หลายเรื่องเล่า กับณ มน คนหัวฟูแก้มป่อง ^_^
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
27 มีนาคม 2553
 
All Blogs
 
เชนไน อินเดียใต้ ใช้ใจสัมผัส ตอน4 <India>


เอาล่ะค่ะ ตามสัญญาจากตอนที่แล้ว ที่บอกว่าจะตื่นให้เช้าๆ แล้วพาไปดูเขาโรยโคลัม วันนี้ตื่นทันจนได้ค่ะ มาดูกันเลยนะคะ




บ้านนี้คุณสามีภาคภูมิใจกับฝีมือของภรรยามาก มายืนยิ้มให้กำลังใจเชียว
แถมยังขอให้หัวฟูถ่ายรูปให้อีก แล้วดูสิแต่งตัวก็ไม่เรียบร้อย
แหมไม่อายเล้ย





รูปข้างบนนั่นสงสัยยังเป็นมือใหม่ๆอยู่ค่ะ

ถ้าอยากดูแบบมืออาชีพขั้นแอ๊ดว้านซ์ต้องคุณยายท่านนี้เลย





โรยเสร็จแล้วเป็นงี้ค่ะ คุณยายเก่งมากๆเลย





ตอนเดินดูนี่นะคะ เกิดความคิดว่าถ้าเรามาอยู่ที่นี่เราจะทำยังไง
เพราะเป็นคนนอนตื่นสายมากไม่มีทางตื่นมาโรยโคลัมได้ทัน

ปรากฏว่ามีคนรับจางโรยโคลัมด้วยนะคะ แต่ลายก็จะไม่อลังการนักเป็นแบบเรียบๆ




คุณภรรยาบ้านที่โรยโคลัมเสร็จแล้ว ดูเธอขี้อายผิดกับสามีมากๆ
ขนาดจะขอถ่ายรูปยังยืนแบบแอบๆ เลยค่ะ


เดินต่อมาหน่อยจะเห็นคนกำลังรีดนมวัว
สงสัยรีดเสร็จแล้วไปส่งร้านนมเจ้านั้นแน่เลย แหะแหะ




รีดเสร็จก็ปั่นจักรยานไปส่งร้านนมแบบนี้




เดินต่อกันอีกหน่อยเพื่อจะไปสถานีรถไฟ แต่ไปเห็นโคลัมบ้านนี้เข้าเสียก่อน

ดูสวยเชียวเพราะล้างพื้นแล้วโรยขมิ้นด้วยก่อนโรยโคลัม





สถานที่ที่ณ มนจะพาเดินไปนี่ รับรองว่าดูแทบไม่ออกเลยว่าเป็นสถานีรถไฟลอยฟ้า เพราะว่าดูร้างลาผู้คนมากๆ ในช่วงเจ็ดโมงเช้าแบบนี้ ที่เป็นอย่างนั้นก้เป็นเพราะคนอินเดียเขาทำงานกันสิบโมงเช้าค่ะ ช่วงนี้เลยคนเงียบหน่อย สภาพโดยรวมก็ดูสวยน้อยไปนิดนะคะ




แม้จะดูร้างๆ เหงาๆ แต่ก็มีเครื่องอำนวยความสะดวกครบครัน
อาทิ บันไดเลื่อนและตู้ขายตั๋วอัตโนมัติ




บรรยากาศเหงาๆ เพราะคนอินเดียเขาเข้างานกันตอนสิบโมงค่ะ

รถไฟจะแน่นตอนเก้าโมงเช้าโน่นแน่ะ





รถไฟมาแล้วค่ะ รถไฟที่นี่ก็แบ่งแยกชายหญิงเหมือนกันนะคะ
จะมีโบกี้หญิง โบกี้ชาย แล้วก็โบกี้รวม





ขึ้นรถมาก็จับจองที่นั่งตามสบายเพราะโล่งมากกกกกกก





วิวสองข้างทางบ้างก็เป็นบ้านเรือนบ้างก็เป็นคลอง





หลังจากนี้พี่ม่อนจะพาไปสถานีรถไฟบางซื่อค่ะ แหะแหะล้อเล่น
พี่ม่อนจะพาไปสถานีรถไฟเชนไน เอกมอร์เปรียบไปก็เหมือนสถานทีรถไฟบางซื่อบ้านเราเพราะเป็นจุดแยกไปอีกเมืองค่ะ









เมืองเชนไนจะมีสถาปัตยกรรมแบบอังกฤษเยอะค่ะ เดี๋ยวจะทยอยๆลงให้ดูในตอนต่อไปนะคะ





เดินดูแถวสถานีรถไฟกันนิดหน่อยก้ไปดูย่านที่พักราคาถูก เหลือบไปเห็นแผงขายทับทิมเลยแชะมาซะหนึ่งรูป ทับทิมอินเดียเป็นอีกหนึ่งอย่างที่ณ มนกินทุกวันที่อยู่เมืองเชนไน



จากสถานีรถไฟเราก้ไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์ของเมืองเชนไนกันต่อค่ะ
ที่นี่เก็บรวมรวมโบราณวัตถุเอาไว้มากเลย







เข้ามาด้านในพิพิธภัณฑ์ค่ะ เริ่มต้นกันด้วยศิลปะแบบปัลลวะ
อาณาจักรหนึ่งที่ยิ่งใหญ่มากในแถบอินเดียใต้นี้ค่ะ





จากยุคปัลละวะก็มาถึงยุคโจละ แต่เป็นโจละยุคต้นนะคะ





และก็เป็นโจละยุคหลังค่ะ




มาถึงยุคของอาณาจักรวิชัยนคร ตามสำเนียงไทย
ส่วนอินเดียเขาเรียกยุคนี้ว่า วีเจย์นากา กันค่ะ




ส่วนยุคหอยศาลา เขาออกเสียงแบบนี้จริงๆนะคะเป็นยุคที่แกะหินได้ละเอียดมากๆเขาแกะถึงสามชั้นเลยล่ะค่ะ



เสียดายที่ห้องจัดแสดงศิลปะแบบอมราวดีปิดปรับปรุง ไม่งันจะได้เห็นศิลปะอีกยุคของอินเดียที่งดงามมาก ทีนี้เรามาดูศิลปะในยุคที่พระพุทธศาสนาเข้ามามีบทบาทกันบ้างค่ะ




เป็นศิลปะจากแคว้นคันธารราฐซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะกรีก ดังนั้นพระพุทธรูปจึงมีลักษณะคล้ายๆกับเทพของกรีก




และศิลปะจากราชวงศ์คุปตะ เป็นอีกยุคหนึ่งที่พระพุทธศาสนารุ่งเรืองมากๆ




ที่นี่มีอะไรให้เดินดูเยอะเลยค่ะ ดูสว.ของคณะสิคะเดินจนเมื่อยเลย ต้องนั่งพักขาแล้วทำหน้าแบบนี้ล่ะค่ะ




เอาล่ะค่ะออกเดินต่อให้พักแป๊บเดียวพอแล้ว เพราะเราจะไปดูศิลปะแบบอื่นๆอีก




ก่อนเดินเข้าไปด้านในขอถ่ายรูปจนท.เสียหน่อยเขายิ้มสวยดี




เข้ามาด้านในจะเจอะรูปสลักของศาสดาศานาเชน จะเห็นว่าลักษณะคล้ายๆ พระพุทธเจ้า แต่ที่แตกต่างก็คือการเปลือยกายนี่ล่ะค่ะ
ศาสนาเชนเน้นเรื่องการไม่เบียดเบียนชีวิตผู้อื่น สนับสนุนอาชีพค้าขายไม่สนับสนุนการทำเกษตร และนิกายฑิฆัมพรนี่นักบวชจะเคร่งครัดถึงขนาดเปลือยกายเลยค่ะ




รูปสลักหรือประติมากรรมพวกนี้จะคล้ายๆกับพระพุทธเจ้ามากๆ



ดูห้องนี้เสร็จแล้วก็เดินขึ้นชั้นสองค่ะ เป็นห้องจัดแสดงพวกพันธุ์สัตว์ชนิดต่างๆ เขาต้อนรับเราด้วยโครงกระดูกใหญ่ๆแบบนี้เลยค่ะ
เดาเอาว่าน่าจะเป็นกระดูกของวาฬ แต่ก็ไม่ชัวร์นะ




ยกมือสารภาพว่าห้องนี้ไม่ค่อยดูละเอียดเท่าไหร่ค่ะ เพราะไม่แปลกแตกต่างจากบ้านเราเท่าใดนัก ดูนิดหน่อยก็เดินออกมา เพราะมีของเด็ดๆ รออยู่




ของเด็ดที่ว่าต้องเดินไปอีกตึกหนึ่งค่ะ แต่ยังไม่บอกว่าคืออะไร เอาไว้มาตามกันตอนหน้านะคะ ตอนนี้รูปเยอะแล้วเดี๋ยวเบื่อโหลดกันเสียก่อน เอาเป็นว่าตอนหน้ามาเจอกันจ้า








Create Date : 27 มีนาคม 2553
Last Update : 29 มีนาคม 2553 11:04:01 น. 23 comments
Counter : 5958 Pageviews.

 
โอ้โฮพี่นะ ดูแต่ละคนโรยโคลัมแล้วแบบว่าอึ้งมากๆ ลีลาและฝีมือนี่ต้องยกนิ้วให้เลยอ่ะ ฮ่าๆๆๆ


โดย: เบบูญ่า วันที่: 29 มีนาคม 2553 เวลา:17:56:32 น.  

 
แวะมาเที่ยวอินเดียด้วยคนนะคะ....


โดย: phaclam วันที่: 30 มีนาคม 2553 เวลา:1:52:48 น.  

 
เพิ่งเคยเห็นการโรยโคลัม เป็นพิธีกรรมอะไรหรือเปล่าคะ ดูแล้วเหมือนใช้ชอล์คขีดเลย คุณยายมือเที่ยงมาก ลายเส้นนิ่ง ลวดลายสวยได้ใจ

ตึกของเมืองนี้ออกแบบบได้สวยจังค่ะ สีอิฐของพิพิธภัณฑ์ออกส้มจัด ดูเหมือนเพิ่งสร้างเสร็จมากกว่าเป็นของเก่า บ้านเขารู้คุณค่าตึกเก่า ๆ บำรุงรักษาไว้อย่างดี ไม่ทุบทิ้งเหมือนบางประเทศ



โดย: haiku วันที่: 30 มีนาคม 2553 เวลา:10:45:41 น.  

 
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

อุ้มตามมาเที่ยวอินเดียต่อจ๊ะ


โดย: อุ้มสี วันที่: 30 มีนาคม 2553 เวลา:23:09:52 น.  

 
ลายที่เค้าวาดลงบนพื้นสวยแปลกตาดีนะคะ..เป็นอินเดียมากเลยๆ ดูบลีอคนี้แล้วอยากเที่ยวบ้าง สีสันสดใสจังประเทศนี้


โดย: grippini วันที่: 30 มีนาคม 2553 เวลา:23:42:39 น.  

 
ลายที่เค้าวาดลงบนพื้นสวยแปลกตาดีนะคะ..เป็นอินเดียมากเลยๆ ดูบลีอคนี้แล้วอยากเที่ยวบ้าง สีสันสดใสจังประเทศนี้


โดย: grippini วันที่: 30 มีนาคม 2553 เวลา:23:42:44 น.  

 
สวัสดีค่ะคุณ ณ มน ไม่มีอะไรค่ะ แวะมาดูรูปเฉยๆ ค่ะ อิอิ


โดย: Candydolls วันที่: 31 มีนาคม 2553 เวลา:0:47:02 น.  

 
อินเดีย เป็นเมืองที่มีเสน่ห์น่าหลงใหลไปอีกแบบ

อยากไปเที่ยวบ้างจัง^^ ว่างๆหนีบ เน ไปด้วยคนได้ไหมคะพี่ ณ มน ฮี่ๆ


โดย: กวีร้อยฝัน วันที่: 31 มีนาคม 2553 เวลา:0:49:58 น.  

 
น้องเน...เอาไว้ไปคราวหน้าจะไปแจ้งข่าวนะจ๊ะ
เผื่อจะได้ไปด้วยกัน

คุณสา...หวัดดีค่าคุณแ่ม่มือใหม่

คุณกิ๊ฟ...เค้ามีฝีมือกันมากเลยค่ะ
ปล.อยากให้ลองไปเที่ยวดูค่ะรับรองจะหลงรักอินเดีย

ไฮกุ...โคลัมคือการโรยผงแป้งเพื่อป้องกันสิ่้งชั่วร้าย
และเรียกสิ่งดีๆเข้าบ้านจ้ะ แม่บ้านทุกบ้านจะต้องตื่นแต่เช้ามาโรย
แล้วก็ถ่ายทอดกันจากแม่สู่ลูกเป็นแบบนี้มานับพันปีแล้วจ้า
ปล.ตอนหน้าจะลงตึกสวยๆให้ดูอีกจ้ะ

อุ้มสี...ยินดีค่าลูกทัวร์ เที่ยวด้วยกันจนจบนะะค

เบบูญ่า...คุณยายนี่ฝีมือสุดๆเลยล่ะจ้ะ

ฟ้าคราม...ณ มนออกเสียงเป็นแบบนี้แล้วใช่หรือเปล่าคะ
ยินดีต้อนรับลูกทัวร์นะคะ


โดย: ณ มน วันที่: 31 มีนาคม 2553 เวลา:10:22:44 น.  

 
ถามหน่อยสิคะ

ถ้าแบ็คแพ็คไปอินเดียเอง สองคนตายายนี่คิดว่าน่าจะไหวมั้ย
(เค้าใช้ภาษาอังกฤษได้อยู่แล้ว นอกจากขอทานเยอะแล้ว โจรเยอะมั้ยง่ะ?)

อาหารการกิน หากินยากปะคะ (ได้ข่าวว่า ห้ามกินเนื้อสัตว์ที่ขายอยู่ทั่วๆ ไปเป็นอันขาดน่ะ)



งานหนังสือจะได้อะไรมาบ้างน้า อย่าลืมมาอวดกันนะคะ


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 31 มีนาคม 2553 เวลา:14:46:03 น.  

 
สวัสดีอีกรอบค่ะ

คือถ้าเป็นร้านมุสลิมนี่ ถือว่าเนื้อ "สะอาด" ใช้ได้ใช่ปะคะ?

อินเดียนี่อยากไปอยู่ค่ะ อยู่ในลิสต์หละ แต่ยัีงไม่รู้ว่าจะได้ไปเมื่อไหร่ แหะๆ


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 31 มีนาคม 2553 เวลา:18:10:11 น.  

 
มาขอบคุณอีกครั้งสำหรับข้อมูลนะจ๊ะ


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 1 เมษายน 2553 เวลา:10:52:56 น.  

 




โคลัม..สวยและแปลกดีนะคะ



โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 1 เมษายน 2553 เวลา:12:13:53 น.  

 
ตามไปตะลุยอินเดียด้วยคนค่ะ


โดย: หวานเย็นผสมโซดา วันที่: 1 เมษายน 2553 เวลา:12:51:57 น.  

 
ผมรู้สึกหลงไหลในศิลปะลวดลายอินเดียมากเลยครับ
กลับมานี่
มาดามบอกว่าเธอบ้าอินเดียขึ้นเยอะเลย 5555

บางวันเช้าๆผมเปิดเพลงอินเดียฟังอยู่เลยนะครับเนี่ย 5555








โดย: กะว่าก๋า วันที่: 1 เมษายน 2553 เวลา:13:37:29 น.  

 
รูปสวยดี เพื่อน สว หน้ารักดี


โดย: กิตติวัฒน์ IP: 111.84.54.82 วันที่: 1 เมษายน 2553 เวลา:22:31:00 น.  

 
อ้าว ... กลายเป็นว่า พลาดตั้งแต่แรก ...
เดี๋ยวอ่านบล็อกนี้แล้วแวีบไปดูบล็อกอื่นต่อด้วย
เลยนะค่ะ ...


ภาพสวยงามจัง ชอบในในเสน่ห์ของอินเดีย
นะค่ะหนิ ... สวยงามแบบขลังๆ ในบางมุม


โดย: JewNid วันที่: 1 เมษายน 2553 เวลา:22:41:36 น.  

 
จิวนิด...ตามตอนนี้ยังทันค่า อิอิ ยังเหลืออีกหลายตอนเลย

พี่เพชร...สว.เดินจนเมื่อยเลยทำหน้าแบบนั้นค่ะ

คุณก๋า...ชอบอินเดียหลงเสน่ห์อินเดียเหมือนกัน
แล้วตอนนี้แพร่เชื้อให้เพื่อนไปแล้วค่ะ
ปล.ซื้อเพลงมาฟังเหมือนกัน ตอนนี้ฟังบ่อยมาก

หวานเย็นฯ...มาเลยจ้ะมาเที่ยวด้วยกัน

เริงฤดีนะ...มีหลายแบบด้วยนะคะสำหรับโคลัม

สาวไกด์ฯ..ด้วยความยินดีค่ะ


โดย: ณ มน วันที่: 2 เมษายน 2553 เวลา:11:28:47 น.  

 
สวัสดียามบ่ายครับ

มีแผ่นนึงที่ผมชอบเป็นพิเศษ
เป็นเพลงสวดสรรเสริญเจ้าแม่อุมาเทวีครับ
ทำนองก็เพราะ
เสียงร้องก็เพราะครับ








โดย: กะว่าก๋า วันที่: 2 เมษายน 2553 เวลา:13:45:15 น.  

 
ศาสดามหาวีระ..ของศาสนาเชน..ถ้านั่ง..จะมองไม่เห็นอวัยวะเพศ..เพราะงั้นขอให้สังเกตริ้วจีวรนะครับ ถ้าไม่มีก็คือศาสดามหาวีระ ของศาสนาเชน ถ้ามีริ้วจีวรก็พระพุทธเจ้าของเรา ยกมือไหว้ได้เลยครับ ศาสนาเชนมีสองนิกายนะครับ เศวตรัมพร-นุ่งขาวห่มขาวมีผ้าคาดปากสีขาวป้องกันเชื้อโรคเข้าปากจะกลายเป็นฆ่าสัตว์โดยไม่ตั้งใจ และทิฆัมพร-นุ่งลมห่มฟ้า ก็คือแก้ผ้านั่นเอง อยู่แบบธรรมชาติ ขอบคุณมากครับ คุณ ณ มน ทำให้คิดถึงมัดราสหรือเชนไนมากเลยละครับ


โดย: ไพฑูรย์ IP: 183.89.25.38 วันที่: 2 พฤษภาคม 2553 เวลา:14:56:02 น.  

 
การโรยแป้งทำโคลัม ใช้มือล้วนๆ ทำมานานเป็นสิบปี ทำให้มือเที่ยงมาก ลากเป็นเส้นตรงได้ตรง เส้นโค้งได้โค้ง มีลวดลายของตัวเอง สร้างสรรค์ลายใหม่ๆ ต้องทำเพื่อรับอรุณ เป็นศิริมงคล ก็คงเป็นอุบายให้หญิงสาวผู้เป็นภรรยาลุกขึ้นมาเตรียมอาหารให้สามีและคนในครอบครัว เพราะครอบครัวคนอินเดียในเชนไน ยังคงเป็นครอบครัวขยายมีหลายคนในครอบครัวเดียวกัน และมีหลายชั้นในหนึ่งครอบครัว บางครอบครัวพ่อของปู่ (ทวด) ยังมีชีวิตอยู่เลยครับ เพราะแต่งงานกันเร็ว อายุยังน้อย เลยทำให้มีลูกหลานและเหลนได้ทัน


โดย: ไพฑูรย์ IP: 183.89.25.38 วันที่: 2 พฤษภาคม 2553 เวลา:14:59:33 น.  

 
เพิ่งย้อนกลับมาอ่านขอบคุณคุณไพทูรย์มากๆเลยนะคะที่มาให้ความรู้ในหลายๆเรื่องเลย


โดย: ณ มน วันที่: 25 กันยายน 2553 เวลา:10:33:29 น.  

 
ขอบคุณค่ะ


โดย: ทัน IP: 101.51.186.200 วันที่: 12 กันยายน 2555 เวลา:7:32:44 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ณ มน
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]




ณ มน ชื่อนี้แปลว่า "ที่หัวใจ" ตอนแรกตั้งใจจะใช้เป็นเพียงนามปากกาที่ใช้เขียนหนังสือเท่านั้น

แต่สุดท้ายก็นำมาใช้เปิดบลอคจนได้ แหะแหะ

ณ มนเป็นคนธรรมดาๆ ชอบเดินทาง ชอบคุย ชอบเล่าชอบเมาท์ไปเรื่อย ถ้าไม่เบื่ออ่านเรื่องเล่าที่บางคราวก็เฮฮา บางคราก็ไร้สาระล่ะก็ แวะมาเยี่ยมเยือนกันได้ค่ะ ^_^


บอกเล่าเก้าสิบกันนิดนะคะว่า
บทความและข้อเขียนทุกชิ้นในบลอกนี้
ได้รับการคุ้มครองตาม พรบ. ลิขสิทธิ์ค่ะ
เข้ามาอ่านได้นะคะ แล้วก็แสดงความคิดเห็นได้ด้วย
แต่อย่าลอกกันนะคะ


***********


ผลงานของณ มนค่ะ























































ผู้เยี่ยมชม
Friends' blogs
[Add ณ มน's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.