ตุลาคม 2555

 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
22 ตุลาคม 2555
สิงห์



ราชสีห์หรือสิงห์ เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ที่เราคุ้นเคยกันดีเพราะมักมีคนนำสิงห์ไปเป็นโลโก้ หรือสัญลักษณ์ต่างๆอยู่เสมอค่ะอีกทั้งตามวัดต่างๆเราก็มักเห็นรูปปั้นชองสิงห์ยืนเฝ้าหน้าประตูโบสถ์เสมอ


เมื่อเราค้นหาความหมายของคำว่า “สิงห์” ในพจนานุกรมราชบัณฑิตสถานปี๒๕๔๒ จะหมายถึง (น.) สัตว์ในนิยาย ถือว่ามีความดุร้ายและมีกำลังมาก แต่แท้จริงแล้วมีผู้รู้เคยกล่าวไว้ว่าราชสีห์หรือสิงห์ นั้นหมายถึงสิงโตนี่เองค่ะแต่เมื่อคนไทยรับมาจึงนำมาวาดอย่างไทย คือมีวาดลายกนกหรือลายไทยต่างๆเพิ่มเข้าไปให้อ่อนช้อยมากยิ่งขึ้นตามจริตของคนไทยค่ะ


ราชสีห์ หรือสิงห์ในป่าหิมพานต์ มีสัตว์ที่มีความดุร้ายมากในนิทานหรือตำนาน มักพบว่าราชสีห์มักเป็นตัวละครที่พินาศด้วยน้ำมือของตัวละครเอกหรือเป็นตัวละครปรปักษ์เสมอๆ จริงๆแล้วสิงห์ไม่ได้ปรากฏในนิทานหรือตำนานของไทยเท่านั้นค่ะแต่ยังปรากฏสิงห์ในตำนานหรือนิทานของประเทศอื่นๆทั้ง ทิเบต ลังกาบาหลี(อินโดนีเซีย) จีน เป็นต้นค่ะ


เท้าของราฃสีห์กินเนื้อจะเป็นกงเล็บหรืออุ้งเล็บค่ะ



ราชสีห์กินหญ้าเท้าจะมีลักษณะเป็นกีบแบบนี้ค่ะ (ภาพนี้จริงๆคือ กาสรสิงห์ค่ะ เอามาให้ดูเพราะมีลักษณะเท้าเหมือนกัน)


สิงห์ไม่ได้มีแค่สิงห์ที่กินเนื้อเป็นอาหารอย่างเดียวค่ะแต่ยังมีสิงห์ที่กินหญ้าด้วย เราสามารถแยกประเภทของสิงห์ ๒ ประเภทโดยดูจากเท้าค่ะคือเท้าชองราชสีห์กินเนื้อจะเป็นอุ้งเล็บ ส่วนของราชสีห์กินหญ้าเท้าจะเป็นกีบเหมือนพวกสัตว์กินพืชค่ะนอกจานี้เรายังแบ่งราชสีห์ได้อีก๔ ประเภทดังนี้ค่ะ


๑. ไกรสรราชสีห์ เป็นราชสีห์แห่งป่าหิมพานต์มีนิสัยดุดัน ริมฝีปาก เท้า ลายและหางเป็นสีแดงแผงคอตั้งแต่ไหล่เป็นสีผ้ากัมพลผิวกายสีขาว กินเนื้อเป็นอาหารเสียงคำรามดังก้องมากจนทำให้สัตว์อื่นที่ได้ยินเสียงสลบไป


ติณสีห์ สังเกตตรงเท้าค่ะ จะมีลักษณะเป็นกีบ


๒. ติณสีห์ เป็นราชสีห์แห่งป่าหิมพานต์ตัวมีสีแดงคล้ายสีของขานกพิราบ ตัวใหญ่โตเท่ากับวัวมีนิสัยดุร้ายแม้จะเป็นราชสีห์กินหญ้า



บัณฑุราชสีห์มีลายเหมือนเสือโคร่ง


๓. บัณฑุราชสีห์ กายมีสีเหมือนดังใบไม้เหลือง ร่างกายใหญ่โตราวกับวัวหนุ่มเช่นเดียวกับติณสีห์นิสัยดุร้าย กินเนื้อเป็นอาหาร


๔. กาฬสีห์ เป็นราชสีห์กินเนื้อ มีนิสัยดุร้ายร่างกายเป็นสีดำสนิทตลอดตัว ร่างกายใหญ่โตเหมือนวัวหนุ่ม


นอกจากจากราชสีห์ทั้ง ๔ประเภทแล้ว ในป่าหิมพานต์ยังมีสัตว์กึ่งสิงห์อีกหลายชนิดทั้งแต่ละตัวน่าสนใจทั้งนั้น คราวหน้าจะมาเล่าให้ฟังใหม่นะคะ








Create Date : 22 ตุลาคม 2555
Last Update : 22 ตุลาคม 2555 19:25:13 น.
Counter : 22978 Pageviews.

8 comments
  
เจอะไปมีหวังไม่รอด ไม่ว่าจะเป็นสิงห์ชนิดไหนก็ตาม สงสัยจังพวกสิงห์กินหญ้าจะดุร้ายไปทำไม
โดย: ablaze357 วันที่: 22 ตุลาคม 2555 เวลา:20:27:38 น.
  
😍👮👸ถ้าเจอคไม่รอดแน่ค่ะ👤🐳💯✔👋

โดย: pub IP: 118.173.211.136 วันที่: 2 มิถุนายน 2556 เวลา:16:26:05 น.
  
ขอบคุณมากค่ะ😛😔😆😗🐳😋😚💐🌸บายบ่าย👋
โดย: จิราพร IP: 118.173.211.136 วันที่: 2 มิถุนายน 2556 เวลา:16:29:00 น.
  
ขอบคุณมากค่ะ😛😔😆😗🐳😋😚💐🌸บายบ่าย👋
โดย: จิราพร IP: 118.173.211.136 วันที่: 2 มิถุนายน 2556 เวลา:16:29:27 น.
  
ขอบคุณมากค่ะ😛😔😆😗🐳😋😚💐🌸บายบ่าย👋
โดย: จิราพร IP: 118.173.211.136 วันที่: 2 มิถุนายน 2556 เวลา:16:29:33 น.
  
ขอบคุณขอมูลดีๆค่ะ :p
โดย: ิบีวี IP: 223.206.9.128 วันที่: 16 มิถุนายน 2557 เวลา:0:26:49 น.
  
wdwdwddwwdd
โดย: dwwwd IP: 61.7.140.239 วันที่: 6 สิงหาคม 2557 เวลา:11:58:03 น.
  
ขอบคุณมากมายเลยคับที่มีภาพสวย ๆ มาให้ชม
โดย: จ.ส.อ.อุดม แก้วจันทึก IP: 180.183.135.95 วันที่: 21 ตุลาคม 2557 เวลา:13:47:44 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

night song
Location :
นครปฐม  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]