Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2550
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
30 กรกฏาคม 2550
 
All Blogs
 
วันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา




วันเข้าพรรษา กำหนดเป็น ๒ ระยะ คือ ปุริมพรรษา และปัจฉิมพรรษา

๑. ปุริมพรรษา คือ วันเข้าพรรษาต้น ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ของทุกปีหรือราวเดือนกรกฎาคม และออกพรรษาในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ราวเดือนตุลาคม

๒. ปัจฉิมพรรษา คือ วันเข้าพรรษาหลัง สำหรับปีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ หลัง หรือราวเดือนกรกฎาคม และจะออกพรรษาในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ราวเดือนตุลาคม

ความหมายของวันเข้าพรรษา
........คือ เป็นวันที่พระภิกษุสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนมีกำหนด ๓ เดือนตามพระวินัยบัญญัติ โดยไม่ไปค้างแรมในที่อื่น เรียกกันโดยทั่วไปว่า "จำพรรษา"

ประวัติความเป็นมา
........แต่เดิมในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติพระวินัยให้พระสงฆ์สาวก อยู่ประจำพรรษา เหล่าภิกษุสงฆ์จึงต่างพากันออกเดินทาง เผยแผ่พระพุทธศาสนาในสถานที่ต่างๆ โดยไม่ย่อท้อ ทั้งในฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ต่อมาชาวบ้านได้พากันติเตียนว่า พวกสมณะศากยบุตรไม่ยอมหยุดสัญจรแม้ในฤดูฝน ในขณะที่พวกพ่อค้าและนักบวชในศาสนาอื่นๆ ต่างพากันหยุดสัญจรในช่วงฤดูฝนนี้ การที่พระภิกษุสงฆ์จาริกไปในที่ต่างๆ แม้ในฤดูฝน อาจเหยียบย่ำข้าวกล้าชาวบ้าน ได้รับความเสียหาย หรืออาจไปเหยียบย่ำโดนสัตว์เล็กสัตว์น้อยที่ออกหากินจนถึงแก่ความตาย

........เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบเรื่องจึงได้วางระเบียบให้พระภิกษุสงฆ์เข้าอยู่ประจำที่ ตลอดระยะเวลา ๓ เดือนแห่งฤดูฝน ภิกษุสงฆ์ที่อธิษฐานเข้าพรรษาแล้ว จะไปค้างแรมที่อื่นนอกเหนือจากอาวาส หรือที่อยู่ของตนไม่ได้แม้แต่คืนเดียว หากไปแล้วไม่สามารถกลับมาในเวลาที่กำหนด คือก่อนรุ่งสว่าง ถือว่าพระภิกษุรูปนั้นขาดพรรษา

........แต่หากมีกรณีจำเป็น ๔ ประการต่อไปนี้ ภิกษุผู้อยู่พรรษาสามารถกระทำ สัตตาหกรณียะ คือ ไปค้างที่อื่นได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการขาดพรรษา แต่ต้องกลับมาภายในระยะเวลา ๗ วัน คือ

........แต่หากมีกรณีจำเป็น ๔ ประการ ต่อไปนี้ ภิกษุผู้อยู่พรรษาสามารถกระทำ สัตตาหกรณียะ คือ ไปค้างที่อื่นได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการขาดพรรษา แต่ต้องกลับมาภายในระยะเวลา ๗ วัน คือ
๑. ไปรักษาพยาบาลพระภิกษุ หรือ บิดามารดาที่เจ็บป่วย
๒. ไประงับไม่ให้พระภิกษุสึก
๓. ไปเพื่อกิจธุระของคณะสงฆ์ เช่น ไปหาอุปกรณ์มาซ่อมแซมวัดซึ่งชำรุดในพรรษานั้น
๔. ทายกนิมนต์ไปฉลองศรัทธาในการบำเพ็ญกุศลของเขา


ในการอธิษฐานเข้าพรรษา ณ วัดหรือที่ใดที่หนึ่ง หากมีเหตุจำเป็น ๕ ประการ ต่อไปนี้ ภิกษุไม่ต้องอาบัติ แม้จะไปอยู่ที่อื่น ได้แก่
๑. ถูกสัตว์ร้ายรบกวน ถูกโจรปล้น วิหารถูกไฟไหม้ หรือถูกน้ำท่วม
๒. ชาวบ้านถูกโจรปล้น อพยพหนีไป อนุญาตให้ไปกับเขาได้ หรือชาวบ้านแตกเป็น ๒ ฝ่าย ให้ไปกับฝ่ายที่มีศรัทธาเลื่อมใส
๓. ขาดแคลนอาหาร หรือยารักษาโรค
๔. มีผู้เอาทรัพย์มาล่อ พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้หนีไปเสียให้พ้นได้
๕. ภิกษุสงฆ์แตกกันหรือมีผู้พยายามทำให้ภิกษุสงฆ์ในวัดแตกกัน ให้ไปเพื่อหาทางระงับได้


ประโยชน์ในการเข้าพรรษาของพระภิกษุ
๑. เป็นช่วงที่ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่นา หากภิกษุสงฆ์เดินทางจาริกไปในสถานที่ต่างๆ อาจไปเหยียบต้นกล้า หรือสัตว์เล็กสัตว์น้อยให้ได้รับความเสียหายล้มตาย
๒. หลังจากเดินทางจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนามาเป็นเวลา ๘ - ๙ เดือน พระภิกษุสงฆ์จะได้หยุดพักผ่อน
๓. เป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์จะได้ประพฤติปฏิบัติธรรมสำหรับตนเอง และศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยตลอดจนเตรียมการสั่งสอนประชาชน
เมื่อถึงวันออกพรรษา
๔. เพื่อจะได้มีโอกาสอบรมสั่งสอนและบวชให้กับกุลบุตรผู้มีอายุครบบวช อันเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป
๕. เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษ เช่น การทำบุญตักบาตรหล่อเทียนเข้าพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน รักษาศีล เจริญภาวนา ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม งดเว้นอบายมุข และมีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนาตลอดเวลาเข้าพรรษา


เครื่องอัฏฐบริขารของภิกษุระหว่างการจำพรรษา
........โดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระภิกษุตามพุทธานุญาตที่ให้มีประจำตัวนั้น มีเพียง อัฏฐบริขาร ซึ่งได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน แต่ช่วงหน้าฝนของการจำพรรษาในสมัยก่อนนั้น กว่าพระสงฆ์จะหาที่พักแรมได้ บางครั้งก็ถูกฝนเปียกปอน ชาวบ้านผู้ใจบุญจึงถวาย "ผ้าจำนำพรรษา" หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า ผ้าอาบน้ำฝน เพื่อให้พระสงฆ์ได้ผลัดเปลี่ยน และยังถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันเป็นพิเศษในช่วงเข้าพรรษา จนเป็นประเพณีทำบุญสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันเข้าพรรษา
๑. ร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา
๒. ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่ภิกษุสามเณร
๓. ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล
๔. อธิษฐาน งดเว้นอบายมุขต่างๆ
๕. อยู่กับครอบครัว


การหล่อเทียนพรรษา
........การหล่อเทียนพรรษาเป็นประเพณีที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่มีมาแต่คั้งโบราณกาลในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พิธีหล่อเทียน จัดเป็นพระราชกุศล และเป็นงานบุญทั่วไปของชาวบ้านอีกด้วย โดยกำหนดจัดงานราชพิธีหล่อเทียนขึ้นในเดือน ๘ ของทุกปี ก่อน เข้าพรรษาสมัยนั้นการหล่อเทียนใช้หล่อด้วยขี้ผึ้งทั้งสิ้น ในปีหนึ่ง ๆ จะใช้ขี้ผึ้งเป็นจำนวนมากทั้งนี้เนื่องจากบรรดาวัดต่าง ๆ ที่เป็น วัดหลวงทุกวัด จะได้รับพระราชทานเทียนพรราวัดละ ๑ เล่ม หรือมากกว่านั้นทุก ๆ วัด จำนวนเทียนที่หล่อจึงมีมากขึ้น

........กล่าวกันว่าประมาณปลายรัชการที่ ๓ ต้องหล่อเทียนจำนวนถึง ๒๐๐ เล่ม จึงจะมีจำนวนมากพอที่จะนำไปถวายวัดต่าง ๆ ได้ อย่างทั่วถึง ซึ่งการหล่อเทียนแต่ละเล่มสมัยนั้น ต้องใช้ขี้ผึ้งในการหล่อเทียนหนักถึง ๑๖ ชั่ง ปีหนึ่ง ๆ จะใช้ขี้ผึ้งจำนวนมาก ดังนั้นเมื่อถึง เวลาที่หล่อเทียนทางสำนักพระราชวัง จำบอกบุญไปยังพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน เจ้าภาษี นายอากร และ ขุนนางฝ่ายต่าง ๆ เป็นต้น ให้นำขี้ผึ้งมาช่วยกันหล่อเทียน จึงสำเร็จลงได้

........มูลเหตุที่ต้องมีการหล่อเทียนนั้นก็เนื่องมาจากในฤดูฝน หรือที่เรียกกันว่า "ฤดูการเข้าพรรษา" คือช่วงแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ นั้น กำหนดให้พระภิกษุทั้งหลายต้องงเข้าอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งตลอดระยะเวลา ๓ เดือน พระภิกษุสงฆ์ที่ต้อง อยู่จำพรรษาในพระอารามระหว่างนั้นมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้าค่ำ มีความจำเป็นต้องใช้เทียนไว้สำหรับ จุดบูชาให้ตลอดพรรษา พุทธศาสนิกชนจึงพร้อมใจกันหล่อเทียน สำหรับให้พระภิกษุสงฆ์ได้จุดบูชาตลอด ๓ เดือนของกำหนดเวลาเข้าพรรษา จึงเรียกเทียนที่หล่อ ขึ้นนี้ว่า "เทียนพรรษา" หรือ "เทียนจำนำพรรษา"

........การถวายเทียนพรรษาเป็นกุศลอย่างหนึ่งของการให้ทานด้วยแสงสว่าง ซึ่งจะเป็นปัจจัยให้เกิดปัญญา สว่างไสว พิธีหล่อเทียน เริ่มก่อนการเข้าพรรษาเล็กน้อย การตระเตรียมงานพิธีหล่อเทียนในชุมชนนั้น จะเริ่มขึ้นประมาณวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๘ ก่อนเข้าพรรษา ประมาณ ๑ สัปดาห์

........เมื่อหล่อเทียนในวันรุ่งขึ้นจะจัดขบวนแห่นำไปถวาย ณ วัดใดวัดหนึ่ง เพื่อเป็นพุทธบูชาและ ในวันนั้นมีการทำบุญร่วมกัน ตักบาตร ถวายพระภิกษุสงฆ์ แสดงความศรัทธาโดยพร้อมเพรียงกัน

........งานทำบุญหล่อเทียน และถวายเทียนพรรษานับเป็นประเพณีที่ดีงามสมควรที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จะได้ช่วยกันรักษา ประเพณีนี้ไว้ให้คงอยู่สืบไปชั่วกาลนาน



อ้างอิง
ประเพณี พิธีมงคล และวันสำคัญของไทย. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก, 2539.














Create Date : 30 กรกฎาคม 2550
Last Update : 21 สิงหาคม 2551 21:37:03 น. 3 comments
Counter : 289 Pageviews.

 
เข้าพรรษานี้ก็ไปทำบุญหล่อเทียนกับครอบครัว มีลูก 2 คน(น้องสร้อยและน้องแหวน) สุขใจได้เข้าวัด


โดย: อุบล (สพท.สพ.2) IP: 202.143.155.35 วันที่: 2 สิงหาคม 2550 เวลา:14:28:08 น.  

 
คุณ --- อุบล (สพท.สพ.2) ---

สวัสดีค่ะ อนุโมธนาบุญ สาธุ ค่ะ

ชื่อลูกน่ารักนะค่ะ น้องสร้อย ... น้องแหวน


โดย: naragorn วันที่: 2 สิงหาคม 2550 เวลา:22:10:34 น.  

 
เราไม่มีเวลาไปเลยอะ ได้แต่ตักบาตรตอนเช้าๆ


โดย: แจน IP: 58.8.144.234 วันที่: 18 สิงหาคม 2551 เวลา:17:00:41 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

naragorn
Location :
นครศรีธรรมราช Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ก็แค่คนธรรมดาๆ คนหนึ่ง

..เรียนหนังสือ ~*~..ทั้งทำงานที่รัก และ งานที่ต้องทำตามหน้าที่ แลกเงินเพื่อยังชีพ ..~*~..อยู่บ้านเลี้ยงน้องหมา..ลั่ลล้า







Friends' blogs
[Add naragorn's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.