มกราคม 2551
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
20 มกราคม 2551

Google Earth คืออะไร

Google Earth คืออะไร

Google Earth คืออะไร

Google Earth คือโปรแกรมโหลดภาพถ่ายจากทั่วทุกตารางนิ้วในโลก ที่ประชาชนสามารถเข้าไปดูได้แม้แต่สถานที่ที่เป็นความลับทางยุทธศาสตร์สำคัญของโลก อาทิ เพนตากอน ทำเนียบขาว แอเรีย 51

ที่มาของ Google Earth

Google Earth นับเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของ Google ในการสร้างระบบติดต่อกับผู้ใช้งาน (user interfacing) เพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูลและทำให้การแสดงผลข้อมูลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในครั้งนี้ Google ได้นำเอาภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายจากดาวเทียมมาผสมผสานกับเทคโนโลยี streaming และทำการเชื่อมโยงข้อมูลจากฐานข้อมูลของ Google เองเพื่อนำเราไปยังจุดต่าง ๆ ที่ต้องการบนแผนที่โลกดิจิตอล

แผนที่นี้เกิดจากการสะสมภาพถ่ายจากหลาย ๆ แหล่งข้อมูล จากดาวเทียมหลายดวง เพียงแต่นำมาประติดประต่อกันเสมือนกับว่าเป็นผืนเดียวกัน แต่ละจุดจะมีความละเอียดของภาพถ่ายไม่เท่ากัน แต่ด้วยความสามารถในการประมวลผลภาพถ่ายทำให้เราเสมือนกับว่าเป็นพื้นเดียวกัน จากนั้นก็นำเอาข้อมูลอื่น ๆ มาซ้อนทับภาพถ่ายเหล่านี้อีกชั้นหนึ่ง ซึ่งแต่ละชั้น (layer) ก็จะแสดงรายละเอียดต่างเช่น ที่ตั้งโรงพยาบาล สถานีตำรวจ สนามบิน และชั้นของข้อมูลอื่น ๆ อีกมากมาย ทั้งแบบที่ Google จัดเตรียมไว้ให้แล้ว หรือ มีบริษัทอื่น ๆ มาในบริการชั้นข้อมูลเหล่านี้ รวมไปถึงชั้นข้อมูลที่เรากำหนดขึ้นเอง ประโยชน์ที่ได้รับถือว่ามากมายมหาศาล บริการนี้ช่วยให้เราศึกษาข้อมูลก่อนเดินทางได้เป็นอย่างดี ทำให้เราสามารถค้นหาที่ตั้งของโรงแรมที่เราจะเดินทางไปพัก เส้นทางต่าง ๆ ของเมืองที่เราจะเดินทางไป รวมถึงแหล่งข้อมูลอื่น ๆ เช่น สภาพดินฟ้าอากาศ แต่ที่สำคัญที่สุดคิดว่าน่าจะเป็นการนำเอา Google Earth มาเป็นสื่อในการเรียนรู้ ในทุก ๆ ระดับการศึกษา รวมไปถึงการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นครั้งแรก ที่ทำให้เราเข้าถึงภาพถ่ายดาวเทียมและภาพถ่ายทางอากาศได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว คิดว่าเครื่องมือนี้จะทำให้เราเข้าใจโลกของเราได้มากขึ้น

เครื่องมือที่อยู่ภายใต้ความสำเร็จนี้คือ XML (Extensible Markup Language) ซึ่งมีการกำหนดคุณสมบัติพิเศษขึ้นมาและเรียกว่า KML (Keyhole Markup Language) Google ใช้ KML นี้ในการสร้างชั้นข้อมูลต่าง ๆ การแสดงข้อมูลทั้ง จุด ลายเส้น หรือรูปหลายเหลี่ยมต่าง ๆ ล้วนสร้างมาจาก KML ทั้งสิ้น เวอร์ชันปัจจุบันเรียกว่า KML 2.0 ส่วนรูปแบบที่จัดเก็บไว้จะเป็นรูปแบบที่ประหยัดพื้นที่เรียกว่า KMZ ซึ่งกับคือ zip format ของ KML นั่นเอง
สำหรับรูปแบบการทำงานของ Google Earth นั้นก็จะเป็นการทำงานแบบ client-server โปรแกรมส่วนที่พวกเราใช้งานจะเรียกว่า Google Earth client ซึ่ง Google ให้เรามาใช้งานฟรี เพื่อดูข้อมูลต่าง ๆ ภายใต้ข้อจำกัดเกี่ยวกับรายละเอียดของภาพ แต่จะว่าไปแล้วก็ไม่ได้ฟรีจริง ๆ นะ เพราะเขาก็จะได้ประโยชน์จากพวกเราในแง่ข้อมูลต่าง ๆ ที่พวกเราเข้าไปค้นหา และสะสมความรู้ที่ได้จากการค้นหาของพวกเราไว้ใช้งานต่อไป

นอกจาก Google จะให้บริการแบบไม่คิดค่าใช้บริการแล้ว ยังมีการให้บริการในรูปแบบอื่น ๆ อีกด้วย ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีความสามารถที่แตกต่างกัน เช่น สามารถนำข้อมูลจาก GPS receiver มาประกอบข้อมูลของ Google Earth ได้ รวมถึงการให้บริการสร้าง server ของตนเองขึ้นมาโดยการนำข้อมูลมารวมกับแหล่งข้อมูล GIS ของเราเองได้อีกด้วย

ประโยชน์ของ Google Earth

โปรแกรม Google Earth มีประโยชน์อย่างไร
นับจากนี้ไปการดูแผนที่จะไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอีกแล้ว เพราะปัจจุบันมีเครื่องมีไฮเทคอย่าง Google Earth ที่จะมาช่วยในการค้นหา ซึ่งเป็นรูปแบบของการค้นหาง่ายขึ้น และสามารถค้นหาตำแหน่งต่างๆได้ละเอียดมากขึ้น พร้อมเพิ่มความสะดวกสบายสำหรับผู้ใช้งานให้สามารถค้นหาข้อมูลจากแผนที่ได้ง่ายขึ้น ด้วยวิธีที่ง่ายในการค้นหาจุดหมายปลายทางได้ง่ายและสะดวกขึ้นด้วยการใช้แผนที่ ของ Google Earth ที่ให้มุมมองทั้งกว้าง ยาว ลึก แบบมีมิติ ซึ่งเป็นอีกจุดหนึ่งที่ดึงดูดให้นักท่องเน็ตทั้งหลายต่างให้ความสนใจ และตอบรับมากขึ้น แต่ผลพวงที่ตามมา ก็น่าติดตามเช่นกันว่า “Google Earth” จะสามารถเปลี่ยนแปลง ปลุกกระแสของชาวเน็ตได้มากน้อยแค่ไหน และส่งผลกระทบต่อธุรกิจ หรือความเป็นส่วนบุคคลของประชาชน มากน้อยแค่ไหน และจะมีผลดีผลเสียเกิดขึ้นอย่างไร ทั้งนี้ทางกองบรรณาธิการนิตยสาร PC World ได้จัดเสวนาในหัวข้อ “Google Earth มองโลกผ่านดวงตาดาวเทียม” ขึ้น เพื่อเป็นการระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น หาก “Google Earth” ได้รับความนิยมแพร่หลาย โดยได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง แผนที่ และ “Google Earth” มาร่วมในการเสวนาครั้งนี้ ประกอบด้วยกิตติ เปรมพินิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีไอเอส โซลูชั่น จำกัด ดร.สุรชัย รัตนเสริมพงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์ความรู้ด้านอวกาศ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ชัยศิลป์ พนาวิรรธน์ TRAFFIC MANAGER บริษัท ที เอส โลจิสติกส์ จำกัด สมชาย หมื่นนรินทร์ ในฐานะของยูสเซอร์คนหนึ่งที่ได้สัมผัสกับการใช้ Google Earth มาตั้งแต่ต้นโดยมี พงษ์ระพี เตชพาหพงษ์ บรรณาธิการอำนวยการ นิตยสาร PC World และผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ thaigoogleearth.com เป็นผู้ดำเนินการเสวนา PCW : ภายหลังที่มีการใช้ Google Earth กันอย่างแพร่หลายคิดว่าจะช่วยปลุกกระแสอะไรให้เกิดขึ้นบ้างกิตติ : Google Earth คือ ปัจจัยอย่างหนึ่งที่จะผลักดัน และสร้างกระแสให้เกิดการใช้แผนที่ดาวเทียมกันมากขึ้นได้ แต่ถ้าจะนำแผนที่กรุงเทพฯ จาก Google Earth มาทำแผนที่ทั้งหมดคงไม่สามารถทำได้เนื่องจากยังติดปัญหา เรื่องของความเหลื่อมล้ำของเส้นแบ่งของแต่ละแผ่นที่ที่แต่ละหน่วยงานจัดทำขึ้นมา ดังนั้นหากต้องการจัดทำแผนที่ดาวเทียมกันอย่างจริงจัง แล้วนั้น อาจจะต้องมีการซื้อข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อมาจัดทำขึ้นเป็นแผนที่ฉบับสมบูรณ์จริงๆ ซึ่งในอดีตการซื้อข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมก็มีการซื้อขายกันอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่มีโปรแกรมในการจัดการภาพถ่ายดาวเทียมเหล่านั้น ดังนั้นเมื่อซื้อภาพถ่ายแผนที่ดาวเทียมไปแล้ว ผู้ใช้จะต้องสร้างแอพพลิเคชันขึ้นมาเองเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ดร.สุรชัย : กระแสของการใช้ Google Earth ช่วยจุดประกายให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้น อาทิ รีโหมดเซ็นซิ่ง หรือ ภาพถ่ายดาวเทียม ซึ่งในอดีตที่ผ่านมามีการใช้แผนที่ดาวเทียมกันบ้าง แต่ส่วนใหญ่จะใช้เพื่อการค้นหาเส้นทาง และยังเป็นภาพขาวดำ หลังจากนั้นเมื่อมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการผสมผสานเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้าไปส่งผลให้การใช้งานแผนที่ดาวเทียมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อย่างดาวเทียมรุ่นใหม่ๆ จะมีการติดตัวเรคคอร์ดเดอร์ ไว้ด้วย ก็จะทำให้นอกจากดูเส้นทางแล้วยังสามารถบันทึกเสียงหรือภาพที่เคลื่อนไหวแบบใกล้กับปัจจุบันมากที่สุด แต่ถึงอย่างไรการเข้ามาของ Google Earth ก็มีส่วนทำให้สาธารณะเกิดความตื่นตัวมากขึ้น ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีแผนที่ดาวเทียมใช้มานานแล้วก็ตาม แต่การใช้งานในอดีตถือว่ายังอยู่ในวงจำกัดเฉพาะในหน่วยงานราชการ หรือเอกชนบางแห่ง ซึ่งข้อดีของภาพถ่ายดาวเทียมคือเป็นข้อมูลดิจิตอล และดาวเทียมรุ่นใหม่มี GPS อยู่บนดัวดาวเทียม ดังนั้นเวลาถ่ายภาพมาก็จะบอกค่าพิกัดให้เรียบร้อย ความผิดพลาดก็มีไม่มาก ไม่เหมือนรูปถ่ายทางอากาศที่ใช้เครื่องบิน ดังนั้นเมื่อ Google ออกมาทำตรงนี้ ถือว่าประสบความสำเร็จ ซึ่ง Google Earth ถือปรัชญาที่ว่าคนที่ใช้แผนที่ไม่เป็นก็สามารถใช้งานได้ เพราะใช้งานง่าย ตรงนี้ถือเป็นข้อได้เปรียบของ Google Earth และสามารถดูได้ทั่วโลก

วิธีใช้ Google Earth

วิธีใช้ Google Earth นั้นง่าย ๆ คะ ให้คุณหมุนลูกโลกทางด้านขวามือด้วยเมาส์ แล้วไปหยุดที่ตรงประเทศไทย จากนั้นก็คลิกที่เมนูด้านล่างที่เป็นเครื่องหมายบวก หรือถ้าเมาส์ใครมีล้อก็ให้หมุนล้อ โปรแกรมก็จะขยายแผนที่ประเทศไทยและจะชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ ตอนแรกถ้าใครเห็นเป็นภาพแผนที่เบลอ ก็อย่าตกใจ เพราะมันต้องใช้ซีพียูในการประมวลผลพอสมควร (เน็ตความเร็วสูงก็ทำให้เห็นแผนที่ชัดเร็วขึ้นด้วย) พอขยายได้สักระยะ คุณจะเห็นว่า แผนที่ดาวเทียมของ G-Earth นั้นมีความละเอียดสูงมาก เพราะขนาดใช้เองลองไล่ ๆ หาดูในแผนที่ ลองไล่มาตั้งแต่สถานที่ใหญ่ ๆ อย่างเช่น อนุสาวรีย์ชัยฯ ทางด่วน สนามกีฬา ฯลฯ ลองไล่ไปไล่มาก็เจอเข้ากับหลังคาบ้านตัวเองจนได้ เรียกว่าเห็นรถจอดอยู่ในบ้านเลยด้วยซ้ำ สุดยอด





Create Date : 20 มกราคม 2551
Last Update : 20 มกราคม 2551 8:51:51 น. 0 comments
Counter : 728 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Ngekky
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add Ngekky's blog to your web]