ทำบุญที่วัด พุทธปัญญา

วันอาสาฬหบูชา ไปทำบุญที่วัดพุทธปัญญา ผมได้เตรียม อาหารและสบง ไปถวายด้วยครับ ออกจากบ้านประมาณ เจ็ดโมงครึ่ง ใช้เวลาเดินทางไม่ถึง 15 นาทีจากบ้านผมครับ ก็มาถึงวัด (ตอนนี้ซุ้มประตูวัดกำลังสร้างอยู่)




มาถึงรู้สึกดีใจมากเลยครับ เห็นคนมาทำบุญแน่นวัด เก้าอี้เสริมมานอกศาลา วันนั้นคนแน่นจริงๆครับ




ไปถึงครอบครัวผมก็นำอาหารไปตักใส่จาน ที่ทางวัดได้จัดเตรียมไว้ให้ (อาหารที่คนมาทำบุญเยอะมากเลยครับ)




หลังจากนำอาหารไปตักใส่จานเพื่อถวายอาหารเสร็จแล้ว ก็มานั่งฟัง พระศรีธวัช อนิวตฺติโก ป. เจ้าอาวาสเทศน์คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า




พอท่านเทศนาจบ ก็สวดพระธรรมให้ศิลให้พร หลังจากนั้นอุบาสก อุบาสิกา ก็สวดต่อครับ




พอเสร็จพิธี พระก็จะลงไปตักอาหารที่พุทธชนนำอาหารไปถวาย เพื่อนำมาฉันมื้อเช้าครับ




หลังจากพระฉันเสร็จก็เป็นอันเสร็จพิธี ก่อนกลับบ้านผมแอบถ่ายน้องที่มาทำบุญด้วยครับ มากับคุณน้า น่ารักดี ยกมือไหว้ตลอดเลยครับ




คนโตเป็นพี่ครับ ดูแลน้องตลอดเลย น่ารักทั้งพี่ทั้งน้อง




ขอแบ่งบุญให้กับทุกท่านครับ



ประวัติวัดพุทธปัญญา

วัดพุทธปัญญา เป็นวัดใหม่ ตั้งอยู่ใกล้กระทรวงสาธารณสุข ด้านทิศใต้ เกิดขึ้นโดยปฐมศรัทธาของ นส.ไสว ทองแจ้ง ยกโฉนดที่ดินของตน 3 โฉนดเนื้อที่ 6 ไร่ 2 งาน 70 ตารางวา ถวายหลวงพ่อปัญญานันทะ เพื่อสร้างวัดถวายพระราชกุศลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในมงคลสมัยกาญจนาภิเษกคือทรงครองราชย์มาครบ 50 ปี พิธีมอมโฉนดที่ดินถวายในการสร้างวัดเกิดขึ้น ณ. ห้องประชุมใหญ่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ( อ.ย. ) โดย ภบ.ดร.ภักดี โพธิศิริ เลขาธิการได้ถวายความอุปถัมภ์โฑดยประการทั้งปวงท่ามกลางผู้มีเกียรติทั้งบรรพชิตและคฤหัสก็ 55 ท่าน เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2539 ทำพิธีรับมอมถวายโฉนดที่ดินแล้วหลวงพ่อปัญญานันทะใคร่ครวญอยู่เกือบปี จึงสั่งให้พระศรีธวัช อนิวตฺติโก ป. ผู้เป็นลัทธิวิหาริก ซึ่งไปปฏิบัติศาสนกิจอยู่ที่ธรรมสถานอิทัปปัจจยตาราม อ. เฉลิมพระเกียรติ จ. สระบุรี มาอยู่ช่วยนำสร้างเสนาสนะตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2540 และมอมให้นส.ไสว ทองแจ้ง เป็นผู้ลงนามในเอกสารขอสร้างวัดและตั้งวัดตามลำดับ ได้รับอนุมัติจากมหาเถรสมาคม ให้กระทรวงศึกษาธิการประกาศตั้งวัดเมื่อวันที่ 3 มิ.ย. 2542 ได้นามว่าวัดพุทธปัญญา พระศรีธวัช อนิวตฺติโก ป. ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส เมื่อ 21 มิ.ย. 2542
การก่อสร้างเสนาสนะ เป็นไปตามแบบแปลนแผนผังของคณะกรรมการอันมีข้าราชการจากกองแบบแผนของกระทรวงสาธารณสุขร่วมด้วย กระทรวงสาธารณสุขโดย พณฯ เสนาะ เทียนทองรับวัดนี้ไว้ในความอุปถัมภ์ได้ประกาศแต่งตั้งข้าราชการตำแหน่งต่างๆ ร่วมเ ป็นกรรมการพัฒนา และสนับสนุน โดยการทอดกฐินบ้างทอดผ้าป่าบ้าง จึงเป็นสื่อศรัทธาให้ได้ก่อสร้างเสนาสนะต่างๆ ตามโครงการจนเกิดความสะดวกแก่พุทธศาสนิกชน ที่ไปร่วมบำเพ็ญกุศลศึกษา ปฏิบัติธรรมพอสมควรซึ่งวัดนี้เน้นการปฏิบัติอานาปานสติกรรมฐานเป็นหลัก
บัดนี้มีมติมหาเถรสมาคม ที่ 365/2548 ในการประชุมครั้งที่ 20/2548 เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2548 ให้วัดพุทธปัญญา เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนนทบุรี แห่งที่ 3 อีกด้วย
จากเวป //buddhapanya.multiply.com/

**********************************************

วันอาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชา ตรงกับ วันเพ็ญ เดือน ๘ ก่อนปุริมพรรษา (ปุริมพรรษาเริ่ม ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ในปีที่ไม่มีอธิกมาสเป็นต้นไป ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑) ๑ วัน เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ เทศน์กัณฑ์แรก ชื่อว่าธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรดพระปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมือง พาราณสี ในปีแรกที่ทรงตรัสรู้และเพราะผลของพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้เป็นเหตุให้ท่าน พระโกณฑัญญะในจำนวนพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ได้ธรรมจักษุ (โสดาปัตติมรรค หรือ โสดาปัตติมรรคญาณ คือญาณที่ทำให้สำเร็จเป็นโสดาบัน) ดวงตาเห็นธรรม คือ ปัญญา รู้เห็นความจริงว่า สิ่งใดก็ตามมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับไป เป็นธรรมดา แล้วขอบรรพชาอุปสมบทต่อพระองค์ เป็นพระอริยสงฆ์องค์แรกของ พระพุทธศาสนา และทำให้พระรัตนตรัยครบองค์ ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ในเมื่อวันนี้ของทุก ๆ ปี เวียนมาถึงพุทธศาสนิกชน จึงนิยมทำการบูชาเป็นพิเศษ และ พุทธศาสนิกชนในที่บางแห่ง ยังตั้งชื่อวันอาสาฬหบูชานี้ว่า "วันพระสงฆ์" ก็มี อาสาฬหะ คือ เดือน ๘ อาสาฬหบูชา คือ การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน ๘ ความสำคัญ ของวันเพ็ญเดือน ๘ นี้ มีอยู่อย่างไร จะได้นำพุทธประวัติตอนหนึ่งมาเล่าต่อไปนี้ นับแต่วันที่สมเด็จพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้ คือ ในวันเพ็ญเดือน ๖ พระองค์ประทับเสวยวิ มุตติสุขในบริเวณโพธิมัณฑ์นั้น ตลอด ๗ สัปดาห์ คือ
- สัปดาห์ที่ ๑ คงประทับอยู่ที่ควงไม้อสัตถะอันเป็นไม้มหาโพธิ์ เพราะเป็นที่ตรัสรู้ ทรงใช้ เวลาพิจรณาปฏิจจสมุปปาทธรรมทบทวนอยู่ตลอด ๗ วัน

- สัปดาห์ที่ ๒ เสด็จไปทางทิศอีสานของต้นโพธิ์ ประทับยืนกลางแจ้งเพ่งดูไม้มหาโพธิ์โดย ไม่กระพริบพระเนตรอยู่ในที่แห่งเดียวจนตลอด ๗ วัน ที่ที่ประทับยืนนั้นปรากฎเรียกในภายหลังว่า "อนิสิมสสเจดีย์"

- สัปดาห์ที่ ๓ เสด็จไปประทับอยู่ในที่กึ่งกลางระหว่างอนิมิสสเจดีย์ กับต้นมหาโพธิ์แล้วทรง จงกรมอยู่ ณ ที่ตรงนั้นตลอด ๗ วัน ซึ่งต่อมาเรียกที่ตรงนั้นว่า "จงกรมเจดีย์"

- สัปดาห์ที่ ๔ เสด็จไปทางทิศพายัพของต้นมหาโพธิ์ ประทับนั่งขัดบัลลังก์พิจารณาพระอภิ ธรรมอยู่ตลอด ๗ วัน ที่ประทับขัดสมาธิเพชร ต่อมาเรียกว่า"รัตนฆรเจดีย์"
- สัปดาห์ที่ ๕ เสด็จไปทางทิศบูรพาของต้นมหาโพธิ์ประทับ ที่ควงไม้ไทรชื่ออชาปาลนิโครธ อยู่ ตลอด ๗ วัน ในระหว่างนั้น ทรงแก้ปัญหาของพราหมณ์ผู้หนึ่งซึ่งทูลถามในเรื่องความเป็นพราหมณ์
- สัปดาห์ที่ ๖ เสด็จไปทางทิศอาคเนย์ของต้นมหาโพธิ์ ประทับที่ควงไม้จิกเสวยวิมุตติสุขอยู่ ตลอด ๗ วัน ฝนตกพรำตลอดเวลา พญานาคมาวงขดล้อมพระองค์ และแผ่พังพานบังฝนให้พระองค์ ทรงเปล่งพระอุทานสรรเสริญความสงัด และความไม่เบียดเบียนกันว่าเป็นสุบในโลก
- สัปดาห์ที่ ๗ เสด็จย้ายสถานที่ไปทางทิศใต้ของต้นมหาโพธิ์ ประทับที่ควงไม้เกดเสวยวิมุตติ สุขตลอด ๗ วัน มีพาณิช ๒ คน ชื่อ ตปุสสะ กับ ภัลลิกะเดินทางจากอุกกลชนบทมาถึงที่นั้น ได้เห็นพระพุทธองค์ประทับอยู่ จึงนำข้าวสัตตุผงข้าวสัตตุก้อน ซึ่งเป็นเสบียงกรังของตนเข้าไปถวายพระองค์ทรงรับเสวยเสร็จแล้ว สองพาณิชก็
ประกาศตนเป็นอุบาสก นับเป็นอุบาสกคู่แรกในประวัติกาล ทรงพิจารณาสัตว์โลกเมื่อล่วงสัปดาห์ที่ ๗ แล้ว พระองค์เสด็จกลับมาประทับที่ควงไม้ไทรชื่ออชาปาลนิโครธอีก ทรงคำนึงว่า ธรรมที่พระองค์ตรัสรู้นี้ ลึกซึ้งมาก ยากที่สัตว์อื่นจะรู้ตาม จีงท้อพระทัยที่สอนสัตว์ แต่อาศัยพระกรุณาเป็นที่ตั้ง ทรงเล็งเห็นว่าโลกนี้ผู้ที่พอจะรู้ตามได้ก็คงมี ตอนนี้แสดงถึงบุคคล ๔ เหล่า เปรียบกับดอกบัว ๔ ประเภท คือ
๑. อุคฆติตัญญู ได้แก่ ผู้ที่มีอุปนิสัยสามารถรู้ธรรมวิเศษได้ทันทีทันใดในขณะที่มีผู้สอนสั่ง สอนเปรียบเทียบ เหมือนดอกบัวที่โผล่ขึ้นพ้นน้ำแล้ว พร้อมที่จะบานในเมื่อได้รับแสงพระอาทิตย์ในวันนั้น

๒. วิปัจจิตัญญู ได้แก่ ผู้ที่สามารถจะรู้ธรรมวิเศษได้ ต่อเมื่อท่านขยายความย่อให้พิสดารออกไปเปรียบเหมือนดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอระดับน้ำ จักบานในวันรุ่งขี้น

๓. เนยยะ ได้แก่ ผู้ที่พากเพียรพยายาม ฟัง คิด ถาม ท่องอยู่เสมอไม่ทอดทิ้ง จึงได้รู้ธรรม วิเศษ เปรียบเหมือนดอกบัวที่ยังไม่โผล่ขึ้นจากน้ำ ได้รับการหล่อเลี้ยงจากน้ำ แต่จะโผล่แล้วบานขี้นในวันต่อๆ ไป

๔. ปทปรมะ ได้แก่ ผู้ที่แม้ฟัง คิด ถาม ท่อง แล้วก็ไม่สามารถรู้ธรรมวิเศษได้ เปรียบเหมือน ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำติดกับเปือกตม รังแต่จะเป็นภักษาหารแห่งปลาและเต่า เมื่อเล็งเห็นเหตุนี้ จึงตกลงพระทัยจะสอน ทรงนึกถึงผู้ที่ควรโปรดก่อนคือ อาฬารดาบส กับ อุทกดาบส ท่านเหล่านี้ก็หาบุญไม่เสียแล้ว จะมีอยู่ก็แต่ปัญจวัคคีย์ จีงทรงตัดสินพระทัยว่า ควรโปรดปัญจวัคคีย์ก่อน แล้วก็เสด็จออกเดินไปจากควงไม้ไทรนั้น มุ่งพระพักตร์เสด็จไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี การที่เสด็จเดินทางจากตำบลพระศรีมหาโพธิ์ จนกระทั่งถึงกรุงพาราณสีเช่นนี้ แสดงให้เห็น เพระวิริยอุตสาหะอันแรงกล้าเป็นการตั้งพระทัยแน่วแน่ ที่จะประทานปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์เป็นพวกแรกอย่างแทัจริง หนทางระหว่างตำบลพระศรีมหาโพธิ์ถึงพาราณสีนั้น ในปัจจุบัน ถ้าไปทางรถไฟก็เป็นเวลา ๗-๘ชั่วโมง การเสด็จดำเนินด้วยพระบาทเปล่า อาจใช้เวลาตั้งหลายวัน แต่ปรากฏว่าพอตอนเย็นขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนอาสาฬหะนั้นเอง
พระพุทธองค์ก็เสด็จถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวันแขวงเมืองพาราณสี อันเป็นที่อยู่แห่งปัจจวัคคีย์พอเสด็จ เข้าราวป่าพวกปัญจจวัคคีย์นั้นได้เห็นจึงนัดหมายกันว่า จะไม่ไหว้ ไม่ลุกรับ และไม่รับบาตรจีวรจะตั้งไว้ให้เพียงอาสนะเท่านั้น เพราะเข้าใจว่าพระองค์ กลายเป็นคนมีความมักมากหมดความเพียรเสียแล้ว พอพระองค์เสด็จถึง ต่างก็พูดกับพระองค์โดยไม่เคารพ พระองค์ตรัสห้าม และทรงบอกว่าพระองค์ตรัสรู้แล้วจะแสดงธรรมสั่งสอนให้ ฟังพราหมณ์ทั้ง ๕ ก็พากันคัดค้านลำเลิกด้วยถ้อยคำต่างๆ ที่สุดพระองค์จึงทรงแจงเตือนให้รำลึกว่า พระองค์เคยกล่าวเช่นนี้มาในหนหลังบ้างหรือ ? พราหมณ์ทั้ง๕ ระลึกได้ ต่างก็สงบตั้งใจฟังธรรมทันที ค่ำวันนั้น พระองค์ประทับแรมอยู่กับพราหมณ์ทั้ง ๕ รุ่งขี้นวันเพ็ญแห่งเดือนอาสาฬหะ พระองค์ทรงเริ่มแสดงธัมมะ-จักกัปปวัตตนสูตร นับเป็นเทศนากัณฑ์แรกโปรดปัญจวัคคีย์นั้น โดยใจความคือทรงยกที่สุด ๒ ฝ่าย ได้แก่ การประกอบตนให้ลำบากด้วยการทรมานกาย และการไม่ประกอบตนให้เพลิดเพลินในกามสุข ทั้ง ๒ นี้นับว่า เป็นของเลวทราม ไม่ควรเสพเฉพาะทางสายกลางเท่านั้น เป็นข้อปฏิบัติที่สมควร แล้วทรงแสดงทางสายกลางคือ อริยมรรค ๘ ประการ ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ
๒. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ
๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ
๔. สัมมากัมมัตนะ ทำการงานชอบ
๕. สัมมอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ
๖. สัมมาวายามะ เพียรชอบ
๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ
๘. สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ

สรุปด้วยอริยสัจ ๔ ได้แก่
๑. ทุกข์ความไม่สบายกายไม่สบายใจ
๒. สมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์
๓. นิโรธความดับทุกข์
๔. มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

ชี้ให้เห็นโดยปริวรรตและอาการต่างๆ ว่า เมื่อรู้แล้วอาจยืนยันได้ว่า ตรัสรู้โดยชอบถึงความ หลุดพ้นและสุดชาติสุดภพแน่นอน ขณะที่พระองค์ทรงแสดงธรรมนี้อยู่ ท่านโกณฑัญญะได้ส่องญาณไปตามจนเกิด "ธรรมจักษุ" คือดวงตาเห็นธรรมขึ้นทางปัญญาพระองค์ทรงทราบจึงเปล่งพระอุทานว่า "อัญญสิๆ""อัญญสิๆ"(โกณฑัญญะรู้แล้วๆ) เพราะพระองค์ทรงอุทานนี้ภายหลังท่านโกณฑัญญะจึงได้นามใหม่ว่า "อัญญาโกณฑัญญะ" แต่นั้นก็ทูลขอบรรพชาพระองค์ประทานอนุญาตด้วยเอหิภิขุอุปสัมปทาน นับเป็นพระสงฆ์องค์แรกในพระศาสนาที่บวชตามพระพุทธองค์ ตามพุทธประวัติที่เล่ามานี้ จะเห็นว่า วันอาสาฬหบูชามีความสำคัญ คือ

๑. เป็นวันแรกที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนา
๒.เป็นวันแรกที่พระบรมศาสดาทรงแสดงพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ประกาศสัจจธรรมอันเป็นองค์แห่งสัมมาสัมโพธิญาณ
๓.เป็นวันที่พระอริยสงฆ์สาวกองค์แรกบังเกิดขึ้นในโลก คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้รับประทานเอหิภิขุอุปสัมปทาในวันนั้น
๔. เป็นวันแรกที่บังเกิดพระสังฆรัตนะสมบูรณ์เป็นพระรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะพระธรรมรัตนะพระสังฆรัตนะ
การถือปฏิบัติวันอาสาฬหบูชาในประเทศไทย

พิธีวันอาสาฬหบูชาเริ่มกำหนดเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๑ โดยพระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารี) ครั้งดำรงตำแหน่งสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การศึกษาได้เสนอคณะสังฆมนตรี ให้เพิ่มวันศาสนพิธีทำพุทธบูชาขึ้น อีกวันหนึ่ง คือ วันธรรมจักร หรือวันอาสาฬหบูชา ด้วยเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจักกัปปวัตนสูตร คณะสังฆมนตรีลงมติรับหลักการให้เพิ่มวันอาสาฬหบูชาและให้ถือเป็นหลักปฏิบัติในเวลาต่อมา โดยออกเป็นประกาศคณะสงฆ์ เรื่อง กำหนดวันสำคัญทางศาสนา เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๐๑ และในวันเดียวกันนั้นได้มีประกาศสำนักสังฆนายก กำหนดระเบียบปฏิบัติในพิธีอาสาฬหบูชาขึ้นไว้ให้วัดทุกวัดถือปฏิบัติทั่วกัน กล่าวคือก่อนถึงวันอาสาฬหบูชา ๑ สัปดาห์ให้เจ้าอาวาสแจ้งแก่พระภิกษุสามเณรตลอดจนศิษย์วัด คนวัดช่วยกันปัดกวาด ปูลาดอาสนะ จัดตั้งเครื่องสักการะให้ประดับธงธรรมจักรรอบพระอุโบสถตลอดวัน ทั้งเวลาเช้าและเวลาบ่ายให้มีการฟังธรรมตามปกติ เวลาค่ำให้ภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา มาประชุมพร้อมกันที่หน้าพระอุโบสถ หรือพระเจดีย์ จุดธูปเทียนแล้วถือรวมกับดอกไม้ยืนประนมมือสำรวมจิตโดยพระสงฆ์ผู้เป็นประธานนำกล่าวคำบูชาจบแล้วทำประทักษิณ
ครั้นแล้วให้ภิกษุสามเณรเข้าไปบูชาพระรัตนตรัยทำวัตรค่ำแล้ว สวดธรรมจักรกัปปวัตนสูตร จบแล้วให้อุบาสก อุบาสิกาทำวัตรค่ำ ต่อจากนั้นให้พระสังฆเถระ แสดงพระธรรมเทศนาธรรมจักรกัปปวัตนสูตรแล้ว ให้พระภิกษุสามเณรสวดธรรมจักรกัปปวัตนสูตรทำนองสรภัญญะ เพื่อเจริญศรัทธาปสาทะของพุทธศาสนิกชนจบแล้ว ให้เป็นโอกาสของพุทธศาสนิกชนเจริญภาวนามัยกุศล มีสวดมนต์สนทนาธรรม บำเพ็ญสมถะและวิปัสสนา เป็นต้น ตามควรแก่อัธยาศัยให้ใช้เวลาทำพิธีอาสาฬหบูชาไม่เกิน เวลา ๒๔.๐๐ น. และได้มีการทำพิธีอาสาฬหบูชาอย่างกว้างขวาง นับแต่นั้นมาทางราชการ ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีให้มีการชักธงชาติ ถวายเป็นพุทธบูชาในวันนี้ด้วย
เมื่อวันอาสาฬหบูชาซึ่งตรงในวันเดียวกันได้เวียนมาบรรจบอีกครั้งหนึ่งในรอบปี คือ เวียนมาบรรจบในวันเพ็ญอาสาฬหบูชาเดือน ๘ ของไทยเรา ชาวพุทธทั่วโลกจึงประกอบพิธีสักการบูชา การประกอบพิธีในวันอาสาฬหบูชาแบ่งออกเป็น 3 พิธี คือ
๑. พิธีหลวง (พระราชพิธี)
๒. พิธีราษฎร์ (พิธีของประชาชนทั่วไป)
๓. พิธีของพระสงฆ์ (คือพิธีที่พระสงฆ์ประกอบศาสนกิจเนื่องในวันสำคัญวันนี้)

การประกอบพิธีและบทสวดมนต์ในวันอาสาฬหบูชาก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับการประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา
จากเวป //www.dhammajak.net/buddhismday/4.html



Create Date : 08 กรกฎาคม 2552
Last Update : 8 กรกฎาคม 2552 13:41:45 น. 4 comments
Counter : 4806 Pageviews.

 
หวัดดีคะ แวะมาทักทาย และจะมาชวนไปคุยกะเพื่อนๆๆ ชาวบล็อกแก๊งกันที่ห้องแชทคะ แวะเข้ามาทักทายกันนะคะ คลิกที่นี่


โดย: benji2 วันที่: 8 กรกฎาคม 2552 เวลา:16:23:10 น.  

 
สวัสดีครับ ผมชื่อช่างเต้ ขอร่วมอนุโมทนาบุญด้วยน่ะครับ
แล้วรอดูงานวีดีดอน่ะครับถ่ายมาเต็มที่เลยครับ
นี่เว๊บของผมครับ
www.vdo888.multiply.com


โดย: ธนบดี ช่างถ่ายVDO IP: 124.122.227.193 วันที่: 26 กรกฎาคม 2553 เวลา:22:07:22 น.  

 
จำได้ไหมเอ่ยครับ ผมช่างถ่ายVDO
วันนี้ที่ไปถ่ายอ่ะครับหน้าตาตี๋ๆๆ
รู้สึกดีใจมากๆๆเลยครับได้ที่ไปร่วมงานด้วย


โดย: ธนบดี IP: 124.122.227.193 วันที่: 26 กรกฎาคม 2553 เวลา:22:18:05 น.  

 
ดีครับ วันนี้ ได้ ไปถ่ายภาพ รู้สึกยินดีมากครับ ถ้า ผม ได้ ไป บังใคร หรือ ทำอะไร ที่ไม่ดีไม่งาม ก็ขออภัยด้วยนะครับ เพื่อตอนถ่ายงาน ไปบังการมองเห็น น่ะครับ


โดย: Kai photo IP: 210.246.80.68 วันที่: 26 กรกฎาคม 2553 เวลา:23:18:52 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

nongmalakor
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 120 คน [?]




ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง
Google
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2552
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
8 กรกฏาคม 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add nongmalakor's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.