสนเทศทางการศึกษา
4.1 บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ
4.2 โครงสร้างสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
4.3 สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 9
4.4 บทบาทหน้าที่ของสำนักศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ กับระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา
5.งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
5.1 งานวิจัยในประเทศ
5.2 งานวิจัยในต่างประเทศ

วัตถุประสงค์
-
1.เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ในเขตการศึกษา 9
2.เพื่อศึกษาระดับปัญหาของระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ในเขตการศึกษา 9
3.เพื่อเปรียบเทียบระดับปัญหาระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ในเขตการศึกษา 9 ในกระบวนการผลิต 9 ขั้น

สมมุติฐานการวิจัย

- ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานมความคิดเกี่ยวกับปัญกาของระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการในเขตการศึกษา 9 โดยรวมและเป็นรายด้านไม่ต่างกัน
ระเบียบวิธีวิจัย
- ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจ
ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง

1.ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร คือ ศึกษาธิการจังหวัด ผู้ช่วยศึกษาธิการจังหวัด ศึกษาธิการอำเภอ ผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอ และผู้ปฏิบัติงาน คือนักวิชาการศึกษาจังหวัด และนักวิชาการศึกษาอำเภอ ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ในเขตการศึกษา 9 (สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. 2543 : 215-227) จำนวน 303 คน
2.กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงาน ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ในเขตการศึกษา 9 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้อัตราร้อยละ 80 และสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Randon Sanpling) ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น จำนวน 242 คน

ตัวแปร
-
นิยามศัพท์
-
1.สภาพการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา หมายถึง สภาวะที่เป็นอยู่ของการจัดดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา ในกระบวนการคิด การออกแบบ การเลือก วิธีการ ตลอดจนการนำเครื่องมือ เครื่องใช้ และสื่อต่าง ๆ มาใช้ในการปฏิบัติงานการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา ในกระบวนการ 9 ขั้น คือ ขั้นการรวบรวม การตรวจสอบ การจำแนก การจัดเรียงลำดับ การสรุปการคำนวณ การจัดเก็บ การเรียกใช้ และการเผยแพร่
2.ปัญหาการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา หมายถึง อุปสรรค หรือข้อขัดข้องต่าง ๆ ที่เกิดจากการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
-
เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีจำนวน 2 ฉบับ ดังนี้
1.ฉบับที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพและปัญหาระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 9 เพื่อสอบถามผู้บริหาร
2. ฉบับที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพและปัญหาระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 9 เพื่อสอบถามผู้ปฏิบัติงาน
นำแบบสอบถามไปทดลองใช้กับศึกษาธิการจังหวัด ผู้ช่วยศึกษาธิการจังหวัด ศึกษาธิการอำเภอ ผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอ นักวิชาการศึกษาจังหวัด และนักวิชาการศึกษาอำเภอ ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ที่จังหวัดมหาสารคาม ในเขตการศึกษา 10 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจำนวน 50 ชุด นำแบบสอบถามาหาค่าอำนาจจำแนกรายข้อโดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย ได้ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.26-0.84 และหาค่าความเชื่อมั่น โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาตามวิธีของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.98

วิธีการรวบรวมข้อมูล
-
การวิเคราะห์ข้อมูล
-
ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows ดังนี้
1.คำนวณหาค่าร้อยละ จากแบบสอบถามตอนที่ 1 และตอนที่ 2 ที่เป็นลักษณะแบบตรวจสอบรายการ
2.แบบสอบถามตอนที่ 3 ที่เป็นลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) วิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
3.วิเคราะห์เปรียบเทียบปัญหาระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติโดยรวมและจำแนกรายด้าน โดยใช้ t-test ( Independent Sample)

สรุปผลวิจัย
-
ผลการวิจัยพบว่า
1.สภาพการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษาของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 9
1.1 ด้านอาคารสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและสำนักงานศคึกษาธิการอำเภอ ส่วนใหญ่ที่มีห้องจัดระบบข้อมูลสารสนเทศเป็นห้องที่ใช้รวมกับงานอื่น ๆ มีอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ สำหรับการปฏิบัติงาน ดังนี้ เครื่องคอมพิวเตอร์ประมาณ 1-2 เครื่อง แฟ้มเก็บข้อมูลสารสนเทศ เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย โต๊ะ เก้าอี้ทำงาน กระดานไวท์บอร์ด โทรศัพท์
1.2 ด้านบุคลากร บุคลากรที่ปฏิบัติงาน ไม่เพียงพอต่อปริมาณงานที่รับผิดชอบมีเจ้าหน้าที่ด้านคอมพิวเตอร์ในระดับบริหาร
1.3 ด้านงบประมาณ ในการจัดหาเครื่องมือการผลิตสารสนเทศส่วนใหญ่ใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน
1.4 ด้านการจัดการ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด และสำนักงานคึกษาธิการอำเภอ ใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศ ผู้บริหารส่วนใหญ่รับผิดชอบงานข้อมูลสารสนเทศในหน่วยงาน รวมกับผู้ปฏิบัติงาน
2.ผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่มีการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา โดยรวมและจำแนกเป็นรายด้าน และส่วนมากมีการดำเนินงานด้านการรวบรวมข้อมูล
3. บุคลากรโดยรวมและจำแนกตามประเภทบุคลากร มีปัญหาการดำเนินงานระบบการผลิตสารสนเทศทางการศึกษา โดยรวมและจำแนกเป็นรายด้าน ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการเผยแพร่ข้อมูล และมีด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการคำนวณข้อมูล


ที่มา//www.thaiedresearch.org/result/up_result.php


โดย: นส.เพ็ญนภา เจริญทรง IP: 192.168.0.109, 180.183.67.230 วันที่: 6 ธันวาคม 2552 เวลา:14:04:38 น.  

 
แบบฝึกหัด
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง

1. การออกแบบผลิตภัณฑ์ ส่วนมากโรงงานอุตสาหกรรมจะนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการช่วยออกแบบ เช่น โปรแกรมประเภท CAD, CAE และ Aotocad
2. การออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวก ภายหลังจากออกแบบผลิตภัณฑ์แล้ว ผู้บริหารอาจมีแผนสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในการผลิต เช่น การเปลี่ยนตำแหน่งในการทำงาน หรือการออกแบบผังการทำงานใหม่โดยใช้แบบจำลองของ Monte Carlo มาช่วยในการออกแบบ
3. การผลิต การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในเรื่องการผลิตสินค้า การตัดสินใจในเรื่องการผลิตสินค้า


โดย: นายธีรยุทธ วันทอง คบ.ภาษาอักฤษ รหัส 52100102145 หมู่ 08 พฤหัสเช้า IP: 61.19.118.250 วันที่: 26 ธันวาคม 2552 เวลา:16:45:57 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง
ตอบ
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต
ขบวนการในการผลิตประกอบด้วยงานที่ขึ้นต่อกันมากมาย โดยการนำระบบการวางแผนทรัพยากรของ องค์กรมาใช้ร่วมในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิตจะช่วยให้การทำงานมีความยืดหยุ่นและมีการจัดหาทรัพยากรที่ต้องการใช้ได้ทันต่อความต้องการ โดยจุดประสงค์ของขบวนการผลิตก็คือการผลิตได้ตรงตามความพอใจหรือความต้องการของลูกค้านั่นเอง
ในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต ภาระของผู้บริหารในการดูแลควบคุมงานจะถูกลดลงไป, งานด้านเอกสารต่างๆ จะถูกปรับให้อยู่ในรูปของขบวนการออนไลน์และการติดต่อสื่อสารข้อมูลจะใช้งานผ่านระบบการ แลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (EDI) และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแทน อีกทั้งในการวางแผนการใช้ทรัพยากรของ องค์กรเพื่อการผลิตจะใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายอินทราเน็ตในองค์กร เพื่อติดต่อกับหน่วยงานธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ เพื่อปฏิบัติงานและงานควบคุมงานต่างๆ ทั้งแบบศูนย์กลางและแบบกระจายได้ รูปที่ 16 แสดงภาพรวมของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต




รูปที่ 16 ภาพรวมของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต


ส่วนที่นำเข้าไปยังระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต

ส่วนที่นำเข้าจะได้จากกการปฏิบัติงานซึ่งเกี่ยวกับการไหลเวียนและการแปลงวัตถุดิบภายในองค์กร แหล่ง สารสนเทศที่สำคัญอาจมาจากภายนอกองค์กรก็ได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะมาจากภายใน เช่น

1. แผนเชิงกลยุทธ์และนโยบายของบริษัท ซึ่งจะเป็นส่วนที่กำหนดทิศทางของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต เช่นเอกสารเกี่ยวกับการวางแผนระยะยาวที่กล่าวถึงเรื่องคุณภาพ, การผลิต, และเป้าหมายและข้อจำกัดในการให้บริการ รวมถึงนโยบายในการเปิดโรงงานใหม่หรือการปิดโรงงานเก่าลงและเรื่องของความสามารถในการผลิตที่เพิ่มขึ้นได้, ข้อจำกัดของจำนวนพนักงานที่มี, การเปลี่ยนนโยบายการเก็บสินค้าคงคลัง และโปรแกรมการควบคุมคุณภาพใหม่ที่ต้องการใช้ เหล่านี้จัดเป็นสารสนเทศที่นำเข้าสู่ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต
2. ระบบประมวลผลรายการ ได้แก่ข้อมูลที่ได้จากระบบประมวลผลรายการด้านต่างๆที่เกี่ยวข้อในการผลิต ได้แก่ การประมวลผลการสั่งซื้อ, ข้อมูลสินค้าคงคลัง, ข้อมูลการรับและการตรวจสอบวัตถุดิบที่เข้ามาในขบวนการผลิต, ข้อมูลบุคลากร, และข้อมูลขบวนการผลิต
3. แหล่งข้อมูลภายนอก ได้แก่ ข้อมูลขบวนการในการผลิตใหม่ๆ ซึ่งอาจมาจากบริษัท, วารสาร และสิ่งพิมพ์อื่นๆ หรือได้จาก เครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือข้อมูลเกี่ยวกับสภาพวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้สามารถคาดเดาในเรื่องของแรงงาน และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับวัตถุดิบได้ นอกเหนือจากนี้ยังมีแหล่งข้อมูลภายนอกอื่นๆ อีก เช่น องค์กรผู้เชี่ยวชาญต่างๆ, สมาคมทางธุรกิจ ซึ่งสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับคู่แข่งขัน ทั้งในด้านขบวนการผลิตและกลุ่มลูกค้าใหม่ๆที่น่าสนใจได้

ระบบย่อยและผลที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต

ระบบย่อยและผลลัพธ์ที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต ได้แก่ การตรวจสอบและควบคุมการไหลเวียนของวัตถุดิบ, สินค้า และบริการต่างๆภายในองค์กร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตสินค้าได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า ตั้งแต่เริ่มขบวนการนำวัตถุดิบมาผ่านขั้นตอนการผลิตจนกระทั่งเสร็จเป็นสินค้าและบริการที่จะส่งไปยังลูกค้า โดยที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ระบบย่อยและผลลัพธ์ที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต ได้แก่

1. การออกแบบและการปฏิบัติเชิงวิศวกรรม (Design and Engineering) ได้แก่การพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยสามารถใช้ระบบการออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (Computer-Aided Design : CAD) ซึ่งเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ โดยผู้ใช้สามารถออกแบบและแก้ไข ตัวแบบได้เองบนจอภาพ
2. การจัดตารางการผลิต (Production Planning) เพื่อจัดการรายละเอียดแผนงานการผลิตทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยใช้ซอฟต์แวร์ที่ทำงานในด้านนี้เข้ามาช่วย ซึ่งในซอฟต์แวร์นี้อาจมีคุณสมบัติในการทำนายและพิจารณาหาความต้องการของสินค้าและบริการที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ทำให้สามารถวางแผนเพื่อกำหนดการผลิตให้ได้ตรงตามความต้องการ
3. การควบคุมสินค้าคงคลัง (Inventory Control) ได้แก่การใช้ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการสั่งซื้อ, การทำนาย, การผลิตเอกสารและรายงานร้านค้า, การพิจารณาหาค่าใช้จ่ายในการผลิต, การวิเคราะห์งบประมาณค่าใช้จ่ายที่วางไว้เปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายจริง, และการพัฒนาตารางการผลิต, บอกความต้องการทรัพยากรในการผลิตและวางแผนการผลิตได้อย่างอัตโนมัติ โดยปกติแล้วซอฟต์แวร์ต่างๆเหล่านี้จะมีสูตรในการคำนวณเพื่อหาจำนวนวัตถุดิบและช่วงเวลาที่จะต้องสั่งซื้อได้ วิธีการหาว่าต้องสั่งสินค้ามาไว้ในคลังปริมาณเท่าใดเรียกว่าวิธีการกาปริมาณหารสั่งซื้อมางเศรษฐกิจ (Economic Order Quantity : EOQ) โดยปริมาณที่หาได้นี้จะต้องทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุดด้วย ส่วนการหาว่าต้องสั่งสินค้ามาไว้ในคลังเมื่อใดจะใช้วิธีการหาจุดสั่งซื้อเพิ่ม Reorder Point : ROP) ซึ่งแสดงถึงค่าระดับปริมาณสินค้าคงคลังที่วิกฤติ
4. การวางแผนการใช้ทรัพยากรการผลิต(Manufacturing Resource Planning : MRPII) ได้แก่ระบบที่ใช้การวางแผนเครือข่ายเพื่อให้บุคคลต่างๆ สามารถดำเนินธุรกิจเพื่อให้บริการและผลผลิตแก่ลูกค้าได้เป็นจำนวนมาก ในขณะที่เสียค่าใช้จ่ายและมีสินค้าหรือวัตถุดิบในคลังสินค้าในปริมาณต่ำ โดยมีการทำนายความต้องการของลูกค้า, การควบคุมสินค้าคงคลัง, การวางแผนการผลิต, การแสดง รายการวัตถุดิบที่ต้องใช้, การวางแผนการสรรหาแหล่งวัตถุดิบที่ต้องใช้ เพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ จะถูกส่งไปให้แก่ลูกค้าได้ในเวลาที่ต้องการ
5. การควบคุมสินค้าและการผลิตที่ทันเวลา (Just-in-Time Inventory and Manufacturing) การเก็บสินค้าและวัตถุดิบในคลังสินค้าเป็นจำนวนมากทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูง และอาจเกิดการเสียหายได้ ดังนั้นวัตถุประสงค์หนึ่งของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิตก็คือ การควบคุมสินค้าคงคลังให้อยู่ในระดับที่ต่ำที่สุด โดยไม่กระทบกับความต้องการในการนำสินค้าหรือวัตถุดิบนั้นไปใช้ในการผลิต วิธีที่นิยมใช้ได้แก่วิธีการควบคุมคลังสินค้าแบบทันเวลา (Just-in-Time : JIT Inventory Approach) ซึ่งสินค้าและวัตถุดิบจะถูกส่งไปให้ในช่วงเวลาก่อนที่จะสินค้าหรือวัตถุดิบนั้นไปใช้ในการผลิต ทำให้ไม่ต้องเก็บไว้ในคลังสินค้าเป็นช่วงเวลานานๆ
6. การควบคุมขบวนการผลิต ในการควบคุมการผลิตมีเทคโนโลยีที่สนับสนุนมากมาย เช่น การผลิตโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (Computer-Aided Manufacturing : CAM) เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการด้านการผลิต เช่น การตรวจสอบและติดตาม ได้แก่การควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ในการผลิตต่างๆ การตรวจสอบค่าและข้อกำหนดในการผลิตต่างๆ เช่น อุณหภูมิที่ใช้ ค่าความดันอากาศฯลฯ หรือใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการกำหนดรหัสสินค้า การจัดลำดับในขบวนการผลิต เป็นต้น
7. การนำคอมพิวเตอร์เข้าไปช่วยในการผลิต (Computer-Integrated Manufacturing : CIM) ได้แก่การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมโยงองค์ประกอบต่างๆในขบวนการผลิตเข้าด้วยกันเป็นระบบที่มี ประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวมขั้นตอนการผลิตทั้งหมด เช่น การประมวลผลการสั่งซื้อ, การออกแบบผลิตภัณฑ์, การผลิต การควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพ และการขนส่งเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มประสิทธภาพในด้านการทำงานส่วนต่างๆ ที่ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน โดยอาจนำระบบการผลิตแบบคล่องตัว (Flexible Manufacturing System : FMS) เข้ามาใช้ร่วมด้วย ทำให้สามารถเปลี่ยนการผลิตสินค้าอย่างหนึ่งเป็นอีกอย่างหนึ่งเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
8. การควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพ (Quality Control and Testing) ได้แก่ขบวนการในการในการควบคุมเพื่อให้แน่ใจว่าสินค้าที่ผลิตออกมาตรงตามที่ลูกค้าต้องการ โดยใช้ซอฟต์แวร์ในการควบคุมคุณภาพ ต่างๆ ผลลัพธ์ที่ได้จากระบบการควบคุมคุณภาพ ได้แก่รายงาน ค่าใช้จ่ายที่ลดลงและยอดขายที่เพิ่มขึ้น โดยสารสนเทศที่ได้จากระบบนี้จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทราบถึงปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์การผลิตและรายงานควบคุมคุณภาพยังใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ดีขึ้นอีกด้วย



โดย: **** นายสุรศักดิ์ พฤคณา 52100102101 คบ.อังกฤษ หมุ่8 พฤหัสบดี เช้า IP: 202.29.5.243 วันที่: 26 ธันวาคม 2552 เวลา:18:24:09 น.  

 

แบบฝึกหัด
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง

1. การออกแบบผลิตภัณฑ์ ส่วนมากโรงงานอุตสาหกรรมจะนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการช่วยออกแบบ เช่น โปรแกรมประเภท CAD, CAE และ Aotocad
2. การออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวก ภายหลังจากออกแบบผลิตภัณฑ์แล้ว ผู้บริหารอาจมีแผนสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในการผลิต เช่น การเปลี่ยนตำแหน่งในการทำงาน หรือการออกแบบผังการทำงานใหม่โดยใช้แบบจำลองของ Monte Carlo มาช่วยในการออกแบบ
3. การผลิต การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในเรื่องการผลิตสินค้า การตัดสินใจในเรื่องการผลิตสินค้า


โดย: นายวัชระ ทาสะโก 52100102105 คบ.ภาษาอังกฤษ หมู่ 8 พฤหัสบดี เช้า IP: 1.1.1.81, 202.29.5.243 วันที่: 27 ธันวาคม 2552 เวลา:20:34:21 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง

ตอบ

การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้ อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การ ทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ความ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมุลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบ ข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมุลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะคือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูล เป็น หมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณ์ ที่หมาะสมมีความหมายและเป็น ประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูลและการกำหนด รหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล ว่าจะจัดเรียงลำดับระเบียบ ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกันหรือแบ่ง กลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้น ต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัย ของ ข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็น สารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูล ในรูปความสัมพันธ์ กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการ ของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ ผ่านการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออก จากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้าย ของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำให้แบบ เอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ
ลักษณะของสารสนเทศที่ดีต้องประกอบไปด้วยรายละเอียด ดังนี้
1. ความเที่ยงตรง (Accuracy) หมายถึง ปราศจากความเอนเอียง สารสนเทศที่ดี ต้องบอกลักษณะความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ไม่ชี้นำปทางใดทางหนึ่ง
2. ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ (Relevancy) หมายถึง มีเนื้อหาตรงกับเรื่อง ที่ต้องการใช้ของผู้ใช้แต่ละคน
3. ทันต่อเวลา (Timeliness) หมายถึง สามารถนำสารสนเทศที่ต้องการไปใช้ได้ ทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การจัดเตรียมสารสนเทศให้ทันต่อเวลา ที่ต้องการใช้ มี 2 ลักษณะ คือ การจัดทำสารสนเทศล่วงหน้าตามกำหนดเวลาที่เหตุการณ์จะเกิดในอนาคต และการจัดทำสาร สนเทศอย่างรวดเร็วเพื่อนำไปใช้ในเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น






โดย: นาย นุกุลกิจ ลีทุม 52100102146 คบ.อังกฤษ หมู่ที่ 8 พฤหัสบดี เช้า IP: 172.29.5.133, 202.29.5.240 วันที่: 17 มกราคม 2553 เวลา:14:55:17 น.  

 
4.1. ยกตัวอย่างวิธีการผลิตสารสนเทศมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง

ตอบ

การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้ อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การ ทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ความ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมุลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบ ข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมุลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะคือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูล เป็น หมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณ์ ที่หมาะสมมีความหมายและเป็น ประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูลและการกำหนด รหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล ว่าจะจัดเรียงลำดับระเบียบ ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกันหรือแบ่ง กลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้น ต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัย ของ ข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็น สารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูล ในรูปความสัมพันธ์ กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการ ของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ ผ่านการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออก จากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้าย ของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำให้แบบ เอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ
ลักษณะของสารสนเทศที่ดีต้องประกอบไปด้วยรายละเอียด ดังนี้
1. ความเที่ยงตรง (Accuracy) หมายถึง ปราศจากความเอนเอียง สารสนเทศที่ดี ต้องบอกลักษณะความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ไม่ชี้นำปทางใดทางหนึ่ง
2. ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ (Relevancy) หมายถึง มีเนื้อหาตรงกับเรื่อง ที่ต้องการใช้ของผู้ใช้แต่ละคน
3. ทันต่อเวลา (Timeliness) หมายถึง สามารถนำสารสนเทศที่ต้องการไปใช้ได้ ทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การจัดเตรียมสารสนเทศให้ทันต่อเวลา ที่ต้องการใช้ มี 2 ลักษณะ คือ การจัดทำสารสนเทศล่วงหน้าตามกำหนดเวลาที่เหตุการณ์จะเกิดในอนาคต และการจัดทำสาร สนเทศอย่างรวดเร็วเพื่อนำไปใช้ในเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น






โดย: นาย นุกุลกิจ ลีทุม 52100102146 คบ.อังกฤษ หมู่ที่ 8 พฤหัสบดี เช้า IP: 172.29.5.133, 202.29.5.244 วันที่: 17 มกราคม 2553 เวลา:14:55:20 น.  

 
กาก


โดย: .... IP: 112.142.115.133 วันที่: 22 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:9:51:19 น.  

 
เนื้อหามากเกินทามให้งง!อยากให้สรุปย่อๆ ขอเน้นว่า ย่อๆ


โดย: SF. IP: 112.142.115.133 วันที่: 22 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:10:00:11 น.  

 
น่าเบื่อกับเนื้อหาพรุ่งนี้จังจิงไม 01


โดย: รักข้างเดียว IP: 112.142.115.133 วันที่: 22 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:10:08:22 น.  

 
เนื้อหาย้าว ยาว


โดย: seed IP: 112.142.115.133 วันที่: 22 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:10:08:56 น.  

 
ขอบจัยเนื้อหาเจ๋งมากมากกกกกกกกก


โดย: coffee candy IP: 192.168.2.103, 118.175.15.242 วันที่: 1 กรกฎาคม 2554 เวลา:13:52:35 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 

neaup
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 35 คน [?]




มาเรียนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้กันนะคะ
[Add neaup's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com