All the girls standing in the line for the bathroom !!!

*** หมายเหตุ : สงวนลิขสิทธิ์ บทความและผลงาน ใน Blog นี้ครับ ***
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2556
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
6 พฤษภาคม 2556
 
All Blogs
 

*** Django Unchained *** The Real Chain (Part 2)

*** Django Unchained ***






ติดค้างกันไว้จากคราวที่แล้ว เลยมาต่อให้จบครับ ใน part นี้จะเป็นการวิจารณ์ ซึ่งไม่ได้มีการวิเคราะห์อะไรมากนัก



Quentin Tarantino ยังคงยอดเยี่ยมเหมือนเคย สำหรับการเขียนบทและกำกับฉากที่เฉือนกันด้วยคำพูด เรายังคงพบรูปแบบเดิมๆที่ Tarantino ชอบใช้ โดยเฉพาะฉากบนโต๊ะอาหารใน Candyland ที่ถอดแบบมาจาก Chapter 4 ใน Inglourious Basterds



การเชือดเฉือนด้วยวาจาและการสร้างความกดดันได้แม้กระทั่งฉากรับประทานอาหาร คือสิ่งยืนยันถึงความอัจฉริยะของ Tarantino

การที่ฉากเหล่านี้จะออกมายอดเยี่ยมได้นั้น มันต้องอาศัยบทที่เฉียบคมมากพอ จังหวะการตัดต่อที่ลงตัว และการกำกับนักแสดงที่ต้องรีดเค้นการแสดงชั้นดีออกมาให้ได้







Leonardo DiCaprio ดูจะสนุกและเต็มที่กับบท Calvin Candie ซึ่งนี่จะต้องเป็นหนึ่งในตัวละครที่น่าจดจำมากที่สุดของเรื่อง DiCaprio ทำหน้าที่ได้ยอดเยี่ยม ส่วนหนึ่งเป็นเพราะบทหนังที่สร้างตัวละครนี้ให้ร้ายแบบมีเสน่ห์


แต่การที่บทนี้ยังมีเพียงมิติเดียว และไม่ได้เรียกร้องการแสดงหลากหลายมากนัก ไม่อย่างนั้นชื่อของ DiCaprio ต้องเป็นตัวเก็งรางวัลในหลายเวทีแน่นอน



แต่ที่ขโมย scene สุดๆก็คือ Stephen พ่อบ้านผิวดำประจำ Candyland ที่รับบทโดย Samuel L. Jackson บทนี้คือร้ายลึกและร้ายจริง และ Jackson ก็เยี่ยมสุดๆในบทนี้ ทั้งการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ น้ำเสียง และท่าทาง โดยเฉพาะแววตาที่แสดงออกถึงความคิดข้างในได้เลย

แต่ก็เหมือนตัวละคร Calvin ของ DiCaprio ที่บทยังไม่เปิดให้แสดงมิติทางอารมณ์ที่ซับซ้อนมากนัก







Christoph Waltz ยอดเยี่ยมในบท Dr. King Schult บทนี้คือหัวใจของหนังอย่างแท้จริง ความจริงแล้วน่าจะเรียกว่าบทนำได้เสียด้วยซ้ำ ถ้าไม่ติดว่าเจ้าของชื่อหนังและปมเรื่องราวทั้งหมดนั้นเป็นของ Django แต่เพียงผู้เดียว และอีกอย่างหนึ่งก็คือการที่ตัวละครนี้ถูกตัดออกจากเนื้อเรื่องในช่วงสุดท้ายของหนัง


Waltz สร้างสมดุลระหว่างทีเล่น-ทีจริงให้กับตัวละครนี้ จะปล่อยมุขเรียกเสียงหัวเราะก็ทำได้ดี แต่ขณะเดียวกันก็แสดงออกถึงความจริงจัง ความวิตกกังวลผ่านแววตาและสีหน้า ได้พร้อมๆกัน



ฉากบนโต๊ะอาหารตระกูล Candie คือฉากโชว์ฝีมือของ Waltz เมื่อตัวละคร Schultz ต้องทำเป็นสนุกสนานเฮฮาและกล่อมให้ Candie ขาย Broomhilda ให้กับเขา แต่ขณะเดียวกันก็แฝงไว้ซึ่งความวิตกกังวล


ถ้าพิจารณาในมุมของ Candie ที่ไม่รู้ถึงแผนการที่แท้จริงของก็ต้องถือว่า Schultz ค่อนข้างแนบเนียน แต่ผู้ชมที่รู้อยู่แล้วว่าแผนการแท้จริงคืออะไร การแสดงออกเล็กๆน้อยๆถึงความวิตกกังวลของ Schultz คือการสร้างความกดดันอันใหญ่หลวง


และนี่เป็นที่มาถึงอาการลุ้นระทึกและตึงเครียดของผู้ชมว่าแผนมันจะแตกออกมาเมื่อไหร่







อันนี้เป็นข้อสันนิษฐานส่วนตัวนะครับว่า โจทย์ของนักแสดงในบทนี้คือ “การหาสัดส่วนที่เหมาะสมระหว่างการแสดงตบตาแบบแนบเนียนในระดับที่ผู้ชมเชื่อว่าตัวละครอื่นในเรื่องไม่สามารถจับได้ แต่ต้องทำให้ผู้ชมเห็นถึงความวิตกกังวล เพื่อส่งผลต่ออารมณ์ตึงเครียดและการเอาใจช่วยจากผู้ชม” แต่ไม่แน่ใจว่า Tarantino ตั้งโจทย์แบบนี้หรือเปล่า



เสน่ห์เฉพาะตัวของ Waltz ที่ได้ใจของผู้ชมตั้งแต่ต้นเรื่อง คือ สาเหตุของ “อารมณ์ร่วม” ที่ผู้ชมมีให้ตัวละครนี้ ซึ่งช่วยเสริมฉากบนโต๊ะอาหารให้เป็นความลุ้นระทึกอย่างที่ปรากฏ


แต่ข้อเสียอันใหญ่หลวงจากการแสดงของ Waltz ก็คือ เมื่อตัวละครนี้ตายไป ความน่าติดตาม และน่าเอาใจช่วยก็ลดลง เนื้อเรื่องที่ต่อจากนั้นก็ดูเหมือนจะกลายเป็นส่วนเกินที่ขาดความน่าติดตาม



ด้วยฝีมือการแสดงที่ไม่ธรรมดา รวมถึงการเป็นที่รักของผู้ชมได้ตั้งแต่ฉากแรกๆที่ปรากฏตัว บวกกับบทบาทที่ Tarantino สร้างสรรค์ให้กับตัวละครนี้ นี่เองที่ทำให้ Waltz กวาดรางวัลและเสียงชื่นชมอย่างท่วมท้น







Django Unchained เป็นความน่าติดตามมากขึ้นทุกขณะที่หนังเดินหน้าไป จนกระทั่งองก์สุดท้ายของเรื่องที่หนังกลับดูแผ่วลงไปอย่างมาก


อย่างที่บอกการจากไปของ Schultz ทำให้สิ่งที่คอยดึงดูดผู้ชมหายไป ขณะที่ตัวละครเจ้าของชื่อเรื่องที่รับบทโดย Jamie Foxx ก็ไม่มีแรงดึงดูดมากพอ


จะโทษที่ Foxx คนเดียวก็ไม่ได้ เพราะส่วนหนึ่งมาจากการที่บทหนังไม่ได้เปิดโอกาสให้ Django เข้าไปครองใจผู้ชมได้มากพอ



อย่างไรก็ตาม ในองก์สุดท้ายอาจดูเหมือนว่าหนังเพิ่มบทให้ยืดเยื้อเกินจำเป็น หรือ Tarantino คงเสียดายที่จะต้องตัดหนังให้สั้นลง


แต่ความจริงแล้วหากมองในแง่ของประเด็นที่ต้องการนำเสนอ เนื้อเรื่องในตอนสุดท้ายที่เป็นการลุยเดี่ยวของ Django นั้น มีความจำเป็นอย่างมากในการขับเน้นประเด็นของหนัง (ย้อนไปอ่านใน *** Django Unchained *** The Real Chain (Part 1) นะครับ ว่าทำไม และมันขับเน้นประเด็นอย่างไร)
ดังนั้นจะตัดย่อ หรือ ทำให้สั้นก็คงไม่ได้



แต่ถ้าหนังยังคงรักษาระดับความน่าติดตาม และเพิ่มโอกาสให้ Django เข้าไปครองใจผู้ชมมากว่านี้ พลังของหนังในองก์สุดท้ายคงออกมาดีกว่าที่เป็นอยู่







Django Unchained คืออีกหนึ่งผลงานชิ้นเอกของ Tarantino


ส่วนตัวคิดว่าหนังยังสามารถดีกว่านี้ได้อีก แต่ด้วยคุณภาพ ความบันเทิง และนัยยะต่างๆที่ซ่อนอยู่ ก็เพียงพอที่จะทำให้ Django Unchained เป็นหนึ่งในหนังที่ยอดเยี่ยมที่สุดเรื่องหนึ่งในรอบหลายปีนี้





9 / 10 ครับ





 

Create Date : 06 พฤษภาคม 2556
2 comments
Last Update : 6 พฤษภาคม 2556 23:12:31 น.
Counter : 7086 Pageviews.

 

กลับไปอ่านบทวิเคราะห์เต็มๆ Click link เลยครับ


*** Django Unchained *** The Real Chain (Part 1)



ส่วนบทความต่อไปจะว่าด้วย ผลงานในยุคหลังของ Tarantino ครับ

 

โดย: navagan 6 พฤษภาคม 2556 23:23:52 น.  

 

กระทู้ pantip

//pantip.com/topic/30457664

 

โดย: navagan 23 กรกฎาคม 2556 1:08:06 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


navagan
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 73 คน [?]




นวกานต์ ราชานาค
Navagan Rachanark


สนใจใน ภาพยนตร์, การวิเคราะห์-วิจารณ์ ภาพยนตร์,ดนตรี, งานเขียน และ ศิลปะอื่นๆ

สร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์ทดลอง และ งานดนตรีทดลอง และ งานเขียน


ปัจจุบันทำงานด้านการตลาด การวิจัยและพัฒนายางสังเคราะห์และยางธรรมชาติ

เริ่มจัดเก็บข้อมูลสถิติการเข้าชม

Time 09:00 Date 31/01/2010

by Histats.com

blogger web statistics

ถูกใจบทความ หรืออยากสนับสนุนเจ้าของ Blog

ก็ช่วย click ที่ Link โฆษณาครับ

ขอบคุณครับ

Friends' blogs
[Add navagan's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.