RouteRaideR let's finish the mission
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728 
 
25 กุมภาพันธ์ 2554
 
All Blogs
 
วิถีผู้กล้า ตอน "กว่าจะได้มาซึ่งขาที่ถูกใจ"

สวัสดีครับ ผมรุตไรเดอร์ วันนี้จะมาเล่าให้ฟังถึงเทคนิควิธีการโมดิไฟขาของจักรยานล้อเดียว (crank arm)

ก่อนอื่นผมขอแนะนำให้รู้จักกับ crank arm ของจักรยานล้อเดียวก่อนนะครับ ซึ่งปัจจุบันนี้มี 2 ระบบที่พบได้โดยทั่วไป


อันแรกเรียกว่า cotterless crank หรือ square crank คือบริเวณช่องที่ไปต่อกับดุมล้อจะเป็นรูปร่างสี่เหลี่ยม และเวลาต่อไปแล้วก็ไม่มีเดือยล๊อค จึงเป็นที่มาของชื่อมันในภาษาอังกฤษ
crank แบบนี้ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเหล็กครับ มีส่วนน้อยที่ทำจากโลหะชนิดอื่น


ส่วนอีกระบบ เรียกว่า ISIS crank
ISIS ย่อมาจาก International Splined Interface Standard
ตรงช่องที่ไปต่อกับดุมล้อ จะมีลักษณะคล้ายฟันเฟือง ทำให้หน้าสัมหัสระหว่างดุมล้อกับขาที่เอาไปต่อนั้นมีมากขึ้น ส่งต่อกำลังได้ดีขึ้น แข็งแรงขึ้น จึงกลายเป็นมาตรฐานสากล
crank แบบนี้ทำจากอลูมิเนียมด้วยครับ เพราะจะมีข้อดีเพิ่มขึ้นไปอีก คือน้ำหนักเบา และไม่เป็นสนิม หรือผุกร่อนง่าย


อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะ crank ระบบใด ก็จะมีช่องใส่บันไดมาให้เพียงช่องเดียว การจะเปลี่ยนความยาวของ crank arm ให้เหมาะสมกับงานที่เราอยากจะปั่นก็ทำได้ลำบาก เพราะตัว crank กับดุมล้อจะติดกันแน่น ต้องใชัตัวดูดช่วยดูดออกมา
KH double hole crank จึงเป็นทางออกให้นักปั่นจักรยานล้อเดียว เพราะสามารถเปลี่ยนความยาวของ crank arm ได้ง่ายขึ้น

แต่ด้วยราคาที่แพง (กว่า 60 Euro ต่อคู่) และจำนวนช่องใส่บันไดที่มีเพียง 2 ช่อง ทำให้ผมตัดสินใจอยากจะดัดแปลงขึ้นมาใช้เอง

ปัญหาที่ผมพบคือ เวลาที่เราไปเจาะรูเพิ่มให้กับ crank arm แล้ว พบว่าความแข็งแรงของมันลดลง ทำให้เวลาเอามาใช้งานจริงมันจะเกิดการบิดตัว ทำให้เรียนรู้ว่า ถ้าจะเจาะรูเพิ่ม ต้องเสริมด้านข้างให้หนาๆ

แต่การเสริมด้านข้างของชิ้นงานให้หนาๆ นั้น ถ้าชิ้นงานเป็นเหล็ก ทำได้ไม่ยากครับ เพราะเหล็กสามารถเชื่อมพอกเสริมได้ง่าย แต่ถ้าเป็นอลูมิเนียมแล้ว มันเหลวกว่าเวลาเชื่อม ทำให้เชื่อมพอกเสริมไม่ได้

จำต้องแก้ไขด้วยวิธีการตัดต่อครับ โดยไปซื้อแผ่นอลูมิเนียม ที่มีความกว้างความหนาตามต้องการ แล้วค่อยมาตัดต่อให้กับ crank arm ที่เราอยากจะดัดแปลง


ได้มาแล้วครับ หน้าตาเป็นแบบนี้ เวลาทำการตัดต่อออกมาแล้ว

ปัญหาต่อมาที่พบ คือความปราณีตของช่าง การเจาะรูที่ไม่ได้ระนาบ ไม่ได้ฉาก การตัดต่อที่ไม่ได้ระนาบเดิม รวมทั้งความใส่ใจในรายละเอียดอื่นๆ ทำให้เวลาเอามาปั่นแล้ว เรารู้สึกได้ที่เท้าว่ามันไม่สมดุล


ทำให้ผมได้เรียนรู้ว่า ผมต้องมีส่วนร่วมให้มากขึ้น ถ้าอยากได้งานที่ถูกใจที่สุด (จริงๆ แล้วผมอยากทำเองเลยด้วยซ้ำ แต่ด้วยความที่เราไม่ใช่ช่าง และไม่ได้มีเครื่องมือพร้อม)

ผมตัดสินใจตัดทิ้ง แล้วไปซื้อแผ่นอลูมิเนียมมาใหม่ ตัดเองเลยครับโดยใช้เลื่อยมือ ส่วนแผ่นอลูมิเนียมก็สั่้งให้ร้านขายเหล็กเขาตัดให้สองชิ้งเท่าๆ กัน แล้วเราเอามาตะไบเอง ให้หน้างานต่างๆ มันเรียบฉากลงตัวที่สุด


ผมตั้งใจจะเชื่อมเอง เพราะที่บ้านมีตู้เชื่อมอยู่ เพียงแค่ต้องการให้มันติดกันเบื้องต้น ให้มันได้ระนาบตามที่เราต้องการ แล้วค่อยไปหาช่างอีกที
ตอนนั้นผมซื้อป๊อกกี้ (ชื่อเล่นของลวดเชื่อม ผมตั้งเอง เพราะมันเหมือน ว่าจะลองชิมดู แต่ก็ไม่กล้า รสอลูมิเนียม อาจอร่อยกว่ารสช๊อคโกแล็ดก็เป็นได้นะ)

แต่ปัญหาที่พบอีกก็คือ ตู้เชื่อมธรรมดา ไม่สามารถใช้เชื่อมอลูมิเนียมได้ ต้องมีตัวแปลงกระแสอะไรอีกก็ไม่รู้ ทำให้ไม่สำเร็จ (ผมคิดว่ามันจะง่ายเหมือนเชื่อมเหล็ก)


ไม่สิ้นหวัง กาวตราช้างช่วยได้
จำเป็นต้องทำให้มันติดกันในเบื้องต้นให้ได้ครับ เพราะผมจะได้เอามาวัดระยะและองศาต่างๆ ได้ เพื่อที่จะเจาะรู้ได้ตรงใกล้เคียงมาตรฐานโรงงานที่สุด


วัดระยะให้เป๊ะ แล้วมาร์คจุดเจาะไว้เลยครับ ด้วยการใช้ตะปูตอก
ทำแบบนี้จะทำให้ช่างกลึงที่เราไปหา เขาทำงานได้ง่ายขึ้น และงานออกมาตรงใจเราที่สุด

กว่าจะได้ช่างที่ตรงใจก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนะครับ ปัญหาที่พบ อาธิ

หลายร้านติดป้ายหน้าร้านไว้ว่า "รับกลึงโลหะทุกชนิด" แต่พอถืออลูมิเนียมเข้าไป กลับส่ายหน้าทันที

หลายร้านอ้างว่าไม่มีต๊าฟ (เป็นอุปกรณ์สำหรับกลึงเกลียว)

หลายร้านมีต๊าฟ แต่มีแต่ต๊าฟขวา ไม่มีต๊าฟซ้าย (ขาซ้ายของจักรยานจะเป็นเกลียวซ้าย เพื่อเวลาปั่นไปแล้ว บันไดที่ขาซ้ายเกลียวจะได้ไม่คลายออกมา) แต่กับร้านที่ทำได้ เขาก็บอกว่าเขาไม่มีต๊าฟซ้ายเหมือนกัน แต่เขาใช้แท่นกลึงของเขากลึงเอา (ผมก็งงเหมือนกัน ตกลงใช้แท่นกลึงที่มี สร้างเกลียวก็ได้งั้นเหรอ ก็เห็นมีแท่นกลึงกันทุกร้าน แล้วทำไมหลายร้านทำเกลียวไม่ได้)

แต่กับร้านที่ทำได้ ก็ไม่เห็นเขาบ่นอะไร ก็เอาไปทำเลย แล้วไม่ใช่ร้านใหญ่ด้วยซ้ำ เครื่องมือก็ธรรมดา มีเหมือนๆ ร้านอื่น ทำให้ผมงงกับงานกลึงโลหะมาก แต่ก็ชั่งมันเถอะ ตอนนี้ได้ร้านประจำแล้ว



สำเร็จแล้วครับ ขาที่ถูกใจ ใส่ให้เจ้าล้อ 29 นิ้วคู่ใจไปปั่นทดสอบ ใช้งานได้ดีแล้วครับ ได้ระนาบ ได้องศา และแข็งแรงเพียงพอ กระโดดแรงๆ ก็ไม่บิดตัวแล้ว (ก็มันหนาซะขนาดนั้น)


และผมก็ได้นำขานี้ไปติดให้ล้อ 26 นิ้วคู่ใจ ใช้ขึ้นดอยดู ก็พบว่า รูที่อยู่ไกลที่สุด 165 mm นั้นไม่เพียงพอให้ปั่นขึ้นดอยได้อย่างสบาย ตอนนี้ต้องกลับมาวางแผนสร้าง crank arm อันใหม่ ผมคาดว่าจะเจาะสัก 5 รู คือ 105/125/145/165/185 mm เพิ่มระยะ 185 mm เข้าไปด้วย จะได้เพิ่มแรงปีนป่ายได้มากขึ้น

บางคนอาจสงสัยว่า ทำไมไม่เอายาวๆ ไปเลย จะได้ลื่นๆ เอาสัก 200 หรือ 250 mm ไปเลย ผมก็คิดอยู่ แต่ต้องไม่ลืมว่า crank arm ที่ยาวที่สุด ตามมาตรฐานจากโรงงานที่มีขาย คือระยะ 170 mm ผมกังวลว่า ถ้ายาวเกินไป จะมีผมทำให้ crank arm ไม่แข็งแรง อาจคดงอ หรือหักได้ง่าย กลัวประเด็นนี้เหมือนกัน จึงไม่กล้าเจาะไกลไปกว่าระยะมาตรฐานจากโรงงานมากนัก

ยังมีการบ้านต้องทำอีกเยอะครับ

key words: RouteRaideR, square crank, ISIS crank, double hole crank, self modified tetrahole crank, unicycle


Create Date : 25 กุมภาพันธ์ 2554
Last Update : 25 กุมภาพันธ์ 2554 22:20:31 น. 1 comments
Counter : 5984 Pageviews.

 
ช่วยแแนะนำร้านที่เชื่อมและกลึงเกลียวcrankอลูมิเนียม ให้ด้วยครับ เขาทำดูเรียบร้อยดีเห็นงานแล้วมีศรัทธาที่จะจ้าง (อันที่จริงแถวบ้านมีโรงกลึงแยะแต่คุยยาก) ผมจะซ่อมรูเกลียวที่หวานครับ


โดย: Danuacom IP: 58.8.213.218 วันที่: 13 กันยายน 2555 เวลา:10:03:16 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

MysteriousSlave
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




ฮาโหลชาวโลก
Friends' blogs
[Add MysteriousSlave's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.