Thailand
ทดสอบ CODE กดที่นี่

เจอแหล่งกินหอยชักตีนได้ในกรุงเทพฯ บอกหน่อย

หอยชักตีน ทำไมต้องชักตีน
     หอยชักตีนหรือหอยสังข์กระโดดมีชื่อสามัญว่า Dog Conch ,WING SHELL ชื่อวิทยาศาสตร์ Strombus canarium พบอาศัยอยู่ในบริเวณพื้นทรายปนโคลน และบริเวณหญ้าทะเลเขตน้ำขึ้น-ลง ไปจนถึงในระดับความลึกประมาณ 55 เมตร มีการเก็บมาใช้บริโภคเป็นอาหารในหลายประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เปลือกนำมาใช้ประโยชน์ในงานหัตถกรรม ในประเทศไทยพบมีแพร่กระจายอยู่ทั่วไปในบริเวณอ่าวไทย และฝั่งอันดามัน คือ กระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต และสตูล
ชีววิทยาทั่วไป
     หอยชักตีนเป็นหอยทะเลชนิดหนึ่ง ที่ขูดกินสาหร่ายและซากอินทรียสารต่างๆเป็นอาหารการสืบพันธุ์เป็นแบบผสมภายใน โดยมีเพศผู้ เพศเมียแยกกัน จับคู่ผสมพันธุ์กันหลังหุ้มลักษณะเป็นสายยาวสีขาว ขดเป็นกระจุกคล้ายเส้นหมี่ ไข่จะพัฒนาใช้ระยะเวลาประมาณ 4-5 วัน จึงฟักออกเป็นตัวลูกหอย ซึ่งจะดำรงชีวิตว่ายน้ำ กรองกินแพลงก์ตอนพืชเล็กๆเป็นอาหารอยู่ประมาณ 11-14 วัน จึงพัฒนาเข้าสู่ระยะลงพื้น เปลี่ยนการดำรงชีวิตเป็นขูดกินตะไคร่สาหร่ายหรืออินทรียสารต่างๆ ลูกหอยที่ได้จากการเพาะพันธุ์จะเจริญเติบโตขนาดความยาวเปลือก 0.5-1 ซม. ภายในระยะเวลาประมาณ 1-2 เดือน เป็นหอยฝาเดียวที่ทนต่อสภาพแวดล้อมสูง เปลือกค่อนข้างหนา เป็นรูปกรวยยาวประกอบด้วยสารหินปูนหนาผิวเปลือกนอกส่วนใหญ่ไม่เรียบ ขอบปากเปลือกหนามากและยื่นออกไปคล้ายปีก ขอบปากด้านหน้าเว้าเข้า สีลำตัวจะเป็นสีน้ำตาลอมดำ ปกติหอยชักตีนจะฝังตัวอยู่ใต้พื้นทรายปนโคลนออกหากินในเวลากลางคืน โดยโผล่ขึ้นมาจากพื้นทะเล หอยชักตีนจะยื่นส่วนเท้าออกมาใช้สำหรับเคลื่อนที่ มีหนวด 1 คู่และมีตาอยู่บนหนวด ตาของหอยชักตีนใช้สำหรับรับรู้เกี่ยวกับแสงสว่างเท่านั้น มันจะกินพวกเนื้อปลา และซากสัตว์ (ปลา หอย กุ้ง)ที่ตายแล้ว (detritus) โดยจะยื่นงวงยาว(proboscis) ออกมาจากช่องปากซึ่งอยู่ระหว่างคู่หนวดไปดูดอาหารเข้าสู่ระบบทางเดินอาหารเพื่อย่อยและดูดซึมไปใช้ต่อไป
หอยชักตีนจะมีส่วนที่เป็นลักษณะเป็นท่อสำหรับการดูดน้ำทะเลเข้าสู่ภายในตัว เรียกว่า ไซฟอน เพื่อให้น้ำทะเลผ่านเหงือกและรับออกซิเจนเข้าไปเผาผลาญอาหารให้เกิดพลังงานนำไปใช้ในขบวนการต่างๆภายในร่างกาย เพื่อการดำรงชีพและการเจริญเติบโตต่อไป
แหล่งที่อยู่อาศัยและการแพร่กระจาย
     ในธรรมชาติหอยชักตีนจะอาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลที่มีพื้นทะเลเป็นดินทรายปนโคลนระยะห่างจากฝั่งประมาณ 50-1,000 เมตร พบแพร่กระจายอยู่ทั่วไปในบริเวณที่มีหญ้าทะเลทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน
วิธีการเพาะพันธุ์และการเลี้ยงหอยชักตีน
1. นำพ่อแม่พันธุ์หอยชักตีนที่รวบรวมได้จากธรรมชาติ มาเลี้ยงไว้ในถังไฟเบอร์กลาส ขนาด 1 ตัน ดูดตะกอน เปลี่ยนน้ำอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกวัน
2. กระตุ้นให้หอยผสมพันธุ์วางไข่ โดยวิธีการปล่อยน้ำออกจากบ่อพ่อแม่พันธุ์ให้แห้ง แล้วเติมน้ำทะเลใหม่ลงไปหลังจากนั้นประมาณ 2-3 วัน หอยจะผสมพันธุ์วางไข่ หอยจะวางไข่ตอนกลางคืนจนถึงเช้าตรู่ การกระตุ้นให้หอยผสมพันธุ์และวางไข่โดยการปล่อยแห้งและเปลี่ยนน้ำใหม่นั้น พบว่าหอยจะผสมพันธุ์วางไข่ได้ตลอดทั้งปี
3. นำไข่หอยมาฟักในตะแกรงฟักไข่ เตรียมถังอนุบาลหอยไข่ที่อยู่ในฝักจะเริ่มแบ่งเซลล์ จนถึงระยะ trochophore larvae (ตัวอ่อนระยะแรกจะพัฒนาในฝักไข่) หลังจากนั้นจะเริ่มเข้าสู่ระยะ veliger larvae (ตัวอ่อนระยะที่ 2) มีเปลือกวงแรกและมี velum 1 คู่ เคลื่อนไหวอยู่ในฝักไข่ ซึ่งใช้เวลาอยู่ในฝักไข่ประมาณ 3-5 วัน ฝักไข่จึงเปิดออกทางช่องเปิดด้านบนปล่อยให้ veliger larvae ว่ายน้ำออกมา
4. เมื่อลูกหอยฟักเป็นตัวแล้ว แยกมาเลี้ยงในถังอนุบาลโดยน้ำที่ใช้ต้องเป็นน้ำผ่านการฆ่าเชื้อด้วยระบบ uv ใส่สาหร่ายเซลล์เดียวชนิด Isochorysis sp.Chaetoceros sp.และ (Development) ลูกหอยจะอยู่ในระยะ veliger larvae ประมาณ 15-18 วัน ในระหว่างนี้ลูกหอยจะมีเปลือกขนาดใหญ่ velum ลดขนาดลงและเริ่มจมตัวลงสู่พื้นเป็นตัวเต็มวัย ขนาดความยาวเปลือกประมาณ 1-2 มิลลิเมตร และจะเปลี่ยนนิสัยการกินอาหารจากแพลงก์ตอนพืชไปเป็นพวกเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อปลา เนื้อหอย
5. เมื่อลูกหอยเริ่มลงเกาะพื้น ( early juvenile )ระยะเริ่มแรกให้ไข่ตุ๋นจนลูกหอยลงพื้นหมดแล้วให้เนื้อปลาสับละเอียดผสมวิตามินรวมเป็นอาหาร
วงจรชีวิตและการสืบพันธุ์
     หอยชักตีนเป็นสัตว์แยกเพศ สามารถจำแนกเพศได้ชัดเจนโดยหอยเพศผู้จะปรากฎอวัยวะเพศ (penis) เป็นติ่งแบนยื่นออกมาจากบริเวณใต้โคนหนวดด้านขวา ส่วนหอยเพศเมียจะไม่ ปรากฎติ่งแบน หอยชักตีนสามารถวางไข่ได้ตลอดลักษณะไข่หอยชักตีนจะเป็นสายยาวขด ๆ คล้ายเส้นบะหมี่ จะมีสีขาวขุ่นๆ ฝักไข่ที่ถูกปล่อยออกมาติดกับพื้นหรือวัสดุรองพื้นจะเริ่มพัฒนาตัวเองโดยการแบ่งเซลล์ เพิ่มจำนวนเซลล์ฟักออกมาเป็นตัวอ่อนที่ว่ายน้ำได้ ลักษณะคล้ายผีเสื้อเรียกว่า veliger larvae โดยใช้เวลา 3.5 วัน
     ลูกหอยวัยอ่อนระยะ veliger larvae นี้จะมีรูปร่างคล้ายผีเสื้อ ล่องลอยอยู่กลางน้ำโดยมี velum จะมีขน (cslia) คอยพัดโบกเพื่อช่วยในการลอยตัวและพัดอาหารเข้าปาก อาหารของลูกหอยระยะนี้จะกินสาหร่ายเซลล์เดียวจำพวกไดอะตอม (diatom) ได้แก่ ไอโซไคซิส (Isochrysis sp.) คีโตเซอรอส ลูกหอยจะพัฒนาตัวเองโดยมีขนาดใหญ่ขึ้น การลงสู่พื้นเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆประกอบกันได้แก่ ความหนาแน่นของลูกหอย อาหาร คุณสมบัติของน้ำ ฯลฯ ใช้เวลาประมาณ 13-20 วัน ลูกหอยที่ลงสู่พื้นจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างพฤติกรรมการกินอาหารและการอาศัยอย่างสิ้นเชิง การเปลี่ยนแปลงลักษณะนี้ เรียกว่า metamorphosis เริ่มเคลื่อนที่ไปมาอยู่บริเวณพื้นบ่อและเริ่มเกาะกินเนื้อปลาหรือเนื้อหอย หรือซากสัตว์อื่นๆได้บ้าง หลังจากนั้นปีกจะหดมีเท้ายื่นออกมาเหมือนตัวแม่
ลูกหอยชักตีนเมื่อเริ่มคืบคลานได้แล้วจะมีพฤติกรรมเหมือนตัวเต็มวัยคือจะฝังตัวอยู่ใต้ดินทรายปนโคลน และโผล่ขึ้นมามากินอาหารโดยใช้งวงยาวยื่นออกมาดูดอาหารจำพวกซากสัตว์ที่ตายแล้ว เรียกลูกหอยชนิดนี้ว่า early juvenile ขนาดตัวจะเริ่มใหญ่ขึ้น ถ้าอาหาร สภาพแวดล้อมมีความเหมาะสมจะมีขนาด 1 เซนติเมตร ลูกหอยชักตีนขนาดนี้จะมีความแข็งแรงและทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวลล้อมได้ดีมากเหมาะที่จะนำไปเลี้ยงเป็นหอยตลาดขนาดที่ตลาดต้องการ หอยชักตีนขนาด 1 เซนติเมตร ใช้เวลาประมาณ 6-8 เดือน ก็จะเป็นหอยชักตีนขนาดประมาณ 4 เซนติเมตร ซึ่งมีความสมบูรณ์เพศพร้อมจะสืบพันธุ์ได้
พฤติกรรมการกินอาหาร
     หอยชักตีนเป็นสัตว์ที่ชอบออกหากินตอนกลางคืน โดยในเวลาปกติหอยชักตีนจะฝังตัวอยู่ใต้ทรายปนโคลนที่พื้นทะเล หอยชักตีนจัดเป็นสัตว์อยู่ในจำพวกกินซาก (scarventure) โดยชอบกินซากสัตว์มากกว่าซากพืช หอยชักตีนจะยื่นงวง (proboscis) ออกมาจากปากแล้วไปดูดกินซากสัตว์จนอิ่มแล้วจะเคลื่อนที่ไปมา สักพักก็จะกลับไปฝังตัวตามเดิม
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม (ดิน น้ำ)
      หอยชักตีนเป็นสัตว์ทะเล ดังนั้นปัจจัยที่สำคัญต่อการดำรงชีพ และการเจริญเติบโตที่สำคัญ คือความเค็มและอุณหภูมิ เนื่องจากน้ำทะเลอุดมไปด้วยแร่ธาตุต่างๆ มากมายในระดับความเค็มของน้ำทะเลตามธรรมชาตินั้น มีความสมดุลกับความเข้มข้นของแร่ธาตุต่างๆ ภายในร่างกายของหอยชักตีนซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ของขบวนการต่างๆภายในตัวและการสร้างเปลือกเพื่อการการเจริญเติบโตและแข็งแรงสมบูรณ์ได้ หอยชักตีนมีความสามารถในระดับหนึ่งที่จะปรับตัวต่อระดับความเค็มที่เปลี่ยนแปลงไปโดยขึ้นอยู่กับระยะการพัฒนาและขนาดของหอย ลูกหอยชักตีนตั้งแต่ฟักออกมาฝักไข่จนถึงขนาด 1 เซนติเมตร ต้องการความเค็มของน้ำอยู่ระหว่าง 30-32 ส่วนในพันส่วน และอุณหภูมิ 24-27 องศาเซลเซียส ลูกหอยชักตีนขนาด 1 เซนติเมตร ขึ้นไป ต้องการความเค็มของน้ำอยู่ระหว่าง 29-31 ส่วนในพันส่วน และอุณหภูมิ 26-28 องศาเซลเซียส คุณสมบัติน้ำอื่นๆ เหมือนกับการเลี้ยงสัตว์น้ำทั่วๆไป ในปัจจุบันหอยชักตีนถูกนำมาใช้ประโยชน์จำนวนมากโดยในบางครั้งหอยยังมีขนาดเล็ก ทำให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรไม่คุ้มค่า และขาดแคลนพันธุ์หอยที่จะเจริญเติบโตเป็นพ่อแม่พันธุ์ในแหล่งน้ำธรรมชาติ

แหล่งข้อมูล : กรมประมง

 




 

Create Date : 13 ตุลาคม 2555
0 comments
Last Update : 14 ตุลาคม 2555 12:14:22 น.
Counter : 7082 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


คนลืมแก่
Location :

ภูเก็ต THAILAND Togo

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




7 กันยายน 2012 เป็นวันของการเริ่มต้นเขียน Blog
border="0"


Flag Counter

Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2555
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
13 ตุลาคม 2555
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add คนลืมแก่'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.