พฤษภาคม 2555
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
24 พฤษภาคม 2555

ถอดรหัส รามาวตาร(รามเกียรติ์)

ถอดรหัส รามาวตาร(รามเกียรติ์)

'''''''''วันก่อนได้ไปมีโอกาสเห็นภาพเขียนศิลปกรรมที่งดงามมากที่วัดพระแก้วมรกต ซึ่งภาพสื่อบอกเล่าเนื้อหาที่น่าสนใจ เรื่องรามเกียรติ์ และที่นครวัด(กัมพูชา) ก็มีการสลักเรื่องนี้ไว้เช่นเดียวกันซึ่งเป็นอิทธิพลของความเชื่อและวัฒนธรรมอินเดียที่เผยแพร่มายังภูมิภาคนี้ คือสุวรรณภูมิ


รูปภาพ
จิตรกรรมฝาผนังเนื้องหาเรื่องรามายณะภาพหนึ่ง วัดพระแก้ว

'''''''''ที่นครวัด ซุ้มหัวมุมทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีภาพที่สลักงดงาม เป็นภาพของมหากาพย์รามายณะ หรือรามเกียรติ์ ที่ฤาษีวาลมิกิ รจนาแต่งขึ้น เป็นเนื้อหาอวตารของพระนารายณ์ เรียกว่ารามาวตาร ลงมาเกิดเป็นพระราม ทำสงครามกับทศกัณฐ์ ที่มี ๑๐ เศียร ๒๐ กร มีภาพยักษ์ชื่อพิราพพยายามลักพานางสีดา ต้องสู้รบกับพระรามและพระลักษมณ์ ภาพนางสีดาถูกกักขังในวังของทศกัณฐ์ มีหนุมานกำลังถวายแหวนของพระรามให้นางสีดา


รูปภาพ
ปราสาทนครวัดสร้างโดยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ โดยสร้างทับซ้อน นครวัดหลังเก่าของพระเจ้ายโศวรมัน

'''''''''ภาพสลักรามเกียรติ์หรือรามายณะ แสดงถึงอิทธิพลของวรรณกรรมอินเดีย ที่แต่งขึ้นเพื่อยกย่องชาวอารยัน ในฐานะผู้พิชิต กล่าวคือ ดินแดนอันกว้างใหญ่ของอินเดีย มีราษฏรอพยพเข้าไปอยู่ในดินแดนแห่งนี้หลายพวก มีทั้งชนเผ่านิกริโต พวกคนร่างเล็กจากแอฟริกา ชนพวกนี้แพร่ไปอยู่ทั่วอินเดีย ยังมีร่องรอยเหลืออยู่ทางรัฐอัสสัมตะวันออกและรัฐนาคาปัจจุบันนี้ เป็นพวกแรก

'''''''''พวกที่ ๒ เข้าสู่ดินแดนอินเดีย คือชนเผ่าออสตริก จากภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก พวกนี้รูปร่างขนาดกลาง การดำรงชีวิต ก็คือปลูกข้าวไร่ โดยใช้ไม้แทงดินให้เป็นรู แล้วหยอดเมล็ดพืชลงไป พวกนี้เข้าผสมกับพวกนิกริโต

'''''''''ชนพวกที่ ๓ เข้าสู่อินเดีย คือชนเผ่าทราวิฑจากอิหร่าน ชนเผ่านี้ใช้ภาษาตระกูลทราวิฑ(ทมิฬ) อย่างโบราณ มีความกว้างหน้าการผลิตทางเกษตรสูงกว่า ๒ พวกแรก พวกที่ ๓ นี้เข้ามาอาศัย อยู่ตามแม่น้ำสินธุ แคว้นสินธุ แคว้นปัญจาบ

'''''''''ชนพวกที่ ๔ เข้าสู่อินเดีย คือพวกอารยัน เมื่อก่อนพุทธศักราช(พุทธกาล) ประมาณ ๓,๐๐๐ ปีก่อนหน้า พวกนี้มาจากที่ราบสูงระหว่างยุโรปกับเอเชีย ตอนใต้เทือกเขายูราล รูปร่างสูง จมูกโด่งเป็นสัน ตาสีฟ้า ผมสีทอง เรียกตัวเองว่าอารยะ(อารย) พวกนี้รู้จักฝึกม้าเป็นพาหนะ มีอาวุธที่ดีกว่า ใช้การสู้รบบนหลังม้า พวกอารยะเข้ามารุกรานพวกทราวิฑ ในที่สุดพวกทราวิฑก็ปราชัยแก่พวกอารยันถอยร่นลงสู่ภาคใต้ หรือเตลิดขึ้นป่าเขาทางเหนือ

'''''''''พวกที่ ๕ เข้าสู่อินเดีย คือชนเผ่ามองโกล พวกนี้อยู่ในตระกูลภาษาทิเบต-จีน อพยพจากลุ่มแม่น้ำหวางเหอ(ฮวงโห) และหยางจือเกียง(แยงซีเกียง) เข้ามาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือในระยะไล่เลี่ยกันกับพวกอารยัน ที่เข้ามาทางตะวันตกเฉียงเหนือ พวกนี้เข้าครองดินแดนแถบอินเดียตะวันออก เข้ามาจนถึงตอนกลาง ปัจจุบันนี้ยังมีอยู่หนาแน่นในอินเดียตะวันออก และมีไม่น้อยที่ถูกภาษาและวัฒนธรรมของอารยันกลืนหายไป

'''''''''ทั้ง ๕ พวกนี้ พวกอารยันเข้าไปสู่ดินแดนอินเดียในฐานะผู้พิชิต ในที่สุดเป็นผู้มีอำนาจทางการปกครองเหนือชนพื้นเมืองเดิม เป็นเจ้านายและเจ้าชีวิตของชนเผ่าอื่นๆ พวกอารยันจึงเรียกชนพื้นเมืองและชนเผ่าอื่นๆ อีก ๔ เผ่าที่ล้าหลังด้วยถ้อยคำที่เหยียดหยามว่า พวกมิลักขุ ซึ่งแปลว่า คนป่าเถื่อน คนชาวเขา คนชั้นต่ำ

'''''''''ทาส-ทัสยุ เป็นชื่อที่ชาวอารยันใช้เรียกชนเผ่าทราวิฑ ที่ครอบครองอินเดียอยู่ก่อนที่ชาวอารยันบุกรุกดินแดนอินเดีย พวกทราวิฑพูดภาษาทมิฬ ชนเผ่าทราวิฑมีอารยธรรมและวัฒนธรรมเป็นของตนเองแล้ว เช่น มีความก้าวหน้าทางการผลิตและสังคมระดับสูงพอสมควร มีเคื่องมือประกอบอาชีพการเกษตร เช่น มีด ขวาน เคียว มีอาวุธจำพวกธนู หอก มีดสั้น ดาบโล่ ทำเกษตรกรรมทั้งเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ มีฉางข้าว และล้อเลื่อน

'''''''''พวกอารยันได้รับเอาอารยธรรมของพวกทราวิฑไปเป็นของตนไม่น้อยเลย ลัทธิศาสนาที่นับถือบูชาพระศิวะ ซึ่งมีกายสีแดงนั้นก็เป็นลัทธิของทราวิฑเดิม ศิวะ เป็นชื่อภาษาทมิฬว่า ศิวัน แปลว่า สีแดง วิษณุ ก็เป็นเทพเจ้าของพวกทราวิฑมาก่อน ภาษาทมิฬ วิษณุ แปลว่า ท้องฟ้า ลัทธิบูชาเจ้แม่กาลี(พระอุมา) และศรี(ลักษมีชายาพระวิษณุ) ก็เป็นคติบูชาเทวะผู้หญิงทางทราวิฑมาก่อน การใช้รูปกวางเหลียวหมอบอยู่ใต้แท่นของรูปเคารพ อย่างที่ในพุทธศาสนายุคต้นใช้ประกอบรูปธรรมจักร(ธรรมจักรกับกวางหมอบเหลียวหลัง) นั้นก็เป็นคติของทราวิฑมาแต่เดิม โดยถือว่า กวางเป็นสัญลักษณ์ของความซื่อสัตย์

ภาพร่องรอยอารยธรรมของชนพื้นเมืองเดิม ดินแดนที่เรียกว่า ฮารัปปา-โมเฮนโจ ประมาณ ๗,๐๐๐ กว่าปี
มาแล้ว
ก่อนหน้าชาวอารยันอพยพลงมาช่วง ประมาณ ๕,๐๐๐ กว่าปีที่แล้ว(ก่อนหน้าพุทธศักราชประมาณ ๓,๐๐๐ปี)


รูปภาพ
ภาพการดำรงชีวิต

รูปภาพ
อารยธรรม ฮารัปปา-โมเฮนโจ อยู่บริเวณตอนเหนือระหว่างประเทศอินเดีย-ปากีสถาน

รูปภาพ
ซากอารยธรรมที่ยังหลงเหลือ ฮารัปปา-โมเฮนโจ ที่มีอยู่ปัจจุบัน

รูปภาพ
แผนที่เมืองทางการก่อสร้าง

รูปภาพ
เทพเจ้าเหนือเหล่าสัตวทั้งปวง

'''''''''พวกทราวิฑ(ทมิฬ) ชื่อทมิฬตกทอดมาถึงในไทยด้วย สำนวนที่ว่า โหดร้ายใจทมิฬ หรือใจทมิฬหินชาติ อาจเป็นเพราะว่าชาวทมิฬได้เข้ามาโจมตีอาณาจักรศรีวิชัย เมื่อปี พ.ศ. ๑๕๗๓ พระเจ้าราเชนทรโจฬะแห่งอินเดียใต้ ยกกองทัพเข้ายึดอาณาจักรศรีวิชัยเป็นเวลา ๒๐ ปี คำภาษาสันสกฤตว่า เจาร ชื่อบาลีว่า โจร นั้นน่าจะมาจากชื่อชนเผ่าชาวทราวิฑทางใต้ที่เรียกว่าโจฑ หรือโจฬะ(ในโจฬมลฑล อินเดียใต้) เมื่อพระเจ้าราเชนทร โจฬะเข้ายึดครองอาณาจักรศรีวิชัย จึงมีจารึกภาษาทมิฬ อยู่ที่นครศรีธรรมราชแต่ยังแปลจารึกภาษาทมิฬนี้ไม่ได้ ภาษาทมิฬคงหลงเหลืออยู่ที่จังหวัดพัทลุง เช่น คำว่า ตะโหมด แม่ขลี ทะเลน้อยลำปำ (ชื่ออำเภอ) เป็นต้น

'''''''''ที่จริงพวกทราวิฑมิใช่ชนชาติป่าเถื่อน หากมีอารยธรรมสูงระดับหนึ่ง และมีการจัดตั้งทางสังคมเป็นบ้านเป็นเมือง แต่ชนชาวอารยันได้เปรียบที่มีอาวุธดีกว่า มีพาหนะคือม้าซึ่งเหนือกว่า จึงเป็นผู้พิชิตและยึดอำนาจการปกครองทางการเมืองไปไว้ในกำมือในที่สุด สงครามขับเคี่ยวระหว่างชนอารยันผู้รุกรานกับชนชาวทราวิฑผู้พิชิตปิตุภูมินั้น ได้ถูกกวีชาวอารยัน(ฤาษีวาลมิกิ)บันทึกไว้เป็นมหากาพย์สรรเสริญวีรบุรุษของตน อย่างยืดยาว คือเรื่องรามายณะ(รามเกียรติ์)

'''''''''รามายณะ สะท้อนถึงการต่อสู้อย่างยอมตายจนคนสุดท้ายของพวกทราวิฑ ผู้ถูกล่าลงเป็นทาส ของนายทาสต่างชาติ

'''''''''จิตร ภูมิศักดิ์ เขียนไว้ในความเป็นมาของคำสยามฯ หน้า ๒๕๒ ว่า รามายณะเริ่มเรื่องตั้งแต่นนทก แค้นพวกเทวะ นนทกนั้นคือ ทาสชาวทราวิฑ ชื่อนนทกแปลว่า ผู้บำเรอ ผู้ยังความยินดี(จากศัพท์ นันทะ ความยินดี) นั้นก็คือ ข้าทาสที่มีหน้าที่รับใช้นาย หน้าที่ของนนทกเป็นหน้าที่ชั้นต่ำ คือตักน้ำล้างเท้าเทวาทั้งหลายที่จะขึ้นเฝ้าพระอิศวร พวกเทวะก็จับหัวดึงผมเล่นบ้าง เยาะเย้ย จนผมเกลี้ยงศีรษะโล้น นนทกคั่งแค้นสาหัส ทางไทยเราจึงแปลงชื่อเป็นนนทุกข์ ให้มีความหมายเป็นทุกข์ทรมานไปเสียเลย ในที่สุดนนทกก็คิดสู้ ฆ่าเทวะตายเสียมาก แต่ท้ายที่สุดก็หลงมายาอิสตรีของพระนารายณ์ที่แปลงตัวลงมา จนตัวต้องตาย เมื่อจะตายนั้นนนทกได้ปฏิญาณไว้ว่า จะขอเกิดมาผจญกับพวกเทวะอีก นี่คือจิตสำนึกนักสู้ที่ไม่รู้จักคำว่ายอมแพ้ของนนทก

'''''''''นนทกคือใคร? นนทกก็คือหัวหน้าทาสชาวทราวิฑ ผิวดำ ผมหยิก ตาพอง ริมฝีปากหนา ซึ่งรามายณะ เหยียดลงเป็นยักษ์ เป็นอสูร ส่วนเทวะทั้งหลายคือชาวอารยันซึ่งมีฐานะเป็นนาย การลุกขึ้นต่อสู้ของนนทก คือการลุกฮือของพวกทาสทราวิฑที่ประสงค์จะปลดแอกระบบทาสอารยันนั่นเอง นนทกคือผู้นำทาสยุคโบราณดึกดำบรรพ์ คือวีรบุรุษของพวกทราวิฑ

'''''''''การต่อสู้ยังดำเนินต่อไปจนถึงรุ่นหลานเหลน คือรุ่นที่ชาวทราวิฑ มีทศกัณฐ์เป็นผู้นำ และชาวอารยันมีพระรามเป็นผู้นำ กวีอารยันผู้พิชิตนั้น ปลายสุดของการต่อสู้ได้วาดภาพบันทึกว่า ฝ่ายทราวิฑทาส ไว้เป็นยักษ์เป็นมาร รากษส อสูร และบันทึกฝ่ายอารยันไว้ว่า เป็นมนุษย์ แต่ฝ่ายมนุษย์นั้น ก็มีแต่ตัวนายชาวอารยันคือพระราม พระลักษมณ์ เท่านั้นที่เป็นมนุษย์จริง นอกนั้นบรรดาไพร่พลที่เกณฑ์มาจากชาวพื้นเมืองเผ่าต่างๆล้วนถูกเขียนจดไว้เป็นลิง (วานร) ไปทั้งหมด มีทั้งลิงขาว ลิงเหลือง ลิงแดง ลิงดำ ตามสีผิวกายของชาวพื้นเมือง จะเห็นว่าแม้ทหารของพวกตนเองที่ตนได้อาศัยกำลัง พวกอารยันก็หายอมให้มีฐานะเป็นคนไม่ นี่คือโลกทรรศน์ของสังคมอารยัน ยุคนายทาสปกครองทาส

ภาพมหากาพย์รามายณะ และเส้นทางเดินทัพพระราม ยุคพระรามในวรรณกรรมรามายณะ

รูปภาพ

รูปภาพ

'''''''''ากรามายณะ เราจะพบความจริงว่า ชาวทราวิฑเสียเปรียบเรื่องอาวุธ พวกยักษมณ์ในรามายณะ มีแต่ตะบองเป็นอาวุธเป็นพื้น ผิดกับลิงซึ่งมีมีดสองคม ตรีศูล และทางพระรามมีธนู อันเป็นอาวุธทำลายระยะไกล นี่เป็นสาเหตุหนึ่งของความพ่ายแพ้ อีกข้อหนึ่งที่เด่นชัดก็คือ ความอาฆาตแค้นที่บรรพบุรุษ(นนทก) ต้องพินาศเพราะมายาอิสตรีชาวอารยัน ข้อนี้เอง คือพื้นฐานที่ทำให้ ทศกัณฐ์ลักพาตัวนางสีดา ราชินีของชาวอารยัน ไปทำอนาจาร และกักตัวไว้เยาะเย้ยพวกอารยัน นี่เป็นการแก้แค้นแบบบุพกาลอย่างหนึ่ง ทางฝ่ายอารยันถือว่าเป็นเรื่องเสื่อมเสีย น่าอับอายมาก เมื่อแต่งมหากาพย์รามายณะ จึงพยายามพลิกเรื่องว่า นางสีดาบริสุทธิ์พวกยักษ์แตะต้องไม่ได้ และยังมีการลุยไฟพิสูจน์ความบริสุทธิ์ในบั้นปลาย นี่เป็นเรื่องมดเท็จทั้งสิ้น การต่อสู้ของพวกทราวิฑสู้ด้วยระดับปัญญาสูง จะเห็นได้ว่ามีการทดน้ำให้กองทัพอารยันอดน้ำ และบังเกิดโรคระบาด มีการหลอกล่อให้ข้าศึกอ่อนกำลัง (คือตอนล่อให้สุครีพถอนต้นรัง)

'''''''''แต่ชาวทราวิฑเสียที ตรงที่มีชาวทราวิฑเองเอาใจออกห่างไปเข้ากับฝ่ายศัตรู นั่นคือ พิเภก(วีภีษณ) น้องของทศกัณฐ์ พิเภกล่วงรู้กลยุทธ์ของฝ่ายทราวิฑหมดทุกอย่างเพราะตนได้ร่ำเรียนมาตำราเดียวกัน จึงได้รับยกย่องว่าเป็นโหรวิเศษ เป็นผู้รู้มีปัญญา ที่ทำนายได้ถูกต้องทุกอย่าง แท้จริงคือการทรยศที่หวังจะเป็นกษัตริย์ทราวิฑ โดยอาศัยกำลังของชาวอารยันปราบพวกเดียวกันนั้นเอง และในบั้นปลายของสงครามเมื่ออารยันชนะ พิเภกก็ได้เป็นกษัตริย์ประเทศราช สมความปรารถนาของตนท่ามกลางความพินาศฉิบหายของชนเผ่าทราวิฑทั้งชาติ

รวบรวมอ้างอิงเนื้อหาจาก หนังสือ สยำกุก-นครวัด กองทัพศรีวิชัย
ผู้เขียน ชำนาญ สัจจะโชติ,พิมพ์ครั้งที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๙
จัดจำหน่ายโดยบริษัทงานดี(๐-๒๕๘๐-๐๕๕๙)

- ที่มา -
สยำกุก-นครวัด กองทัพศรีวิชัย //www.dhammachak.net/board/viewtopic.php?t=60


....................................



Create Date : 24 พฤษภาคม 2555
Last Update : 27 พฤศจิกายน 2555 19:41:54 น. 1 comments
Counter : 3815 Pageviews.  

 
ทศกัณฐ์ is Ravan in original Ramayana.


โดย: A man who lives in Taiwan IP: 120.108.90.189 วันที่: 5 มิถุนายน 2555 เวลา:15:58:25 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

nataraja
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add nataraja's blog to your web]