Group Blog
 
 
พฤษภาคม 2552
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
22 พฤษภาคม 2552
 
All Blogs
 
ประวัติคนยอง

200 ปี ชาวยอง สิบสองปันนา ชาติพันธุ์ต้นตระกูลคนลำพูน


จากข้อมูลของกลุ่มนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ต่างให้การยอมรับว่า
"นครหริภุญไชย" หรือลำพูน เป็นจังหวัดที่มีกลุ่มคน
ชาติพันธุ์ที่หลากหลายที่สุดในภาคเหนือ อาทิ ยวน โยนก ไทใหญ่ ยางแดง เขิน
ลื้อ ลั้ะ ยอง มอญ

หากนับชาติพันธุ์ตั้งแต่อดีต
ยุคสมัยที่พระนางจามเทวี พร้อมไพร่พล จากเมืองละโว้ เข้ามาปกครองบ้านเมือง
สร้างความเจริญรุ่งเรืองทั้งด้านศาสนา สังคม และวัฒนธรรม
จนเป็นที่กล่าวขานว่า เป็นแผ่นดินทองของล้านนา

ต่อมาเมื่อต้อง
ถูกรุกราน ลำพูนต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของเชียงใหม่
จนถึงยุคที่พม่าเข้ามารุกรานล้านนา และได้ปกครองลำพูนนานกว่าสองทศวรรษ

ต้อง
ยอมรับว่าในช่วงหลังสงคราม ไม่ว่าจะเป็นยุคใดสมัยใดก็ตาม
เมืองที่ถูกรุกรานแทบจะกลายเป็นเมืองร้างทันที ผู้คนชาวบ้านต่างหนีตาย
อพยพลูกหลานไปอาศัยอยู่ที่อื่นกันหมด

สำหรับเมืองลำพูน
หลังจากที่ พญากาวิละ เจ้าเมืองเชียงใหม่ ได้ต่อสู้ ขับไล่พม่าจนชนะ
จึงได้เกณฑ์ชาวเชียงใหม่และชาวลำปางประมาณ 1,500 คน
ให้มาตั้งรกรากที่เมืองลำพูน พร้อมกันนี้ได้กวาดต้อนชาวไตลื้อจากเมืองยอง
สิบสองปันนา ประมาณ 10,000 คน มาอยู่เมืองลำพูน

ในช่วงที่มีการอ
พยพ โยกย้ายผู้คนจำนวนมากนี้ เรียกกันว่า ยุคเก็บผักใส่ซ้า
เก็บข้าใส่เมือง เกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ.2348 และพญากาวิละได้สถาปนาให้
เจ้าคำฝั้น หรือ เจ้าบุรีรัตน์ เป็นเจ้าเมืองลำพูน
มาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ในที่ราบลุ่มฝั่งแม่น้ำกวง
ตรงข้ามกับตัวเมืองลำพูน ด้านตะวันออก คือบ้านเวียงยองและบ้านตอง
ในปัจจุบัน

สำหรับสาเหตุที่ทำให้ชาวไตถูกกวาดต้อนอพยพมาอยู่ต่าง
บ้านต่างเมืองในครั้งสงครามนั้น เนื่องจากเป็นเมืองชายขอบ
ที่อยู่ระหว่างศูนย์อำนาจใหญ่ เช่น พม่า จีน เชียงตุง เชียงรุ่ง เชียงแสน
เชียงใหม่ และหลวงพระบาง ตั้งอยู่ในแอ่งที่ราบขนาดเล็ก
เป็นเมืองที่ไม่มีความเข้มแข็งและมีอำนาจในช่วงสงคราม จึงมีการแก่งแย่ง
กวาดต้อนผู้คนจากเมืองเล็กๆ ที่ไม่มีความเข้มแข็ง
เมืองยองได้รับความกระทบกระเทือนทุกครั้ง
ทำให้ผู้คนล้มตายและหลบหนีเข้าป่าไปจนเกือบเป็นเมืองร้าง

ครั้งที่พญากาวิละ ไปกวาดต้อนผู้คนจากเมืองยองมานั้น ได้ประกาศว่า

"ผู้ใดสมัครใจจะไปอยู่เมืองหละปูน บ่ต้องโกนหัว ส่วนไผอยู่เมืองเดิม ให้โกนหัวเสีย"

ปรากฏ
ว่าชนชั้นเจ้านาย ยอมโกนหัว เพื่อประกาศว่าจะไม่ละทิ้งแผ่นดินเกิด
ในขณะที่ชนชั้นล่าง ชาวไร่ ชาวนา ยินยอมที่จะอพยพไปตายเอาดาบหน้า
แต่พญากาวิละเห็นว่ากลุ่มคนที่ไม่ยอมไป มีมากกว่า
และเป็นกลุ่มคนชั้นสูงที่มีคุณภาพ จึงกลับคำ
และสั่งให้กลุ่มคนเหล่านั้นไปอยู่เมืองหละปูนแทน ส่วนพวกชาวนา ชาวไร่
ก็ให้ปักหลักอยู่แผ่นดินเดิมต่อไป

การฟื้นฟูเมืองลำพูนของพระเจ้า
กาวิละ เพื่อต้องการให้เมืองเชียงใหม่มีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น
ประกอบกับเมืองลำพูนยังเคยเป็นส่วนหนึ่งของเชียงใหม่มาก่อน
จึงได้ให้เจ้าเมืองยอง บุตร ภรรยา พี่น้อง พร้อมชาวยองจำนวนหนึ่ง
มาตั้งถิ่นฐานราบลุ่มแม่น้ำกวง ฝั่งด้านทิศตะวันออกของเมืองลำพูน แม่น้ำทา
และแม่น้ำลี้ เพื่อที่พระเจ้ากาวิละจะสามารถควบคุมดูแลได้ง่าย
และป้องกันการก่อกบฏด้วย

นางเพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์
หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญชัย กล่าวว่า
คนส่วนใหญ่ยังเข้าใจผิดว่ายองเป็นชื่อของชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่งที่แยกตัวมา
จากชาวไต แต่แท้จริงแล้ว ยองเป็นชาติพันธุ์เดียวกับชาวไตลื้อ ไตเขิน
เพียงแต่อพยพมาจากคนละเมือง ไตยองมาจากเมืองยอง ไตเขินมาจากเชียงตุง
ปัจจุบันอยู่ในประเทศพม่า และไตลื้อมาจากเชียงรุ่ง ในสิบสองปันนา
ปัจจุบันอยู่ในประเทศจีน พอมาอยู่เมืองไทยจึงเรียกตนเองว่า "ไตยอง"

"
การสร้างความโดดเด่น หรือ อัตลักษณ์ ให้กับตนเองทางด้านวัฒนธรรมนั้น
ชาวไตเขิน จะสร้างให้ตนเองเป็นสล่า หรือช่างฝีมือชั้นสูง ที่เห็นได้ชัดคือ
หมู่บ้านเขินแถบวัวลาย กลางเมืองเชียงใหม่ เป็นแหล่งผลิตเครื่องเขิน
เครื่องเงินและหัตถศิลป์ต่างๆ ชาวไตยอง จะเป็นช่างแกะสลักไม้ และทอผ้า
ในขณะที่ชาวไตลื้อจะอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ทำไร่ ทำนา"


อาจารย์
แสวง มาละแซม นักวิชาการท้องถิ่น จากโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย
ผู้เขียนหนังสือ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น คนยองย้ายแผ่นดิน และคนยอง
กล่าวว่า การเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองลำพูน
ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสังคม

โดยเมืองยองมีพลเมืองลดลง
แต่เมืองลำพูนมีจำนวนพลเมืองเพิ่มมากขึ้น จนกระทั่งในรัชกาลที่ 5
ชาวยองเมืองลำพูน ถูกนับเป็นส่วนหนึ่งของพลเมืองชาวสยาม
การปรับตัวของชาวยองในแผ่นดินสยาม ในด้านสังคมและวัฒนธรรม
กลุ่มชาวยองยังคงรักษาเอกลักษณ์ของตนเองไว้อย่างยาวนาน อาทิ บ้านเรือน
ที่อยู่อาศัย ภาษาพูด "ภาษายอง"
ซึ่งเป็นภาษาพูดที่สามารถสื่อสารกันอย่างเข้าใจระหว่างชาวยอง สิบสองปันนา
กับชาวยองลำพูน ซึ่งต่างจากชาติพันธุ์อื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในลำพูน
แต่ถูกวัฒนธรรมคนเมืองกลืนไปจนหมด

"
ปัจจุบันนี้ ชาวยองนับว่าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่ของเมืองลำพูน เกือบ
70 เปอร์เซ็นต์ พลเมืองลำพูน ทั้ง 7 อำเภอ 1 กิ่ง
เป็นคนยองที่อาศัยราบลุ่มน้ำทา น้ำลี้ น้ำกวงทั้งสิ้น เป็นระยะเวลากว่า
200 ปี ที่คนยองได้ย้ายแผ่นดิน จากสิบสองปันนา มาอยู่สยามประเทศ
ถึงแม้ว่าระยะทางจะห่างไกลกันก็ตาม แต่คนยองทั้งสองประเทศ
ยังไปมาหาสู่กันอยู่ ร่วมกันคิด สืบสานวัฒนธรรมรากเหง้าของบรรพบุรุษ
ให้ลูกหลานได้สืบทอดต่อไป"


ทันตแพทย์อุทัยวรรณ
กาญจนกามล ทายาทรุ่นที่ 4 เจ้าเมืองยอง ที่ถูกพญากาวิละ
กวาดต้อนมาอยู่เมืองลำพูน เล่าว่า พ่อเคยเล่าให้ฟังว่า
ชาวไตยองที่ถูกกวาดต้อนมา มักจะถูกเหยียดยาม ไม่ได้รับการยกย่อง
จากกลุ่มคนเมือง และกลุ่มเจ้านายเมืองเหนือ

ถ้าเกิดมาเป็นหญิง
มีรูปลักษณ์หน้าตาสวยงาม ก็จะได้แต่งงานกับเชื้อเจ้า และเจ้าขุนมูลนาย
เหมือนกับย่าทวด หรือเจ้าแม่คำเฝื่อ ลูกสาวเจ้าเมืองยอง
ที่มีด้วยกันสองพี่น้อง

ผู้พี่ได้แต่งงานกับเจ้าหลวงเมืองลำพูน
เจ้าดาราดิเรกรัตน์ไพโรจน์ แต่ก็ไม่ได้รับการยกย่องเชิดชู ส่วนน้องสาว
แต่งงานกับคนจีนตระกูลแซ่เล้า ใน ตระกูลอนุสารสุนทร ซึ่งเป็นต้นตระกูลของ
นิมมานเหมินทร์

ถึงแม้ว่าจะมีเชื้อเจ้าเมืองยอง
การเมืองในขณะนั้นค่อนข้างที่จะรุนแรง แต่ตลอดระยะเวลา
ก็ต้องปกปิดฐานะตนเองไว้ แสดงตัวไม่ได้ และถ้ามีทายาท ที่เป็นลูกชาย
ที่มีความเข้มแข็งแกร่งกล้า หรือฝึกการต่อสู้
ถ้าเจ้าเมืองทราบก็จะถูกกำจัด

ดังนั้น พ่อของตนจึงได้นำตนไปฝาก
พระประสานสุตาคม ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูนเลี้ยงดู และด้วยความที่พ่อแม่
ไม่ค่อยพูดถึงประเพณี วัฒนธรรมของบรรพบุรุษให้ฟัง จึงทำให้รากเหง้าต่างๆ
ถูกทำลายด้วยความเป็นไปของโลกปัจจุบัน แต่ก็ยังคงรักษาภาษาพูดไว้
สำหรับการกีดกันของเชื้อเจ้านายฝ่ายเหนือ ก็หมดสิ้นไปตามยุคสมัย
ในการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปการเมือง พ.ศ.2475

นับเป็นประวัติศาสตร์
ครั้งสำคัญของชาวไตหรือคนยอง ที่อพยพกันมาแบบเทครัว หรือเตโค ตั้งแต่ปี
พ.ศ.2348 จนถึงเมษายน 2549 เป็นเวลา 200 ปี
ที่ชาวยองได้มาตั้งถิ่นฐานที่เมืองลำพูน เอกลักษณ์ และวัฒนธรรม
วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ยังคงสืบทอดมาจนถึงรุ่นลูก รุ่นหลาน อาทิ
การแต่งกาย ผู้เฒ่า ผู้แก่บางคนยังคงแต่งกายแบบชาวไต

ภาษายอง
ซึ่งเป็นภาษาพูดที่เป็นเอกลักษณ์ สำเนียงแปลก แตกต่างจากภาษาคำเมือง
บ้านที่อยู่อาศัย ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะหาดูได้ยาก แต่ยังมีให้เห็นใน
อ.ป่าซาง อ.บ้านธิ และ อ.เมือง ซึ่งลักษณะของบ้านชาวยองนั้น
จะนิยมสร้างบ้านไม้ ใต้ถุนโล่ง หลังคาจะไม่มีกาแล แต่จะมีรูปนกยูง
ซึ่งเป็นสัตว์สัญลักษณ์ที่ชาวยองเคารพนับถือประดับอยู่แทน
ศิลปะการฟ้อนรำบางอย่าง เช่น ฟ้อนยอง ฟ้อนดาบ การทำกลองหลวง ความเคารพ
ยึดถือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า รักความสงบ

ชาวไตยอง
นับเป็นชาติพันธุ์ บรรพบุรุษคนลำพูน ที่รักษารากเหง้าของตนเองได้นานกว่า
200 ปี ซึ่งเด็กรุ่นหลังควรจะภาคภูมิใจ ยึดรากเหง้า
วิถีชีวิตดั้งเดิมของบรรพบุรุษรักษาไว้






Free TextEditor


Create Date : 22 พฤษภาคม 2552
Last Update : 22 พฤษภาคม 2552 16:35:15 น. 1 comments
Counter : 788 Pageviews.

 
ขอบคุณสำหรับการนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับสิบสองปันนาดินแดนแห่งอารยธรรมไทลื้อ และโชว์พาราณสีอันเลื่องชื่อ


โดย: Royter วันที่: 13 มีนาคม 2554 เวลา:19:51:22 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

adisornjom
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add adisornjom's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.