พัฒนาชีวิตด้วยปัญญา และความดี
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2560
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
8 พฤษภาคม 2560
 
All Blogs
 

#เรื่องเงินเรื่องทองรู้แล้วแชร์วนไป : “สินเชื่อส่วนบุคคลกับบัตรกดเงินสด ควรเลือกอย่างไหนดี?”



#เรื่องเงินเรื่องทองรู้แล้วแชร์วนไป : “สินเชื่อส่วนบุคคลกับบัตรกดเงินสด ควรเลือกอย่างไหนดี

เราทุกคนมีเรื่องจำเป็นที่แตกต่างกันไป ในอดีตเวลาที่เราต้องการเงินเร่งด่วนแต่ไม่รู้จะทำอย่างไร เราก็มักจะไปหาเงินกู้นอกระบบที่ดอกเบี้ยแสนโหด แถมถ้าเราจ่ายไม่ตรงงวด หรือจ่ายช้าแม้แต่นิดเดียว ก็จะมีการทวงเงินที่ค่อนข้างรุนแรง และน่ากลัว

ปัจจุบันเรื่องราวข้างต้นเปลี่ยนไปแล้ว ในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีทางการเงินใหม่ๆ ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “สินเชื่อส่วนบุคคล” กับ “บัตรกดเงินสด” ถ้าย้อนไปเมื่อหลายสิบปีที่แล้วจะยังไม่มีสิ่งนี้ แต่ด้วยพัฒนาการด้านเงินๆ ทองๆ ทำให้เกิดสิ่งนี้ขึ้นมา และก็ได้ช่วยเหลือผู้คนมาแล้วมากมาย มาดูกันดีกว่าว่า สินเชื่อส่วนบุคคล กับ บัตรกดเงินสด ควรเลือกใช้อย่างไร

การใช้สินเชื่อส่วนบุคคล

สินเชื่อส่วนบุคคลเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการใช้เงิน แต่มีระยะเวลาการผ่อนชำระที่ยาวนานกว่าบัตรกดเงินสด ด้วยดอกเบี้ยของสินเชื่อส่วนบุคคลที่อยู่ในระดับไม่สูงมาก และระยะเวลาการผ่อนชำระมักอยู่ระหว่าง 12-60 เดือน ทำให้การใช้สินเชื่อส่วนบุคคลเป็นที่นิยมเป็นวงกว้าง ด้วยความสะดวก และผ่อนได้นานที่เป็นจุดแข็งที่ทำให้เกิดความรู้สึกไม่หนักมากเวลาต้องจ่ายค่างวด

สำหรับอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อส่วนบุคคลนั้นมีให้เลือกหลากหลาย ขึ้นอยู่กับสถาบันการเงินนั้นๆ จะเป็นผู้ที่กำหนดมาให้ ข้อกำหนดของดอกเบี้ยไม่เกิน 28% ต่อปี โดยสถานะลูกหนี้ของผู้ขอสินเชื่อจะเกิดขึ้นทันทีนับตั้งแต่วันแรกที่สถาบันการเงินโอนเงินเข้าบัญชีของเรา

การใช้บัตรกดเงินสด

สำหรับบัตรกดเงินสดนั้น เราควรใช้ในกรณีที่มีเรื่องเร่งด่วนมากๆ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยของบัตรกดเงินสดจะค่อนข้างสูงหากชำระเงินไม่ตรงกำหนด ทริคของการใช้บัตรกดเงินสดก็คือ ควรใช้เมื่อมีเหตุจำเป็นฉุกเฉิน ต้องใช้เงินเร่งด่วน และเมื่อใช้แล้วต้องรีบหาเงินมาปิดบัญชีโดยเร็ว

การคิดอัตราดอกเบี้ยของบัตรกดเงินสดจะเริ่มคิดตั้งแต่วันแรกที่กดเงินออกมา ยกตัวอย่างเช่น กดเงินสดออกมาใช้ 10,000 บาท ในวันที่ 1 เมษายน แล้วนำไปจ่ายคืนวันที่ 16 เมษายน มีวิธีคิดดอกเบี้ยดังต่อไปนี้

วันที่ 1 เมษายน – 16 เมษายน รวมเวลากดเงินออกมาจนถึงจ่ายคืน 45 วัน

อัตราดอกเบี้ย 28% ต่อปี ดังนั้นจะคิดดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายให้กับบัตรกดเงินสด

สูตร : ดอกเบี้ยจ่าย = 10,000 บาท คูณ 28% หาร 365 วัน คูณ 45 วัน = 345.21 บาท

รวมเงินที่ต้องชำระคืน = 10,345.21 บาทนั่นเอง

ตัวเลขข้างต้นอาจจะดูไม่มาก แต่ถ้าเราผิดนัดชำระ ไปจ่ายคืนในเลย 45 วันขึ้นไป เราจะต้องเสียดอกเบี้ยรายวัน และถ้าตัวเงินที่เรากดมาใช้มากขึ้นเราก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยมากขึ้นตามฐานของเงินต้นที่เรากดมาใช้จ่ายนะครับ ต้องระวังให้มากๆ เลยล่ะ

ข้อแตกต่างระหว่างสินเชื่อส่วนบุคคล กับ บัตรกดเงินสด

อธิบายง่ายๆ เลยครับว่า ... สินเชื่อส่วนบุคคลนั้นก็เหมือนกับเราไปขอกู้กับทางสถาบันการเงิน โดยไม่มีหลักประกันอะไร แต่ต้องแสดงหลักฐานสถานการณ์ทำงานมีเงินเดือนประจำ หรืออื่นๆ ตามที่สถาบันการเงินร้องขอ โดยเราจะอยู่ในสถานะ “ลูกหนี้” ทันทีตั้งแต่วันแรกที่สถาบันการเงินโอนเงินเข้าบัญชีของเรา

ส่วนบัตรกดเงินสด เป็นการสมัครใช้ ถ้าเราไม่กดเงินออกมาใช้จ่ายก็จะไม่เป็นหนี้ การคิดอัตราดอกเบี้ยก็จะคิดตั้งแต่วันแรกที่กดเงินมาใช้ โดยอัตราดอกเบี้ยจะปรับเปลี่ยนได้ตามนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย เวลาที่สถาบันการเงินแจ้งอัตราดอกเบี้ยมาก็ต้องถามเขาว่าเป็นดอกเบี้ยต่อเดือน หรือต่อปี ถ้าจะให้ชัวร์ก็ต้องถามเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการเราไปตรงๆ จะดีที่สุดครับ

แล้วควรเลือกใช้สินเชื่อส่วนบุคคล หรือบัตรกดเงินสดดี

การเลือกใช้ก็แล้วแต่วัตถุประสงค์ของเราเป็นหลัก ถ้าเราต้องใช้เงินก้อนใหญ่หน่อย เช่น เราต้องการต่อเติมบ้าน ก็สามารถขอสินเชื่อส่วนบุคคลกับทางสถาบันที่เราติดต่อไว้ หรือมีประวัติ อาจเป็นสถาบันการเงินที่เราเคยผ่อนบ้านด้วย หรือกำลังผ่อนอยู่ก็ได้ครับ ถ้าเราต้องการเงินเจ้าหน้าที่จะแจ้งวงเงินที่จะปล่อยกู้มาให้กับเราพิจารณา และกำหนดระยะเวลาการผ่อนชำระเงินกู้เป็นกรณีไป

ส่วนบัตรกดเงินสด ถ้าเราสมัครเอาไว้ และต้องการเงินด่วน ใช้จ่ายยามฉุกเฉินจริงๆ เช่น ต้องซ่อมรถยนต์ หรือจ่ายค่ารักษาพยาบาล หรือต้องส่งเงินให้ที่บ้านแบบเร่งด่วน ก็สามารถกดเงินมาใช้ได้ตามจำนวนเงินที่เราจะใช้จริงๆ ต้องคิดไว้เสมอนะครับว่า เงินที่กดมามีต้นทุนดอกเบี้ยที่เราต้องจ่าย พยายามอย่ากดเงินออกมาเกินกว่าที่เราจะใช้จำเป็นจริงๆ จะดีที่สุด

มีที่ไหนดอกเบี้ยไม่แพงมั่งอ่ะ

อ่านถึงตรงนี้แล้วถ้าเราต้องใช้เงินจริงๆ แต่กลัวว่าสินเชื่อส่วนบุคคล หรือบัตรกดเงินสดเก็บดอกเบี้ยแพงจะจ่ายไม่ไหว มีทางออกให้ครับ อ่านดูได้ที่นี่ 

ส่วนใครที่อยากจะรู้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมองหาสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือแม้แต่ต่อเติมบ้านมีแนะนำเพิ่มเติมให้ครับคำแนะนำเรื่องการเงินสามารถเข้าไปดูได้ที่ Krungsri Guru

จบตอนท้ายอยากฝากไว้นิดว่า ควรใช้จ่ายในเรื่องที่จำเป็นจริงๆ (อ่านเรื่องการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายต่อ "คลิ๊กเพื่ออ่าน") แม้ปัจจุบันจะมี “ตัวช่วย” หรือเครื่องมือทางการเงินที่ทำให้เราสะดวกสบายขึ้น แต่หากเราขาดวินัยที่ดี ตัวช่วยก็อาจส่งผลตรงข้ามกับที่เราคิดได้ ส่วนใครที่มีหนี้อยู่แล้วก็แนะนำให้บริหารหนี้ให้เป็น อ่านเรื่องหนี้ "คลิ๊กเพื่ออ่าน" ขอให้ทุกคนมีเงินใช้ไม่ขาดมือ ทำอะไรก็เจริญก้าวหน้าในทุกอย่างนะครับ

[เกี่ยวกับผู้เขียน]

นายแว่นธรรมดา stand top of living"นายแว่นธรรมดา" หนึ่งในกูรูหุ้น FINOMENA และผู้ก่อตั้ง //www.topofliving.com ผู้เขียนหนังสือ "ลงทุนหุ้นโตเร็ว" และหนังสือขายดี "กลยุทธุ์จับจังหวะลงทุนหุ้น" ปัจจุบันเป็นนักลงทุนอิสระ นักเขียนอิสระ ขอถ่ายทอดความรู้ด้านการลงทุน เผื่อเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

ติดต่อนายแว่นธรรมดาได้ที่นี่ครับ naiwaentammada@gmail.com

Top Banner




 

Create Date : 08 พฤษภาคม 2560
0 comments
Last Update : 8 พฤษภาคม 2560 14:37:24 น.
Counter : 925 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ตี๋2555
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 165 คน [?]




สวัสดีครับผม "นายแว่นธรรมดา" ผู้เขียนหนังสือขายดี "รวยหุ้นแบบ VI ไม่เสี่ยง" หนังสือ "หุ้น 5 พารวย" และเป็นผู้ก่อตั้ง http://www.naiwaen.com เว็บไซค์การลงทุนในหุ้น กองทุนรวม และ Money Market อีกมากมาย
และ http://www.topofliving.com เว็บไซค์เกี่ยวกับการเลือกซื้อบ้านหลังแรก การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ โดยนิยามส่วนตัวก็คือ ทำให้ความมั่งคั่ง กลายเป็นเรื่อง "สนุก"
หากต้องการข้อมูลข่าวสารการลงทุนอย่างรวดเร็ว และเชื่อถือได้ แวะไปกด LIKE ที่นี่นะครับ https://www.facebook.com/NaiwaenTammada

ผมยินดีที่ได้รู้จักเพื่อนๆ นักลงทุนทุกท่าน ฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะครับ
Free counters!
New Comments
Friends' blogs
[Add ตี๋2555's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.