Group Blog
 
<<
เมษายน 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
24 เมษายน 2553
 
All Blogs
 

ชื่อพืช



วิวัฒนาการของการตั้งและเรียกชื่อพืชมีมาช้านาน แต่ยุคที่ได้รับการยอมรับที่สุดคือระบบของท่าน Carolus Linnaeus ท่านมีชีวิตอยู่ในช่วงปี คศ 1707 - 1778

หากจะว่าตามหลักการวิชาการล้วนๆ บ่อยครั้งที่สุดที่เรามักพบว่า คำถามในบอร์ดสาธารณะมักถามถึงเรื่องชื่อ และเชื่อได้ว่าเรายังไม่เข้าใจกับเรื่องการเรียกชื่อพืชอย่างดีพอ blog นี้จึงอยากพยายามสรุปให้ฟังตามนี้ครับ

1) ชื่อพื้นเมือง แปลตามตัวได้ว่า Local name มันก็คือชื่อเรียกตามแต่ท้องถิ่นนั่นแหละครับ อย่างคนกรุงเทพเรียกผลไม้ชนิดหนึ่งว่า "มะละกอ" แต่พอไปที่อีสานเขาเรียกพืชชนิดเดียวกันนี้ว่า "บักหุ่ง" หรือคนภาคกลางเรียกฝรั่ง คนอีสานเรียกบักสีดา, คนภาคกลางเรียกข้าวโพด คนภาคเหนือเรียกข้าวสาลี, คนภาคกลางเรียกสับปะรด คนภาคใต้เรียกยานัด

2) ชื่อสามัญ หรือ Common name อันนี้ดูมีหลักมีการขึ้นมาหน่อย (แต่ก็ยังสะเปะสะปะ) ยกตัวอย่างเดิมว่าหากกล่าวถึงพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง ผลเป็นฝักมีจำนวนเมล็ดเป็นแถวคู่ ชื่อสามัญที่คนยอมรับคือ "ข้าวโพด" แต่ที่เล่าให้ฟังแล้วว่าคนภาคเหนือเรียกพืชชนิดนี้ว่า "ข้าวสาลี" ซึ่งหากกล่าวถึงข้าวสาลีแล้ว ชื่อสามัญของมันจะหมายถึงธัญพืช ติดเมล็ดคล้ายข้าว ใช้ทำแป้ง สรุปแล้วชื่อสามัญคือชื่อที่มีการยอมรับขึ้นมาอีกระดับหนึ่งที่คนจำนวนมากกว่าให้การยอมรับ ถ้าคนไทยพูดถึงกล้วย ทุเรียน ส้ม มะขาม เราก็จะสามารถรู้ได้ทันทีว่าผู้พูดหมายถึงพืชชนิดใด ตัวอย่างชื่อสามัญในภาษาอังกฤษที่ได้รับการยอมรับเช่น ข้าวโพดที่เรียกว่า corn หรือ maize ก็ได้ หรือมันสำปะหลังที่เรียกว่า cassava หรือ tapioca ทั้งหมดนี้ยังถือว่าเป็นชื่อสามัญ

3) ชื่อวิทยาศาสตร์หรือชื่อพฤกษศาสตร์ (Scientific name) ที่กล่าวให้ฟังตอนต้นว่า Linnaeus เป็นผู้บุกเบิกระบบการเรียกชื่อพืชแบบนี้ เราเรียกระบบนี้ว่า "อนุกรมวิธาน" ที่สิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะมีชื่อเรียกที่คนทั้งโลกเข้าใจตรงกัน โดยระบบชื่อแบบนี้จะมีคุมด้วยชื่อสกุล (Genus) และชื่อชนิด (Species) ยักตัวอย่างเช่น กล้วยไม้ในสกุลรองเท้านารีมีชื่อสกุลว่า Paphiopedilum ส่วนชนิดที่มีชื่อเรียกว่า "ขาวสตูล" มีชื่อชนิดว่า niveum ถ้าเราคุยกับฝรั่งว่า Paphiopedilum niveum เขาจะรู้ทันทีว่าเราหมายถึงกล้วยไม้ชนิดใด ข้อสังเกตคือเวลาเขียนชื่อวิทยาศาสตร์ต้องเขียนด้วยตัวเอียง หรือไม่เช่นนั้นต้องมีเส้นใต้ขีดแบ่งชื่อสกุลและชื่อชนิดออกจากกัน แบบนี้ Paphiopedilum niveum ที่สำคัญคือไม่ต้องใส่จุด full stop ให้เสล่อ และควรสังเกตอีกอย่างว่าชื่อที่ผมกำลังกล่าวถึงรองเท้านารีชนิด "ขาวสตูล" นะครับ ไม่ใช่ชื่อพันธุ์ขาวสตูล
- ที่เราเห็นต่อท้ายด้วย ssp. นี่เราหมายถึงชนิดย่อยหรือ Subspecies ครับ
- ถัดมาคือพันธุ์ ที่เราเห็นเขียนว่า var. นี่แหละครับ ถึงตรงนี้แล้วจึงเห็นได้ว่าพืชชนิดเดียวกันอาจมีได้หลายพันธุ์
- สุดท้ายคือแบบ ผมกะแดะเขียนให้เข้าใจยากไปงั้นเอง แต่ถ้าจะบอกว่ามันคือฟอร์ม หรือ f. คงเข้าใจได้ง่ายขึ้น

4) ชื่อเรียกที่ใช้กันพร่ำเพรื่อที่สุดคือ "สายพันธุ์" หรือ Strain ถ้าในสัตว์เขาใช้คำว่า "สายเชื้อ" ครับ ความแตกต่างของพืชชนิดเดียวกันยังมีความแตกต่างทางลักษณะที่สามารถแบ่งกลุ่มออกจากกันได้ เช่นทุเรียนหมอนทอง กระดุม และชะนี หรือมะม่วงอกร่อง น้ำดอกไม้ และเขียวเสวย

5) สายต้นหรือ Clone ใช้เรียกพันธุ์พืชปลูกที่มาจากเหล่ากอเดียวกัน ในพืชที่มีการผสมข้าม พืชที่งอกจากเมล็ดถือว่าเป็น 1 ต้น 1 clone




 

Create Date : 24 เมษายน 2553
3 comments
Last Update : 24 เมษายน 2553 20:12:35 น.
Counter : 1829 Pageviews.

 

 

โดย: หาแฟนตัวเป็นเกลียว 24 เมษายน 2553 20:41:03 น.  

 

เข้ามาทักทายครับ

 

โดย: tongsehow 24 เมษายน 2553 21:17:49 น.  

 

สวัสดีน้าโหดตอนใกล้ๆเที่ยง

เพิ่งเข้าใจค่ะ.....หลังจากสะเหร่อมานาน....5555

 

โดย: noklekkaa (papagearna ) 25 เมษายน 2553 11:13:36 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


น้าโหด
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]




Friends' blogs
[Add น้าโหด's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.