<<
กันยายน 2554
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
14 กันยายน 2554

กรีซจะโดนเตะออกจาก ยุโรป แล้วเหรอ...

ถามเยอรมันหรือยังว่าจะเอายังไง...


วงการ เชื่อกรีซมีโอกาสผิดนัดชำระหนี้และถูกออกจากกลุ่มอียู หลังกระแสประชาชน-พรรคร่วมรัฐบาล เริ่มไม่เห็นด้วยนำเงินภาษีไปช่วยเหลือ แนะ นลท.ถือเงินสด

บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าแม้ว่าผู้นำเยอรมัน และฝรั่งเศส ออกมายืนยันช่วยเหลือกรีซให้รอดพ้นจากวิกฤติหนี้สาธารณะในรอบนี้ และทำให้สินทรัพย์เสี่ยงอย่างตลาดหุ้นยุโรป DJIA สินค้าโภคภัณฑ์อย่างน้ำมัน และทองคำฟื้นตัว แต่ในความเห็นของ KimEng เชื่อว่าผู้นำทั้ง 2 ต้องการควบคุมสถานการณ์ทั้งในตลาดเงิน และตลาดทุน รวมถึงระบบสถาบันการเงินของทั้ง 2 ประเทศ ก่อนที่สถานการณ์จะเลวร้ายเกินการควบคุมได้ จุดที่น่า
สนใจต่อกรณีวิกฤติหนี้สาธารณะในกรีซ และอาจลากให้อิตาลีเข้าสู่วิกฤติในลำดับถัดไป ได้แก่
1.CDS Spread อายุ 5 ปีของกรีซ วานนี้ (13 ก.ย.54) ยังคงปิดเพิ่มขึ้น
800.89bps มาอยู่ที่ 5622.34bps สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ส่วน CDS Spread ของอิตาลีอายุ 5 ปีวานนี้ ลดลงเพียงเล็กน้อย 2.93bps ปิดที่ 503.07bps สะท้อนมุมมองของตลาดต่อความเห็นของนายกรัฐมนตรีเยอรมัน ยังไม่สามารถเรียกความเชื่อมั่นได้
2.การขายพันธบัตรของอิตาลียังคงต้องเผชิญกับต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น
3.ค่าเงินยูโรเทียบกับดอลลาร์ฟื้นตัวเพียงจำกัด วานนี้ปิดที่ US$1.3681/euro เงินยูโรแข็งค่าเป็นวันที่ 2 อีกเพียง 0.2% dod
4.VIX Index วัดความกังวลต่อการลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ อยู่ในระดับสูง วานนี้ปิดที่ 36.91 จุด เพิ่มขึ้นจากสิ้นเดือนส.ค.ที่ผ่านมาถึง 16.7%
5.ไม่มีการรายงานต่อการหารือระหว่างกรีซ-IMF-EU หลังครบกำหนดการกลับมาหารือวันที่ 12 ก.ย.ที่ผ่านมา อาจเป็นการส่งสัญญาณเสี่ยงได้ว่า การหารือไม่ได้ข้อสรุป และความคืบหน้าอย่างที่ควรจะเป็นได้เช่นกันจากตัวเลขข้างต้น สะท้อนมุมมองของนักลงทุนต่อทิศทางการลงทุนในสินทรัพย์ยังคงเป็นไปอย่างจำกัด ตลาดยังคงเชื่อว่ากรีซ ยังคงมีโอกาสผิดนัดชำระหนี้ในระดับที่สูงต่อเนื่อง การยืนยันของผู้นำทั้งเยอรมันและฝรั่งเศสอาจเป็นเพียงการเรียกความเชื่อมั่นชั่วคราวเท่านั้น
ส่วนวันนี้ติดตามการแถลงร่วมของนายกรัฐมนตรี กรีซ-เยอรมัน-ฝรั่งเศส ต่อสถานการณ์ ณ ปัจจุบัน และจุดยืนของประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับที่ 1- 2 ของอียู ต่อปัญหาในกรีซ สิ่งที่จะทำให้นักลงทุนมั่นใจว่ากรีซจะรอดพ้นวิกฤติครั้งนี้ได้คือ การเลือกตั้งท้องถิ่นของเยอรมันในเมืองเบอร์ลินวันที่ 18 ก.ย.นี้ และการพิจารณาแผนการลงทุนในกองทุน EFSF โดยสภาฯ เยอรมันวันที่ 29 ก.ย. หากการเลือกตั้งท้องถิ่นพรรคการเมืองของนายกรัฐมนตรี Merkel แพ้การเลือกตั้ง มีโอกาสสูงมากที่การประชุมสภาฯ จะไม่ผ่านร่างเช่นกัน
สำหรับความเห็นของ KimEng ต่อสถานการณ์กรีซยังเป็นด้านลบ และเชื่อว่าโอกาสกว่า 80% ที่กรีซจะผิดนัดชำระหนี้และถูกออกจากกลุ่มอียู การพิจารณากฎหมาย EFSF ของเยอรมันน่าจะเป็นเงื่อนไขสำคัญ และกระแสของประชาชน และพรรคร่วมรัฐบาลเริ่มไม่เห็นด้วยกับการนำเงินภาษีไปช่วยเหลือกรีซ หากเป็นไปตามคาด สิ่งที่ตามมาคือ
1.ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับยูโร เพราะเงินทุนออกจากสินทรัพย์ในยูโรในอัตราเร่งมากขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นจุดที่ Hedge Fund / Carry Trade ที่ใช้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นแหล่งเงินกู้ ต้องเร่งปิดสถานะ ด้วยการขายสินทรัพย์ที่เข้าไปลงทุน เพื่อปิดสถานะเงินกู้ดอลลาร์ เพราะหากเกิดเหตุการณ์กรณีกรีซ จะทำให้เกิดการขาดทุนในการลงทุนได้
2.ความเชื่อมั่นต่อสถาบันการเงิน โดยเฉพาะธนาคารในเยอรมัน และธนาคารฝรั่งเศส เพราะเป็นผู้ลงทุนในพันธบัตรและหุ้นกู้กรีซสูงระดับต้นๆ ประเทศเยอรมันและฝรั่งเศส ต้องเตรียมความพร้อมต่อสถานการณ์ดังกล่าว
3.สินทรัพย์เสี่ยง และ Safe haven ในยุโรปอาจต้องปรับฐานลงแรงในช่วงต้น และสุดท้ายจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพราะปัญหาในอียูจะเริ่มจำกัดมากยิ่งขึ้น
ดังนั้นหาก SET Index วันนี้ฟื้นตัวขึ้นตามทิศทางตลาดหุ้นเอเชีย ด้วยประเด็นบวกจากความเห็นของผู้นำเยอรมันและฝรั่งเศส กลับกลายเป็นโอกาสของการลดน้ำหนักการลงทุนในพอร์ตหุ้นต่อเนื่อง โดยแนะนำให้ ขายอีก 20% ของพอร์ต เป็นวันที่ 2 และถือเงินสด




เรียบเรียง โดย อาภรณ์ สุภาพ
อนุมัติ โดย พิมพ์รภัส ศิริไพรวัน
อีเมล์แสดงความคิดเห็น commentnews@efinancethai.com




ที่มา อีไฟแนนซ์ไทย วันที่ 14/09/11 เวลา 11:44:17



ผลกระทบหากกรีซผิดนัดชำระหนี้ คาดว่าจะส่งผลกระทบแบบลูกโซ่โดยเฉพาะผู้ถือตลาดสารหนี้ของรัฐบาลกรีซ ได้แก่
_ ธนาคารในญี่ปุ่น ถือครองตราสารหนี้ของกรีซรวม US$432 ล้าน
_ ธนาคารในสเปน ถือครองตราสารหนี้ของกรีซรวม US$540 ล้าน

_ ธนาคารในสหรัฐ ถือครองตราสารหนี้ของกรีซรวม US$1.5 พันล้าน
_ ธนาคารในอิตาลี ถือครองตราสารหนี้ของกรีซรวม US$2.35 พันล้าน
_ ธนาคารในอังกฤษ ถือครองตราสารหนี้ของกรีซรวม US$3.4 พันล้าน
_ ธนาคารในฝรั่งเศส ถือครองตราสารหนี้ของกรีซรวม US$1.49 หมื่นล้าน
_ ธนาคารในเยอรมัน ถือครองตลาดสารหนี้ของกรีซรวม US$2.26 หมื่นล้าน

_ ธนาคารในกรีซ ถือครองตราสารหนี้ของกรีซรวม US$6.28 หมื่นล้าน

_ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ถือครองตราสารหนี้ของกรีซราว US$6.3 หมื่นล้าน

ดังนั้น คาดว่าหากกรีซผิดนัดชำระหนี้ ในเบื้องต้น จะส่งผลกระทบในวงกว้างต่อภาคธนาคารยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝรั่งเศส และเยอรมันที่ถือครองตลาดสารหนี้กรีซในมูลค่าสูงมาก จำต้องตัดหนี้สูญ และตั้งสำรองมูลหนี้ดังกล่าว ซึ่งแน่นอนว่าจำต้องเพิ่มฐานทุนเป็นลำดับถัดมา จะส่งผลกระทบต่อหุ้นกลุ่มธนาคารทั่วโลกเนื่องจากมีการถือครองตราสารหนี้ระหว่างกัน และอาจถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือตามมา

ขณะที่ประเด็นที่อาจสร้างความตกใจให้กับตลาดโลก คือ ECB อาจต้องเพิ่มทุน จะยิ่งส่งผลกระทบเชิงลบต่อ sentiment การลงทุนทั่วโลก เนื่องจาก ECB เปรียบเสมือนแหล่งเงินสำรองให้กับภาคธนาคารและเศรษฐกิจยุโรป

กลยุทธ์การลงทุน เราแนะนำ สำหรับคนรับความเสี่ยงได้ต่ำ การรีบาวน์ของตลาดเป็นจังหวะในการขาย เพื่อถือเงินสดเพิ่มขึ้น และติดตามความคืบหน้าของการแก้ไขปัญหาหนี้สินสาธารณะในกรีซอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงบ่ายที่ตลาดยุโรปกลับมาเปิดทำการอีกครั้ง

โดย KELIVE ประเมินว่าหากกรีซจะต้องออกจาก EU คาดว่า SET INDEX จะปรับตัวลงต่ำกว่าระดับ 1,000 จุด และหุ้นที่จะถูกขายคือหุ้นกลุ่มหลักในกลุ่มธนาคาร พลังงาน ที่นักลงทุนต่างชาติถือครองเป็นจำนวนมาก



by...
//karnnewsupdate.blogspot.com


Create Date : 14 กันยายน 2554
Last Update : 14 กันยายน 2554 12:18:57 น. 3 comments
Counter : 580 Pageviews.  

 
คิดว่ากรีกจะผิดนัดชำระหนี้ด้วยคน
1.กรีกใช้เงินสกุลยูโรไม่สามารถพิมพ์ธนบัตรมาชำระหนี้ได้
2.ช่วงนี้ดอลล่าแข็งค่าขึ้นกรีซจะต้องใช้เงินแลกเปลี่ยนเป็นดอลล่ามาชำระหนี้มากขึ้น
3.สินทรัพย์ในกรีซโดนกดราคา คงไม่มีใครยอมซื้อสินทรัพย์กรีซในราคาแพงๆ ทำให้ขายสินทรัพย์จำนวนมากจำนวนเงินก็อาจยังไม่พอใช้หนี้ และตอนนี้ราคาทองโดนกดไม่ให้ขึ้นมาก ถึงกรีซมีทองก็ไม่สามารถขายราคาสูงได้


โดย: hilord IP: 125.24.74.203 วันที่: 14 กันยายน 2554 เวลา:20:04:01 น.  

 
ผมมองว่า กรีซ ตัดสินใจอะไรเองไม่ได้แล้วหล่ะครับ ทุกอย่างคงต้องถาม พี่เยอรมัน กับพี่ฝรั่งเศส เป็นหลักแล้ว ถ้าให้ล้ม ก็ล้ม ถ้าไม่ให้ล้ม ก็ส่งเงินให้กรีซซะ

ล่าสุด ยังต้องมาดู italy spain พวกนี้อีก เพราะ พวกนี้ มี bond yield ต่ำๆ และออกขายได้ในช่วงแรก ทีนี้มันใกล้ถึงกำหนดชำระแล้วเนี่ย bond ชุดใหม่ที่ออกมา คนก็ไม่กล้าซื้อ yield ก็สูงขึ้น เดือดร้อนอีก จนถึงกับต้องขอให้จีนช่วยกันบ้าง

แล้วจีนจะยอมช่วยง่ายๆหรือป่าว


โดย: planplan66 วันที่: 15 กันยายน 2554 เวลา:10:25:13 น.  

 
ขอถามนิดหนึ่งนะคะ ถ้ามีเงินยูโรอยู่ในมือควรแลกเลย หรือเก็บไว้ระยะยาม(มาก)ดีคะ กว่าค่าเงินจะกลับคืนสู่ภาวะปรกติใช้เวลาประมาณเท่าไหร่คะ เห็นค่าเงินขึ้นเร็วลงเร็วเหลือเกิน กลัวภาวะหล่นแล้วไม่ขึ้นค่ะ จะเป็นไปได้เหรอคะที่จะแย่อย่างนี้ไปเรื่อยๆ รบกวนท่านผู้รู้ช่วยให้คำตอบด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ


โดย: กรกฏ IP: 121.101.104.8 วันที่: 15 กันยายน 2554 เวลา:11:30:57 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

planplan66
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add planplan66's blog to your web]