Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2552
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
3 มิถุนายน 2552
 
All Blogs
 

วิกฤติ supprime กระทบไปทั่วโลก รวมทั้งไทย

S&P ชี้ วิกฤต Subprime ถึงจุดสูงสุดปี 2552 เสียหายกว่า 5 ล้านล้านบาทต่อการค้าและการลงทุนทั่วโลก
บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำระดับโลกจากสหรัฐ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ เปิดเผยว่า วิกฤตสินเชื่อด้อยคุณภาพ หรือสินเชื่อ Subprime ในสหรัฐ จะยังไม่ถึงจุดสูงสุด จนกระทั่งในปี 2009 หรือปี 2552 ด้วยมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากวิกฤติดังกล่าว อาจพุ่งขึ้นไปถึง 1.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 5.25 ล้านล้านบาท ต่อการค้าและการลงทุนทั่วโลก นอกจากนี้ ภาวะอสังหาริมทรัพย์ที่ตกต่ำมากที่สุดใสรอบ 16 ปีของสหรัฐจะยังคงอยู่ต่อไป ถึงแม้ว่าจะมีสัญญาณบางอย่างที่ดีขึ้นบ้าง และยังเชื่อว่าภาวะดังกล่าวจะถึงจุดต่ำสุดในช่วงปลายฤดูหนาวนี้
//cryptogon.com/?p=1435

S&P: U.S. Subprime Crisis Will Not Peak Until 2009, “We Underestimated the Extent to Which Fraud Was Occurring in the Industry”
October 10th, 2007
Via: Reuters:
The U.S. Subprime housing crisis will not peak until 2009, rating agency Standard and Poor’s said on Tuesday, adding it had underestimated the extent of fraud in the industry.
S&P expected the world economy to grow 3.6 percent in 2007 and 3.5 percent in 2008, with emerging market economies driving growth. The U.S. economy would lag at 2 percent in both years, down from 2.9 percent in 2006.
Housing was the major weakness in the U.S. economy and the Subprime crisis — which roiled global markets in late July and August — was far from over, although its shock value was wearing off, David Wyss, S&P’s chief economist, said in Mumbai.
“We underestimated the extent to which fraud was occurring in the industry,” he said.
“It looks, based on some surveys that had been done, the extent of frauds increased sharply in 2006.”
S&P said the U.S. Federal Reserve had estimated that Subprime losses could reach $150 billion, and Wyss said that would feed through to unemployment and remain a brake on growth.
“We think in the United States the housing market is not going to bottom until winter. We think the losses in these sectors won’t really hit their peak until 2009,” Wyss said.

“We are not halfway through with this crisis yet.”

//www.moneychannel.co.th/Menu6/MorningBrief/tabid/104/newsid553/35464/Default.aspx





วิกฤตการณ์ Subprime และผลกระทบ
วิกฤตการณ์ Subprime เป็นวิกฤตการณ์ที่เกิดจากการที่สถาบันการเงินบางแห่งในประเทศสหรัฐอเมริกาปล่อยเงินกู้ให้กับผู้กู้ที่มีความเสี่ยง

ความหมายของสินเชื่อ Subprime

เป็นสินเชื่อที่ปล่อยกู้ให้กับผู้กู้ที่มีความน่าเชื่อถือต่ำ หรือเป็นบุคคลที่มีความสามารถในการชำระเงินต่ำกว่าวงเงินที่ควรจะได้รับ หรือต่ำกว่าระดับลูกค้าชั้นดี (ตามระบบ Credit Scoring) โดยมี อสังหาริมทรัพย์ เป็นหลักทรัพย์ ค้ำประกัน แต่เนื่องจากประวัติการเงินที่ไม่ดี มีโอกาสผิดนิดชำระหนี้สูงกว่าคนทั่วไป ทำให้ต้อง ชำระดอกเบี้ยสูงกว่าอัตรามาตรฐาน อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยของกลุ่มซับไพร์มยังต่ำกว่า ดอกเบี้ยบัตรเครดิตอยู่มาก เนื่องจากสินเชื่อซับไพร์มมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน หรือ เป็นผู้ที่ซื้อบ้านราคาถูก เป็นคนที่อยู่ในระดับใกล้เคียงกับกลุ่มที่มีรายได้ปานกลาง ซึ่งแต่ละคนก็จะมีวัตถุประสงค์ที่ต่างกันออกไป บางคนซื้อไปเพื่ออยู่อาศัยเอง บางคนซื้อเพื่อเป็นการลงทุน
ทั้งนี้เนื่องจากสถาบันการเงินได้คาดการณ์ว่า ตลาดบ้านจะ กลับมาคึกคักอีกครั้งในอนาคตและราคาอสังหาริมทรัพย์จะปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งสินทรัพย์ที่นำมาค้ำประกันในการกู้นั้น หากผู้กู้ผิดชำระหนี้ ก็สามารถยึดหลักทรัพย์นั้นนำมาขายทอดตลาด และขายได้ในราคาดีในอนาคต ดังนั้นจึงให้เงินกู้ แก่ลูกค้ากลุ่มนี้

ขนาดของตลาด Sub-prime ใน USA

ตลาดของ Sub prime นี้แบ่งเป็นสองลักษณะ คือ
- สินเชื่อที่เป็น Subprime ณ สิ้นปี 2006 Subprime ที่เป็น Mortgage มีจำนวน 1.67 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งคิดเป็นประมาณ 15% ของสินเชื่อที่อยู่อาศัยทั้งหมดซึ่งเท่ากับ 11.0 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
- หลักทรัพย์ที่มีหลักประกันโดยสินเชื่อ Subprime ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปของ Mortgage Backed Securities (MBS) โดย MBS ที่ออกใหม่ในปี 2006 มีจำนวน 1.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในจำนวนนี้มีสินเชื่อที่เป็น Subprime ค้ำประกันอยู่ประมาณ 27% หรือ 513 พันล้านเหรียญสหรัฐ
(ข้อมูลจาก : บทวิเคราะห์ของ บลจ. ไทยพาณิชย์)

จากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ การผ่อนชำระค่างวดที่ไม่สูงมาก ราคาบ้านที่กำลังสูงขึ้น ทำให้ยอดการกู้เงินไปซื้อที่อยู่อาศัยของลูกค้ากลุ่ม Sub-prime เพิ่มสูงขึ้นมาก จำนวนลูกค้ามีมากขึ้นเป็นลำดับ ทำให้ฐานลูกค้าที่คุณภาพต่ำกว่าเกณฑ์เพิ่มขึ้น ต่อมาธนาคารกลาง (Fed Fund Bank) ได้ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น ส่งผลคือค่างวดที่ผ่อนชำระสูงขึ้น ทำให้มีการผิดนัดชำระหนี้ของลูกหนี้ Sub-prime เพิ่มสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว การผิดนัดชำระหนี้ส่งผลกระทบไปยังมูลค่าของตราสารหลายประเภท เช่น MBS CBO ABS ซึ่งทั้งหมดนี้มีเงินกู้เหล่านี้เป็นหลักประกัน

ผลกระทบไปทั่วโลก

เนื่องจาก ธนาคารพาณิชย์ของสหรัฐฯ มีการออกตราสารหนี้ที่เรียกว่า Collateral Debt Obligation (CDO) โดยนำสินเชื่อ Subprime เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน เมื่อราคาอสังหาริมทรัพย์ลดลง มีผลให้มูลค่าของ CDO ลดลงตามไปด้วย และมีผลกระทบต่อเนื่องไปถึงผู้ที่ลงทุนใน CDO ซึ่งมีอยู่ทั่วโลก โดยเฉพาะ สถาบันการเงินของยุโรป ที่มีการลงทุนในสหรัฐอเมริกา และสถาบันการเงินในสหรัฐอเมริกาที่เข้าไปลงทุนในยุโรป
ความรุนแรงของปัญหาซับไพร์มส่งผ่านทางด้านสถาบันการเงินที่ลงทุนในตราสารCDO ที่มีซับไพร์มหนุนหลังอยู่ ทั้งนี้ สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ในสหรัฐอเมริกา, ยุโรป และญี่ปุ่นต่าง ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ถ้วนหน้า ทำให้หลายสถาบันการเงินจำเป็นต้องเพิ่มทุนเพื่อบรรเทาผลขาดทุนที่เกิดขึ้น และบางสถาบันการเงินจำเป็นต้องปิดตัวลง เพราะไม่สามารถจัดการกับภาวะขาดทุนได้ โดยผลกระทบดังกล่าวต่อเนื่องไปยังตลาดเงินทั่วโลก จนก่อให้เกิด ภาวะตรึงตัวของเครดิต (Credit Crunch) ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อภาคธุรกิจ, สินเชื่อส่วน บุคคล และสินเชื่ออื่นๆ เนื่องจากธนาคารชาติของแต่ละประเทศต่างวิตกกังวล และเกรงว่า ปัญหาซับไพร์มจะรุกลามถึงประเทศของตนเอง ทำให้ใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้น ส่งผลทำให้การขยายตัวของสินเชื่อแต่ละประเทศชะลอตัวลง เมื่อสินเชื่อชะลอตัวก็ส่งผลทำให้การ
ขยายตัวทางเศรษฐกิจชะลอตัวลง เป็นผลทำให้เศรษฐกิจโลกโดยภาพรวมชะลอตัวลงตามไป
ด้วย
อย่างไรก็ตาม ปัญหาซับไพร์มยังจำกัดอยู่แค่กลุ่มประเทศที่มีวิวัฒนาการทางการเงินสูง อย่างเช่น สหรัฐอเมริกา, ยุโรป, ญี่ปุ่น, สิงคโปร์ ฯลฯ แต่สำหรับประเทศกำลังพัฒนาและเกิด ใหม่ เช่น จีน, อินเดีย, ตะวันออกกลาง, แอฟริกา และอาเซียน ยังได้รับผลกระทบต่ำ เนื่องจาก มีการลงทุนในตราสาร CDO มีสินเชื่อซับไพร์มหนุนหลังอยู่ในระดับต่ำ

นอกจากนี้ภาคอุตสาหกรรมการผลิต การส่งออกของสองทวีป ยังมีมูลค่าแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในโลก จะได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อที่ลดลงของ สหรัฐอเมริกา และผลกระทบ
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
(MBS CBO ABS CDO : ความหมาย รายละเอียด ดูภาคผนวก)

จากการขาดทุนในการลงทุนของ สถาบันการเงินยุโรปที่เข้าไปลงทุนกับตราสารทางการเงินในสหรัฐอเมริกาอย่างรุนแรงเช่นที่สถาบันของสหรัฐอเมริกาประสบ

ผลกระทบต่อทวีปเอเชีย
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การส่งออกหดตัวลงอย่างต่อเนื่องนี้เป็นผลมาจากสภาวการณ์ เศรษฐกิจในหลายภูมิภาคทั่วโลกที่อ่อนแอลง ในภูมิภาคเอเชียก็เช่นกัน ที่การส่งออกหดตัวลงอย่างชัดเจนนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถ้าพิจารณาจาก ตัวเลขเฉลี่ยในไตรมาสสุดท้ายของปี 2551
(ดูตารางในภาคผนวก)
จะพบว่ากลุ่มประเทศที่ได้รับผลกระทบรุนแรง เป็นกลุ่มที่พึ่งพา การส่งออกสินค้าเทคโนโลยีโดยเฉพาะอิเล็กทรอนิกส์ ์ ซึ่งประเทศที่มีการส่งออกลดลงรุนแรงที่สุด ได้แก่ ไต้หวัน รองลงมาคือสิงคโปร์ ์ฟิลิปปินส ์มาเลเซีย อินเดีย เกาหลีใต้ ไทย และญี่ปุ่น ขณะที่กลุ่มประเทศที่ ค่อนข้างพึ่งพาสินค้าที่ใช้แรงงานในสัดส่วนข้างมาก เช่น จีน เวียดนาม และอินโดนีเซีย ได้รับผลกระทบน้อยกว่า นอกจากนี้ หากมองในแง่ที่ว่า การลดลงของการส่งออกของไทยส่วนหนึ่งเป็นผลกระทบจากเหตุการณ์ ปิดท่าอากาศยานด้วยแล้ว อาจกล่าวได้ว่าไทยยังได้รับผลกระทบน้อยกว่าหลายประเทศที่มีโครงสร้างการส่งออก ที่พึ่งพาสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สูง ขณะที่โครงสร้างการส่งออกของไทยมีการกระจายตัวไปในกลุ่มสินค้าที่หลากหลายกว่า โดยเฉพาะทางด้านอาหาร และสินค้าเกษตร

เอเชีย จะกระทบโดยตรงกับประเทศคู่ค้าที่สำคัญกับสหรัฐอเมริกาและยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีนและญี่ปุ่น ที่มีตลาดส่งออกสำคัญคือสหรัฐอเมริกา ด้วยกำลังอุปสงค์ที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จะทำให้ จีนและญี่ปุ่น ไม่อาจทำรายได้จากการส่งออกได้มากดังเช่นอดีต อีกต่อไป ทั้งนี้อินเดียมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่มีประชากรมาก มีการพึ่งพิงตนเองสูง จะได้รับผลกระทบน้อยมาก นอกจากนี้ประเทศในแถบเอเชียตะวันตก ที่มีมูลค่าการค้ากับสหรัฐน้อย เช่น อิหร่าน เปอร์เซีย หรือ กลุ่มประเทศผลิตน้ำมันในตะวันออกกลางที่มีรายได้หลักจากน้ำมันดิบ จะได้รับผลกระทบน้อย
ในภูมิภาคอาเซียนอาจได้รับผลกระทบโดยตรงไม่มากในระยะแรก ประกอบกับแรงบีบทางด้านราคาน้ำมันลดลงมาก ประกอบกับการมีการค้าภายในกลุ่มอาเซียนด้วยกันเอง ในสัดส่วนถึง 30 % แม้ทำให้มูลค่าการส่งออกลดลงและกระทบในปี 2551 บ้าง อย่างไรก็ตามเนื่องจากภาวะถดถอยนี้ยังไม่สิ้นสุดลง ภาวการณ์นี้จะยังคงส่งผลต่อเนื่องไปในปี 2552 อีก จะทำให้มีผลกระทบมายังภูมิภาคอาเซียนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นี่นับเป็นวิกฤตการที่รุนแรงที่สุดนับแต่วิกฤตการต้มยำกุ้ง ในปี 2540 เป็นต้นมา

ผลกระทบที่คาดว่ามีต่อประเทศไทย

ผลกระทบที่มีต่อประเทศไทย ในลำดับแรกเป็นผลกระทบทางอ้อม เริ่มที่ตลาดหุ้นจากการที่ชาวต่างชาติ เมื่อเกิด capital lost จากการถือหุ้นในตลาดหุ้นไทย อาจเทขายหุ้นที่ถือ ทำให้หุ้น ของบริษัทต่าง ๆ ที่มีต่างชาติถือเป็นจำนวนมาก บริษัทใดที่ต่างชาติมีหุ้นถืออยู่เป็นจำนวนมาก หากเกิด shock ด้านลบขึ้น หุ้นของบริษัทนั้นเวลาตกทีหนึ่งก็ตกลงอย่างรวดเร็ว เช่น บ้านปู ปตท. เป็นต้น
ดังเช่นข่าวด้านลบ กรณี ธนาคารแห่งประเทศไทยออกนโยบายกันทุนสำรอง 30 เปอร์เซ็นต์ ต่อมาในวันรุ่งขึ้น เมื่อตลาดเปิด Set index ลดลงไปเกินร้อยจุดในทันที เป็นผลมาจากนโยบายกันทุนสำรองนี้ ผลกระทบจาก Subprime อาจไม่ส่งมากระทบทางตรงอย่างรุนแรง ในเวลาระยะแรก เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยมีการค้าขายกับประเทศในเขตภูมิภาคเพิ่มขึ้น ในขณะที่การค้าขายกับประเทศสหรัฐอเมริกาลดลง สำหรับสถาบันการเงินในประเทศไทยนั้นมีการลงทุนใน CDO ไม่มาก จึงได้รับผลกระทบจากการลดลงของมูลค่า CDO น้อย
จากรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทยพบว่า ธนาคารในประเทศไทย มีการลงทุนใน CDO จำนวน 715 ล้านUSD โดยธนาคารพาณิชย์ 4 แห่งที่มีการลงทุนใน CDO จำนวนมากได้แก่ ธนาคารไทยธนาคารมีการลงทุนใน CDO สูงสุดจำนวน 425 ล้านUSD หรือคิดเป็น 6.4% ของสินทรัพย์ทั้งหมด รองลงมาคือ ธนาคารกรุงเทพ (0.1%) ธนาคารกรุงไทย (0.4%) และธนาคารกรุงศรีอยุธยา (0.4) * โดย ธปท.คาดว่าใน ตราสาร CDO เหล่านั้น ที่มีส่วนที่หนุนหลังโดยสินทรัพย์ประเภท Subprime เพียงประมาณร้อย ละ 0.1 ของสินทรัพย์รวมของสถาบันการเงินทั้ง 4 แห่ง จากข้อมูลดังกล่าว ดังนั้นสถาบัน การเงินของไทยจะได้รับผลกระทบจากปัญหาซับไพร์มอยู่ในระดับต่ำ
ในลำดับต่อมา ด้านการส่งออก ประเทศไทยมีระบบเศรษฐกิจเปิดขนาดเล็กที่พึ่งพาการส่งออกและบริการคิดเป็นร้อยละ 70 ของ GDP ดังนั้น ปัญหาซับไพร์มย่อมส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจไทยอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ ปัญหา Sub-prime ส่งผลให้การบริโภคในประเทศสหรัฐอเมริกาลดลง จึงอาจส่งผลกระทบต่อมายังการส่งออกสินค้าของไทยไปยังสหรัฐ แม้ว่าสัดส่วนการส่งออกของไทยไปยังสหรัฐจะมีสัดส่วนลดลงเมื่อเทียบกับยอดการส่งออกรวม แต่ก็ยังอาจส่งผลกระทบต่อประเทศไทย หากสหรัฐนำเข้าจากสินค้าประเทศไทยลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
* ข่าวธนาคารแห่งประเทศไทย: //www.bot.or.th/Thai/FinancialInstitutions/Documents/n4251t.pdf
และยอดการส่งออกของไทยที่ลดลง จะมีผลกระทบโดยตรงต่อ GDP ของไทย
แม้ว่าสถาบันการเงินของไทยจะได้รับผลกระทบจากปัญหาซับไพร์มอยู่ในระดับต่ำ แต่ จากการที่ประเทศไทยเป็นระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพิงการส่งออกสูง และพึ่งพิงตลาดสหรัฐอเมริกา ร้อยละ 12.61 การชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐย่อมส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจไทยอย่าง หลีกเลี่ยงมิได้ โดยผลกระทบของปัญหาซับไพร์มต่อเศรษฐกิจไทยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้

- ผลกระทบทางตรงคือ

ทำให้การส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาชะลอตัวและมีความเป็นไปได้ที่จะหดตัวใน 1-2 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ หากปัญหาสินเชื่อซับไพร์มยืดเยื้อและสหรัฐอเมริกา ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ภายในระยะเวลาอันสั้น จะส่งผลทำให้เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาชะลอตัว ซึ่งจะส่งผลให้กำลังซื้อภายในประเทศลดลง ซึ่งจะกระทบต่อการส่งออกของเศรษฐกิจไทย

ปัญหาซับไพร์มได้เริ่มส่งผลกระทบต่อการส่งออกของเศรษฐกิจไทยบ้างแล้ว โดยในปี 2550 การส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาหดตัวร้อยละ -1.20 จากเทียบกับ 2549 ที่ขยายตัวร้อยละ 14.43 นับเป็น การหดตัวครั้งแรกในรอบ 5 ปีนับจากปี 2544 ที่หดตัวร้อยละ -11.23 สำหรับการขยายตัวปี 2551 คาดว่าการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกามีความเป็นไปได้ที่จะชะลอตัวตามภาวการณ์ ชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา * โดยสินค้าที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบมากได้แก่ เสื้อผ้า สำเร็จรูป กุ้งสดแช่เย็นและแช่แข็ง อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เนื่องจากมีสัดส่วนการ พึ่งพิงตลาดสหรัฐอเมริกาสูง
ผลกระทบทางตรงอีกด้าน คือ กลุ่มนักท่องเทียวและนักลงทุนจาก ยุโรปและสหรัฐอเมริกา จะขาดกำลังเงินที่จะเข้ามาท่องเทียวหรือลงทุนในไทย จะส่งผลให้รายได้ และกระแสเงินจากสองแหล่งนี้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นไทยจะต้องหาตลาดด้านการท่องเที่ยวไปยังนักท่องเที่ยวจาก แหล่งอื่น เช่นรัสเซีย ยุโป ตะวันออกและจีน ที่ได้รับผลกระทบกับวิกฤตการครั้งนี้น้อย
ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมในเพื่อการผลิตเพื่อส่งออก ในช่วงนี้ ไม่เหมาะแก่การลงทุน ยกเว้นการลงทุนในส่วนของการวิจัยและพัฒนาในองค์กรธุรกิจเองเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตหรือการบริหาร เป็นรอการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอีกครั้งหนึ่ง
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
* ศูนย์วิจัยกสิกรไทย : //www.kasikornresearch.com/portal/site/KResearch/rsh_d/?mode
=LoadResearch&id=18878&cid=3
- ผลกระทบทางอ้อมคือ

ปัญหาสินเชื่อซับไพร์มจะรุกลามและกระทบต่อการส่งออก ของทุกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มประเทศขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นตลาดหลักของประเทศไทย เช่น จีน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป การที่เศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัว จะทำให้เกิดปรากฎการณ์การ ชะลอตัวทางเศรษฐกิจเป็นลูกโซ่ (Global Supply Chain) ทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวตามไป ด้วย ดังนั้น ตลาดหลักที่ไทยเคยส่งออกได้ในอดีต แต่ในอีก 1-2 ปีข้างหน้าคงยากลำบากมากขึ้น เพราะเศรษฐกิจ ของประเทศเหล่านี้มีแนวโน้มชะลอตัวตามเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา
อย่างไรก็ตาม ในอีก 1-2 ปีข้างหน้า เศรษฐกิจเอเชียจะมีบทบาทสำคัญมากยิ่งขึ้น และจะเป็นเครื่อง จักรหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกในระยะต่อไป โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีน และอินเดีย ที่มีความ ต้องการภายในประเทศสูง การที่ตลาดหลักอย่างสหรัฐอมริกาชะลอตัว ทุกประเทศต่าง มองไปยังตลาดประเทศกำลังพัฒนา และกลุ่มประเทศเกิดใหม่ ซึ่งได้แก่ จีน อินเดีย กลุ่ม ประเทศอาเซียน ตะวันออกกลาง รัสเซีย และแอฟริ กา แม้ว่ากลุ่มประเทศเหล่านี้ จะมีกำลังซื้อ ที่น้อยกว่าสหรัฐอเมริกา แต่จากปริมาณความต้องการที่มาก คาดว่าจะช่วยชดเชยความ ต้องการของโลกที่ตกต่ำได้ในอีก 1-2 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ ถือเป็นโอกาสดีสำหรับการพัฒนาของ กลุ่มประเทศเหล่านี้ เนื่องจากได้รับความสนใจจากประชาคมโลกมากขึ้น

ผลกระทบต่อค่าเงินบาท
ผลกระทบจากการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่มีการลดอัตราดอกเบี้ยในประเทศลงมาก ซึ่งอาจจะทำให้มีเงินไหลเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น ทำให้ความต้องการเงินสหรัฐ และอุปสงค์ในสินทรัพย์ที่อยู่ในสกุลเงิน USD ลดลง ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยของสองประเทศที่มากขึ้น จะผลักดันให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น
จากสภาพการณ์ดังกล่าว เศรษฐกิจไทยจึงได้รับผลกระทบอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีความเชื่อมโยงและต้องพึ่งพาทางด้านการค้าและการลงทุนกับสหรัฐฯ ตลอดจนประเทศในภูมิภาคเอเชีย ในปี 2009 ภาคการส่งออก ภาคการท่องเที่ยวและบริการ ตลอดจนตลาดทุนของไทย อาจจะประสบกับภาวะซบเซาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจลดลง ในขณะที่อัตราการว่างงานสูงขึ้น ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยจึงต้องหาแนวทางและมาตรการในการป้องกันและแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจที่กำลังจะทวีความรุนแรง




ผลกระทบต่อชุมชน
ด้านผลกระทบต่อชุมชน จากภาวการณ์เศรษฐกิจถดถอย ในครั้งนี้ จะส่งผลกระทบอย่างมมาก ต่อชุมเมือง ที่จะมีการว่างงานในปีใหม่นี้ ถึง 2 ล้านคน และจะมีผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือต่ำกว่า ออกมาสู่ตลาดแรงงานในปี 2552 นี้อีกประมาณ 6.7 แสนคน อาจทำให้เกิดปัญหาสังคมตามมา เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องออกมาตรการอย่างเร่งด่วนมารองรับปัญหานี้ เนื่องจากคนในสังคมเมืองต้องใช้เงินเป็นค่ารงค์ชีพตลอดเวลา
อย่างไรก็ตามในชุมชนชนบท ที่พึ่งพิงตนเองได้ในระดับหนึ่ง จากการเป็นสังคมเกษตรทำให้ได้รับผลกระทบไม่มาก ตราบเท่าที่ไม่เกิดภาวะแห้งแล้งเพาะปลูกไม่ได้ คนในชนบท ยังมีหลักประกันด้านอาหารจากผลผลิตทางเกษตรอยู่ ทำให้ชาวชนบทสามารถดำรงชีพอยู่ได้แม้ไม่มีเงิน ขณะที่ชุมชนในเมือง จะดำรงค์ชีพกันอย่างยากลำบาก
การสร้างงานในชนบท การใช้นโยบายเลียนแบบประชานิยมภายใต้การควบคุมที่ดีพอ จะช่วยให้ชุมชนในชนบท มีเม็ดเงินไหลเข้ามามากและเกิดการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องจากรากหญ้า ขึ้นไปเป็นชั้นๆ เมื่อมีการแลกเปลี่ยนปัจจัยทางเศรษฐกิจต่อกันระหว่างชุมชนด้วยกัน และระหว่างชุมชนกับเขตเมือง ไปถึงระดับอำเภอ จังหวัด และประเทศเป็นลำดับในเวลาต่อมา วิธีนี้จะช่วยผลักดันให้เครื่องจักรทางเศรษฐกิจหมุนเวียนไปได้ โดยมีผลตรงไปยังประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ

แนวทางการเตรียมรับมือกับปัญหาซับไพร์ม

1. ประเทศไทยควรเน้นพึ่งพาตลาดภายในประเทศมากขึ้น ขณะเดียวกันจะต้องพัฒนาการผลิตในทุกด้านให้มีคุณภาพ และประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้ม ชะลอตัวจากปัญหาซับไพร์ม ของสหรัฐอเมริกา การพึ่งพิงตลาดภายในประเทศจะช่วย ชดเชยผลกระทบจากการชะลอการส่งออกได้ อย่างน้อยก็ในระดับหนึ่ง
2. ประเทศไทยควรมุ่งเน้นหาตลาดต่างประเทศใหม่ๆ และควรมีการกระจายตลาดส่งออกมาก ขึ้น โดยควรมุ่งเน้นส่งออกไปยังกลุ่มประเทศที่เกิดใหม่ที่เรายังไม่เคยมีตลาดมาก่อน เช่น ตะวันออกกลาง แอฟริกา รัสเซีย รวมทั้งกลุ่มประเทศที่เราเปิดการค้าเสรีด้วยไม่ว่าจะเป็น อินเดีย ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และอาเซียน
3. สำหรับผู้ประกอบการที่มีภาคการส่งออกควรมีการติดตามค่าเงินอย่างใกล้ชิด และควรทำประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินล่วงหน้า เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากความผัน ผวนของค่าเงิน เนื่องจากความไม่สมดุลของระบบการเงินโลก จะทำให้ตลาดเงินทั่วโลกเกิด ความปั่นป่วน การป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนจึงมีความสำคัญต่อผู้ส่งออกอย่าง มาก
4. ในส่วนของภาครัฐต้องเร่งกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศให้เร่งด่วนและมีประสิทธิภาพที่สุดเท่าที่จะทำได้ ด้วยขณะนี้ ได้รู้แล้วว่า ไฟไหม้ต้องไม่เสียดายน้ำ ดังนั้นจะต้องรีบใช้น้ำเข้ามาให้เร็วและมากพอที่จะดับได้ ควรใช้ทั้งมาตรการการเงินการคลังควบคู่กันไป ทั้งการลดภาษี หรือการลดหย่อนภาษีบางประเภทเช่นภาษีหรือค่าธรรมเนียม การโอนซื้อขายที่ดิน เพิ่มเพดานรายได้สำรับผู้เสียภาษีบุคคลธรรมดา การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ และการเพิ่มงบประมาณกลางปี จะเป็นการเพิ่มเม็ดเงินในระบบที่ขาดหายไปได้มาก นอกจากนี้นโยบายทางด้านการเงินคือ การลดเพดานดอกเบี้ยเงินฝากลง การส่งเสริมกิจกรรมในตลาดหลักทรัพย์ การยกเลิกการกันทุนสำรอง 30 เปอร์เซ็นต์ของชาวต่างชาติ จะช่วยให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจได้อีกทางหนึ่ง
กล่าวโดยสรุป ปัญหาสินเชื่อซับไพร์ม (Subprime) มิได้ต่างอะไรจาก วิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งของประเทศไทยที่ประชาชนใช้จ่ายอย่างเกินตัว กู้หนี้ยืมสินมาบริโภค และเก็งกำไร อสังหาริมทรัพย์จนเกิดฟองสบู่แตก (Bubble ) ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบวิกฤตซับไพร์มกับวิกฤต ต้มยำกุ้งของประเทศไทย อาจเรียกวิกฤตซับไพร์มของสหรัฐอเมริกาครั้งนี้ว่า “วิกฤตการณ์ เศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์หรือ Hamburgers Crisis” ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดกับประเทศมหาอำนาจ อย่างเช่นสหรัฐอเมริกา ผลกระทบของวิกฤตินี้ไม่ได้กระทบต่อ เศรษฐกิจเฉพาะในภูมิภาคเท่านั้น หากแต่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก และกระทบต่อไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
กรณีนี้นับเป็นอุทาหรณ์เตือนประชาคมโลกว่า แม้แต่สหรัฐอเมริกาประเทศยิ่งใหญ่มีจีดีพี ร้อยละ 25.85 ของจีดีพีโลก การไม่รู้จักประมาณตน การขาดความระมัดระวังในการใช้จ่ายตามกำลังของตนนั้น จะทำให้เศรษฐกิจล้มลงได้ หากเราเข้าใจตัวเองอย่างถ่องแท้ บริโภคให้ พอประมาณ ไม่สร้างหนี้เพื่อการใช้จ่าย อย่างเกินตัว ประเทศไทยจะไม่กลับไปสู่วิกฤตการณ์เศรษฐกิจต้มยำกุ้ง หรือHamburgers Crisis ดังที่ไทยเคยประสบในปี 2540 และวิกฤตที่สหรัฐอเมริกากำลังประสบ อยู่ในปัจจุบันอย่างแน่นอน




 

Create Date : 03 มิถุนายน 2552
2 comments
Last Update : 3 มิถุนายน 2552 3:48:43 น.
Counter : 2654 Pageviews.

 

แวะมาทักทายค่ะ

 

โดย: CrackyDong 3 มิถุนายน 2552 4:27:21 น.  

 

สวัสดีค่ะน้าพร ^/|\\^


น้าพรเป็นอาจารย์หรอคะ มีสอนในบล็อคด้วย?


อยากให้น้าพรมาแนะการบ้านให้มั่งจัง

 

โดย: iCeLadyzInW 15 มิถุนายน 2552 19:05:34 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


น้าพร
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 81 คน [?]




Friends' blogs
[Add น้าพร's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.