~*~*~...โลกส่วนตัว...ของผู้ชายหนึ่งคน...~*~*~
Group Blog
 
 
ตุลาคม 2549
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
18 ตุลาคม 2549
 
All Blogs
 

การถ่ายภาพพลุ ....


ในวันเฉลิมฉลองต่างๆ ที่สำคัญ มักจะมีการจุดพลุ เพื่อแสดงความดีใจ ของคนจำนวนมากต่อวันสำคัญดังกล่าว การบันทึกภาพอันน่าประทับใจเช่นนี้ไว้บนแผ่นฟิล์ม จึงเป็นสิ่งที่ตากล้องทุกๆคน อยากที่จะมีโอกาสสักครั้ง

แต่การถ่ายภาพพลุ ต้องใช้เทคนิค และความเข้าใจ ธรรมชาติของการถ่ายภาพแบบนี้ เป็นการเฉพาะ ที่ไม่เหมือนกับการถ่ายภาพทั่วๆไป ซึ่งจะได้กล่าวถึงในบทความนี้ดังต่อไปนี้

การเตรียมอุปกรณ์
1. ขาตั้งกล้อง
2. สายลั่นชัตเตอร์
3. กล้องถ่ายภาพ ที่สามารถเปิดชัตเตอร์ได้ต่ำๆ ตั้งแต่ 1 วินาที ลงไป หรือสามารถถ่ายภาพในโหมด B ได้
4. ฟิล์ม ความไวแสง ISO 50 - 200
5. หมวกแก็บสีเข้มๆ ถ้าได้สีดำยิ่งดี
6. เลนส์มุมกว้าง หรือเลนส์ซูมที่มีช่วงต้น อยู่ที่ราวๆ 24 หรือ 28 มม. หรือย่างน้อยไม่ควรต่ำกว่า 35 มม.

ควรไปถึงก่อนการจุดพลุสักราวๆ 30 นาที หรือก่อนหน้านั้น เพื่อให้ได้มีเวลา ศึกษาสภาพแสง และสถานที่โดยรอบว่า มีตึกอยู่ตรงไหน มีต้นไม้ อยู่ตรงไหน ที่สวยงาม พอที่จะนำมาประกอบอยู่ในภาพได้ด้วยหรือเปล่า ซึ่งการถ่ายภาพพลุโดดๆ โดยที่ไม่มี สิ่งต่างๆ บนพื้นดิน มาประกอบในภาพ อาจจะได้ภาพที่ดูไม่มีส่วนร่วม ถึงความสำคัญของการจุดพลุนั้นๆ เพราะการมีรูปพลุอย่างเดียว ไม่ได้สื่อว่า จุดที่ไหน จุดเพื่ออะไร ก็อาจจะลดเรื่องราวในภาพไปได้มาก ถึงมากที่สุด ดังนั้น เราอาจจะถ่ายให้ติด ตึก อาคารสำคัญ หรือ แม่น้ำ ลำคลอง อ่างเก็บน้ำเป็นฉากหน้า ไว้ด้วยในภาพ ก็จะดีกว่า

เมื่อได้มุมที่ต้องการแล้ว ก็ให้ตั้งขาตั้งกล้อง และติดกล้องเข้ากับขาตั้ง เลือกเลนส์ที่ต้องการใช้งาน ซึ่งควรเป็นเลนส์มุมกว้าง เพราะเราไม่ทราบได้ว่า พลุจะยิงไปสูงเพียงใด เลยควรตั้งให้กว้างเผื่อไว้ก่อน แนะนำให้ถ่ายภาพใน "แนวตั้ง" เพื่อให้มีพื้นที่ในการบันทึกภาพพลุได้ดีขึ้น แต่ก็ไม่ได้เป็นกฏตายตัว แต่เห็นหลายคน ตั้งกล้องแนวนอน แล้วปรากฏว่า พลุยิงสูงขึ้นไปกว่าที่คาด ทำให้ต้องมาปรับกล้องใหม่ ซึ่งอาจจะเสียเวลา และพลาดจังหวะสำคัญไปได้ นอกจากนี้ ภาพในแนวตั้ง มักจะได้องค์ประกอบของพลุที่สวยงามกว่า

จากนั้นให้ติด สายลั่นชัตเตอร์เข้ากับกล้อง เพื่อเตรียมพร้อม และควรตรวจสอบ การทำงานของสายลั่นชัตเตอร์ก่อนที่จะใส่ฟิล์ม (ลองกดดูสักครั้งสองครั้งก่อนใส่ฟิล์ม ว่าชัตเตอร์ทำงานอย่างที่ต้องการหรือเปล่า) จากนั้น ก็ตรวจสอบเลนส์ เพื่อดูว่า เราลืมใส่ ฟิลเตอร์อะไรไว้หน้าเลนส์หรือเปล่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง PL เพราะจะส่งผลต่อภาพพลุอย่างร้ายแรง ถ้าเราลืมใส่ฟิลเตอร์ PL เอาไว้ที่หน้าเลนส์ เพราะค่าที่เราคาดการณ์ไว้อาจจะผิดพลาดไปหมด การถ่ายภาพพลุ ไม่ควรใส่ฟิลเตอร์ใดๆ ทั้งสิ้น แม้แต่ฟิลเตอร์ Star ที่ทำให้แสงไฟเป็นแฉกๆ เพราะพลุคุณจะเป็นแฉกๆไปด้วย แต่มันจะไม่สวยแน่นอน ถ้าเป็นไปได้ ก็ควรถอดฟิลเตอร์ UV ออกด้วยก็ได้ (นอกจากจะใส่ไว้เพื่อความปลอดภัย ก็ไม่เป็นไร)

จากนั้นให้เริ่มตั้งค่ากล้องกันแล้ว อย่างแรกคือ ดูว่าใช้ฟิล์มอะไร และตั้งค่า ISO ของกล้องให้ถูกต้อง ถัดมาก็ปรับกล้องไปเป็นโหมด M เพื่อตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ และรูรับแสงเองด้วยมือ

ปรับรูรับแสงไปที่ "รากที่สอง ของค่า ISO ของฟิล์มที่ใช้" เช่น
ใช้ฟิล์ม ISO 64 ก็ให้ปรับรูรับแสงไปที่ f/8 (รากที่สองของ 64 = 8)
ใช้ฟิล์ม ISO 100 ก็ให้ปรับรูรับแสงไปที่ f/11 (รากที่สองของ 100 = 10)
ใช้ฟิล์ม ISO 200 ก็ให้ปรับรูรับแสงไปที่ f/16 (รากที่สองของ 200 = 14)

(ในที่นี้ ไม่แนะนำให้ใช้ฟิล์ม ISO สูงๆ มากเกินไป เพราะอาจจะทำให้ภาพมีเกรนที่หยาบเกินไป หรือ อาจจะทำให้ใช้ความเร็วที่สูงเกินไป จนได้ภาพพลุที่ไม่สวยงาม แต่ก็แล้วแต่เทคนิคของแต่ละคน ไม่มีกฎตายตัว)

ให้ลองวัดแสง ตรงบริเวณอาคาร หรือเงาสะท้อนบนสิ่งต่างๆ โดยเฉพาะบนผืนน้ำ (ปรับไปเป็นระบบวัดแสงเฉพาะจุด หรือเฉพาะส่วน) เพื่อดุว่าค่าแสงของแสง ตรงที่เราต้องการให้ติดมาในรูปเป็นเท่าใด (ระวัง อย่าไปวัดตรงบริเวณดวงไฟตรงๆ ให้วัดตรงบริเวณที่เป็นแสงสะท้อนจากวัตถุ เช่น บนผนังกำแพงตึก บนผิวน้ำ เป็นต้น)

จากนั้นให้ปรับความเร็วชัตเตอร์ไปที่ ค่าที่ใกล้เคียงกับที่วัดได้จาก สิ่งของที่เราต้องการให้ติดเข้าไปในภาพ แต่ค่าความเร็วชัตเตอร์ดังกล่าว ควรจะอยู่ระหว่าง 4 - 30 วินาที แล้วแต่ปริมาณพลุที่ยิงออกมา ( ถ้ายิงห่างๆ ก็เปิดชัตเตอร์นานหน่อย ถ้ายิงถี่ๆ โดยเฉพาะช่วงแรกๆ กับช่วงสุดท้าย ก็ให้ลดความเร็วชัตเตอร์ลง ตามสัดส่วน ในฉากจบอาจจะปรับไว้แค่ 1 วินาทีก็ได้ แต่ระวังไม่ให้ต่ำกว่า ค่าที่เราวัดแสงได้มากเกินไปนัก )

ถ้ากล้องใครไม่มีการปรับความเร็วชัตเตอร์ต่ำๆ แบบนี้ ก็ให้ปรับมาเป็น ชัตเตอร์ B หรือ Bulb (ชัตเตอร์แบบ กดติด ปล่อยดับ) แล้วให้นับเวลาเอาเอง โดยพอเริ่มกดชัตเตอร์ ก็ให้เริ่มนับ "หนึ่งพันหนึ่ง , หนึ่งพันสอง , หนึ่งพันสาม , ..." ไปจนถึง หนึ่งพัน ... เวลาที่ต้องการ ก็ค่อยปล่อยปุ่มชัตเตอร์

การเริ่มกดชัตเตอร์ ให้เริ่มในขณะที่ได้ยินเสียงยิงพลุ (ส่วนใหญ่ เราจะได้ยินเสียงก่อนที่พลุจะระเบิดในอากาศ พอได้ยินเสียงก็ให้กดชัตเตอร์รอไว้ได้เลย)

นอกจากนี้ หากต้องการถ่ายซ้ำ ให้มีพลุหลายๆ ดอกอยู่ในภาพเดียวกัน ก็สามารถทำได้ โดยการปรับเป็นโหมด B แล้วถ่ายภาพพลุชุดแรก (ให้นับหนึ่งพันหนึ่ง หนึ่งพันสองไปด้วย เพื่อจะได้ทราบว่าภาพแรกเราถ่ายไปกี่วินาทีแล้ว) พอชุดแรกระเบิดเสร็จ ให้รีบเอาหมวกสีเข้มที่เตรียมมา มาครอบบริเวณหน้าเลนส์เอาไว้ แต่ระวังอย่างให้กล้องขยับเขยื้อน พอได้ยินเสียงจุดชุดถัดไป ก็ให้เอาหมวกออก และเริ่มนับต่อไป เป็น หนึ่งพันหก หนึ่งพันเจ็ด ฯลฯ จนครบเวลาที่ต้องการ ถ้ายังไม่ครบเวลาก็ยังสามารถ รอพลุชุดที่ 3 ถัดมา ก็ทำอย่างเดียวกันได้ จนกว่าจะครบเวลาที่ต้องการ

ข้อควรระวังในการถ่ายภาพพลุซ้อนกันก็คือว่า อย่าให้กล้องขยับเวลาเอาหมวกคลุมหน้าเลนส์ และอย่าถ่ายซ้อนกันมากเกินไป พลุจะบังกันเองและอาจจะออกมาไม่สวยก็เป็นได้

ข้อแนะนำอีกประการก็คือ ควรรีบถ่ายภาพพลุชุดแรกๆ เพราะว่า จะไม่มีปัญหาเรื่อง ม่านควัน จากการจุดพลุในชุดหลังๆ เพราะพอจุดพลุไปนานๆ ควันจากการจุด อาจจะลอยเข้ามาในภาพ และติดมาเป็นหมอกสีๆ อาจจะขัดหูขัดตาได้ในภาพ จึงควรรีบๆ ถ่ายพลุชุดแรกๆ ซึ่งอากาศยังปราศจากควันอยู่ จากนั้น ในพลุชุดท้ายๆ หรือชุดสุดท้าย มักจะมีการรัวยิงอย่างถี่ยิบ ให้ปรับความเร็วกล้องลดลงมาอีกเล็กน้อย เพื่อถ่ายให้ถี่ขึ้นตามไปด้วย ไม่อย่างนั้น ท่านอาจจะได้ภาพอะไร ขาวๆ เต็มไปหมด มากกว่าจะได้ภาพพลุสีสันสวยงาม (เพราะมันมีจำนวนพลุเยอะเกินไปในภาพ ถ้าเราตั้งความเร็วไว้ต่ำๆ เพื่อถ่ายภาพพลุในชุดสุดท้าย ที่ยิงถี่ๆ)

ทั้งนี้ เนื้อหาทั้งหมดนี้ เป็นเพียงทักษะและวิธีการของผู้เขียนเท่านั้น ยังมีเทคนิคเฉพาะตัวของช่างภาพอีกหลายๆ ท่าน ซึ่งอาจจะเหมือน หรือแตกต่างไปจากนี้ได้ ก็ทางที่ดีที่สุด คือการทดลอง และฝึกหาทักษะเฉพาะตัวของท่าน เพื่อให้ได้ภาพพลุที่สวยงาม ดังที่ท่านต้องการในที่สุด

ขอให้โชคดีในการถ่ายภาพพลุครับทุกๆท่าน


.....................
ที่มา...
//topicstock.pantip.com/camera/topicstock/O3587102/O3587102.html
.....................

ปล. ผมเองก็ยังไม่มีปัญญาถ่ายได้สวยๆมั่งเลยครับ....




 

Create Date : 18 ตุลาคม 2549
3 comments
Last Update : 18 ตุลาคม 2549 19:34:30 น.
Counter : 489 Pageviews.

 

ขอบคุณมากครับ

ที่เอาสิ่งดีดีมาฝาก .... เราเองยังถ่ายพลุ ไม่ได้เรื่องเลยนะ

สงสัยต้องฝึกบ่อยบ่อยซะแล้ว

 

โดย: ต้นงิ้ว_tonngiew 26 ตุลาคม 2549 20:03:44 น.  

 

^
อย่างต้นถ่ายไม่ได้เรื่องแล้ว เราจะไปเหลือเหรอนี่เนอะน้ำพี้

 

โดย: ปลาทองครีบหยิก 25 มิถุนายน 2550 17:15:47 น.  

 

แหล่ม

 

โดย: เจ้าชายฟลุค 30 มีนาคม 2551 10:35:26 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


น้ำพี้
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




...ความสุขที่แท้จริงเป็นเช่นไร...
Friends' blogs
[Add น้ำพี้'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.