space
space
space
 
กันยายน 2558
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
space
space
16 กันยายน 2558
space
space
space

ประเพณีการปล่อยโคมลอย

Smiley มารู้จักประเพณีปล่อยโคมกันค่ะ Smiley

Smiley NUMMOSmiley

Smiley Smiley Smiley Smiley Smiley

ประเพณีหนึ่งที่ชาวล้านนาถือปฏิบัติคู่ไปกับประเพณียี่เป็งก็คือการลอยโคม การลอยโคมของชาวล้านนาเป็นการปล่อยโคมขึนไปสู่ท้องฟ้า แทนการลอยกระทงในลำน้ำอย่างประเพณีของคนภาคกลาง ชาวล้านนาเชื่อว่าการจุดโคมลอย แล้วปล่อยขึ้นฟ้า เป็นการบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณี บนสวรรค์ และยังเป็นการปล่อยทุกข์ปล่อยโศก และเรื่องร้าย ให้ออกไปจากตัว

ชาวล้านนาเชื่อกันว่า ในวันประเพณียี่เป็ง ชาวล้านนาที่เกิดปีจอต้องนมัสการพระธาตุแก้วจุฬามณีซึ่งเป็นสถานที่บรรจุมวยผมของเจ้าชายสิทธัตถะที่ปลงออกก่อนจะบวช แต่เนื่องจากเจดีย์นี้เชื่อกันว่าอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์  ชาวล้านนาที่เกิดปีจอจึงต้องอาศัยโคมลอยปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้าแทนเครื่องบูชาพระธาตุเกศแก้วจุฬามณี

ตัวโคมทำจากกระดาษสาสีสันสวยงาม ติดบนโครงไม้ไผ่ ตรงกลางโคมจะมีตะเกียงติดชนวนสำหรับจุดไฟ  เมื่อจุดไฟที่ตะเกียง ความร้อนจะดันพาโคมลอยให้ลอยขึ้นสู่ท้องฟ้า


มาดูด้านความเชื่อเกี่ยวกับโคมกันนะค๊ว่าแต่ละบุคคลให้ความเชื่ออย่างไรกันบ้าง

(จินตนา มัธยมบุรุษ 2539) กล่าวว่า ในประเพณีพิธีกรรมของชาวล้านนามีความเชื่ออย่างหนึ่งที่ปฏิบัติสืบเน่องกันมาช้านาน คือ การจุดประทีป โคมไฟให้ความสว่างไสวเป็นพุทธบูชา โดยแสงสว่างเริ่มจากไส้เทียนเล็กๆ จะลุกโชติช่วงให้แสงงามตามบ้านเรือนในช่วงงานเทศกาลอันเป็นมงคล ต่างๆ และส่องแสงภายในใจของพุทธศาสนิกชนถ้วนทุกตัวตนมาแต่ครั้งปู่ย่า ตายาย ประเพณีในภาคเหนือนั้นมักเป็นประเพณีสืบเนื่องจากศาสนา และความเชื่อของชุมชนในสังคมทั้งสิ้น และการจัดกิจกรรมต่างๆ ในประเพณี แต่ละอย่าง นั้นมักจะสอดคล้องกับสภาพ ภูมิศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม มีความเชื่อกันมาว่า เดือนยี่ หรือ เดือนสิบสองใต้ นี้เป็นฤดูกาลที่ลูกหลาน จะได้ทำบุญอุทิศกุศลกัลปนาแก่บรรพชนของตน

(มณี พยอมยงค์ 2537) กล่าวว่า โคมลอย นิยมเล่นกันมากในเดือนยี่ เพราะ เชื่อว่าอากาศโปร่ง ท้องฟ้าแจ่มใส สามารถเห็นโคมลอยได้ชัด

ในวันเดือนยี่เป็ง จึงมีโคมลอยถูกปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้าอย่างมากมาย เมื่อลอยไปในอากาศมีเสียงประทัด ที่แขวนไว้ได้โคมลอยแตกเป็นระยะๆ
น่าสนุกสนานยิ่ง (สิงห์แก้ว มโนเพชร 2535) กล่าวว่า ความเชื่อในอดีต เชื่อว่า การปล่อยโคมเพื่อเป็นพุทธบูชา หรือ ปล่อยเคราะห์กรรมลำบากตาม
คนโบราณเขาเชื่อกันว่า การลอยโคมขึ้นบนท้องฟ้า เป็นการลอยเคราะห์ลอยนาม เป็นการให้ทานอีกลักษณะหนึ่ง โคมที่ปล่อยขึ้นไปนั้นก็เพื่อจะให้ลอยขึ้นไปบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสรวงสรรค์อันเป็นที่บรรจุพระธาตุประจำปีของผู้ที่เกิดปีจอ หรือเพื่อบูชาแก่เจ้าผู้ให้กำเนิดของตนบนสวรรค์ที่เรียกว่า "พ่อเกิดแม่เกิด" โคมลอย นิยมลอยกันในเทศกาลลอยกระทง ทางภาคเหนือเรียกว่าประเพณี ยี่เป็ง เป็นประเพณีลอยกระทงของชาวล้านนา ซึ่งหมายถึงวันเพ็ญเดือน 2 เป็นการนับเดือนตามจันทรคติ โดยคำว่า ยี่เป็ง เป็นภาษาเหนือ ยี่ แปลว่า สอง และคำว่า เป็ง ตรงกับคำว่า เพ็ง หรือ เพ็ญ หมายถึงพระจันทร์เต็มดวง คือวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 2 
โคมลอย ที่คนท้องถิ่นล้านนาส่วนใหญ่เรียกติดปากว่า ว่าว สามารถแบ่งย่อยได้สองประเภท ได้แก่ โคมลอยกลางวัน (ว่าวโฮม-ว่าวควัน) กับ โคมลอยกลางคืน (ว่าวไฟ) นอกจากนี้ยังมีโคมแขวน ที่จัดเป็นโคมอีกชนิดเช่นกันเพียงแต่ใช้แขวนตามบ้านเรือนไม่ได้ใช้ลอยโดยโคมที่ใช้ลอยกลางวันนั้น จะใช้กระดาษที่มีสีสันจำนวนหลายสิบแผ่นในการทำ เพื่อให้เห็นในระยะทางไกลแม้จะอยู่บนท้องฟ้า จะมีการตกแต่งด้วยการใส่หาง หรือขณะที่ทำการปล่อยมักใส่ลูกเล่นต่างๆเข้าไปด้วย เช่น ใส่ประทัด ควันสี เครื่องบินเล็ก ตุ๊กตากระโดดร่ม เป็นต้น บางท้องที่นิยมใส่เงินลอยขึ้นไปอีกด้วย วิธีการปล่อยจะต้องใช้การรมควันให้เต็มโคม เมื่อได้ที่แล้วจึงปล่อย

Smiley วิดีโอตัวอย่างงานประเพณีปล่อยโคมเนื่องในงานเทศกาลวันลอยกระทงค่ะ



นี่เป็นรูปภาพที่ตัวฉันเองได้มีโอกาสปล่อยโคมลอยในช่วงเทศกาลวันลอยกระทะ ปี 2557 ที่ผ่าน มีความประทับใจมากค่ะ เป็นประเพณีที่ควรแก่การรักษาไว้ ให้แก่รุ่นลูก รุ่นหลานต่อไป



แหล่งอ้างอิง //suvarnabhumiairport.com/th/festivals/22 https://www.youtube.com/watch?t=43&v=Lh90aaU7vOo //xn--k3cpjt9d6a4e.net












 

Create Date : 16 กันยายน 2558
0 comments
Last Update : 16 กันยายน 2558 13:27:29 น.
Counter : 2465 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

space

สมาชิกหมายเลข 2652331
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 2652331's blog to your web]
space
space
space
space
space