Every Feeling Everyone Every Day

๓ ลักษณะสามัญของสิ่งทั้งปวง (ไตรลักษณ์)




บทนี้จะกล่าวถึงข้อที่ว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวงประกอบอยู่ด้วยลักษณะอันเรียกว่า "ไตรลักษณ์" หรือลักษณะ ๓ ประการ กล่าวคือ ความเป็น อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา.

อนิจจัง แปลว่าไม่เที่ยง ; หมายความว่าสิ่งทั้งหลายมีลักษณะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอไป ไม่มีความคงที่ตายตัว ทุกขัง แปลว่าเป็นทุกข์; มีความหมายว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงมีลักษณะที่เป็นทุกข์มองดูแล้วน่าสังเวชใจ ทำให้เกิดความทุกข์ใจแก่ผู้ที่ไม่มีความเห็นอย่างแจ่มแจ้งในสิ่งนั้น ๆ. อนัตตา แปลว่าไม่ใช่ตัวตน หมายความว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีความหมาย แห่งความเป็นตัวเป็นตน ไม่มีลักษณะอันใดที่จะทำให้เรายึดถือได้ว่ามันเป็นตัวเราของเรา. ถ้าเห็นอย่างแจ่มแจ้งชัดเจนถูกต้องแล้วความรู้สึกที่ว่า "ไม่มีตัวตน" จะเกิดขึ้นมาเองในสิ่งทั้งปวง. แต่ที่เราไปหลงเห็นว่าเป็นตัวเป็นตนนั้น ก็เพราะความไม่รู้อย่างถูกต้องนั่นเอง.

ขอให้ทราบว่า ลักษณะสามัญ ๓ ประการนี้ พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนมากกว่าคำสั่งสอนอื่น ๆ ในบรรดาคำสั่งสอนทั้งหลายจะนำมารวบยอดอยู่ที่การเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี้ทั้งนั้น บางทก็กล่าวตรง ๆ บางทีก็พูดด้วยโวหารอย่างอื่น แต่ใจความมุ่งแสดงความจริงอย่างเดียวกัน.

เรื่องของความไม่เที่ยงของสรรพสิ่งทั้งหลายนี้ เคยมีสอนกันอยู่ก่อนพระพทธเจ้าแต่ไม่ได้ขยายความให้ลึกซึ้งเหมือนของพระองค์. เรื่องความทุกข์ก็เหมือนกัน มีการสอนมาแล้วแตไม่ลึกซึ่งถึงที่สุด; ไม่ประกอบด้วยเหตผลและไม่สามารถชี้ถึงวิธีดับทุกข์ที่สมบูรณ์จริง ๆ ได้ เพราะยังไมรู้จักความทุกข์อย่างเพียงพอเท่ากับการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า. ส่วนเรื่องความไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตนนี้ มีสอนแต่ในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ข้อนี้เป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่าผู้ที่รู้จักว่าอะไรเป็นอะไรถึงที่สุดเท่านั้น จึงจะรู้ว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของตน เหตุนั้นจึงมีสอนแต่โดยพระพทธเจ้า ฟังเป็นบุคคลที่รู้ว่า อะไรเป็นอะไรได้ถึงที่สุดจริง ๆ.

คำสอนเรื่องลักษณะ ๓ ประการนี้ มีวิธีปฏิบัติเพื่อให้เห็นแจ้งมากมายหลายวิธีด้วยกัน. ถ้าปฏิบัติจนเห็นแจ้งแล้ว เราจะพบว่ามีข้อสังเกตข้อหนึ่ง คือต้องการเห็นจนรู้สึกว่าไม่มีอะไรน่ายึดถือไม่มีอะไรที่อยากจะเอา จะมี จะเป็น ซึ่งสรุปสั้น ๆ ว่า "ไม่มีอะไรที่น่าเอา ไม่มีอะไรที่น่าเป็น" เมื่อท่านมองเห็นว่า ความมีความเป็นอย่างใดก็ตามเป็นของหลอกลวง เป็นมายา ไม่น่าเอาไม่น่าเป็นทั้งหมดทั้งสิ้นจริง ๆ ดังนี้แล้ว นั่นแหละ คือการเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างถูกต้องส่วนคนที่ท่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อยู่ทั้งเช้าทั้งเย็นหลายร้อยหลายพันครั้งมาแล้ว ไม่อาจเห็นก็ได้ เพราะไม่ใช่วิสัยที่จะเห็นได้ด้วยการฟัง หรือด้วยการท่อง

การคำนึงคำนวณเอาตามหลักเหตุผลนั้น ไม่ใช่ "การเห็นแจ้ง" อย่างที่เรียกว่า "เห็นธรรม" การเห็นธรรมไม่อาจจะเห็นได้ด้วยการคิดไปตามเหตผลแต่ต้องเห็นแจ้งด้วยความรู้สึกภายในทีแท้จริง เช่นพิจารณาเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ทำความเจ็บปวดให้แก่ตนที่เข้าไปหลงใหลอย่างสาสม อาศัยการที่ได้กระทบจริง ๆ จนเกิดเป็นความรู้สึกแก่จิตใจขึ้นมาจริง ๆ แล้วเกิดความเบื่อหน่าย เกิดความสลดสังเวชขึ้นมา อย่างนี้จึงจะเรียกว่าเห็นธรรม หรือเห็นแจ้ง.

การเห็นแจ้งทำนองนี้ อาจเลื่อนสูงขึ้นไปตามลำดับ จนกว่าจะถึงเรื่องสุดท้ายที่ทำให้ปล่อยวางสิ่งทั้งปวงได้ ส่วนผู้ที่ท่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือพิจารณาอยู่ทั้งวันทั้งคืน แต่ถ้าไม่เกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายต่อสิ่งทั้งปวง คือไม่อยากเอาอะไร ไม่อยากเป็นอะไร ไม่อยากยึดถือในอะไรแล้ว ก็เรียกว่ายังไม่เป็นอยู่นั่นเอง เพราะฉะนั้นจึงสรุปการเห็นความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ความไม่ใช่ตัวตน ลงไว้ที่คำว่า "เห็นจนเกิดความรู้สึกว่าไม่มีอะไรที่น่าเอาหรือน่าเป็น"

พุทธศาสนามีคำอยู่คำหนึ่งเป็น คำรวบยอด คือคำว่า "สุญญตา" ซึ่งแปลว่า ความเป็นของว่าง คือว่างจากความหมายแห่งความเป็นตัวตน : ว่างจากสาระที่เราควรจะเข้าไปยึดถือด้วยกำลังใจทั้งหมดทั้งลิ้นว่า ตัวเรา-ของเรา. การเพ่งพิจารณาดูให้เห็นว่า สิ้งทั้งปวงว่างจากสาระที่ควรเข้าไปยึดถือนั้น เป็นตัวศาสนาโดยแท้ เป็นหัวใจของการปฏิบัติตามหลักพุทธศาสนา. เมื่อรู้แจ้งว่าทุกสิ่งทุกอย่างว่างจากตัวตนแล้ว ก็เรียกว่ารู้พุทธศาสนาถึงที่สุด.

คำว่า "ว่างจากตัวตน" คำเดียว ก็เป็นการเพียงพอ ที่รวบเอาคำว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มาไว้ด้วยเสร็จ. เมื่อมันไม่เที่ยงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ไม่มีส่วนไหนยั่งยืนถาวร ก็เรียกได้ว่าว่างเหมือนกัน. เมื่อเต็มไปด้วยลักษณะที่ดูแล้วน่าสังเวชใจก็ แปลว่า ว่างจากส่วนที่เราควรจะเข้าไปยึดถือเอา. เมื่อเราพิจารณาดูว่าไม่มีลักษณะไหนที่จะคงทนเป็นตัวตนของมันเองได้ เป็นเพียงธรรมชาติที่ผันแปรไปตามกฏของธรรมชาติ อันไม่ควรเรียกว่าเป็นตัวตนของมันเอง ดังนี้ก็เรียกว่า ว่างจากตัวตนไต้.

ถ้าบุคคลใดเห็นความว่างของสิ่งทั้งปวงแล้ว ก็จะเกิดความรู้สึก "ไม่น่าเอาไม่น่าเป็น" ในสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาทันที. ความรู้สึกไม่อยากเอา ไม่อยากเป็นนี่แหละ มีอำนาจเพียงพอที่จะคุ้มครองคนเรา ไม่ให้ตกไปเป็นทาสของกิเลสหรือของอารมณ์ทุกชนิดบุคคลชนิดนี้ไมสามารถทำความชั่วต่อไป ไม่หลงใหลพัวพันติดอยู่ในสิ่งหนึ่งสื่งใด หรือเอนเอียงไปตาสิ่งยั่วยวนใจใด ๆ เขาย่อมมีจิตใจเป็นอิสระอยู่เสมอและไม่มีความทุกข์เลย.

ที่ว่า "ไม่มีอะไรน่าเอาน่าเป็น" นี้ เป็นสำนวนโวหารอยู่สักหน่อย. คำว่า "เอา" และ "เป็น" ในที่นี้หมายถึงการเอาหรือเป็นด้วยจิตใจที่หลงใหล ด้วยจิตใจที่ยึดถือ ด้วยจิตใจทั้งหมดทั้งสิ้นจริง ๆ มิได้หมายความว่า คนเราจะเป็นอยู่ได้โดยไม่มีอะไรไม่เป็นอะไรเสียเลย. ตามปกติคนเราจะต้องเอาอะไร เป็นอะไรอยู่เป็นประจำ เช่นจะต้องมีทรัพย์สมบัติ มีบุตร ภรรยา เรื่องสวนไร่นาจะต้องเป็นคนดี เป็นผู้แพ้ เป็นผู้ชนะ หรือ เป็นผู้ถูกเอาเปรียบเป็นต้น จะต้องมีความเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่เสมอ แต่แล้วทำไมพุทธศาสนาจึงมาสอนให้เราพิจารณาในทางที่จะไม่เอาไม่เป็น

ข้อนี้หมายความว่า พุทธศาสนาได้ชี้ให้เห็นว่า การเอาการเป็นนั้น เป็นเรื่องสมมุติอย่างโลก ๆ อย่างหนึ่ง และเป็นไปด้วยอำนาจของความไม่รู้ (อวิชชา) นั่นเอง เพราะเมื่อพูดกันตามความจริงขั้นที่เด็ดขาดถึงที่สด ซึ่งเรียกว่าขั้นปรมัตถ์แล้ว คนเราจะเอาอะไร เป็นอะไรไม่ได้เลย เพราะเหตุใด? เพราะเหตุว่าทั้งคนที่จะเอาและสิ่งที่ถูกเอานั้นมันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ไม่ไช่ตัวตนด้วยกันทั้งนั้น แต่คนที่ไม่รู้เช่นนั้น ย่อมจะต่อสู้ความรู้สึกว่า "เราเอา" "เรามี" "เราเป็น" เป็นธรรมดา นี่เป็นสิ่งที่ช่วยไม่ได้.

ความรู้สึกว่าเอา ว่าเป็น นั่นเอง ได้ทำให้เกิดมีความหนักใจหรือความทุกข์ขึ้นมา การเอา การเป็น ก็เป็นความอยากอย่างหนึ่งคืออยากไม่ให้สิ่งที่ตนกำลังเอา กำลังเป็นอยู่นั้นสูญหายหลุดลอยไปความทุกข์เกิดมาจากความอยากมี อยากเป็น อันรวมเรียกสั้น ๆว่า ความอยาก ซึ่งเรียกโดยภาษาบาลีว่า "ตัณหา".

การที่อยากก็เพราะไม่รู้ว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวงนี้เป็นสิ่งที่ไม่ควรอยาก มันเป็นความเข้าใจผิดติดตามมาตามสัญชาตญาณเกิดมาตั้งแต่เด็ก ๆ ก็รู้จักอยาก แล้วก็เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาซึ่งตรงตามที่อยากก็มี ไม่ตรงก็มี. ถ้าได้ผลตรงตามที่อยาก ก็เกิดอยากให้มากขึ้นไปอีก ถ้าไม่ได้ผลตรงตามที่อยาก ก็ต้องดิ้นรนทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปจนกว่าจะได้ผลตรงตามที่อยาก. เมื่อทำลงไปมันก็ได้ ผลอย่างใดอย่างหนึ่ง วนเวียนเป็นวงกลมของกิเลส-กากระทำ-ผล วิบาก อยู่อย่างนี้ เรียกว่า วัฏฏสงสาร.

คำว่าวัฏฏสงสาร นั้นอย่าเพ่อไปเข้าใจว่า เป็นเรื่องการเวียนวน ชาติโน้น ชาตินี้ ชาตินั้นแต่ออย่างเดียว ที่แท้จริงกว่านั้น เป็นเรื่องการวนเวียนของสิ่ง ๓ สิ่ง คึอ ความอยาก-การกระทำตามความอยาก-ผลอย่างใดอย่างหนึ่งที่ได้มาจากการกระทำนั้น-แล้วไม่สามารถหยุดความอยากได้ เลยต้องอยากอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปแล้วก็กรทำอีก-ได้ผลมาอีก-เลยส่งเสริมความอยากอย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อไปอีก เป็นวงกลมอยู่อย่างนี้ไม่มีสิ้นสุด . ท่านเรียกว่าวัฏฏสงสาร เพราะเป็นวงกลมที่เวียนวน ไม่มีที่สิ้นสุดลงได้.

คนเราต้องทนทุกข์ทรมาน ก็เพราะติตอยู่ในวงกลมนี้เอง ถ้าใครหลุดออกไปจากวงกลมนี้ได้ ก็เป็นอันว่าพ้นไปจากความทกข์ทุกอย่างโดยแน่นอน (นิพพาน).

ไม่ว่ากระยาจกเข็ญใจ เศรษฐี มหากษัตริย์ จักรพรรดิ เทวดาพรหม หรือจะเป็นอะไรก็ตามที ล้วนแต่ตกอยู่ในวงกลมนี้ทั้งนั้นจะต้องมีความทุกข์ทรมานชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเหมาะสมกับความอยากของเขา ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า ในวัฏฏสงสารนี้ เต็มไปด้วยความทรมานอันใหญ่หลวง. ศีลธรรมหรือจริยธรรมนั้นไม่สามารถแก้ปัญหาข้อนี้ได้เลย เราจึงต้องพึ่งตัวแท้ของพุทธศาสนา ที่เป็นหลักธรรมชั้นสูง ให้แก้ไขในเรื่องนี้โดยเฉพาะทีเดียว. ทั้งหมดนี้เราจะเห็นได้ว่า ความทุกข์นั้นมาจากความอยาก สมดังที่พระพุทธเจ้าท่านจัดความอยากไว้ในเรื่องอริยสัจจ์ข้อที่สอง ในฐานะเป็นมูลเหตุให้เกิดความทุกข์ต่าง ๆ โดยตรง.

ความอยากมีอยู่ ๓ อย่าง อย่างแรกเรียกว่า กามตัณหา อยากในสิ่งน่ารักใคร่พอใจ จะเป็นรูป เสียง กลิ่น รู้สึกสัมผัส อะไรก็ได้อย่างที่สองเรียกว่า ภวตัณหา คือความอยากเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ตามที่ตนอยากจะเป็น. อย่างที่สามเรียกว่า วิภวตัณหา คือความอยากไม่ให้มีอย่างนั้น ไม่ให้เป็นอย่างนี้. หลักเกณฑ์ข้อนี้กล้าท้าให้ใคร ๆ พิสูจน์หรือแย้งอย่างไรก็ได้ว่า ยังมีดวามอยากอะไรอีกบ้างนอกเหนือไปกว่า ๓ อย่าง ที่กล่าวมานี้.

ท่านทั้งหลายจะมองเห็นว่า เมื่อมีความอยากที่ไหน ก็มีความร้อนใจที่นั่นและเมื่อต้องกระทำตามความอยาก ก็ย่อมมีความทุกข์ตามส่วนของการกระทำ; ได้ผลมาแล้วก็หยุดอยากไม่ได้ คงอยากต่อไป ต้องมีความร้อนใจต่อไปอีก เพราะยังไม่เป็นอิสระจากความ-อยาก ยังต้องเป็นทาสของความอยากด้วยเหตนี้จึงกล่าวว่า คนชั่วทำชั่วเพราะอยากทำชั่ว มันก็มีความทุกข์ไปตามประสาคนชั่ว คนคีอยากทำดีตามประสาของคนดี.

แต่ข้อนี้ อย่าเพ่อเข้าใจว่าเป็นการสั่งสอนให้เลิกละจากการทำความดี เฉพาะในที่นี้ประสงค์จะชี้ให้เห็นว่า ความทุกข์นั้นมีอยู่หลายระดับ ละเอียดจนคนธรรมดาเข้าใจไม่ได้ ต้องพึ่งพาอาศัยสติปัญญาของบุคคลประเภทพระพุทธเจ้าซึ่งชี้ให้เห็นว่า เราจะพ้นจากความทุกข์โดยสิ้นเชิงด้วยลำพังเพียงการกระทำความดีอย่างเดียวเท่านั้นยังไม่พอ ยังจะต้องทำบางสิ่งที่ยิ่งหรือเหนือไปจากการทำความดี ซึ่งได้แก่ การทำจิตให้หลุดพ้นไปจากการเป็นบ่าวเป็นทาสของความอยากทุกชนิดนั่นเอง. นี่เป็นใจความสำคัญของพระพุทธศาสนา ซึ่งไม่มีทางแพ้ศาสนาใด ๆ ในโลก อันไม่อาจเข้ามาเทียบสู้หรือเคียงคู่ได้ในส่วนนี้ จึงเป็นสิ่งที่ต้องจำไว้ให้แม่นยำ.

เราเอาชนะความอยากทั้ง ๓ อย่างที่กล่าวแล้วได้นั่นแหละ จึงจะเป็นความพ้นจากความทุกข์ หรือหมดความทุกข์โดยประการทั้งปวง.

เราจะกำจัดหรือดับระงับหรือตัดรากเง่าของความอยากให้หมดจดสิ้นเชิงได้อย่างไร? คำตอบก็คือว่าพิจารณาให้เห็นความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความไม่ใช่ตัวตน จนมองเห็นว่าไม่มีอะไรที่น่าอยากนั่นเอง. มันมีอะไรบ้างที่น่าเอา น่าเป็น ซึ่งเมื่อเอาหรือเป็นเข้าแล้ว จะไม่โยนความทุกข์ชนิดใดชนิดหนึ่งมาใส่ให้บุคคลนั้น?ขอให้ตั้งปัญหาถามขึ้นอย่างนี้ ได้อะไรหรือเป็นอะไรบ้าง ที่จไม่นำมาซึ่งความหนักอกหนักใจ.

ขอให้ลองคิดดู การได้บุตรได้ภรรยานำเอาความเบากายเบาใจมาให้ หรือเอาภาระหลายอย่างมาให้? การได้ตำแหน่งหน้าที่ เป็นการได้มาซึ่งความสงบเย็น หรือได้มาซึ่งภาระหนักโดยนัยนี้จะเห็นได้โดยง่ายว่า ล้วนแต่นำมาซึ่งภาระ และหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ. เพราะเหตุใด? เพราะเหตุว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวงล้วนแต่เป็นภาระ เพราะความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ความไม์ใช่ตัวตนของมันนั่นเอง. เมื่อเราได้อะไรมา เราก็จะต้องจัดการกับสิ่งนั้น ๆ ให้มันคงอยู่กับเรา ให้เป็นไปตามใจเราหรือมีประโยชน์ แก่เราแต่แล้วสิ่งนั้น ๆ ตามปกติ มันเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ไม่เป็นตัวตนของใคร คือไม่รู้ไม่ชี้ต่อความประสงค์มุ่งหมายของบุคคลใด มีแต่จะเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุ ตามวิสัยของมันเองการพยายามของคนเราจึงเป็นการต่อสู้ หรือเป็นการต่อต้านกฏแห่งความเปลียนแปลของสิ่งเหล่านั้น ฉะนั้น จึงเกิดเป็นความยากลำบาก หรือเป็นความทนทรมานในการที่จะเป็นอยู่ หรือไปทำสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ให้เป็นไปตามความประสงค์ของเรา.

อุบายซึ่งจะจัดการกับสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ที่ไม่น่าเอาไม่น่าเป็นนั้นมีอยู่. ข้อนี้ได้ก่การพิจารณาให้ลึกซึ้งจนพบความจริงว่า เมื่อยังมีกิเลสตัณหา ความรู้สึกในการเอา การเป็นนั้น ย่อมมีลักษณะไปอย่างหนึ่ง. ถ้าไม่มีกิเลสตัณหา มี สติปัญญาที่รู้จักสิ่งต่าง ๆ ถูกต้องดีว่า อะไรเป็นอะไรแล้วความรู้สึกในการเอา การเป็น หรือการได้ของบุคคลนั้นย่อมอยู่ในลักษณะอีกแบบหนึ่ง.

ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น การกินอาหาร ถ้ากินด้วยตัณหาหรือด้วยความอยากในความเอร็ดอร่อย การกินอาหารของผู้นั้นต้องมีอาการต่างจากบุคคลที่ไม่กินอาหารด้วยตัณหา แต่กินด้วยสติสัมปชัญญะ หรือมีปัญญารู้ว่าอะไรเป็นอะไร. นี้ก็เป็นคนด้วยกันแต่คนหนึ่งกินด้วยตัณหาอีกคนหนึ่งกินด้วยความรู้สึกตัวด้วยสติปัญญา การกินจะต้องผิดกัน. กิริยาอาการที่กินและความรู้สึกในขณะกิน ก็จะต้องผิดกัน ; และในที่สุด ผลอันเกิดจากการกินก็จะต้องผิดกัน.

เราต้องทำความเข้าใจกันในข้อที่ว่า แม้จะไม่ต้องมีตัณหาหรือความอยากในรสอร่อย คนเราก็กินอาหารได้. พระอรหันต์หรือพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่มีกิเลสตัณหาเลย ก็ยังทำอะไร ๆ ได้ เป็นอะไร ๆ ได้ ยังทำงานมากกว่าพวกเรา ที่ทำด้วยอำนาจของกิเลสตัณหา ท่านทำด้วยอำนาจของอะไร? ท่านทำเหมือนกับพวกเรา ที่ทำด้วยอำนาจขอกิเลสตัณหา อยากเป็นนั่นเป็นนี่หรือ.

คำตอบก็คือ ท่านทำด้วยอำนาจของปัญญา คือความรู้ที่แจ่มแจ้งถึงที่สุดว่า อะไรเป็นอะไร ผิดแปลกแตกต่างจาก พวกเราซึ่งทำอะไร ๆ ด้วยตัณหา ผลที่เกิดขึ้นนั้น คือ พวกเราต้องเป็นทุกข์กันแทบตลอดเวลาแต่ส่วนท่านไม่มีความทุกข์เลย ท่านไม่อยากได้อะไร ไม่อยากเอาอะไร ผลจึงไปได้แก่คนทั้งหลายเหล่าอื่น ด้วยความเมตตาของท่านนั่นเอง ท่านมีปัญญาเป็นเครื่องบอกว่า สิ่งนี้ควรจะทำแทนที่จะอยู่เฉย ๆ ฉะนั้นท่านจึงทำการสืบอายุพระศาสนามาจนถึงพวกเราได้ และทั้งได้ทำประโยชน์อืน ๆ อีกมากมาย.

ร่างกายและจิตใจที่ปราศจากกิเลสตัณหา ก็แสวงหาและบริโภคอาหารได้ด้วยปัญญา ไม่แสวงและบริโภคด้วยกิเลสตัณหาเหมือนแต่ก่อน เมื่อเราหวังจะเป็นผู้พ้นทุกข์ตามรอยบาทของพระพุทธเจ้าหรือของพระอรหันต์ทั้งหลายเราก็ควรฝึกฝนตัว ในการที่จะทำอะไรลงไปด้วยปัญญา อย่าทำไปด้วยอำนาจกิเลสตัณหาถ้าเป็นคนศึกษาเล่าเรียนก็ศึกษา ไปด้วยความรู้สึกผิดชอบชั่วดีว่ามันเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษา ถ้าประกอบการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ทำไปด้วยความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ว่าเป็นสิ่งทีทุกคนควรกระทำ ซึ่งทำให้ดีที่สุด ด้วยความเยือกเย็นเท่าที่สติ-ปัญญาจะอำนวยให้.

ถ้าทำไปด้วยตัณหา มันจะร้อนใจเมื่อกำลังทำ และร้อนใจเมื่อทำเสร็จแล้ว ; แต่ถ้าทำด้วยอำนาจของปัญญาควบคุมอยู่ จะไม่ร้อนใจเลย. ผลแตกต่างกันอย่างนี้ ; ฉะนั้นเราจำเป็นต้องรู้อยู่เสมอว่า สิ่งทั้งหลายโดยที่แท้แล้วเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่น่าเอา ไม่น่าเป็น จะเข้าไปเกี่ยวข้อง ก็เข้าไปด้วยปัญญา การกระทำของเราก็จักไม่ตกหลุมของกิเลสตัณหา.

การทำด้วยสติปัญญา จะไม่มีความทุกข์ตั้งแต่เบื้องต้นจนปลาย จิตใจจะไม่มีความหลงยึดถือ อย่างหลับหูหลับตาว่าเป็นของน่าเอา น่าเป็น ทำไปด้วยจิตว่าง ปล่อยให้เป็นไปตามขนบ-ธรรมเนียมประเพณีหรือตามกฏหมาย ยกตัวอย่างเช่น เรามีทีดินเป็นทรัพย์สมบัติอยู่ เราไม่จำเป็นต้องมีความรู้สึกที่เป็นตัณหาไปยึดถือในสิ่งนั้น จนถึงกับหนักอกหนักใจแผดเผาหัวใจ กฏหมายยังคงคุ้มครองที่ดินผืนนั้นให้เป็นกรรมสิทธิ์ของเราอยู่นั่นเอง เราไม่ต้องทุกข์ร้อนวิตกกังวลมันก็ไม่หลุดมือหายไปไหน.

แม้ว่าจะมีใครมาแย่งชิงก็ยังคงทำการต้านทานป้องกันได้ด้วยสติปัญญา ไม่ต้องต้านทานด้วยกิเลสตัณหาให้เร่าร้อนด้วยไฟคือโทสะ เราอาศัยอำนาจกฎหมายทำการต้านทานได้โดยไม่ต้องมีความทุกข์ เราก็ยังคงรักษาคุ้มครองเอาไว้ได้. แต่ถ้าหากว่ามันจะหลุดมือไปจริง ๆ เราจะมีกิเลสตัณหาหรือไม่มีก็ตาม มันก็ช่วยไมได้ เพราะว่าสิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงอยู่เป็นนิจคิคเสียดังนี้เราไม่ต้องทุกข์ร้อนอะไร.

แม้ "การเป็น" ก็เหมือนกัน ไม่ต้องไปยึดถือในการได้เป็นนั่นเป็นนี่ เพราะว่าโดยที่แท้แล้ว ไม่มีอะไรที่น่าสนุกเลยล้วนแตนำมาซึ่งความทุกข์ อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งนั้น.

อุบายง่าย ๆ ที่เราจะต้องพิจารณา ซึ่งเรียกว่าวิปัสสนาหรือเป็นการปฏิบัติธรรมโดยตรงก็คือ พิจารณาให้เห็นว่า ไม่มีอะไรที่น่าเป็น หรือไม่มีการเป็นอะไรที่น่าสนุกเลย ท่านทั้งหลายลองตั้งปัญหาสาหรับพิจารณาในข้อนี้ว่าการเป็นอะไรบ้างที่น่าสนุก? เช่น เป็นบุตร เป็นบิดา มารดา เป็นสามี เป็นภรรยา เป็นนายเขาเป็นบ่าวเขา สนุกไหม? เป็นมนุษย์สนุกไหม? กระทั่งว่าเป็นพรหมสนุกไหม?

ถ้าท่านมีความรู้ว่า อะไรเป็นอะไรอย่างแท้จริงแล้วทุกอย่างล้วนแต่ไม่มีอะไรที่น่าสนุกเลย เราต้องทนทำ ทนเป็น ทนเอาทนอยู่ โดยไม่รู้สึกตัว แล้วทำไมเราจะต้องไปมอบกายถวายชีวิต หลงใหลเอา หลงใหลเป็นหรือทำไปด้วยอำนาจของกิเลสตัณหา? เราควรจะมีความรู้ที่ถูกต้องในสิ่งเหล่านี้ แล้วมีชีวิตอยู่ด้วยปัญญา เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านี้ในอาการที่จะให้เป็นทุกข์น้อยที่สุด หรือไม่ให้เป็นทุกข์เสียเลยยิ่งดี.

อีกประการหนึ่ง เราจะต้องทำความเข้าใจกับผู้ที่อยู่ร่วมกันในโลก จะเป็นมิตรสหาย แม้ที่สุดบุตรภรรยาผู้ไกล้ชิดสนิทสนมว่าสิ่งทั้งปวงมันเป็นอย่างนี้ ให้เขามีความเข้าใจที่ถูกต้องเหมือกับเรา แล้วก็จะไม่มีอะไรขัดขวางกันในครอบครัว ในบ้านเมืองตลอดถึงในโลก ต่างคนต่างมีจิตใจที่ไม่ยึดมั่นหลงใหลในสิ่งใด ๆหรือในกันและกัน ด้วยอำนาจกิเลสตัณหา แต่ว่าคงมีชีวิตเป็นอยู่ด้วยอำนาจของปัญญา โดยมองเห็นชัดอยู่เสมอว่า ไม่มีอะไรทีจะยึดถืออย่างจริงจังได้.

ขอให้ทุกคนมีความรู้สึกว่า สิ่งทั้งหลายไม่เที่ยงเป็นทุกข์ไม่มีอะไรเป็นตัวตนอย่างแท้จริง ไม่น่าหลงด้วยกำลังใจทั้งหมดทั้งสิ้น ควรยับยั้งดวยปัญญาเรียกว่าเป็นผู้รู้ด้วยปัญญามีความเห็นถูกต้อง ตามคำสอนแห่งพระพุทธศาสนา จึงสมควรจะเรียกว่า เป็นพุทธบริษัทโดยแท้จริง.

แม้จะไม่เคยบวชไม่เคยรับศีล แต่ก็เป็นบุคคลที่เข้าถึงพระพทธ พระธรรม พระสงฆ์อย่างแท้จริง เขามีจิตใจอย่างเดียวกับพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คือมีความสะอาด สว่าง สงบในใจเพราะเหตุที่ไม่ยึดถือในสิ่งใด ว่าน่าเอา หรือน่าเป็นนั่นเอง เขาจึงเป็นพุทธบริษัทขึ้นมาได้โดยสมบูรณ์ อย่างง่ายดายและอย่างแท้จริง ด้วยอาศัยอุบายถูกต้อง ที่พิจารณามองเห็นความไม่เที่ยงความเป็นทุกข์และความไม่ใช่ตัวตน ของตัวของตน จนเกิดความรู้สึกว่าไม่มีอะไรที่ น่าเอา น่าเป็นสักอย่างเดียว.

ความชั่วที่เป็นชั้นทรมานที่สุด ก็มาจากความอยากเอา อยากเป็น ด้วยอำนาจกิเลสตัณหา. ความชั่วที่เบาขึ้นมาก็ทำกันด้วยอำนาจของความรู้สึกที่เบา ด้วยกิเลตัณหา. ความดีทั้งปวงก็ทำกันด้วยตัณหา ชนิดที่ดี ที่ประณีตละเอียดสูงขึ้นไป เป็นความอยากเอา อยากเป็นในขั้นดี. แม้ความดีถึงที่สุดก็ทำด้วยตัณหา ที่ประณีตละเอียดที่สุด จนคนไม่ถือว่าเป็นความชั่วเลยแต่แล้วก็ยังไม่พ้นจากความทุกข์ทั้งปวงได้; เพราะฉะนั้นผู้ที่พ้นทุกข์ถึงที่สุด กล่าวคือพระอรหันต์จึงเป็นผู้ที่หมดจากการกระทำด้วยอำนาจของตัณหา กลายเป็นบุคคลที่ทำชั่วทำดีไม่ได้ ทำไต้แต่สิ่งที่เหนือไปกว่าความชั่วและความดี คือมีใจเป็นอิสระอยู่เหนือการครอบงำในค่าของความชั่วและความดี ท่านจึงไม่มีความทกข์เลย .

หลักของพระพุทธศาสนามีอยู่อย่างนี้ เราจะทำได้หรือไม่ได้ก็ตาม ปรารถนาหรือไม่ปรารถนาก็ตามแนวของความพ้นทุกข์ย่อมมีอยู่อย่างนี้. วันนี้ยังไม่ปรารถนา วันหน้าก็จะต้องปรารถนาเพราะว่าเมื่อได้ละความชั่วเสร็จแล้วความดีได้ทำเต็มเป็ยม แต่จิตยังหม่นหมอง ด้วยตัณหาชั้นประณีตบางประการอยู่ และก็ไม่รู้จักจะดับด้วยวิธีใด นอกจากพยายามอยู่เหนืออำนาจตัณหาคืออยู่เหนือการที่จะไปอยากได้ อยากเป็นทั้งในสิ่งที่ชั่ว หรืสิ่งที่ดีก็ตาม. ต้องไม่มีความอยากโดยสิ้นเชิง จึงจะพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงได้ (นิพพาน).

สรุปความว่า การรู้ว่า อะไรเป็นอะไรถึงที่สุดนั้น คือรู้ว่าสิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทกข์ ไม่ใช่ตัวตนของตน. เมื่อรู้โดยแท้จริงแล้วก็จะเกิดความรู้ชนิดที่จิตใจจะไม่อยากเป็นอะไรด้วยความยึดถือ;แต่ถ้าต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งใด ๆ ที่เรียกกันว่า "ความมี-ความเป็น" บ้าง ก็เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยสติสัมปชัญญะ ด้วยอำนาจของปัญญา ไม่เกี่ยวข้องด้วยอำนาจของตัณหาเพราะฉะนั้น จึงไม่มีความทุกข์เลย.





 

Create Date : 10 เมษายน 2551
2 comments
Last Update : 11 เมษายน 2551 8:10:53 น.
Counter : 854 Pageviews.

 

สวัสดีค่ะ คุณณธีร์
ขอบคุณดอกไม้สวยๆที่นำไปฝากค่ะ
และขอบคุณสำหรับข้อคิดดีๆ ที่แนะนำการใช้ชีวิตอย่าง"สมเหตุสมผล"

 

โดย: รัตตมณี (kulratt ) 10 เมษายน 2551 8:40:37 น.  

 

ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมนะคะ ยังอ่านไม่จบค่ะ เดี๋ยวจะกลับมาอ่านใหม่แต่พอเข้าใจอยู่ค่ะ เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่บางครั้งเราก็หลงอยู่ในกิเลสอยู่เหมือนกันก็ต้องรีบตั้งสติกันใหม่อยู่นาน ก็ยังดีที่ยังรู้ตัวอยู่บ้างไม่ลุ่มหลงไปเลยกู่ไม่กลับ ดีใจที่ได้เกิดมาอยู่ในศาสนาพุทธ แล้วก็อธิฐานไว้แล้วว่าเกิดชาติไหนขอให้เกิดมาในศาสนาพุทธนี่แหล่ะค่ะ

 

โดย: คนชุมแสง 10 เมษายน 2551 9:02:30 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ณธีร์
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




๏ กลั่นความรู้สึกวันละนิด
กรองความคิดวันละหน่อย
คั้นอารมณ์วันละน้อย
เรียงร้อยรอยลักษณ์อักษรา ฯ

Group Blog
 
 
เมษายน 2551
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
10 เมษายน 2551
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ณธีร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.