Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2549
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
6 สิงหาคม 2549
 
All Blogs
 
กล้วยไม้ ... ไม่น่าเลี้ยง (ตอนที่ 3)

มีเพื่อนเล่าให้ฟังเมื่อไม่นานมานี้ว่า เห็นกล้วยไม้น้ำอย่าง Epipacis flava ถูกถอนมาขายในตลาดใจกลางเมืองหลวง กล้วยไม้ชนิดนี้มีการเจริญเติบโตอย่างน่าพิศวง เพราะจัดเป็น Aquatic orchid ที่ไม่สามารถปลูกเลี้ยงในสภาพสังเคราะห์ได้อย่างแน่นอน นอกจากนี้เอื้องโมกพรุ (Papilionanthe hookeriana) และเอื้องพรุ (Thrixspermum amplexicule) ที่มีดำรงชีวิตแบบสะเทินน้ำสะเทินบกถึงแม้ว่าเลี้ยงง่ายกว่า แต่ก็ไม่ง่ายเลยสำหรับมือใหม่

ข่าวการพบกล้วยไม้สกุลใหม่ทางภาคเหนือของไทยนำความตื่นเต้นในวงการการพฤกษศาสตร์เป็นอย่างมาก ภายหลังได้มีการจำแนกและตั้งชื่อสกุลที่ถือเป็นมงคลว่า Sirindhornia แหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของสมาชิกทั้ง 3 ของสกุลนี้นั้นมีความเฉพาะเจาะจงมาก ทั้งอุปนิสัยของการเจริญเติบโตนั้นยังค่อนข้างลึกลับซับซ้อนอยู่มาก ผมกำลังหมายถึง “เอื้องศรีเชียงดาว Sirindhornia pulchella”, “เอื้องศรีประจิม Sirindhornia mirabilis” และ “เอื้องศรีอาคเนย์ Sirindhornia monophylla” กล้วยไม้ทั้ง 3 ชนิดมีประชากรในธรรมชาติไม่มาก หวังว่าใครอย่าได้อุตริเก็บมาเลี้ยงเป็นอันขาด

ผมเคยพบ “เอื้องฟันปลา Sunipia scariosa” และ “เอื้องเทียนหนู Coelogyne schultesii “ ผลิบานอย่างงดงามในสนเขาทางภาคเหนือของไทย ก็รู้สึกห่วงมันอย่างประหลาด เพราะมันมีถิ่นอาศัยอยู่ในป่าที่มีระดับความสูงจากน้ำทะเลมากๆ เท่านั้น





กล้วยไม้อีกกลุ่มที่ไม่สามารถปลูกเลี้ยงได้เลยคือกลุ่มที่มีชีวิตแบบผู้ย่อยสลาย (Saprophytic orchid) ส่วนใหญ่มักพบในป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง ทั้งหมดเป็นกล้วยไม้ดินที่พบในบริเวณที่มีอินทรียวัตถุอยู่มาก ในฤดูฝนจะแทงดอก มีชีพจักรของการออกดอกและติดฝักสั้นมาก ส่วนใหญ่กล้วยไม้ชนิดนี้จะไม่มีใบ เพราะไม่ต้องการคลอโรฟิลล์ในการสังเคราะห์แสงเพื่อให้ได้พลังงาน แต่จะอาศัยพลังงานและอาหารจากจุลินทรีย์จากการย่อยสลายเพื่อใช้ในการเจริญเติบโต เมื่อออกดอกและติดฝักแล้วจะพักตัวอย่างสงบในฤดูหนาวต่อเนื่องไปยังฤดูร้อน โอกาสพบมันในป่าจึงต้องเหมาะเจาะกับช่วงเวลามากๆ เท่านั้น ตัวอย่างกล้วยไม้ในกลุ่มนี้คือ สกุล Aphyllorchis เช่น “กล้วยปลวก Aphyllorchis pallida”, “เอื้องแฝงภู Aphyllorchis montana” กล้วยมด หรือ Cystorchis aphylla และ เอื้องคีรีวง Didymoplexiopsis khiriwonggensis 2 ชนิดนี้พบที่เขาหลวง จ.นครศรีธรรมราช “กล้วยมดดอกขาว Didymoplexis pallens”, Epipogium roseum, “เอื้องกลีบติด Gastrodia exilis”, กล้วยปลวกม่วง Stereosandra javanica” เป็นต้น

ถิ่นที่อยู่อาศัยนั้นมีผลต่อการปรับตัวของกล้วยไม้ป่าในสภาพแวดล้อมใหม่ๆ อย่างมาก กล้วยไม้อีกกลุ่มที่ควรพิจารณาว่าเราสามารถจัดการกับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติเดิมได้ใกล้เคียงมากเพียงไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้วยไม้ป่าที่ถิ่นอาศัยที่เฉพาะเจาะจง (Endemic orchid) มีการกระจายพันธุ์ในวงแคบๆ เฉพาะที่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าอาจจะเลี้ยงยาก ตัวอย่างเช่น “สิงโตเชียงดาว Bulbophyllum albibracteum” และ Amitostigma thailandica ที่พบเฉพาะบนดอยเชียงดาวที่ระดับความสูงเป็นพันๆ เมตรจากระดับน้ำทะเล “ว่านน้ำทองสยาม Anoectochilus siamensis” ก็พบที่เดียวในประเทศไทย ในจุดที่มีความชื้นและอินทรียวัตถุสูงๆ “เอื้องดินจีน Bletilla sinensis” ดอกสีชมพูอ่อนงุ้มลู่คล้ายท่อสวยงดงามแต่เลี้ยงไม่ได้ “สิงโตธานีนิวัติ Bulbophyllum dhaninivatii" กับ “สิงโตพู่ทอง Bulbophyllum ovatum” นี่ก็อย่าหามาลองเลี้ยงเด็ดขาด Goodyera thailandica พบทางอีสานตอนบน และพบเฉพาะในประเทศไทยเช่นกัน สกุล Ione อย่าง minor พบที่ภูหลวง และ viridis พบที่เขาใหญ่ ทั้ง 2 ชนิดคงยากเกินไป นอกจากนี้ยังมี “เอื้องแมงมุม Cryptostylis conspicua” ที่พบในป่าดิบชื้นเขต จ.ยะลา

กล้วยไม้ป่าที่ถูกแซะพร้อมกิ่งไม้ที่มันเกาะติดในป่ามาขายพร้อมกันนั้นน่าอนาถใจเพิ่มขึ้น ผมรู้สึกสลดใจทุกทีที่เห็น “เอื้องจิ๋ว Schoenorchis fragrans” ถูกแซะพร้อมเปลือกไม้ลงมาใส่กล่องเร่ขายตามตลาดนัด นอกจากนี้แล้วที่พบเห็นบ่อยๆ ก็เช่น “หวายตะวันตก Dendrobium fytchianum” และ “พญาไร้ใบ Chiloschista sp.” ความจริงกล้วยไม้กลุ่มนี้อาจเลี้ยงไม่ยาก แต่การบุกรุกป่าและเก็บลงมาขายเช่นนี้มันสื่อให้เราทราบว่า โอกาสที่ลูกหลานของเราจะเห็นกล้วยไม้ในป่าเมืองไทยนั้นคงยากเต็มที ถ้าไม่เริ่มต้นที่เราก่อนก็หมดหวังแน่นอนครับ

*** ภาพ ***
บนซ้าย Aphyllorchis cauadata โดยคุณ JUNGLE MAN
บนขวา เอื้องกลีบน้ำตาล Didymoplexiella ornata ผลงานคุณ JUNGLE MAN ครับ
ล่างซ้าย เอื้องคีรีวง Didymoplexiopsis khiriwongensis ขอบคุณคุณ JUNGLE MAN ครับ
ล่างขวา พญาไร้ใบจ้า




Create Date : 06 สิงหาคม 2549
Last Update : 6 สิงหาคม 2549 20:36:36 น. 6 comments
Counter : 2437 Pageviews.

 
ดีคับน้าโหด ไม่น่าเอามาเลี้ยงจิงคับไม่รอดแน่


โดย: jeabnun วันที่: 7 สิงหาคม 2549 เวลา:9:00:04 น.  

 
ตอนนี้ผมสนุกกับอะไร น้าโหดรู้ไหม สนุกกับการลุ้น ไม้ขวด ที่ทุบมาสิบยี่สิบขวด ตายไปเสียครึ่ง 555

อย่าง ฟาแลน เบลลีนา ขวด 40 ต้น เหลือ 20 ต้นนี้ ดีใจสุดๆ

แถม รองเท้านารี ก็ยังรอดตั้งหลายต้น

ผมดีใจกว่าไม้ป่าออกดอกเสียอีกนะเนี่ย


โดย: เสือจุ่น วันที่: 7 สิงหาคม 2549 เวลา:17:19:31 น.  

 
ใช่เลยครับพี่ หาพวกลูกผสมเลี้ยงง่ายๆ ตายยาก ดอกหอมๆ มาเลี้ยงดีกว่า ไม่ต้องลุ้นว่าจะตายหรือเปล่า ยิ่งพวกไม้ไฮโซทั้งหลายเลิกคิดได้เลย


โดย: d-k วันที่: 8 สิงหาคม 2549 เวลา:16:46:49 น.  

 
เข้ามาทักทายและขอความรู้ครับ
ขอบคุณครับ


โดย: zouthfern (fern_south ) วันที่: 10 สิงหาคม 2549 เวลา:18:31:28 น.  

 
แวะมาเยี่ยมค่ะ ขากลับหอบเอาความรู้ไปเยอะเลย ขอบคุณค่ะ


โดย: ป้าฟ้าใส วันที่: 28 มกราคม 2550 เวลา:10:19:27 น.  

 
เห็นต้นSirindhornia pulchella แล้วครับ เห็นแค่กอเดียว อยู่ที่กิ่วลมเหนือบนดอยหลวงเชียงดาว แปลกดีนะครับ อยู่บนยอดเขาสูงแบบนั้นแถมโผล่มาจากชะง่อนหินอีก หวังว่าปีต่อไปคงยังเห็นอยู่บนนั้นนะครับ


โดย: Carlziess (Carlziess Lens ) วันที่: 1 เมษายน 2550 เวลา:13:17:42 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

น้าโหด
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]




Friends' blogs
[Add น้าโหด's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.