เยี่ยมเพื่อนที่เนร์สซิ่งโฮม "ศูนย์พชรภิบาล " ... บล็อกที่ 291





เยื่ยมเพื่อนที่ เนร์สซิ่งโฮม "ศูนย์พชรภิบาล"



เพื่อนๆที่อเมริกา ใช้ชีวิตเกษียณสบายๆ ทำสิ่งที่ชอบ ออกกำลังกาย นัดไปทานอาหารกันเป็นครั้งคราว ท่องเที่ยวระยะไกล้ๆ หรือไปต่างประเทศกับทัวร์ต่างๆ หรือ บางครอบครัวก็มีความสุขกับการดูแลหลานๆ

แต่ก็อดกังวลไม่ได้ว่าพออายุมากขีัน จะไปอยู่ไหนกัน ถ้ายังช่วยตัวเองได้ ก็ไม่มีปัญหาอะไร จะไปหาที่อยู่ใกล้ๆกับลูก หรืออยู่กับลูกหลานก็ได้ แต่ถ้าเกิดช่วยตัวเองไม่ได้ ลูกๆต่างก็อยู่ในวัยต้องทำงานรับผิดชอบครอบครัว จะทิ้งพ่อแม่อยู่บ้านเองก็ไม่ได้ ต้องจ้างคนมาดูแล ค่าจ้างวันหนึ่งประมาณ 300 เหรียญ เดือนหนึ่งก็ 9,000 เหรียญ มากทีเดียว เราก็คิดว่ามาหาเนอร์สซิ่งโฮมที่น่าอยู่และดูแลด้วยความเมตตา ดีกว่าเป็นภาระให้ลูกๆ จขบ.กลับมาเมืองไทยที่ไร มีเวลาจะไปชมเนอร์สซิ่งโฮมและหาข้อมูลมาเล่าให้เพื่อนๆที่นิวยอร์กฟ้งกัน ขณะนี้มีพี่ๆมาอยู่ที่เนิสซิ่งโฮมเมืองไทยกันหลายคน


เมืองไทยก็เริ่มมีปัญหาดูแลคนชราเหมือนกัน แต่ละครอบครัวมีภาระต่างๆกันใป บรรยากาศพ่อ แม่ ชราอยู่บ้านกับลูกๆ เริ่มน้อยลง เพราะลูกๆทำงานนอกบ้านกัน ต่างก็แก้ไขไปตามความเหมาะสมของครอบครัวและรายได้ การพาไปฝากที่บ้านคนชรา บางแห่งก็แพงเหมือนกัน หรือถ้าไม่สามารถทำได้ ก็ต้องไปฝากไว้ที่สถานที่ดูแลคนชรา - เนอร์สซิ่งโฮม

ที่อเมริกา จะมีเนอร์สซิ่งโฮมมากมาย ทั้งเป็นของรัฐและเอกชน ส่วนมากโรงพยาบาลก็จะมีสาขาเป็นเนร์อสซิ่งโฮม ที่ประกัน (Medicare ของคนชราที่นี่มีกัน ) แต่ก็มีหมด เขามีกำหนดให้ว่าคนหนี่ง ปีหนี่งจะจ่ายให้คนละเท่าไร พอหมด ก็ต้องจ่ายเอง

ถ้าไม่สามารถจ่าย ทางเนอร์สซิ่งโฮมก็แนะนำว่า เซ็นต์มอบเงิยยกเงินเกษียณ(Pension), เงินที่รับจากรัฐ(social Security) และเงินสดและทรัพย์สินทั้งหมดของคนนั้นให้ทางเนอร์สซิ่งโฮม เขาก็จะจัดการหักจากทรัพย์สินแต่ละเดือนไปเรื่อยๆ หมดแล้ว คนนั้นสามารถอยู่เนิสซิ่งโฮมจนตาย ...

พี่คนไทยที่เคยทำงานด้วยกัน เกษียณได้ไม่กี่ปี หกล้มหมดสติ ฟื้นขีันมาก็พูดไม่ได้ แขนขาข้างหนี่งไม่มีแรง อยู่รพ.รักษาพยาบาลจนสามารถเดินได้นิดหน่อยข้างเดียว พูดพอเข้าใจ ต้องย้ายจากรพ.ไปอยู่เนิสซิ่งโฮม เพื่อทำกายบำบัด มีประกันสุขภาพ (Medicare) ซี่งอยู่ไปนานๆ มีหมด ทางเนอร์สซิ่งโฮมก็บอกญาติว่า ถ้าอยู่ต่อต้องใช้เงินเดือนละเกินหมื่นเหรียญ มากพอควร ตกลงลูกๆของเพื่อนพาเคุณแม่มาอยู่บ้านและจ้างคนมาดูแลที่บ้าน รายจ่ายสามเวรต่อวัน เวรละ 100 เหรียญ ,วันหนึ่งๆเสียค่าใช้จ่าย 300 เหรียญ วันเสาร์อาทิตย์ลูกๆจะดูแลเอง ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมาก

ที่นี่เขาก็มีกฎหมายเรื่องทรัพย์สินเหมือนกันว่า ถ้าเรายกให้คนอื่นห้าปี (ลูกหลาน หรือใครก็ได้) เขาก็จะยกเว้นให้ แต่ไม่ถึงห้าปี เขาสามารถเรียกคืนมาใช้ในการดูแลได้ คนส่วนมากก็จะหาทางออกโดยยกทรัพย์สินให้ญาติๆ หรือพากลับบ้านมาดูแลหรือส่งมาที่เมืองไทย ทุกปีรัฐอนุญาติให้ยกเงินให้ลูกหลาน หรือใครก็ได้ คนละ 12,000 เหรียญต่อคน เช่นพ่อ แม่ มีลูก หลาน ก็สามารถยกให้ลูกคนละ 24,000 เหรียญ และหลานอีก 24,000 เหรียญ ต่อปี โดยผู้รับไม่ต้องเสียภาษี แต่ยกหมดเลย ก็ต้องยกให้เกินห้าปี เวลาต้องเข้าเนร์สซิ่งโฮม ก็ไม่ถูกเรียกคืน แต่ใครจะกำหนดได้ว่าเราจะต้องไปใช้ชีวิตในเนอร์สซิ่งโฮมหรือเปล่า หรือยกให้ลูกๆหมด เวลาไม่มีอะไรเหลือ จะมีปัญหาใหม ? ลูกเราจะเลีัยงเรา แล้วเขย สะใภ้ล่ะ อยากเลีัยงเราหรือเปล่า คนส่วนมากก็เลยอยากมีเงินทองเก็บไว้จนวินาทีสุดท้ายกัน

จขบ.ได้มีโอกาสได้ไปชมเนอร์สซิ่งโฮมหลายแห่ง ประทับใจบ้านเบธานี ดูแลด้วยแม่ชี เป็นพยาบาลมาจากต่างประเทศ ท่านเรียนพยาบาลสาขาดูแลผู้สูงอายุโดยเฉพาะ จัดให้มีพยาบาลแม่ชี อยู่เวรกลางคืน มีการพลิกต้วคนไข้ทุกสองชั่วโมง ที่บ้านเบธานี มีแต่ห้องรวม ไม่มีห้องเดี่ยว บรรยากาศร่มเย็นมาก

บ่านเบธานี มีผู้สูงอายุอยู่กันแน่น ไม่มีที่ว่างสำหรับผู้มาใหม่เลย ตอนนี้มีรายชื่อผู้สมัครเกือบร้อยคน แต่ก็เขียนใบสมัครไว้ได้ ท่านบอกว่าเวลามีที่ว่างก็จะรับพิจารณาเป็นรายๆไป

จากที่เห็นเป็นห้องรวมมีแปดเตียง สะอาด สภาพแวดล้อมปลอดภัย เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ ไม่มีอะไรมากมาย ที่จะทำให้หกล้มเวลาเดิน ห้องน้ำก็เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ มีทีเกาะ และสามารถนั่งรถเข็นเข้าห้องน้ำได้ บรรยาศเต็มไปด้วยต้นไม้เขียว ชอุ่ม ร่มเย็นมาก มีกิจกรรมต่างๆ คนดูแลเป็นแม่ชี และแม่ชีฝึกหัดมั่นใจว่าผู้มาอยู่ที่นี่จะได้รับการดูแลด้วยความรักและเมตตา มีคนข้างนอกนำอาหาร ไอสครีม มาเลีัยงทุกท่านที่บ้านเบธานี บ่อยๆ



















รายละเอียดเพิ่มเติม บ้านเบธานี ขอเชิญเปิดอ่านที่นี่ค่ะ


เพื่อนจขบ.ทำงานที่นิวยอร์ก ติดต่อกันสม่ำเสมอด้วยเกือบสี่สิบปี เกษียณไม่กี่ปี กลับมาอยู่เมืองไทย เพื่อนจะไปนิวยอร์กปีละสองสามเดือนทุกปี สองปีที่แล้ว เพื่อนเริ่มอ่อนแอ เดินไม่ค่อยไหว ต้องมีคนช่วยเวลาเดิน ต้องมีคนพยุงเดิน เอยู่บ้านคนเดียว เพื่อนเป็นโสด ไม่มีญาติทางสายเลือดที่จะไว้ใจพึงพาได้ ชีวิตเพื่อนผ่านการเจ็บป่วยรักษาพยาบาลมากมาย ทั้งผ่าตัด คีโม รังษีบำบัต... เพื่อนมีชีวิตอยู่ที่เป็นอยู่ทุกวันนี้นับว่าดีมากแล้ว บางครั้งเพื่อนมีอารมณ์ไม่สม่ำเสมอ และบางที่ก็เอะอะด้วย เพื่อนๆที่ไม่เข้าใจ ไม่อยากทนก็หายห่างกันไป จนเหลือเพื่อนไม่กี่คน

เพื่อนตัดสินใจไปอยู่เนอร์สซิ่งโฮม ซี่งเป็นของเพื่อนพยาบาลด้วยกัน เพื่อนอยู่ได้ไม่นานก็ย้ายไปอีกแห่งหนึ่ง เพื่อนกังวลเรื่องเดินไม่ค่อยไหว พอมีคนแนะนำว่ามีเนอร์สซิ่งโฮมที่เชียงใหม่ มีการรักษาทางกายบำบัด ก็ย้ายไปเชี่ยงใหม่ เพื่อนไปอยู่เชียงใหม่ ไม่มีเพื่อน เพื่อนๆที่อยู่กรุงเทพก็ไปเยี่ยมไม่ได้ ตกลงเพื่อนอยู่ที่เชียงใหม่เกือบปี

เราคุยกันเป็นครั้งคราว การอยู่เนิสซิ่งโฮมโดยไม่ได้เตรียมตัวมาก่อน ก็ทำให้จิตใจไม่สบาย ยอมรับไม่ค่อยได้ และต้องปรับตัวมาก ทำให้เครียดด้วย เพื่อนจ่ายค่าเนิสซิ่งโฮมและค่าใช้จ่ายต่างๆเดือนละประมาณ ห้าหมื่นบาท

พี่พยาบาลที่รักและเอ็นดูเพื่อนคนนี้ แนะนำให้เพื่อนย้ายมากรุงเทพเพื่อจะได้ใกล้เพื่อนๆด้วย เพื่อนๆจะเยี่ยมก็เยี่ยมได้สะดวก ไปอยู่เชียงใหม่ไม่มีใครไปเยี่ยมเลย เพื่อนตัดสินใจย้ายมาอยู่ที่ ศูนย์พชรภืบาล ที่โรงเรียนพร้อมพิบาล ห้องพักเป็นห้องแอร์ สำหรับคนเดียวแต่ต้องเดินมาที่ห้องน้ำข้างนอก เพื่อนเดินไม่ค่อยไหว กลางคืนจะลุกเข้าห้องน้ำสามครั้ง ต้องมีคนเฝ้าช่วยพาเข้าห้องน้ำด้วย


เพื่อนย้ายมาที่นี่ บอกว่าราคาเดือนละ 25,000 บาท เพื่อนๆทุกคนก็พลอยดีใจไปด้วย ว่าราคาไม่ค่อยแพงนัก จากที่เคยจ่ายเดือนละเกือบห้าหมื่นบาท เพื่อนๆก็คิดว่าดีเหมือนกันไม่แพงมาก เราก็สนับสนุนให้เพื่อนย้ายมากรุงเทพ เราจะได้ไปเยี่ยมได้ด้วย จากที่คุยกับเพื่อน เพื่อนก็มีปัญหาการไปเบิกเงินที่ธนาคาร และเพื่อนก็มีสมุดบัญชีธนาคารต่างๆเป็นสิบเล่ม และไม่ได้ติดต่อทางธนาคารเลย บางธนาคารก็หักค่าใช้จ่ายจนหมด บางแห่งก็เหลือไม่มาก

เรา(จขบ. กับเพื่อนอีกสามคน)นัดกันไปเยี่ยมเพื่อน ปรีกษากันว่าจะพาเพื่อนไปธนาคช่วยจัดการเรื่องเงินที่ธนาคารต่างๆ รวบรวมให้เหลือสองธนาคารก็พอ เพราะมีมากมายเพื่อนเดินทางไปจัดการอะไรก็ไม่ได้ ต้องนั่งรถเข็นและแต่ละแห่งก็อยู่คนทิศละทาง เพื่อสะดวกในการเบิก ถอนเงินด้วย ถามเพื่อนว่าต้องการเช่นนี้หรือเปล่า เพื่อนก็บอกว่าตกลง เรานัดกันไปวันรุ่งขีัน







ที่โรงเรียนพร้อมพิบาล











โรงเรียนพร้อมพิบาล และศูนย์พชรภิบาล อยู๋ห้วหมาก เราไปกันอย่างลำบากพอควร กับการเดินทางด้วยรถแท็กซี่ ได้พบกับผู้จัดการของศูนย์พชรภิบาล เราคุยกับท่านถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ปรากฎว่าค่าใช้จ่ายเดือนละ สองหมื่นห้าพันบาท ยังไม่รวมรายจ่ายเพื่มอีก เพื่อนต้องการมีคนดูแลกลางคืนทุกคืน เพราะเดินไม่ค่อยคล่อง กลัวหกล้ม เวลาไปเข้าห้องน้ำที่อยู๋นอกห้อง ต้องจ่ายเงินเพิ่มคืนละ 500 บาท รวมเป็นว่าเดือนหนี่งต้องจ่าย สี่หมื่นบาทยังไม่รวมค่าใช้จ่ายต่างๆที่ยังไม่เห็นอีก แต่ได้เห็นต้วอย่างของคนอื่นประมาณ หนี่งหมื่นสี่พันบาท รวมทั้งยาระบาย กระดาษ และอื่นๆ เราสรุปให้เพือนฟังว่า ค่าใช้จ่ายเดือนหนี่งประมาณห้าหมื่นบาท

เราสี่คนและคนดูแลเพื่อน พาเพื่อนไปธนาคารเพื่อทำเรื่องการเงิน โดยพาเพื่อนไปที่เดอะกะปิมอลล์ ต้องคนดูแลทีศูนย์พชรภิบาลไปด้วย เพราะเพื่อนต้องใช้รถเสียต้องจ่ายเพิ่มวันละะ 500 เพราะเพื่อนต้องนั่งรถเข็น เดินแทบไม่ได้ ต้องพยุง น้องนก(คนดูแลจากศูนย์)ช่วยเหลือและดูแลอย่างดี เราไปแท็กซี่สองคันมีธนาคารหลายๆธนาคาร เพื่อนแนะนำว่าไปที่เดอะมอลบางกะปิ ไม่ไกลจากศูนย์พชรภิบาร ที่มอลมีธนาคารทุกธนาคารที่เราต้องการไป (ดีจัง ชอบมาก) คิดว่าเราจะทำทุกอย่างให้เสร็จภายในวันเดียวกันแต่พอไปที่ธนาคาร บางแห่งก็ปิดบัญชีไม่ได้ต้องไปที่สาขาใหญ่ เราปรีกษากับเพื่อนและตกลงว่าที่มีไม่มากก็ถอนให้เกือบหมดเลย จะได้ไม่ต้องไปที่สาขาใหญ่ เพราะเพื่อนออกมาข้างนอกไม่สะดวก


เราสี่คนช่วยเพื่อนจัดการถอนเงิน ฝากเงิน เพื่อนต้องเซนต์ชื่อมากมาย ที่ธนาคารบางแห่งก็ดูเหมือนจะชื่นชมว่าสว.มากันหลายคน มาช่วยเพื่อน บอกว่าแหม คบกันมานานจ้ง ยังมั่นคงอยู่ (เรากลัวทางธนาคารคิดว่าเราจะหลอกเพื่อนมาถอนเงิน แต่ที่ดีคือเพื่อนถอนเงินออกเป็นเชคชื่อเพื่อน) ต้องเอาเชคที่ได้ไปฝากธนาคารอีก เราเข้าออกธนาคารเป็นสิบแห่ง เหนี่อยกันพอควร

จากนั้นเราพาเพื่อนไปทานข้าวที่ร้านญี่ปุ่น เพื่อนดูมีความสุขมาก เพราะไม่ได้ออกมาทานข้าวข้างนอกเป็นปี อยู่เชียงใหม่ ไกลมากไม่มีคนไปเยี่ยม การที่เพื่อนกลับมาอยู่ที่กรุงเทพก็จะมีเพื่อนๆและคนรู้จักไปเยี่ยมง่ายหน่อย

เราคิดว่่าจะจัดการวันเดียวเสร็จ ก็ไม่เสร็จ วันรุ่งขีันต้องไปกันอีก แต่เราก็ยินดีทำให้เพื่อน เพราะเพื่อนไม่มีใคร และเพื่อนก็เริ่มจะงง งง เวลาเซ็นต์ชื่อต้องบอกให้ที่ละตัว อยากช่วยเพื่อนรวบรวมเงินจากหลายๆธนาคาร ให้สะดวกกับเพื่อน เพื่อนมีฝากประจำทีธนาคารที่ราชดำเนินอีกสองบัญชีที่ต้องไปปิด

วันนี้พาเพื่อนมาส่งที่ศูนย์พชรภิบาล เพื่อนคงเครียดและงง ไปหมด เข้าธนาคารหลายแห่ง ต้องเซ็นต์ชื่อใบเบิก ใบฝาก หลายครั้ง และเพื่อนก็เซ็นต์ชื่อไม่ค่อยได้แล้ว ต้องคอยกำกับตัวสะกดทีละตัว เซ็นต์ได้ไม่ค่อยเหมือนแต่โชคดีที่ทางธนาคารเห็นเพื่อนเซ็นต์ด้วยต้วเอง ก็ทำเรื่องให้เสร็จ เราช่วยเพื่อนทำหลายอย่าง รวมทั้งลองถอนเงินจากธนาคารด้วยบัตรATM เพื่อให้รู้ว่าบัตรใช้ได้ เพื่อนคง งง แต่ก็บอกเพื่อนว่าเงินทุกบาททุกสตางค์ไม่ได้หายไปไหน เราเบิก ถอน และไปฝากธนาคารเดียวกัน ตอนแรกคิดว่าจะมีแค่สองธนาคาร กลายเป็นต้องเก็บไว้สี่ธนาคาร เพราะบางธนาคารมีฝากประจำที่ยังไม่ถึงอายุ วันนี้กลับกันเกือบทุ่ม วันรุ่งขี้นต้องไปทำต่อให้เสร็จ





วันรุ่งขีันเรา(สามคน)ไปกันอีก พาเพื่อนไปธนาคารแถวราชดำเนิน เพื่อนมีเงินฝากประจำสองบัญชี ซึ่งสามารถถอนได้แค่บัญชีเดียว อีกหนึ่งบัญชีจะถอนได้ปลายปีนี้ เราก็คิดว่าน่าจะถอนเลยจะได้ไม่ต้องมาอีก แต่ค่าเสียหายหลายหมื่นบาท เลยตัดสินใจว่าไว้พาเพื่อนมาใหม่ปลายปี ถ้าเพื่อนยังรู้เรื่องอยู่.. เพื่อนบอกว่าอย่าบอกญาติ อ้าวแล้วจะบอกใคร..

ธนาคารให้การช่วยเหลืออย่างดี จากผู้จ้ดการธนาคาร(ผู้หญิง)ที่น่ารัก เป็นบริการของธนาคารเมืองไทยที่น่าชื่นชม ที่เมกาไม่มีใครมาคุยกับเราอย่างนี้ผู้จัดการมาแนะนำตัวและคุยกับเราสามคน อธิบายต่างๆให้เราเข้าใจ และดูแลป้องกันเงินของผู้มาฝากเงินอย่างดี ปรากฎว่าเรื่องที่คิดว่าไม่มีปัญหา กลายเป็นต้องไปทำต่ออีก เพื่อนไม่มีสมุดฝากเงินประจำมาด้วย(เพื่อนจำไม่ได้ว่าอยู่ไหน ก็ดีเหมือนกัน ไม่อย่างนั้นคงต้องนั่งรถไปเอา หรือเราต้องมากันอีกหนึ่งวัน )ผู้จัดการธนาคารแนะนำให้ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจใกล้ๆ

เราสามคนและคนดูแลพาเพื่อนไปสถานีตำรวจแจ้งความอีก... พาเพื่อนขีันรถเข็นไปหาแทกซี่ไปสถานีตำรวจ กว่าจะถึงก็นานพอควร เพราะถนนปิดต้องขับวกวนหลายถนนมไปถึงสถานีตำรวจทำไม่ถึงห้านาที่ก็เสร็จ ก็ออกมาหาแท้กซี่กัน ทางสถานีตำรวจบอกว่า เดินไปแค่นิดเดียว แท๊กซี่ก็หายากและอ้อมมาก ตกลงเราก็เข็น รถเข็นเพื่อนไปจนถึงธนาคารที่ราชดำเนิน ทั้งเหนื่อย ทั้งร้อน ที่ธนาคารก็เตรียมเรื่องไว้เรียบร้อย เราทำกันไม่นานก็เสร็จ เหลืออีกบัญชี ถามเพื่อนว่าจะให้บอกญาติมาจัดการต่อหรือไม่ เพื่อนก็บอกว่าไม่เอา ให้เพื่อนอีกคนมาช่วยจัดการก่อน ไม่ยอมให้บอกญาติ ทางธนาคารป้องกันผู้ฝากอย่างดี ขอบัตรประชาชนของเรา ถ่ายเอกสารและเซ็นต์ชื่อรับรองด้วย น่าชื่นชมจริงๆ ทั้งผู้จัดการและพนักงานช่วยเหลือให้อำนวยความสะดวกกับเราอย่างเต็มที่

จากราชดำเนินก็พาเพื่อนไปเดอะมอลล์บางกะปิ อยู่ไม่ไกลจากเนอร์สซิ่งโฮมของเพื่อน จะได้ทานข้าวและเอาเงินเข้าฝากธนาคาร ไปทานข้าวกันที่ศูนย์อาหาร เพื่อนดูมีความสุขมากที่ได้ออกมาชมอะไรๆ ดูๆเพื่อนก็จะหลงๆลืมๆ เราก็ห่วงว่าเพื่อนจะไปถอนเงินค่าใช้จ่ายอย่างไร แต่ก็ไม่อยากให้เพื่อนทำเรื่องจ่ายตรงที่ศูนย์พชรภิบาล เพราะกลัวว่า ถ้าเพื่อนอยากจะย้าย จะลำบากในการทำเรื่องหยุดจ่าย ต้องพากันไปธนาคารอีกด้วย

เราทานข้าวกันเสร็จพาเพื่อนกลับศูนย์พชรภิบาล พบผู้จัดการและจ่ายเงินต่อให้อีกสองเดือน ซึ่งทางเนอร์สซิ่งโฮมก็ถามว่าแล้วต่อไปใครจะจัดการเรื่องการเงินให้ เราก็ไม่อยู่กันแล้ว (กลับนิวยอร์ก) ก็หวังว่าเพื่อนจะออกไปเบิกเงินกับพนักงานที่ดูแลเพื่อน โดยไปทางแท๊กซี่ได้ ค่าใช้จ่ายออกไปก็ประมาณพันกว่าบาทรวมทั้งค่าแท็กซี่ คนที่ไปด้วยครั้งละ 500 บาทและทานข้าวกัน ปัญหากลัวว่าเพื่อนจะไปไม่ไหว และความทรงจำไม่ดี หรือเราจะไว้ใจให้คนของศูนย์พาไปหรือ...

สองวันต่อมาโทรหาเพื่อน เพื่อนบอกว่าเมื่อคืนเขาเกือบจับเราส่งรพ.ศรีธัญญา .. ถามว่าทำไม เพื่อนก็บอกว่าเราแอะอะ เราไม่ได้เห็นเพื่อนเป็นปี ที่ไปอยู่เชียงใหม่ ก็ไม่ทราบว่าเพื่อนมีอะไร แต่ที่รู้ๆ เพื่อนเป็นคนใจร้อน ทนอะไรไม่ได้ เพื่อนๆคนอื่นๆเขาก็ไปห่างๆกันหมดแล้วว ญาติที่มีเขาก็บอกว่ามาใกล้ๆ ก็พูดจาไม่ดี อารมณ์ไม่ดี เขาก็เลยบอกว่ามีอะไรก็โทรบอกละกัน ไม่มีใครจะมาใกล้ แต่ตอนนี้เพื่อนคนนี้จะต้องมีคนจัดการเรื่องการเงิน พวกเราก็ไม่ได้อยู่ตลอด เป็นปัญหาที่พวกเรากังวลและหาทางช่วยเพื่อนอยู่ พยายามถามเพื่อนว่าจะให้ใครดูแลเรื่องการเงิน เพื่อนบอกว่าจะให้เพื่อนอีกคนไปช่วยถอนเงินให้ แต่นานๆไปจะทำอย่างไร

เรื่องของเพื่อนคนนี้ เป็นบทเรียนเตือนสติ เพื่อนๆสว.กันว่าเราควรจัดการเรืองทรัพย์สิน และการเงิน ดูว่าใครจะช่วยดูแลให้ได้ ไว้ใจใคร ยิ่งถ้าอยู่คนเดียวไม่มีลูกหลาน ยิ่งต้องเตรียมไว้ให้ดีก่อนที่จะมีปัญหาเกิดขีัน

พวกเรากังวลว่าเพื่อนแอะอะมากๆ ต้องไปพบจิตแพทย์และอาจจะต้องทานยากล่อมประสาท ซึ่งถ้าทานมากๆก็จะกลายเป็นคนที่ไม่สามารถทำอะไรเองได้แล้วจะทำอย่างไรกับเรื่องเงิน ค่าใช้จ่าย ใครจะช่วยทำให้ ถ้าเพื่อนไม่หาคนไว้ใจได้ให้ทำ ลายเซ็นต์ก็เริ่มไม่เหมือนเดิม อนาคตอาจจะเบิกเงินไม่ได้หรือเปล่าเนี่ย?

เราไม่รู้กฎระเบียบเมืองไทยมากนัก ไม่ทราบว่าจะมีทนายที่ซื่อสัตย์หรือควรจะหาใครที่ไว้ใจได้ ดูแลการเงินให้เพื่อน ถ้าท่านที่อ่านมีความคิดเห็นอย่างไร แนะนำมาด้วยนะคะ ตอนนี้เพื่อนมีบ้านอยู่หนี่งหล้ง คิดว่าผลทีสุดก็ต้องขายมาใช้จ่าย เงินที่มีอยู่บ้างก็จะค่อยๆหมดไป เพื่อนๆก็พยายามช่วยเพื่อนเท่าที่ทำได้ แต่ไม่มีใครอยากไปรับผิดชอบเรื่องเงินของเพื่อน แต่ก็ห่วง กลัวคนอื่นไปเบิกเกิน เวลาเพื่อนไม่ค่อยรู้เรื่อง เห็นในละครที่เขามีทนายคอยดูแลการเงิน แต่เพื่อนไม่ใช่คนรำรวย เงินนิดหน่อยสำหรับประทังช่ีวิต ก็คงไม่สามารถจ้างทนายมาดูแล เงินส่วนน้อยของเพื่อนได้แน่เลย

เราและเพื่อนๆ ร่วมเรียนมาก็พยายามช่วยๆเพื่อนคนนี่เท่าที่ทำได้ แต่ก็ไม่ทราบว่าจะทำไปได้นานเท่าไร และเพื่อนจะรู้เรื่องไปได้นานเท่าไร เกิดไม่รู้เรื่อง สับสน หลงลืม จะทำอย่างไรกัน ใครจะมาช่วยในการดูแลการเงิน ค่าใช้จ่ายให้เพื่อน ก่อนที่จะหมดโดยให้คนที่ไว้ใจไม่ได้ไปเบิกเงินแทน เป็นบทเรียนสำหรับท่านที่ไม่มีญาติพี่น้อง ต้องเตรียมวางแผนในอนาคตไว้ด้วย เกิดสูงอายุแล้วไม่มีคนที่ไว้ใจได้บ้างเลยก็จะมีปัญหามากทีเดียว...



ศูนย์พชรภิบาล ขอเชิญเปิดอ่านที่นี่ค่ะ




คอยดูแล เนอร์สซิ่งโฮม








คอยดูแล เนอร์สซิ่งโฮม ขอเชิญเปิดอ่านที่นี่ค่ะ


คอยดูแล เนอร์สซิ่งโฮม
ให้บริการดูแลผู้สูงอายุ ดูแลผู้ป่วย ผู้ป่วยพักฟื้น ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต และผู้ป่วยให้อาหารทางสายยาง
อัตราค่าบริการ รายเดือน ตั้งแต่ เดือนละ 12,000 บาท ถึง 25,000 บาท หรือรายวัน ตั้งแต่ วันละ 800 บาท ถึง 1,000 บาท

รายละเอียดการดูแลเบื้องต้นของคอยดูแล เนอร์สซิ่งโฮม
• ดูแลกิจวัตรประจำวันทั่วไป เช่น ดูแลการรับประทานอาหารและยาของผู้สูงอายุและผู้ป่วยทั้ง 3 มื้อ การอาบน้ำชำระล้างร่างกายหรือเช็ดตัววันละ 2 ครั้ง เป็นต้น
• ดูแลด้านการพยาบาล เช่น เฝ้าระวังอาการหรือภาวะโรคต่างๆ โดยทีมพยาบาลอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ช.ม. ตรวจวัดสัญญาณชีพจร มีการพลิกตัวผู้สูงอายุ ผู้ป่วยและมีแพทย์ตรวจสุขภาพสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นต้น
• ดูแลกิจกรรสันทนาการ เพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้ป่วยได้ผ่อนคลายทั้งทางร่างกายและจิตใจ เช่น นำผู้สูงอายุและผู้ป่วยสวดมนต์ ไหว้พระ มีการร่วมกันขับร้องเพลง และจัดกิจกรรมในวันพิเศษต่างๆ เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ เป็นต้น
การบริการต่างๆของคอยดูแล เนอร์สซิ่งโฮม
• ผู้สูงอายุและผู้ป่วยจะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากทีมพยาบาลตลอด 24ช.ม.
• มีการทำกายภาพบำบัดเบื้องต้นให้เป็นประจำทุกวัน
• จัดอาหาร 3 มื้อ และอาหารว่าง ตามหลักโภชนาการโดยเน้นอาการและโรคของผู้สูงอายุและผู้ป่วยเป็นสำคัญ
• มีแพทย์มาตรวจสุขภาพแก่ผู้สูงอายุและผู้ป่วยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
• ห้องพักพร้อมเครื่องปรับอากาศ บรรยากาศร่มรื่น ไม่แออัด
• บริการซักรีดเสื้อของผู้สูงอายุและผู้ป่วย
สิ่งที่ไม่รวมในค่าบริการ
• ค่าแผ่นรองซับ และผ้าอ้อมผู้ใหญ่ (กรณีที่ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้)
• ค่าของใช้ส่วนตัวของผู้สูงอายุและผู้ป่วย เช่น สบู่ แป้ง ยาสีฟัน แปรงสีฟัน เป็นต้น
• พยาบาลเฝ้าไข้เฉพาะบุคคล และการให้เจ้าหน้าที่พาผู้สูงอายุ ผู้ป่วยไปพบแพทย์
• ค่าพาหนะรับส่ง เช่น รถพยาบาล





ระยะนี้เพื่อนไม่รู้เรื่องมาก ไม่สนใจเรื่องเงินเลย เหมือนกับอยู๋ไปวันหนี่งๆเท่านั้น ไม่สนใจว่าเงินอยู่ที่ไหน หรือจะจ่ายค่าเนิสซิ่งโฮมอย่างไร มีเพื่อนๆพยาบาลรุ่นเดียวกัน ช่วยดูแลอยู่ นับว่าเพื่อนก็ยังโชคดี มีเพื่อนที่คอยช่วยดูแล การมีเพื่อนก็เป็นสิ่งสำคัญในชีวิตที่เราควรสะสมไว้ ไม่ใช่หาตอนที่เราเดือดร้อน มีบทความเรื่องความเมตตาของ คุณพศิน อินทรวงค์ มาให้อ่านกันด้วยค่ะ ขอบคุณเพื่อนๆแทนเพื่อนที่อยู่เนิสซิ่งโฮม ถึงความเป็นเพื่อนและความเมตตาที่มีต่อกัน


ต้องการอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม The Senior Health Care
สถานพยาบาลผู้สูงอายุ และ บ้านพักผู้สูงอายุ
ขอเชิญเปิดอ่านที่นี่


การรักษามิตรภาพ


มิตรภาพที่มั่นคง จะดำรงความเป็นเพื่อนให้ยั่งยืน

เราจะสานรอยร้าวแห่งมิตรภาพที่ถูกหักสะบั้นลงด้วยน้ำตาแห่งการใหอภัย

เราควรปลูกความสัมพันธ์แห่งไมตรีจิตเสมอและหมั่นหว่านมิตรภาพเพื่อได้มิตรภาพ
เราควรใส่ปุ๋ยแห่งมิตรภาพเพื่อเก็บเกี่ยวผลแห่งมิตรภาพอันงดงาม

การลงทุนสร้างความสัมพันธ์จนได้เพื่อนแท้เป็นการลงทุนที่คำนวณค่าไม่ได้เลย

ความไว้วางใจกันเป็นสิ่งที่สำคัญพื้นฐานสิ่งหนึ่งในทุกความสัมพันธ์

การเป็นเพื่อน หมายถึงการต้องยอมเสียสละบางสิ่งด้วยรู้ว่าไม่สามารถทำอะไรตามใจตัวเองได้อีกต่อไป

การเดินทางอ้อมก็ดูว่าเสียเวลา แต่เพื่อเห็นแก่เพื่อน การเดินร่วมทางไปกับเขา
แม้เสียเวลามากขึ้นก็ยังดีกว่า ต่างคนต่างไปและไม่ถึงที่หมาย

ไม่เพียงแต่เราจะต้องการเพื่อน เมื่อเรามีเพื่อนแล้วเราต้องเรียนรู้ที่จะรักษาความเป็นเพื่อนไว้ให้ได้อีกด้วย

เราต้องทำดีต่อเขาอย่างที่เราอยากให้เขาทำต่อเรา

เพื่อนเป็นเหมือนกับทรัพย์สินเงินทองที่แม้หามาได้ง่ายแต่เก็บรักษาไว้ได้ยาก

บททดสอบความเป็นเพื่อนในยามยากลำบากคือ เหตุการณ์ที่เพื่อนจะช่วยเราได้โดยทางใดทางหนึ่ง
และผลที่ติดตามมาคือ ข้อพิสูจน์ให้เรารู้ว่าเพื่อนคนนั้นเป็นเพื่อนแท้หรือไม่

เป็นการง่ายที่จะทำลายความเป็นเพื่อนให้ลบเลือน แต่ยากในการรักษาไว้ให้คงทน

อย่าละเลยที่จะช่วยเหลือเพื่อนในยามที่เขาเดือดร้อนเพราะสักวันหนึ่ง
เราก็อาจต้องขอความช่วยเหลือจากเขาเช่นกัน

เพื่อนที่ดีย่อมตักเตือนกัน ไม่ใช่การรักษามารยาททางสังคมโดยพูดแต่สิ่งที่ดีต่อกันเท่านั้น

เพื่อนที่แท้จริงจะแบกภาระร่วม ด้วยความรู้สึกร่วมกับเพื่อนเสมอ
หากเราไม่มีความรู้สึกเหล่านี้กับผู้ใดแท้จริง เราก็ไม่ได้มีความเป็นเพื่อนกับเขาผู้นั้น

อย่ามักง่ายในการปฏิบัติต่อเพื่อนเพราะจะเสียหายต่อความสัมพันธ์
เหมือนดั่งกองทรายที่ชายทะเล ที่ไม่นานน้ำทะเลก็เซาะไปได้

เป็นธรรมดาที่อาจมีเวลาแห่งการเข้าใจผิดกัน แต่เราควรมีใจพร้อมที่จะสะสาง เพื่อให้เกิดความเข้าใจกันเสมอ

สะสมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน เก็บไว้สะท้อนความคิดในยามว่าง

ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นและความอดทนคือ กุญแจรักษาความสัมพันธ์ให้ยืนยาว

ความถ่อมใจรักษามิตรภาพไว้ได้อย่างน่าอัศจรรย์และการให้อภัยสานมิตรภาพให้ยั่งยืน

มิตรภาพจะถูกทำให้แตกสลายเพราะเราเองละเลยคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้
เราจึงควรเป็นผู้ที่ใส่ใจกับคำสัญญา ถ้าเราไม่พยายามรักษาสัญญาไว้ก็จะไม่มีใครรักษาสัญญากับเรา

อย่าให้มิตรภาพที่อุตส่าห์สร้างกันในชีวิตเราเป็นของราคาถูก

ไม่มีความสัมพันธ์ใดยั่งยืน ถ้าไม่มีพันธสัญญาจากใจ
และไม่มีความสัมพันธ์ใดที่เราจะดำรงรักษาได้ตลอดไป หากปราศจากความตั้งใจ

คงไม่มีใครอยากเป็นเพื่อนกับเราถ้าเราไม่ช่วยปกป้อง แต่กลับทำลายชื่อเสียงเขา

ความจนที่ว้าเหว่มากที่สุดคือ ความจนไมตรีจิต

ข้อมูลจาก //reocities.com/SoHo/canvas/1145/duo2.html





ดอกไม้กับผีเสื้อ
พศิน อินทรวงค์

ทุกครั้งที่คุณเสียเปรียบ
จงคิดว่า คุณกำลังฝึกฝนความเมตตาอยู่
ผู้คนมากมายพูดถึงความเมตตาว่าความเมตตาคือสิ่งจำเป็น
เราพูดกันอย่างนี้เสมอ
เป็นสิ่งที่แม้แต่เด็กประถมก็ยังรู้
ไม่ต้องใช้ความฉลาดอะไรใครๆก็รู้ว่าความเมตตาคือสิ่งจำเป็น
ทว่า คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยที่จะพูดกันในแง่มุมที่ว่า
ความเมตตาไม่ใช่สิ่งที่ทำได้ง่ายๆ
เมื่อเราเสียเงินเพราะถูกหลอก
ไม่ง่ายเลยที่เราจะเมตตาให้อภัยผู้ที่หลอกลวงเรา
เมื่อเรากำลังหิว กำลังอด เงินทองกำลังขาดมือ
ไม่ง่ายเลยที่เราจะรู้จักแบ่งปัน
เหล่านี้เป็นความจริงที่ทุกคนต้องยอมรับ
ไม่ใช่ยอมรับเพื่อจำนน
แต่เป็นการยอมรับเพื่อปรับปรุงแก้ไข

ความเมตตานั้นเป็นสิ่งที่ต้องฝึกฝน
ไม่ใช่เรื่องที่ใครอยากลุกขึ้นมาทำก็ทำได้
ไม่อย่างนั้นเราคงมีนักบุญอยู่เต็มบ้านเต็มเมือง
และโลกก็คงไม่วุ่นวายอย่างทุกวันนี้
ดังนั้นในชีวิตประจำวันของเรา
เราจำเป็นต้องเชื่อมโยงทุกสิ่งกับความเมตตาของเรา
เดินด้วยความเมตตา ยืนด้วยความเมตตา
นั่งด้วยความเมตตา และหลับตาลงไปพร้อมความเมตตา
เราต้องฝึกให้เราเป็นผู้ที่ยิ้มให้โลกอยู่เสมอ
ต้องทำให้ตัวเองมีสายตาอันอ่อนโยน
ดุจดังดอกไม้ผู้เป็นมิตรกับผีเสื้อ

ดอกไม้ไม่เคยโกรธผีเสื้อ
แม้ว่าผีเสื้อกำลังดูดกินน้ำหวานจากเกสรของมันอยู่
ดอกไม้ไม่เคยคิดว่าผีเสื้อกำลังเอาเปรียบ
แต่มันคิดว่าสิ่งนี้คือการแบ่งปัน
มันมีความเมตตาให้ผีเสื้อ
ความคิดเช่นนี้เองที่ทำให้ดอกไม้มีความสุข
ทั้งที่มันต้องเสียน้ำหวานให้ผีเสื้อ
ดังนั้นเราจงเอาอย่างดอกไม้ที่กระทำต่อผีเสื้อ

คุณจำเป็นต้องฝึกรักผู้ที่เกลียดคุณ
ฝึกเห็นใจผู้ที่เอาเปรียบคุณ
นอกจากนี้ทุกครั้งที่คุณเสียสตางค์
คุณควรคิดว่าคือว่าคุณกำลังเป็นผู้ให้
คุณจำเป็นต้องหัดให้เงินเกินกว่ามูลค่าสิ่งของที่คุณซื้อ
เพื่อซื้อจิตวิญญาณแห่งความเมตตาของคุณกลับมา
อย่าเป็นคนตระหนี่ถี่เหนียว
แต่จงเป็นผู้ที่ให้อยู่เสมอ ให้เท่าที่คุณจะให้ได้

คุณจำเป็นต้องมีความยินดีต่อความเสียเปรียบให้บ่อย
เพื่อขยับขยายจิตวิญญาณของคุณให้กว้างขวาง
ถ้าคุณเป็นคนที่เรียกร้องสิทธิของตนเองอยู่ตลอดเวลา
เป็นคนที่ยอมเสียเปรียบไม่ได้
คุณจะกลายเป็นคนที่จิตใจคับแคบ
แม้คุณจะมีเหตุผลอันชอบธรรมที่จะไม่ให้
แต่ใจของคุณก็จะคับแคบ

คุณต้องรู้อยู่เสมอว่า
เมื่อพูดถึงภาวะของจิตใจเราจะไม่พูดถึงเหตุผล
เพราะเหตุผลเป็นของหยาบที่ไม่สามารถเข้าสู่จิตใจได้
จิตใจนั่นเป็นเรื่องของความรู้สึก
เหตุผลที่นำคุณไปสู่การแล้งน้ำใจ
จะทำให้จิตใจของคุณตกเป็นทาสของความเห็นแก่ตัว
เป็นการพอกพูนลักษณะนิสัย
ของผู้ที่กระหายสงครามโดยไม่รู้ตัว
อัตตาของคุณจะเพิ่มขึ้นจากความไร้น้ำใจ
คุณจะกลายเป็นผู้ที่ถูกต้องแต่ไม่มีความสุข
เป็นผู้ชนะสงครามที่มีแต่ความทุกข์

ความเสียเปรียบ การแกล้งโง่นั้น
เป็นสิ่งจำเป็นมากที่จะทำให้ความเมตตาเกิดขึ้น
คุณต้องยอมโง่
ต้องยอมเสียเปรียบ นี่เองคือสิ่งที่คุณต้องตระหนัก
ขณะที่คุณต้องไม่ยอมเป็นคนโง่
หรือยอมเสียเปรียบจนทำให้ชีวิตของตนเดือดร้อน
ทุกอย่างเป็นสิ่งที่คุณต้องหาสมดุลย์ให้เจอ
ว่าจุดใดกันแน่ที่จิตใจของคนเข้มแข็งพอที่จะอดทนได้
จากนั้นจึงค่อยๆ
เพิ่มขอบเขตของความเมตตาของคุณให้มากขึ้นเป็นลำดับ
ยอมถูกเอาเปรียบด้วยความเบิกบานให้มากขึ้นเป็นลำดับ
จนนำไปสู่จิตใจของผู้เป็นนักบุญ ผู้เสียสละ
ถึงตอนนั้นความสุขของคุณจะเพิ่มขึ้น
โดยไม่ยึดโยงกับวัตถุจอมปลอม
คุณจะมีความสมบูรณ์ในด้วยเองด้วยความเมตตา

ความเมตตานี้เองจะช่วยให้คุณบรรลุธรรมได้โดยง่าย
เพราะมันนำไปสู่จิตของอริยบุคคลในขั้นต่างๆ
คุณจะไม่มีโอกาสเข้าถึงความจริงสูงสุด
ไม่สามารถบรรลุธรรมได้เลย
หากจิตใจของคุณมีเมตตาน้อยเกินไป
แม้ความเมตตาไม่ใช่สิ่งที่ทำได้ง่ายนัก
แต่หากทำได้ จิตวิญญาณของคุณจะเกิดการพลิกผันจนสุดขั่ว
คุณจะเกิดใหม่โดยไม่ต้องมีความตายเข้ามาเกี่ยวข้อง
คุณจะกลายเป็นผู้ไม่รู้จักความทุกข์
เป็นผู้เข้าถึงความสุข
ที่อยู่เหนือบทกวีและภาษาใดๆจะเอื้อนเอ่ย...

ข้อมูลจาก
https://www.facebook.com/talktopasin2013/posts/254919904686626




ขอขอบคุณภาพและยูทูปจากอินเตอร์เนต


newyorknurse





Create Date : 25 มีนาคม 2557
Last Update : 31 สิงหาคม 2557 10:02:35 น. 28 comments
Counter : 5658 Pageviews.

 
thx u crab


โดย: Kavanich96 วันที่: 25 มีนาคม 2557 เวลา:4:07:05 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับพี่น้อย



โหวตให้ในหมวดบันทึกประสบการณ์ครับ

อ่านแล้วให้แง่คิดหลายมุมมองเลยนะครับ
ถ้ามองให้เรื่องการดูแลตนเอง
ไปเนิร์สซิ่งโฮมก็ได้รับการดูแลโดยมืออาชีพไปเลย
แต่ถ้ามองอีกมุมหนึ่ง
บางทีลูกหลานก็น่าจะมีส่วนในการร่วมดูแลผู้สูงวัยด้วยเช่นกัน

ผมเห็นบางพักคนชราหรือผู้ป่วยหลายแห่ง
ไม่มีลูกหลานมาดูแล เรียกว่าทอดทิ้งไปเลย
น่าเศร้ามากครับ

แต่ทุกคนก็คงมีเหตุผลเป็นของตนเองครับ




โดย: กะว่าก๋า วันที่: 25 มีนาคม 2557 เวลา:6:36:00 น.  

 
ผมเคยได้ยินผู้สูงอายุที่พอมีฐานะพูดกันเองว่า
บั้นปลายชีวิตจะไปอยู่บ้านพักคนชรา
เพราะไม่อยากอยู่บ้านเหงาๆ
ลูกเต้าก็ไม่ได้มาดูแล

ฟังแล้วสะท้อนใจครับ

ทุกวันนี้ผมไม่ย้ายบ้าน
ยอมนอนในห้องเล็กๆกันสามคนพ่อแม่ลูก
เพราะคิดว่าอยู่ในบ้านหลังเดียวกัน
ยังได้ดูแลพ่อแม่บ้างน่ะครับ

บ้านอีกหลังซึ่งใหญ่กว่า สะดวกกว่า
เลยเหมือนมีไว้ให้แม่บ้านกับคนสวนอยู่เลยครับ 555




โดย: กะว่าก๋า วันที่: 25 มีนาคม 2557 เวลา:8:12:48 น.  

 
เห็นด้วยกับเม้นท์คุณก๋าค่ะ
เคยได้ยินคนสูงอายุพูดประมาณนี้ ฟังแล้งสงสาร
ลูกๆสมัยนี้เป็นแบบนี้กันหลายครอบครัว
ไม่สนใจพ่อแม่หรือคนสูงอายุในบ้าน
มุ่งทำแต่งานกัน แย่จัง
บ้านเบธานีก็ดูดีนะคะ ดูเป็นอินเตอร์ดี
มีทั้งหมอทั้งพยาบาล น่าอุ่นใจ
ขอบคุณเรื่องราวดีๆค่ะ

ขอบคุณที่พี่น้อยแวะไปชมทรงผมนะคะ
หมวดนั้นไม่ต้องโหวตก้ได้ค่ะ ออนสนุกๆ อิอิ
ไม่ได้ตั้งเป็นหน้าหลักค่ะ

ไล้ค์ไว้ก่อน คืนนี้ดึกๆมาใหม่นะคะ






โดย: mambymam วันที่: 25 มีนาคม 2557 เวลา:9:28:54 น.  

 
สวัสดีค่ะพี่น้อย
อ่านแล้วเป็นประโยชน์มากสำหรับการเตรียมการล่วงหน้าให้กับชีวิตหลังเกษียณเลยค่ะพี่
แต่ก็อดเป็นห่วงเพื่อนพี่ไม่ได้นะคะ ยังไงก็ขอเป็นกำลังใจให้ด้วยค่ะ
วันนี้หมดโควต้า ไว้มาใหม่อีกทีค่ะพี่


โดย: เนินน้ำ วันที่: 25 มีนาคม 2557 เวลา:10:02:04 น.  

 

Like ให้เป็นคนที่ 17
อุ้มก็เป็นห่วงป้าข้างบ้านเหมือนกัน
เขาก้อยู่คนเดียวทำอะไรคนเดียว
ผอมๆ เวลาเขาหายไปไม่ออกจากบ้าน
จะถามๆ คนข้างบ้านว่า
ป้าน้อยไม่ออกจากบ้านมา 3 วัน
ป้าเขาจะเป็นอะไรไหม
ทำไมไม่มีหลานมาดูแล
น่าสงสารมาก



โดย: อุ้มสี วันที่: 25 มีนาคม 2557 เวลา:10:31:54 น.  

 
สวัสดีตอนบ่ายๆ ครับ ขอบคุณที่แวะไปทัทกายกันที่บล็อกนะครับ .....

อ่านเรื่องราวบ้านพักคนชราในบล็อกนี้แล้ว รู้สึกไม่อยากแก่เลยนะครับ .....

แต่ว่าเราหยุดเวลาไว้ไม่ได้ซะด้วยสิ ถึงจะไม่อยากแก่ แต่ถึงเวลามันก็ต้องแก่ .....

ทางที่ดี ก็ต้องเตรียมการไว้ให้พร้อมอย่างที่คุณน้อยแนะนำไว้ในบล็อกนี้ล่ะนะครับ โดยเฉพาะใครที่อยู่ตัวคนเดียว ไม่มีลูกหลานที่ไว้ใจได้ ยิ่งต้องเตรียมวางแผนอนาคตไว้แต่เนิ่นๆ เพราะจะหาคนที่มีเพื่อนดีๆ คอยช่วยดูแลแบบที่คุณน้อยทำก็คงจะหาได้ยากพอสมควร .....




โดย: NET-MANIA วันที่: 25 มีนาคม 2557 เวลา:13:14:58 น.  

 

มาอ่านเรื่องศูนย์ดูแลผ้สูงอายุทั้งเบธานีซึ่งดำเนินการโดย

แม่ชีคาทอลิคและศูนย์พชรภิบาลซึ่งดำเนินการโดยเอกชน

อ่านแล้วได้ความรู้ดีมากค่ะตอนนี้ก็ต้องเตรียมตัวไว้เหมือน

กันไล้ค์ค่ะ


โดย: พรไม้หอม วันที่: 25 มีนาคม 2557 เวลา:14:47:56 น.  

 
การแพทย์ดี คนก็อายุยืนขึ้น เหมือนว่าจะดี
แต่ปัญหาก็คือจะอยู่ได้อย่างไร คิดแล้วเหนื่อย
ฟังไว้เป็นตัวอย่างที่ดีมากเลบ ขอบคุณที่ตั้งใจ
เล่าให้ฟังอย่างละเอียดครับ

ไลค์ไว้ก่อน พรุ่งนี้มาใหม่ครับ


โดย: nulaw.m (คนบ้า(น)ป่า ) วันที่: 25 มีนาคม 2557 เวลา:19:36:54 น.  

 
ตอนนี้ทั่วโลกกำลังเข้าสู่สังคมสูงอายุ เรื่องการดูแลคนหลังเกษียณพวกนี้จะเข้ามามีบทบาทสำคัญเลยครับ
บ้านพักคนชราของไทยฟังแล้วมักให้ความรู้สึกดูอนาถานะครับ เหมือนพ่อแม่ถูกลูกเอามาทิ้ง -A- ทั้งที่ค่าใช้จ่ายไม่น้อยเลย

ตกใจที่เห็นชื่อบ้านเบธานีเป็นภาษาไทย ทีแรกผมคิดว่าจะพาชมบ้านคนชราที่ต่างประเทศซะอีก ที่ไหนได้ ราชบุรีเรานี่เอง บ้านนี้จัดว่าสวยงามอบอุ่นน่าอยู่เลยละครับ

อ่านเรื่องราวธุรกรรมของเพื่อนพี่น้อยแล้วแล้ววุ่นวายแต่ก็อุ่นใจนะครับที่เพื่อนยังมีเพื่อนคอยช่วยเหลืออยู่ข้างๆ
พอสูงอายุแล้วสิ่งที่น่าห่วงยิ่งกว่าร่างกายก็คือสติสัมปชัญญะที่เลอะเลือนลงนี่ละครับ


พี่น้อยไปราชบุรีคงผ่านนครปฐมบ่อยๆ สองจังหวัดนี้ร้านอร่อยเยอะจริงๆรับรอง b


โดย: ชีริว วันที่: 25 มีนาคม 2557 เวลา:21:19:51 น.  

 
อ่านแล้ว รู้สึกเลยว่าต้องเตรียมตัวไว้
ก่อนอื่นก็ต้องรักษาสุขภาพให้ดีๆ จะได้ไม่เป็นภาระให้คนอื่นและตัวเองด้วย
แต่ถ้าเกิอมีปัญหาขึ้นมาจริงๆ สำคัญทีสุดก็คือปัจจัย
เพราะฉะนั้นช่วงที่ยังมีชีวิต ห้ามเอามรดกแจกลูกหลานให้หมด เก็บไว้ก่อน
ตายเมื่อไหร่ลูกๆค่อยเอาไปแบ่งกัน อิอิ
ก็ต้องคิดไว้แบบนี้แหละ เงินช่วยเราได้ในยามป่วยไข้
ลูกหลานก็ไม่แน่ว่าจะพึ่งได้แค่ไหน
ไม่เคยคิดจะพึ่งลูกเลยค่ะ คุณน้อย



โดย: ซองขาวเบอร์ 9 วันที่: 25 มีนาคม 2557 เวลา:21:47:24 น.  

 
มาอ่านเรื่องดีๆค่ะ
วันนี้ยาวมากเลยแต่ได้ประโยชน์มากๆเลยค่ะ
ขอบคุณมากๆนะคะ



โดย: lovereason วันที่: 25 มีนาคม 2557 เวลา:23:47:02 น.  

 
มาโหวตยามดึกค่ะ


บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
schnuggy Travel Blog ดู Blog
เศษเสี้ยว Photo Blog ดู Blog
mastana Literature Blog ดู Blog
newyorknurse Klaibann Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น









โดย: mambymam วันที่: 26 มีนาคม 2557 เวลา:0:17:49 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับพี่น้อย


พี่ชายผมเพิ่งเสียไปด้วยครับ
ผมเลยยิ่งย้ายออกไปไหนลำบาก

อยู่ใกล้ๆก็ยังได้ดูแลบ้าง
แม้ไม่มาก แต่ก็อุ่นใจกว่าครับ





โดย: กะว่าก๋า วันที่: 26 มีนาคม 2557 เวลา:6:09:34 น.  

 
สวัสดียามเช้าค่า
แวะมาโหวตให้กับข้อมูลทางด้านสุขภาพนะค่า

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ปีศาจความฝัน Movie Blog ดู Blog
newyorknurse Health Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: พริ้วไหวไปตามลม วันที่: 26 มีนาคม 2557 เวลา:6:30:14 น.  

 
สวัสดีค่ะพี่น้อย
ขอบคุณที่แวะไปชมว่านสี่ทิศนะคะ







โดย: mambymam วันที่: 26 มีนาคม 2557 เวลา:9:10:15 น.  

 

ขอบคุณคะแนนโหวตด้วยค่ะคุณน้อย วันนี้ไปออกกำลัง

กายที่ฟิตเนสรึเปล่าคะีสตรอเบอรี่มาฝากค่ะ




โดย: พรไม้หอม วันที่: 26 มีนาคม 2557 เวลา:15:33:44 น.  

 
ประทับใจในบทความนี้มากค่ะพี่น้อย
พี่น้อยห่วงใย เสียสละ และมีน้ำใจกับเพื่อนมากค่ะ
เพื่อนพี่น้อยโชคดีค่ะที่มีเพื่อนคอยดูแลด้วยรักและเมตตา

ขอบคุณสำหรับคำเตือนเรื่องการวางแผนสำหรับอนาคต
และบทความเรื่อง การรักษามิตรภาพด้วยนะคะพี่น้อย
มีประโยชน์จริงๆค่ะ

เป็นกำลังใจให้เพื่อนพี่น้อยด้วยนะคะ
ขอให้ปัญหาของเพื่อนที่พี่น้อยกังวลมีทางออกที่ราบรื่นค่ะ

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้
ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต

newyorknurse Klaibann Blog ดู Blog
..........................


โดย: Sweet_pills วันที่: 26 มีนาคม 2557 เวลา:23:45:57 น.  

 
คุณยายนู๋ก็ชอบอยู่เนอร์ซิ่งโฮมมากกว่าบ้านค่ะ มีเพื่อนคุยเยอะกว่า
ตอนนี้ท่านเสียแล้วค่ะ

ถนนราชดำเนินในภาพ ฌล่งดีนะคะ

===================================

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
schnuggy Travel Blog ดู Blog
ทนายอ้วน Food Blog ดู Blog
เศษเสี้ยว Photo Blog ดู Blog
newyorknurse Parenting Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: ปรัซซี่ วันที่: 27 มีนาคม 2557 เวลา:5:38:09 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับพี่น้อย

พ่อผมคงเริ่มทำใจได้บ้างแล้ว
เหลือแต่แม่กับพี่สะใภ้ที่ยากหน่อยครับ
แล้วนี่ก็เพิ่ง 2-3 เดือนเท่านั้น

เมื่อวานพ่อเล่าถึงพี่ชายว่าเห็นในฝัน
แม่ก็น้ำตาไหลแล้วครับ
ขนาดเป็นฝันที่ดีนะครับ





โดย: กะว่าก๋า วันที่: 27 มีนาคม 2557 เวลา:6:24:40 น.  

 
ขอบคุณครับพี่น้อย



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 27 มีนาคม 2557 เวลา:8:26:21 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับคุณnewyorknurse

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
**mp5** Dharma Blog ดู Blog
newyorknurse Klaibann Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: นธีทอง วันที่: 27 มีนาคม 2557 เวลา:9:33:42 น.  

 





พี่น้อย คะ... (ขออนุญาติ เรียกตาม ชาวโลก ค่ะ)

งานป๋องยังไม่เสร็จ จริงๆ..

หลายวันเต็มทีแล้ว

เอาเป็น ขอ จัดการมันให้ อยู่หมัด ก่อนนะคะ..

กะเด๋ว ป๋องแวะมาใหม่..


จุ๊บ จุ๊บ ก่อนนะคะ...





โดย: foreverlovemom วันที่: 27 มีนาคม 2557 เวลา:12:01:13 น.  

 
newyorknurse Klaibann Blog ดู Blog



แวะมาเยี่ยมค่ะ เตรียมการเอาไว้บ้างก็ดีเหมือนกันนะคะ ทุกคนไม่ควรประมาท เมื่อเวลามาถึงจะได้มีตัวเลือก


โดย: ดอยสะเก็ด วันที่: 27 มีนาคม 2557 เวลา:13:30:19 น.  

 




พี่น้อยคะ...

ป๋องเพิ่งส่งงาน ไปเมื่อสัก กะ ครู่ นี้...

เลย มา โต๋เต๋ ได้ค่ะ..

อ้อ ก่อนจะโม้...


บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
กะว่าก๋า Photo Blog ดู Blog
newyorknurse Health Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น



...



ป๋องตัวคนเดียว ไม่รู้เหมือนกันว่า แก่ตัวไป จะเป็นยังไง...

แต่..

ไม่ว่าจะยังไง .. ป๋องก้อ (โค ตะ ระ) พร้อม แล้ว ที่จะเผชิญหน้ากะ มัน...


..


ป๋องเคยเห็น ตามโรงพยาบาลที่เขารับเลี้ยงคนชรา..

น่าสงสารเยอะเลยค่ะ..

เด็กวัยรุ่น เป็นคนเลี้ยง..

โฮ้... มาน... ทรมาน ทรกรรม สารพัด...

เวลาป้อนข้าว มันจะ ยัด ยัด ยัด อาหารเข้าปากคุณปู่ คุณย่าทั้งหลาย..

เวลาจูง...

มันจะ กึ่งลาก กึ่ง วิ่ง...

แล้วคุณยาย ก็ต้องลากขา ตามมันให้ทัน...

เบื่อ..

แต่ไม่รู้จะช่วยยังไงค่ะ...



และถ้า ป๋อง กลาย เป็น ผู้ ถูก ลาก !?! ...

มะ รุ...

ตอนนี้ ทำได้อย่างเดียว.. ออกกำลังกาย และ ไม่ประมาท..

กลัวว่าจะต้องไปอยู่ในนั้น ก่อนวัยอันควร ค่ะ...


..


แต่ สำหรับป๋อง คงอยู่ในบ้านดีๆได้ไม่นาน...

เนื่องเพราะ เงินที่เหลือ ...

มี น้อย เต็ม ที แล้วค่ะ...


..


อ่ะ... ระ วัง ทุก ย่าง ก้าว..

ป๋องทำได้เพียงเท่านี้ค่ะ..



..


อุ เกือบลืม...

ขอบคุณ พี่น้อย สำหรับ โหวต ค่ะ...






โดย: foreverlovemom วันที่: 27 มีนาคม 2557 เวลา:14:17:53 น.  

 



พี่น้อย อย่าว่าป๋อง งั้น งี้ เลยนะคะ..

ป๋องขี้เกียจตามหา พี่ บ่อยๆ...

ขอ Add เป็นเพื่อนเลย ละกันค่ะ...


ขอบคุณค่ะ...





โดย: foreverlovemom วันที่: 27 มีนาคม 2557 เวลา:14:19:41 น.  

 
เล่าละเอียดเลยค่ะ เพื่อนกันไม่ทิ้งกันนะคะ
คุณน้อยกับเพื่อนดูแลเพื่อนดีเหมือนญาติเลยค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
เนินน้ำ Food Blog ดู Blog
newyorknurse Klaibann Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: ที่เห็นและเป็นมา วันที่: 27 มีนาคม 2557 เวลา:21:58:20 น.  

 
ข้อมูลละเอียดดีมากเลยค่ะ อ่านไปได้ครึ่งเดียว เพราะปวดตา วันหน้าจะกลับมาอ่านส่วนที่เหลือนะคะ

ขอบคุรมากค่ะ


โดย: Maeboon วันที่: 28 มีนาคม 2557 เวลา:0:26:14 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

newyorknurse
Location :
ราชบุรี .. New York ... United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 164 คน [?]






เริ่มเขียนBlog
เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2553

ยินดีต้อนรับค่ะ

จขบ.บันทึกประสบการณ์ต่างๆ
ระยะเวลาทำงานและระยะเกษียณ
เพื่อเก็บไว้เป็นความทรงจำ

จขบ.พยายามใช้ชีวิตเกษียณให้มีคุณค่า
รักษาสุขภาพใจและกาย ท่องเที่ยวกับเพื่อนๆ
ทำสวนดอกไม้ ออกกำลังกาย
สมัครเป็นสมาชิก 24 Hrs Fitness
เพื่อให้ชีวิตที่เหลืออยู่มีคุณภาพ
จะได้ไม่เป็นภาระกับคนที่รักและห่วงใย

จขบ.เพิ่มบล็อกสุขภาพ
เพื่อจะได้นำสาระที่มีประโยชน์
เกี่ยวกับสุขภาพทั่วๆไป

จขบ.หวังว่าข้อมูลต่างๆช่วยให้
ทุกท่านที่มาอ่าน รักษาสุขภาพ
ไปตรวจเพื่อเป็นการป้องกัน
และได้รับการรักษาเนิ่นๆ เพื่อ
ชีวิตที่แข็งแรงและมีคุณภาพ

"A time to enjoy,
a time to spend time with your family
and a time to be with your friends
all comes with retirement"


*****


"Live The Moment"

อยู่กับปัจจุบันขณะ หยุดเสียใจกับสิ่งที่เกิดขี้น
ในอดีตและกลัวหรือกังวล
สิ่งทีเกิดขี้นในอนาคต "วันนี้" และ "ขณะนี้"
คือช่วงเวลาที่ดีที่สุดของคุณ !!
ใช้มันให้ดีที่สุดให้เป็นช่วงเวลาทีมีคุณค่า
น่าจดจำเพราะว่าเวลาเป็นสิ่งที่ผ่านมา
และผ่านเลยไป เอาคืนไม่ได้และ
หาเพิ่มก็ไม่ได้เช่นกัน

ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาค่ะ


*********


ขอบคุณ Bloggang ทำให้เราได้เขียนบล็อกต่างๆ
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวด
ทุกๆคะแนน นะคะ

BG Popular Award # 19


BG Popular Award # 18


BG Popular Award # 17


BG Popular Award # 16


BG Popular Award # 15


BG Popular Award # 14


BG Popular Award # 13


BG Popular Award # 12


BG Popular Award # 11


BG Popular Award # 10


BG Popular Award # 9


BG Popular Award # 8

**********



ขอบคุณทุกหัวใจวาเลนไทน์ 2561
ที่เพื่อนๆมอบให้ค่ะ


ขอบคุณทุกหัวใจวาเลนไทน์ 2560
ที่เพื่อนๆมอบให้ค่ะ
Flag Counter
New Comments
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2557
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
25 มีนาคม 2557
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add newyorknurse's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.