ความงดงามของธรรมชาติและการเดินทางที่ไม่มีวันหยุดน่ิง
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2549
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
3 มิถุนายน 2549
 
All Blogs
 
Sirindhornia กล้วยไม้เทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ

สำหรับกล้วยไม้ดินในสกุล Sirindhornia ได้รับการค้นพบโดยนักพฤกษศาสตร์แห่งสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ เมื่อราวปีพุทธศักราช 2543 แต่ได้รับการบอกเล่าจากคนพื้นที่ว่าเจอมาราว 10 ปีมาแล้ว ทว่าตามรายงานได้มีการสำรวจพบมาก่อนหน้านี้แล้วโดยหมอคาร์ (A.F.G. Kerr) นักพฤกษศาสตร์ชาวไอริช เมื่อราวปีพุทธศักราช 2464 และเมื่อตรวจสอบแล้วเห็นว่าเป็นชนิดที่ใกล้เคียงกับที่เจอในประเทศจีน คือ Habenaria monophylla Collett & Hemsl.


เมื่อนักพฤกษศาสตร์แห่งสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ ค้นพบกับกล้วยไม้ชนิดที่หมอคาร์เก็บได้ และ ทำการศึกษาอย่างละเอียดแล้วพบว่าชนิดที่เจอแตกต่างออกไปจากของจีนแน่นอน รวมทั้งมีลักษณะต่างๆ ไม่เหมือนกับกล้วยไม้ในสกุล Habenaria


หลังจากทำการตรวจสอบและศึกษาร่วมกับ H.A. Pedersen ผู้เชี่ยวชาญกล้วยไม้เขตร้อนแห่งสวนพฤกษศาสตร์โคเปนเฮเกน และพบว่าเป็นชนิดใหม่และสกุลใหม่ จึงได้ขอพระราชทานนามจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ตามหนังสือประกาศสำนักราชเลขาธิการ ที่ รล ๐๐๐๘/๑๘๖๐ ลงวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๔๖ ได้พระราชทานพระราชานุญาต ให้ใช้ชื่อพันธุ์กล้วยไม้ว่า “Sirindhornia” เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ โดยตีพิมพ์ในวารสาร Nordic Journal of Botany 22 : 391 – 403 โดย Pedersen, H.A. ,P. Suksathan and S. Indhamusika. 2003


สำหรับกล้วยไม้ที่ได้รับการตั้งชื่อสกุลใหม่ซึ่งเจอในประเทศไทย มีอยู่ด้วยกันสามชนิดจากสองจังหวัด พื้นที่สุดแสนพิเศษ และไม่น่าเชื่อว่าจะได้เจอกับกล้วยไม้งามๆ ขนาดนี้ ซึ่งรายละเอียดของแต่ละชนิดมีดังที่จะกล่าวต่อไปครับผม โดยภาพนี้เป็นถิ่นอาศัยของพวกเธอครับ


เอื้องศรีประจิม
Sirindhornia mirabilis H.A. Pedersen & P. Suksathan
กล้วยไม้ดินสูงราว 15 – 45 ซม. ใบรูปไข่ปลายแหลมมีเส้นใบและมีจุดประสีแดงอมม่วงเข้ม ช่อดอกสูงกว่า 30 ซม. ในช่อดอกไม่แน่นนักมีตั้งแต่ 10 – 50 ดอก สีของดอกออกชมพูกลีบดอกและกลีบเลี้ยงด้านนอกสีอมเขียว กลีบปากสีชมพูส่วนโคนขยายออกไปเป็นปีก 2 ข้างส่วนกลางคอดกิ่ว ส่วนปลายแผ่หยักเว้าเป็น 2 พู งวงน้ำหวานส่วนโคนเป็นหลอดส่วนปลายงอโค้ง


สำหรับกล้วยไม้ชนิดนี้มีจำนวนประชากรน้อยมาก หากเทียบกับชนิดอื่นๆ และจำเพาะขึ้นอยู่ในพื้นดินหินปูน หรือบนพื้นดินตื้นๆ บริเวณภูเขาหินปูน ซึ่งน่าเป็นห่วงมากและมีการรายงานการพบเฉพาะที่นี่และในประเทศไทยเท่านั้น


เอื้องศรีอาคะเนย์
Sirindhornia monophylla (Collett & Hemsl.) H.A. Pedersen & P. Suksathan
กล้วยไม้ดินขนาดราว 10 – 40 ซม. ใบรูปรีแกมขนานปลายใบแหลมมีเส้นใบขนานตามยาว และมีจุดประขนาดใหญ่สีแดงอมม่วง ใต้ใบสีม่วงเข้ม ช่อดอกสูง 10 – 30 ซม. ดอกในช่อแน่น ดอกสีชมพู มีจุดประสีชมพูเข้ม กลีบดอกและกลับเลี้ยงสั้นค่อนข้างกลม สีชมพูแกมเขียว กลีบปากขนาดใหญ่มีจุดประสีแดงแกมชมพู ส่วนปลายแยกออกเป็น 3 พู งวงน้ำหวานเป็นหลอดตรงหรือโค้งลงเล็กน้อย


สำหรับกล้วยไม้ชนิดนี้พบขึ้นบนดินปนหินมีจำนวนประชากรค่อนข้างเยอะกว่าชนิด Sirindhornia mirabilis H.A. Pedersen & P. Suksathan ทว่าน่าเป็นห่วงมากกว่าเพราะขึ้นอยู่ใกล้ๆ กับทางเดินของคนและในพื้นที่มีการนำวัวมาปล่อยให้หากินอยู่ค่อนข้างเยอะ ซึ่งในจุดนี้หากยังไม่มีการป้องกันที่ดีน่าเป็นห่วงมาก รวมถึงการนำลงมาขายในอนาคตด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือเห็นแก่เงินก็ตาม เพราะในปัจจุบันมีการนำลงมาบ้างแล้ว รวมถึงออกไปยังญี่ปุ่นแล้วด้วย จึงควรช่วยกันรักษานะครับ



Create Date : 03 มิถุนายน 2549
Last Update : 26 มกราคม 2550 13:42:27 น. 10 comments
Counter : 2208 Pageviews.

 
รูปร่างหน้าตา มันแปลก ๆ แต่สวยดี สวยแบบแปลกๆ


โดย: นางฟ้าตกสะพาน วันที่: 3 มิถุนายน 2549 เวลา:13:11:06 น.  

 
สวยแปลกนะคะ


โดย: แวนด้าใบกลม IP: 125.25.11.81 วันที่: 4 มิถุนายน 2549 เวลา:12:16:46 น.  

 
มาชมครับ ....ผมว่าเป็นอาหารวัวปลอดภัยกว่านะครับ วัวคงไม่กินแบบถอนรากถอนโคน...


โดย: นายยล วันที่: 4 มิถุนายน 2549 เวลา:20:34:01 น.  

 


โดย: โสมรัศมี วันที่: 5 มิถุนายน 2549 เวลา:10:33:11 น.  

 
สวยจังฮ่ะ คุงน้า เดี๋ยวจะไปอุดหนุนหนังสือเน้อ

ไม่เจอกันนาน

จะไปทีลอซูบอกบ้างนะ

เก๋อาจขอไปด้วยคนค่ะ


โดย: มุมมองใหม่ที่ค้นหา IP: 125.24.74.7 วันที่: 6 มิถุนายน 2549 เวลา:8:08:45 น.  

 
สวยมาก ๆ เลยค่ะ โดยเฉพาะ เอื้องศรีอาคะเนย์

สบายดีนะคะ


โดย: varissaporn327 วันที่: 8 มิถุนายน 2549 เวลา:21:23:00 น.  

 

ขอพระองค์ทรงพระเจริญ ยิ่งยืนนาน



ชอบค่ะ สวยมาก


โดย: ดา ดา วันที่: 14 มิถุนายน 2549 เวลา:13:29:52 น.  

 
สบายดีมั้ยคะ


โดย: varissaporn327 วันที่: 25 ตุลาคม 2549 เวลา:0:22:03 น.  

 
เป็นไปได้ใหมครับถ้าเราจะอนุรักษ์เอาไว้เพื่อไม่ให้สูญพันธุ์โดยการผสมเกษรหรือวิธีการเพาะเนื้อเยื่อมาใช้โดยไม่เกี่ยวกับทางธุรกิจนะครับอย่างที่ผมเคยเห็นโครงการหลวงมีการอนุรักษ์รองเท้านารีอินทนนท์โดยการเพาะเมล็ดเลี้ยงจนโตแล้วจึงนำไปไว้ในป่าเหมือนเดิมเพราะเท่าที่อ่านดูแล้วน่าเป็นห่วงมากๆ


โดย: mr.orchid IP: 125.25.138.83 วันที่: 14 มิถุนายน 2550 เวลา:20:31:22 น.  

 
คุณจังเกิ้ลแมน
ไม่ได้แวะมาบลอคนี้นานแล้ว แต่ก็เชื่อว่ามาทีไรก็มีอะไรดีๆให้ชมเสมอ
น่ายินดีที่คุณได้ไปเห็นของจริงนะคะ เพื่อนๆเลยได้เห็นเป็นบุญตา อิอิ
เห็นจากภาพยังสวยขนาดนี้.


โดย: anavrin IP: 58.8.120.229 วันที่: 28 มิถุนายน 2550 เวลา:19:05:58 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

JUNGLE MAN
Location :
ปทุมธานี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add JUNGLE MAN's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.