All the girls standing in the line for the bathroom !!!

*** หมายเหตุ : สงวนลิขสิทธิ์ บทความและผลงาน ใน Blog นี้ครับ ***
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2555
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
26 มิถุนายน 2555
 
All Blogs
 

*** Prometheus *** Vol.2 ความเชื่อ

*** Prometheus ***






จาก Vol.1 หนังครอบครัวชั้นดี คงทำให้มองภาพรวมถึงความสัมพันธ์ในหนังที่ประกอบด้วย พ่อ-แม่-ลูก ที่ซ้อนทับกันหลายระดับ ซึ่งความสัมพันธ์แบบครอบครัวนี้ สามารถโยงเข้าสู่เรื่องลัทธิความเชื่อและศาสนาได้เช่นกัน



ในแต่ละลัทธิศาสนา ต่างก็มี “ผู้สร้าง” ที่คอยสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายขึ้นมา (ตัวอย่าง ในศาสนาคริสต์ คือ พระเจ้า, ศาสนาพราหมณ์ คือ พระพรหม, ศาสนาอิสลาม คือ พระอัลลอห, สำหรับศาสนาพุทธไม่ได้บอกกล่าวไว้ และไม่ได้ให้ความสำคัญกับประเด็นนี้มากนัก) ซึ่งผู้สร้างเหล่านี้ก็อยู่ในสถานะ “พ่อ” นั่นเอง


ซึ่งแน่นอนว่า ผู้ที่มีความเชื่อในศาสนานั้นๆ ก็จะอยู่ในสถานะ “ลูก”



หากศาสนาหมายถึง ความเชื่อ เคารพ และศรัทธาในหลักการปฏิบัติ ที่ในแต่ละศาสนาได้กำหนดขึ้นมา

วิทยาศาสตร์ ก็คงจะมีความคล้ายกับศาสนาในแง่มุมนี้ เพราะ วิทยาศาสตร์ก็มีความเชื่อมั่นในหลักการของตนเองเหมือนกัน ซึ่งหลักการที่ว่าคือ “การเชื่อในเหตุและผล”



แต่วิทยาศาสตร์และศาสนาก็มีความแตกต่างกันอยู่มากนั่นก็คือ วิทยาศาสตร์ เน้นไปที่กระบวนการหาความจริง หรือการหาทฤษฏีที่สามารถทำนายปรากฏการณ์ทั้งหลายให้ได้อย่างแม่นยำ แต่ศาสนามีขอบเขตที่กว้างกว่า และเน้นไปที่เรื่องของจิตใจ เรื่องของสังคม รวมถึงประเพณีและการประพฤติปฏิบัติอีกด้วย







อีกเรื่องที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงก็คือ ส่วนใหญ่แล้วในทุกลัทธิศาสนา ต่างก็มี “ตำนาน” หรือเรื่องเล่าของพระผู้สร้าง โดยที่ต้องการให้ผู้ที่ศรัทธา “เชื่อ” โดยไม่ต้องรู้สึกคลางแคงใจ หรือตั้งข้อสงสัยใดๆทั้งสิ้น



แต่วิทยาศาสตร์สอนให้ “ตั้งคำถาม” และพยายาม "หาคำตอบ" ที่ชัดเจนก่อนจะเชื่อเรื่องใดๆ

ดังนั้นในเชิงวิทยาศาสตร์ จะไม่มีตำนานหรือเรื่องเล่าใดๆ ที่ไม่มีเหตุมีผล หรือไม่สามารถพิสูจน์ได้อย่างแน่นอน





ก่อนหน้านี้ ผมไม่ค่อยเห็นประโยชน์ของตำนาน ที่ว่าด้วย “การกำเนิดโลก” หรือ เรื่องของ “พระผู้สร้าง” ของแต่ละศาสนานัก แต่เมื่อได้รับชม Prometheus กลับทำให้ผมเห็นถึงประโยชน์ของตำนานหรือเรื่องเล่าเหล่านี้มากขึ้น



ซึ่งประโยชน์อย่างหนึ่งของมันก็คือ “การทำให้ผู้คนเลิกสงสัย และช่วยลดความฟุ้งซ่านเกี่ยวกับคำถามที่ไม่น่าจะเป็นประโยชน์กับชีวิตมากนัก”




(ในศาสนาพุทธ แม้จะไม่มี “ผู้สร้าง” หรือ “พระเจ้า” ในศาสนา แต่ก็สอนผู้ศรัทธาให้มีสติอยู่กับปัจจุบันให้มากที่สุด เรื่องราวในอดีต หรือคำถามบางคำถาม อย่างเช่น โลกเกิดขึ้นได้อย่างไร ถือว่าเป็นคำถามที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ)






สำหรับ Shaw ดูเผินๆแล้ว เหมือนเธอจะเป็นคนที่เลื่อมใส และเชื่อมั่นในพระเจ้าตามหลักศาสนาคริสต์มากที่สุด แต่แท้จริงแล้วเธอน่าจะเป็นคนที่มีศรัทธาน้อยที่สุดแล้วในหนัง


นั่นก็เพราะการที่เธอเพียรพยายามตามหา “พระเจ้า” หรือผู้สร้าง เพื่อจะยืนยันความเชื่อของเธอ เกิดจากการขาดความศรัทธาอย่างรุนแรง เธอจึงต้องการหลักฐานตามหลักวิทยาศาสตร์มายืนยันเพื่อที่จะทำให้ตนเองเชื่อได้อย่างสนิทใจ ซึ่งนั่นทำให้เธอไม่เคยสงบสุข


เป็นไปได้ว่าการสูญเสียพ่อไปในวัยเด็ก อาจเป็นสาเหตุสำคัญ เพราะเราพอจะอนุมานจากคำพูดของพ่อเธอได้ว่า เป็นคนที่มีศรัทธาในศาสนาอย่างแรงกล้า และพยายามสอนให้เธอมีศรัทธาด้วย



สำหรับ Shaw สิ่งที่เธอศรัทธามากที่สุดคือ วิทยาศาสตร์ ไม่ใช่ ศาสนา





เมื่อมองในมุมนี้ Vickers ที่ดูเหมือนจะไม่สนใจศาสนา (จากหนัง จะพบว่าเธอไม่ให้ความสำคัญกับวันคริสต์มาส) กลับกลายเป็นผู้ที่มากไปด้วยศรัทธา


เพราะเธอไม่เคยอยากถาม ไม่เคยสงสัย พร้อมที่จะเชื่อ แม้ว่ามันจะไม่ได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นจริง (อาจถึงขั้นที่ไม่อยากจะพิสูจน์ความจริง ที่อาจทำลายความศรัทธาของตัวเธอเองด้วยซ้ำ)



อย่างที่พูดในบทความชิ้นก่อนหน้าไปแล้วว่า การพยายามตามหา “ผู้สร้าง” ของ Shaw นั้น อาจหมายถึงความรู้สึก “โหยหาพ่อ” ที่จากไปของเธอ



นั่นทำให้คำพูดของ Janek กัปตันยาน Prometheus ที่ฟังดูเหมือนคำพูดติดตลกที่ว่า “ถ้าอยู่กับคนที่เรารักไม่ได้ ก็ให้รักกับคนที่เราอยู่ด้วย” กลายเป็นคำพูดเตือนสติ Shaw ได้อย่างดี


เสียแต่ว่าเขาไม่ได้พูดกับเธอ







สำหรับผู้ชมที่ชอบความชัดเจน หรือคิดว่าหนังจะมีข้อมูลที่เกี่ยวเนื่องกับต้นกำเนิดของ Alien อาจรู้สึกไม่เต็มอิ่มนัก


แต่เมื่อพิจารณาอย่างเป็นธรรม ในฐานะหนังเรื่องหนึ่งที่ไม่ต้องโยงใยไปถึง Series Alien แล้วหล่ะก็ Prometheus คือหนัง Science-Fiction ที่มีประเด็นที่ค่อนข้างชัดเจน นำเสนอได้ลึกและหนักแน่นในสิ่งที่ต้องการนำเสนอ



Prometheus ประสบความสำเร็จในแง่ของการสร้างคำถามให้ผู้ชมได้นำไปคิดต่อยอด โดยเฉพาะคำถามเชิงอภิปรัชญาทั้งหลาย



บทหนังใส่ keyword ผ่านบทสนทนาของตัวละครเข้ามาได้อย่างแนบเนียน และไม่รู้สึกยัดเยียด บางครั้งหนังนำเสนอผ่านทางทางสัญลักษณ์ต่างๆ เช่นประเด็นหลักที่ว่าด้วยการ “เล่นกับไฟ” ของมนุษย์ ผ่านหนังเก่าอย่าง Lawrence of Arabia



ในขณะที่ประเด็นเรื่องเพศถูกนำเสนอผ่านสถาปัตยกรรมต่างๆ หรือกระทั่งเนื้อหาเล็กๆน้อยๆบางตอน เช่น เตียงผ่าตัดที่ผ่าตัดได้เฉพาะเพศชาย (เอ๊ะ หรือหนังจะบอกว่า แท้จริงแล้ว Vickers เป็นผู้ชาย ) หรือ การชูนิ้ว 2 นิ้วเป็นสัญลักษณ์ของอวัยวะเพศหญิงของตัวละครในเรื่อง แทนการชูนิ้วกลางที่เป็นสัญลักษณ์ของอวัยวะเพศชาย อย่างที่นิยมกัน


กระทั่งปิรามิดก็ยังเป็นรูปหน้าอกผู้หญิง (มีหัวนมด้วย !!! )







งานสร้าง และงานด้านภาพของหนัง ถือเป็นสุดยอดของงานสร้างสรรค์ และถึงพร้อมด้วยคุณภาพ รับประกันว่าเมื่อถึงปลายปี งานกำกับภาพ และงานกำกับศิลป์จะต้องได้เข้าชิงรางวัลในหลายๆเวทีอย่างแน่นอน



ทีมนักแสดงคืออีกองค์ประกอบที่ทำให้หนังแข็งแรงในการนำเสนอประเด็น

นักแสดงนำและนักแสดงสมทบทำหน้าที่ของตนเองได้ดี แม้ว่าบางตัวละครอาจไม่มีอะไรให้แสดงความสามารถนักก็ตาม



Noomi Rapace รับผิดชอบบท Elizabeth Shaw ได้อย่างดีเยี่ยม นี่คือตัวละครที่เป็นหัวใจหลักของหนัง และถือว่าเป็นตัวละครที่มีมิติมากที่สุดในหนัง ที่สำคัญนี่คือตัวละครที่เป็นเจ้าของประเด็นหลักของหนัง


Rapace สร้างตัวละคร Shaw ได้อย่างมีเอกลักษณ์ โดยเธอสลัดภาพจำของตัวเองจากบท Lizbeth ใน Series ตระกูล The Girl ได้อย่างหมดจด อีกทั้งยังไม่ทำให้ตัวละครนี้มีส่วนละม้ายคล้ายคลึง ตัวละคร Ripley ของ Sigourney Weaver ใน Series Alien อีกด้วย



สำหรับ Charlize Theron ในบท Vickers ที่แม้จะไม่มีบทบาทมากมายในเรื่อง และไม่มีอะไรให้นักแสดงได้โชว์ของมากนัก แต่นี่เป็นตัวละครสำคัญที่คอยสะท้อนประเด็นหลักของเรื่อง ซึ่ง Theron ก็รับผิดชอบตัวละครนี้ได้ดี


เช่นเดียวกับบท Peter Weyland ของ Guy Pearce ที่เหมือนจะเป็นบทรับเชิญกลายๆ แต่ตัวละครนี้คือตัวละครที่มีบทบาทสำคัญต่อเนื้อเรื่อง แม้จะปรากฏตัวในหนังไม่ถึง 15 นาที ก็ตาม







ส่วนตัวละครสำคัญอีกตัวนั่นคือ Android David ของ Michael Fassbender ซึ่งจะว่าไปแล้วตัวละครนี้เปรียบเสมือน guide นำเที่ยวของผู้ชม ในการสังเกตพฤติกรรมของตัวละครทั้งหลาย



David มีความสงสัยในพฤติกรรมของมนุษย์ที่หากมองด้วยสายตามนุษย์ด้วยกัน อาจไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดอะไร แต่เมื่อมองด้วยสายตาของ David ที่ค่อนข้างจะมีตรรกะเป็นเหตุเป็นผล ก็จะพบถึงความแปลกประหลาด


ดังนั้นตัวละคร David จึงเปรียบเสมือนตัวละครที่คอยนำเสนอ “พฤติกรรมมนุษย์” ให้ผู้ชมสังเกตเห็นได้ง่ายขึ้น ราวกับว่า David คือเครื่อง X-Ray ให้เห็นพฤติกรรมของมนุษย์ได้ชัดเจนขึ้น





Fassbender ทำให้ David เป็นทั้งที่รัก และเป็นทั้งความประหลาดใจของผู้ชม เป็นตัวละครที่ผู้ชมต้องพุ่งความสนใจไปหาในทุกครั้งที่ปรากฏตัวบนจอ



ที่สำคัญ Fassbender ยังทำให้ David ที่น่าจะเป็นแค่บทสมทบ กลายเป็นเจ้าของบทนำร่วมกับ Shaw ของ Rapace ได้อย่างคาดไม่ถึง ส่วนตัวแล้ว David เป็นตัวละครที่โดดเด่นมากกว่า Shaw ด้วยซ้ำ







หนังอาจจะมีจุดอ่อนบ้างในเรื่องการมองข้ามความสมเหตุสมผลบางประการ ทั้งในแง่วิทยาศาสตร์ และความน่าจะเป็นในบางประเด็น


ขณะที่ช่วงท้ายของหนังอาจเป็นความซ้ำซากจำเจ และเป็นสูตรสำเร็จที่บางครั้งอาจดูเยิ่นเย้อเกินจำเป็น



Ridley Scott ยังคงรักษาระดับมาตรฐานของตัวเองเอาไว้ได้ หนังเป็นความบันเทิงที่กลมกล่อมระหว่างความเป็นหนัง Thriller และ Sci-fi



หากตัดรายละเอียดเรื่องความสมเหตุสมผลบางประการของบทหนังออกไปแล้ว เห็นได้ชัดว่า หนังมีความพิถีพิถัน และความตั้งใจในแต่ละขั้นตอนอย่างมาก ในขณะที่การกำกับและงานสร้างอยู่ในเกณฑ์ยอดเยี่ยม



ดังนั้นการที่ผู้ชมจะชอบหรือเกลียดหนังเรื่องนี้ ขึ้นอยู่กับความคาดหวังก่อนเข้าชมมากกว่า ว่าคาดหวังว่าจะได้เจอกับอะไร







Prometheus ประสบความสำเร็จ ในมุมของหนัง Sci-fi ที่กระตุ้นให้ผู้ชมตีความถึงประเด็นต่างๆในหนัง ทั้งในแง่ของคำถามเชิงปรัชญา หรือเรื่องราวที่เกิดขึ้นในหนัง


หนังเปิดกว้างต่อการตีความในแง่มุมที่หลากหลาย ในแบบที่ผู้ชมแต่ละคนสามารถตีความหรือต่อยอดได้ต่างกัน

สาเหตุคงเป็นเพราะหนังได้ Idea เริ่มต้นที่หลากหลายทั้งจากคำถามเชิงอภิปรัชญา รวมถึงแง่มุมทางสังคมที่ร่วมสมัย ซึ่งก็ขึ้นกับว่าใครจะใช้ “เครื่องมือ” ชิ้นใดในการตีความ



ดังนั้น คงไม่เกินไปถ้าจะบอกว่า Prometheus เป็นหนังของผู้ชมอย่างแท้จริง







8 / 10 ครับ







 

Create Date : 26 มิถุนายน 2555
0 comments
Last Update : 27 มิถุนายน 2555 0:44:30 น.
Counter : 4791 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


navagan
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 73 คน [?]




นวกานต์ ราชานาค
Navagan Rachanark


สนใจใน ภาพยนตร์, การวิเคราะห์-วิจารณ์ ภาพยนตร์,ดนตรี, งานเขียน และ ศิลปะอื่นๆ

สร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์ทดลอง และ งานดนตรีทดลอง และ งานเขียน


ปัจจุบันทำงานด้านการตลาด การวิจัยและพัฒนายางสังเคราะห์และยางธรรมชาติ

เริ่มจัดเก็บข้อมูลสถิติการเข้าชม

Time 09:00 Date 31/01/2010

by Histats.com

blogger web statistics

ถูกใจบทความ หรืออยากสนับสนุนเจ้าของ Blog

ก็ช่วย click ที่ Link โฆษณาครับ

ขอบคุณครับ

Friends' blogs
[Add navagan's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.