ตุลาคม 2551
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
2 ตุลาคม 2551
 

ภาพจิตรกรรมสมัยอยุธยา

จิตรกรรม

จิตรกรรมก็เช่นเดียวกับงานแขนงอื่นของช่างหลวงช่างสมัยอยุธยาได้ใช้เป็นสื่อสะท้อนศรัทธาความเชื่อในพุทธศาสนา วาดไว้ในอุโบสถ หรือวิหาร หรือบนสมุดภาพช่างใช้สีฝุ่นผสมกาวระบายเรียบ ตัดเส้นแสดงความรู้สึกนึกคิด ผ่านฝีมืออันแม่นยำ เป็นที่ประจักษ์มาก่อนในงานช่างสุโขทัย

จิตรกรรมสมัยอยุธยา

จิตรกรรมสมัยอยุธยา คือจิตรกรรมไทยประเพณีที่มีอายุเริ่มตั้งแต่การสถาปนากรุงศรีอยุธยา ขึ้นเป็นราชธานี เมื่อ พ.ศ. 1893 จนถึง พ.ศ. 2310 ลักษณะงานมีรูปแบบ องค์ประกอบ เทคนิค และวัฒนธรรม ตามแบบจิตรกรรมไทยประเพณีภาคกลางที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย จีน เขมร และอิทธิพล ของศิลปไทยยุคก่อนกรุงศรีอยุธยา ในระยะแรกใช้สีในวรรณะเอกรงค์ ต่อมาเมื่อมีการติดต่อกับต่าง ประเทศ ทำให้มีสีต่างๆ เพิ่มเข้ามา นิยมเขียนเรื่องอดีตพุทธ พุทธประวัติ ทศชาติชาดก เทพชุมนุมและ ภาพลวดลายต่างๆ ปิดทองที่ภาพสำคัญและทำลายดอกไม้ร่วงที่พื้นหลังภาพ สถานที่ตั้งจิตรกรรมส่วน ใหญ่พบที่อุโบสถ ปรางค์ วิหาร ศาลาการเปรียญ หอไตร กุฏิ ตู้พระธรรม สมุดข่อย และพระบฏ

ตัวอย่างภาพจิตรกรรมสมัยอยุธยา






การศึกษานี้แบ่งจิตรกรรมฝาผนังสมัยอยุธยาเป็น 3 กลุ่ม


คือ

กลุ่มที่ 1 เป็นจิตรกรรมที่ประดับ ในพระปรางค์
กลุ่มที่ 2 เป็นจิตรกรรมที่ประดับบนผนังโบสถ์และวิหาร
กลุ่มที่ 3 เป็นจิตรกรรมที่ประ ดับบนผนังอาคารและโบสถ์ จิตรกรรมทุกกลุ่มนิยมเขียนภาพอดีตพุทธ พุทธประวัติและชาดก
กลุ่มที่ 3 จะเขียนภาพอดีตพุทธให้มีขนาดเล็กลง และยังนิยมเขียนภาพทศชาติและไตรภูมิอีกด้วย นอกจากนี้ยังมี เทคนิคการใช้สีเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะการลงสีพื้นให้สามารถเขียนได้สดใส โดยที่ผิวรองพื้นไม่ดูดเนื้อสี
ที่เขียนให้จางลง




มาดูกันครับ

กลุ่มที่ 1 เป็นจิตรกรรมที่ประดับ ในพระปรางค์

ยกตัวอย่าง เช่น

วัดมหาธาตุ ราชบุรี





จิตรกรรมฝาผนังพระปรางค์ วัดมหาธาตุ เป็นจิตรกรรมสมัยอยุธยา เขียนด้วย สีแดง สีชมพู สีส้ม สีขาว สีเหลือง และ สีดำ จากการวิเคราะห์โดยวิธีทางวิทยาศาสตร์และจากการศึกษาโครงสร้าง ของชั้นสีพบว่าสีแดงและสีส้มประกอบด้วยผงสีเหมือนกันแต่มีส่วนผสมต่างกัน ประกอบด้วยซึนนาบาร์ เรดเลด ยิบซั่ม และควอท์ สีชมพูประกอบด้วยซึนนาบาร์ ยิบซั่ม และควอท์ สีเหลืองเชื่อว่าเป็นรง สีดำ ประกอบด้วยคาร์บอน รองพื้นและสีขาวเป็นวัสดุชนิดเดียวกันคือยิบซั่มและควอท์ ส่วนเทคนิคของ จิตรกรรมเป็นแบบเทมเพอร่าโดยทายิบซั่มเป็นชั้นรองพื้นบนผนังก่อนแล้วจึงทาชั้นสีบนรองพื้น ยกเว้น สีดำซึ่งทาลงผนังโดยไม่มีรองพื้น

จาก สันติ เล็กสุขุม และกมล ฉายาวัฒนะ. จิตรกรรมฝาผนังสมัยอยุธยา. กรุงเทพฯ : สถาบันไทยคดี ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2524. (ND2835.ฮ9พ1ส65
//www.era.su.ac.th/Mural/ayuthayastyle/index.html


วัดราชบูรณะ



..........จากการศึกษาพบว่ามีจิตรกรรมฝาผนังปรากฏอยู่ที่กรุชั้นบนและชั้นล่างของพระปราง ประธาน จิตรกรรมในกรุชั้นบนเป็นภาพศิลปะไทย และภาพศิลปะจีน ภาพศิลปะไทยจัดวางภาพ เรียบง่ายเป็นระเบียบ เส้นที่ใช้มีลักษณะเคลื่อนไหว สีหลักในการสร้างภาพคือสีขาวของผนัง ใน ขณะที่ศิลปะจีนมีการจัดภาพไม่เป็นระเบียบแน่นอน เส้นมีลักษณะมั่นคง ไม่เคลื่อนไหวรุนแรง ใช้สีขาวของผนังเป็นสีหลักในการสร้างภาพเช่นกัน ส่วนจิตรกรรมในกรุชั้นล่างเป็นภาพอดีตพุทธ พุทธประวัติ พระมหาสาวก และนิบาตชาดก การจัดภาพใช้รูปทรงเรขาคณิตเป็นโครงสร้างหลัก นิยมใช้เส้นสีแดงสร้างรูปทรงต่าง ๆ และใช้เส้นสีดำเน้นส่วนที่ต้องการ และใช้ลวดลายเสริมช่อง ว่างและเชื่อมประสานรูปทรงเข้าด้วยกัน
สว่าง สิมะแสงยาภรณ์. แบบศิลปที่ปรากฏในงานจิตรกรรมฝาผนังภายในกรุ ณ พระปราง


.........ประธาน วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ : ภาควิชาประยุกต์
...........ศิลป์ศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2523. (ND2835.ฮ9พ2ส55 2522)



กลุ่มที่ 2 เป็นจิตรกรรมที่ประดับบนผนังโบสถ์และวิหาร

ยกตัวอย่าง เช่น

วัดใหญ่สุวรรณาราม






จิตรกรรมฝาผนังสมัยอยุธยา พบที่จังหวัดในภาคกลาง อันได้แก่ จังหวัดราชบุรี เพชรบุรี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร รวม 10 วัด การศึกษาเน้นจิตรกรรมฝาผนังที่วัดใหญ่สุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นจิตรกรรมสกุลช่างเพชรบุรี เนื้อหาจิตรกรรมมี 3 เรื่อง คือ ภาพเทพชุมนุม มารผจญ และอารักษ์ รูปแบบและองค์ประกอบศิลปะมีลักษณะเฉพาะหลายประการ การวิจัยได้ เสนอแนวความคิดใหม่ในการนำเอาคติมาเป็นประเด็นสำคัญกำหนดอายุจิตรกรรม โดยอาศัยหลัก ฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณ ผนวกกับรูปแบบศิลปะ กำหนดอายุจิตรกรรมอยู่ระหว่าง พ.ศ. 2181 – 2199







จิตรกรรมฝาผนังที่พระอุโบสถและศาลาการเปรียญวัดใหญ่สุวรรณาราม มีอายุเก่าแก่ ่ที่สุดในจังหวัดเพชรบุรี เป็นศิลปะอยุธยาราวแผ่นดินพระเจ้าปราสาททองลงมา และสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นสกุลช่างเพชรบุรี ผนังทั้ง 4 ด้านภายในพระอุโบสถไม่มีการเจาะหน้าต่างและเต็มไปด้วย
ภาพจิตรกรรมทั้งสิ้น เนื้อหาจิตรกรรมเป็นภาพพุทธประวัติ เทพชุมนุม ภาพลวดลายต่าง ๆ และ ภาพทวารบาล โครงสร้างสีส่วนใหญ่เป็นสีแดง ส่วนภาพจิตรกรรมที่ศาลาการเปรียญเป็นภาพ ซุ้มเรือนแก้ว ลายลงรักปิดทอง ลายเฟื่อง และลายที่เสาเป็นแบบแผนศิลปะการผูกลายสมัยอยุธยา


จาก มาณพ อิศราเดช. การศึกษาจิตรกรรมฝาผนังสมัยอยุธยา สกุลช่างเพชรบุรี ที่วัดใหญ่สุวรรณาราม.
กรุงเทพฯ : สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ คณะโบราณคดี

มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2527. (ND2835.ฮ9พ7ม63 2527)
เมืองโบราณ. วัดใหญ่สุวรรณาราม. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2527. (ND2835.ฮ9พ72ม83)

//www.era.su.ac.th/Mural/petchbury/yaisuwannaram.html

กลุ่มที่ 3 เป็นจิตรกรรมที่ประ ดับบนผนังอาคารและโบสถ์ จิตรกรรมทุกกลุ่มนิยมเขียนภาพอดีตพุทธ พุทธประวัติและชาดก

ยกตัวอย่าง เช่น

วัดเกาะแก้วสุทธาราม







จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดเกาะแก้วสุทธาราม จ.เพชรบุรี เป็นฝีมือช่าง สมัยอยุธยา เขียนภาพพุทธประวัติเรื่องอัฏฐมหาสถานและสัตตมหาสถาน การวางภาพจะวาง โดยยาวตลอดผนัง ใช้พื้นสีอ่อน ลักษณะเด่นของจิตรกรรมคือจะใช้เจดีย์เหลี่ยมย่อมุมเป็นตัวคั่น เรื่องระหว่างองค์เจดีย์ ตอนล่างมีภาพพุทธประวัติอยู่ภายใต้ฉัตรสูง พื้นที่ว่างระหว่างยอดเจดีย์ และยอดฉัตรมีภาพวิทยาธรขนาดใหญ่แทรกอยู่อย่างเหมาะเจาะ นับเป็นการวางองค์ประกอบ ภาพที่แตกต่างจากที่อื่น

วัดเกาะแก้วสุทธาราม. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ. 2529. (ND2835.ฮ9พ7ม86)


วัดชมภูเวกและวัดปราสาท





จิตรกรรมฝาผนังที่พระอุโบสถและวิหารวัดชมภูเวกและวัดปราสาท สันนิษฐานว่า เป็นจิตรกรรมสกุลช่างนนทบุรี สมัยอยุธยาตอนกลางหรือตอนปลายระยะแรก เป็นจิตรกรรม สีฝุ่นผสมกาวแบบเทมเพอร่า เขียนตามคติ นิยมในสมัยนั้น คือเขียนภาพอดีตพุทธไว้ที่ผนังด้านบน ของตัวอาคาร ส่วนผนังด้านล่างเขียนภาพพุทธประวัติ การเขียนภาพบุคคลและสถาปัตยกรรม ไม่ได้คำนึงถึงสัดส่วนที่เป็นจริง มุ่งเขียนเอาความรู้สึกมากกว่าจะให้ดูเหมือนจริง โครงสร้างของสี ในภาพส่วนใหญ่เป็นสีดินแดง



ประยูร อุลุชาฎะ. จิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนกลางและตอนปลายระยะแรก สกุลช่างนนทบุรี ณ วัดชมภูเวกและวัดปราสาท. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2530. (ND2835.ฮ9น7ป45)

//www.era.su.ac.th/Mural/nonthaburi/chumpuwag.html




วัดช่องนนทรี









พระอุโบสถและจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถวัดช่องนนทรี สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นพร้อมกัน ในสมัยพระนารายณ์ ราว พ.ศ. 2200 จัดอยู่ในสมัยอยุธยาตอนกลาง เรื่องราวที่เขียนเป็นภาพเล่าเรื่อง
ทศชาติชาดก พระอดีตพุทธ และพุทธประวัติ แบบศิลปะอยู่ในกลุ่มจิตรกรรมฝาผนังสกุลช่างเมืองธนบุรี และนนทบุรี จากการศึกษาเปรียบเทียบกับจิตรกรรมฝาผนังสกุลช่างเพชรบุรีและอยุธยา แสดงให้เห็นถึง
ความแตกต่างและความสัมพันธ์กันในแต่ละกลุ่มศิลปะ ซึ่งมีวิวัฒนาการสืบต่อกันมา มีการส่งแบบ ให้กันและกัน แต่ยังคงมีเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละสกุลช่างปรากฏให้เห็นได้








ภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดช่องนนทรีเป็นเรื่องทศชาติชาดก อดีตพุทธ และพุทธประวัติ การวางภาพจะคั่นเรื่องราวด้วยลายร้อยรักเป็นเส้นตั้ง และคั่นเรื่องย่อยด้วย เส้นสินเทา โครงสี ส่วนใหญ่เป็นสีแดง ผนังลงพื้นด้วยสีฝุ่น (ขาว) แล้วระบายสีอ่อนทับลงไป นิยม
ปิดทองตัวกษัตริย์ราชรถและปราสาท การเขียนภาพมีลักษณะเหนือจริงเน้นความสวยงามมากกว่า ความสมจริง โดยเขียนต้นไม้บิดเบี้ยวและภูเขาตัดเส้นแบบจีน แต่จะมีบางภาพเขียนแบบทัศนียวิทยา
แสดงถึงอิทธิพลการเขียนภาพแบบตะวันตก



สน สีมาตรัง. ความสำคัญของจิตรกรรมฝาผนัง วัดช่องนนทรีในประวัติศาสตร์จิตรกรรมไทย.
กรุงเทพฯ : หอสมุดสาขา วังท่าพระ, 2529. (ND2835ฮ9ก4ส33)




วันนี้พอแค่นี้ก่อนนะครับ ถ้าว่างๆจะนำข้อมูลมาเพิ่มให้อีกนะครับบาย






 

Create Date : 02 ตุลาคม 2551
17 comments
Last Update : 7 ตุลาคม 2551 1:15:10 น.
Counter : 102466 Pageviews.

 
 
 
 


สู้ๆ คับ

ความตั้งใจมันเหมือนตุ๊กตาล้มลุก
... ล้มแล้วก็ลุกวันละหลายรอบ

บางวันแรงดีหัวก็ใสปิ๊ง..
วันไหนท้อใจ..ก็ขอให้สู้ๆ
แต่มีอย่างหนึ่งที่อยากให้รับรู้
...พ้มจะรอ..ให้กำลังใจสำเมอ
...เพราะพ้มคือคนอ่อนแอ
ที่มาตามหา ทุกกำลังใจให้ไปรวมกันงับ
สุดท้ายทุกคนก็จะได้ให้กำลังใจกัน

.....คนขี้เหงาอย่างเราจะได้หมดไป...


 
 

โดย: พลังชีวิต วันที่: 2 ตุลาคม 2551 เวลา:22:45:56 น.  

 
 
 
นำเสนอได้ดี
ขอบคุณสาระดี ๆ
 
 

โดย: vejjabul home วันที่: 2 ตุลาคม 2551 เวลา:23:32:44 น.  

 
 
 
การค้นคว้าเดี๋ยวนี้หาง่ายกว่าแต่ก่อน
แต่นั่นสิ
ใครกี่คนจะนำเสนอออกมา
คุณทำได้ดีทีเดียว
 
 

โดย: ตาพรานบุญ วันที่: 4 ตุลาคม 2551 เวลา:10:17:42 น.  

 
 
 
คือภาพมันหายไปน่ะคับ ถ้าหากว่าเป็นไปได้

ช่วยนำภาพมาลงใหม่ได้มั้ยคับ
 
 

โดย: WAR IP: 124.120.189.153 วันที่: 12 พฤศจิกายน 2551 เวลา:17:10:15 น.  

 
 
 
ความคิดเห็นของแจชคือ เราควรอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยไว้เพื่อให้เด็กๆ รุ่นหลังได้ดู
 
 

โดย: แจช IP: 124.121.187.98 วันที่: 27 กรกฎาคม 2552 เวลา:21:02:54 น.  

 
 
 
สาระดีมาก
จนเหมือนใครบางคนที่ฉันแอบรัก
 
 

โดย: หลงรักคนมีแฟน IP: 118.173.134.237 วันที่: 6 กันยายน 2552 เวลา:12:12:06 น.  

 
 
 
ดีค่ะแต่มีรูปด้วยคงดี
 
 

โดย: FAN AJ IP: 192.168.1.134, 202.143.136.100 วันที่: 21 มกราคม 2553 เวลา:12:52:39 น.  

 
 
 
ขอบคุณมากค่ะ :))
 
 

โดย: ส้ม IP: 203.153.170.95 วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:20:57:42 น.  

 
 
 
ขอบคุณมากครับ รูปภาพสวยมากๆครับ
 
 

โดย: รักประเทศไทย IP: 119.31.16.129 วันที่: 12 กรกฎาคม 2553 เวลา:20:48:30 น.  

 
 
 
ขอบคุนมากค่ะ เพราะคุนงานชั้ลจึดไกล้เสร็จขึ้นมาทุกที ขอบคุณนะคะ
 
 

โดย: jenny IP: 124.121.88.18 วันที่: 28 พฤศจิกายน 2553 เวลา:0:14:58 น.  

 
 
 
มีสาระดีอ่ะ
 
 

โดย: คุณยาจกน้อย IP: 118.173.205.208 วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:21:17:11 น.  

 
 
 
ช้วยได้เยอะ
 
 

โดย: pa IP: 125.27.86.66 วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:20:55:24 น.  

 
 
 
เจ่งฝูดๆๆๆ
 
 

โดย: บังบู IP: 203.172.221.9 วันที่: 22 พฤศจิกายน 2556 เวลา:9:20:32 น.  

 
 
 
หวัดดีชาวโลก
คัยเจ่งรองดั้ยน่ะ
อยู่จ.ชลบุรี
จาก
บูมกรุงไทย
 
 

โดย: บูมกรุงไทย IP: 203.172.221.9 วันที่: 22 พฤศจิกายน 2556 เวลา:9:22:48 น.  

 
 
 
เยี่ยมๆ
 
 

โดย: เมียคริสส IP: 110.77.221.136 วันที่: 13 มกราคม 2558 เวลา:10:16:33 น.  

 
 
 
เจ๋ง
 
 

โดย: ฮุนฮาน IP: 110.77.221.136 วันที่: 13 มกราคม 2558 เวลา:10:17:13 น.  

 
 
 
เยี่ยมค่ะ
 
 

โดย: หนูนา 212 ฮุนฮาน IP: 110.77.221.136 วันที่: 13 มกราคม 2558 เวลา:10:17:43 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

NOARSOLO
 
Location :
นครพนม Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




สวัสดีครับ ผมเริ่มหัดทำใหม่ๆ ถ้ามีอะไรดีๆ มีประโยชน์ช่วยแนะนำด้วยนะครับ
เจษฎา ราชบุตร
[Add NOARSOLO's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com