All the girls standing in the line for the bathroom !!!

*** หมายเหตุ : สงวนลิขสิทธิ์ บทความและผลงาน ใน Blog นี้ครับ ***
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
13 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 

*** Doubt *** สงคราม สามบริบท

*** Doubt ***






ปี 1964โรงเรียน St. Nicholas โรงเรียนคริสต์แห่งหนึ่งใน New York

ได้เกิดสงครามเล็กๆขึ้น ระหว่าง Sister Aloysius Beauvier (Meryl Streep) แม่ชีผู้เคร่งครัดในระเบียบวินัย กับ Father Brendan Flynn (Philip Seymour Hoffman) บาทหลวงประจำโรงเรียนนี้


ส่วนสาเหตุนั้นมาจาก Sister Beauvier สงสัย (และมั่นใจมาก) ว่า คุณพ่อ Flynn มีความสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสมกับ Donald Miller (Joseph Foster) เด็กนักเรียนชายผิวดำในโรงเรียน



สงครามครั้งนี้ไม่ใช่สงครามธรรมดา เนื่องจากทั้งสองเหมือนเป็นตัวแทนของการต่อสู้ในหลายๆบริบท



เรามาพิจารณากันดีกว่า






ชาย – หญิง ? : บทบาทในสังคมศาสนา



ใน Doubt หนังให้ภาพที่แตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่าง ชายกับหญิง ทั้งสภาพความเป็นอยู่ สิทธิ และกฎเกณฑ์การปฏิบัติในศาสนาคริสต์


หนังนำเสนอความแตกต่างสุดขั้วนี้ผ่านฉากรับประทานอาหารของเหล่าแม่ชี และ บาทหลวง



ในขณะที่แม่ชีสงบเสงี่ยม และเคร่งครัดอยู่ในกฎระเบียบ บาทหลวงกลับ คุยกันสนุกสนาน เฮฮา



ไม่ใช่เรื่องแปลกที่ในสังคมศาสนานั้น จะอยู่ในระบบที่ “ชายเป็นใหญ่” เนื่องจากเรื่องของความไม่เท่าเทียมกันทางเพศนั้น มันฝังรากลึกมาตั้งแต่ในอดีต




คงเป็นเรื่องธรรมดาที่ฝ่ายแม่ชี ย่อมจะมีความเก็บกดในใจ โดยเฉพาะคนที่เคร่งครัดมากๆอย่าง Sister Beauvier ซึ่งคนประเภทนี้ เมื่อได้พบกับผู้ที่ไม่เคร่งกฎแบบตนเอง ก็ย่อมที่จะไม่ชอบคนผู้นั้นเป็นธรรมดา



ในกรณีของ Sister Beauvier เธอไม่ชอบขี้หน้า คุณพ่อ Flynn ตั้งแต่ต้น ด้วยพฤติกรรมส่วนตัวของ คุณพ่อ Flynn หลายอย่าง ที่ถือว่าขัดกับระเบียบปฏิบัติที่สมควร เช่น การไว้เล็บยาว และมีพฤติกรรมใกล้ชิดกับนักเรียนชายอย่างผิดปกติ ซึ่งนั่นทำให้เธอมีความคิดว่า คุณพ่อ Flynn เป็นพวก "รักร่วมเพศ"



ดังนั้นพอมีมูลเหตุว่า คุณพ่อ Flynn ล่วงละเมิดทางเพศเด็กนักเรียนชาย เธอก็พร้อมที่จะเชื่อ และมั่นใจเต็มที่






ในมุมมองนี้ หนังนำเสนอภาพความไม่เท่าเทียมกันทางเพศในสังคมศาสนา ซึ่งน่าสนใจตรงที่แทบทุกคนที่เป็น “ศาสนบริกร” (ผู้รับใช้ศาสนา) กลับยอมรับในข้อนี้


สำหรับ Sister Beauvier ก็เช่นกัน ไม่ใช่ว่าการกระทำของเธอจะเป็นการทวงคืนความเท่าเทียมทางเพศ แต่หากเป็น การรับเอาแนวคิดนี้มาอย่างเต็มเปี่ยม

เพราะถ้าเรียงลำดับแล้ว จากเพศที่อยู่เหนือสุดไปต่ำสุดในสังคมนี้ ก็คือ เพศชาย (บาทหลวง) รองลงมาคือ เพศหญิง (แม่ชี) และที่ต่ำสุด (และน่ารังเกียจที่สุด) ก็คือ พวกรักร่วมเพศ




ซึ่งกรณีของ Sister Beauvier การที่เธอพยายามเอาผิด คุณพ่อ Flynn นั้น เป็นเพราะว่า เธอไม่ได้มอง คุณพ่อ Flynn ในฐานะ “เพศชาย” แต่มอง คุณพ่อ Flynn ในฐานะ "พวกรักร่วมเพศ" ต่างหาก



หรือแท้จริงแล้ว นี่ไม่ใช่สงครามระหว่าง ชาย-หญิง แต่เป็น สงครามกับพวก “รักร่วมเพศ”






สมัยใหม่ – สมัยเก่า : สงครามระหว่างยุคสมัย



อีกสาเหตุหนึ่งที่ Sister Beauvier ไม่ชอบ คุณพ่อ Flynn นั่นก็คือ มุมมองที่แตกต่าง ในเรื่องของบทบาทของศาสนาที่มีต่อชุมชน

ในฉากหนึ่ง คุณพ่อ Flynn เสนอให้นำบทเพลงเทศกาลอย่าง Frosty the Snowman ที่เปิดตามวิทยุมาใช้ในงานโรงเรียนประจำปี แทนที่จะใช้แต่เพลงสวดเหมือนเดิม ซึ่งแน่นอนว่า Sister Beauvier นั้นไม่เห็นด้วย

กระทั่งเรื่องเล็กๆอย่างการใช้ปากกาลูกลื่น Sister Beauvier ก็คิดว่าเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม


หรือฉากที่ Sister Beauvier ห้ามนักเรียนชาย-หญิง เข้าใกล้กัน เพราะเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมที่เด็กในวัยนี้จะมีความรักเชิงชู้สาว แต่เมื่อเด็กนักเรียนหญิงคนหนึ่งชอบนักเรียนชายอีกคน คุณพ่อ Flynn กลับแนะนำให้เธอแสดง “ความรัก” นี้ออกไป อย่างเปิดเผย


เหล่านี้แสดงถึงมุมมองที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิงของทั้งคู่



ในมุมมองของ คุณพ่อ Flynn นั้น ศาสนาต้องปรับตัว ด้วยการทำตัวใกล้ชิด และเป็นที่พึ่งพิงให้กับชุมชน มากกว่าที่จะเป็นแค่สถาบันที่เคร่งครัดกฎระเบียบ แต่ห่างเหินกับชุมชน ตามความคิดของ Sister Beauvier





หนังใช้ ลมพายุ เป็นสัญลักษณ์ แทนการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย กระแสลมที่พัดอย่างรุนแรงนั้นสามารถหักโค่นต้นไม้ใหญ่ที่ยืนต้นมานานได้ภายในคืนเดียว

ซึ่ง Sister Beauvier ถึงกับออกปากว่า เกิดมาไม่เคยเห็นลมแรงแบบนี้มาก่อน



คงไม่เกินเลยไปนัก หากจะบอกว่าใน Doubt คุณพ่อ Flynn เป็นตัวแทนของ ยุคสมัยใหม่ ขณะที่ Sister Beauvier นั้นเปรียบเสมือนตัวแทนของ ยุคสมัยเก่า



และการปะทะกันของทั้งคู่ ก็เปรียบเสมือน


การปะทะกันระหว่างยุคสมัยในช่วงเปลี่ยนผ่าน






การลงโทษ – การให้อภัย : ความถูกต้อง หรือ เมตตาจิต



เรื่องของ การให้อภัย กับ การลงโทษ เป็นอีกหนึ่งคู่ตรงข้ามที่หนังหยิบมาเป็นประเด็น



สำหรับ Sister Beauvier ดูเหมือนว่าเธอจะไม่สนใจสิ่งอื่นใด นอกจาก “ความถูกต้อง” ตามกฎระเบียบ

ขณะที่ คุณพ่อ Flynn ให้ความสำคัญกับ “การให้อภัย” หรือ “เมตตาจิต” มากกว่า




ถ้าสิ่งที่ คุณพ่อ Flynn พูดเป็นความจริง เรื่องที่ Donald Miller แอบดื่มไวน์

การกระทำของ คุณพ่อ Flynn ในการปกปิดเรื่องราวนั้น ก็เนื่องมาจากไม่ต้องการให้ใครรู้ เพราะ Miller อาจถูกลงโทษไม่ให้เป็นผู้ช่วยพระ และมีผลต่ออนาคตของ Miller เนื่องจากเขาต้องการที่จะเป็นบาทหลวงในอนาคต

แต่การกระทำของ Sister Beauvier ที่ต้องการขุดคุ้ยความจริง เพียงเพื่อให้ถูกต้องตามกฎระเบียบ อาจเป็นการทำลายอนาคตที่ Miller ตั้งใจไว้


ในตอนที่ Sister Beauvier ไปคุยกับ แม่ของ Miller (Viola Davis) นั้นแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนเลยว่า



เธอไม่ได้สนใจอนาคตของเด็กแม้แต่นิดเดียว

เพียงเพื่อที่จะได้ลงโทษคนที่ทำผิด เธอสามารถทำได้ทุกอย่าง



แต่ถ้าสิ่งที่ Sister Beauvier คิดเป็นเรื่องจริงขึ้นมา

การขับไล่ คุณพ่อ Flynn คงเป็นสิ่งที่สมควรทำ แต่การรอเพียงอีกไม่กี่เดือนที่จะให้ Miller จบการศึกษาก่อน น่าจะเป็นวิธีที่ดีกว่ามิใช่หรือ






ไม่ว่าเรื่องจริงจะเป็นเช่นไร พฤติกรรมของทั้งคู่ก็แสดงออกในด้านตรงข้ามกันอย่างชัดเจน



ที่น่าคิดก็คือ Sister Beauvier เป็นคนที่ยึดมั่นในความถูกต้องจริงหรือ ?



ในเมื่อเธอก็ใช้วิธีการ โกหก-หลอกลวง คุณพ่อ Flynn

เพียงเพื่อให้ได้กำจัดเขาออกไป






นอกจากสงครามใน 3 บริบทข้างต้น Doubt ยังสอดแทรกแง่คิดที่เกี่ยวข้องกับ theme ของหนัง ผ่านการเทศน์ของ คุณพ่อ Flynn ที่แม้ในบางครั้งอาจเป็นการจงใจ “หลอกด่า” Sister Beauvier ของเขาก็ตาม


อย่างเรื่องของ กะลาสีผู้รอดชีวิตคนเดียวกลางทะเลจากเหตุการณ์เรืออับปาง เขาดูดาวบนฟ้าแล้วตั้งหัวเรือกลับบ้าน แต่ในคืนต่อๆไป เขามองไม่เห็นดาวอีกแล้ว เขาสงสัยว่าแท้จริงแล้วเรือยังมุ่งไปถูกทิศหรือเปล่า แต่เขาก็ยังต้องเชื่อต่อไป แม้จะหาอะไรมายืนยันไม่ได้ก็ตาม

ฟังดูแล้วอาจเหมือนเป็นการสอนให้เรา ศรัทธา และเชื่อมั่นในศาสนา แม้เราอาจจะยังไม่แน่ใจก็ตาม




แต่เมื่อพิจารณาเนื้อหาของการเทศนาในครั้งนี้ จะพบว่าพฤติกรรมของ กะลาสี ช่างคล้ายคลึงกับพฤติกรรมของ Sister Beauvier เหลือเกิน

ด้วยการที่ทั้งคู่ปักใจเชื่ออย่างแน่วแน่ ว่าความคิดของตนเองในตอนแรกนั้นถูกต้อง และที่คล้ายกันอีกอย่างก็คือ หนทางพิสูจน์ความจริงนั้นช่างยากเย็นนัก





และกับการเทศนาของ คุณพ่อ Flynn ในครั้งที่สอง ที่เปรียบเทียบ การนินทา ว่าเหมือน การปล่อยให้ขนนกฟุ้งกระจายไปตามลม มันยากที่จะตามเก็บขนนกให้หมดได้

แม้ว่ามันจะเป็นการพูดดักคอ Sister Beauvier ก็จริง แต่ประเด็นนี้ก็เข้ากับหนังได้อย่างดี






Doubt คือหนังขายการแสดงอย่างแท้จริง เพราะเรื่องราวของมันดำเนินไปด้วยตัวละคร และการที่มันดัดแปลงมาจากละครเวที ทำให้หนังมีฉากแค่ไม่กี่ฉาก และเดินเรื่องด้วยบทสนทนาเป็นหลัก


นี่เองที่เปิดโอกาสให้นักแสดงได้แสดงฝีมือกันเต็มที่ แถมหนังยังได้เหล่ายอดฝีมือมารับบทสำคัญๆอีกด้วย

ไม่แปลกใจเลย ที่บรรดานักแสดงในเรื่อง จะตบเท้าเข้าชิง Oscar ในสาขาการแสดงถึง 4 คน



Meryl Streep ในบท Sister Aloysius Beauvier มอบการแสดงที่ยอดเยี่ยม ด้วยมาตรฐานที่สูงอยู่แล้วของเจ้าป้า ตัวละครนี้จึงดูมีพลัง น่าเกรงขาม และน่าหมั่นไส้ แม้ว่าตัวละครนี้จะมีมิติความลึกที่ไม่มากนัก ซึ่งสาเหตุก็น่าจะมาจากการที่หนังวางตัวละครนี้ให้ดูเป็นตัวร้ายสำหรับผู้ชมจนเกินไป

Philip Seymour Hoffman ให้การแสดงที่ยอดเยี่ยมไม้แพ้กัน ในบท Father Brendan Flynn ด้วยท่าทีที่อบอุ่น เป็นคนใจดี แต่ในบางทีกลับดูน่าสงสัย




การเชือดเฉือนบทของทั้งคู่เข้มข้นและแรงอย่างที่ควรจะเป็น แต่การปะทะกันของทั้งคู่มีแค่เพียงสองฉากเท่านั้น ซึ่งนั่นอาจยังไม่สะใจผู้ชมมากนัก






ส่วนบท Sister James ของ Amy Adams นั้นเป็นเสมือนตัวแทนของผู้ชม ที่ต้องเข้าไปอยู่ตรงกลางระหว่างสงครามของทั้งคู่ ซึ่ง Adams ก็เยี่ยมพอที่จะไม่โดนทั้ง Streep และ Hoffman ข่ม เวลาเข้าฉากร่วมกัน


แต่สำหรับ Viola Davis ในบท แม่ของ Donald Miller นั้น แม้จะออกมาแค่ไม่กี่นาที แต่ Davis ก็สร้างความน่าจดจำให้กับตัวละครของตัวเองได้สำเร็จ ด้วยการประมือกับ Streep ได้อย่างสูสี


ส่วนตัวแล้วคิดว่า Davis เด่นกว่า Adams ที่ปรากฏตัวแทบจะทั้งเรื่องเสียอีก





ด้วยความที่เป็นเจ้าของเรื่องเอง และคลุกคลีกับมันมานาน ผู้กำกับ John Patrick Shanley จึงเล่าเรื่องได้อย่างชัดเจน แม้งานกำกับจะไม่ได้มีอะไรโดดเด่นนัก จริงอยู่ที่ฉากปะทะคารมหลายๆฉากจะแรง แต่ก็ยังไม่แรงพอที่จะสร้างความกดดันให้กับผู้ชมได้มากพอ แถมอารมณ์ของหนังกลับเรียบเรื่อยจนเกินไป


นี่ถ้าไม่ได้นักแสดงเก่งๆมาเล่น หนังอาจจืดชืดเอาง่ายๆ






แม้ว่าสุดท้าย Doubt (ที่แปลว่า ความคลางแคลงใจ) จะจบลงไม่ต่างจากชื่อของมัน ด้วยการไม่เฉลยว่า แท้จริงแล้วเกิดอะไรขึ้นระหว่าง คุณพ่อ Flynn กับ Donald Miller กันแน่

แต่หนังก็แสดงให้เห็นผลลัพธ์ในแง่ร้ายของ “ความคลางแคลงใจ” ที่เกิดขึ้นกับ Sister Beauvier ในตอนจบ



ซึ่งนี่ถือว่าเป็นข้อดีของหนัง ที่พยายามปล่อยให้ผู้ชมได้มีความรู้สึกเช่นเดียวกับเธอ (แม้จะไม่มากนัก)



หากผู้ชมคนใดที่ยัง คลางแคลงใจ และยังติดใจสงสัยว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงเป็นเช่นไรกันแน่ อาจนอนไม่หลับเช่นเดียวกับ Sister Beauvier ก็เป็นได้




8 / 10 ครับ




 

Create Date : 13 พฤศจิกายน 2552
9 comments
Last Update : 13 พฤศจิกายน 2552 17:56:38 น.
Counter : 4631 Pageviews.

 

ยังบ่ได้ดูอีกตามเลย ข้ามโลดอีกครั้ง T_T แล้วค่อยกลับมาเมื่อมีโอกาสได้ดูครับ ^^

 

โดย: Seam - C IP: 58.9.221.27 13 พฤศจิกายน 2552 14:00:20 น.  

 

บทวิจารณ์ประมาณนี้ ถ้าผมไม่ได้ดูหนังมาก่อน อ่านจบคงไม่อยากดูหนังแล้วละครับ แหะๆ คงต้องหาเวลาหยิบมาดูก่อน ^^

 

โดย: BdMd IP: 124.120.66.216 13 พฤศจิกายน 2552 22:06:50 น.  

 

พูดเยอะจัง เลยยังดูไม่จบเลยหนังเรื่องนี้

 

โดย: คนขับช้า IP: 115.67.105.162 14 พฤศจิกายน 2552 23:18:59 น.  

 

ต้องไปหามาดูก่อน แล้วจะกลับมาอ่าน + เมาท์ นะจ๊ะ คริคริ..

 

โดย: i love johnny depp IP: 125.25.13.9 19 พฤศจิกายน 2552 3:07:35 น.  

 

เยี่ยมมากค่ะ ทั้งหนังและ ทั้งบทวิเคราะห์ของคุณ

 

โดย: เจ้าหนูจังไม IP: 116.68.148.34 2 ธันวาคม 2552 11:59:59 น.  

 

วิเคราะห์ได้ดีมากๆเลยครับ
รู้สึกชัดเจนมากขึ้นเลย

 

โดย: Shin IP: 203.144.144.164 23 มีนาคม 2553 0:42:55 น.  

 

คุณว่ามั๊ยว่าที่จริง SiSter Beauvier เธอมีประสบกการณ์ไม่ดีเกี่ยวกับผู้ชาย เพราะสามีเธอนอกใจ อาจเป็นเหตุให้เธอมองคนอื่นแบบจับผิดตลอด มันก็เลยมองทุกอย่างแบบด้านลบ ถ้าจำไม่ผิดนะว่าเธอกล่าวถึงสามีนิดนึง หวังว่าคงไม่เม้นท์ผิดเรื่อง เพราะดูหนังหลายเรื่องมาก และชอบที่คุณก็ดูและเม้นท์ได้ตรงประเด็น น่าจับตามองที่เดียว มีอีกหลายเรื่องที่จะเม้นท์คงไม่เบื่อนะ

 

โดย: พระอาทิตย์ (Jump Mom ) 5 เมษายน 2553 0:12:43 น.  

 

^
^
^

ด้วยความยินดีครับ

 

โดย: navagan 5 เมษายน 2553 4:20:49 น.  

 

เขียนได้เยี่ยมเลยครับ ตรงใจทุกอย่าง โดยเฉพาะเรื่อง3สัญลักษณ์ ปากกา เล็บ เด็กชาย-หญิง


ป.ล. ผมชอบให้จบแบบนี้นะ มันเข้ากับธีมหลักของหนังดีครับ

 

โดย: Nutonline 9 สิงหาคม 2554 2:51:39 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


navagan
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 73 คน [?]




นวกานต์ ราชานาค
Navagan Rachanark


สนใจใน ภาพยนตร์, การวิเคราะห์-วิจารณ์ ภาพยนตร์,ดนตรี, งานเขียน และ ศิลปะอื่นๆ

สร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์ทดลอง และ งานดนตรีทดลอง และ งานเขียน


ปัจจุบันทำงานด้านการตลาด การวิจัยและพัฒนายางสังเคราะห์และยางธรรมชาติ

เริ่มจัดเก็บข้อมูลสถิติการเข้าชม

Time 09:00 Date 31/01/2010

by Histats.com

blogger web statistics

ถูกใจบทความ หรืออยากสนับสนุนเจ้าของ Blog

ก็ช่วย click ที่ Link โฆษณาครับ

ขอบคุณครับ

Friends' blogs
[Add navagan's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.