Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
มกราคม 2559
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
6 มกราคม 2559

Apollo 13 : ผ่าวิกฤตอวกาศ (1)



//i.telegraph.co.uk/multimedia/archive/01445/Saturn-IV_1445506i.jpg


ใครๆ ก็ต้องเคยดู Apollo 13 ผมเองก็ดูไปหลายรอบมาก
จนล่าสุดได้แผ่น blu-ray มาก็ต้องดูอีกครั้งให้คุ้มค่า
แต่คำถามสำคัญคือ ดูรู้เรื่องหรือเปล่า ตอบว่า ไม่น่าจะ
ผมว่าปัญหาสำคัญก็คือ การเรียกชื่อยานที่สุดแสนจะงงนี่ล่ะ

เรามาลองกันสักตั้ง ก็ยังไม่รู้ว่าจะไปรอดหรือเปล่านะบล็อกนี้

จุดเริ่มต้นของการส่งยานไปดวงจันทร์เกิดจากคำปราศรัยของ JFK
ที่ Rice University เมื่อวันที่ 12 September 1962 ว่า

We choose to go to the moon in this decade and do the other things,
not because they are easy, but because they are hard


เนื่องเพราะก่อนหน้าหลายปีสหภาพโซเวียตประสบความสำเร็จ
ในการส่งดาวเทียม sputnik และ มนุษย์อวกาศคนแรกของโลก
ดังนั้นอเมริกาจึงต้องตั้งธงที่ใหญ่กว่า นั่นก็คือ การส่งมนุษย์ไปดวงจันทร์
และหน่วยงานที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนในเรื่องนี้ก็คือ NASA

พวกเค้าอัดฉีดงบประมาณจำนวนมหาศาลลงไปการสร้างจรวดขับดัน Saturn V
ที่มีต้นแบบมาจากจรวด V2 จนในที่สุดก็สามารถทำให้มันเสถียรได้
จากโครงการอวกาศไร้คนขับ Gemini มาสู่โครงการ Apollo
จนในที่สุดพวกเค้าก็สามารถส่งมนุษย์ไปลงดวงจันทร์ด้วย Apollo 11



//www.history.com/s3static/video-thumbnails/AETN-History_Prod/73/445/History_Speeches_1118_John_F_Kennedy_Sets_Sights_Moon_still_624x352.jpg

ยาน Apollo ใช้มนุษย์อวกาศ 3 คน ยานประกอบไปด้วยสามส่วนคือ
Command module (CM) หรือยานบังคับการ มีชื่อรหัสว่า Odyssey
เป็นส่วนที่นักบินอวกาศใช้อยู่อาศัยตลอดเวลาตั้งแต่ออกจากโลกไป
มีส่วนสำหรับกลับสู่โลกที่เป็นรูปกรวยมีร่มชูชีพ และเกราะกันความร้อน

แม้จะคับแคบแต่เป็นที่ทำงานหลักสำหรับควบคุมภารกิจทั้งหมด
เมื่อปล่อย lunar module ลงไปยังพื้นผิวดวงจันทร์
ก็ยังมีนักบินอวกาศหนึ่งคนที่อยู่บนส่วนนี้ในวงโคจรของดวงจันทร์
เพื่อรอรับนักบินอวกาศทั้งสองคนกลับขึ้นมาจาก lunar module

Service module (SM) หรือยานบริการอันนี้ไม่ค่อยสับสนเท่าไหร่
แต่เป็นจุดเกิดเหตุเนื่องจากมีถัง ออกซิเจนและถังไฮโดรเจน
ที่เป็นส่วนประกอบของเซลล์เชื้อเพลิง และผลิตก๊าซสำหรับหายใจ
แต่ทั้งสองส่วนนี้เหมือนจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเดียวกัน

ไม่สามารถแยกออกจากันได้จนกว่าจะใกล้เวลากลับสู่โลก
จึงจะสลัด SM ทิ้งไป บางทีรวมเรียกว่า command service module (CSM)

Lunar module (LM) มีชื่อรหัสว่า Aquarius เป็นส่วนลงจอดในภารกิจ
สำรวจดวงจันทร์ ซึ่งดูเหมือนในหนังจะใช้ผิดเป็น เร็ม เลยงงกันไปใหญ่
นักบินจะอยู่ในส่วน CSM จนถึงเวลาสำรวจดวงจันทร์ จึงจะเข้าไปใน LM
ซึ่งออกซิเจนและแบตเตอรี่ในยานมีเพียงพอสำหรับ 2 คน ไม่เกิน 48 ชั่วโมง



//payload272.cargocollective.com/1/15/483665/7752722/Photo-by-John-Dominis_Time-Life-Pictures_Getty-Images.jpg

การส่งยาน Apollo จะเริ่มขึ้นเมื่อมีการนับถอยหลังเพื่อปล่อยยาน
- 0.08 วินาที เครื่องยนต์ท่อนแรก S-IC จะถูกจุดขึ้น
0.00 วินาที คำสั่งปล่อยยาน
0.03 วินาที แขนกลที่ยึดชิ้นส่วนทั้งหมดถูกปล่อย

13 วินาที ยานจะเริ่มหมุนตัวตามแรงบิดของจรวดขับดัน
31 วินาที ยานจะเริ่มหยุดหมุน
1 นาที 30 วินาที ยาน Apollo จะทะลุความเร็วเสียง
2 นาที 41 วินาที จรวดท่อนแรกถูกปิดและสลัดออก แรงโน้มถ่วง 3.94 g

2 นาที 43 วินาที จรวดท่อนที่สอง S-II 5ถูกจุด
7 นาที 40 วินาที จรวดท่อนที่สองถูกปิดและสลัดทิ้ง
9 นาที 9 วินาที จรวดท่อนที่สาม S-IVB ถูกจุด
11 นาที 39 วินาที จรวดท่อนที่สามถูกปิด

11 นาที 59 วินาที เริ่มกลับยานในแนวนอนเพื่อโคจรรอบโลก
2 ชม. 34 นาที จุดระเบิดจรวดท่อนที่สามอีกครั้งเพื่อเพิ่มความเร็ว
2 ชม. 50 นาที ออกจากวงโคจรของโลกเพื่อมุ่งหน้าไปยังดวงจันทร์
3 ชม. 15 นาที จะมีการกลับยานในอวกาศ ซึ่งหลายคนอาจจะงง



//www.ninfinger.org/karld/My%20Space%20Museum/a15csm.jpg

ต้องเข้าใจก่อนว่า ตอนขาขึ้นนั้นนักบินจะนั่งในส่วนกรวยแหลม
ที่เตรียมไว้สำหรับกลับสู่โลก ตำแหน่งของมันตั้งอยู่บนยอดของ CSM
หากเกิดความผิดพลาดในการจุดระเบิด ส่วนนี้จะถูกดีดออกมาได้
และส่วนที่บอบบางที่สุดคือ LM จะถูกซ่อนอยู่ในกระบอกใต้ส่วน CSM

หากเรียงลำดับจากล่างจะได้เป็น จรวดขับดัน > LM > CSM
เมื่อเข้าสู่ทิศทางที่จะมุ่งหน้าสู่ดวงจันทร์ อันตรายจากแรงต่างๆ ไม่มี
จะมีการกลับเอาส่วนที่จะใช้ลงจอดบนดวงจันทร์ออกมาเพื่อเตรียมใช้งาน
ดังนั้นการเรียงจะเปลี่ยนเป็น จรวดท่อนที่สาม > CSM > LM

ในหนังจะเห็นเหมือนยานอวกาศ ดันยานรูปแมงมุมไปข้างหน้านั่นเอง
หลังจากนี้ก็ไม่มีอะไร ยานจะใช้เวลาราว 2 วัน ไปจนถึงวงโคจรดวงจันทร์

3 วัน 8 ชั่วโมง จุดระเบิดท่อนที่สามเพื่อเตรียมยานเข้าสู่วงโคจรของดวงจันทร์
3 วัน 11 ชั่วโมง 20 นาที ผู้บังคับการและผู้บังคับยานเข้าไปเตรียมพร้อมใน LM
4 วัน 4 ชั่วโมง 12 นาที ปลดยาน LM ออกจาก CSM ลงสู่พื้นดวงจันทร์



//www.nasa.gov/sites/default/files/images/260722main_KSC-69P-0558_full.jpg

ซึ่งความจริงในสมัยนั้นก็มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการบังคับยานแล้ว
โดยอาศัยการยิงคลื่นวิทยุไปยังพื้นเพื่อหาระยะทางในการปรับแรงขับจรวด
แต่ว่ากันว่ามันฉลาดน้อยกว่า microchip ในเครื่องคิดเลขปัจจุบันเสียอีก
ดังนั้นในความเป็นจริงนักบินก็ยังเป็นคนตัดสินใจในการบังคับยานอยู่ดี

หาก Apollo 13 ทำภารกิจสำเร็จ คนที่จะลงไปเดินบนผิวดวงจันทร์คนแรกคือ
ผู้บังคับยาน Jim Lowel ตามมาด้วยนักบินยาน LM คือ Fred Haise
นักบินคนที่สามหรือ Jack Swigert จะเป็นผู้ขับ CSM รออยู่ในวงโคจร

4 วัน 6 ชั่วโมง 45 นาที การลงจอดบนดวงจันทร์สมบูรณ์
4 วัน 18 ชั่วโมง เริ่มขบวนการกลับเข้าสู่วงโคจรของดวงจันทร์
5 วัน 4 ชั่วโมง ยาน LM เชื่อมกับ CSM ในวงโคจร
5 วัน 7 ชั่วโมง สลัดยาน LM ทิ้งไป

8 วัน 2 ชั่วโมง 49 นาที CSM เข้าสู่ขบวนการแยก CM ออกจาก SM
8 วัน 3 ชั่วโมง 3 นาที เข้าสูกระบวนการกลับเข้าสู่โลก
8 วัน 3 ชั่วโมง 12 นาที ยิงร่มชูชีพ
8 วัน 3 ชั่วโมง 49 นาที เจ้าหน้าที่กู้ภัยเปิดฝายาน นำนักบินออกมาก

นั่นเป็นเหตุการณ์ในโครงการ Apollo 11 เพื่อเป็นแนวทางให้เห็นภาพ
แต่เรื่องราวทั้งหมดไม่ได้เกิดขึ้น เพราะ Apollo 13 เกิดอุบัติเหตุเสียก่อน



Create Date : 06 มกราคม 2559
Last Update : 6 มกราคม 2559 16:23:20 น. 5 comments
Counter : 1117 Pageviews.  

 
ดีจัง ได้อ่านแบบละเอียดๆ เลยค่ะ

เอ..อันนั้นน่าจะเป็นอันเดอร์วอเตอร์เวิลด์อันเก่ามั้งคะ

อันนี้เค้าทำใหม่นะคะ เพิ่งเปิดสัก 3 ปีได้ค่ะ


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 6 มกราคม 2559 เวลา:16:46:36 น.  

 
ได้ดูหนังและก็ลุ้นไปกับเขาค่ะ
+


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 6 มกราคม 2559 เวลา:21:54:26 น.  

 
สวัสดีอีกรอบค่ะ มาตอบที่ไปถามนะคะ

พื้นที่พอๆ กันค่ะ แต่ที่แตกต่างคือ สำหรับเราเราชอบยูนิเวอร์แซลมากกว่าตรงเครื่องเล่นค่ะ เราว่ามีเครื่องเล่นที่สนุกตื่นเต้นเยอะกว่ามากกกกกกกกก

ถ้าชอบเครื่องเล่น น่าจะแฮปปี้กับยูนิเวอร์แซลมากกว่านะคะ


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 7 มกราคม 2559 เวลา:14:08:38 น.  

 
ถ้าดูเอาเป็นความรู้ด้วย บันเทิงแบบรู้เรื่องด้วย คงต้องดูหลาย ๆ รอบ แน่เลยค่ะ


บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
sirivinit Hobby Blog ดู Blog
ไวน์กับสายน้ำ Diarist ดู Blog
PZOBRIAN Book Blog ดู Blog
lovereason Craft Blog ดู Blog
ผู้ชายในสายลมหนาว Movie Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


** ได้เห็นข่าวจากเพจว่าไหว้พระวังหน้า เริ่ม 25 ธันวา - 24 มกรา กะว่าอยากไปก่อนปีใหม่ ไม่ทันค่ะ ไม่มีเวลาเลย แต่ไปแน่ค่ะ ตั้งใจจะไปทุกปี

พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ที่จัดแสดงใหม่ ได้เห็นเหมือนกันค่ะ ไว้ไปรอบเดียวกันเลยค่ะ


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 7 มกราคม 2559 เวลา:20:17:30 น.  

 
ผู้ชายในสายลมหนาว Movie Blog ดู Blog


โดย: newyorknurse วันที่: 8 มกราคม 2559 เวลา:15:01:30 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]