All the girls standing in the line for the bathroom !!!

*** หมายเหตุ : สงวนลิขสิทธิ์ บทความและผลงาน ใน Blog นี้ครับ ***
Group Blog
 
<<
มกราคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
23 มกราคม 2555
 
All Blogs
 

*** The Girl with the Dragon Tattoo *** รอย "ศักดิ์" และความเท่าเทียม

*** The Girl with the Dragon Tattoo ***






The Girl with the Dragon Tattoo สร้างจากนิยายขายดีสัญชาติ Sweden ของ Stieg Larsson นักข่าวหัวเอียงซ้าย ที่ผลงานนิยายเรื่องแรกของเขาเป็นที่รู้จักก็ต่อเมื่อตัวเขาเองได้ล่วงลับไปแล้ว


ไม่ใช่แค่การ “เป็นที่รู้จัก” แต่มันกลับโด่งดังจนกลายเป็นหนังฮิตในบ้านเกิด ก่อนจะดังข้ามโลกจน Hollywood ต้องเอามาสร้างใหม่ตามฟอร์ม



ออกตัวไว้ก่อนว่าไม่เคยอ่านนิยาย แต่ได้รับชม version หนัง Sweden ของผู้กำกับ Niels Arden Oplev มาก่อนหน้านี้ ซึ่งในส่วนของการวิจารณ์คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเปรียบเทียบกับ version Sweden


เมื่อได้รับชม version นี้ของผู้กำกับ David Fincher และมือเขียนบท Steven Zaillian ก็พบว่า หนังมีรายละเอียดแตกต่างจากต้นฉบับมากพอสมควร ทั้งในส่วนของเรื่องราว และลักษณะนิสัยของตัวละคร ซึ่งก็ตรงกับคำให้สัมภาษณ์ของ Fincher เองว่า นี่เป็นฉบับที่ตีความใหม่จากนิยายต้นฉบับ หาใช่การ remake จาก version หนัง Sweden



อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เหมือนกันก็คือประเด็นหลักของเรื่องที่ว่าด้วย “ชายผู้เกลียดหญิง” เหมือนกับชื่อเรื่องดั้งเดิมที่เป็นภาษา Sweden ว่า Man som hatar kvinnor (Men who hate women)







The Girl with the Dragon Tattoo เล่าเรื่องของ Mikael Blomkvist (Daniel Craig) นักข่าวหัวเอียงซ้ายที่กำลังเดือดร้อน หลังจากบทความในนิตยสาร Millennium ที่เขาเขียนถูก Wennerstrom (Ulf Friberg) นักธุรกิจที่ถูกเขากล่าวหาในบทความฟ้องดำเนินคดี ซึ่งแท้จริงแล้วตัว Wennerstrom นั่นเองที่เป็นผู้ปล่อยข่าวลวงให้ Mikael ติดกับ


แม้จะดิ้นไม่หลุด แต่ Mikael ก็พบโอกาสในการกู้ชื่อเสียงคืน เมื่อ Henrik Vanger (Christopher Plummer) เศรษฐีชราผู้เคยเป็น “อดีตเจ้านาย” ของ Wennerstrom เชื้อเชิญให้เขามาไขคดีปริศนาว่าด้วยการฆาตกรรม Harriet ผู้ซึ่งเป็นหลานสาวของเขา ซึ่งบุคคลที่ Henrik สงสัยก็คือคนในตระกูลของเขานั่นเอง


นอกจากนี้ Lisbeth Salander (Rooney Mara) แฮกเกอร์สาว ที่คอยตามสืบประวัติของ Mikael ก็เข้ามาร่วมสืบคดีนี้ด้วย



นี่ไม่ใช่แค่การสืบสวนคดีฆาตกรรมธรรมดาที่เกิดขึ้นในอดีตเท่านั้น แต่ยังเป็นการสืบสาวไปถึงประวัติศาสตร์ความรุนแรงที่เคยเกิดขึ้นในอดีตไปพร้อมๆกัน




คำเตือน: จากนี้ไปมีการกล่าวถึงเนื้อหาสำคัญทางอ้อม ใครยังไม่ได้ดูแนะนำว่าอย่าอ่านนะครับ เพราะนอกจากจะเสียอรรถรสในการรับชมแล้ว อาจตามไม่ทันเพราะผมจะไม่เล่าเรื่องราวโดยละเอียด แต่จะหยิบยกเนื้อเรื่องเพียงบางส่วนมาวิเคราะห์-วิจารณ์






The Girl with the Dragon Tattoo ของ David Fincher เปิดเรื่องมาได้อย่างน่าสนใจด้วย Title sequence ที่คล้ายกับ Series 007 แต่ไร้ซึ่งร่องรอยของตัวละครเพศชายที่มักจะมาพร้อมมาดเท่ห์ หากกลายเป็นภาพกราฟฟิกที่เหมือนเป็นการผสมพันธ์กันระหว่างหญิงสาวกับบรรดาอุปกรณ์ electronic

ราวกับว่านี่คือหนังสายลับ 007 ภาคใหม่ ที่คราวนี้ "สาว Bond" ขอเป็นตัวละครหลัก แล้วถีบส่ง James Bond ตัวจริงอย่าง Daniel Craig ให้กลายเป็นไม้ประดับ



ซึ่งหากพิจารณาถึงเนื้อเรื่อง จะเห็นว่ามีหลายฉากหลายตอนที่ Mikael คล้ายจะเป็นเครื่องบำเรอกามให้กับ Lisbeth (อย่างเต็มใจ) อยู่หลายครั้ง



โดยรวมแล้ว The Girl with the Dragon Tattoo นำเสนอภาพความไม่เท่าเทียมกันในสังคมที่ว่าด้วย “ศักดิ์” ที่แตกต่างระหว่างผู้มีอำนาจและผู้ด้อยอำนาจ ซึ่งหนังจงใจแสดงให้เห็นว่า “ผู้มีอำนาจ คือลักษณะของ เพศชาย” และ “ผู้ด้อยอำนาจ คือ เพศหญิง”

ซึ่งโครงสร้างทางสังคมแบบ “เพศชายเป็นใหญ่” นี้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมายาวนานตั้งแต่ยุคกำเนิดมนุษย์ก็ว่าได้



แน่นอนว่าหนังกำหนดให้ผู้ชมอยู่ข้างเดียวกับตัวละคร “เพศหญิง” ตั้งแต่ Title sequence และชื่อเรื่องแล้ว ดังนั้นใน The Girl with the Dragon Tattoo จะว่าด้วยการลุกขึ้นมาทวงความยุติธรรมของเพศหญิง



ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปได้แล้วในยุคปัจจุบัน ยุคที่ Technology และความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์ส่งเสริมให้เพศหญิง มีสถานะที่เท่าเทียมกับเพศชายได้ ต่างจากในสมัยก่อนที่ยังไม่มีเครื่องทุ่นแรง “แรงกาย และพละกำลัง” จึงถูกใช้ประโยชน์ได้มากกว่า “สมอง”







เมื่อลองพิจารณาเราจะพบว่า เหล่าตัวละครผู้ถูกกระทำในหนังจะเป็นเพศหญิงทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น Harriet ที่ถูกพ่อ และ Martin (Stellan Skarsgard) ผู้เป็นพี่ชายล่วงละเมิดทางเพศ

Lisbeth เองก็โดน Bjurman (Yorick van Wageningen) ผู้ปกครองหื่นกามใช้อำนาจในทางมิชอบคุกคามทางเพศ ขณะที่บรรดาเหยื่อทั้งหลายของ Martin ก็ล้วนแต่เป็นหญิงสาว



แต่สิ่งที่ต่างกันคือ Lisbeth อยู่ในยุคปัจจุบันที่ ยุคที่ Technology สามารถเป็นเครื่องมือที่เธอนำมาใช้ต่อกรกับเหล่าผู้ชายได้ ไม่ใช่แค่นั้น


Technology ยังสามารถช่วยเธอสะสางปัญหาระหว่างเพศที่เกิดขึ้นในอดีตได้อีกด้วย นั่นก็คือการรื้อฟื้นคดีฆาตกรรมหญิงสาวในอดีตหลายราย ที่แม้พวกเธอจะไม่ฟื้นขึ้นมา แต่ตัวฆาตกรก็โดนพิพากษาอยู่ดี


ฉะนั้น อาวุธสำคัญของหญิงแกร่งยุคใหม่ก็คือวิทยาศาสตร์ และ Technology ซึ่งถูกสื่อออกมาเป็นการรวมร่างผสมพันธ์กันแบบที่เห็นใน Title sequence นั่นเอง







อย่างที่บอกว่า ในยุคปัจจุบัน “ศักดิ์” ระหว่างชายกับหญิงได้เปลี่ยนไปแล้ว และผู้ชายหลายคนก็อยู่ฝ่ายเดียวกับผู้หญิง ดังนั้นคงจะไม่ถูกต้องนักที่จะบอกว่า The Girl with the Dragon Tattoo คือหนังที่ว่าด้วย “สงครามระหว่างหญิงกับชาย”


หากแต่เป็น “สงครามระหว่างคนยุคใหม่ (ยุคแห่งความเสมอภาค) และคนยุคเก่า (ยุคผู้ชายเป็นใหญ่)” เสียมากกว่า



ประเด็นที่ว่าด้วยการกระทำของ Nazi ต่อชาวยิวในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่หนังสะท้อนออกมาให้เห็นในลักษณะของอำนาจเก่าที่ใช้อำนาจกระทำความรุนแรงต่อผู้อ่อนแอ ด้วยการให้เหยื่อทุกคนของ 2 พ่อลูก Nazi เป็นผู้หญิงที่มีชื่อตามคัมภีร์ Bible (ชื่อแบบยิว) ทั้งหมด



แน่นอนว่าการ “สัก” ย่อมเป็นอีกสัญลักษณ์สำคัญอีกอย่างของหนัง ด้วยธรรมชาติของการสักที่จะต้องติดตัวไปตลอดแม้เวลาผ่านไป และยากที่จะลบออก (ถึงแม้จะลบออกก็ย่อมเหลือรอยแผลเป็นให้จดจำ)


ดังนั้นรอยสักจึงเหมือนร่องรอยที่บ่งบอกประสบการณ์ของคนผู้นั้น ซึ่งเป็นได้ทั้งเครื่องเตือนใจ หรือตราบาปติดตัวที่ไม่ต้องการเปิดเผย







สำหรับ version นี้ ในช่วงแรกหนังเล่าเรื่องราวของ Mikael และ Lisbeth สลับกันไปมา เพื่อสร้างความผูกพันระหว่างตัวละครทั้งสองกับผู้ชมในน้ำหนักที่เท่ากัน ซึ่งเป็นการตัดสลับไปมาแบบห้วนๆ ไม่ค่อยราบรื่นนัก จากนั้นเมื่อท้งคู่เจอกันหนังก็เดินเครื่องอย่างรวดเร็วเพื่อเข้าสู่ปมหลักของเรื่องที่ว่าด้วยการคลี่คลายคดี



แม้จะเดินเรื่องอย่างรวดเร็วและเต็มไปด้วยรายละเอียดมากมาย แต่การคลี่คลายปมต่างๆ ถูกนำเสนออย่างเข้าใจง่าย แต่มีชั้นเชิง

นั่นก็คือหนังไม่ได้บอกผู้ชมตรงๆ ว่าอะไรเป็นอะไร แต่ค่อยๆใส่ข้อมูลที่เชื่อมโยงกัน ผ่านทาง "ภาษาภาพ" แทนภาษาพูด อย่างเช่น จุดที่โยงบนแผนที่, ภาพถ่าย หรือ แฟ้มข้อมูล
เพื่อให้ผู้ชมค่อยๆปะติดปะต่อเรื่องราวทั้งหมดไปพร้อมๆกับ Lisbeth และ Mikael และถึงบางอ้อพร้อมกับทั้งคู่ในที่สุด


ซึ่งนี่เป็นจุดที่ดีกว่า version Sweden (และถือว่าดีกว่ามาตรฐานหนังสืบสวนทั่วๆไปอีกด้วย)







ด้วยการเพิ่มเติมรายละเอียดให้มากขึ้น และกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงเนื้อหาบางส่วน รวมถึงการลำดับเรื่องราวที่แตกต่างไปจาก version Sweden นั่นทำให้อารมณ์ลุ้นระทึกและสนุกไปกับการติดตามเรื่องราวยังมีอยู่เต็มเปี่ยม (และอาจจะมากไปกว่า version Sweden ด้วยซ้ำ) ทั้งๆที่รู้อยู่แล้วว่าเนื้อเรื่องและบทสรุปทั้งหมดเป็นอย่างไร



อย่างไรก็ตาม หนังอาจละเลยความเป็นไปได้ในบางจุด อย่างช่วงสุดท้ายที่ Lisbeth เข้าไปในห้องลับของ Martin ได้อย่างรวดเร็ว ทั้งที่มันเป็นห้องลับ แถมมีระบบ รักษาความปลอดภัยที่ค่อนข้างรัดกุม

แต่ด้วยการเดินเรื่องที่รวดเร็ว และสร้างอารมณ์ร่วมได้ “ถึง” ทำให้ผู้ชมปล่อยผ่านในจุดเหล่านี้ไปอย่างไม่ตะขิดตะขวงใจนัก



งานด้านภาพ และการออกแบบในหนัง ยังคงเป็นจุดแข็งสำคัญเช่นเดียวกับทุกผลงานก่อนหน้านี้ของ Fincher หนังสร้างบรรยากาศที่หนาวจับใจ และไม่น่าไว้วางใจไปพร้อมๆกัน ขณะที่ดนตรีประกอบของ Trent Reznor แห่ง Nine Inch Nails ก็ช่วยสร้างความระทึก ได้เป็นอย่างดี


นั่นทำให้บรรยากาศของ version นี้ ต่างจาก version Sweden ที่เน้นไปที่ความหนาวเย็นยะเยือกแบบนิ่งๆ แฝงความเย็นชา กลายมาเป็นหนังระทึกขวัญ ขายสไตล์อีกรูปแบบหนึ่ง







Rooney Mara มอบการแสดงที่น่าจดจำในบท Lisbeth แม้อาจจะไม่ใช่การแสดงที่ดีที่สุดในรอบปี แต่ก็ต้องถือเป็นการแสดงที่ทุ่มเทที่สุดในรอบปีก็ว่าได้

ซึ่งใน version นี้ Lisbeth ดูมีเลือดมีเนื้อ มีมิติทางอารมณ์ที่มากขึ้น ด้วยบทหนังที่เผยแง่มุมอ่อนไหวและเพิ่มแง่มุมอันซับซ้อนมากขึ้น



เชื่อแน่ว่าหลายคนที่ชื่นชอบ Lisbeth ที่ Noomi Rapace ฝากฝีมือไว้ใน version Sweden อาจไม่ชอบ version นี้ สาเหตุก็เป็นเพราะว่าสถานะที่เหมือนฮีโร่เหนือมนุษย์ของเธอถูกดึงลงมาเป็นผู้หญิงธรรมดามากขึ้นนั่นเอง



ส่วนตัวแล้วคิดว่าแต่ละ version ก็มีดีต่างกันเปรียบเทียบกันยากเพราะการตีความในตัวละครนี้ที่แตกต่างกันของผู้สร้างและนักแสดงจากทั้งสอง version

ใน version Sweden เหมือนว่า Lisbeth จะถูกตีความให้เป็นหญิงแกร่งที่มีลักษณะแบบฮีโร่ในหนังที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจได้ ขณะที่ version นี้ Lisbeth ถูกตีความว่าเป็นตัวละครที่มีมิติคล้ายผู้หญิงธรรมดามากกว่า


ลองเปรียบเทียบจากฉาก Sex ครั้งแรกระหว่าง Lisbeth และ Mikael ในหนัง ก็พอจะบอกได้ว่า Lisbeth version ไหนเป็นอย่างไร ซึ่งไม่ขออธิบายนะครับ เดี๋ยวติดเรท







ฉากจบของ version นี้ อาจทำให้สาวกเก่าของหนังผิดหวัง กับการนำเอา Lisbeth หญิงแกร่งของพวกเขา มาเปลี่ยนแปลงให้กลายเป็นหญิงสาวที่อ่อนไหวกับรักครั้งใหม่ได้อย่างคาดไม่ถึง


แต่ส่วนตัวคิดว่า มันเป็นเหตุเป็นผลมากว่า version Sweden ในแง่ความสัมพันธ์ของทั้งคู่ที่จะเกิดขึ้นต่อไป



ที่สำคัญคือ นี่เป็นการเปิดประเด็นที่เหมือนจะเสียดสีกับเนื้อหาสำคัญของหนังที่ว่าด้วย “ความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ” ได้อย่างน่าสนใจว่า



ท้ายที่สุด Lisbeth ที่เป็นหญิงสุดแกร่งที่ต่อกรกับเพศชายได้อย่างสูสียังคงถูกเพศชายทำร้ายจิตใจอยู่ดี แม้จะไม่ได้มาจากความจงใจ, ความเกลียด หรือการใช้อำนาจที่เหนือกว่า แต่มันมาจากสันดานความเจ้าชู้ของเพศชาย ที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา



เราอาจปรับเปลี่ยนทัศนคติทางเพศในแง่ของความไม่เท่าเทียมกันได้เฉพาะส่วนที่เราควบคุมได้เท่านั้น แต่กับสิ่งที่ธรรมชาติกำหนดมาหล่ะ เราจะต่อต้านมันได้อย่างไร



เพราะเห็นๆกันอยู่ว่า การสร้างสรรค์ตามธรรมชาติคือ ความแตกต่าง และ ความหลากหลาย ซึ่งนั่นก็คือ "ความไม่เท่าเทียม"





8 / 10 ครับ





 

Create Date : 23 มกราคม 2555
9 comments
Last Update : 24 มกราคม 2555 17:24:40 น.
Counter : 5207 Pageviews.

 

เห็นด้วยกับเรื่อง ศักดิ์ศรีของเพศหญิงครับ

 

โดย: A-Bellamy 29 มกราคม 2555 21:21:59 น.  

 

หลังๆ ผมสิงอยู่ในเฟซบุคเลยไม่ค่อยได้แวะมาฮะ แหะๆ
ละครเวทีที่พี่ว่าเป็นละครเวทีอังกฤษที่เขามาทัวร์ที่ไทยครับ

 

โดย: nanoguy IP: 58.8.182.244 6 กุมภาพันธ์ 2555 21:19:37 น.  

 

เหมือนกับนาโนครับ ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ในเฟชบุ้คซะแล้ว (แต่ก็ยังกลับมาเยี่ยมบล็อคเรื่อยๆ)

 

โดย: BloodyMonday 27 มีนาคม 2555 1:21:07 น.  

 

ยังไม่ได้ดูเลยครับเรื่องนี้

 

โดย: คนขับช้า 30 มีนาคม 2555 16:24:24 น.  

 

บอกตรงๆว่าไม่ชอบทั้งสองเวอร์ชั่น
ไม่รู้ว่าเป็นเพราะไม่ชอบการสืบสวนสอบสวนแบบยุโรปรึเปล่า(สงสัยอ่านญี่ปุ่นมากไป ^^)
แต่ในเวอร์ชั่นนี้ต้องยอมรับรูนี่ มาร่าที่แสดงได้สะเด่าไปเลยคุณน้องมากๆ

ปล.สมัครเฟซแล้วเขียนลงในนั้น น่าจะดีไม่น้อย

 

โดย: hormones IP: 124.121.224.158 31 มีนาคม 2555 12:06:47 น.  

 

^
^
^

ไม่ถนัด Facebook ครับ มีคนชวนหลายคนแล้ว

ว่าแต่มันเขียนเยอะๆได้เหมือนใน Blog ไหมครับ

 

โดย: navagan 31 มีนาคม 2555 22:05:41 น.  

 

ตอนจบทำให้ผมรักนางเอกคนนี้ขึ้นมาทันทีเลย

ขอบคุณสำหรับคำวิเคราะห์-วิจารณ์ดีๆครับผม

 

โดย: กมล IP: 125.24.207.74 24 มกราคม 2556 12:18:56 น.  

 

ใครดูเวอร์ชั่นสวีเดนมั่งคะ
ทราบว่าตอนจบไม่เหมือนกัน
แล้วของทางสวีเดนจบยังไง

เราได้ดูแต่เวอร์ชั่นนี้
ชอบ เดวิด ฟินเชอร์ ชอบตั้งแต่ดู seven

 

โดย: k487 IP: 14.207.241.212 14 พฤษภาคม 2556 16:58:35 น.  

 

เพิ่งดูเมื่อคืนไม่ค่อยเข้าใจตอนสุดท้ายเท่าไหร่ ตอนที่พระเอกตามHarrietเจอตอนสุดท้าย ไม่ค่อยเจข้าใจเท่าไหร่ ช่วยอธิบายหน่อยครับ

 

โดย: อยากรู้ IP: 110.168.140.246 15 สิงหาคม 2556 13:04:47 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


navagan
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 73 คน [?]




นวกานต์ ราชานาค
Navagan Rachanark


สนใจใน ภาพยนตร์, การวิเคราะห์-วิจารณ์ ภาพยนตร์,ดนตรี, งานเขียน และ ศิลปะอื่นๆ

สร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์ทดลอง และ งานดนตรีทดลอง และ งานเขียน


ปัจจุบันทำงานด้านการตลาด การวิจัยและพัฒนายางสังเคราะห์และยางธรรมชาติ

เริ่มจัดเก็บข้อมูลสถิติการเข้าชม

Time 09:00 Date 31/01/2010

by Histats.com

blogger web statistics

ถูกใจบทความ หรืออยากสนับสนุนเจ้าของ Blog

ก็ช่วย click ที่ Link โฆษณาครับ

ขอบคุณครับ

Friends' blogs
[Add navagan's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.