Group Blog
 
<<
กันยายน 2548
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
30 กันยายน 2548
 
All Blogs
 
รักษาโรคสมาธิสั้น


การรักษาเด็กสมาธิสั้นที่มีประสิทธิภาพสูงสุด คือ การผสมผสานการรักษาหลาย ๆ ด้าน ดังต่อไปนี้
การรักษาทางยา
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการช่วยเหลือทางด้านจิตใจสำหรับเด็ก และครอบครัว
การช่วยเหลือทางด้านการเรียน


*การรักษาทางยา
ยาที่ได้ผลดีที่สุดสำหรับโรคสมาธิสั้น คือ ยาในกลุ่ม Psychostimulantal ซึ่งได้แก่
Methylphenidate (RitalinR),
Dextroamphetamine (DexedrineR),
Adderall และ Pemoline (CylertR) ยาเหล่านี้เป็นยาที่ปลอดภัย
มีผลข้างเคียงน้อย และมีประสิทธิภาพในการรักษาสูง ยาจะช่วยให้เด็กมีสมาธิดีขึ้น ซนน้อยลง ดูสงบขึ้น
มีความสามารถในการควบคุมตัวเองดีขึ้น และอาจช่วยให้ผลการเรียนดีขึ้น ผลที่ตามมาเมื่อเด็กได้รับการรักษาอย่าง
ถูกวิธี คือ เด็กจะมีความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง (self-esteem) ดีขึ้น และมีความสัมพันธ์กับเพื่อน
หรือคนรอบข้างดีขึ้น

- ผลข้างเคียงทางยาในกลุ่มนี้ที่พบบ่อย
ได้แก่ อาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ปวดท้อง
และอารมณ์ขึ้นลง หงุดหงิด อาการข้างเคียงเหล่านี้ มักจะไม่รุนแรง และดีขึ้นได้
เมื่อมีการปรับขนาดยา หรือเปลี่ยนไปใช้ยาในกลุ่มอื่นต่อไป


*การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการช่วยเหลือทางด้านจิตใจสำหรับเด็ก และครอบครัว

ผู้ปกครองและครูของเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น จำเป็นต้องเรียนรู้เทคนิคที่ถูกต้อง เพื่อช่วยในการจัดการกับพฤติกรรม
ที่ไม่เหมาะสมบางอย่างของเด็ก การตี หรือการลงโทษทางร่างกาย เป็นวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ได้ผล
และจะมีส่วนทำให้เด็กมีอารมณ์โกรธ หรือแสดงพฤติกรรม คือ ต่อต้าน และก้าวร้าวมากขึ้น
วิธีการที่ได้ผลดีกว่า คือ การให้คำชมหรือรางวัล (positive reinforcement)
เมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมที่ถูกต้องและเหมาะสม รวมถึงการควบคุมพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
โดยการงดกิจกรรมที่เด็กชอบ หรือตัดสิทธิอื่น ๆ (negative reinforcement)

เด็กสมาธิสั้นควรมีโอกาสได้คุยกับแพทย์ เพื่อแพทย์จะได้ช่วยให้ความรู้เกี่ยวกับข้อจำกัดที่ตัวเด็กมี
และช่วยแนะนำแนวทางปฏิบัติตัวเพื่อให้เด็กได้ใช้ความสามารถด้านอื่นทดแทนในส่วนที่บกพร่อง

ในบางราย ครอบครัวบำบัด (Family Therapy) ก็มีความจำเป็นสำหรับครอบครัวที่มีปัญหา
ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในครอบครัว เพื่อลดความวิตกกังวล และความเครียดของเด็ก

*การช่วยเหลือทางด้านการเรียน

เด็กสมาธิสั้นส่วนใหญ่จะมีปัญหาการเรียน หรือเรียนได้ไม่เต็มศักยภาพร่วมด้วย ดังนั้น
ครูจึงมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้นให้เรียนได้ดีขึ้น

@ข้อแนะนำสำหรับครูในการช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้น@
- จัดให้เด็กนั่งหน้าชั้น หรือใกล้ครูให้มากที่สุดในขณะสอน
- จัดให้เด็กนั่งอยู่กลางห้อง หรือให้ไกลจากประตู หน้าต่าง เพื่อลดโอกาสที่เด็กจะถูกทำให้วอกแวก โดยสิ่งต่าง ๆ นอกห้องเรียน
- เขียนการบ้าน หรืองานที่เด็กต้องทำในชั้นเรียนให้ชัดเจนบนกระดานดำ
- ตรวจสมุดจดงานของเด็ก เพื่อให้แน่ใจว่าเด็กจดงานได้ครบ
- อย่าสั่งงานให้เด็กทำ (ด้วยวาจา) พร้อมกันทีเดียวหลาย ๆ คำสั่ง ควรให้เวลาให้เด็กทำเสร็จทีละอย่างก่อนให้คำสั่งต่อไป
- คิดรูปแบบวิธีเตือน หรือเรียกให้เด็กกลับมาสนใจบทเรียน โดยไม่ให้เด็กเสียหน้า
- จัดให้เด็กที่อยู่ไม่สุข มีโอกาสใช้พลังงานในทางสร้างสรรค์ เช่น มอบหมายหน้าที่ให้ช่วยครูเดินแจกสมุดให้เพื่อน ๆ ในห้อง เป็นต้น
- ให้คำชมเชย หรือรางวัล เมื่อเด็กปฏิบัติตัวดี หรือทำสิ่งที่เป็นประโยชน์
- หลีกเลี่ยงการใช้วาจาตำหนิ ว่ากล่าวรุนแรง หรือทำให้เด็กอับอายขายหน้า
- หลีกเลี่ยงการตี หรือการลงโทษทางร่างกาย เมื่อเด็กกระทำผิด
- ใช้การตัดคะแนน งดเวลาพัก ทำเวร หรืออยู่ต่อหลังเลิกเรียน (เพื่อทำงานที่ค้างอยู่ให้เสร็จ) เมื่อเด็กทำความผิด
- ให้เวลากับเด็กนานขึ้นกว่าเด็กปกติระหว่างการสอน


เมื่อโตขึ้นเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นมีโอกาสหายมั้ย
เมื่อผ่านวัยรุ่นประมาณ 30% ของเด็กสมาธิสั้นมีโอกาสหายจากโรคนี้ และสามารถเรียนหนังสือ หรือทำงานได้ตามปกติ
โดยไม่ต้องรับประทานยา ส่วนใหญ่ของเด็กสมาธิสั้น จะยังคงมีความบกพร่องของสมาธิอยู่ในระดับหนึ่ง
ถึงแม้ว่าเด็กดูเหมือนจะซนน้อยลง และมีความสามารถในการควบคุมตนเองดีขึ้น เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว
บางคนหากสามารถปรับตัว และเลือกงานที่ไม่จำเป็นต้องใช้สมาธิมากนักก็จะมีโอกาสประสบความสำเร็จ
และดำเนินชีวิตได้ตามปกติ บางคนอาจจะยังคงมีอาการของโรคสมาธิสั้นอยู่มาก ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อการศึกษา
ต่อการงาน และการเข้าสังคมกับผู้อื่น ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

ผู้ใหญ่ที่มีสมาธิสั้นจะมีลักษณะหรืออาการอะไรบ้าง
มีประวัติบ่งชี้ถึงโรคสมาธิสั้นตั้งแต่อยู่ในวัยเด็ก
ใจร้อน โมโหง่าย
อารมณ์ขึ้นลงเร็ว
หุนหัน พลันแล่น ขาดความยับยั้งชั่งใจ
สามารถทนกับความเครียด หรือสิ่งที่ทำให้คับข้องใจได้น้อย
วอกแวกง่าย ไม่ค่อยมีสมาธิระหว่างการทำงาน
รอคอยอะไรนาน ๆ ไม่ค่อยได้
มักจะทำงานหลาย ๆ ชิ้นในเวลาเดียวกัน แต่มักจะทำไม่สำเร็จสักชิ้น
นั่งอยู่นิ่ง ๆ ไม่ได้นาน ชอบเขย่าขา หรือลุกเดินบ่อย ๆ
เบื่อง่าย หรือต้องการสิ่งเร้าอยู่เสมอ
ไม่มีระเบียบ
เปลี่ยนงานบ่อย เนื่องจากความผิดพลาดในการทำงาน
ผิดนัด หรือลืมทำเรื่องสำคัญ ๆ อยู่เสมอ
มีปัญหากับบุคคลรอบข้าง เช่น สามี ภรรยา ญาติพี่น้อง หัวหน้า หรือผู้ร่วมงานอยู่บ่อย ๆ



* ที่มา:วารสารทางยา

ทันอัพสิ้นเดือนพอดี มีความสุขในวันศุกร์ทุกท่านนะครับ


Create Date : 30 กันยายน 2548
Last Update : 30 กันยายน 2548 10:21:20 น. 25 comments
Counter : 652 Pageviews.

 
ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาครับ
หนีงานมาอัพบล๊อก ต้องกลับไปทำreport present สิ้นเดือนแล้วครับ


โดย: เงือกลม วันที่: 30 กันยายน 2548 เวลา:10:31:07 น.  

 
หวัดดีครับ..น้องเงือก

อ่า...เมื่อวานเอา "โรค"..มาแจก..

ดีนะ...วันนี้ เอา วิธี "แก้โรค"...มารักษา..

ขอบคุณนะครับ..


โดย: กุมภีน วันที่: 30 กันยายน 2548 เวลา:10:34:16 น.  

 
โชคดีที่มะได้เป็นอะ


โดย: อินทรีทองคำ วันที่: 30 กันยายน 2548 เวลา:10:43:22 น.  

 
สมาธิไม่สั้น แต่ความจำเริ่มจะสั้นนี่นะซี...


โดย: ค้างคาว IP: 202.176.117.13 วันที่: 30 กันยายน 2548 เวลา:12:37:47 น.  

 
สงสัยว่าจะเริ่มโดนนิดๆ

คือทำอะไรมักทำไม่ได้นาน ต้องหาอย่างอื่นทำ

จะพยายามแก้ไขค่ะ

.
.

ขอบคุณสำหรับเรื่องดีๆมีประโยชน์นะคะ


โดย: เก๋ (KEZIA ) วันที่: 30 กันยายน 2548 เวลา:13:17:48 น.  

 
คิดถึงมีความสุขมากๆๆ


โดย: zouthfern (fern_south ) วันที่: 30 กันยายน 2548 เวลา:13:42:18 น.  

 
เอ...แล้วถ้าไม่ใช่เด็ก...แต่สมาธิสั้น....จะรักษาเหมือนกันมั้ยค่ะ????


โดย: ว่าน วันที่: 30 กันยายน 2548 เวลา:14:10:20 น.  

 
มาทักทายเพื่อนบ้านค่ะ
..งานยุ่งล่ะสิคะ


โดย: สเลเต วันที่: 30 กันยายน 2548 เวลา:15:17:19 น.  

 
ขอเซฟไว้ก่อนนะคะ พรุ่งนี้ต้องออกเดินทางแต่เช้า จนตอนนี้ยังไม่ได้นอนเลยค่ะ


โดย: สายลมเชือยโอ่ย IP: 61.90.63.246 วันที่: 1 ตุลาคม 2548 เวลา:2:57:59 น.  

 
*สวัสดีพี่ท่านกุมภีนผู้มีสมาธิขนาดกลางคร๊าบ อิ อิ

*แหม ถ้าอย่างพี่ปลาเป็นล่ะก็แย่สิครับผม

*คุณค้างคาวความจำสั้น แล้วอย่าสายตายาวนะครับ
อิ อิ เดี๋ยวแสดงว่าอายุจะเพิ่มขึ้น

*ดีครับคุณเก๋

*คิดถึงเช่นกันคุณ Fernฯ

*ใช้วิธีใกล้เคียงกัน แต่คงหายยากนะครับคุณว่าน

*แม่นแล้วครับ คุณนายเลเต

*เดินทางโดยสวัสดิภาพครับ คุณสายลมฯ ถนอมสุขภาพนะครับ


โดย: เงือกลม วันที่: 1 ตุลาคม 2548 เวลา:6:50:51 น.  

 
ป้ามดว่าตอนนี้ตัวเองสมาธิสั้น เพราะอ่านหนังสือได้ไม่นานเท่าที่เคย แต่ยังไม่มีอาการร้ายๆ แบบที่ว่าเลยค่ะ


โดย: ป้ามด วันที่: 1 ตุลาคม 2548 เวลา:9:10:29 น.  

 
เหมือนกันค่ะป้ามด ย่าก็อ่านหนังสือได้ไม่นานเหมือนกัน
อือเพิ่งสังเกตุ เพลงกับรูปอมยิ้มพ่อเงือก เข้ากั๊นเข้ากัน


โดย: ดา ดา วันที่: 1 ตุลาคม 2548 เวลา:9:54:56 น.  

 
เหมือนป้ามดกับย่าดาเลยค่ะ
เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีสมาธิอ่านหนังสือเรื่องยาวๆ เลย
แต่คงไม่ใช่โรคสมาธิสั้นนะคะ
แต่ถ้าโรคความจำสั้นละก็ ค่อนข้างจะใช่เลยค่ะ


โดย: ป้าติ๋ว (nature-delight ) วันที่: 1 ตุลาคม 2548 เวลา:11:10:57 น.  

 
สมาธิสั้น? บางทีเราก็เป็นค่ะ หลงๆลืมๆป้ำๆเป๋อๆ แต่มันจะเป็นช่วงๆนะ ไม่ถึงขนาดตลอด

ขอให้มีความสุขวันหยุดนะค่ะ


โดย: Star in the Sky วันที่: 1 ตุลาคม 2548 เวลา:13:49:55 น.  

 
ว่าจะถามหลายทีละ

ทำไมชื่อเงือกลมอะครับ


โดย: me2you วันที่: 2 ตุลาคม 2548 เวลา:1:18:52 น.  

 
การให้ยาพวกนี้ในเด็กจะดีเหรอ


โดย: อ้วนดำปื๊ดปื๊อ วันที่: 2 ตุลาคม 2548 เวลา:6:44:25 น.  

 
มาเยี่ยมคุณเงือกอะจะ มีความสุขวันหยุดอะ


โดย: อินทรีทองคำ วันที่: 2 ตุลาคม 2548 เวลา:11:01:19 น.  

 
หวัดดีคร้าบบบ....มาเยี่ยมครับ..

สุดสัปดาห์..คงได้พักผ่อนเต็มที่พร้อมลุยงานในวันพรุ่งนี้แล้วสินะครับ


โดย: กุมภีน วันที่: 2 ตุลาคม 2548 เวลา:17:07:47 น.  

 
กู๊ดไนท์จ้า


โดย: ปลาทูน่าในบ่อปลาพยูน วันที่: 2 ตุลาคม 2548 เวลา:21:16:11 น.  

 
โรคสมาธิสั้นกำลังฮิตเลยครับ
เห็นไปปรึกษาแพทย์เฉพาะทางกันเยอะครับ
แบบเด็กนั่งนิ่งไม่ได้เลย


โดย: P_ปรัชญา วันที่: 2 ตุลาคม 2548 เวลา:21:42:36 น.  

 
เราไม่เป็นนะ สมาธิสั้น ไม่ค่อยจะไฮเปอร์เท่าไหร่ ออกจะเรื่อยเชื่อยด้วยซ้ำ


โดย: SnowPatrol วันที่: 3 ตุลาคม 2548 เวลา:0:25:14 น.  

 
หวัดดีเช้าวันจันทร์..ครับ..

อา...วันจันทร์ที่รถไม่ติด..


โดย: กุมภีน วันที่: 3 ตุลาคม 2548 เวลา:8:01:01 น.  

 
มาทักทายเพื่อนบ้านยามเช้าค่ะ...
ไปก่อนล่ะค่ะ.....บายยยยยยยยย


โดย: สเลเต วันที่: 3 ตุลาคม 2548 เวลา:8:02:53 น.  

 
*สวัสดีป้ามด..ดูแลรักษาสุขภาพนะครับ

*อาศัยป้ามด ช่วยcode เปลี่ยนอมยิ้มครับ ย่าดา

*ป้าติ๋ว ต้องคอยดูแลสุขภาพเหมือนกันนะครับ

*ขอให้คุณ Starฯมีความสุขเช่นกันครับ

*อิ อิ ไม่ได้คิดอะไรมากมองภาพแล้วก็ลงชื่อให้ได้นิคเนมของพันทิพครับ คุณมี

*อยู่ในวินิจฉัยของแพทย์ครับ คุณอ้วนดำฯ

*มีความสุขเช่นกันครับ พี่ปลา

*พร้อมลุยงานครับพี่ท่านกุมภีน แต่พอเจอตัวเลขแทบใบ้หวยเลย

*ใช่แล้วครับ พี่ปรัชญา

*ไม่เป็นดีแล้วครับ คุณSnowฯ

*เดี๋ยวสวัสดียามบ่ายกะเพื่อนบ้านดีกว่า


โดย: เงือกลม วันที่: 3 ตุลาคม 2548 เวลา:13:43:35 น.  

 
มาเยี่ยมพ่อเงือกค่ะ


โดย: ป้ามด วันที่: 3 ตุลาคม 2548 เวลา:17:31:42 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เงือกลม
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




สวัสดีครับ




วันเวลา ณ ที่ประเทศไทย






Friends' blogs
[Add เงือกลม's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.