รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
เมษายน 2554
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
3 เมษายน 2554
 
All Blogs
 

กึ๋นของนักปฏิบัติ

ถ้ามีคนเอาวัตถุชิ้นหนึ่งที่รูปร่างหน้าตาดูคล้ายเพชรเจียระไนแล้วมาให้ท่าน แล้วบอกท่านว่า นี่คือเพชร ท่านจะเชื่อเขาหรือไม่

เรื่องนี้ คงตอบได้ว่า ถ้าท่านดูเพชรเป็น ท่านก็จะดูแล้วรู้ได้ว่า สมควรเชื่อหรือไม่

แต่ถ้าท่านดูไม่เป็นละ ท่านย่อมตอบไม่ได้ แต่ถ้าคนที่เขานำวัตถุนั้นมาให้ท่านดู เป็นบุคคลมีเชื่อเสียงดีในสังคม เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป ท่านย่อมมีแนวโน้มจะเชื่อเขามากกว่าการไม่เชื่อ

ท่านเคยวิเคราะห์ไหมครับว่า ทำไมคนจึงเชื่อมากกว่าการไม่เชื่อ

เรื่องของการปฏิบัตินั้น จะคล้ายกับเรื่องการดูเพชร กล่าวคือ นักภาวนาจะต้องมีความสังเกตได้ถึงความแตกต่างระหว่างสภาวะธรรมต่าง ๆ ที่ประดังเข้ามาว่า สภาวะธรรมเมื่อเกิดเมื่อมี มันต่างจากเมื่อมันไม่เกิดไม่มีอย่างไร นี่คือ กึ๋นของนักปฏิบัติ

ถ้านักภาวนาท่านใดสามารถสังเกตได้ถึงความต่างของสภาวะธรรม การเห็นเองถึงความต่างแบบนี้ จะทำให้นักภาวนานั้นสามารถสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลง การไม่เที่ยงต่าง ๆ ของสภาวะธรรมได้ด้วยตนเอง และเมื่อนักภาวนาเห็นถึงความต่างได้เมื่อไร เมื่อคราวใดที่สภาวะธรรมเกิดขึ้น นักภาวนาจะเห็นมันได้อย่างง่ายดาย ซึ่งคล้าย ๆ กับว่า เมื่อก่อนท่านไม่เคยเห็นว่าเสื้อของท่านมีรอยเส้นด้ายที่ทอมาไม่สนิทอยู่นิดหนึ่งที่เล็กมาก พอท่านเห็นรอยนี้ครั้งเดียว ต่อไปเมื่อท่านหยิบเสื้อขึ้นมาเมื่อใด ท่านจะเห็นรอยนี้ทุกครั้งไป ซึ่งต่างจากก่อนหน้านี้ที่ท่านไม่เคยเห็นรอยนี้มาก่อน ท่านหยิบมาใส่ตั้งหลายครั้ง ท่านก็ไม่เคยเห็นเลย แปลกไหมละครับ

ในกฏ 3 ข้อที่ผมได้แนะนำไว้ กล่าวคือ 1.รู้สึกตัว 2.เฉยๆ ผ่อนคลาย สบาย ๆ 3.อย่าอยากรู้อะไร แต่ให้จิตเขารับรู้เอง เมื่อท่านอยู่ในกฏ 3 ข้อนี้อยู่ นี่คือสภาวะแห่งการไม่มีอะไรเกิดขึ้นในจิตใจ ไม่มีความคิด ไม่มีอารมณ์พอใจไม่พอใจ ท่านเคยสังเกตสภาพอย่างนี้ไหมครับว่ามันเป็นอย่างไร

ทีนี้ พอท่านเกิดอาการทางจิตใจขึ้นมาซึ่งเป็นอะไรก็ได้ ท่านเคยสังเกตความต่างระหว่างสภาพของการที่จิตใจไม่มีอะไรเมื่ออยู่ในกฏ 3 ข้อ กับตอนที่จิตใจมีอาการทางจิตใจไหมครับว่า สภาวะทั้ง 2 แบบนี้ต่างกันอย่างไร ถ้าท่านเห็นมันได้เมื่อไร ก็จะเหมือนท่านเห็นรอยไม่สนิทของเส้นด้ายบนเสื้อของท่านแล้ว

ในการหาความแตกต่างของสภาวะธรรมแห่งการ.มีการเกิดขึ้น. และ .การไม่มีการเกิดขึ้น. ท่านต้อง.ไม่ไปจ้องหา.อย่างตั้งอกตั้งใจ เพราะการจงหาไปจ้องหา จิตท่านจะสร้างสภาวะอย่างหนึ่งขึ้นซึ่งจะส่งผลให้การเห็นความแตกต่างของสภาวะธรรมแห่งการมีการเกิดขึ้นกับการไม่เกิดขึ้นไม่ถูกต้องตามธรรมชาติที่ควรเป็น แต่การหาความต่างนี้ เมื่อท่านคุ้นเคยกับการไม่มีอะไรในการปฏิบัติฝึกฝนด้วยกฏ 3 ข้อนี้เมื่อไร มันจะง่ายต่อท่านที่จะเห็นความต่างออกไปเมื่อจิตใจเกิดอาการขึ้น

ผมได้แนะนำการปฏิบัติด้วยการรู้กายโดยการฝึกลูบแขน (//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=05-2009&date=30&group=1&gblog=20) ผมได้แนะนำไว้ว่า ท่านสมควรลูบแล้วหยุด ลูบแล้วหยุด การที่ท่านลูบแล้วหยุด นี่คือสภาวะแห่งความต่างระหว่างการมีการเกิดและการไม่มีการเกิด (ขณะลูุบ=มีการเกิด , ขณะหยุดลูุบ=ไม่มีการเกิด) ถ้าท่านฝึกอย่างทีผมแนะนำไว้ ท่านก็จะพบกับความต่างระหว่าง 2 สภาวะทันที เพียงแต่ว่าท่านสังเกตมันหรือไม่เท่านั้น

ในธรรมชาติของจิตนั้น เมื่อจิตได้ไปเห็นสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นเมื่อไร ถ้าจิตมีกำลังความตั้งมั่นเพียงพอด้วยสัมมาสมาธิ สภาวะธรรมที่เกิดขึ้นนั้นจะดับลงทันทีอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลดี 2 ประการแก่นักภาวนาคือ

1.จิตเห็นไตรลักษณ์การปรุงแต่งแห่งอาการของจิต อันเป็นภาวนามยปัญญาให้แก่จิตของนักภาวนา ปัญญาแบบนี้เป็นปัญญาแท้จริงของจิต ที่ไม่ใช่ได้มาจากการนึกคิดเอาเอง

2.ผลแห่งข้อ 1 ส่งผลให้จิตไม่เข้าไปจับยึดอาการปรุงแต่งอันเป็นทุกข์ ทำให้นักภาวนาไม่เป็นทุกข์ไปกับการปรุงแต่งนั้น ๆ ด้วย ดีไหมละครับท่านในข้อ 2 นี้

ผมได้ชี้ให้ท่านเห็นได้ชัดว่า เส้นทางแห่งการดับทุกข์ตามแนวทางที่พระพุทธองค์ทรงได้สั่งสอนไว้ คือแบบนี้เท่านั้น เป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีใครมานั่งอ่านพระไตรปิฏกจนแตกฉานแล้วสามารถดับทุกข์ได้จริง ๆ มิฉะนั้น คงไม่มีเรื่องพระใบลานเปล่าในพระไตรปิฏกเป็นแน่

ผมได้เขึยนถึงการวัดผลการปฏิบัติไว้ที //www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=03-2011&date=06&group=13&gblog=77 ซึ่งผมได้เขียนไว้ว่า การวัดผลมี 2 ระดับ ซึ่งทั้ง 2 ระดับ นักภาวนาต้องมีกึ๋นที่สามารถพอที่จะเห็นความแตกต่างได้ของสภาวะธรรมจึงจะสามารถเดินทางเข้าสู่ผลแห่งการปฏิบัติได้อย่างแท้จริง

ผมได้บอกวิธีการดูุเพชรให้แก่ท่านแล้ว เพียงแต่ว่า ท่านต้องเห็นด้วยตนเองเท่านั้น

ขอบคุณท่านที่ถามเข้ามาครับ




 

Create Date : 03 เมษายน 2554
3 comments
Last Update : 29 มกราคม 2555 15:05:38 น.
Counter : 1303 Pageviews.

 

ขอบคุณครับขอบคุณมากครับ

 

โดย: คนไม่ธรรมดา IP: 223.206.0.182 3 เมษายน 2554 20:10:50 น.  

 

อนุโมทนาสาธุท่านมนสิการครับ

 

โดย: shadee829 4 เมษายน 2554 11:00:56 น.  

 

ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน

 

โดย: นมสิการ 29 มกราคม 2555 15:16:48 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.