Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2551
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
6 พฤศจิกายน 2551
 
All Blogs
 
สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมือง

ศาลหลักเมือง กรุงเทพฯ


วันนี้ขอเล่าเรื่องเบาๆ เป็นประสบการณ์ของคนว่างงานที่เยี่ยมๆมองๆแถวท้องสนามหลวง ดูแล้วก็เหมือนบ้านนอกเข้ากรุง ไม่รู้จะไปไหนก็ไปสนามหลวง ก็ที่ท้องสนามหลวงแห่งนี้มีรถประจำทางผ่านหลายสาย หลายทิศทาง ขอเพียงมีค่าโดยสาร ถึงไหนถึงกัน เวลากลับถ้ากลัวหลงทางก็นั่งสายเดิมกลับมาลงที่ท้องสนามหลวงนั่นแหละ ถึงบ้านแน่ค่ะ

หอบพะรุงพะรังเหมือนบ้าหอบฟาง มีเป้ ขาตั้งกล้อง ส่วนตัวกล้องทั้งดิจิตอลและวีดิโอ ขวดน้ำ สมุดบันทึก โทรศัพท์มือถือ ปากกา ดินสอ อยู่ในเป้ สวมหมวกและแว่นกันแดด เดินเทิ่งๆอยู่หน้าศาลหลักเมือง กะในใจว่าจะถ่ายภาพที่นั่นให้สนุกสนานมือ...เป็นการลองกล้องวีดิโอที่เพิ่งซื้อมาหมาดๆ เดี๋ยวก็รู้ว่าจะสวยเก๋เท่ขนาดไหน



หน้าศาลหลักเมือง มีคุณลุง คุณป้าวิ่งกรูกันเข้ามาเพื่อขายดอกไม้ธูปเทียน "รับดอกไม้มั๊ยคะ ข้างในขายแพงนะ" ได้ยินแต่คำพูดอย่างนี้หลายเที่ยว จึงยิ้มแบบปะแล่มๆให้เขาพร้อมโบกมือบ๊ายบาย แทรกพวกพ่อค้าแม่ขายเข้าไปข้างในจนได้ ที่รู้ก็เพราะได้ยินเสียงละครชาตรีกำลังร้อง กำลังเล่นและกำลังรำกันอย่างสนุกสนาน ละครแก้บนคนยืนดูไปก็ฮากันไป มุขตลกเยอะ เลยถ่ายรูปเก็บไว้ 1 ภาพ ถูกผู้แสดง 1 คนแซวอีก เอ้อ....ให้มันได้อย่างงั้นซิ

ข้างๆเวทีละคร มีเจ้าหน้าที่ขายดอกไม้ธูปเทียน ราคาเท่าใดไม่ทราบเพราะไม่สนใจที่จะซื้อ ถัดไปคือที่เติมน้ำมันเพื่อต่ออายุ ใครเกิดวันไหนก็บูชาพระประจำวันองค์นั้น เติมน้ำมันแล้วก็อย่าลืมอธิษฐานจะขอสิ่งใดก็สุดแต่ใจปรารถนา บางคนอธิษฐานตั้งนาน ไม่รู้ให้ท่านช่วยอะไรบ้าง เสร็จสรรพก็หยิบสตางค์หยอดเข้าตู้บริจาค 5 บาท ข้าพเจ้าเหลือบมองดูพระประจำวันของเขา เห็นท่านอมยิ้มรำพึงว่า "โยม.....อยู่อย่างพอเพียงจังเลย ขอให้ก้าวหน้าในหน้าที่การงาน มีน้อยทำน้อย มีมากทำมาก เงินที่เหลืออย่าไปเล่นหวยจนหมดล่ะ" สาธุ สาธุ สาธุ

ตรงข้ามกับที่บูชาพระประจำวันเกิด ผู้คนจุดธูปกลิ่นหอมตลบอบอวลไปทั่วบริเวณ นำไปกราบไหว้เจ้าพ่อหลักเมืองที่เป็นองค์จำลอง มีบทสวดบูชาที่เด่นชัด หลังจากที่ข้าพเจ้าสักการะบูชาเรียบร้อยแล้วก็เดินเข้าไปในวิหารอันเป็นที่สถิตของเจ้าพ่อหลักเมืององค์จริง ทางการสร้างองค์ใหม่ครอบไว้เนื่องจากของเก่าทรุดโทรมมาก (พยายามส่งภาพมาให้ดูกัน แต่ภาพไม่ออก......ขออนุญาตไปศึกษาก่อนว่าต้องทำอย่างไรนะคะ)


“ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร” คู่บารมีกรุงรัตนโกสินทร์ (ค้นคว้าจากGoogle)

กรุงเทพมหานคร เมืองฟ้าอมรของประเทศไทยนั้นก็มีเสาหลักเมืองคู่บ้านคู่เมือง มาตั้งแต่ครั้งสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเสาหลักเมืองประดิษฐานอยู่ภายในศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ใกล้กับวัดพระแก้ว ความแปลกโดดเด่นของศาลหลักเมืองกรุงเทพฯนี้ เห็นจะอยู่ตรงที่มีถึง 2 หลักด้วยกัน โดยเสาหลักแรกสร้างขึ้นเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ร.1) โปรดเกล้าให้ทำพิธียกเสาหลักเมืองสถาปนาพระนครใหม่ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 8 ขึ้น 10 ค่ำ ตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 เวลา 6.45 นาฬิกา ซึ่งใช้ไม้ชัยพฤกษ์ทำเป็นเสาหลักเมือง โดยประกอบด้านนอกด้วยไม้แก่นจันทน์ที่มี เส้นผ่าศูนย์กลาง 75 ซ. สูง 27 ซม. และกำหนดให้ความสูงของเสาหลักเมืองอยู่พ้นดิน 10 นิ้ว ฝังลงในดินลึก 79 นิ้ว มีเม็ดยอดรูปบัวตูม สวมลงบนเสาหลัก ลงรักปิดทอง ล้วงภายในไว้เป็นช่องสำหรับบรรจุดวงชะตาเมือง เรียกได้ว่าเสาหลักเมืองนี้เป็นสิ่งก่อสร้างอันศักดิ์สิทธิ์แรกๆ ที่อยู่คู่กับพระนคร

ส่วนเสาที่ 2 สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 4) ทรงโปรดเกล้าให้มีการขุดเสาหลักเมืองเดิม และจัดสร้างเสาหลักเมืองขึ้นใหม่ทดแทนของเดิมที่ชำรุด เป็นแกนไม้สัก ประกอบด้านนอกด้วยไม้ชัยพฤกษ์ 6 แผ่น สูง 108 นิ้ว ฐานเป็นแท่นกว้าง 70 นิ้ว บรรจุดวงเมืองในยอดเสาทรงมัณฑ์ที่มีความสูงกว่า 5 ม. พร้อมกับอัญเชิญหลักเมืองเดิม และหลักเมืองใหม่ ประดิษฐานอยู่ใกล้กันในอาคารศาลหลักเมืองที่มียอดปรางค์ ก่ออิฐฉาบปูนขาวที่ได้แบบอย่างจากศาลหลักเมืองอยุธยา

ด้านจุลภัสสร ได้แสดงทัศนะถึงเหตุที่เสาหลักเมืองกรุงเทพฯ มี 2 เสา ก็เพราะว่า “ในสมัยรัชกาลที่ 4 มีกษัตริย์ด้วยกัน 2 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะพระปิ่นเกล้าฯ มีดวงพระชะตาเรียกว่าเสมอกันกับพระองค์ พระองค์ก็เลยสถาปนาให้เป็นพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ที่ 2 ฉะนั้นเมื่อมีพระเจ้าอยู่หัว 2 องค์ในแผ่นดินเดียวกัน จึงโปรดเกล้าให้สถาปนาหลักเมืองขึ้นมาอีกหลักหนึ่ง คือเหมือนกับแผ่นดินซ้อนแผ่นดิน เลยต้องมีเสา 2 ต้น”

ทราบเรื่องราวความเป็นมากันแล้วนะคะ ตรงข้ามวิหารเจ้าพ่อหลักเมืองหรือศาลหลักเมือง มีเทพารักษ์ผู้พิทักษ์ให้ความร่มเย็นแก่บ้านเมือง 5 องค์ คือ


พระเสื้อเมือง มีหน้าที่คุ้มครองป้องกันทั้งทางบกและทางน้ำ คุมกำลังไพร่พลแสนยากร รักษาบ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุขปราศจากอริราชศัตรูมารุกราน

พระทรงเมือง มีหน้าที่รักษาการปกครองและกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ดูแลทุกข์สุขของประชาชนให้ร่มเย็นเป็นสุขสวัสดี

พระกาฬไชยศรี เป็นบริวารพระยมมีหน้าที่นำวิญญาณของมนุษย์ผู้ทำบาปไปสู่ยมโลก

เจ้าพ่อเจตคุปต์ เป็นบริวารพระยม มีหน้าที่จดความชั่วร้ายของชาวเมืองที่ตายไปและอ่านประวัติผู้ตายเสนอพระยม

เจ้าพ่อหอกลอง มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเหตุการณ์ต่างๆ อันเกิดขึ้นในแผ่นดิน เป็นต้นว่าคอยรักษาเวลาย่ำรุ่ง ย่ำค่ำ และเที่ยงคืน เกิดอัคคีภัย หรือมีข้าศึกศัตรูมาประชิดพระนคร

นอกจากข้าพเจ้าจะได้รูปภาพที่สวยสดงดงามตามที่ปรารถนาแล้ว ยังดีใจสุดกำลังที่ได้มีโอกาสมาสักการะสิ่งศักดิ์คู่บ้านคู่เมือง ร่วม 30 กว่าปีที่ห่างเหินไปไกล ทั้งๆที่ก็อยู่กรุงเทพฯ

ท่านผู้ใดที่คล้ายกับข้าพเจ้า มาเถอะค่ะ แล้วท่านจะตื่นตาตื่นใจในความมหัศจรรย์ (ใจ)





ศิลปะแห่งความวิจิตรบรรจงของความเป็นไทยยังเต็มเปี่ยมในศาลหลักเมือง





เทพารักษ์ผู้พิทักษ์ให้ความร่มเย็นแก่บ้านเมือง





มุมหนึ่งในศาลหลักเมือง พบแต่ความร่มเย็น





นมัสการเจ้าค่ะ





แม้แต่ปืนใหญ่หน้ากระทรวงกลาโหมยังมาขอพักเหนื่อยที่ศาลหลักเมือง





คำอธิษฐานขอพรเทพยดา





ลากันตรงนี้นะคะ Bye...Bye




สวัสดีค่ะ
ครูแอ๊ว







Create Date : 06 พฤศจิกายน 2551
Last Update : 7 เมษายน 2555 7:37:53 น. 13 comments
Counter : 1185 Pageviews.

 
ศาลหลักเมือง ไม่ได้ไปเดินเล่นเเถวนั้นนานเเล้วค่ะ ดีที่ทำให้นึกขึ้นได้
กระทรวงกลาโหม สมัยเด็กๆเจ้าถิ่นเลยค่ะ


โดย: " ยูกะ " (YUCCA ) วันที่: 6 พฤศจิกายน 2551 เวลา:9:05:22 น.  

 
ดีจังค่ะ
ยังไม่เคยไปศาลหลักเมืองกรุงเทพเลย หุหุ แบบบ้านไกลอ่ะ ปริมณฑลอีกฝั่งแน่ะ

ขอบคุณที่แวะไปหานะคะ


โดย: babybeeh วันที่: 6 พฤศจิกายน 2551 เวลา:10:35:53 น.  

 
ไม่เคยไปไหว้สักทีค่ะ อยู่กรุงเทพฯ มาก็นาน
ต้ิองหาเวลาไปไหว้บ้างแล้ว


โดย: bombik วันที่: 6 พฤศจิกายน 2551 เวลา:13:39:29 น.  

 
แจ่มจริงๆ
ขอบคุณที่นำมาให้ชมอยู่กรุงเทพตั้งหลายปี ไม่เคยเข้าไปชมสักครั้ง


โดย: บ้าได้ถ้วย วันที่: 6 พฤศจิกายน 2551 เวลา:18:31:11 น.  

 

ภาพถ่ายชัดดีนะคะ ปอเองอยู่กรุงเพทฯแท้ๆ ยังไม่เคยได้ไปสักการะศาลหลักเมืองเลยค่ะ แหะๆ...

เอากาแฟมาฝากค่ะ
มีความสุขในทุกๆ วันนะคะ งุงิ ^ ^


โดย: Butterflyblog วันที่: 6 พฤศจิกายน 2551 เวลา:18:32:32 น.  

 
ขอบคุณค่ะที่แวะไปเยี่ยมเยียนที่ blog บ่อยๆ

อ่านแล้วได้ความรู้มากเลย อิฉันเองก็เคยได้ไปสักการะศาลหลักเมืองบ่อยๆ เหมือนกัน


โดย: ชญาลี วันที่: 7 พฤศจิกายน 2551 เวลา:10:35:19 น.  

 
สวัสดีค่ะคุณครู ..

ขอบคุณมากเลยนะคะ ..

สวนที่ศาลหลักเมืองเค้าจัดสวยร่มรื่นดีจังเลยค่ะ ..

น่าไปมากมากเลยนะคะ ..

ต้องหาโอกาสไปซะแล้ว ..

ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ ..



โดย: บ้านอุ่นรัก วันที่: 7 พฤศจิกายน 2551 เวลา:15:07:38 น.  

 
สวัสดีครับ สบายดีนะครับ

ผมผ่านสนามหลวงบ่อยครับ เดินผ่านศาลหลักเมืองหลายครั้ง แวะเข้าไปไหว้ก็หลายครั้งครับ

ชมภาพถ่ายแล้วสบายใจดีครับ


โดย: Insignia_Museum วันที่: 7 พฤศจิกายน 2551 เวลา:22:22:40 น.  

 
นักวิจัยค้นคว้าแต่งตัวแบบนั้นล่ะค่ะ จันทร์ก็เป็นบ้าหอบฟางเหมือนกัน
ข้อมูลดีจังค่ะ

ตัวหนังสือในกล่องcmtเนี่ยเล็กไปหน่อยรึปล่าวคะ อิ อิ


โดย: จันทร์ไพลิน วันที่: 8 พฤศจิกายน 2551 เวลา:6:29:41 น.  

 


ดอกช้อนทองเลี้ยงไม่อยากครับ ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมชม
สุขสันต์วันหยุดนะครับ


โดย: Lucky in Life วันที่: 8 พฤศจิกายน 2551 เวลา:10:32:15 น.  

 
แวะมาเยี่ยมจร้า.................


โดย: เบ้ (golf_benz ) วันที่: 8 พฤศจิกายน 2551 เวลา:15:50:24 น.  

 
มารับไปทานทอดมันมโนราห์คับ

อิอิ..


โดย: เฮียนซุน (hiansoon ) วันที่: 9 พฤศจิกายน 2551 เวลา:14:17:03 น.  

 
เอ่อออ
มาเรียนกรุงเทพตั้งแต่ ม.1 แต่ยังไม่เคยไปศาลหลักเมืองเลยอ่า....
สนามหลวง ตอนอยู่โรงเรียนกลับบ้านนี่ผ่านทุกวัน


โดย: นัทจัง (peanut_p ) วันที่: 9 พฤศจิกายน 2551 เวลา:21:14:04 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

nathanon
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




เราหรือชื่อครูแอ๊ว
สอนเด็กแนวแถวกลางเมือง
ศิษย์เด่นดังรุ่งเรือง
เกียรติฟูเฟื่องครูชื่นชม
ตกอับครูเศร้าสร้อย
โอ้..ศิษย์น้อยช่างขื่นขม
เธอทุกข์ครูระทม
อย่าโศกตรมมาหาครู

HOME SWEET HOME







Google



แต่ละคนย่อมเดินไปตามทางชีวิตของตนเอง ดังนั้นควรมองตัวเอง สังเกตตัวเอง เรื่องคนอื่นตัดทิ้งได้lozocat
lozocat


Color Codes ป้ามด
Friends' blogs
[Add nathanon's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.