All the girls standing in the line for the bathroom !!!

*** หมายเหตุ : สงวนลิขสิทธิ์ บทความและผลงาน ใน Blog นี้ครับ ***
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2558
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
23 สิงหาคม 2558
 
All Blogs
 

*** Inside Out *** เศร้าเพื่อสุข

*** Inside Out ***






Inside Out เล่าเรื่องราวของเหล่า “อารมณ์” ในสมองของ Riley เด็กสาววัย 11 ที่ต้องจากบ้านเกิดที่แสนสุขใน Minnesota มาอยู่ในเมืองใหญ่อย่าง San Francisco



หนังสร้างตัวละครที่เป็นตัวแทนของอารมณ์ทั้ง 5 อันประกอบด้วย

1. Joy หรือความร่าเริง (ชื่อไทย ลั้ลลา )
2. Sadness หรือความเศร้า (ชื่อไทย เศร้าซึม)
3. Anger หรือความโกรธ (ชื่อไทย ฉุนเฉียว)
4. Disgust หรือความรังเกียจ (ชื่อไทย หยะแหยง)
5. Fear หรือความกลัว (ชื่อไทย กลั๊วกลัว)


โดยอ้างอิงจากทฤษฎีเกี่ยวกับอารมณ์อย่างหลวมๆ เพื่อดำเนินเรื่องของพัฒนาการทางอารมณ์ภายในสมองของ Riley ควบคู่ไปกับสิ่งที่ Riley ต้องพบเจอใน San Francisco



จากนี้ไปเป็นการวิเคราะห์วิจารณ์จากตัวหนังแบบเปิดเผยเนื้อหาสำคัญครับ ใครยังไม่ได้ดูแนะนำว่าอย่าเพิ่งอ่าน

ปล. อ้างอิงจากข้อมูลในหนังเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับทฤษฎีจิตวิทยาเกี่ยวกับอารมณ์ที่ปัจจุบันมีหลากหลายและซับซ้อนกว่า







จากในหนังเราจะพบว่าทุกตัวละครต่างก็มีอารมณ์ทั้ง 5 คอยรับรู้สิ่งเร้าภายนอก เพื่อคอยกำหนดพฤติกรรมการกระทำของตัวละคร


เหตุการณ์ในชีวิตจะถูกเก็บสะสมอยู่ในลูกบอลความทรงจำ ซึ่งจะมีสีสันตามอารมณ์ที่โดดเด่นที่สุดของเหตุการณ์นั้น

เหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อบุคลิกภาพจะถูกนำไปสร้างเป็น เกาะแห่งบุคลิกภาพ ที่ซึ่งรวบรวมความทรงจำสำคัญที่กำหนดบุคลิกภาพของตัวละคร



เรายังพบว่าอารมณ์ทั้ง 5 ของ Riley ยังทำงานได้ไม่สอดประสานกันมากนักเมื่อเทียบกับ อารมณ์ทั้ง 5 ของพ่อและแม่ที่หนังนำเสนอให้เห็น นั่นเพราะเธอยังเด็กพฤติกรรมและการตัดสินใจจึงมาจากอารมณ์มากกว่าเหตุผล







[ภายนอก: ทันทีที่ Riley ต้องย้ายจาก Minnesota มา San Francisco อารมณ์ของเธอก็เริ่มแปรปรวน เมื่อทุกอย่างไม่ได้เป็นไปในแบบที่คิด พ่อกับแม่เริ่มยุ่งจนไม่ได้ใส่ใจเธอเหมือนเก่า
Riley เริ่มคิดถึงเพื่อนเก่า ความอบอุ่นของครอบครัว กีฬาฮอกกี้แสนรัก และความสุขเมื่ออยู่ Minnesota]


[ภายใน: ทันทีที่ต้องย้ายจาก Minnesota มา San Francisco เหล่าอารมณ์ก็เริ่มตื่นตัวกับที่ใหม่ Sadness เริ่มมีพฤติกรรมแปลกประหลาด โดยเธอพยายามจะจับลูกบอลความทรงจำแห่งความร่าเริงทุกลูก และทันทีที่เธอจับมันลูกบอลความทรงจำจะเปลี่ยนเป็นลูกบอลสีฟ้าแห่งความเศร้าซึม]



จะเห็นว่าอารมณ์เศร้าเริ่มมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อจิตใจของ Riley อย่างช้าๆ

การที่ Sadness พยายามจับลูกบอลความทรงจำ มันคือการที่ Riley พยายามระลึกถึงอดีตที่มีความสุข

การระลึกถึงความสุขของ Riley เกิดขึ้นเพราะตอนนี้เธอเริ่มไม่มีความสุขแล้วนั่นเอง



"บางครั้งการที่เรานึกถึงความสุขในอดีตนั่นหมายถึงเรากำลังเศร้ากับปัจจุบัน"






[ภายนอก: อย่างไรก็ตาม Riley พยายามจะปรับตัวให้มีสภาพร่าเริงให้เหมือนแต่ก่อน เธอพยายามข่มความเศร้าในจิตใจ แต่ในวันแรกของโรงเรียนใหม่ เมื่อเธอเริ่มเล่าประวัติตัวเอง เธอก็เริ่มร้องไห้เมื่อนึกถึงความสุขเก่าๆที่เธอต้องจากมา]


[ภายใน: แม้ Joy จะพยายามกีดกันไม่ให้ Sadness ยุ่งกับลูกบอลความทรงจำแต่สักพัก Sadness เริ่มป่วนหนัก เธอจับลูกบอลความทรงจำแห่งความร่าเริงจนกลายเป็นลูกบอลความทรงจำแห่งความเศร้าซึม]



Riley พยายามร่าเริงและไม่คิดถึงอดีตที่แสนสุข แต่เมื่อโดนจี้จุดให้นึกไปถึงความสุขในอดีต เธอก็หยุดไม่ได้ที่จะนึกถึง



"บางครั้งยิ่งนึกถึงความสุขมากเท่าไร เราก็จะเศร้ามากเท่านั้น"






[ภายนอก: ความร่าเริงและความเศร้าซึมหายไปจากใจ Riley ตอนนี้เธอเหลือแค่ความหวาดกลัว ความรังเกียจ และความโกรธ เธอโกรธพ่อและแม่ของเธอ และพาลโกรธเพื่อนสนิทของเธอที่ Minnesota ด้วย

เช่นเดียวกัน บุคลิกภาพต่างๆของเธอก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไป ความเชื่อมั่นในครอบครัว ความชอบในกีฬาฮอกกี้ ความทะเล้นร่าเริง ความสัมพันธ์กับเพื่อน เริ่มพังทลาย]


[ภายใน: Joy และ Sadness ถูกดูดไปในที่เก็บความทรงจำระยะยาว(ที่เรียงตัวคล้ายรอยหยักในสมอง) ตอนนี้มีแค่ Fear, Disgust และ Anger ที่ควบคุมจิตใจ ซึ่งดูเหมือน Anger จะตอบสนองต่อสิ่งเร้ามากที่สุด

ขณะเดียวกัน เกาะบุคลิกภาพก็เริ่มล่มสลายลงไปทีละเกาะ ดังนั้นเหล่าอารมณ์ที่เหลือจึงไม่สามารถดึงบุคลิกภาพเหล่านั้นมาแสดงออกได้]



สำหรับ Riley บุคลิกภาพที่สั่งสมมาจากประสบการณ์ของเธอนั้น มาจากความทรงจำแห่งความร่าเริงเป็นหลัก ดังนั้นเมื่ออารมณ์ความร่าเริงของเธอหายไป บุคลิกภาพเดิมของ Riley ก็หายไปด้วย







Joy และ Sadness ได้พบกับ Bing Bong เพื่อนในจินตนาการของ Riley ที่หลบอยู่ในซอกหลืบความทรงจำระยะยาว Bing Bong อาสาจะพาทั้ง 2 กลับสู่ศูนย์บัญชาการ ด้วยรถไฟที่จะขนความคิดไปที่สมอง แต่แล้วรถไฟก็ตกราง หลังจากการล่มสลายของเกาะบุคลิกภาพ


ทั้ง 3 เปลี่ยนแผนไปใช้ท่อขนลูกบอลความทรงจำเป็นเส้นทางไปยังศูนย์บัญชาการ แต่ Joy ไม่อยากให้ Sadness ไปด้วยเพราะเธอจะสัมผัสกับลูกบอลความทรงจำจนมันกลายเป็นลูกบอลความทรงจำแห่งความเศร้าซึม แต่นั่นทำให้เกิดอุบัติเหตุจน Joy และ Bing Bong ตกลงไปในพื้นที่ทิ้งความทรงจำ




เมื่อตกลงไปในบ่อทิ้งความทรงจำ Bing Bong ยอมสละตัวเองเพื่อให้ Joy ได้หลุดพ้นจากบ่อทิ้งความทรงจำ

ประเด็นนี้บอกกับเราว่า



"บางครั้งถ้าอยากจะก้าวไปข้างหน้า เราก็ต้องทิ้งอดีตไว้ข้างหลัง"

"บางทีการจะมีความสุขให้ได้ในโลกแห่งความจริง เราก็ควรออกจากความสุขในโลกจินตนาการ"






[ภายนอก: Riley ติดอยู่กับความทรงจำอันแสนสุขในอดีต คิดจะหนีกลับไปที่ Minnesota สถานที่ที่เธอเคยมีความสุข ด้วยคิดว่าที่นั่นคงจะมอบความสุขให้เธอได้อีกครั้ง]


[ภายใน: Joy และ Sadness ที่ติดอยู่ในพื้นที่เก็บความทรงจำระยะยาว พยายามที่กลับไปที่ศูนย์บัญชาการในสมอง เพื่อต้องการมอบความสุขให้ Riley อีกครั้ง]




Joy ค้นพบว่าในความทรงจำที่มีความสุขนั้น บางครั้งมันเริ่มมาจากการแสดงออกซึ่งความเศร้า

Joy เข้าใจแล้วว่าการแสดงออกด้วยอารมณ์เศร้า คือการสื่อสารให้ผู้อื่นหันมาเข้าอกเข้าใจเราและมันเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ผ่านความทุกข์ไปได้ ดังนั้น Joy ต้องพา Sadness กลับไปที่ศูนย์บัญชาการ เพื่อให้ Sadness ได้ทำหน้าที่ในครั้งนี้



"ความเศร้าเป็นหนทางหนึ่งในการสื่ออารมณ์ให้ผู้อื่นช่วยเยียวยาความทุกข์"






ในที่สุด Joy ก็นำพา Sadness กลับไปที่ศูนย์บัญชาการได้สำเร็จและปล่อยให้เธอทำหน้าที่ จน Riley ล้มเลิกแผนหนีกลับไป Minnesota แล้วกลับบ้านเพื่อแสดงความเศร้าของเธอให้พ่อและแม่รับรู้

จากนั้น Riley ก็ได้รับการปลอบประโลมจิตใจจากพ่อและแม่ สุดท้ายมันก็เปลี่ยนจากความเศร้าเป็นความสุข



จากประสบการณ์ครั้งนี้ Joy ได้เรียนรู้ว่า



"ความสุขไม่ได้เกิดจากความร่าเริงเท่านั้น บางทีความเศร้าก็นำมาซึ่งความสุขเช่นกัน"




ส่วน Riley เองก็ได้เรียนรู้ว่า



"ความสุขไม่ได้ผูกติดกับอดีตหรือสถานที่ มันอยู่ที่ตัวเราในปัจจุบัน"






น่าสังเกตว่าเมื่อ Joy อยู่ที่ไหน Sadness ก็จะอยู่ที่นั่น และเมื่อ Joy ต้องอยู่คนเดียวเธอก็เศร้าซึมเป็น

แม้จะเป็นอารมณ์คนละด้านแต่ตัวของ Joy และ Sadness ก็มีสีผมเดียวกัน ซึ่งต่างกับอารมณ์อื่นที่มีบุคลิกโดดเด่นต่างกัน บางทีทั้งคู่อาจเป็นเหมือนคู่ตรงข้ามที่คอยรักษาสมดุลซึ่งกันและกัน



"ร่าเริงและเศร้าซึมคืออารมณ์ประเภทเดียวกัน ต่างกันที่มุมมองที่มีต่อประสบการณ์"

"ประสบการณ์ไม่มีอารมณ์ในตัวเอง อยู่ที่มุมมองว่าจะมองด้วยอารมณ์ใด"






Inside Out คือความบันเทิงที่เปี่ยมด้วยจินตนาการ แม้จะไม่บีบคั้น แต่ก็เข้มข้นไปด้วยแง่คิดและประเด็นที่น่าสนใจ

หนังวางโครงสร้างของเรื่องราวมาเป็นอย่างดี นั่นทำให้รู้สึกได้ว่าทฤษฎีในหนังนั้นสมเหตุสมผลในโลกของมันเอง



ถ้าประเด็นสำคัญของหนังจะบอกว่า



"ทั้งความร่าเริงและความเศร้าซึมต่างก็มีหน้าที่สำคัญในการสร้างความสุข"



ผู้กำกับ Pete Doctor และ Ronaldo Del Carmen ก็พิสูจน์ให้เห็นด้วยการผสมผสาน "ความร่าเริง" และ "ความเศร้าซึม" จนเป็น "ความสุข" ของผู้ชมในท้ายที่สุด






10 / 10 ครับ




 

Create Date : 23 สิงหาคม 2558
4 comments
Last Update : 23 สิงหาคม 2558 19:29:48 น.
Counter : 10834 Pageviews.

 

เรื่องนี้ลูกสาวชอบมาก

 

โดย: Jaded Nomad 23 สิงหาคม 2558 16:05:43 น.  

 

เด็กดูได้ ผู้ใหญ่ดูดีจริงครับ คุณ Jaded Nomad

 

โดย: navagan 23 สิงหาคม 2558 19:13:22 น.  

 

หน้าดูมากเลยค่ะ สนุกมีสาระ มีคำสอน ^^

 

โดย: วิราศินี เสมอสุข (สมาชิกหมายเลข 2605775 ) 25 สิงหาคม 2558 21:34:51 น.  

 

กระทู้ที่ตั้งใน pantip

//pantip.com/topic/34093057

 

โดย: navagan 30 สิงหาคม 2558 22:46:58 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


navagan
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 73 คน [?]




นวกานต์ ราชานาค
Navagan Rachanark


สนใจใน ภาพยนตร์, การวิเคราะห์-วิจารณ์ ภาพยนตร์,ดนตรี, งานเขียน และ ศิลปะอื่นๆ

สร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์ทดลอง และ งานดนตรีทดลอง และ งานเขียน


ปัจจุบันทำงานด้านการตลาด การวิจัยและพัฒนายางสังเคราะห์และยางธรรมชาติ

เริ่มจัดเก็บข้อมูลสถิติการเข้าชม

Time 09:00 Date 31/01/2010

by Histats.com

blogger web statistics

ถูกใจบทความ หรืออยากสนับสนุนเจ้าของ Blog

ก็ช่วย click ที่ Link โฆษณาครับ

ขอบคุณครับ

Friends' blogs
[Add navagan's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.