อยู่ในกล่องคุณจะไปเห็นอะไร The Anatomy of Peace

อยู่แต่ใน "กล่อง" คุณจะไปเห็นอะไร

The Anatomy of Peace

หนังสือที่มีคุณค่าอีกเล่มหนึ่งสำหรับเรา ต้องยอมรับว่าเราทุกคนมีกล่องของตัวเองที่เราสร้างขึ้นกันมาแล้วทั้งนั้นแม้กระทั่งขณะที่เราคิดว่าเราไม่เคยอยู่ในกล่องนั่นก็แปลว่าเราอยู่ในกล่องแล้ว(งงมั้ย?)ถ้างงแสดงว่าเราไม่รู้ทันจิตและความคิดของตัวเองค่ะถ้าจะอธิบายให้ตรงกับในหนังสืออาจจะเป็นกล่องแห่งภาพลักษณ์ที่คิดว่าตัวเองดีที่สุด เหนือกว่าคนอื่นหรือแม้แต่ไม่ยอมรับว่าตัวเองมีข้อเสีย

ในหนังสือเล่มนี้เนื้อหาอาจจะซับซ้อนนิดหน่อยซึ่งก็เหมือนกับความคิดและจิตของเรานี่แหละค่ะแต่ในหนังสือได้อธิบายให้เราได้เห็นภาพมากขึ้นเกี่ยวกับการตัดสินใจของเราในแต่ละวันปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของเราก็ล้วนมาจากการตัดสินใจของเราตั้งแต่แรก โดยที่หลายคนไม่คิดเลยว่าตัวเองเป็นผู้มีส่วนร่วมในการก่อปัญหาอย่างแท้จริง แม้กระทั่งการแสดงความคิดเห็นบนสื่ออินเตอร์เน็ตเราก็เป็นผู้มีส่วนร่วมในกล่องนั้นเรียบร้อยแล้ว หากใครอยากรู้รายละเอียดมากขึ้นจะขออธิบายตามที่ตัวเองเข้าใจและสามารถสื่อสารออกมาได้เท่านั้นแต่ทางที่ดีแนะนำให้ซื้ออ่านเองและเปิดใจยอมรับว่าตัวเองก็มีกล่องเช่นเดียวกันเนื้อหาทั้งหมดจะนำไปสู่การแก้ไขที่ยั่งยืนอย่างแน่นอน

ในทุก ๆ วินาทีพวกเรากำลังเลือกที่จะมองคนอยู่ 2 แบบ หนึ่ง มองด้วยความเป็นมิตร สอง มองว่าเขาคือศัตรูเราสามารถแสดงพฤติกรรมแทบทุกอย่างได้ด้วย 2 วิธี

ใจที่เป็นมิตร คือเห็นคนอื่นเป็นคน : ที่มีเลือดเนื้อความรู้สึกมีความหวัง ความต้องการและความกลัวเหมือนกัน


ส่วนใจที่เป็นศัตรู คือเห็นคนอื่นเป็นวัตถุสิ่งของ
: เป็นสิ่งที่กีดขวางเป็นเครื่องมือ ไร้ความหมาย


อธิบายง่าย ๆ คือ “ฉันกับมัน” หรือ“ฉันกับคุณ”

เมื่อวิธีการมองคนของเราไม่ถูกต้องจะนำมาซึ่งปัญหามากมายและหนึ่งในนั้นที่หนังสือได้กล่าวไว้คือปัญหาของการสมคบคิดการสมคบคิดนั้นทำให้เรื่องราวต่าง ๆในแต่ละวันของเรายุ่งยากมากขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัวเลยแม้แต่น้อย ว่าตัวเองก็มีส่วนในการก่อให้เกิดความขัดแย้งภายในครอบครัวที่ทำงาน ฯลฯ น้อยคนที่จะยอมแก้ปัญหาที่แท้จริงปากที่เราบอกปาว ๆ ว่าอยากจะให้ถูกอย่างมันดีขึ้นหารู้ไม่ว่าตัวเราเองนี่แหละที่ทำให้เรื่องราวทั้งหมดมันแย่ลง โดยธรรมชาติของเราจะไม่ยอมรับความคิดเห็นของคนอื่นเราต่างก็พยายามพูดในสิ่งที่ตัวเองคิดว่ามันถูกต้อง แต่คำว่าถูกต้องกับวิธีการมองคนให้ถูกไม่เหมือนกัน จุดยืนของเราอาจจะถูกต้องในหลักเกณฑ์ที่สังคมวางไว้แต่ตัวเราเองกลับมองคนเหล่านั้นเป็นเพียงวัตถุที่ไม่ใช่คน เมื่อเรามองคนอื่นไม่ใช่คนนั่นเท่ากับว่าเราได้อยู่ในกล่องนั้นเรียบร้อยแล้ว (กล่องเป็นเพียงการสมมติขึ้นเพื่อให้เราได้เข้าใจง่ายถึงเนื้อหาที่เขาจะอธิบาย)

กล่องที่ได้พูดในหนังสือมีอยู่ 4 แบบ

กล่องแห่ง “ความเหนือกว่า”ทำให้คุณมองเห็นตัวเองสูงส่งและเห็นแต่ข้อเสียของคนอื่น

กล่องแห่ง “ความคู่ควร”ทำให้คุณไม่พอใจกับสิ่งที่มีและรู้สึกเหมือนโดนเอาเปรียบตลอดเวลา

กล่องแห่ง “ ภาพลักษณ” ทำให้คุณกังวลว่าตัวเองจะดูไม่ดีจนไม่เป็นอันทำอะไร

กล่องแห่ง “ความด้อยกว่า”ทำให้คุณชอบเปนรียบเทียบกับคนอื่นและมองตัวเองไม่ได้เรื่องอยู่เสมอ

แนวทางของกล่องมีรายละเอียดมากมายวิธีการให้เราออกจากกล่องก็คือการมองคนอื่นให้เป็นคนเหมือนกับเรา อย่างว่าใจเขาใจเราแต่เมื่อไหร่ที่เราคิดว่าตัวเองกำลังเสียเปรียบเพราะเห็นใจคนอื่น คุณก็จะเข้าไปอยู่ในกล่องในอีกครั้งเพียงแค่เสี้ยววินาที เรื่องจิตใจเป็นเรื่อที่ควบคุมยากและมีอิสระโดยไม่สามารถปิดกั้นเราจึงเป็นคนที่มีหน้าที่ควบคุมมันว่าจะเลือกทางไหนในแต่ล่ะครั้ง การแก้ปัญหาที่แท้จริงมันไม่ง่ายค่ะแต่การไม่ยอมเอาตัวเองออกจากล่องหรือวงจรเหล่านี้จะทำให้เราเหนื่อยไปตลอดชีวิตและไม่ค้นพบทางออกสันติสุขที่อยู่ในใจ

คนเรามักจะชอบแก้ไขปัญหาต่าง ๆ มากกว่าจะป้องกันจะเห็นด้วยหรือไม่ ลองหยิบหนังสือขึ้นมาอ่านดูนะคะว่าเราเป็นเหมือนในหนังสือที่เขาว่าจริงหรือเปล่า? สำหรับเราเองจากที่คิดว่ามีไม่มากแต่ที่ไหนได้ วันหนึ่งมีอยู่หลายกล่องทีเดียวการปฏิบัตินั้นยากแต่ใช่ว่าเราจะลงมือทำให้เรื่องราวมันดีขึ้นไม่ได้ ขอให้โชคดีค่ะ.






Create Date : 09 เมษายน 2558
Last Update : 9 เมษายน 2558 10:20:22 น.
Counter : 3477 Pageviews.

3 comments
  
เป็นหนังสือที่น่าอ่านมาก ขอบคุณที่รีวิวค่ะ
โดย: ชลบุรีมามี่คลับ วันที่: 9 เมษายน 2558 เวลา:11:25:15 น.
  
น่าสนใจและน่าอ่านมากค่ะ
โดย: kunaom วันที่: 10 เมษายน 2558 เวลา:13:40:14 น.
  
อยากได้อ่านสักครั้ง มี ibook ไหมคะ
โดย: วรรณภา IP: 188.165.201.164 วันที่: 5 มีนาคม 2560 เวลา:4:29:53 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Annaria
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]



บอกเล่าเรื่องราวและความรู้สึกผ่านตัวอักษร
New Comments
เมษายน 2558

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
28
29
30