***นำบทความที่น่าสนใจมาแบ่งปันกันอ่าน***

 
ตุลาคม 2558
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
31 ตุลาคม 2558
 

อิสลาม “ศรัทธา” หรือ “งมงาย”

อิสลามเข้าใจง่าย
ตอนที่ 5 “ศรัทธา” หรือ “งมงาย”
------------------------------------------

คุณคิดว่า คุณ “ศรัทธา” ในสิ่งที่คุณเชื่อมั่น หรือ คุณกำลัง “งมงาย” อยู่ครับ?

คำถามที่ดูผิวเผิน “ตอบง่าย”
แต่ในความเป็นจริง มันง่ายจริงหรือ?

เพราะหากถามต่อไปอีก...
“ศรัทธา” กับ “งมงาย” ต่างกันอย่างไร?
ถึงจุดนี้... คำตอบที่ได้... มักคลุมเครือ ...
เหมือนมีเส้นบางๆ กั้นอยู่ระหว่างคำว่า “ศรัทธา” และ “งมงาย”
ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว มันต่างกันมากมาย และผลที่ตามมาก็ต่างกันมากด้วยเช่นกัน!!

ผมมีโอกาสคุยกับนักศึกษาบางท่าน คำถามที่ได้ หลังจากที่เราคุยกัน คือ
“ตกลงผมเป็นมุสลิมหรือเปล่าครับ อาจารย์???”
------------------------------------------------------------------------

คนทั่วไป เรามักคิดว่า เรา “ศรัทธา” ในสิ่งที่เรา “เชื่อ” และมักมองว่า คนที่ต่างจากเรา พวกเขา “งมงาย” ซึ่งในทางกลับกัน คนอื่นก็อาจมองในลักษณะเดียวกัน
ยิ่งไปกว่านั้น บางคนอาจมองว่า “จะศรัทธา” หรือ “งมงาย”
“ก็งมงายทั้งคู่นั่นแหล่ะ” !!

ทำไมถึงเลือกคุยหัวข้อนี้หรือครับ?
อย่างน้อยที่สุด เพราะผมหวังให้เราได้มีโอกาส “ทบทวนตัวเอง”
เพื่อให้เกิดความมั่นใจในสิ่งที่ศรัทธามากยิ่งขึ้น หรือทำให้เกิดการพัฒนาตน
เพื่อให้ตอบได้อย่างจริงจังว่า “ที่ฉันเป็นอยู่ มันใช่แล้วจริงหรือ?” หรือว่า “ฉันกำลังหลอกตัวเองอยู่กันแน่?”

คำถามตามมา
ทำไมต้องศรัทธา?
ผมมองว่า ทั้ง “ความงมงาย” และ “ความศรัทธา” ล้วนมีจุดกำเนิดเดียวกัน ทั้งคู่เกิดมาจาก “ความหวัง” และ “ความกลัว”

ตราบที่มนุษย์ยังมี “ความหวัง” และ “ความกลัว”
“ความศรัทธา” และ “ความงมงาย” จะอยู่คู่มนุษย์ต่อไป

ไม่ว่าจะศรัทธาในศาสนาของตน ศรัทธาในความเชื่อของตน ศรัทธาในข้อเท็จจริง ศรัทธาในตัวบุคคล หรือ ศรัทธาในตัวเอง ...

แล้ว “ศรัทธา” กับ “งมงาย” ต่างกันตรงไหน?
คุยกันครั้งหน้าครับ
อิสลามเข้าใจง่าย
---------------------------------------------------------------------------

มุสลิมด้วยความเข้าใจ


อิสลามเข้าใจง่าย
ตอนที่ 6 เรา “ศรัทธา” หรือ “งมงาย”?
-------------------------------------------------------------------

สำหรับอิสลามแล้ว “การศรัทธา” และ “การงมงาย” นั้น “ต่างกัน” และให้ผลตามมาที่ “ต่างกัน”
...
“ต่อให้ภายนอก ดูเหมือนเป็นพฤติกรรมเดียวกันก็ตาม”

องค์ประกอบขั้นต่ำของการศรัทธา มี 3 ข้อ ดังนี้ครับ

ความรู้ที่ถูกต้อง ---> ความเชื่อมั่นในความรู้ที่ถูกต้องนั้น ---> การปฏิบัติที่สอดคล้องกับความรู้ที่อยู่บนความเชื่อมั่นนั้น

--------------------------------------------------------------------

ขาดข้อหนึ่งข้อใดไป จะกลายเป็น “งมงาย” และ “ผิดพลาด” ทันที
เช่น
อิบลีส = มีความรู้ที่ถูกต้อง ---> มีความเชื่อมั่นในความรู้ที่ถูกต้อง แต่ ไม่ปฏิบัติตาม
เขาจึงไม่ใช่ “ผู้ศรัทธา” ในมุมมองของอิสลาม

ผู้ปฏิเสธศรัทธา = มีความเชื่อมั่นในความรู้ที่ตนมี ---> ปฏิบัติ (หรืออาจไม่ปฏิบัติ) ตามความเชื่อของตน แต่ ทั้งหมดอยู่บนความรู้ที่ไม่ถูกต้อง เช่นกัน เขาจึงไม่ใช่ “ผู้ศรัทธา” ในมุมมองของอิสลาม

นั่นหมายความว่า จุดเริ่มต้นของการศรัทธา คือ การมีความรู้ที่ถูกต้อง ที่รู้จริงในระดับที่นำไปปฏิบัติได้ เป็นความรู้ที่เป็นเหตุเป็นผล ตรวจสอบได้ระดับหนึ่ง และต้องไม่ใช่ความรู้ที่เกิดจากการตามตัวบุคคล หรือ คำสอน เพียงอย่างเดียวโดยไม่ลืมหูลืมตา (ประเด็นนี้ต้องคุยกันยาว)
หลังจากนั้นจึงตามมาด้วย ความเชื่อมั่นต่อ “ความรู้” ดังกล่าว
และก่อให้เกิดเป็น “การปฏิบิติ” ที่สอดคล้อง กับ “ความรู้” ที่อยู่บน “ความเชื่อมั่น” ที่มีนั้น

---------------------------------------------------------------------------

อิบลีส “งมงาย” เพราะ “รู้” ดีกว่าใคร อีกทั้งยัง “เชื่อมั่น” กว่าใคร แต่เพราะการปฏิบัติที่สวนทางกับความรู้ ความเชื่อมั่นที่มี ทำให้ อิบลีส อยู่ในกลุ่มที่ชั่วร้ายที่สุด เพราะรู้ดีที่สุด แต่ยังสวนทาง

ศาสนิกชนส่วนหนึ่ง ที่มีความเชื่อมั่นในคำสอน ปฏิบัติตามคำสอนอย่างเคร่งครัด แต่ไม่ได้เข้าใจคำสอนของศาสนาของตนอย่างถ่องแท้ หรือ ความรู้ที่มีการสอน การถ่ายทอด เป็นข้อมูลที่ค้านกับสติปัญญาอย่างชัดเจน หรือ ถูกบิดเบือนตามยุคสมัย จนทำให้ทั้งความเชื่อมั่น และ การปฏิบัติ อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่ผิด ซึ่งทำให้พวกเขาถูกเรียกว่า “ผู้งมงายที่หลงผิด”

ในขณะที่ มุสลิมบางส่วน อาจจะหนักที่สุดในกลุ่ม คือ ไม่มีทั้งความรู้ที่ถูกต้อง ไม่ได้เข้าใจอะไรตามที่ควร ไม่มีความเชื่อมั่น และไม่ปฏิบัติตามแนวทางที่ควรจะเป็น ไม่สนใจความถูกต้อง
หรือ อาจ “รู้อย่างเดียว” แต่ไม่ทำ???

เพาะฉะนั้นการเป็น “มุสลิม” จึงไม่ได้หมายความว่า “เราถูกต้อง” แล้ว
เพราะตราบที่เรายังงมงายอยู่ เราก็ไม่สามารถอ้างตนว่าเป็น “ผู้ศรัทธา” ได้

---------------------------------------------------------------
“ผู้ที่ละหมาดโดยหวังให้อัลลอฮฺรัก” กับ
“ผู้ที่ละหมาดโดยที่ไม่รู้ว่าใครคืออัลลอฮฺ” หรือ “ไม่รู้ว่าละหมาดไปทำไม”
ผลตอบแทนที่ได้ ย่อม “ต่างกัน”
ต่อให้ทั้งคู่ละหมาดในแถวเดียวกัน หลังอิมามคนเดียวกันก็ตาม
...
... เรื่องอื่นๆ ก็เช่นกัน ...
---------------------------------------------------------------

ปล.
ความงมงายนั้น มีสาเหตุหลักๆ มาจาก “ความไม่รู้” หรือ “การดื้อดึง”
ซึ่งไม่ว่าจะมาจากเหตุใด “ความงมงาย” เป็นเหตุให้ชนชาวคัมภีร์ก่อนหน้าพวกเราหลายต่อหลายคนพบกับความหายนะมาแล้ว
และรู้ไหมครับว่า มุสลิมเรา ขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺให้พ้นจาก การเป็นผู้ที่งมงาย เราขอกันทุกวัน ในขณะที่ละหมาด เวลาอ่าน ซูเราะฮฺ อัลฟาติฮะฮฺ
นั่นยิ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเรื่องนี้

“ขอพระองค์โปรดนำทางเราสู่แนวทางที่เที่ยงตรง แนวทางของผู้ที่พระองค์โปรดปราน ไม่ใช่แนวทางของผู้ที่ถูกโกรธกริ้ว (ผู้ที่ดื้อดึง) และไม่ใช่แนวทางของผู้ที่หลงผิด (ผู้ที่ไม่รู้ว่าตนทำผิด)”
ซูเราะฮฺ อัลฟาติฮะฮฺ

-----------------------------------------------------------------------------------

แน่ใจไหมว่า “เราศรัทธา”? ไม่ใช่ “งมงาย”?
มุสลิมด้วยความเข้าใจ



Create Date : 31 ตุลาคม 2558
Last Update : 31 ตุลาคม 2558 23:08:52 น. 0 comments
Counter : 771 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

KPNA
 
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




[Add KPNA's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com