เด็กอำนาจครับผม
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2549
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728 
 
28 กุมภาพันธ์ 2549
 
All Blogs
 
สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดอำนาจเจริญ (อำเภอเสนางคนิคมครับ)



ถ้ำพระ ภูโพนทอง

มีพระพุทธรูปเก่าแก่อายุหลายร้อยปี มีทั้งด้วยไม้ ดิน หิน ชาวบ้านนิยมขึ้นไปสรงน้ำพระในวันสงกรานต์ ปีใดฝนแล้งชาวบ้านจะขึ้นไปขอฝน

คอกช้าง (คล้องช้างป่า)

เป็นลักษณะหินขนาดใหญ่วางพิงกันจนเป็นคล้ายถ้ำ สมัยก่อนชาวบ้านจะต้อนช้างเข้ามา แล้วเอาเชือกคล้องงาช้างไว้

น้ำตก ทิวทัศน์ ภูเกษตร

จะมีน้ำตกไหลในช่วงฤดูฝนสวยงามมาก เหมาะในการพักผ่อนหย่อนใจ

ภูวัด

ภูวัดมีลักษณะทั่วไปคล้ายกับภูโพนทอง เป็นภูเขาหินทรายที่มีต้นไม้น้อนใหญ่ปกคลุม ตั้งห่างจากภูโพนทองไปทางทิศเหนือประมาณ 1 กิโลเมตร เหมาะที่จะพัฒนาให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวอย่างยิ่ง เพราะสามารถเดินทางขึ้นสู่ยอดเขาได้สะดวกและป่าไม้
ยังมีความอุดมสมบุรณ์

ดานหัวนาค

เป็นก้อนหินทรายที่ถูกกัดเซาะ ตั้งซ้อนกันสูงประมาณ 6 เมตร ก้อนที่ตั้งอยู่ข้างบนมีลักษณะคล้าย ๆ กับหัวพญานาค จึงเรียกตามจินตนาการว่า "ดานหัวนาค

ภูพนมดี

ตั้งอยู่ใกล้ภูเกษตร ตำนานเล่าว่าใครไปล่าสัตว์หรือแผ้วถางป่า จะมีอันเป็นไป เมื่อก่อนเรียกว่า "ภูแม่หม้าย"

จุดชมทัศนียภาพ เป็นลานดินสลับกับก้อนหินที่มีความสวยงาม เหมาะสำหรับชมทัศนียภาพและตั้งแคมป์พักผ่อน

แอวขัน

เป็นก้อนหินขนาดใหญ่ที่ตั้งเด่นเป็นสง่าทางธรรมชาติ ตั้งอยู่บนหน้าผาทางด้านทิศใต้ของภูโพนทอง

คอกช้างคอกม้า มีลักษณะเป็นโขดหินวางซ้อนกันเกะกะ ปกคลุมไปด้วยต้นไม้หลังเขานานาพันธุ์ เป็นที่หลบภัยของฝูงช้างป่าในสมัยก่อน ปัจจุบันเหลือไว้ให้ดูเฉพาะรอยโคลนตมที่ช้างได้ถูและติดกับก้อนหิน แต่เนื่องจากว่าก้อนหินบริเวณนี้ช้างได้อาศัยหลบฝนและอากาศร้อนคราวละหลาย ๆ เชือก จึงเรียกขนานนามว่า "คอกช้างคอกม้า"
ภูโพนทอง

เป็นภูเขาหินทรายสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 353 ฟุต มีสิ่งที่น่าสนใจ คือ
1) สร้างวัด คือ โพรงหิน มีลักษณะเหมือนบ่อน้ำ "สร้าง" ภาษีอีสานออกเสียงว่า "ส่าง" หรือ "บ่อน้ำดื่ม"
2) แอวขัน "แอว" เป็นภาษาอีสาน คือ "เอว" เป็นหน้าผาขนาดใหญ่ เป็นจุดชมวิวสวยงามแห่งหนึ่ง "ขัน" คือ ภาชนะตักน้ำคล้ายพาน
3) คอกช้าง คือ เพิงหินขนาดใหญ่ เป็นลานกว้างมีก้อนหินขนาดใหญ่ล้อมรอบ เมื่อก่อนช้างที่ขึ้นไปหากินหญ้า หรือใบไม้บนภูโพนทอง
จะอาศัยเพิงหินแห่งนี้เป็นที่พักหรือที่หลบฝน ชาวบ้านจึงเรียกว่า "คอกช้าง"



Create Date : 28 กุมภาพันธ์ 2549
Last Update : 28 กุมภาพันธ์ 2549 16:05:38 น. 61 comments
Counter : 5121 Pageviews.

 
เยี่ยมสุดๆ


โดย: นิว IP: 125.26.126.182 วันที่: 22 พฤศจิกายน 2550 เวลา:10:34:51 น.  

 
ผมเป็นคนเสนางค์โดยกำเนิดครับ
บ้านหนองทับม้า
แวะมาเยี่ยมครับ


โดย: บ่าวหน้าอำเถอ IP: 137.224.234.120 วันที่: 3 ธันวาคม 2550 เวลา:8:00:28 น.  

 
เยี่ยม !!!!!!!!!


โดย: เสนางค์ฯ ม.12 IP: 203.113.100.186 วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:18:36:37 น.  

 
พรุ่ง นี้(18 มีนาคม 51)จะกลับบ้าน คิดถึงอีพัอ อีแม่จังเลย
มีใครอยู่บ้าง โทรมานะ 0816396158


โดย: มด(พาสนา มณีศิลป์) IP: 58.9.120.226 วันที่: 17 มีนาคม 2551 เวลา:12:03:25 น.  

 
ข่อยคนบ้าน โพนทองเด้อ...สงกราน ซิกลับ บ้านกันบ่หนอ้ พวกผู้บ่าว - ผู้สาวทั้งหลาย ...
ถ่าได๋กับจังได๋...กะเจอกันเด้อ อ่าววว


โดย: ป้อม IP: 192.55.18.36 วันที่: 25 มีนาคม 2551 เวลา:22:38:18 น.  

 
ดีมากเลยค่ะ


โดย: เเตงไทย IP: 118.175.218.156 วันที่: 21 สิงหาคม 2551 เวลา:14:31:11 น.  

 
โทษทีนะที่...

ได้ใช้ ผ... ร่วมกับเด็กอำนาจ

โดยเฉพาะ เสียงที่ 4

ไม่ต้องเสียใจนะแบ่งกันใช้ก็ไม่เห็นเปนอะไร


โดย: เด็กเมืองกรุง IP: 58.9.229.96 วันที่: 29 กันยายน 2551 เวลา:20:07:40 น.  

 
ไม่นึกว่าเสนางจะมีเว็บแบบนี้ด้วย
เยี่ยมมาก
คนหมู่หน้าตลาด


โดย: craby_25@hotmail.com IP: 202.29.20.189 วันที่: 8 พฤศจิกายน 2551 เวลา:14:17:33 น.  

 
เยี่ยมมากๆเลยครับ ที่ภูเกษตรยังมีที่ท่องเที่ยวอีก เช่น อ่างกกฮัง,อ่างกกแพง,ศิลจากธรรมชาติสวยงามมากๆ และมีอีกหลายทีอยากให้นำเสนอ


โดย: ขวัญ หนองไฮ จากเกาหลี IP: 220.88.147.26 วันที่: 16 ธันวาคม 2551 เวลา:22:36:41 น.  

 
ดีมากๆครับ


โดย: หนุ่มกำพร้าเมีย IP: 220.88.147.26 วันที่: 19 ธันวาคม 2551 เวลา:22:41:51 น.  

 
คนหนองทับม้า ตอนนี้อยู่มาบตาพุดระยอง


โดย: Chit IP: 203.130.145.99 วันที่: 24 ธันวาคม 2551 เวลา:19:29:55 น.  

 
คนหนองทับม้า ตอนนี้อยู่มาบตาพุด ระยอง


โดย: Chit IP: 203.130.145.99 วันที่: 24 ธันวาคม 2551 เวลา:19:31:52 น.  

 
คิดถึงเสนางมากเยย ..จากมา 10 ป๊แล้ว ใครเกิด 2526 โท
รคุยบ้างดิ


โดย: อุ๊ IP: 124.122.78.224 วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:13:51:22 น.  

 
คิดถึงเสนางมากเยย ..จากมา 10 ป๊แล้ว ใครเกิด 2526 โท
รคุยบ้างดิ 087-910-8773......084-427-0119
คิดถึง บ้านโพนทอง โปร่งหิน นาไร่ใหญ่ ศรีราชา หนองสามสี โคกสะอาด และทุกหมู่บ้านในเสนาง ใครรู้จักอุ๊โทรมาหน่อยน๊ะ ...ขอร้อง


โดย: อุ๊ IP: 124.122.78.224 วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:13:54:41 น.  

 
ข่อยคนบ้านโพนทอง คิดถึงหมู่ 4 ของเฮาเนาะ
ใครอยู่แถวชลบุรีจะกลับเที่ยว สงกรานต์ โทรมาชวนบ้างเด้อ
08-24695413


โดย: kwan1607@hotmail.com IP: 115.67.44.234 วันที่: 17 มีนาคม 2552 เวลา:16:05:15 น.  

 
อย่าลืมไปเที่ยวภูโพนทองน่ะ สวยมาก


โดย: เด็กพ.ท. IP: 124.120.148.91 วันที่: 31 ตุลาคม 2552 เวลา:12:16:46 น.  

 
ไม่รู้ว่ามีเว็ปบ้านตัวเอง ในสร้างเว็ปอ่ะ


โดย: เด็กเสนางฯ IP: 192.168.105.117, 202.29.20.105 วันที่: 3 พฤศจิกายน 2552 เวลา:11:17:33 น.  

 
หวัดดีชาวเสนางทุกคน ไม่รู้ว่ามีเว็บเสนางเหมือนกันอ่ะ
จะกลับบ้านปีใหม่อ่ะ ใครกลับบ้างคะ


โดย: ผู้สาวหนองทับม้า ม.3 เสนางค์ IP: 203.144.183.117 วันที่: 14 พฤศจิกายน 2552 เวลา:12:22:37 น.  

 
อยากติดต่อมด พาสนา มณีศิลป์ จำเพื่อนที่เคยเขียนจดหมายถึงกันบ่อยๆ ได้ไหม ตอนประถม ที่อยู่บ้านสมสะอาด คิดถึงเพื่อนนะ เดี่ยวมีโอกาสจะโทรหาจ้า


โดย: งาม (งามตา เกตุกุล) IP: 203.144.144.164 วันที่: 8 มีนาคม 2553 เวลา:15:13:29 น.  

 
ตอยนี้เรียนยุ่ที่กาฬสินธุ์

อยากกลับไปหาเพื่อนๆๆๆมากเรย

ไม่รู้จะลืมกันยัง จบ ม.6 ปี2007

ร.รเสนางฯ ใครทำไรบ้างน๊า

อยากรู้จัง


โดย: ยุ้ย (บ้านโพนทอง กียารัตน์ สีสมบัติ) IP: 222.123.11.191 วันที่: 19 เมษายน 2553 เวลา:23:49:46 น.  

 
ผมเป็นคนบ้านโพนทองคับ

มาเรียนต่อที่ กรุงเทพ

คิดถิงบ้านโพนทอง มากๆๆๆๆ

คิดฮอด พ่อ แม่ ญาติ พี่น้อง

จะพากันเป็นจังได๋น้อปานนี้...สำบายดียุบ้อ

อยากกลับบ้านเฮาหลายๆๆ........

คือจะพากันลงนา ละน้อ ปานนี้


โดย: x โพนทอง IP: 110.164.163.57 วันที่: 30 มิถุนายน 2553 เวลา:10:13:56 น.  

 
คิดถึงบ้านโพนทองจังเลย คิดถึงยายพันธ์ กับเฟริ์สอ้วนจังเลย


โดย: หญิงจ้า IP: 192.168.2.139, 203.144.226.193 วันที่: 29 กรกฎาคม 2553 เวลา:9:36:46 น.  

 
แล้วเพื่อนๆในนี้ ใครเล่น facebook บ้างล่ะอย่าลืมเข้าไปแ๊อ๊ด อำนาจจเจริญ จังหวัดของเราตอนนี้มีสมาชิกเกือบ ร้อยคนแล้ว..
:)


โดย: ่j่j. IP: 124.121.177.84 วันที่: 11 สิงหาคม 2553 เวลา:11:46:34 น.  

 
เป็นแฟนกะคนเกิดบ้านหนองทับม้า อ.เสนางคนิคม เคยไปที่นั่นเมื่อไม่กี่เดือนที่แล้ว อยากมีเพื่อนที่อยู่ที่นั่นจัง ที่นั่นมีงานอะไรบ้าง เดี๋ยวอนาคตอาจได้ไปอยู่ อิอิ

som_ro@hotmail.com


โดย: ไร้ตัวตน IP: 118.175.3.197 วันที่: 16 สิงหาคม 2553 เวลา:15:29:47 น.  

 
ใครอยู่บ้านหนองไฮ บ้างครับ ทักทายหน่อย


โดย: คนหนองไฮ IP: 172.30.1.179, 125.26.118.44 วันที่: 25 กันยายน 2553 เวลา:14:55:02 น.  

 
ได้อ่าานบทความแล้ว คิดถึงบ้าน จัง


โดย: ป๊อบ IP: 203.154.237.55 วันที่: 1 ธันวาคม 2553 เวลา:14:25:11 น.  

 
เรากะฮักบ้านเกิดเนาะ บ้านโพนทอง จะยู่ที่ไหนก้อไม่สุขใจเท่าบ้านเรา


โดย: จิ๊บลูกสาวกำนัน โพนทอง IP: 113.53.93.143 วันที่: 10 ธันวาคม 2553 เวลา:18:50:21 น.  

 
ประวัติบ้านโพนทอง
บ้านโพนทองเริ่มก่อตั้งหมู่บ้านที่บ้านคึม ตาล ประมาณ 211 ปีมาแล้วเริ่มแรกสันนิฐานกันว่าน่าจะเป็นชุมชนขอมอยู่เดิม ซึ่งอาจอยู่ในช่วงเดียวกันกับเมืองอำนาจเจริญ ต่อมาได้ย้ายชุมชนมาตั้งอยู่ที่โนนบ้านโพนทอง(ปัจจุบันคือบริเวณหอปู่ตาบ้านโพนทอง) คำขวัญของหมู่บ้านที่ว่า “ โพนทองเมืองเก่า เผ่าเทพวงษา อาชญาท่านศรี นาดีข้าวอ่อน ฟ้อนนกกาบบัว ครอบครัวอัครฮาช”
ปัจจุบัน บ้านโพนทอง ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ ไปทางทิศตะวันออกเป็นระยะทาง 9 กิโลเมตร อาณาเขตด้านทิศตะวันออกติดต่อกับตำบลหนองไฮ ด้านทิศตะวันตกติดต่อกับตำบลเสนางคนิคม ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับตำบลป่าก่อ อำเภอชานุมาน ด้านทิศใต้ ติดต่อกับตำบลคึมใหญ่ อำเภออำนาจเจริญ
อาชีพหลักของประชาชนในอดีต คือ การทำนา อาชีพรองคือ การทำไร่ปอ ไร่ฝ้าย ไร่พริก เลี้ยงไหม และทำไต้ เฉพาะบางครอบครัว ปัจจุบันเริ่มมีการทำสวนยางพาราควบคู่ไปกับการทำนาทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นกว่าเดิมมาก
ภูมิประเทศด้านทิศเหนือของบ้านโพนทอง ห่างออกไป 5 กิโลเมตรเป็นเทือกเขาติดต่อกับเทือกเขาภูพาน จังหวัดสกลนคร ภูเขาตรงกับบ้านโพนทอง ชื่อภูโพนทอง ถัดออกไปเป็นป่าดงใหญ่ เรียกว่า “ดงบังอี่” บังอี่เป็นชื่อของลำห้วย คำว่าบังตรงกับที่ภาคกลางเรียกว่า บางแต่อีสานเรียกสั้นๆ บัง


การสร้างบ้านแปงเมือง
ประวัติบ้านโพนทองนั้น สมเด็จพระมหาวีรวงศ์(ติสสมหาเถระ) ปฐมสังฆนายกอดีตเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานครได้กล่าวไว้ในหนังสือผูกพัทธสีมา วัดสุปัฏนาราม จังหวัดอุบลราชธานี (พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2478) ว่า “ในรัชการที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์นี้ เมื่อลุพ.ศ. 2357 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเมืองเขมราฐ และเมืองยโสธรทั้งสองเมืองในคราวเดียวกันฯ ก็แหละ เมืองเขมราฐนี้ตามนัย ในพงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสานของหม่อมอมรวงศ์วิจิตร (ม.ร.ว. ปฐม คเนจร) นั้นว่า “ยกบ้านโคกก่งพะเนียง เป็นเมืองเขมราฐ” ดังนี้ แต่ความจริงบ้านโคกกงพะเนียงยกไปอยู่ทีหลัง เมื่อก่อนนั้นเมืองอยู่ตำบลบ้านโพนทอง ท้องที่อำเภอบุ่งเดี๋ยวนี้ ปัจจุบันคือ อำเภอเมืองอำนาจเจริญ และชื่อของเมืองนั้น เมื่อก่อนนัยว่า เป็น“เหมราฐธานี”ข้อนี้น่าจะเหมาะสม เพราะว่า เหมะ ก็แปลว่า ทอง ตรงกับตำบลบ้านโพนทองทั้งนี้ขอฝากนักประวัติศาสตร์และผู้สนใจใฝ่รู้ได้ใช้เป็นแนวทางศึกษาต่อไป ตามหลักฐานนี้แสดงว่า บ้านโพนทองเดิมเป็นเมืองชื่อ “เหมราฐธานี”
หลักฐานทางโบราณวัตถุ
เมืองเหมราฐธานีนี้ เป็นเมืองเก่าจะตั้งขึ้นในยุคใด ไม่มีใครทราบ แต่สันนิษฐานว่าคงไม่เกินสมัยอยุธยา เพราะสมัยนั้น ดินแดนแถบนี้ขึ้นอยู่กับนครจำปาศักดิ์ ที่เป็นเมืองลูกหลวงของเวียงจันทน์ สันนิษฐานว่า เป็นเมืองเก่าและไม่เกินสมัยอยุธยานั้น เพราะเหตุผล 4 ประการ คือ
1. ชื่อเมืองเหมราฐธานี เป็นคำที่แผงมาจากภาษาบาลีว่า เหมรัฏฐ คงตั้งเมื่อสมัยกรุงศรีสัตนาคนหุต ได้มีการศึกษาภาษาบาลีเจริญแล้ว ไม่ใช่สมัยขอม(ลพบุรี)
2. มีซากวัดเก่าอยู่ทางคุ้มบ้านใต้ ซึ่งเรียกกันเล่นว่า คุ้มบ้านโนนโพธิ์ เพราะมีต้นโพธิ์เหลืออยู่ 2 ต้น ไม่มีกู่หรือปรางค์สร้างด้วยศิลาแลงแบบขอม
3. เมื่อขุดลงไปที่ซากวัดเก่านี้ ลึกประมาณ 2 ฟุต จะพบก้อนอิฐในที่บางแห่ง น่าเสียดายที่ทุกวันนี้ปลูกบ้านคร่อมหมดแล้ว
4. ที่ตั้งบ้านโพนทองในปัจจุบันนี้ แต่ก่อนเรียก ดอนเมือง
เมื่อเพียโคตรหลักคำ พาลูกหลานอพยพจากบ้านเก่า ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านในปัจจุบันนี้ ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 1 กิโลเมตร มาตั้งอยู่ที่ดอนเมืองแล้ว ต่อมาถึงสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองอุบลมีพลเมืองมากขึ้น จึงได้ขยายออกไปตั้งเมืองใหม่ คือเมืองเหมราฐธานี(ภายหลังเพี้ยนมาเป็นเมืองเขมราฐ) ขึ้นที่บ้านโพนทอง ฉะนั้นบ้านโพนทองจึงได้แบ่งหมู่บ้านออกเป็น 4 คุ้ม คือ
1. คุ้มบ้านใต้(เมืองตอนใต้)
2. คุ้มบ้านใน(ในเมือง)
3. คุ้มบ้านโนน(ถัดคุ้มบ้านในไปทางทิศตะวันออก)
4. คุ้มบ้านตากแดด(ถัดคุ้มบ้านโนนออกไปอีก)
การแบ่งหมู่บ้านแบบนี้เป็นการแบ่งตามแบบเมืองสมัยนั้นที่แบ่งเป็นคุ้ม ๆ และเรียกกันมาจนทุกวันนี้ที่คุ้มบ้านในนี้มีเดิ่นโฮง ซึ่งเป็นลานสำหรับประชุมปรึกษาหารือกิจการบ้านเมือง
ห่างจากเดิ่นโฮงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 60 เมตร เป็นที่ตั้งโฮง ซึ่งเป็นที่อยู่ของเจ้าเมือง นาที่อยู่ด้านหลังโฮง เรียกว่า “ นาน้อยหน้าโฮง” จนกระทั่งทุกวันนี่ ห่างจากเดิ่นโฮงลงไปทางทิศใต้ประมาณ 40 เมตร มีศาลาที่ว่าการ ซึ่งต่อมาเป็นศาลากลางบ้านสำหรับข้าราชการที่มาตรวจราชการพักอาศัย หรือศาลาทำบุญกลางบ้านสำหรับคุ้มนี้
อนึ่ง ดินแดนแถบนี้ เดิมคงเป็นถิ่นที่อาศัยของพวกขอมมาก่อน เพราะมีสถานที่แห่งหนึ่ง ห่างจากบ้านโพนทองไปทางทิศพายัพประมาณ 1 กิโลเมตร เรียกว่า “คึมบ้านตาล” เมื่อ 70 ปีถอยหลังไป ยังเป็นป่าไม้เบญจพรรณ เป็นที่เลี้ยงสัตว์ของผู้มีนาใกล้เคียงในฤดูฝน สันนิษฐานว่า เป็นบ้านของพวกขอมในสมัยโบราญ เพราะด้านตะวันตกของโคกคึมบ้านตาลนี้ เมื่อนายสมบูรณ์ โคระศรี บุกเบิกทำนา พบไหบรรจุอัฐิขอมหลายใบ แต่เขาทุบทำลายทิ้งหมดทุกครั้งที่พบ เพราะไม่รู้คุณค่าของโบราณวัตถุ เมื่อคนไทยอพยพมาอยู่ถิ่นนี้ คงไม่อยากอยู่บ้านเก่าของขอม จึงได้ไปตั้งเมืองเหมราชธานีอยู่ทางทิศอาคเนย์ของคึมบ้านตาล
บ้านโพนทองปัจจุบันตั้งมาแต่เมื่อไร
บ้านโพนทองเดิมตั้งอยู่ที่บ้านเก่า ทางทิศตะวันตก ตั้งมาแต่เมื่อไรไม่มีใครทราบ แต่สันนิษฐานว่า เมื่อเมืองเหมราฐธานีร้างแล้ว คงจะแยกย้ายออกเป็นหมู่บ้านต่างๆ เช่น บ้านโพนทอง บ้านเกษก (เกษตร) ในเขตตำบลหนองไฮ บ้านคูณเฮือน ในเขตตำบลคึมใหญ่ และบ้านเดื่อ บ้านเหล่าในเขตตำบลเสนางคนิคม ซึ่งบ้านเหล่านี้ ภายหลังได้กลายเป็นบ้านร้างไปหมด คงเหลือแต่บ้านโพนทอง คือบ้านเกษกได้แยกออกไปเป็น บ้านลุมพุกแล้วย้ายไปอยู่บ้านหนองไฮบ้าง บ้านโนน หนองมะเสี่ยง บ้านสว่าง และขยายออกเป็นบ้านอื่นๆอีก ที่ขึ้นอยู่กับตำบลหนองไฮ นอกจากนี้ยังได้แยกไปอยู่ที่บ้านโนนตูม แล้วย้ายไปอยู่บ้านคึมใหญ่ ขยายออกไปเป็นบ้านดอนไร่ บ้านภูเขาขาม บ้านนาคำบางส่วน บ้านนาแต้เป็นต้น ที่ขึ้นอยู่กับตำบลนาแต้
บ้านคูณเฮือนแตกแล้ว แยกไปเป็นบ้านกุดน้ำกิน บ้านหัวภู และบ้านนาคำบางส่วน ขึ้นอยู่กับ ตำบลคึมใหญ่ และบ้านคึมข่าบางส่วน ขึ้นอยู่กับตำบลเสนางคนิคม
บ้านเดื่อแตกแล้ว ไปตั้งเป็นบ้านหนองทับม้า บ้านเหล่าแตกแล้ว ส่วนมากไปตั้งอยู่บ้านหนองทับม้า และบางส่วนอยู่บ้านบก ตำบลเสนางคนิคม
ส่วนบ้านโพนทอง เดิมอยู่บ้านเก่า ภายหลังไปตั้งอยู่ที่ดอนเมือง แต่บางส่วนได้ย้ายไปอยู่ที่บ้านคึมข่า รวมกับบางครอบครัวที่อพยพจากบ้านคูณเฮือน ต่อมาเมื่อพลเมืองเพิ่มมากขึ้นที่อยู่คับแคบ จึงแยกออกไปเป็นบ้านสวนโคก บ้านหนองโน (หนองโสน) บ้านโป่งหินและบ้านสว่างด้านตะวันตก เพื่อให้ใกล้นาของตน จะได้สะดวกในการประกอบอาชีพ


ระยะเวลาตั้งบ้านโพนทองปัจจุบัน (ประมาณ พ.ศ. 2335-2350)
หลังจากพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเมืองอุบลราชธานีขึ้นในปี พ.ศ.2323 แล้ว ต่อมาในปี พ.ศ.2325 รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสิลทร์ ได้ทรงสถาปนานามเมืองใหม่ว่า “อุบลราชธานีศรีวนาลัยประเทศราช” และทรงสถาปนาเจ้าเมืองให้เป็น “พระปทุมวรราชสุริยวงศ์” มีศักดิ์เป็นเจ้าประเทศราช คือมีตำแหน่งอุปราช ราชบุตร ราชวงศ์ เหมือนเจ้ายั้งขม่อมทั้ง 5 ของประเทศลาวสมัยนั้นขาดตำแหน่ง เจ้าราชสัมพันธ์ตำแหน่งเดียว ตำแหน่งเหล่านี้ ลูกหลานและชาวบ้าน เรียกกันว่าเจ้า เช่นเจ้าเมืองเหมราชคนแรก คือพระเทพวงศา (ก่ำ) ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งราชวงศ์คนที่ 1 แล้วเลื่อนเป็นอุปราชคนที่ 2 ของเมืองอุบลฯ ลูกหลานทางบ้านโพนทองเรียกกันจนติดปากว่า “อาชญาเฒ่าเจ้าก่ำ”
อนึ่ง ท้าวหน้าที่ไปครองจำปาศักดิ์ ก็เป็นพระเจ้าวิไชยราชขัตติยวงศา และผู้ครองเมืองนครพนม ก็ได้นามว่า พระบรมฯ ซึ่งมีศักดิ์เป็นเจ้าประเทศราชเหมือนกัน เครื่องยศก็มีสัปทนด้วย คงจะแทนฉัตรนั่นเอง ภายหลังเจ้านายสี่ตำแหน่งนี้ เรียกว่า อาชญาทั้งสี่ คำพูดที่ลูกหลานหรือชาวบ้านพูดกับท่านเหล่านี้ ก็เรียกว่า “อาชญา” หรือ “อัชญา” ใช้แทนชื่อตังเองว่า “ข้าบาท” หรือ “กะบาท”
บ้านโพนทองและบ้านเกษก(เกษตร) ตั้งอยู่ชายดงบังอี่ (บางอี่) ใกล้กับภูโพนทองและภูเกษก(เกษตร) มีสัตว์ป่าอุดมสมบูรณ์ เจ้าเมืองอุบลฯ จึงส่งนายพรานนู (ภายหลังได้รับขนานนามว่า เพียโคตรหลักคำ) พร้อมด้วยญาติพี่น้องขึ้นไปอยู่บ้านโพนทอง เพื่อหาเขี้ยว เขา นอ งา และสัตว์ป่าส่งเมืองอุบลฯ นัยว่านายพรานนูคนนี้ เดิมอยู่บ้านบุ่งมะแลง ตำบลท่าช้าง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เมื่ออพยพไปครั้งแรก ได้ไปตั้งทัพอยู่ที่หนองทับม้า ตำบลเสนางคนิคม อำเภอเสนางคนิคมปัจจุบันนี้ ใกล้กับบ้านเดื่อ บ้านเหล่า ก่อน แล้ว ภายหลังจึงเคลื่อนย้ายไปอยู่บ้านโพนทอง
เข้าใจว่าครอบครัวส่วนมากคงจะอยู่บ้านหนองทัพม้ามากกว่าไปอยู่บ้านโพนทอง ทั้งนี้เพราะสำเนียงพูดของชาวบ้านหนองทับม้า ตำบลเสนางคนิคม ปัจจุบันนี้ ยังเป็นสำเนียงเดียวกันอยู่กับสำเนียงในเมืองอุบลฯ คือออกเสียงอักษร ด เป็นอักษร ล และอักษร ล แนอักษร ด เช่น ดำแดง เป็นลำแลง ลิ่น แลน เป็น ดิ่น แดน เป็นต้น และออกเสียงสระไอไม้ม้วนแนเสียง เอ็ย เช่น “ไปไส” เป็น “ไปเส็ย หรือ “ไปเซ็ย” เสียงสูง ตามอักษร ส ซึ่งแทนอักษรสูง “เฮ็ดหยัง” เป็น “เฮ็ดยัง” เป็นต้น ทั้งนี้ เพราะจำนวนคนที่ไปอยู่ใหม่คงมากกว่าเจ้าถิ่น คือบ้านเดื่อ บ้านเหล่า ซึ่งออกเสียงอักษร ด และล ถูกต้องตามปกติ แต่ออกเสียงสระเอือ เป็นสระเอีย เช่น เมือง เป็น เมียง เหลือง เป็น เหลียง เป็นต้น เหมือนที่บ้านไร่สีสุก บ้านเหล่าหนาด และบ้านนาเรือง บ้านเกษก (เกษตร) และบ้านที่แยกไปจากบ้านเกษกทุกบ้าน
สำหรับบ้านโพนทองนั้น สำเนียงเหมือนอุบลฯ เฉพาะอักษร ด และ ล และสระเอือ ส่วนสำเนียงสระไอไม้ม้วน ออกเสียงธรรมดา ไม่เป็นเสียง เอ็ย เหมือนอุบลฯ ทั้งนี้ อาจจะเป็นเพราะจำนวนคนที่อพยพมาใหม่ กับคนเจ้าถิ่นมีจำนวนเท่าๆกันนั่นเอง
นายพรานนู มีตำแหน่งเป็นเพีย เรียกว่า “เพียโคตรหลักคำ” เมื่อพาลูกหลานมาอยู่บ้านโพนทอง (บ้านเก่า) แล้ว ได้พาลูก หลาน บุกเบิกจับจองที่ดินริมห้วยพาคก ตั้งแต่หนองใหญ่ลงไปจนถึงหนองสิมใต้ เป็นนาของตระกูลนี้ทั้งหมด ซึ่งเป็นทำเลดีมาก มีหนองน้ำหลานหนอง คือ หนองใหญ่ หนองสิมเทิง หนองโดน และหนองสิมใต้
ระยะเวลาที่เพียโคตรหลักคำพาลูกหลานอพยพไปอยู่บ้านโพนทอง (บ้านเก่า) นั้น ตกอยู่ในระหว่าง พ.ศ. 2335-2350 สมัยเจ้าเมืองอุบลฯ คนแรกและคนที่ 2 ต่อมาเพียโคตรหลักคำ จึงได้พาลูกหลานย้ายตั้งบ้านใหม่ที่ดอนเมือง ซึ่งขณะนั้นเป็นป่าดง มีช้าง เสือ อาศัยอยู่ เช่นที่สระตะวันตกบ้านทุกวันนี้ เรียก “โสกเสือ”
บ้านที่ตั้งใหม่นี้ คงเรียกว่าบ้านโพนทองตามชื่อเดิม อยู่ห่างจากบ้านเก่าไปทางทิศตะวันออกประมาณ 1 กิโลเมตร ที่บ้านของท่านคงเป็นที่ตั้งหออัครฮาชนั้นเอง ตามธรรมดาหมู่บ้านทางภาคอีสานมีหอเทพารักษ์หรือศาลเจ้าประจำหมู่บ้านแห่งเดียว คือ “หอปู่ตา” หมายถึง ที่บ้านโพนทองมีหอถึง 3 หอ คือหอ 1 อยู่ทางทิศตะวันตกของบ้านได้แก่หอปู่ตา อีก 2 หออยู่กลางบ้าน คุ้มบ้านโนน หอหนึ่งเรียกว่า “หอมเหมศักดิ์” อีกหอหนึ่งเรียกว่า “หออัครฮาช”
ในแต่ละปีจะมีประเพณีบุญเลี้ยงปู่ตา และบุญบั้งไฟประจำปี จะมีลูกหลานชาวตำบลโพนทองได้อุปสมบทหมู่ด้วย ปีละ 20 – 30 คน ดั่งคำขวัญของหมู่บ้านที่ว่า “ โพนทองเมืองเก่า เผ่าเทพวงษา อาชญาท่านศรี นาดีข้าวอ่อน ฟ้อนนกกาบบัว ครอบครัวอัครฮาด “
ข้อมูลโดย คันแท ทุ่งทองกวาว kantaena@hotmail.com


โดย: คันแท ทุ่งทองกวาว IP: 113.53.200.156 วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:12:36:04 น.  

 
เหตุการณ์สำคัญของอำเภอเสนางคนิคม
เหตุการณ์กบฏผีบุญที่อำเภอเสนางคนิคม
ในปี พ.ศ.2443 เกิดขึ้นที่บ้านหนองทับม้า ก่อนนั้นได้มีข่าวลือไปทั่วแดนอีสานว่า หินกรวด ที่อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จะกลับมากลายเป็นเงินเป็นทอง ทำให้มีคนทั่วทุกสารทิศหลั่งไหลไปที่อำเภอเสลภูมิ ชาวบ้านหนองทับม้า ก็เดินทางไปด้วย และในช่วงเวลาเดียวกัน ก็ได้มีข่าวลือแพร่กระจายออกไปว่า ฟักทองน้ำเต้า จะกลับกลายเป็นช้าง เป็นม้า ควายเผือก ควายทุยจะกลับมาเกิดเป็นยักษ์กินคน ท้าวธรรมิกราชจะมาเกิดเป็นเจ้าโลก ผู้หญิงที่เป็นโสดให้รีบมีสามี มิฉะนั้นจะถูกยักษ์จับไปกิน บ้านเมืองจะเกิดเภทภัยใหญ่หลวง ข่าวลือนี้ทำให้ชาวบ้านหวาดกลัวแตกตื่นไปทั่ว
ขณะนั้น ได้มีผู้อ้างตัวเป็นผู้วิเศษ เดินทางมาจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ชื่อ องค์มั่น และองค์เขียว แต่งตัวนุ่งขาวห่มขาวด้วยผ้าจีบต่าง ๆ กัน มีปลอกใบลานเป็นคาถาสวมศีรษะ ปรากฏตัวที่บ้านสะพือ อำเภอตระการพืชผล ให้ชาวบ้านมารดน้ำมนต์ และให้ผู้วิเศษเสกคาถาอาคมให้ นอกจากนั้นยังมีข่าวอีกกระแสหนึ่งบอกว่า ผู้วิเศษเหล่านั้นได้เตรียมการ จะยกทหารจากเวียงจันทน์เข้ามาตีเมืองอุบล ฯ
เมื่อข้าหลวงใหญ่ต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลลาวกาว ทราบข่าวจึงได้ขอกำลังจากหัวเมืองต่าง ๆ มาช่วยจนปราบได้ราบคาบ และจับผู้นำคนสำคัญคือ องค์มั่น กับองค์เขียว มาผูกมัดไว้บริเวณทุ่งศรีเมือง ถึงเจ็ดวันเจ็ดคืน คณะตุลาการจึงได้ตัดสินประหารชีวิต โดยตัดหัวเสียบประจานไว้ที่กลางทุ่งศรีเมือง
ส่วนทางเมืองเสนางคนิคมนั้น ก็ได้มีเหตุการณ์คล้าย ๆ กันคือ ได้มีพ่อใหญ่พิมสาร เดินทางมาจากบ้านด่านหนองสิม อำเภอเลิงนกทา อ้างว่าเป็นผู้วิเศษ หลอกลวงให้ชาวบ้านโกนหัว ถ้าใครไม่ทำตามยักษ์จะจับเอาไปกิน และหากครัวเรือนใดมีควายเผือก ควายทุยให้เอาไปฆ่าทิ้งเสีย เมื่อทางราชการเมืองอุบล ฯ ทราบข่าวจึงให้ทหารและเจ้าหน้าที่ ออกไปสืบข่าวได้ความว่า ผู้ที่หลอกลวงชาวบ้านให้โกนหัวคือ เฒ่าพิมสาร และพ่อใหญ่ทิม จึงจับตัวไปมัดไว้ที่นาหนองกลาง อีกสามวันต่อมาก็ถูกประหาร และนำหัวไปเสียบประจานไว้ ทางด้านตะวันออกของวัดโพธาราม

สงครามประชาชน - กำเนิดยุทธภูมิภูสระดอกบัว 2508 – 2525
หลังจาก สมัชชา2 ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) มีนโยบายขยายงานเข้าสู่ชนบท จึงได้ส่งผู้ปฏิบัติงานของพรรคลงสู่ชนบททั่วประเทศ เพื่ออำพรางรูปการจัดตั้งของพรรคฯ จึงเริ่มเคลื่อนไหวในรูปของ “องค์การไทยกู้ชาติ” (ทกช.) ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น “องค์การชาวนากู้ชาติ” (นกช.) ที่บ้านนาไร่ใหญ่ อ.เสนาคนิคม “ชายแปลกหน้า” เป็นชาวใต้ เข้ามาอาศัยในหมู่บ้านมีอาชีพช่างไม้ ได้ทำมาหากินร่วมทุกข์ร่วมสุขกับชาวบ้านอย่างสนิทแนบ จนได้แต่งงานกับสาวนาไร่ใหญ่ (ชายผู้นั้นคือ นายประจวบ เรืองรัตน์ หรือสหายสยาม) กว่าชาวบ้านจะรู้ว่าชายแปลกหน้าเป็นใครก็จนเข้าเป็นสมาชิก นกช. ต่อมาสมาชิก นกช.ได้ขยายออกไปอีกหลายหมู่บ้าน เมื่องาน นกช.ขยายไปมากทำให้ทางการเริ่มสงสัยการเคลื่อนไหว ประมาณปี 2506 มีชาวบ้านที่เป็นสมาชิก นกช. ถูกตำรวจจับตัวไปสอบสวนหลายคน ทำให้เหล่าสมาชิก นกช. ต่างหนาวๆร้อนๆไปตามๆกัน ปลายปี 2507 ชั้นบนได้เสนอให้ผู้ที่เด่นแดงอยู่บ้านไม่ได้ ให้เตรียมตัวเข้าป่า พอปี 2508 จากการใช้มาตรการทางทหารของฝ่ายรัฐบาล ทำให้ชาวบ้านหนีเข้าป่ามากขึ้น จนต้องมีการจัดรูปขบวนใหม่ในลักษญะกองทหาร กองทหารรุ่นแรกๆเข้าใจว่าก่อตั้งที่บ้านบุ่งมะเห ภูกะเสด ต.โพนทอง อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลฯ (ปัจจุบันอยู่ใน อ.เสนางคนิคม จ.อำนาจเจริญ) มีทหารประจำเพียง 12 คน เนื่องจากมีปืนทันสมัยเพียงแค่นั้น ส่วนใหญ่จึงมีพร้า ปืนแก๊ป เห็นอาวุธประจำกาย ในระยะนั้นความรู้ทางการทหารยังไม่มี จึงไม่สามารถต่อกรกับทางการได้ ความอดยาก ลำบากจึงเกิดขึ้นเมื่อคนมากๆ ทำให้ส่วนหนึ่งต้องกลับคืนบ้าน พอทางการปราบหนักอีกชาวบ้านก็หนีเข้าป่าอีก บางช่วงมากถึง 200คน พอปี 2509 มีความยากลำบากมากอีก ส่วนใหญ่ต้องกลับบ้านจนเหลือคนเพียง 13 คน ในเขต อำนาจเจริญ ต่อมาเมื่อสมาชิกที่ถูกส่งไปศึกษาที่จีนและเวียดนามกลับมา รูปแบบการจัดตั้งและการต่อสู้ในสงครามกองโจรจึงได้พัฒนาขึ้นจนกระทั่ง เสียงปืนนัดแรกดังขึ้น เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2508 ที่บ้านนาบัว อ.เรณูนคร จ.นครพนม เป็นการประกาศสงครามประชาชนตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ในจังหวัดอำนาจเจริญโดยเฉพาะในพื้นที่รอยต่อระหว่างอำเภอเสนางคนิคม อำเภอชานุมาน อำเภอเขมราฐ อำเภอดอนตาล และอำเภอเลิงนกทา ได้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองเป็นพื้นที่สีชมพูจนถึงสีแดงจัด ศูนย์กลางขบวนการอยู่ภายในเขตภูสระดอกบัว (เขตภูสระดอกบัวหรือ กจ.444 อีสานเหนือพื้นที่รอยต่อ มุกดาหาร-ยโสธร-อุบลฯตอนเหนือ(ปัจจุบันเป็นจ.อำนาจเจริญ) ครอบคลุม อ.เมือง อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร อ.นิคมคำสร้อย อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร อ.เสนางคนิคม อ.ชานุมาน อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี มีภูสระดอกบัว ภูหมู เนื่อง จากพื้นที่นี้ติดกับแม่น้ำโขง ในอดีตผู้คนสองฝั่งโขงมีการติดต่อสัมพันธ์กันมาช้านาน จนเป็นพี่น้องเครือญาติ ช่วงที่ลาวมีการเคลื่อนไหวของแนวร่วมรักชาติลาวเพื่อเอกราชจากฝรั่งเศสและ ต่อมาต่อสู้เพื่อปลดปล่อยลาว ทำให้ความรู้เรื่องการปฏิวัติจึงได้ยินมาก่อนหน้านี้ จนกระทั่งบางคนได้รับการชักชวนให้ไปช่วยทำการปฏิวัติลาว) มีการจัดตั้งกองกำลังติดอาวุธ เพื่อต่อสู้กับทางราชการ หมู่บ้านที่มีการจัดตั้งกองกำลังมากที่สุดคือ บ้านโพนทอง บ้านโป่งหิน บ้านหนองโน บ้านสามโคก บ้านน้อยดอกหญ้า บ้านนาไร่ใหญ่ และบ้านนาสะอาด ทั้งหมดอยู่ในเขตอำเภอเสนางคนิคม กองกำลังติดอาวุธอาศัยอยู่ในป่าภูโพนทอง ภูสระดอกบัว ภารกิจหลักของกองกำลังติดอาวุธคือ การหามวลชนเพิ่ม การยึดพื้นที่เพื่อแสดงอำนาจ และขยายอาณาเขตการทำงาน โดยจัดกำลังเข้าปะทะกับกองกำลังของทางราชการด้วยอาวุธสงคราม การจัดงานบุญงานประเพณีต่าง ๆ ในเวลานั้นไม่สามารถจัดในเวลากลางคืนได้ จะทำได้เฉพาะเวลากลางวันเท่านั้น การพัฒนาต่าง ๆ หยุดชะงักลง
ความขัดแย้งและการต่อสู้ค่อย ๆ ลดลง และยุติการต่อสู้ เมื่อปี พ.ศ.2522 เหตุผลที่ยุติคือ ทางราชการได้กระจายความเจริญเข้าสู่พื้นที่ ทราบความต้องการและเข้าใจปัญหาของประชาชน ให้ความช่วยเหลือกลุ่มที่เคยต่อสู้กับทางราชการ โดยการจัดหาที่ทำกินให้ และลดเงื่อนไขแห่งความขัดแย้งต่าง ๆ ลง นอกจากนั้นสัญญาที่พรรคคอมมิวนิสต์เคยให้ไว้ แก่ประชาชนที่เข้าร่วมขบวนการว่า พรรคจะให้เงิน รถไถนา และรถแทรกเตอร์ ตลอดทั้งยศ ตำแหน่งต่าง ๆ เป็นเพียงโฆษณาชวนเชื่อ ทำให้กลุ่มผู้หลงผิดไม่เชื่อถือ และกลับใจให้ความร่วมมือกับทางราชการ ตั้งแต่นั้นมา จนวันนี้พี่น้องสายเลือดเดียวกัน ทั้งชาวตำบลโพนทอง ชาวบ้านนาไร่ใหญ่ ต่างก็เป็นกำลังหลักในการเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไท (ผรท.) ตั้งแต่ วันที่ 1 ธันวาคม 2525 เป็นต้นมา


โดย: คันแท ทุ่งทองกวาว IP: 113.53.201.83 วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:12:38:18 น.  

 
ประวัติเมืองเสนางคนิคม
เมืองเสนางคนิคม เดิมตั้งขึ้นตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ.2388 ที่บ้านช่องนางหรือสองนาง (ชาวบ้านเรียกตามนิยายหรือตำนานเจ้าแม่สองนางของจังหวัดมุกดาหารว่า เสียนาง ภาษาผู้ไทหรือภูไทออกสียงสระเอียเป็นสระเอ จึงกลายเป็นเสนาง) เนื่องด้วยพระพรหมราชวงศา (ท้าวทิดพรหม) เจ้าเมืองอุบล ฯ คนที่ 2 ได้นำพระจันศรีสุราช เจ้าเมืองตะโปน ท้าวอุปฮาด เมืองจำพร ท้าวฝ่ายเมืองผาบัว และท้าวมหาวงศ์ เมืองกาว ได้พาครอบครัวไพร่พลรวม 1,847 คน เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้มาตั้งอยู่ที่บ้านช่องนาง แขวงเมืองอุบล ฯ และได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งบ้านเป็นเมืองเสนางคนิคม ให้พระจันศรีสุราช เป็นที่ พระศรีสินธุสงคราม เจ้าเมือง แต่เจ้าเมืองกลับพาผู้คนไปตั้งเมืองอยู่ที่บ้านห้วยปลาแดก อนึ่ง พันเอกสุข เจริญรัตน์ อดีตอนุศาสนาจารย์กองทัพบก ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวสถานที่ตั้งของเมืองเสนางคนิคมไว้ ในหนังสืองานผูกพัทธสีมาและฉลองโบสถ์ วัดบ้านโพนทอง อ.เสนางคนิคม
จ. อุบลราชธานี เมื่อ 9 -10 มีนาคม 2528 ไว้ว่า “ตัวเมืองเสนางคนิคมที่พระจันศรีสุราชย้ายไปตังใหม่นั้นน่าจะตั้งอยู่ที่บ้านบุ่งค้า ไม่ใช่บ้านบุ่งห้วยปลาแดกตามที่กล่าวไว้ในพงศาวดารหัวเมืองมลฑลอีสานของหม่อมอมรวงศ์วิจิตร (ม.ร.ว.ปฐม คเณจร) เจ้าเมืองคนแรกคือ พระสินธุสงคราม(ท้าวจันศรีสุราชเมืองตะโปน) และเจ้าเมืองคนสุดท้ายคือ พระเขมรัฐ... (ไม่ทราบบรรดาศักดิ์เต็ม อาจจะเป็นพระเขมรัฐเดชประชารักษ์ หรือพระเขมรัฐเดชชนารักษ์) ภายหลังเมื่อยุบเมืองเสนางคนิคมลงแล้ว ได้ตั้งกิ่งอำเภอเสนางคนิคมขึ้นใหม่ขึ้นตรงต่ออำเภออำนาจเจริญ หัวหน้ากิ่งอำเภอคนแรกคือ ราชวงศ์บุญช่วย อยู่ที่บ้านหนองไฮซึ่งขณะนั้นขึ้นอยู่กับตำบลโพนทอง เนื่องจากว่าบ้านโพนทองไม่มีเชื้อสายเจ้าเมืองเขมราฐที่เป็นผู้ชาย”

ระยะเวลานับเนื่องพัฒนาการเมืองเสนางคนิคม พอเป็นสังเขป
พ.ศ.2443 เมืองเสนางคนิคม ถูกลดฐานะเป็นอำเภอ ขึ้นกับจังหวัดอุบล ฯ
พ.ศ.2455 อำเภอเสนางคนิคม ถูกลดฐานะเป็นกิ่งอำเภอ ขึ้นกับอำเภออำนาจเจริญ
พ.ศ.2460 กิ่งอำเภอเสนางคนิคม เปลี่ยนชื่อเป็นกิ่งอำเภอหนองทับม้า ให้เหมาะสมกับที่ตั้ง
หลังปีพ.ศ.2475 กิ่งอำเภอหนองทับม้าถูกยุบไป
พ.ศ.2518 กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศตั้งกิ่งอำเภอเสนางคนิคมขึ้นอีกครั้ง และได้ยกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อปี พ.ศ.2526 และขึ้นกับจังหวัดอำนาจเจริญ เมื่อปี พ.ศ.2536
สรุป เมืองเสนางคนิคม ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2388 เป็นชาวผู้ไทยหรือภูไทที่อพยพมาจากเมืองตะโปน (เซโปน) ซึ่งปัจจุบันอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงในแขวงสุวรรณเขต ติดชายแดนเวียดนาม ไปตั้งอยู่ที่บ้านช่องนาง, สองนางหรือส่องนาง ยกขึ้นเป็นเสนางคนิคมขึ้นเมืองอุบลราชธานี ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ท้าวจันทร์จากเมืองตะโปน เป็น "พระศรีสินธุสงคราม" เจ้าเมืองคนแรก ต่อมาได้ย้ายไปตั้งเมืองที่บ้านห้วยปลาแดกและเมื่อยุบเมืองลงเป็นอำเภอเสนางคนิคม ย้ายไปตั้งอำเภอที่บ้านหนองทับม้า คือ ท้องที่อำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญในปัจจุบัน


โดย: คันแท ทุ่งทองกวาว IP: 113.53.201.83 วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:12:39:14 น.  

 
สำหรับผู้สนใจข้อมูล ประวัติ เรื่องราว รูปภาพ ฯลฯ เกี่ยวกับบ้านโพนทองเพิ่มเติม ฝากเมล์ไว้ที่ kantaena@hotmail.com


โดย: คันแท ทุ่งทองกวาว IP: 113.53.201.83 วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:12:48:20 น.  

 
อำนาจเจริญ : บ้านเรา เมืองเรา
เสมือนคำนำ
“ชาตินิยม” คือสิ่งที่จะทำให้ผู้คนมีความรัก ความหวงแหนชุมชนและถิ่นที่อยู่อาศัยของตนเอง การที่จะสร้างกระบวนการตระหนักในการรักถิ่นฐานบ้านเกิดให้หยั่งรากลึกลงในจิตสำนึกของผู้คนอย่างยั่งยืนนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องรู้จักตัวตนของตนเองเสียก่อนว่า เราคือใคร กำลังยืนอยู่ตรงไหน และจะก้าวไปข้างหน้าอย่างไร เมื่อก้าวไปแล้วจะส่งผลต่อความเป็นตัวเองอย่างไร “อำนาจเจริญ” คือผืนดินถิ่นฐานที่บรรพบุรุษได้สั่งสม “อารยะแห่งวัฒนธรรม” สร้างสรรค์ ประเพณีอันดีงามไว้ให้ลูกหลาน จากซากสิ่งชำรุดทางศาสนสถานที่มีอยู่มากมายเป็นการยืนยันว่าดินแดน แห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของผู้คนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และสืบเนื่องมาหลายยุคหลายสมัย วิถีประชาของผู้คนที่อยู่ร่วมสังคมเดียวกันโดยมีธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งเอื้อหนุน ล้วนแต่เป็นสิ่งที่
ลูกหลานบรรพชนคนอำนาจเจริญควรที่จะศึกษาให้ถ่องแท้และแตกฉาน “อำนาจเจริญ..บ้านเฮา เมืองเฮา” ไม่ใช่ตัวแทนแห่งเนื้อหาทั้งหมดของความเป็นอำนาจเจริญหากเป็นเพียงความตั้งใจจริงที่จะจุดประกายความรู้สึกชาตินิยม ให้เกิดขึ้นในมโนสำนึกในตนเองของคนอำนาจเจริญที่ยังหลับใหลอยู่กับโมหะจริตของเชื้อชาติ

ด้วยจิตคารวะ
(เชิดศักดิ์ วงศ์พิจิตร รองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโพนทอง)


บทที่ ๑
บทนำ
คำขวัญประจำจังหวัดอำนาจเจริญ
“พระมงคลมิ่งเมือง แหล่งรุ่งเรืองเจ็ดลุ่มน้ำ งามล้ำถ้ำศักดิ์สิทธิ์
เทพนิมิตพระเหลา เกาะแก่งเขาแสนสวย เลอค่าด้วยผ้าไหม ราษฎร์เลื่อมใสใฝ่ธรรม”
ความหมาย
พระมงคลมิ่งเมือง หมายถึง พระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่มีขนาดองค์ใหญ่โตมาก
ประดิษฐานอยู่ ณ พุทธอุทยาน อยู่ห่างไปทางทิศเหนือของตัวเมือง ประมาณ ๒ กิโลเมตร
แหล่งรุ่งเรืองเจ็ดลุ่มน้ำ หมายถึง แหล่ง น้ำทั้งเจ็ดที่เป็นแหล่งเลี้ยงชีพทางการเกษตรของชาว
อำนาจเจริญ คือ ห้วยปลาแดก ห้วยพระโรจน์ ห้วยพระเหลา ห้วยจานลาน ลำเซบก ลำเซบายและแม่น้ำโขง
งามล้ำถ้ำศักดิ์สิทธิ์ หมายถึง ถ้ำแสงเพชร ในวัดถ้ำแสงเพชร และถ้ำแสงแก้ว ในวัดถ้ำแสง
แก้ว ซึ่งเป็นภูเขาเตี้ยๆ อยู่ทางทิศตะวันออกของตัวเมืองอำนาจเจริญประมาณ ๑๓-๑๔ กิโลเมตร
เทพนิมิตพระเหลา หมายถึง พระเหลาเทพนิมิตร ซึ่งเป็นพระพุทธปางมารวิชัยขนาดความสูง
๒.๗๐ เมตร หน้าตักกว้าง ๒.๘๕ เมตร ประดิษฐานอยู่ในอุโบสถของวัดพระเหลาเทพนิมิตร ตำบลพนา
อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ
เกาะแก่งเขาแสนสวย หมายถึง เกาะแก่งตามแหล่งน้ำต่างๆ เช่น เกาะกลางอ่างเก็บน้ำพุทธ
อุทยาน เกาะแก่งตามลำน้ำโขง อำเภอชานุมาน ซึ่งถือเป็นคุ้งลำน้ำโขงที่สวยงามที่สุด นอกจากนั้นยังมีภูเขา
ดินเตี้ย ๆ ที่แสนสวยหลายแหล่ง เช่น ภูจำปา ภูเขาขาม ภูสระดอกบัว ภูวัด ภูดิน ภูโพนทอง ภูเกษตร ใน
เขตอำเภอเสนางคนิคม เป็นต้น
เลอค่าด้วยผ้าไหม หมายถึง จังหวัดอำนาจเจริญเป็นแหล่งผลิตไหมเนื้อดีมีคุณภาพเป็นที่
ยอมรับหลายแหล่ง เช่น บ้านเปือยหัวดง อำเภอลืออำนาจ และผ้าไหมบ้านจานลาน บ้านสร้อย อำเภอ
พนา เป็นต้น
ราษฎร์เลื่อมใสใฝ่ธรรม หมายถึง การยึดมั่นในพระพุทธศาสนาของชาวอำนาจเจริญและได้มีการ
พัฒนาประชาชนตามอุดมการณ์แผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง คือ ขยันอย่างฉลาดปราศจากอบายมุข
พึ่งตนเองอย่างมีศักดิ์ศรี ประหยัดและอดออม และร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
อำนาจเจริญ : บ้านเรา เมืองเรา โดย เชิดศักดิ์ วงศ์พิจิตร
ประวัติความเป็นมาและการตั้งจังหวัดอำนาจเจริญ
จังหวัดอำนาจเจริญ ตั้งขึ้นเมื่อ พ .ศ. ๒๓๙๓ โดยท้าวอุปราช เจ้าเมืองจำพร แขวงสุวรรณเขต
ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในปัจจุบันโดยอพยพครอบครัวเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
พระบาทสมเด็จ-พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่ที่บ้านค้อใหญ่ (ปัจจุบันคือบ้านอำนาจ ตำบลอำนาจ อำเภอลือ
อำนาจ) ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นเมืองลืออำนาจ มีฐานะเป็นเมืองในความปกครองของเมืองเขมราฐ
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๐๑ พระเทพวงศา (บุญสิงห์) เจ้าเมืองเขมราฐ ได้รับรายงานจากท้าวจันทบรม
(ขุนบูฮม)ว่าบ้านค้อใหญ่เป็นชุมชนที่มีราษฎรอาศัยอยู่หนาแน่น เห็นควรตั้งเป็นศูนย์กลางในการเก็บ
ส่วยและสักเลก พระเทพวงศา (บุญสิงห์) จึงเห็นควรตั้งเป็นเมืองตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ต้องการตั้งเป็นชุมชนให้มาก เพื่อสะดวกในการเกณฑ์พล จึงมีใบบอกกราบ
บังคมทูลขอตั้งบ้านค้อใหญ่เป็นเมือง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชานุญาต
ให้มีสารตราตั้งบ้านค้อใหญ่ขึ้นเป็นเมืองอำนาจเจริญ ณ วันอังคารขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือนเก้า จุลศักราช
๑๒๒๐ ปีมะเมีย พุทธศักราช ๒๔๐๑ พร้อมกับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งท้าวจันทบรมเป็นพระอมรอำนาจ เจ้า
เมือง ท้าวบุตตะเป็นอุปฮาด ท้าวสิงหราชเป็นราชวงศ์ ท้าวสุริโยเป็นราชบุตร โดยกำหนดให้เมืองอำนาจขึ้น
ตรงต่อ เมืองเขมราฐเช่นเดิม และให้ส่งส่วยเงินแทนผลเร่ว (หมากแหน่ง) ปีละ ๑๒ ชั่ง ๑๘ ตำลึง
พ.ศ. ๒๔๐๑ พระอมรอำนาจ (เสือ อมรสิน) ผู้ครองเมืองอำนาจเจริญ เห็นว่าถ้าย้ายเมือง
อำนาจเจริญมาขึ้นต่อเมืองอุบลราชธานี จะสะดวกในการติดต่อราชการมากจึงได้มีใบบอกกราบบังคมทูล
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า-เจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ได้โปรดเกล้าตามที่ขอให้เมืองอำนาจเจริญขึ้นต่อเจ้า
ปกครองอุบลราชธานีตั้งแต่นั้นมา
สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไป
ตามแบบยุโรป เมืองอำนาจเจริญอยู่ในความปกครองของมณฑลเทศาภิบาล ปกครองท้องที่
อุบลราชธานี ทางราชการได้แต่งตั้งท้าวพระยาราชวงศ์มาปกครองเมืองอำนาจเจริญติดต่อกันมาโดยตลอด
จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๕๕ ได้มีการแต่งตั้งนายอำเภอขึ้นปกครองอำเภออำนาจเจริญ นายอำเภอคนแรก คือ
รองอำมาตย์โทหลวงเอนกอำนาจ (เป้ย สุวรรณกูฏ) ต่อมาได้ย้ายเมืองอำนาจเจริญมาอยู่ที่ชุมทาง
สี่แยกระหว่างเมืองเขมราฐ-เมืองอุบล เมืองมุก(มุกดาหาร) และเมืองยศ (ยโสธร) ทำให้การคมนาคม
สะดวก และคาดว่าจะมีความเจริญยิ่งๆขึ้น โดยย้ายจากบ้านอำนาจ ตำบลอำนาจ ไปตั้งที่บ้านบุ่ง ตำบลบุ่ง
อำเภออำนาจเจริญ จนถึงปัจจุบัน
พ.ศ. ๒๕๑๐ ทางราชการได้แยกการปกครองของ อำเภออำนาจเจริญ ออกเป็น ๔ ตำบล
ตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอหัวตะพาน และยกฐานะเป็นอำเภอหัวตะพานในปี พ.ศ. ๒๕๑๔
พ.ศ. ๒๕๑๘ ได้แยกการปกครองของอำเภออำนาจเจริญอีก ๕ ตำบล ตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอเสนางค
นิคม และยกฐานะเป็นอำเภอเสนางคนิคม ในปี พ.ศ. ๒๕๒๖
เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๓๔ ได้แยกการปกครองของอำเภออำนาจเจริญ อีก ๖ ตำบล ตั้งขึ้น
เป็นอำเภอลืออำนาจ
และเมื่อวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๓๖ ได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดอำนาจเจริญ ประกาศในราช
กิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ ๑๑๐ ตอนที่ ๑๒๕ ลงวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๓๖ โดยพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ให้มีผลใช้บังคับหลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ๙๐ วัน คือมีผลบังคับใช้ ในวันที่ ๑
ธันวาคม ๒๕๓๖ เป็นต้นไป
ต่อมาเมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๓๗ ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองอำนาจเจริญจังหวัด
อำนาจเจริญโดยจัดตั้งจากสุขาภิบาลบุ่ง ขึ้นเป็นเทศบาลเมือง ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๑๑
ตอนที่ ๕๓ ลงวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๓๗ และมีผลบังคับใช้ เมื่อพ้นกำหนด ๓๐ วัน นับตั้งแต่วันประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษา คือมีผลใช้บังคับในวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๓๘
อำนาจเจริญ : บ้านเรา เมืองเรา โดย เชิดศักดิ์ วงศ์พิจิตร
บทที่ ๒
สภาพทั่วไปของจังหวัดอำนาจเจริญ
สภาพภูมิศาสตร์
ที่ตั้งและอาณาเขต
จังหวัดอำ นาจเจริญ ตั้งอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ระยะห่างจาก
กรุงเทพมหานครโดยรถยนต์ประมาณ ๕๖๘ กิโลเมตร มีพื้นที่ในการปกครอง ๒,๘๔๒.๓๔๕ ตารางกิโลเมตร
โดยมีอาณาเขตการปกครองดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร และอำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตามแนวฝั่งแม่น้ำโขง
อำเภอชานุมานเป็นระยะทาง ๓๘ กิโลเมตร และติดกับอำเภอเขมราฐ
อำเภอกุดข้าวปุ้น อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอม่วงสามสิบ จังหวัด อุบลราชธานี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอป่าติ้ว อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร โดยมีลำเซบายเป็นแนวเขต
ลักษณะภูมิประเทศ
โดยทั่วไปจังหวัดอำนาจเจริญ ทางตอนกลางค่อนลงไปทางใต้มีลักษณะเป็นที่ลุ่มหรือที่ราบลูกฟูก
ส่วนทางตนบนเป็นที่ลุ่มมีเนินเขาเตี้ยๆ ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย และดินลูกรังบางส่วน พื้นที่ส่วนใหญ่
อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ ๒๒๗ ฟุต (๖๘ เมตร)
แม่น้ำ
สภาพภูมิประเทศจังหวัดอำนาจเจริญมีแม่น้ำและลำน้ำสายสำคัญที่เป็นประดุจดั่งเส้นเลือดหล่อ
เลี้ยงชีวิตของชาวอำนาจเจริญ ๓ สายคือ
๑. แม่น้ำโขง เป็นแม่น้ำนานาชาติ มีต้นกำเนิดอยู่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ไหล
ผ่านประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมสหภาพเมียนมาร์(พม่า) และประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน
ลาว ไหลผ่านจังหวัดอำนาจเจริญในเขตอำเภอชานุมานเป็นระยะทาง ๓๘ กิโลเมตร
๒. ลำเซบก ต้นน้ำอยู่ในเขตอำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ ไหลผ่านอำเภอพนา ไหลไป
บรรจบกับแม่น้ำมูลที่บ้านปากเซ อำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี ระยะทา งประมาณ ๑๕๐ กิโลเมตร
๓. ลำเซบาย ต้นน้ำอยู่ในเขตอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธรไหลผ่านจังหวัดอำนาจเจริญ ใน
เขตอำเภอเสนางคนิคม อำเภอเมืองอำนาจเจริญ อำเภอหัวตะพาน ไหลไปบรรจบกับแม่น้ำมูลที่ตำบล
แจระแม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ยาวประมาณ ๒๐๐ กิโลเมตร
เทือกเขาที่สำคัญ คือ เทือกเขาภูพานซึ่งทอดผ่านพื้นที่เขตอำเภอเสนางคนิคม และอำเภอชานุมาน
มีลักษณะเป็นภูเขาที่มีความสูงไม่มากนักและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติสำคัญของจังหวัด
อำนาจเจริญ เช่น ลานดอกไม้ ถ้ำพระ ดานรัง ดานเค็ง บนภูวัด ผาแอวขัน คอกช้าง-คอกม้า ดาน
มะเกลือ ซึ่งมีทัศนียภาพคล้ายผาเทิบมาก บนภูโพนทอง ถ้ำหินหัวนาค บนภูเกษตรและภูพนมดี เป็นต้น
ลักษณะภูมิอากาศ
จังหวัดอำนาจเจริญ มีลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้น หรือแบบสวันนาคือ จะมีความแตกต่าง
ของฤดูฝนและฤดูแล้งอย่างชัดเจน มีช่วงกลางวันยาวในฤดูร้อนและมีอุณหภูมิสูงเกือบตลอดทั้งปี
อำนาจเจริญ : บ้านเรา เมืองเรา โดย เชิดศักดิ์ วงศ์พิจิตร
สภาพภูมิอากาศ
ฤดูฝน ระหว่าง เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม
ฤดูหนาว ระหว่าง เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม
ฤดูร้อน ระหว่าง เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน
อุณหภูมิ
จังหวัดอำนาจเจริญมีอุณหภูมิระหว่างฤดูร้อนกับฤดูหนาวแตกต่างกันมาก เช่นในปี ๒๕๓๘มี
อุณหภูมิสูงสุดเดือนเมษายน ๓๖.๔๓ องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุดในเดือนมกราคม ๑๖.๓๒ องศา
เซลเซียส
ปริมาณน้ำฝน ส่วนมากได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะ วันตกเฉียงใต้ และพายุดีเปรสชั่นจากอ่าว
ตังเกี๋ยและทะเลจีนใต้ ทำให้มีฝนตกชุก ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปี ๑๓.๕ มิลลิเมตร/ต่อวัน ความชื้นสัมพัทธ์
เฉลี่ย ๙๐-๙๔ (แหล่งที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา ๒๕๔๐)
ประชากร
จังหวัดอำนาจเจริญ มีประชากรทั้งสิ้น ๓๖๖,๘๙๕ คน เป็นชาย ๑๘๔,๑๘๐ คน เป็นหญิง ๑๘๒,๗๑๕
คน (ข้อมูล ณ เดือน ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๓) อำเภอเมืองอำนาจเจริญ มีประชากรมากที่สุดรองลงมาคือ
อำเภอหัวตะพาน และอำเภอที่มีประชากรน้อยที่สุดคือ อำเภอพนา
เชื้อชาติ
ประชากรส่วนใหญ่ เป็นคนท้องถิ่นมีเชื้อชาติไทย-ลาว ที่เป็นกลุ่มชนชาติไต ใช้ภาษาในตระกูลไต-
ลาว อันเป็นภาษาคำโดด ในเขตเมืองจะมีคนไทยเชื้อชาติจีนและเชื้อชาติญวนปะปนอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วน
ใหญ่ประกอบอาชีพค้าขายซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มบุคคลที่มีอิทธิพลทางด้าน เศรษฐกิจของจังหวัด นอกจากนี้ยังมี
ชาวภูไทในเขตอำเภอชานุมาน และบางหมู่บ้านของอำเภอเสนางคนิคม
อาชีพ
ประชากรร้อยละ ๘๐ของประชากรทั้งหมดประกอบอาชีพเกษตรกรรมรองลงมาคือการค้าขาย
หัตถกรรมพื้นบ้าน
ศาสนา
ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ รองลงมาคือศาสนาคริสต์และอิสลาม ตามลำดับ ในวิถีของชาว
จังหวัดอำนาจเจริญยังมีความเชื่อตามระบบของศาสนาพราหมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น พิธีบายศรีสู่ขวัญ
พิธีเลี้ยงบ้าน สูตรบ้าน วางศิลาฤกษ์ เลี้ยงตาแฮก ความเชื่อและศรัทธาตามฮีตสิบสอง คองสิบสี่
นอกจากนั้นยังมีความเชื่อในเรื่องผีสางเทวดาอยู่บ้าง
เขตการปกครอง
จังหวัดอำนาจเจริญ แบ่งการปกครองออกเป็น ๗ อำเภอ ๕๖ ตำบล ๕๙๙ หมู่บ้าน
๗๖,๙๙๐ หลังคาเรือน เทศบาล ๘ แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล ๕๕ แห่ง (ข้อมูลปี ๒๕๔๔) อำเภอ
ต่างๆ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอชานุมาน อำเภอปทุมราชวงศา อำเภอพนา อำเภอเสนางคนิคม อำเภอหัว
ตะพาน อำเภอลืออำนาจ
สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม
เศรษฐกิจ
จังหวัดอำนาจเจริญมีสภาพเศรษฐกิจส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับการเกษตรกรรม จากมูลค่าผลิตภัณฑ์รวม
ของจังหวัด ปรากฏว่าด้านการเกษตรกรรมทำรายได้หลักมาสู่จังหวัด ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อคน
ต่อปี ๒๑,๖๔๔ บาท (ข้อมูลปี ๒๕๔๐)
การเกษตรกรรม
พื้นที่ทางการเกษตรมีประมาณ ๑,๐๒๑,๗๗๘ ไร่ หรือประมาณร้อยละ ๕๓ ของพื้นที่
ทั้งหมด พืชที่ปลูกมากได้แก่ ข้าว รองลงมาคือ มันสำ ปะหลัง ปอแก้ว ฝ้าย ถั่วลิสง และแตงโม
นอกจากนี้จังหวัดอำนาจเจริญยังไม่มีการเลี้ยงสัตว์ขนาดใหญ่ สัตว์ที่เลี้ยงมากที่สุด ได้แก่ การเลี้ยงไก่ เป็ด
กระบือ โค และสุกร
การประมง
ปัจจุบันการเพาะเลี้ยงปลามีอยู่ทั่วไปเกือบทุกอำเภอ ส่วนใหญ่ได้แก่ ปลาตะเพียน ปลาดุกเทศ
ปลานวลจันทร์ ปลายี่สก เป็นต้น การจับสัตว์น้ำจะมีตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ส่วนใหญ่เป็นการจับเพื่อการ
บริโภคมากกว่าการนำไปขาย
การอุตสาหกรรม
ส่วนใหญ่เป็นโรงสีข้าว อุตสาหกรรมขนาดย่อม และอุตสาหกรรมในครัวเรือน อุตสาหกรรมใน
ครัวเรือนที่สำคัญได้แก่ การทอผ้าขิด จังหวัดอำนาจเจริญ มีกลุ่มสตรีทอผ้าขิด เคยได้รับรางวัลชนะเลิศ
อันดับที่ ๑ และ ๒ ในการประกวดทอผ้าฝ้ายลายขิด ในงานศิลปาชีพบางไทรครั้งที่ ๑๐ จังหวัด
พระนครศรีอยุธยา ปี ๒๕๓๗ (ศูนย์ทอผ้าขิด บ้านคำพระ ต.คำพระ อ.หัวตะพาน) นอกจากนี้ยังมีแหล่งทอ
ผ้าไหมที่มีชื่อเสียงที่บ้านเปือยหัวดง อำเภอลือ-อำนาจ บ้านสร้อย บ้านจานลาน อ.พนา และยังมีการตัด
เย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปและการเจียระไนพลอยอีกด้วย
ทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของจังหวัดอำนาจเจริญ ได้แก่ ดิน น้ำ ป่าไม้ แร่ธาตุ (เกลือหิน) เป็นต้น
ทรัพยากรป่าไม้
จังหวัดอำนาจเจริญ มีพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ๑๒ แห่ง อุทยานแห่งชาติ ๑ แห่ง ลักษณะป่าไม้
โดยทั่วไปเป็นป่าเบญจพรรณประเภทไม้ผลัดใบประกอบด้วยป่าเต็งรังและป่าแดง
ป่าไม้ที่ยังคงสภาพป่าที่สมบูรณ์ คือป่าชุมชนป่าดงใหญ่ ในเขตพื้นที่อำเภอหัวตะพาน ส่วนป่าไม้
ในเขตวนอุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัวทั้งในเขตพื้นที่อำเภอเสนางคนิคมและอำเภอชานุมานได้ถูกบุกรุกจับ
ของเป็นที่ทำกินของประชาชน ทั้งในพื้นที่และผู้ที่อพยพมากต่างถิ่นที่ชาวบ้านรู้จักกันในรูป “ไทครัว” จึงทำให้
สภาพของป่าที่เคยอุดมสมบูรณ์ได้ถูกทำลายอย่างย่อยยับโดยเฉพาะบริเวณป่าสงวนแห่งชาติดงคำเดือยแ ละ
และบริเวณอื่นของอุทยาน แม้ทรัพยากรป่าไม้ในจังหวัดอำนาจเจริญ จะถูกแบ่งเป็นประเภทต่างๆ เพื่อการ
บำรุงรักษาและการอนุรักษ์ป่าไม้ก็ตาม แต่สภาพป่าในจังหวัดอำนาจเจริญมีจำนวนมากที่ถูกทำลายโดยการ
อำนาจเจริญ : บ้านเรา เมืองเรา โดย เชิดศักดิ์ วงศ์พิจิตร
บุกรุกของชาวบ้านและการลักลอบตัดไม้เพื่อการค้าของกลุ่มบุคคลบางกลุ่ม ส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำเหือด
แห้ง น้ำท่วม ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ดังนั้นทุกคนจึงควรร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้เพื่อความ
สมบูรณ์ของธรรมชาติ ดังพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่พระราชทาน
แก่ประชาชนชาวอำเภอหัวตะพาน "พิทักษ์ป่า เพื่อรักษาชีวิต"
ต้นไม้ประจำจังหวัดอำนาจเจริญ
ต้นตะเคียนหิน
ชื่ออื่น ตะเคียนทราย อีแรด เหลาเตา ชื่อวิทยาศาสตร์ Hopea ferrea Pierre
วงศ์ DIPTEROCARPACEAE
ลักษณะ
ไม้ยืนต้น ผลัดใบ สูง ๑๕-๓๐ เมตร เปลือกสีน้ำตาลแก่ แตกเป็นสะเก็ด โคนต้นมักมีพุ่มต่ำ เรือน
ยอดเป็นพุ่มกลมหรือรูปกรวยแหลม กิ่งอ่อนมีขนประปราย ใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ กว้าง ๒.๕-๓
เซนติเมตร ยาว ๘-๘.๕ เซนติเมตร ปลายเป็นติ่งทู่ โคนมน ดอกเล็ก สีขาว หรือขาวปนเหลืองอ่อน ออกเป็น
ช่อสั้นๆ ตามง่ามใบและปลายกิ่ง ผลโตประมาณ ๑.๔ เซนติเมตร มีปีกยาว ๓ ปีก
นิเวศวิทยา
เป็นพันธุ์ไม้หลักของป่าดิบแล้ง ที่สูงจากระดับน้ำทะเล ๑๐๐-๔๐๐ เมตร พบมากที่บริเวณอุทยาน
ดงคำเดือย และอุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว ชื่อที่ชาวบ้านเรียกคือ “แคนหิน” ช่วงออกดอก ประมาณ
เดือนกันยายน-ธันวาคม ผลแก่เดือนตุลาคม-มกราคม ขยายพันธุ์โดยเมล็ด
ประโยชน์
ใช้ทำเครื่องเรือน ต่อเรือขุด ทนทานและแข็งแรงมากในกลางแจ้ง ดอกใช้เข้ายาเป็นเกสรร้อยแปด ต้มน้ำ
จากเปลือกใช้ล้างแผลผสมกับเกลืออมป้องกันฟันผุ เนื้อไม้ใช้เป็นส่วนประกอบทำยารักษาโรคเลือดลมไม่
ปกติแก้กระษัย
การสาธารณสุข
การบริการด้านสาธารณสุขในจังหวัดอำนาจเจริญยังไม่เพียงพอ ซึ่งในปี ๒๕๔๔ ทางโรงพยาบาล
อำนาจเจริญจะขยายเป็นโรงพยาบาลขนาด ๔๐๐ เตียง ปัจจุบันจังหวัดอำนาจเจริญมีโรงพยาบาลอยู่
ในอำเภอต่าง ๆ รวม ๗ แห่ง และสถานีอนามัยซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
อำนาจเจริญ กระทรวงสาธารณสุข กระจายอยู่ทั่วไปตามตำบล หมู่บ้าน ซึ่งสามารถรักษาพยาบาลโรคใน
เบื้องต้น
ทรัพยากรน้ำ
จังหวัดอำนาจเจริญมีแหล่งน้ำธรรมชาติ แบ่งได้ ๓ ประเภท ดังนี้
๑. แหล่งน้ำในอากาศ ได้แก่ น้ำฝนซึ่งรับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และพายุดีเปรสชั่น
๒. แหล่งน้ำผิวดิน ได้แก่ น้ำในแม่น้ำ ลำคลอง ห้วย หนองและบึง ที่สำคัญได้แก่ แม่น้ำโขง
ลำเซบก ลำเซบาย ลำห้วยปลาแดก ห้วยพระเหลา เป็นต้น
๓. แหล่งน้ำใต้ดิน (น้ำบาดาล) ส่วนใหญ่ไม่สามารถเจาะหรือพัฒนาแหล่งน้ำได้ เนื่องจากพื้นที่มีหิน
ปกคลุม และในแหล่งที่สามารถขุดเจาะได้มีรสเค็มไม่เหมาะที่จะใช้ในการอุปโภคบริโภค
สำหรับการชลประทานส่วนใหญ่เป็นขนาดกลาง ซึ่งอำนวยประโยชน์แก่พื้นที่ทำการเกษตรได้ไม่
มากนัก เช่น อ่างเก็บน้ำพุทธอุทยาน อ่างเก็บน้ำห้วยโพธิ์ และมีการก่อสร้างและขุดลอกชลประทานขนาด
เล็กอีกหลายแห่ง
ทรัพยากรแร่ธาตุ
แร่ธาตุที่สำคัญในจังหวัดอำนาจเจริญ ได้แก่ แร่เกลือหิน หรือเกลือสินเธาว์
การศึกษา
การจัดการศึกษาในจังหวัดอำนาจเจริญ มีการจัดตั้งการศึกษาตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษา
จนถึงระดับอุดมศึกษา จำนวนโรงเรียนระดับประถมศึกษามีจำนวนมากที่สุดถึง ๒๙๒ โรงเรียนซึ่งอยู่ใน
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ โรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษา จำนวน ๒๓
โรงเรียน โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จำนวน ๕ โรงเรียน โรงเรียนในสังกัด
กรมการศาสนา จำนวน ๖ โรงเรียน ในสังกัดกรมอาชีวศึกษา จำนวน ๑ โรงเรียน ในสังกัดกรม
ตำรวจตะเวนชายแดน จำนวน ๒ โรงเรียน ในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย คือ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
วิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จำนวน ๑ แห่ง
นักเรียนที่จบการศึกษาภาคบังคับ ร้อยละ ๖๖.๒๐ ได้เข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ที่เหลือออกไปประกอบอาชีพช่วยผู้ปกครองทำงานด้านเกษตรกรรม และขายแรงงานในเมืองและ
กรุงเทพมหานคร
การคมนาคม
ในการเดินทางไปจังหวัดอำนาจเจริญนั้น การคมนาคมที่สะดวกที่สุดคือการคมนาคมโดยทาง
รถยนต์ เนื่องจากเป็นเมืองที่มีทางหลวงสำคัญ ๒ สาย มาตัดกัน คือทางหลวงหมายเลข ๒๐๒ ช่วง
ยโสธร เขมราฐ และทางหลวงหมายเลข ๒๑๒ ช่วงม่วงสามสิบ-เลิงนกทา ตัดกันที่สี่แยกอำนาจเจริญ ส่วน
การคมนาคมทางรถไฟและทางอากาศยังไม่มี แต่สถานีรถไฟและสนามบินนานาชาติอุบลราชธานี ซึ่ง
จะต้องเดินทางโดยทางรถยนต์ต่อไปยังจังหวัดอำนาจเจริญอีกประมาณ ๗๕ กิโลเมตร
ในปัจจุบันหลังจากมีการสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ ๒ ที่จังหวัดมุกดาหาร ได้มีการ
ปรับปรุงเส้นทางรถยนต์ของกลุ่มประเทศอินโดจีนให้เชื่อมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลให้จังหวัด
อำนาจเจริญได้รับประโยชน์ดังกล่าวด้วย
การสาธารณสุข
การบริการด้านสาธารณสุขในจังหวัดอำนาจเจริญยังไม่เพียงพอ ซึ่งในปี ๒๕๔๔ ทางโรงพยาบาล
อำนาจเจริญจะขยายเป็นโรงพยาบาลขนาด ๔๐๐ เตียง ปัจจุบันจังหวัดอำนาจเจริญมีโรงพยาบาลอยู่ใน
อำเภอต่าง ๆ รวม ๗ แห่ง และสถานีอนามัยซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
อำนาจเจริญ กระทรวงสาธารณสุข กระจายอยู่ทั่วไปตามตำบล หมู่บ้าน ซึ่งสามารถรักษาพย าบาลโรค
ในเบื้องต้น ดังนั้น ปัญหาที่พบ คือการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ และอุปกรณ์ที่ทันสมัย ซึ่ง
ส่งผลให้การบริการการรักษาโรคยังไม่เพียงพอ
ปัญหาประชากรในจังหวัดอำนาจเจริญ ส่วนใหญ่ได้แก่ ปัญหาความยากจน การว่างงาน
สิ่งแวดล้อม วัยรุ่นติดยาเสพติด วัยรุ่นมีพฤติกรรมเบี่ยงเบน และการอพยพย้ายถิ่นเพื่อหางานทำในตัวเมือง
ใหญ่ และกรุงเทพมหานคร




โดย: อำนาจเจริญ : บ้านเรา เมืองเรา 1 IP: 113.53.201.83 วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:13:01:34 น.  

 
บทที่ ๓
แหล่งโบราณคดีและหลักฐานทางประวัติศาสตร์
แหล่งโบราณคดีเปือยหัวดง
สถานที่ตั้ง ตำบลเปือย อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ
ประวัติความเป็นมา
เป็นแหล่งโบราณคดีที่พบเสมาหิน ทั้งเสมาหินทรายและเสมาหินศิลาแลง มีอายุประมาณ
พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๓ ซึ่งได้รับอิทธิพลสมัยทวารวดี และมีการนับถือพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่อง
ลักษณะทั่วไป
มีการสลักลวดลายนูนต่ำ ฐานเป็นรูปดอกไม้ รูปหม้อน้ำรูปสถูปยาว ตอนบนเป็นวงกลมคล้าย
ธรรมจักร และที่สำคัญเสมาที่วัดป่าเรไรมีรูปนกแก้วสองตัว ซึ่งไม่พบในใบเสมาที่อื่นเลย (ปัจจุบันเก็บ
ไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี)
หลักฐานที่พบ
๑. เสมาหิน ภาชนะเผาลายเชือกทาบ พระพุทธรูปสมัยทวาราวดีตอนปลาย
๒. เสมาหินที่พบจะแบ่งเป็น ๓ กลุ่ม คือ กลุ่มเสมาหินทรายในเขตวัดโพธิ์ศิลา กลุ่มเสมาหิน ศิลา
แลงวัดป่าเรไร และกลุ่มเสมาหินทรายหลังโรงเรียนชุมชนเปือยหัวดง
เส้นทางเข้าสู่แหล่งโบราณคดีเปือยหัวดง
จากอำนาจเจริญไปตามถนนสาย อำนาจเจริญ -อุบลราชธานี ระยะทางประมาณ ๒๓ กิโลเมตร
แหล่งโบราณคดีเปือยหัวดงพบได้ใน ๓ บริเวณคือ
๑. บริเวณหลังโรงเรียนชุมชนเปือยหัวดง
มีลักษณะเป็นเนินดินที่มีกลุ่มเสมาหินทรายปักล้อมฐานหินทรายซึ่งมีพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิราบ
หนึ่งองค์ซึ่งเป็นศิลปะสมัยทวารวดีตอนปลาย ซึ่งพระพุทธรูปแบบนี้ยังพบในบริเวณดงเฒ่าเก่า ตำบลนา
หมอม้า ในเขตอำเภอเมือง ซึ่งอยู่ในลุ่มลำเซบาย และในที่อื่น ๆทั่วไปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สำหรับบรรดาเสมาหินทรายที่พบในบริเวณเนินดินแห่งนี้ เกือบทั้งหมดจะมีรูปแบบที่เหมือนกัน คือเป็นแบบ
แผ่นหินพื้นเรียบไม่มีลวดลายแต่ตรงกลางจะมีแกนเป็นสันนูนขึ้นมาแล้วมีลักษณะเรียวจนถึงยอด
อำนาจเจริญ : บ้านเรา เมืองเรา โดย เชิดศักดิ์ วงศ์พิจิตร
และไปบรรจบกับแกนอีกด้านหนึ่ง ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกันกับใบเสมาหินทรายที่กระจายอยู่ทั่วไปใน
เขตแม่น้ำมูลและชี เช่นที่ เมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดมหาสารคาม เป็นต้น
ในการสำรวจของรองศาสตราจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ได้ให้ความเห็นว่า เสมาหินในบริเวณนี้
ยังคงปักอยู่ในตำแหน่งเดิมโดยไม่มีการเคลื่อนย้าย เพราะหลายหลักยังคงอยู่ในสภาพที่จมดิน รวมทั้งใน
บริเวณนี้มีสภาพที่ยังไม่เคยถูกรบกวนมาก่อน เมื่อพิจารณาจากพระพุทธรูปและรูปแบบของเสมาหินที่พบ ทำ
ให้สันนิษฐานได้ว่าศาสนสถานบริเวณเนินดินหลังโรงเรียนชุมชนเปือยหัวดงแห่งนี้น่าจะมีอายุอยู่ราวสมัยท
ราวดีตอนปลาย
แต่จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบในบริเวณวัดโพธิ์ศิลาและบริเวณวัดป่าเรไรร้างถ้านำมาสัมพันธ์
กับโบราณวัตถุในบริเวณนี้แล้ว สามารถที่จะแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการความสืบเนื่องของชุมชนโบราณใน
บริเวณลุ่มลำเซบกแห่งนี้มาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๓ เลยทีเดียว
ซึ่งนั่นหมายความว่า ชุมชนโบราณบริเวณตำบลเปือยหัวดงนี้จะต้องเป็นแหล่งชุมชนโบราณที่สำคัญ
และมีขนาดใหญ่โดยมีการรับเอาพุทธศาสนามานับถืออย่างสืบเนื่องและแพร่หลายทั่วไปในบริเวณลุ่มน้ำเซ
บกและใกล้เคียง
๒. บริเวณวัดโพธิ์ศิลา
เป็นบริเวณเนินศาสนสถานที่มีต้นไม้ขึ้นปกคลุม แต่ในปัจจุบันพระและชาวบ้านได้ถางหญ้าทำให้
เตียนและนำเอาเสมาหินที่ล้มระเกะระกะมารวมกันไว้เพื่อให้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของวัด และบางส่วนได้
นำไปเก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี
ลักษณะของเสมาที่พบที่วัดโพธิ์ศิลานี้เป็นกลุ่มเสมาหินทรายปักอยู่บนเนินล้อมแท่นฐานรูปเคารพ ที่
ทำด้วยหินทรายเช่นเดียวกัน ลวดลายของเสมาสลักแบบนูนต่ำเป็นรูปหม้อน้ำหรือปูรณฆฏะอันเป็นสัญ
ลักษณที่แสดงถึงความเจิญงอกงามในศิลปะอินเดียแบบอมราวดี และคล้ายคลึงกับลวดลายที่สลักบนเสา
กลมประดับกรอบประตูสมัยก่อนเมืองพระนคร ที่พบในเขตจังหวัดอุบลราชธานี เสมากลุ่มนี้เป็นสิ่งที่แสดง
ให้เห็นชัดเจนถึงอายุของเสมาที่มีส่วนสัมพันธ์กับการแพร่ขยายเข้ามาของพุทธศาสนาในภูมิภาคนี้ ซึ่งอาจ
เป็นกลุ่มเสมาหินทรายที่มีความเก่าแก่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็ว่าได้
ที่วัดโพธิ์ศิลาแห่งนี้นอกจากจะพบแหล่งโบราณคดีที่เป็นเสมาหินทรายแล้วยังเคยมีการขุดพบหม้อ
ดินเผาขนาดใหญ่ลายเชือกทาบมีฝาปิด ภายในหม้อมีพระพุทธรูปประทับนั่งขนาดเล็กบุด้วยแผ่นเงินโดยพบ
เป็นจำนวนมาก พระพุทธรูปทั้งหมดเป็นพระพุทธรูปศิลปะพื้นถิ่นแบบล้านช้างหรือแบบลาวที่มีอายุประมาณ
๒oo ปี ซึ่งมีศิลปกรรมแบบเดียวกับพระเหลาเทพนิมิตรพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของอำเภอพนาและจังหวัด
อำนาจเจริญ แสดงให้เห็นว่าเนินศาสนสถานแห่งนี้จะต้องมีกลุ่มคนเข้ามาฟื้นฟูให้เป็นวัดขึ้นมาอีกครั้ง
หลังจากที่ปล่อยให้ทิ้งร้างมาตั้งแต่สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น
๓. บริเวณวัดป่าเรไรร้าง
อยู่ห่างจากวัดโพธิ์ศิลาไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๓oo เมตร เป็นเนินสูง เคยเป็นวัด
เก่าบนเนินเต็มไปด้วยเสมาหินที่ทำมาจากศิลาแลง มีทั้งแบบเป็นแผ่นและเป็นแท่งเสาแปดเหลี่ยมปัก
กระจายอยู่ทั่วบริเวณ ซึ่งคณะสำรวจโบราณคดีจากมหาวิทยาลัยศิลปากรโดยการนำของรองศาสตราจารย์
ศรีศักร วัลลิโภดม ให้ความเห็นว่าน่าจะเป็นกลุ่มเสมาหินที่หนาแน่นที่สุดแห่งหนึ่งในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือกลุ่มเสมาดังกล่าวไม่มีลวดลายมากนัก เพียงแต่ตกแต่งรูปร่างเป็นเสมาและสลักฐาน
บัวหงายบัวคว่ำ มีสันนูนคล้ายสถูปอยู่ตรงกลาง นอกจากนี้ ยังพบเสมาหินทรายที่มีลวดลายและแกะสลัก
ทั้งที่ฐานและตรงกลาง โดยเฉพาะตรงยอดแกนมีภาพสลักของนกแก้ว ๒ ตัวซึ่งไม่เคยพบในใบเสมาที่อื่น
เลย ซึ่งลักษณะดังกล่าวแตกต่างจากเสมาศิลาแลงที่พบในบริเวณนี้ เข้าใจว่าคงจะมีการเคลื่อนย้ายมาจาก
กลุ่มเสมาในเขตวัดโพธิ์ศิลา ปัจจุบันเสมาหลักนี้ได้เก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชา ติ อุบลราชธานี
รองศาสตราจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ได้ลงความเห็นว่าเสมาหินทรายที่พบบนเนินศาสนสถาน
แห่งนี้น่าจะมีอายุเก่าแก่กว่าบรรดาใบเสมาศิลาแลงทั้งหมด นอกจากนี้ยังพบเศษภาชนะและร่องรอยแนว
ศิลาแลงและอิฐ ซึ่ง ดร.ธิดา สาระยา ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์พื้นถิ่นเมืองอุบลได้ให้ข้อสันนิษฐานว่า
อาจมีการสร้างอาคารรวมอยู่ด้วย โดยเศษภาชนะดินเผาดังกล่าวมีการกระจายตัวอย่างหนาแน่นและมีเศษ
ภาชนะแบบหนึ่งที่มีลวดลายกดประทับเป็นรูปคลื่น ลายก้านขด และลายหวีอย่างเป็นระเบียบ เศษ
ภาชนะเหล่านี้ไม่ปรากฏว่าพบในที่อื่นอีกเลย เว้นแต่ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี ที่ถือว่าเป็นเขตอารยธรรม
ร่วมของลุ่มน้ำมูล-ชี ส่วนในจังหวัดอำนาจเจริญก็มีการพบในหลายแห่ง เช่น ที่บ้านโพนเมือง ตำบลไม้
กลอน อำเภอพนา บริเวณคึมบ้านตาล ตำบลโพนทอง อำเภอเสนางคนิคม เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันเศษ
ภาชนะดังกล่าวเหลืออยู่เบาบางและหายไปเกือบหมด ซึ่งมีสาเหตุมาจากการปรับแต่งพื้นดินเพื่อการเกษตร
ของเจ้าของที่ดิน
หลักฐานที่พบ
๑. เสมาหิน ภาชนะเผาลายเชือกทาบ พระพุทธรูปสมัยทวาราวดีตอนปลาย
๒. เสมาหินที่พบจะแบ่งเป็น ๓ กลุ่ม คือ กลุ่มเสมาหินทรายในเขตวัดโพธิ์ศิลา กลุ่มเสมาหิน ศิลา
แลง
วัดป่าเรไร และกลุ่มเสมาหินทรายหลังโรงเรียนชุมชนเปือยหัวดง
เส้นทางเข้าสู่แหล่งโบราณคดีเปือยหัวดง
จากอำนาจเจริญไปตามถนนสาย อำนาจเจริญ -อุบลราชธานี ระยะทางประมาณ ๒๓ กิโลเมตร

แหล่งโบราณคดีวัดดงเฒ่าเก่า
สถานที่ตั้ง
บ้านหนองเรือ ตำบลนาหมอม้า
อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ
ประวัติความเป็นมา
เป็นแหล่งโบราณคดีที่ได้รับอิทธิพล
สมัยทวารวดี ประมาณพุทธศตวรรษที่
๑๒-๑๓
ลักษณะโดยทั่วไป
บริเวณวัดดงเฒ่าเก่า บริเวณ
บ้านหนองเรือนบริเวณนี้ชาวบ้านสงวนไว้
เป็นป่าชุมชนหรือป่าศักดิ์สิทธิ์ประจำชุมชน มีไม้ยืนต้นขนาดใหญ่เป็นจำนวนมากและเป็นแหล่งที่มีการปัก
เสมาหินในพื้นที่กว้างกว่าในหลาย ๆ แห่ง
เสมาเหล่านี้มีหลายแบบ หลายขนาด รวมทั้งบางหลักก็มีลวดลายที่แสดงให้เห็นว่ามีการสร้าง
และปักหลายสมัยต่อเนื่องกันมาโดยเฉพาะเสมาหินทรายที่สลักลวดลายนูนต่ำที่ฐานเป็นรูปดอกไม้ รูปหม้อ
น้ำ และตอนบนเป็นรูปวงกลมคล้ายกับธรรมจักร ซึ่งลวดลายเหล่านี้เป็นลักษณะพิเศษของกลุ่มชนที่พบใน
เขตอารยรรมลุ่มน้ำลำเซบายในเขตจังหวัดอำนาจเจริญ ยโสธร และอุบลราชธานีเท่านั้น และมีอายุอยู่ใน
ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓ นอกจากเสมาหินแล้วยังพบฐานรูปเคารพ แบบหล่อพระพุทธรูป และ
พระพุทธรูปหินทรายแบบทวารวดีตอนปลาย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในระยะประมาณ ๑๒oo ปีที่ผ่านมา
โนนวัดดงเฒ่าเก่าเป็นศาสนสถานที่นับถือพุทธศาสนาสืบเนื่องกันมาก่อนแล้ว และโนนวัดดงเฒ่า
เก่าคงจะเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนา ซึ่งมีหลักฐานการตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนโบราณคือ
เศษภาชนะดินเผาที่กระจายอยู่ตามผิวดินและชั้นดินที่ไม่ลึกมากนัก ซึ่งเนินดินเหล่านี้น่าจะเป็นทั้งที่อยู่
อาศัยและบริเวณที่ฝังศพที่ยึดถือเป็นประเพณีมาตั้งแต่ก่อนสมัยประวัติศาสตร์แล้วเพียงแต่ในขณะนี้ยังไม่มี
การขุดค้นเพื่อศึกษากันอย่างจริงจัง หลักฐานทางโบราณคดีดังกล่าวจึงทำให้ทราบแต่เพียงว่าอยู่ในยุคต้น
ประวัติศาสตร์ที่มีความสืบเนื่องสัมพันธ์กับแหล่งโบราณคดีอื่น ๆ ที่กระจัดกระจายทั่วภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือเท่านั้น
หลักฐานที่พบ
เสมาหินทราย พระพุทธรูปหินทรายแบบทวาราวดีตอนปลาย
เส้นทางเข้าสู่แหล่งโบราณคดีวัดดงเฒ่าเก่า
จากตัวอำเภอเมือง ตามถนนอรุณประเสริฐ (อำเภอเมือง-ทางแยกตำบลน้ำปลีก-วัดดงเฒ่าเก่า)
ระยะทางประมาณ ๒๓ กิโลเมตร
แหล่งโบราณคดีดอนยาง
สถานที่ตั้ง
บ้านดอนเมย ตำบล
นาจิก อำเภอเมือง จังหวัด
อำนาจเจริญ
ประวัติความเป็นมา
เป็นแหล่งโบราณคดี
ที่มีอายุประมาณปลายยุค
ก่อนประวัติศาสตร์กับยุค
ประวัติศาสตร์ตอนต้น
ลักษณะทั่วไป
เป็นบริเวณพบที่ทางตอนเหนือของบ้านดอนเมย ตำบลนาจิก อำเภอเมือง ซึ่งเป็นบริเวณที่
เรียกว่า “ดอนยาง” ก็ปรากฏว่าพบภาชนะที่เป็นชามดินเผาชามก้นลึกลายเชือกทาบและผิวมัน บางชิ้นมีลาย
เขียนสีแดงอยู่ด้านในเป็นเส้นตามแนวตั้ง นอกจากนี้ยังพบพบขวานสำริดที่มีแกลบข้าวติดอยู่ที่ผิวรวมอยู่
ด้วย โดยพบในระดับความลึก ๓ เมตร นอกจากนั้นในชั้นดินที่สูงเหนือขึ้นมาคือ ประมาณ ๑ เมตร ก็พบ
เศษภาชนะดินเผาสีน้ำตาลผิวเรียบอีกประเภทหนึ่งด้วย ชึ่งจากการที่พบโบราณวัตถุในชั้นดินที่มีความลึกใน
ระดับที่แตกต่างกันเช่นนี้ ย่อมแสดงให้เห็นว่าในบริเวณดอนยางแห่งนี้จะต้องมีผู้คนมาตั้งหลักแหล่งเป็น
ชุมชนโบราณอย่างน้อยถึง ๒ ยุค ซึ่งความเป็นไปได้ก็คือในสมัยตอนปลายยุคก่อนประวัติศาสตร์ต่อเนื่อง
กับยุคประวัติศาสตร์ตอนต้น ซึ่งพบภาชนะที่เป็นชามดินเผาลายเชือกทาบและผิวเรียบและหัวขวานสำริดที่มี
แกลบข้าวติดอยู่ที่ผิวรวมอยู่ด้วย
หลักฐานที่พบ
ภาชนะดินเผา และหัวขวานสำริด
เส้นทางเข้าแหล่งโบราณคดีดอนยาง
จากอำเภอเมืองไปตามถนนชยางกูร (อำนาจเจริญ-อุบลราชธานี) ระยะทางประมาณ ๑๑
กิโลเมตร




โดย: อำนาจเจริญ : บ้านเรา เมืองเรา 2 IP: 113.53.201.83 วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:13:03:21 น.  

 
แหล่งโบราณคดีบ้านโพนเมือง
สถานที่ตั้ง ตำบลไม้กลอน อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ
ประวัติความเป็นมา เป็นชุมชนที่ปรากฏชั้นดินที่เกี่ยวเนื่องกับการอยู่อาศัยไม่น้อยกว่า ๓ ชั้น
วัฒนธรรมก่อนประวัติศาสตร์ พบภาชนะดินเผาโครงกระดูก และเนินศาสนสถาน ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะมี
การนับถือพุทธศาสนา
ลักษณะทั่วไป
พบเศษภาชนะดินเผาที่มีทั้งผิวเรียบและลายเชือกทาบชุบน้ำโคลนสีแดง โดยที่ข้างในเป็นสีดำ
และภาชนะดินเผาที่มีรอยกดเป็นรูปคลื่นลายก้นขดและลายหวีอยู่ห่างจากบริเวณบ้านเปือยหัวดงไปทางทิศ
ตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ในเขตบ้านโพนเมือง ตำบลไม้กลอน อำเภอพนา ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่
ท่ามกลางลำห้วยสายเล็ก ๆ หลายสายที่ไหลมาจากที่สูงกว่าทั้งจากทางตอนเหนือและทาง
ตะวันออกเฉียงเหนือผ่านมารวมกันก่อนที่จะไหลลงสู่ลำเซบกในทางตอนใต้ จากการสำรวจของคณะนัก
สำรวจทางโบราณคดีจากมหาวิทยาลัยศิลปากรยังไม่ปรากฏว่าพบศาสนสถานหรือศาสนวัตถุใด ๆ เช่น
เสมาหิน หรือชิ้นส่วนทางศาสนวัตถุทั้งของเนื่องในพุทธศาสนาหรือศาสนาฮินดู แต่ทว่าเป็นชุมชนที่มี
วิวัฒนาการและพัฒนาการขั้นสูงของชุมชนโบราณ เพราะจากหลักฐานที่ปรากฏในชั้นดินก็คือเศษภาชนะดิน
เผาที่กระจายกันอยู่อย่างหนาแน่น อีกทั้งเนินดินอีกบริเวณหนึ่งภายในชุมชนโบราณก็พบตะกรันและร่องรอย
จากการถลุงเหล็กซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงการเป็นแหล่งถลุงเหล็กที่สำคัญของผู้คนในสมัยโบราณนี่มี
พัฒนาการในเขตลุ่มน้ำเซบก ซึ่งมีพัฒนาการทางสังคมเข้าสู่ยุคโลหะแล้ว
นอกจากพวกตระกันเหล็กแล้ว ก็มีพวกลูกปัดแก้วและลูกปัดที่ทำจากหินที่มีค่า รวมทั้งเครื่องมือ
เครื่องใช้ที่ทำจากสำริด และยังเคยปรากฏว่าพบกลองสำริดริมลำห้วยในเขตหมู่บ้านแต่ในปัจจุบัน แต่
ปัจจุบันสูญหายไปหรืออาจถูกขายให้กับพ่อค้าของเก่าไปแล้วก็ได้ ซึ่งอาจเกิดจากความไม่รู้จักคุณค่าทาง
ประวัติศาสตร์และเป็นการตัดตอนพัฒนาการแห่งเผ่าพันธ์มนุษย์ที่มีการสืบเนื่องบนผืนดินอำนาจเจริญ
ชุมชนโบราณในเขตตำบลโพนเมืองแห่งนี้ยังไม่มีหน่วยงานทางโบราณคดีเข้ามาขุดค้นอย่างเป็นทางการเว้น
แต่คณะนักสำรวจที่เข้ามาสืบค้นหลักฐานเพื่อการศึกษาและงานวิจัย ทั้ง ๆ ที่มีหลักฐานหลายอย่างที่น่าจะ
เชื่อได้ว่าอาจจะเป็นชุมชนโบราณที่มีขนาดใหญ่
เช่น บริเวณเนินดินข้างถนนบริเวณในหมู่บ้านซึ่งสูงประมาณ ๒-๓ เมตร หรือมากกว่านั้นพบว่าเป็น
ชั้นดินที่เกี่ยวเนื่องกับการอยู่อาศัยของคนโบราณมาไม่น้อยกว่า ๓ ช่วงวัฒนธรรมที่มีการสืบเนื่องมาตั้งแต่
สมัยยุคประวัติศาสตร์ตอนปลายจนถึงยุคประวัติศาสตร์ตอนต้น นอกจากนี้ในบริเวณชั้นดินกลาง ๆ ของ

เนินดินได้มีพบเศษภาชนะดินเผาที่มีทั้งผิวเรียบและลายเชือกทาบชุบน้ำโคลนสีแดงโดยที่ข้างในเป็นสีดำซึ่ง
พบได้หลายที่ทางฝั่งเหนือของแม่น้ำชี เช่นที่เมืองฟ้าแดดสงยางในเขตอำเภอกันทรวิชัย จังหวัด
มหาสารคาม และในบริเวณอื่น ๆ ในบริเวณใกล้เคียงกัน แต่มีไม่มากหรือไม่หนาแน่นเหมือนเช่นที่บ้านโพน
เมือง ซึ่งกลายเป็นลักษณะเฉพาะของชุมชนโบราณแห่งนี้ และจัดเป็น “เครื่องปั้นดินเผาแบบโพนเมือง”
หลักฐานที่พบ ภาชนะดินเผา โครงกระดูก และเนินศาสนสถาน
เส้นทางเข้าสู่แหล่งโบราณคดีบ้านโพนเมือง จากอำเภอพนา ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร
หลักฐานทางโบราณคดีบริเวณตำบลโพนทอง
สถานที่ตั้ง บ้านโพนทอง ตำบลโพนทอง อำเภอเสนางคนิคม
ประวัติความเป็นมา เป็นชุมชนที่ปรากฏชั้นดินที่เกี่ยวเนื่องกับการอยู่อาศัยในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ พบ
ภาชนะดินเผารวมทั้งโครงกระดูก ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะมีการนับถือพุทธศาสนา
ลักษณะทั่วไป
ลักษณะของโบราณคดีตามแบบที่พบในบริเวณนี้ ได้ปรากฏร่องรอยการตั้งถิ่นฐานที่เป็นการแสดงให้
เห็นถึงการกระจายอยู่ทั่วของชุมชนโบราณในเขตจังหวัดอำนาจเจริญในเขตตอนเหนือซึ่งเป็นที่สูง โดยเฉพาะ
ในบริเวณบ้านโพนทอง ตำบลโพนทอง อำเภอเสนางคนิคม ซึ่งห่างจากหมู่บ้านไปทางทิศตะวันตกประม าณ
๓ กิโลเมตรจะปรากฏเนินดินที่ชาวบ้านเรียกว่า “คึมบ้านตาล” ซึ่งปัจจุบันถูกเปลี่ยนเป็นพื้นที่ทางการเกษตร
เกือบหมดแล้ว ก็พบร่องร่อยการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณเป็นหลักฐานทางโบราณคดีที่เป็น
เครื่องปั้นดินเผาที่กระจายตามผิวดินและในชั้นดินที่ไม่ลึกมากนักหมือนกับที่พบในบ้านนาหมอม้า และอีก
บริเวณหนึ่งคือ “บ้านเก่า” ซึ่งเป็นเนินดินสูงอยู่ทางทิศตะวันตกติดกับหมู่บ้านก็น่าจะเป็นบริเวณที่เป็นที่ตั้ง
ของชุมชนโบราณอย่างแท้จริง เพราะนอกจากจะปรากฏร่องรอยและหลักฐานเป็นโครงกระดูกมนุษย์
โบราณที่ยังเป็นวัฒนธรรมการฝังแบบเหยียดยาวหรือพิธีกรรมการฝังศพครั้งแรกแล้ว ยังพบเครื่องมือ
เครื่องใช้สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่นการฝังศพในภาชนะเครื่องเคลือบดินเผาปากกว้างมีการ
ขีดลวดลายอันเป็นลักษณะเฉพาะของชุมชน
หลักฐานที่พบ ภาชนะดินเผา โครงกระดูก และเนินศาสนสถาน
เส้นทางเข้าสู่แหล่งโบราณคดีตำบลโพนทอง
ระยะทางจากจังหวัดอำนาจเจริญประมาณ ๓๑ กิโลเมตร โดยเดินทางตามถนนชยางกูรขึ้นไป
ทางทิศเหนือ เลี้ยวขวาที่บ้านนาไร่ใหญ่ จะผ่านตัวอำเภอเสนางคนิคมแล้วมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกอี
ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร

บทที่ ๔
สถานที่สำคัญทางศาสนา
วัดพระเหลาเทพนิมิต
สถานที่ตั้ง บ้านพนา อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ
ประวัติความเป็นมา
เดิมชื่อวัดศรีโพธิ์ชยารามคามวดี ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดพระเหลาเทพนิมิต" ตามชื่อของ
พระพุทธรูป เป็นองค์พระประธานประดิษฐานในอุโบสถวัดพระเทพนิมิต เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มี
ลักษณะงดงามยิ่ง มีอายุกว่า ๒๐๐ ปี ภายในวัดมีสิ่งก่อสร้างเผาปูชนียวัตถุที่สำคัญ คือ หอไตรปิฎก และ
พระพุทธรูปมากมาย
ความสำคัญต่อชุมชน
๑. เป็นสถานที่ศึกษาในท้องถิ่น
๒. เป็นศูนย์รวมในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของประชาชน
๓. ในวันมาฆบูชาของทุกปีจะมีงานปิดทององค์พระเทพนิมิตจูงใจให้พุทธศาสนิกชนระลึกถึง คุณ
พระรัตนตรัย
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
โบสถ์และพระพุทธรูปเป็นศิลปะแบบเวียงจันทน์
เส้นทางเข้าสู่วัดพระเหลาเทพนิมิต
จากจังหวัดอำนาจเจริญไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตามเส้นทางอำนาจเจริญ-พนา ห่างจาก
ถนนชยางกูร ๒๐ กิโลเมตร
อำนาจเจริญ : บ้านเรา เมืองเรา โดย เชิดศักดิ์ วงศ์พิจิตร
พุทธอุทยาน
สถานที่ตั้ง บริเวณเขาดานพระบาท ถนนชยางกูร อำเภอเมืองอำนาจเจริญ
ประวัติความเป็นมา
พุทธอุทยานเป็นสถานที่ประดิษฐานพระมงคลมิ่งเมือง ซึ่งถือว่าเป็น พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์
คู่บ้านคู่เมืองของชาวอำนาจเจริญและเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนโดยทั่วไป ผู้เริ่มก่อสร้างพระมงคล
มิ่งเมือง คือพระครูทัศนประกาศ (บุ จันทศิริ) เจ้าอาวาสวัดสำราญนิเวศ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓ และสำเร็จ
ในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ โดยมี พณฯ พลเอกประภาส จารุเสถียร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงมหาดไทยในสมัยนั้น เป็นประธานในการกระทำพิธีพุทธาภิเษก
ความสำคัญต่อชุมชน
๑. เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวอำนาจเจริญ
๒. ในวันเพ็ญ เดือน ๓ จะมีงานนมัสการพระมงคลมิ่งเมืองทุกปี
ลักษณะทางปฏิมากรรม
องค์พระมงคลมิ่งเมือง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย บุด้วยกระเบื้องโมเสกสีทอง สถาปนิก
ผู้ออกแบบองค์พระคือนายจิตร บัวบุศย์ ปรากฏได้รับอิทธิพลของศิลปะอินเดียเหนือหรือปาละ
เส้นทางเข้าสู่พุทธอุทยาน
จากอำเภอเมืองไปตามเส้นทางอำนาจเจริญ -มุกดาหาร ระยะทางประมาณ ๓ กิโลเมตร
วัดพระศรีเจริญ
สถานที่ตั้ง หมู่ ๖ บ้านหัวตะพาน ตำบลหัวตะพาน อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ
ประวัติความเป็นมา
วัดพระศรีเจริญ ชื่อวัดนี้ตั้งตามชื่อของพระศรีเจริญ ซึ่งเป็นองค์พระประธานในพระอุโบสถ มีอายุ
เก่าแก่ไม่ต่ำกว่า ๒๐๐ ปี เดิมชื่อว่า "วัดใน" ปัจจุบันเปิดเป็นสำนักเรียนปริยัติธรรมแผนกธรรมบาลีและ
ปริยัติธรรมสามัญ ม.๑-ม.๓
ความสำคัญต่อชุมชน
๑. เป็นสถานที่ให้การศึกษาแก่ประชาชนในท้องถิ่น
๒. เป็นศูนย์รวมทางจิตใจของประชาชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะในเดือน ๔ จะมีงานประจำปี ปิดทอง
พระเจ้าใหญ่พระศรีเจริญ มีผู้คนหลั่งไหลมาจากทุกสารทิศ เพราะเชื่อว่าเป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์
เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจของประชาชน
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
เป็นสถาปัตยกรรมแบบเวียงจันทน์
เส้นทางเข้าสู่วัดศรีเจริญ
๑. จากเส้นทางสายอำนาจเจริญ-น้ำปลีก-หัวตะพาน
๒. เส้นทางบ้านขมิ้น-หัวตะพาน ระยะทางประมาณ ๒๐ กิโลเมตร

วัดถ้ำแสงเพชร
สถานที่ตั้ง
อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ
ประวัติความเป็นมา
หลวงพ่อชา วัดหนองป่าพง จังหวัด
อุบลราชธานี ได้เดินธุดงค์มายังบริเวณถ้ำ
แสงเพชรและใช้ถ้ำเป็นที่พำนักวิปัสสนา เมื่อ
พ.ศ. ๒๕๑๑ ซึ่งถือว่าเป็นสาขาที่ ๕ ของวัด
หนองป่าพง มีความเงียบสงบเหมาะแก่
การปฏิบัติธรรม
ความสำคัญต่อชุมชน
เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมสำหรับประชาชนทั่วไป
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
มีเจดีย์พุทธบูชา ศาลาพันห้อง ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมสมัยใหม่
เส้นทางเข้าสู่วัดถ้ำแสงเพชร
จากตัวอำเภอเมืองตามถนนอรุณประเสริฐ (อำนาจเจริญ-เขมราฐ) ระยะทางประมาณ ๑๕
กิโลเมตร
บทที่ ๕
แหล่งท่องเที่ยว
วนอุทยานดอนเจ้าปู่
สถานที่ตั้ง
ตำบลพนา อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ
สิ่งดึงดูดใจ
เป็นป่าดงดิบ ประกอบด้วยป่าไม้เบญจพรรณนานาชนิด
เป็นที่อาศัยของสัตว์ป่านานาพันธุ์ โดยเฉพาะมีลิงเป็นจำนวน
มาก มีผู้คนมาแวะชมและให้อาหารลิงเป็นประจำมิได้ขาด
เพราะเป็นลิงที่เชื่อง ไม่ทำอันตรายผู้มาเยี่ยมชม ชาวพนาได้
ประกาศให้บริเวณนี้เป็นแดนอภัยทานสิ่งอำนวยความสะดวกในวนอุทยานดอนเจ้าปู่ มีถนนลาดยาง และ
รถโดยสารผ่าน ภายในบริเวณวนอุทยานมีศาลาพัก มีอาหารลิงวางขายสำหรับนักท่องเที่ยวเส้นทางเข้าสู่วน
อุทยานดอนเจ้าปู่ จากตลาดสดไปตามถนนหน้าที่ว่าการอำเภอพนา ประมาณ ๒๐๐ เมตร
วนอุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว
สถานที่ตั้ง
อยู่บนรอยต่อของ ๓ จังหวัด คือ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร อำเภอดอนตาล จังหวัด
มุกดาหาร อำเภอเสนางคนิคม และอำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ มีเนื้อที่ประมาณ ๒๓๒ ตาราง
กิโลเมตร ที่ทำการอุทยานอยู่ในเขตอำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร
สิ่งดึงดูดใจ
เป็นภูเขาสลับซับซ้อนประกอบด้วยป่าไม้อันอุดมสมบูรณ์ บางแห่งเป็นลานหิน ชาวท้องถิ่นเรียกว่า
"ดาน" กระจายอยู่บนภูเขาอดีตเคยเป็นฐานที่มั่นของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย(พคท.)เขตงาน๔๔๔
(อุบลเหนือ) วนอุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว มีจุดเด่น คือ ภาพเขียนสีโบราณก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่ง
สันนิษฐานว่ามีอายุรุ่นเดียวกับภาพเขียนสีโบราณที่ผาแต้ม ในจังหวัดอุบลราชธานี บนภูสระดอกบัวที่เป็น
แอ่งหินมีดอกบัวหลากสี
สิ่งอำนวยความสะดวกในวนอุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว
มีบริการบ้านพัก ห้องประชุม มีสำนักงานป่าไม้ที่ดูแลความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว
เส้นทางเข้าสู่วนอุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว
จากตัวอำเภอชานุมาน ไปตามเส้นทางสาย ๒๒๗๗ (อำเภอเลิงนกทา-ดอนตาล) ประมาณ
๓๒ กิโลเมตร หรือใช้เส้นทาง อำนาจเจริญ-มุกดาหาร พอถึง อำเภอเลิงนกทาแล้วเลี้ยวขวาอีกประมาณ 15
กิโลเมตรก็จะถึงที่ทำการวนอุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว

เที่ยวป่า ศึกษาธรรมชาติ เทือกภูเมืองเสนางคนิคม
สถานที่ตั้ง
เทือกเขาสาขาของภูพานที่พาดผ่าน
เขตอำเภอเสนางคนิคม
สิ่งดึงดูดใจ
ภูโพนทอง เป็นภูเขาหินใหม่ที่มีหน้า
ตัดที่สูงชันมากอยู่ ห่างจากบ้านโพนทองไป
ทางทิศเหนือ ประมาณ ๖ กิโลเมตร
เหมาะสำหรับนักปีนเขาหรือนักผจญภัยที่
ต้องการพิสูจน์ความยากลำบาก เขาลูกนี้มี
สิ่งที่น่าสนใจดังนี้
ดานมะเกลือ เป็นจุดชมวิวที่มองเห็นทัศนียภาพมากที่สุด มีลักษณะเป็นลานหินที่มีความ
สวยงาม มีต้นรังและต้นสามพันตาขึ้นอยู่ทั่วไป เคยเป็นที่ลงจอดของเฮลิคอปเตอร์ของทางการในคราว
สงครามต่อสู้ทางลัทธิ เป็นบริเวณที่เหมาะในการตั้งเต๊นท์ชมวิวและพระอาทิตย์ขึ้นตอนเช้าตรู่
ผาแอวขัน มีลักษณะเป็นชะง่อนหินยื่นออกมาเป็นเพิง ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นก้อนหินขนาดใหญ่
ตั้งวางซ้อนกันมองดูเด่นเป็นสง่า ผาแอวขันตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของภูโพนทอง
ถ้ำคอกช้าง เป็นลักษณะโขดหินวางตั้งประสานกันเป็นหลังคา ปกคลุมด้วยต้นไม้และพันธ์ไม้
เลื้อยนานาชนิด ด้านล่างเป็นทรายที่เกิดจากการผุพังของหิน เป็นที่หลบซ่อนและพักอาศัยของช้างป่าใน
สมัยก่อนที่ปัจจุบันยังเหลือร่องรอยโคลนตมที่ช้างได้ถูไถติดผนังถ้ำ
หมุดแผนที่ทหาร เป็นจุดที่สูงที่สุดของเทือกภูบริเวณนี้ เป็นลานหินกว้างที่ตั้งอยู่บนยอดภู
โพนทอง มีหมุดหลักฐานที่ทหารทำไว้ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม
ภูวัด ตั้งอยู่ทางตะวันตกของภูโพนทองและมีความสูงน้อยกว่า ชั้นบนของภูเป็นลาหินกว้างซึ่งมี
อยู่หลายระดับ มีจุดที่น่าสนใจดังนี้
หินตั้งหรือเสาเฉลียง มีลักษณะเป็นกลุ่มหินทรายที่ถูกกัดกร่อนจากน้ำฝนและแรงลม วางซ้อน
ตั้งเรียงรายอยู่ทางขึ้นภูวัด
โสกฮัง เป็นแนวลาดของหินที่ถูกน้ำฝนกัดเซาะเป็นร่อง ๆ หรือโตรกธารอุดมไปด้วยต้นรังที่ขึ้นอยู่
ทั่วบริเวณ ในช่วงปลายฤดูฝนหรือต้นฤดูหนาวจีดอกไม้ป่าจำนวนมากขึ้นแซมช่อสลับสีดูสวยงามมาก
ดานเค็ง เป็นยอดสุดของภูวัด มีลักษณะเป็นลานหินกว้างมีดอกไม้หอมและพืชหลังเขานานาพันธ์
ขึ้นสลับกันอย่างสวยงามโดยเฉพาะช่วงปลายฤดูฝนหรือต้นฤดูหนาว รถยนต์สามารถขึ้นไปถึงได้เหมาะใน
การตั้งแคมป์ไฟ
ศาลปู่เจ้าดงบังอี่หรือปู่อัครฮาด เป็นศาลพระภูมิเจ้าที่ดงบังอี่-ดงหัวกอง เป็นที่เคารพสักการะ
ของคนที่เดินทางผ่านป่าแห่งนี้ โดยการนำดอกไม้-ใบไม้มากราบไหว้สักการะเพื่อเป็นสิริมงคลและเป็นการ
ขอความคุ้มครอง จนกองท่วมเป็นเนินดินสูงชาวบ้านเรียกว่า”โพนดอกไม้บูชา”

เส้นทางเข้าแหล่งท่องเที่ยว ใช้เส้นทางเดียวกันกับการเดินทางเข้าสู่แหล่งโบราณคดีตำบล
โพนทอง เมื่อถึงทางแยกเข้าบ้านนาสะอาดให้เลี้ยวซ้ายเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวแห่งนี้ ส่วนอีกเส้นทางโดย
การแยกที่บ้านโป่งหิน ก็จะสามารถเดินทางไปได้อย่างสะดวกเช่นกัน หรือจะใช้เส้นทางผ่านบ้านโพนทองตรง
ขึ้นหน้าภูโพนทองเลยก็ได้
แก่งต่างหล่าง
สถานที่ตั้ง
ริมแม่น้ำโขงที่หมู่บ้านศรีสมบูรณ์ ตำบลชานุ
มาน อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ
สิ่งดึงดูดใจ
เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่มีแหล่งน้ำ หาด
ทรายสวยงาม และมีร้านอาหารประเภทปลาจาก
ลำน้ำโขงชนิดต่างๆ ให้เลือกรับประทานได้เส้นทาง
เข้าสู่แก่งต่างหล่าง จากตัวอำเภอชานุมานไป
ตามเส้นทางอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานีกับจังหวัดมุกดาหาร ระยะทางประมาณ ๓ กิโลเมตร
แก่งหินขัน
สถานที่ตั้ง กลางลำน้ำโขงบริเวณบ้านหินขัน อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ
สิ่งดึงดูดใจ
เป็นแก่งที่มีบริเวณกว้างแผ่ขยายออกไป ติดกับร่องน้ำใหญ่ระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐ
ประชาธิปไตยประชาชนลาว และเป็นสถานที่มีอาหารประเภทปลาจากลำน้ำโขงจำนวนมากที่มีรสชาติอร่อย
เส้นทางเข้าสู่แก่งหินขันจากที่ว่าการอำเภอชานุมาน ตามเส้นทางอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ถึง
จังหวัดมุกดาหาร ไปทางทิศใต้ ระยะทางประมาณ ๑๓ กิโลเมตร
สุดเขตแดนสยาม
สถานที่ตั้ง หน้าที่ว่าการอำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ
สิ่งดึงดูดใจ
เป็นสถานที่ชมวิว ชมธรรมชาติของลำน้ำโขง ซึ่งสามารถมองเห็นเกาะแก่งและกระแสคลื่นของลำ
น้ำโขงซัดสาดกระทบจากฝั่งขวา ส่องประกายเป็นระลอกยาว
สิ่งอำนวยความสะดวกในสุดเขตแดนสยาม
มีศาลาชมวิว จำนวน ๕ หลัง ภายในมีที่นั่งสะดวก สบาย
เส้นทางเข้าสู่สุดเขตแดนสยาม
หน้าที่ว่าการอำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ

ป่าดงใหญ่
สถานที่ตั้ง ตำบลสร้างถ่อน้อย อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ มีเนื้อที่ประมาณ ๓๒,๒๕๐ ไร่
สิ่งดึงดูดใจ
เป็นสถานที่มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ เป็นป่าไม้ชุมชนที่ราษฎรในพื้นที่มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่า ทุก
คนมีจิตสำนึกร่วมในการอนุรักษ์ป่าไม้ นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่น่าสนใจ ดังนี้
๑. ศูนย์เพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่า (บริเวณศูนย์ศิลปาชีพ)
๒. สวนสัตว์เปิดเฉลิมพระเกียรติบ้านนาคูและหนองสีโว สามารถเดินชมทัศนียภาพและสัตว์
ได้ มีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
๓. ที่พักบริเวณหนองหาร หนองหารเป็นหนองน้ำขนาด ๓๗๕ ไร่ มีน้ำใสสะอาด บริเวณโดยรอบ
เป็นป่าทึบ และมีลานกว้างบริเวณชายหนองน้ำ เหมาะสำหรับจัดเป็นที่พักแรมของนักท่องเที่ยว
สิ่งอำนวยความสะดวกในป่าดงใหญ่
๑. มีสถานที่จำหน่ายสินค้าพื้นบ้าน อาหาร และเครื่องดื่ม
๒. บริการเช่าเต็นท์ที่พัก
๓. ให้การดูแลรักษาความปลอดภัยแก่ผู้พักแรม
เส้นทางเข้าสู่ป่าดงใหญ่
มีเส้นทางหลายสายที่ไปถึงป่าดงใหญ่ คือจากตัวอำเภอหัวตะพานไปตามถนนสายหัวตะพาน -
อำนาจเจริญ ระยะทาง ประมาณ ๕ กิโลเมตร หรือห่างจากตัวจังหวัดอำนาจเจริญ ประมาณ ๔๐ กิโลเมตร
เสนางค์” เอกสารเผยแพร่แหล่งท่องเที่ยวทาง
ธรรมชาติของอำเภอเสนางคนิคม, อุบลราชธานี : เพลทกราฟฟิกออฟเซ็ท, 2545.


โดย: อำนาจเจริญ : บ้านเรา เมืองเรา 3 IP: 113.53.201.83 วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:13:04:08 น.  

 
บทที ๖
บุคคลสำคัญ
ทางด้านศิลปวัฒนธรรม
นางฉวีวรรณ (ดำเนิน) พันธุ
ประวัติ
นางฉวีวรรณ ดำเนิน เกิดเมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๔๘๘
ที่บ้านหนองไหลน้อย ตำ บลสร้างถ่อน้อย จังหวัดอำ นาจเจริญ
สมรสกับนายโกมินทร์ พันธุ มีบุตร ๒ คน จบการศึกษาชั้นประถมปีที่
๔ แล้วฝึกหัดหมอลำกับบิดาและจากสำนักหมอลำอื่น ๆ จนมีชื่อเสียง
โด่งดังในลำเรื่องต่อกลอน "ทำนองฉวีวรรณ"
ผลงานและเกียรติประวัติ
ผลงานด้านงานเขียน-งานประพันธ์
๑. แต่งกลอนและประดิษฐ์ท่ารำพื้นเมืองประกอบการแสดงต่าง ๆ
๒ ได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวดหมอลำในโอกาสต่าง ๆ
ผลงานด้านอื่นๆ
๑. เป็นอาจารย์พิเศษสอนศิลปพื้นเมืองที่วิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด ตั้งแต่ปี ๒๕๒๓-ปัจจุบัน
๒. เป็นวิทยากรพิเศษตามสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั่วประเทศ
๓. เป็นผู้นำศิลปการแสดงพื้นเมืองไปเผยแพร่ทั้งในและต่างประเทศ
เกียรติประวัติ
ได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ ส าขาศิลปการแสดง ปี พ.ศ. ๒๕๓๖
ผู้นำศาสนา
พระสิริพัฒนาภรณ์ (หลอม มหาวิริโย)
ประวัติ
พระสิริพัฒนาภรณ์ นามเดิม หลอม มหาวิริโย เกิดเมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๔๘๗ ที่บ้านบ่อ
ชะเนง ตำบลหนองแก้ว อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ สกุลเดิม "มณีวงค์" จบการศึกษา
นักธรรมเอกและ
เปรียญธรรม ๗ ประโยค
ผลงานและเกียรติคุณที่ได้รับ
๑. ได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนดำเนินการอบรมประชาชนในอำเภอหัว
ตะพานตามโครงการแผ่นดินธรรม-แผ่นดินทอง
๒. ได้จัดการศึกษาพระปริยัติธรรมทั้งแผนกบาลีและนักธรรม จนได้รับการยกย่องจากกรมการ
ศาสนาให้เป็นสำนักศาสนศึกษาตัวอย่าง
๓ เป็นผู้มีความสามารถในการประสานงานปกครองระหว่างคณะสงฆ์และบ้านเมืองได้เป็นอย่างดี
อำนาจเจริญ : บ้านเรา เมืองเรา โดย เชิดศักดิ์ วงศ์พิจิตร
๔. ได้รับเชิดชูเกียรติคุณพระนักพัฒนาแผ่นดินธรรม-แผ่นดินทอง จาก ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสู
ลานนท์ นายกรัฐมนตรี ในปี ๒๕๒๙
๕. ได้รับใบประกาศเกียรติคุณประเภทบุคคลดีเด่นจากสมาคมผู้สื่อข่าวแห่งประเทศไทย
๖. เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดอำนาจเจริญ ปี ๒๕๓๘–ปัจจุบัน
ปราชญ์และภูมิปัญญาชาวบ้าน
นายแสวง สุวรรณสาร
ประวัติ
นายแสวง สุวรรณสาร อาศัยอยู่ที่หมู่ ๓ ตำบลโนนโพธิ์ อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัด
อำนาจเจริญ มีบุตร ๔ คน
ผลงาน
๑. เป็นผู้มีความสามารถในการแต่งกลอนผญาและกลอนลำต่าง ๆ เช่น ลำเรื่องต่อกลอน ลำ
เพลิน ลำคู่และลำซิ่ง
๒. ได้รับรางวัลจากการประกวดการแต่งกลอนพื้นบ้านจากจังหวัดอุบลราชธานี
๓ . ได้รับรางวัลผู้สูงอายุดีเด่นด้านบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมปี ๒๕๓๘ จากสภาสังคม
สงเคราะห์ แห่งประเทศไทย

บทที่ ๗
ประเพณีและวิถีชาวบ้าน
ประเพณีฮีตสิบสองคองสิบสี่
ช่วงเวลา ตลอดปี
ความสำคัญ
ชาวจังหวัดอำนาจเจริญ
มีวิถีชีวิตอยู่บนพื้นฐานความเชื่อ
ทางพระพุทธศาสนา ผีสาง
เทวดาและธรรมชาติอย่างผสม
กลมกลืน ประเพณีและวัฒนธรรม
ที่ปรากฏทางด้านจิตใจ วัตถุและ
พิธีกรรมยังเป็นไปตามประเพณี
และวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวอีสานทั่วไป คือ "ฮีตสิบสองคองสิบสี่" ซึ่งยึดถือปรากฏกันจนมาถึงปัจจุบัน
สาระสำคัญ
ฮีตสิบสองเป็นประเพณีที่ชาวอีสานประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่โบราณกาล คำว่า "ฮีต" มี
ความหมายตรงกับคำว่า "รีต" อันหมายถึงจารีตประเพณี ดังนั้น "ฮีตสิบสอง" จึงหมายถึงประเพณีที่ชาว
อีสานจะต้องประพฤติปฏิบัติในรอบปีทั้งสิบสองเดือน ถ้าใครฝ่าฝืนถือว่าเป็นความผิด เรียกว่า "ผิดฮีต"
สังคมทั่วไปจะตั้งข้อรังเกียจ ฮีตสิบสองจึงเป็นข้อบัญญัติที่นักปราชญ์ชาวอีสานโบราณ ได้บัญญัติขึ้นเพื่อให้
คนในชุมชนได้ประกอบกิจกรรมร่วมกัน ทำให้คนในชุมชนได้มีโอกาสพบปะกันเดือนละ ๑ ครั้ง นอกจากนี้
ยังเป็นประเพณีจรรยาทางสังคมอีสานทั่วไป จึงยึดมั่นในการปฏิบัติตามฮีตสิบสองอย่างเคร่งครัด ซึ่ง
ส่วนมากจะเป็นงานบุญที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาเป็นหลัก โดยเริ่มงานบุญตั้งแต่เดือนอ้าย (เดือนธันวาคม)
ฮีตสิบสอง การทำบุญในรอบปีมี ๑๒ เดือนคือ
เดือนอ้าย บุญเข้ากรรม เป็นการทำบุญกับพระภิกษุที่ต้องอาบัติและเข้าปริวาสกรรม
เดือนยี่ บุญคูณลาน เป็นการทำบุญขวัญข้าวที่ลานนวดข้าว
เดือนสาม บุญข้าวจี่ คือการจี่ข้าวถวายแด่พระภิกษุ
เดือนสี่ บุญพระเหวด คือการทำบุญเทศน์มหาชาติ
เดือนห้า บุญสงกรานต์ คืองานสงกรานต์
เดือนหก บุญบั้งไฟ เป็นประเพณีขอฝน
เดือนเจ็ด บุญชำฮะ เป็นการล้างสิ่งที่เป็นเสนียดจัญไรต่างๆ
เดือนแปด บุญเข้าพรรษา คือการทำบุญเข้าพรรษา
เดือนเก้า บุญข้าว ประดับดิน เป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่เปรต
เดือนสิบ บุญข้าวสาก เป็นการทำบุญถวายสลากภัต
เดือนสิบเอ็ด บุญออกพรรษา คืองานออกพรรษา
เดือนสิบสอง บุญกฐิน คือการทำบุญกฐิน
อำนาจเจริญ : บ้านเรา เมืองเรา โดย เชิดศักดิ์ วงศ์พิจิตร
นอกจากนี้ ชาวจังหวัดอำนาจเจริญยังมีความคิดที่จะพื้นฟู ประเพณีลงข่วง ซึ่งเป็นวิถีชีวิตแบบ
หนึ่งของชาวจังหวัดอำนาจเจริญในสมัยเก่า ให้เป็นประเพณีประจำจังหวัด ประเพณีลงข่วง เป็นประเพณีที่
ทำกันในบริเวณลานบ้าน ในช่วงจากการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว โดยจะมีการชุมนุมระหว่างบ่าวสาว และฝ่าย
หญิงจะมีกิจกรรม เช่น ดีดฝ้าย เข็นฝ้าย สาวไหม ขณะเดียวกันฝ่ายชายก็จะมีการร่วมวงโดยมีการ
"เล่นสาว" หรือ "เว้าสาว" โดยดีดพิณและเป่าแคนเป็นทำนองพื้นเมืองของชาวอีสาน พร้อมทั้งสนทนา
เกี้ยวพาราสีกันด้วยภาษาเฉพาะที่เรียกว่า "ผญาเครือ" หรือ "ผญาเกี้ยว"
คองสิบสี่ คือการครองธรรมสิบสี่อย่าง คือ
๑. ฮีตเจ้าคองขุน คือการปฏิบัติระหว่างพระเจ้าแผ่นดินกับขุนนาง
๒. ฮีตท้าวคองเพีย คือ การปฏิบัติระหว่างเจ้านายชั้นผู้ใหญ่กับขุนนางชั้นผู้ใหญ่
๓. ฮีตไพร่คองนาย เป็นการปฏิบัติของราษฎรต่อนายของตน
๔. ฮีตบ้านคองเมือง คือกฎระเบียบของบ้านเมือง
๕. ฮีตปู่คองย่า
๖. ฮีตพ่อคองแม่
๗. ฮีตสะใภ้คองเขย
๘. ฮีตป้าคองลุง
๙. ฮีตลูกคองหลาน
จาก ๕-๙ เป็นธรรมเนียมที่พึงปฏิบัติระหว่างคนในครอบครัว
๑๐. ฮีตเฒ่าคองแก่ เป็นธรรมเนียมที่พึงปฏิบัติของผู้เฒ่าผู้แก่ ซึ่งถือเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ที่จะต้อง
วางตนให้เป็นที่เคารพของลูกหลาน
๑๑. ฮีตปีคองฮีตเดือน หมายถึงการปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีใน ๑๒ เดือน
๑๒. ฮีตไร่คองนา หมายถึงธรรมเนียมที่ต้องปฏิบัติในการทำไร่ทำนา
๑๓. ฮีตวัดคองสงฆ์ เป็นหลักสำหรับบุคคลที่ต้องปฏิบัติต่อพระศาสนา
๑๔. ฮีตเจ้าคองเมือง เป็นแบบแผนสำหรับผู้ปกครอง

บทที่ ๘
ของฝากจากอำนาจเจริญ
เนื้อแห้ง (ทางภาคอีสาน เรียกว่า ซี่นแห้ง)
วิธีการทำ
๑. ใช้เนื้อวัวชนิดดีนำมาทำเป็นแผ่นๆ
ปรุงด้วยเกลือ ซอส น้ำปลา น้ำตาล
พริกไทย กระเทียม โขลกให้เข้ากัน
๒. นำเนื้อที่ทำเป็นแผ่นแล้ว มาปรุง
รสกับเครื่องเทศที่เตรียมไว้ แล้วนำไปตาก
แห้ง เนื้อแห้งมี ๒ แบบ คือ
แบบเเดดเดียวและทำให้แห้งเลย
ประโยชน์
มีประโยชน์ทางโภชนาการด้านโปรตีน และยังจำหน่ายเพื่อเป็นของฝากสร้างรายได้ให้ครอบครัว
ได้ด้วย
ชุดวอร์ม
จังหวัดอำนาจเจริญ มีกลุ่มรับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป ที่บ้านเปือยหัวดง บ้านกุดสิม บ้าน
อำนาจ อำเภอลืออำนาจ และบ้านเค็งใหญ่ อำเภอหัวตะพาน โดยแต่ละกลุ่มจะซื้อผ้าจากกรุงเทพฯ เสื้อผ้า
สำเร็จรูปส่วนใหญ่จะเป็นชุดวอร์ม
วัสดุ
ผ้าวอร์มเป็นจำนวนมากมาจากโรงงานที่กรุงเทพฯ
วิธีการทำ
๑. ออกแบบชุดวอร์ม
๒. ตัดตามแบบ
๓. เย็บด้วยเครื่องจักเย็บผ้า
มีการทำเครื่อง นุ่งห่มประเภทชุดวอร์มในหมู่บ้านต่างๆ บ้านเปือยหัวดง บ้านกุดสิม บ้าน
อำนาจ อำเภอลืออำนาจ และบ้านเค็งใหญ่ อำเภอหัวตะพาน ทำเป็นชุดวอร์ม ส่งไปจำหน่ายขายใน
จังหวัดต่าง ๆ ในภาคอีสาน (ขายปลีก) และส่งโรงงาน ร้านจำหน่ายเพื่อขายส่ง ในกรุงเทพ ฯ

ผ้าลายขิด
การทำผ้าลายขิดเป็นการทำที่ต้องใช้ฝีมือ ซึ่งมีมาแต่สมัยโบราณ นิยมว่าเป็นของสูงใช้เป็นของ
ฝากญาติผู้ใหญ่ ในโอกาสพิเศษ หรือถวายแด่พระภิกษุ ในสมัยก่อนไม่มีการซื้อขาย แต่ใน ปัจจุบันมีการ
จัดทำมากและมีคนนิยมมากขึ้น จนกลายเป็นสินค้าที่สำคัญของจังหวัดอำนาจเจริญ
วัสดุ
ผ้าทอลายขิด ทำจากเส้นใยฝ้าย ที่ได้จากต้นฝ้าย โดยการผ่านกรรมวิธีต่าง ๆ หลายขั้นตอนแต่เนื่องจาก
ปัจจุบันมีฝ้ายสำเร็จรูป จึงทำให้สะดวกมากยิ่งขึ้น ผ้าทอลายขิด นิยมใช้สีสันต่างๆ เพิ่มลวดลายให้ดูสวยขึ้น
จึงมีการย้อมสีใยฝ้าย นิยมทั้งย้อมจากสารเคมี และสีจากธรรมชาติ ได้แก่ จากส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น
เปลือกประดู่ ให้สีน้ำตาล
เปลือกนุ่น ให้สีชมพู
เปลือกมะม่วง ให้สีเขียว
เปลือกลิ้นฟ้า ให้สีเขียว
เปลือกลิ้นจี่ป่า ให้สีน้ำตาลแดง
เปลือกบก ให้สีเทา
เปลือกหว้า ให้สีม่วงเทา
เครือโก่ย (ไม้เถาชนิดหนึ่งที่เกิดในภาคอีสาน) ให้สีน้ำตาล
เหง้ากล้วย ให้สีเทา
ต้นคราม ให้สีคราม
การย้อมสีฝ้าย จะมีวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดและส่วนของพืชที่นำมาใช้ในการย้อมสี
อุปกรณ์ที่ใช้ในการทอผ้า
มีกี่เป็นโครงสร้างใหญ่ของเครื่องมือในการทอผ้า ซึ่งจะมีอุปกรณ์ประกอบคือ ฟืม เขาหูก คานเหยียบ
ไม้แกนม้วนผ้า (เรียกตามภาษาถิ่นอีสานว่า ไม้กำพั่น) ผัง ไม้แป้นกี่ (สำหรับคนนั่งทอผ้า) คานแขวน กงปั่น
ด้าย หลอดด้าย กระสวย และไม้เก็บขิด (เป็นไม้ที่มีลักษณะเรียวแบน ไม้นี้จะช่วยให้ได้ลายขิดตามต้องการ)
วิธีการทำ
การทอผ้าลายขิดจะใช้ไม้เก็บขิดงัดเส้นยืนขึ้นตามจำนวนที่ออกแบบลวดลายไว้ แล้วใช้กระสวยที่
บรรจุหลอดด้าย สอดไปตามร่องของเส้นยืนตามไม้ขิดนั้น เสร็จแล้วใช้ฟืมกระทบอัดให้เนื้อผ้าแน่น เรา
สามารถสร้างลวดลายขิดต่างๆ ได้ตามใจชอบ
การประยุกต์ใช้
อำนาจเจริญ : บ้านเรา เมืองเรา โดย เชิดศักดิ์ วงศ์พิจิตร
ผ้าทอลายขิดสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลายอย่าง เช่น
๑. หมอนขิด มีทั้งแบบรูปสี่เหลี่ยม หมอนสามเหลี่ยม ซึ่งจะใช้ลายขิดเฉพาะแบบสำหรับทำ
หมอนโดยเฉพาะ เพราะลายขิดถือเป็นของสูง จึงนิยมใช้ทำหมอน
๒. ทำเบาะยัดนุ่นรองนั่ง
๓. ทำเป็นผ้าคลุมไหล่ ผ้าพันคอ
๔. เย็บเป็นกระเป๋า
๕. ใช้ทำผ้าปูโต๊ะ
๖. ทำผ้าห่ม ผ้าคลุมเตียง
๗. บุผนังห้อง แสดงถึงความนิยมไทย



โดย: อำนาจเจริญ : บ้านเรา เมืองเรา 4 IP: 113.53.201.83 วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:13:05:24 น.  

 
บทที่ ๙
ธรรมชาติวิทยาและทรัพยากร
ลิงวอก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Macaca mulatta
วงศ์ RHESUS MACAQUE
ลักษณะ
ลิงวอกเป็นลิงที่มีรูปร่างเพรียว ลำตัวส่วนหลังมีสีน้ำตาล บริเวณอื่นมีสีน้ำตาลอมเทาหางยาว
ปานกลาง ซึ่งเมื่อเทียบกับลิงแสมแล้วมีหางสั้นกว่า มีขนขึ้นวนเป็นก้นหอยบริเวณแก้ม เป็นลิงที่ชอบอยู่
ร่วมกันเป็นฝูง และมีตัวผู้แก่เป็นจ่าฝูง มักพบอยู่ตามป่าภูเขาที่มีโขดหินค่อนข้างแห้งแล้ง ออกหากินใน
บริเวณที่อยู่อาศัยหรือตามพื้นดิน แต่สามารถนำมาฝึกได้ง่ายและเชื่อง ในทางการแพทย์นิยมใช้
เป็นสัตว์ทดลองยา ลิงวอกจะผสมพันธุ์กันเมื่อมีอายุได้ราว ๓-๔ ปี ออกลูกครั้งละ ๑ ตัว ลูกที่ยังเล็ก
อยู่จะเกาะติดกับอกแม่จนกระทั่งอายุราว ๑ ปี จึงออกไปหากินอย่างอิสระ มีอายุยืนประมาณ ๒๐ ปี
ลิงวอกเป็นสัตว์ที่ชอบกินผัก ผลไม้ ใบไม้ และสัตว์ขนาดเล็ก รวมทั้งแมลงเป็นอาหาร เวลากินอาหารจะ
เก็บไว้ที่ถุงข้างแก้มก่อนแล้วเอามือดันออกมากินภายหลังอีก
แหล่งที่พบ
ดอนเจ้าปู่ อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งเป็นป่าดงดิบประกอบด้วยป่าไม้เบญจพรรณนานา
ชนิดบนพื้นที่ ๒๖๐ ไร่
ความสัมพันธ์กับชุมชน
ลิงวอกที่ดอนเจ้าปู่อำเภอพนา เป็นสัญลักษณ์หนึ่งของอำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ ที่ชุมชนเชื่อ
ว่าเป็นสัตว์ที่ห้ามล่าและขาย และห้ามตัดไม้ทำลายป่าบริเวณนี้ด้วย จึงทำให้ป่าดอนเจ้าปู่คงสภาพป่าไว้ได้
ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
ลิงวอกดอนเจ้าปู่ อำเภอพนา สามารถดึงดูดให้คนในจังหวัดและต่างจังหวัดมาเที่ยว ทำให้มีรายได้
จากการท่องเที่ยว เช่น รายได้จากการขายกล้วยและอาหารลิง ซึ่งช่วยส่งเสริมให้เกิดอาชีพการเกษตรอื่นๆ
เช่น การปลูกกล้วย การขายของที่ระลึกของจังหวัด
นกคุ่มอกลาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Barred button quail
วงศ์ TURNIX SUSCITATOR
ลักษณะ
นกคุ่มอกลายเป็นนกคุ่มขนาดเล็ก ตัวผู้และตัวเมียแตกต่างกัน ตัวเ มียมีแถบสีดำบริเวณคาง คอ
และหน้าอกเห็นได้ชัดเจน ซึ่งไม่มีในตัวผู้ ส่วนอื่นคล้ายกันระหว่างตัวผู้กับตัวเมีย คือมีขนด้านหลังสีน้ำตาล
บริเวณปีกมีลายขีดตามขวางเล็กๆ นกคุ่มอกลายชอบอาศัยอยู่ตามป่าดงดิบระดับต่ำ หากินตาม
พื้นดิน เมื่อถูกรบกวนหรือมีศัตรูจะวิ่งหรือหลบเข้าไปซุกซ่อนอยู่ใต้พุ่มไม้ นกคุ่มตัวเมียจะมีพฤติกรรม
ทางเพศเด่นกว่าตัวผู้

คือเป็นฝ่ายเกี้ยวพาราสีตัวผู้ ตัวผู้จะเป็นฝ่ายฟักไข่และเลี้ยงดูลูกนกที่ยังเล็กอยู่ นกคุ่มตัวเมียอก
ลายชอบกินเมล็ดพืช ผักต่างๆ ตามพื้นดินเป็นอาหาร
แหล่งที่พบ
พบอยู่ทั่วไปในทุกท้องที่ของจังหวัดอำนาจเจริญ
ความสัมพันธ์กับชุมชน
นกคุ่มอกลายมีความสัมพันธ์กับชุมชน เพราะเป็นสัตว์ปีกที่มีอยู่ตามป่าทุกท้องที่ของจังหวัด
หากิน
ตามพื้นดิน และบินได้ไม่ไกล ชอบวิ่งหลบตามพุ่มไม้ นกคุ่มอกลายเป็นนกที่ผู้คนโดยเฉพาะชาวชนบทนิยมนำ
เนื้อมาประกอบอาหาร เช่น ทำอาหารประเภทลาบ เป็นต้น
ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
นกคุ่มอกลายในจังหวัดอำนาจเจริญยังไม่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ
แมงกระชอน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Orthropterra
วงศ์ MOLE CRICKET
ลักษณะ
มีลำตัวกลมลักษณะคล้ายจิ้งหรีด แต่มีปีกสั้นมาก ขนาดความยาวลำตัวประมาณ ๓-๔
เซนติเมตร หนวดสั้น ขาหน้ากว้างมีลักษณะคล้ายอุ้งมือใช้ในการขุดดิน
แหล่งที่พบ
ชอบอยู่ตามพื้นที่ชื้น ขุดรูอยู่ใต้ดินโดยเฉพาะตามท้องนาโดยทั่วไป กินรากพืชและแมลงต่างๆ
เป็นอาหาร
ความสัมพันธ์กับชุมชน
ในช่วงที่พื้นนาน้ำเริ่มลด พืชน้ำพวกผักแว่น ผักขาเขียด (ผักอีฮีน) กำลังเจริญเติบโต ในดินใต้พืช
เหล่านี้ จะมีรังของแมงกระชอนจำนวนมาก ชาวบ้านจะเตรียมถังน้ำ และภาชนะไปจับแมงกระชอน โดย
เทน้ำลาดให้ดินอ่อนนุ่มแล้วใช้ย่ำไปมาจนดินเป็นเลน ทำให้รังของแมงกระชอนถูกทำลาย แมงกระชอนจะ
โผล่ขึ้นมาเหนือโคลน ชาวบ้านจะจับแมงกระชอนมาคั่วเป็นอาหาร หรือนำไปเป็นเหยื่อตกปลา ปัจจุบันการ
จับแมงกระชอนจะใช้หลอดไฟฟ้าสีม่วง ในตอนกลางคืนล่อให้แมงกระชอนออกมาเล่นไฟ ซึ่งมันจะตกไป
ในกับดักของชาวบ้าน แมงกระชอนนับว่าเป็นอาหารที่มีรสชาติอร่อยโดยเฉพาะตัวเมียที่มีไข่เต็มท้อง
ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
ราคาแมงกระชอนจะขึ้นอยู่กับฤดูและปริมาณที่จับได้ เมื่อปี ๒๕๔๔ ราคาจำหน่ายประมาณ ๑๐๐
ตัว ต่อ ๒๐-๓๐ บาท ซึ่งถือว่าเป็นรายได้เสริมของชาวชนบทจังหวัดอำนาจเจริญเป็นอย่างดี

กบนา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Common lowland Frog
วงศ์ RANA RUGULOSA
ลักษณะ
ขนาดจากปลายปากถึงก้นประมาณ ๖๕-๘๕ มิลลิเมตร บนแผ่นหลังจะมีสันยาวๆ มากมายด้านใต้
คางสีขาว มักมีจุดสีดำ และขีดสีดำตรงกึ่งกลาง ๑ ขีด พบทั้งในน้ำนิ่งและในแหล่งน้ำไหล ผสมพันธุ์
ภายนอกตัว ปล่อยทั้งน้ำเชื้อและไข่ออกมาผสมกันในน้ำ กบตัวผู้จะส่งเสียง "โอ๊บ-โอ๊บ" เพื่อเรียกตัว
เมียออกมาผสมพันธุ์และประกาศเขตแดน กบนาจะวางไข่ลงในน้ำ ไข่ของกบจะมีลักษณะลอยติดกันเป็นแพ
บนผิวน้ำ ก่อนจะเป็นกบจะเป็นลูกอ๊อดก่อน ซึ่งมีลำตัวกลมป้อม หางเรียวยาว บริเวณรอบปากมีฟันหลาย
แถว กบนาจะวางไข่ตลอดฤดูฝนตามบริเวณทุ่งนาข้าวทั่วไป
แหล่งที่พบ
มีทั่วไปตามท้องนาในทุกท้องที่ ในฤดูแล้งจะปิดปากรูด้วยดินแล้วจำศีล
ความสัมพันธ์กับชุมชน
กบนาเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สามารถนำมาประกอบเป็นอาหารได้หลายอย่าง เช่น แกงอ่อม
กบย่าง กบอั่ว กบตากแห้ง กบทอดกรอบ และหนังกบทอดกรอบ ฯลฯ เนื่องจากกบนากินแมลงเป็น
อาหาร จึงมีส่วนช่วยเกษตรกรในการกำจัดแมลงศัตรูพืชในปัจจุบัน กบนาสามารถนำไปปรุงอาหารได้หลาย
อย่าง และมีรสชาติอร่อย ปัจจุบันกบนาค่อนข้างหายากจึงมีราคาแพง ดัง นั้นชาวอำนาจเจริญจึงได้นำ
กบนามาเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ
ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
เมื่อถึงฤดูฝนกบจะออกมาผสมพันธุ์ ชาวชนบทจะออกมาจับกบนาเพื่อนำไปจำหน่ายเพิ่ม
รายได้ให้กับครอบครัว และลูกอ๊อดก็เป็นอาหารที่มีรสชาติอร่อย จึงมีราคาแพง ซึ่งทำให้ชาวชนบทมี
รายได้จากการจำหน่ายลูกอ๊อดและกบนาพอสมควร
กิ้งก่า
ชื่ออื่น กะปอม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Chordata
วงศ์ AGAMID
ลักษณะ
กิ้งก่าเป็นสัตว์เลื้อยคลาน มีขาสองคู่ มีนิ้ว ๕ นิ้ว แต่ละนิ้วมีเล็บแหลมตรงปลายทำให้สามารถวิ่ง
ตามพื้นดินได้อย่างรวดเร็ว กิ้งก่ามีหางยาว ตามปกติกิ้งก่าจะเกาะอยู่บนต้นไม้คอยดักจับแมลงเป็นอาหาร
กิ้งก่าเป็นสัตว์ที่สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมแต่ละภูมิประเทศได้เป็นอย่างดี โดยจะมีสีต่างๆ ตามที่
อยู่อาศัยเพื่อเป็นการพรางตา สามารถเปลี่ยนสีให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม สำหรับคอยล่าเหยื่อมากกว่าเป็นการ
ป้องกันตัว
แหล่งที่พบ
กิ้งก่ามีทั่วไปตามต้นไม้ในป่าโปร่งโดยทั่วไป

ความสัมพันธ์กับชุมชน
ชาวชนบทของจังหวัดอำนาจ มีกลวิธีการจับกิ้งก่าในหลายลักษณะ กิ้งก่านำมาประกอบเป็น
อาหารได้หลายอย่าง เช่น ก้อย (ลาบ) ยำ ย่าง แกง เนื่องจากกิ้งก่ากินแมลงเป็นอาหาร จึงมีส่วนช่วย
เกษตรกรในการกำจัดแมลงศัตรูพืช ปัจจุบันปริมาณกิ้งก่าลดลงมาก เพราะคนนิยมนำมาเป็นอาหาร และ
ปริมาณป่าลดน้อยลง จึงมีหลายชุมชนมีข้อห้ามในการล่ากิ้งก่า โดยเฉพาะในเขตวัด
ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
กิ้งก่าจะมีมากในฤดูร้อนและเป็นช่วงที่กิ้งก่าอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ ชาวชนบทจะออกล่ากิ้งก่าเพื่อ
นำมาเป็นอาหารและจำหน่ายเพิ่มรายได้ในครัวเรือน ซึ่งกิ้งก่าเป็นสัตว์ที่มีตามฤดูกาล จึงมีราคาแพง
ปลาหลด
ชื่อสามัญ Lesser spicy cel
ชื่อวิทยาศาสตร์ Macrognathus aculeatus (Bloch)
วงศ์ Mastocembelidac
ลักษณะ
เป็นปลาน้ำจืดอยู่ในวงศ์ปลากระทิง มีรูปร่างคล้ายคลึงกับปลากระทิง แต่ปลาหลดมีขนาดเล็ก
กว่า ลำตัวยาวเรียว ด้านข้างแบน หัวเล็ก จะงอยปากเรียวแหลม และที่ปลายมีหนวดที่สั้น ๑ คู่ ปากเล็ก
ตาเล็ก ครีบเล็กปลายแหลม ครีบหลังและครีบก้นยาวมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบหางมีขนาดเล็กปลายมนไม่มี
ครีบท้อง หลังมีสีน้ำตาล ท้องมีสีน้ำตาลอ่อนปนเหลือง มีจุดสีดำที่ครีบหลัง ๓-๕ จุด บางตัวมีจุดดำที่โคน
หางหนึ่งจุด ความยาวประมาณ ๑๕-๓๐ เซนติเมตร
แหล่งที่พบ
ปลาหลดมีชุกชุมทั้งในแม่น้ำ ลำคลอง คู และหนองบึงทั่วไป ชอบฝังตัวในดินโคลนหรือบริเวณที่มี
ใบไม้เน่าเปื่อย ในเดือนกรกฎาคม จะพบปลาหลดจับคู่กันเป็นคู่ๆ เพื่อผสมพันธุ์ตามบริเวณน้ำตื้น ริมฝั่งที่
น้ำท่วมใหม่ๆปลาหลดจะกินหน้าดิน ลูกกุ้ง ลูกปลา แมลงและเนื้อสัตว์ที่เน่าเปื่อย ซากพืชที่เน่าเปื่อย
ความสัมพันธ์กับชุมชน
เนื้อปลาหลดเป็นอาหารที่มีรสชาติดี แช่น้ำปลาหรือเกลือตากแดดเดียว แล้วนำมาทอดจะอร่อยมาก
ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
เป็นปลาน้ำจืดที่มีทุกท้องที่ของจังหวัดอำนาจเจริญในแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น ลำเซบาย และลำ
เซบาย เนื่องจากรสชาติดี จึงนิยมนำมาทำอาหารโดยเฉพาะปลาหลดตากแห้ง ถือเป็นอาหารที่ได้รับความ
นิยม ทำให้มีการจับปลาหลดมาขายเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวอีกระดับหนึ่ง
เกลือสินเธาว์ (NaCl)
ลักษณะ
เกลือสินเธาว์เป็นเกลือที่มีเม็ดละเอียดขนาดเล็กกว่าเกลือทะเล เกิดจากชั้นหินเกลือที่ตกผลึก
มาแต่เดิม บางบริเวณชั้นเกลือที่อยู่เบื้องล่างเหล่านี้ จะถูกน้ำใต้ดินชะละลายไหลซึมขึ้นมาจับตัวแห้งอยู่บน
หน้าดินชั้นบนเรียกว่า เกลือสินเธาว์ มีลักษณะเป็นคราบขาวจับอยู่ตามหน้าผิวดิน การนำเกลือสินเธาว์
มาใช้ โดยการขุดบริเวณผิวดินที่มีคราบเกลือจับอยู่ นำมาละลายน้ำแล้วต้มให้แห้ง ก็จะได้เกลือสินเธาว์ที่
มีสีขาว เม็ดละเอียด รสเค็ม นิยมนำมาเป็นเครื่องปรุงอาหาร หรือถนอมอาหารโดยเฉพาะการทำปลาร้า ถ้า
ใช้เกลือสินเธาว์หมักจะได้ปลาร้าที่มีรสกลมกล่อม กลิ่นหอม และไม่เน่า
แหล่งที่พบ
เกลือสินเธาว์พบทั่วไปทุกท้องที่ โดยเฉพาะพื้นที่อำเภอพนา และอำเภอลืออำนาจ จังหวัด
อำนาจเจริญ
ความสัมพันธ์กับชุมชน
เกลือสินเธาว์นับเป็นวัตถุดิบที่สำคัญมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพราะใช้ในการประกอบอาหาร
แทนน้ำปลา หรือใช้ในการทำปลาร้า ซึ่งเป็นเครื่องปรุงรสที่ให้ความเค็มในการประกอบอาหารประเภท
ต่าง ๆ เช่น แกง อ่อม น้ำพริก ถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นในครัวเรือน นอกจากนี้ยังเป็นส่วนผสมสำคัญของพริก
เกลือ จิ้มกับผลไม้รสเปรี้ยว หรือรสฝาดสำหรับเป็นอาหารว่าง เช่น สับปะรด มะขามอ่อน มะขามเปียก
สมอ ฯลฯ
ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
การทำเกลือสินเธาว์นับเป็นอาชีพเสริมให้เกษตรกรที่มีพื้นที่มีเกลือสินเธาว์ โดยราคาของเกลือ
สินเธาว์จะแพงกว่าเกลือทะเลประมาณ ๓ เท่า ซึ่งทำรายได้ให้เกษตรกรเป็นอย่างดี นอกจากนี้ผลิตผล
จากเกลือสินเธาว์ เช่น ปลาร้า เนื้อเค็ม หน่อไม้ดอง ฯลฯ ถือว่าเป็นรายได้เสริมแก่ผู้ประกอบการเป็นอย่างดี
ต้นสาบเสือ
ชื่ออื่น บ้านร้าง หญ้าเลาฮ้าง หญ้าเหม็น ต้นหญ้าขิว
ชื่อสามัญ Eupatorium domatium Linn.
ชื่อวิทยาศาสตร์ Chromolaena odorant (linn.) King et Robins.
วงศ์ ASTERACEAE
ลักษณะ
เป็นไม้ล้มลุกอายุปีเดียว ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสูงได้ถึง ๑.๕ เมตร ทุกส่วนของต้นขณะที่ยังอ่อน
อยู่มีขน ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปไข่ ผิวใบมีขน กว้าง ๒-๖.๕ เซนติเมตร ยาว ๕.๕-๑๑.๕ เซนติเมตร ดอกช่อ
ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาวหรือขาวแกมม่วง ผลแห้งไม่แตก ลักษณะเป็นเส้นยาวแบน มีขน
แหล่งที่พบ
พบทั่วไปตามป่าละเมาะ จะมีมากในฤดูฝน
ความสัมพันธ์กับชุมชน
เป็นพืชสมุนไพร ใบตำผสมกับปูนพอกห้ามเลือด ตำหรือเคี้ยวเป็นยาสมานแผลที่ดี ทั้งต้นมีกลิ่น
แรง เป็นยาฆ่าแมลง ถ้าใช้แต่น้อยเป็นน้ำหอมได้ ยาพื้นบ้านใช้รากผสมกับรากมะนาวและรากย่านางต้ม
น้ำกิน แก้ไข้ป่า ใบตำผสมเกลือพอกแผลห้ามเลือด ใบและดอกตำบีบน้ำทางห้ามเลือด ทำให้เลือดแข็งตัว
ได้เร็วขึ้น สารสกัดจากกิ่งและใบด้วย คลอโรฟอร์ม และอะซีโตน มีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ
แบคทีเรีย Staphylococcus aureus และ Baccillus subtilis ซึ่งทำให้เกิดหนอง
ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
ไม่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้เร็วเมื่อได้รับน้ำฝน จึงทำให้เป็น
วัชพืช แย่งอาหารของพืชไร่ ทำให้ต้องสิ้นเปลืองแรงงานในการกำจัดวัชพืชนี้
อำนาจเจริญ : บ้านเรา เมืองเรา โดย เชิดศักดิ์ วงศ์พิจิตร
กลอย
ชื่ออื่น มันกลอย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dioscorea hispida Dennst.
วงศ์ DIOSCOREACEAE
ลักษณะ
เป็นไม้เถาเลื้อยพัน ลำต้นมีหนาม หัวใต้ดินขนาดใหญ่ ใบประกอบมี ๓ ใบย่อยเรียงสลับ ใบย่อย
ใบกลางรูปทรงรี หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง ๖-๑๕ เซนติเมตร ยาว ๘-๑๒ เซนติเมตร ใบย่อยสอง
ข้างรูปไข่ หรือรูปไข่กลับ ดอกช่อ แยกเพศอยู่คนละต้น ออกที่ซอกใบ ห้อยลง ดอกช่อตัวผู้ยาวได้ถึง ๔๐
เซนติเมตร ออกเป็นช่อซ้อน ๒-๓ ชั้น ดอกช่อตัวเมียเป็นช่อเดี่ยว กลีบรวมสีเหลือง ผลแห้ง มีปีก ๓ ปีก
แหล่งที่พบ
พบทั่วไปตามป่าของจังหวัดอำนาจเจริญ
ความสัมพันธ์กับชุมชน
กลอยเป็นพืชที่นำมาประกอบเป็นอาหารหวาน โดยมีกระบวนการผลิตที่ต้องใช้เวลานานและมี
กรรมวิธีเฉพาะท้องถิ่น เพราะถ้าไม่มีกรรมวิธีที่ถูกต้อง ที่หัวกลอยจะมีสารพิษหลายชนิดที่ทำให้เกิดอาการ
เมาเช่น dioscorine ซึ่งผู้ที่รับประทานเข้าไปจะมีอาการใจสั่น วิงเวียน คันคอ อาเจียน เหงื่อออก ตาพร่า
เป็นลมได้ ในอดีตในเวลาที่ขาดแคลนอาหารชาวบ้านก็จะรับประทานกลอยแทนข้าวได้ด้วย
ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
เนื่องจากกลอยเป็นอาหารที่อร่อย คนนิยมรับประทาน แต่ในปัจจุบันมีจำนวนน้อยลง เพราะป่าไม้
ถูกทำลาย ปริมาณกลอยจึงลดลง ทำให้กลอยเป็นอาหารหวานที่หายากและราคาแพง
ข้าวเหนียว
ลักษณะ
เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว จัดอยู่ในตระกูลเดียวกับหญ้า ต้นข้าวมีลักษณะภายนอกบางอย่าง เช่น ใบ
กาบ ใบ ลำต้น และรากคล้ายหญ้า รากเป็นฝอยแตกแขนงกระจายอยู่ใต้ผิวดิน และมีรากพิเศษ
เกิดขึ้นที่ข้อซึ่งอยู่เหนือพื้นดินด้วย ลำต้นเป็นโพรงตรงกลางและแบ่งออกเป็นปล้องๆ โดยมีข้อกั้นระหว่าง
ปล้อง ความยาวของปล้องจะแตกต่างกัน ปกติมีประมาณ ๒๐-๒๕ ปล้อง ใบ ประกอบด้วยกาบใบและ
แผ่นใบ เชื่อมติดกันด้วยข้อต่อของใบ ที่แผ่นใบมีขน รวงข้าว หมายถึง ช่อดอกของข้าวซึ่งเกิดขึ้นที่ข้อ
ของปล้องอันสุดท้ายของต้นข้าว ดอกข้าวเป็นดอกสมบูรณ์เพศ เมล็ดข้าวเหนียวเป็นเมล็ดข้าวที่มีเนื้อขุ่น
กว่าข้าวเจ้าเมื่อนึ่งแล้วเมล็ดจะเหนียวติดกัน ประกอบด้วยแป้งอะมีโลเพกติน (amylopectine) เป็นส่วนใหญ่ และ
มีอะไมเลส (amylase) เป็นส่วนน้อยประมาณร้อยละ ๕-๗ แป้ง amylopectine ทำให้เมล็ดข้าวเหนียวมี
ความเหนียวเมื่อนึ่งสุกแล้ว พันธุ์ข้าวเหนียวที่นิยมปลูก ได้แก่ สันป่าตอง ข้าวเหนียวเบา ดอเหลือง ดอนวล
แหล่งที่พบ
ปลูกทั่วไปในพื้นที่ของจังหวัดอำนาจเจริญ
ความสัมพันธ์กับชุมชน
ข้าวเหนียวนับเป็นอาหารหลักของชาวอีสานทั่วไป มีการทำนาข้าวเหนียวในทุกท้องที่เพื่อบริโภค
ส่วนที่เหลือบริโภคก็เก็บไว้ในยุ้งฉาง จะนำไปแลกเปลี่ยนกับปัจจัยอื่น ๆ บ้างก็เฉพาะสิ่งที่จำเป็นจริง ๆ
ปกติชาวนาจะปลูกข้าวในฤดูฝน
จากการที่ชาวจังหวัดอำนาจเจริญนิยมบริโภคข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก และมีวิถีชีวิตผูกพัน
กับข้าวเหนียวอย่างใกล้ชิด ทั้งการเพาะปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว การบริโภค และการเปลี่ยนแปลง
ด้านต่างๆ ในการผลิต จึงกลายเป็นวัฒนธรรมประจำท้องถิ่น นำไปสู่พิธีกรรม ประเพณี ความเชื่อ ได้แก่
๑. ผีตาแฮก ผีตาแฮกเชื่อว่าเป็นผีเฝ้าไร่นา แต่ละปีเจ้าของที่นาจะทำพิธีเซ่นสังเวยก่อนลงไถ
นาและเมื่อเก็บเกี่ยวแล้วจะต้องแบ่งข้าวสี่เกวียน (จำลองเล็กๆ) ให้ผีตาแฮก
๒. นางธรณี หรือแม่ธรณี ก่อนจะไถนาหรือทำนา จะทำพิธีเซ่นไหว้พาหวาน (มีข้าวนึ่งไข่ไก่) ๑ พา
เพื่อขออนุญาตต่อนางธรณี และให้ช่วยปกป้องรักษาข้าวในนา
๓. ปู่ตา เป็นผีประจำหมู่บ้านอันเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน ทุกท้องที่จะสร้างศาลปู่ตา แล้ว
อัญเชิญปู่ตาซึ่งถือเป็นผีบรรพบุรุษให้มาทำหน้าที่พิทักษ์รักษามนุษย์ สัตว์และพืชในหมู่บ้าน ทุกปีจะมีพิธี
บวงสรวงปู่ตา และเสี่ยงทายเรื่องความสุขสบาย ความอุดมสมบูรณ์ของหมู่บ้าน และปริมาณน้ำฝน
๔. แถน เป็นเทวดาหรือผีฟ้าอยู่บนสวรรค์ มีอำนาจสั่งให้ฝนตกได้ แต่ละปีจะมีการจุดบั้งไฟบูชาแถน
เพื่อให้แถนประทานฝนลงมาให้
พิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำนา เช่น พิธีเอาฝุ่น (ปุ๋ย)ลงนา ในเดือนสามออกใหม่ (ต้นเดือนสาม-
ข้างขึ้น) พิธีแฮกไถนา ประมาณเดือนหก พิธีแฮกดำนา ประมาณเดือนเจ็ดหรือเดือนแปด (มิถุนายน-
กรกฎาคม) พิธีทำลานนวดข้าว พิธีทำบุญคูณลาน
นอกจากนี้ยังมีพิธีกรรมเกี่ยวกับข้าวโดยอ้อม เช่น งานบุญข้าวประดับดิน บุญข้าวสาก (บุญ
สลากภัต) บุญคุ้มข้าวใหญ่ เป็นต้น
ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
เนื่องจากข้าวเหนียวเป็นอาหารหลักของภาคอีสาน และภาคอื่นๆ ก็นิยมรับประทาน นอกจากนี้ยัง
นำไปประกอบอาหารคาวหวานอีกมากมายหลายชนิด จึงนับได้ว่าข้าวเหนียวเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ

เอกสารและวัสดุข้อมูลอ้างอิง
คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ,สำนักงาน. “ข้อมูลวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” วัสดุจานบันทึก
ข้อมูล (ซีดี.รอม) โครงการสื่อปฏิสัมพันธ์วัฒนธรรมของชาติ ตามพระราชดำริสมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี, 2545.
เชิดศักดิ์ วงศ์พิจิตร. อารยธรรมลุ่มลำเซ. เอกสารประกอบเรียนการสอนประวัติศาสตร์ไทยชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนนาแต้โคกสำราญ, (อัดสำเนา)
เติม วิภาคย์พจนกิจ. ประวัติศาสตร์อีสาน. กรุงเทพมหานคร : มปพ., 2530.
ธิดา สารยา. เจนละ ประวัติศาสตร์อีสานโบราณ “มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์”.
กรุงเทพมหานคร : มปพ, 2535.
ธิดา สาระยา. เมืองอุบล. กรุงเทพมหานคร :สำนักพิมพ์เมืองโบราณ, 2538
ศรีศักร วัลลิโภดม. อีสาน : แอ่งอารยธรรม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มติชน, 2535.
สุข เจริญรัตน์, พันเอก. ที่ระลึกงานสมโภชพระอุโบสถวัดบ้านโพนทอง. นนทบุรี : มปพ. 2528
เสนางคนิคม,อำเภอ. “เที่ยวภู ดูป่า ศึกษาธรรมชาติเมือง


โดย: อำนาจเจริญ : บ้านเรา เมืองเรา 5 IP: 113.53.201.83 วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:13:05:50 น.  

 
เห็นกะปอมวิ่งไล่กันอยู่กรุงเทพ แล้วคิดฮอดบ้าน อยากไปค้องกะปอม แถวตาดหว้า นาพ่อใหญ่เพ็ง พ่อใหญ่ตุ้ม พอใหญ่ใจ


โดย: คนบ้านโพนทอง IP: 182.52.81.212 วันที่: 16 มีนาคม 2554 เวลา:11:53:14 น.  

 
จากป่าที่เคยเป็นที่ เลี้ยงวัวเลี้ยงควายในอดีต เมื่อเวลาเปลี่ยน สังคมเปลี่ยน กลับกลายมาเป้นสวนยางพาราในปัจจุบัน เปลี่ยนวิถีชีวิตของคนบ้านโพนทองจากทำงานตอนกลางวันป็นทำงานกลางคืน จากผืนป่าไม่มีพรมแดนก็กลายเป็นสวนรั้วกั้น


โดย: คนบ้านโพนทอง IP: 182.52.81.212 วันที่: 16 มีนาคม 2554 เวลา:12:12:03 น.  

 
"ได้ยิน เสียงแคนแล่นแตร คิดฮอดแม่คิดฮอดบ้านเฮา นี่กะดน บ่ได้เมือบ้านเก่า อยากไปปล่อยว่าวยาลมหนาวเยือน อยู่บ่อนได๋ ให้ฮักกันเด๊อ ยามเจอะเจออย่าได้ลืมเลือน ลูกข้าวเหนียวท่องไว้ใส่ใเตือน ไผมาฮอดเฮือน เอิ้นกินข้าวนำกัน หากจะแล้ง ขอให้เพียงแต่ดินทราย แต่ดวงใจเฮาบ่แลงคือมัน หากได้ดีอย่าลืมกัน เฮาคนอีสานให้ฮักกันล้ยหลาย"

เถิงไทบ้านเฮา คนตำบลโพนทองซุคน ไผต้องการฮูปภูโพนทอง ห้วยหินฮาว คันหิน ตาดหว้า บ้านโพนทอง ฮูปความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองเฮา ฝากเมล์ไว้เด๊อ kantaena@hotmail.com สิส่งไปให้
เถิงไทบ้านเฮา คนตำบลโพนทองซุคน ไผต้องการฮูปภูโพนทอง ห้วยหินฮาว คันหิน ตาดหว้า บ้านโพนทอง ฮูปความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองเฮา ฝากเมล์ไว้เด๊อ kantaena@hotmail.com สิส่งไปให้


โดย: ดอกติ้วบานดอกจานโรย IP: 49.228.221.218 วันที่: 21 เมษายน 2554 เวลา:22:11:39 น.  

 
สิ่งชำรุดทางประวัิติศาสตร์กับการต่อสู้ของคนโพนทองที่คิดต่างกัน
หลังจาก สมัชชา 2 ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) มีนโยบายขยายงานเข้าสู่ชนบท จึงได้ส่งผู้ปฏิบัติงานของพรรคลงสู่ชนบททั่วประเทศ เพื่ออำพรางรูปการจัดตั้งของพรรคฯ จึงเริ่มเคลื่อนไหวในรูปของ “องค์การไทยกู้ชาติ” (ทกช.) ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น “องค์การชาวนากู้ชาติ” (นกช.) ที่บ้านนาไร่ใหญ่ อ.เสนาคนิคม “ชายแปลกหน้า” เป็นชาวใต้ เข้ามาอาศัยในหมู่บ้านมีอาชีพช่างไม้ ได้ทำมาหากินร่วมทุกข์ร่วมสุขกับชาวบ้านอย่างสนิทแนบ จนได้แต่งงานกับสาวนาไร่ใหญ่ (ชายผู้นั้นคือ นายประจวบ เรืองรัตน์ หรือสหายสยาม) กว่าชาวบ้านจะรู้ว่าชายแปลกหน้าเป็นใครก็จนเข้าเป็นสมาชิก นกช. ต่อมาสมาชิก นกช.ได้ขยายออกไปอีกหลายหมู่บ้าน เมื่องาน นกช.ขยายไปมากทำให้ทางการเริ่มสงสัยการเคลื่อนไหว ประมาณปี 2506 มีชาวบ้านที่เป็นสมาชิก นกช. ถูกตำรวจจับตัวไปสอบสวนหลายคน ทำให้เหล่าสมาชิก นกช. ต่างหนาวๆร้อนๆไปตามๆกัน ปลายปี 2507 ชั้นบนได้เสนอให้ผู้ที่เด่นแดงอยู่บ้านไม่ได้ ให้เตรียมตัวเข้าป่า พอปี 2508 จากการใช้มาตรการทางทหารของฝ่ายรัฐบาล ทำให้ชาวบ้านหนีเข้าป่ามากขึ้น จนต้องมีการจัดรูปขบวนใหม่ในลักษญะกองทหาร กองทหารรุ่นแรกๆเข้าใจว่าก่อตั้งที่บ้านบุ่งมะเห ภูกะเสด ต.โพนทอง อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลฯ (ปัจจุบันอยู่ใน อ.เสนางคนิคม จ.อำนาจเจริญ) มีทหารประจำเพียง 12 คน เนื่องจากมีปืนทันสมัยเพียงแค่นั้น ส่วนใหญ่จึงมีพร้า ปืนแก๊ป เห็นอาวุธประจำกาย ในระยะนั้นความรู้ทางการทหารยังไม่มี จึงไม่สามารถต่อกรกับทางการได้ ความอดยาก ลำบากจึงเกิดขึ้นเมื่อคนมากๆ ทำให้ส่วนหนึ่งต้องกลับคืนบ้าน พอทางการปราบหนักอีกชาวบ้านก็หนีเข้าป่าอีก บางช่วงมากถึง 200คน พอปี 2509 มีความยากลำบากมากอีก ส่วนใหญ่ต้องกลับบ้านจนเหลือคนเพียง 13 คน ในเขต อำนาจเจริญ ต่อมาเมื่อสมาชิกที่ถูกส่งไปศึกษาที่จีนและเวียดนามกลับมา รูปแบบการจัดตั้งและการต่อสู้ในสงครามกองโจรจึงได้พัฒนาขึ้นจนกระทั่ง เสียงปืนนัดแรกดังขึ้น เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2508 ที่บ้านนาบัว อ.เรณูนคร จ.นครพนม เป็นการประกาศสงครามประชาชนตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ในจังหวัดอำนาจเจริญโดยเฉพาะในพื้นที่รอยต่อระหว่างอำเภอเสนางคนิคม อำเภอชานุมาน อำเภอเขมราฐ อำเภอดอนตาล และอำเภอเลิงนกทา ได้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองเป็นพื้นที่สีชมพูจนถึงสีแดงจัด ศูนย์กลางขบวนการอยู่ภายในเขตภูสระดอกบัว (เขตภูสระดอกบัวหรือ กจ.444 อีสานเหนือพื้นที่รอยต่อ มุกดาหาร-ยโสธร-อุบลฯตอนเหนือ(ปัจจุบันเป็นจ.อำนาจเจริญ) ครอบคลุม อ.เมือง อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร อ.นิคมคำสร้อย อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร อ.เสนางคนิคม อ.ชานุมาน อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี มีภูสระดอกบัว ภูหมู เนื่อง จากพื้นที่นี้ติดกับแม่น้ำโขง ในอดีตผู้คนสองฝั่งโขงมีการติดต่อสัมพันธ์กันมาช้านาน จนเป็นพี่น้องเครือญาติ ช่วงที่ลาวมีการเคลื่อนไหวของแนวร่วมรักชาติลาวเพื่อเอกราชจากฝรั่งเศสและ ต่อมาต่อสู้เพื่อปลดปล่อยลาว ทำให้ความรู้เรื่องการปฏิวัติจึงได้ยินมาก่อนหน้านี้ จนกระทั่งบางคนได้รับการชักชวนให้ไปช่วยทำการปฏิวัติลาว) มีการจัดตั้งกองกำลังติดอาวุธ เพื่อต่อสู้กับทางราชการ หมู่บ้านที่มีการจัดตั้งกองกำลังมากที่สุดคือ บ้านโพนทอง บ้านโป่งหิน บ้านหนองโน บ้านสามโคก บ้านน้อยดอกหญ้า บ้านนาไร่ใหญ่ และบ้านนาสะอาด ทั้งหมดอยู่ในเขตอำเภอเสนางคนิคม กองกำลังติดอาวุธอาศัยอยู่ในป่าภูโพนทอง ภูสระดอกบัว ภารกิจหลักของกองกำลังติดอาวุธคือ การหามวลชนเพิ่ม การยึดพื้นที่เพื่อแสดงอำนาจ และขยายอาณาเขตการทำงาน โดยจัดกำลังเข้าปะทะกับกองกำลังของทางราชการด้วยอาวุธสงคราม การจัดงานบุญงานประเพณีต่าง ๆ ในเวลานั้นไม่สามารถจัดในเวลากลางคืนได้ จะทำได้เฉพาะเวลากลางวันเท่านั้น การพัฒนาต่าง ๆ หยุดชะงักลง
ความขัดแย้งและการต่อสู้ค่อย ๆ ลดลง และยุติการต่อสู้ เมื่อปี พ.ศ.2522 เหตุผลที่ยุติคือ ทางราชการได้กระจายความเจริญเข้าสู่พื้นที่ ทราบความต้องการและเข้าใจปัญหาของประชาชน ให้ความช่วยเหลือกลุ่มที่เคยต่อสู้กับทางราชการ โดยการจัดหาที่ทำกินให้ และลดเงื่อนไขแห่งความขัดแย้งต่าง ๆ ลง นอกจากนั้นสัญญาที่พรรคคอมมิวนิสต์เคยให้ไว้ แก่ประชาชนที่เข้าร่วมขบวนการว่า พรรคจะให้เงิน รถไถนา และรถแทรกเตอร์ ตลอดทั้งยศ ตำแหน่งต่าง ๆ เป็นเพียงโฆษณาชวนเชื่อ ทำให้กลุ่มผู้หลงผิดไม่เชื่อถือ และกลับใจให้ความร่วมมือกับทางราชการ ตั้งแต่นั้นมา จนวันนี้พี่น้องสายเลือดเดียวกัน ทั้งชาวตำบลโพนทอง ชาวบ้านนาไร่ใหญ่ ต่างก็เป็นกำลังหลักในการเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไท (ผรท.) ตั้งแต่ วันที่ 1 ธันวาคม 2525 เป็นต้นมา


โดย: บุ่งมเห ดงบูรพา IP: 49.228.221.218 วันที่: 21 เมษายน 2554 เวลา:22:17:19 น.  

 
โพนทองโมเดล
วิญญูชนทุกท่าน
ขอนิยามศัพท์เฉพาะเพื่อใช้สำหรับสื่อความในครั้งนี้ว่า “วิญญูชน” หมายถึง “ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ที่มีความรู้สึกรับผิดชอบ ชั่วดี ที่มองการเมืองแบบมุทิตาจิตสำนึก ภายใต้การกำกับของ อุเบกขาธรรมจริต อันไร้ซึ่งการหลงรักหรือหลงเกลียดในกลุ่มการเมืองใด ๆ หรือการอุปโลกน์ตัวเองของผู้หวังประโยชน์จากการดำเนินการทางการเมือง ที่มีสีเป็นสัญลักษณ์แห่งการแบ่งแยกอันเป็นสัญลักษณ์ในเจตนาใฝ่การเมืองไม่ลืมหูลืมตาแบบสุดโต่งตกขอบ ทั้งในอดีตปัจจุบันและอนาคต” วิญญูชนทุกท่านคงจะตระหนักดีว่าในห้วงระยะเวลาที่ผ่านมาสังคมไทยได้ถูกแบ่งแยกความคิดชนิดสุดโต่งออกเป็นสองขั้วอีกครั้งอย่างชัดเจน นับตั้งแต่ภายหลังสงครามเย็นสิ้นสุดลงซึ่งเป็นการทำสงครามผ่านตัวแทนของมหาอำนาจภายนอกประเทศที่ทำให้ “คนไทยฆ่ากันเองเพียงเพราะความแตกต่างทางการคิดได้ของชนชั้นนำทางสังคม” นับเนื่องจาก 7 สิงหาคม 2508 จนถึง 1 ธันวาคม 2525 อันเป็นยุคมืดของสังคมไทยโดยแท้จริง ซึ่งบทสรุปสุดท้ายคือไม่มีใครผิดใครถูกตามนโยบาย 66/2523 เรื่องราวต่อไปนี้เป็นเพียงบางส่วนที่ถูกจารึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ของการต่อสู้ของคนที่มีแนวคิดและอุดมการณ์ทางเมืองที่แตกต่างกัน เพื่อเป็นข้อมูลส่วนหนึ่งในการพิจารณาสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ที่ถูกต้องของความเป็นไปในบ้านเมือง
บ้านโพนทอง ตำบลโพนทอง อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี ในอดีต ปัจจุบันคือ บ้านโพนทอง ตำบลโพนทอง อ.เสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นดินแดนแห่งตำนานของสมรภูมิการสู้รบของเขตงาน 444 (ภูสระดอกบัว) ซึ่งอยู่ในเขตอุบลเหนือถือได้ว่าเป็นพื้นที่สีแดงจัดอย่างชัดเจน ผู้คนได้ถูกแบ่งออกเป็นสองฝ่ายภายใต้ความหวาดระแวงของทางการกับการก่อตั้ง สหพันธรัฐอินโดจีน ของสหภาพโซเวียตโดยรวมเอาเวียดนาม ลาว เขมร และภาคอีสานของไทยเข้าด้วยกัน ประกอบกับความไม่รู้จริงในข้อมูลประกอบการตัดสินใจเกี่ยวกับผู้ให้ความหวังเกี่ยวกับชีวิตใหม่หลังการปฏิวัติด้วยการสัญญาและปลุกระดมด้วยยศตำแหน่งและทรัพย์สินเงินทองที่จะได้รับภายหลังการปลดแอก ประชาชนในท้องถิ่นไกลปืนเที่ยงจึงมีความหลงและความโลภ ผู้คนแถบถิ่นตำบลโพนทองและหมู่บ้านอื่นในเขตใกล้เคียงจึงเริ่มถูกปั่นหัวและล้างสมองทั้งจากฝ่ายขวาโดยทางการภายใต้การหนุนหลังของสหรัฐอเมริกา ฝ่ายซ้ายโดยพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ภายใต้การหนุนหลังของพรรคคอมมิวนิสต์สากล ชาวบ้านถูกแบ่งออกเป็นสองฝ่ายอย่างชัดเจน
ฝ่ายหนึ่งถือปืนเอชเค คาร์บิน และ เอ็ม16 จึงสมัครเป็น อส.และทหารพราน ส่วนอีกฝ่ายหนึ่ง
ถือปืนอาการ์ สวมชุดเขียวหมวกแก๊ปตราดาวแดงขลิบเหลือง จึงหลบหนีเข้าป่าเพื่อร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยบริเวณบุ่งมเห-ดงบูรพา ภูสระดอกบัว ภูพาน บางส่วนเดินเท้าข้ามแนวหลังเพื่อไปศึกษาวิชาทหาร แพทย์ พยาบาล สื่อสารมวลชนยังประเทศจีนแผ่นดินใหญ่และเวียดนาม เพื่อมุ่งหวังว่าวันหนึ่งจักต้องปฏิวัติสังคมสำเร็จ ตำบลโพนทองและใกล้เคียงระหว่างปี 2518-2522
ตกอยู่ในสภาพมิกสัญญี มีการออกล่าฝ่ายตรงข้ามและแนวร่วมไม่เว้นแต่ละคืน เสียงปืนดังหนึ่งนัด หมายถึงคนตายแน่ ๆ นัดละหนึ่งคน การปราบปราบของทางการยิ่งรุนแรงชาวบ้านยิ่งแตกหนีเข้าป่า ในขณะเดียวกันฝ่ายทางการก็บอกว่าเป็นฝีมือของ คนป่า ฝ่าย พคท. ก็บอกว่าเป็นฝีมือของ โอทูโอ / หน่วยล่าพรานเจตบุตร ชาวบ้านไม่มีใครกล้าพูด การฆ่ากันของคนตำบลเดียวกันยิ่งทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นโดยเฉพาะในปี 2519-2522 ศัตรูทั้งสองฝ่ายต่างเคลื่อนไหวประชิดติดกันฆ่ากันยิงกันไม่เว้นทั้งเวลากลางวันและกลางคืน ทั้งสองฝ่ายดูเหมือนว่ามีความเคียดแค้นชิงชังกันทั้ง ๆที่เป็นคนลูกบ้านตำบลโพนทองด้วยกัน แต่เพราะได้รับการเสี้ยมจากผู้ชี้นำจึงทำให้อาฆาตแค้นกัน เจอกันเมื่อไรต้องสาดกระสุนปืนใส่กัน บทสรุปสุดท้าย.... ภายหลังสงครามประชาชนสงบลง บ้านโพนทองระหว่างปี 2526-2530 จึงมีกองบุญกองบวชที่อุทิศให้คนตายไม่น้อยกว่าปีละ 30-40 กอง
“อนิจจา..เหตุการณ์บ้านเมืองไทยในระยะปีสองปีมานี้ราวกับว่าได้นำเอาเรื่องราวที่เกิดขึ้นของผู้คนแถบถิ่นตำบลโพนทองเมื่อ 20-30 ปีก่อน ไปฉายซ้ำให้คนทั่วประเทศได้รับรู้เสียนี่กระไร”
นั่นคือความเป็นจริงที่สะท้อนโมหะจริต(ความหลง) ที่เจือด้วยอัตตาแห่งตัวตนของคนในสังคมไทยที่กล่าวได้ชื่อว่าก้าวพ้นยุคมืดของสังคมไทย ผมขอวิงวอนวิญญูชนได้หยุดคิด ปล่อยวาง ฉันทคติที่มีต่อตัวบุคคลและตรึกตรองด้วยเหตุด้วยผลที่ “บรรดาชนชั้นนำทางการเมือง” ได้ชี้นำแนวคิดและความรู้สึกที่ไม่ดีต่อเพื่อร่วมสังคมเพียงแค่มองว่า “เขาคิดไม่ตรงเรา” จนทำให้เรา “เชื่อในสิ่งที่โกหกและเข้าข้างตัวเองตามความอ่อนด้อยของการคิดได้ จนเกิดเป็นศรัทธาหรือเกลียดชังในตัวบุคคลจนเกิดเป็นความงมงายคล้ายดังคำกล่าวที่ว่า ไม่ได้ตดใส่ผ้าเหลืองแต่ดันไปพูดเรื่องพระ
หรือตาบอดคลำช้าง ทำให้มองเห็นมิติเฉพาะตนอันนำมาซึ่งความขัดแย้งในปัจจุบัน”
“แม้โพนทองโมเดลจะเป็นเพียงบทเรียนทางการเมืองที่กระทรวงศึกษาธิการไม่ได้บรรจุในหลักสูตรให้ตนไทยได้ศึกษา แต่น่าจะเป็นสิ่งพึงสำนึกสำเหนียกของผู้หลงเข้าสู่วังวนความเชื่อทางการเมืองที่มองเหรียญเพียงด้านเดียวแต่หลงเชิดชูตัวเองว่าข้าคือผู้บรรลุโสดาบันแห่งอุดมการณ์ทางการเมือง
เปิดกะลาที่ครอบความคิดแล้วพิจารณาความเป็นไปอย่างถ่องแท้เถิด”



โดย: คนโพนทองแท้ย่อมไม่มีสี IP: 49.228.221.218 วันที่: 21 เมษายน 2554 เวลา:22:19:42 น.  

 
เพลงเมือง - เพลงป่า (จากหนังสือเสียงเพลงจากภูพานโดย แคน สาริกา หรือสหายประชา/สหายแว่น พิมครั้งแรก ปี 2534)
วสันตกาล พ.ศ. 2535 - เช้าวันนั้นผืนฟ้าอึมครึมคล้ายฝนจะหล่นโปรย ผืนนากลับแลโล่งดั่งแล้งเข็ญมายาวนาน คนอีสานเผชิญกับช่วงฝนทิ้งเสียจนชาชิน ยิ่งปีนี้แปดสองหนหรือเดือนแปดสองครั้ง ยิ่งตอกย้ำความเชื่อดั่งเดิมว่าจะแล้งแห้งเป็นสาหัส
ผมเห็นเป็นภาพแรกเมื่อแรกก้าวลงจากรถโดยสารปรับอากาศชั้นดี ครั้นรถแล่นเลยไปแล้ว คืนวันเก่ ๆ ก็ผุดพรายขึ้นมาในห้วงความคิดคำนึง
ฟากทางด้านโน้นมีทางแยกเข้าสู่ที่ว่าการอำเภอเสนางคนิคม ครั้งแรกที่ผมมาถึงแถวถิ่นนี้ มันยังมีฐานะเป็น "กิ่งอำเภอ" เล็ก ๆ ของจังหวัดอุบลราชธานี ตามเส้นทางลูกรังสายนั้นมีชุมชนน้อยใหญ่ตั้งเรียงรายเป็นระยะ ๆ เริ่มต้นจากปากทางเข้าบ้านไร่ใหญ่ ผ่านบ้านหนองทับม้า (ที่ตั้งอำเภอ) บ้านบก บ้านโป่งหิน บ้านหนองดน บ้านสวนโคก และ บ้านโพนทอง
บ้านโพนทองมิใช่บ้านสุดท้ายของทางสายนี้ แต่มันเป็นจุดพักท้ายสุดแห่งการสัญจรอีสาน หรือแสวงหาสัจจะของชายหนุ่มวัย 20 เศษเมื่อหลายปีก่อนโน้น

จำเนียรกาลผ่านเลยมา 15 ปีแล้ว ใจนั้นยังจำได้แม่นมั่น.....
เดือนสามคล้อย ลมวอยๆ พัดใบไม้อ่อน เป็นช่วงเวลาที่ผมเดินทางเข้าเหยียบดินถิ่นนี้เป็นหนแรก เวลานั้นพาหนะที่นำพาชาวบ้านออกไปติดต่อกับชุมชนเมืองมีเพียงรถโดยสารประจำทาง 2 คัน วันหนึ่งวิ่งรับส่งคนเที่ยวเดียว คือเช้าไป บ่ายกลับ ใครไม่ทันเวลาก็ตกรถ หากไม่นอนค้างในเมือง ทางกลับทางเดียวก็เห็นจะต้องย่ำเท้าเป็นระยะทางเกือบ 20 กิโลเมตร
วันนี้มีมอเตอร์ไซค์รับจ้างคอยบริการแต่เช้าจรดค่ำ จากปากทางบ้านนาไร่ใหญ่ส่งถึงบ้านใดก็ได้ ผมบอกหนุ่มมอเตอร์ไซค์เป็นภาษาถิ่นอีสานว่าจะไปบ้านสวนโคก

"อ้ายเป็นคนสวนโคก........" เขาถามคืน ดูจะงุนงงเพราะไม่คุ้นหน้า
"แม่นแล้ว ไปโลดอ้าย"
เขาหันกลับไปทำหน้าที่สารถี พลันเร่งเครื่องทะยานออกจากคิวรถนำพาผมมุ่งสู่จุดหมายปลายทางในบรรยากาศทึบทึมพิกลบนท้องฟ้า
ผิดกับช่วงก่อนโน้น ผมเป็นคนแปลกหน้านั่งบนรถโดยสารประจำหมู่บ้าน ใช้ปากถามต่างแผนที่ชี้ทาง ใช้จดหมายฉบับหนึ่งต่างบัตรประจำตัวหรือใบรับประกันความบริสุทธิ์ใจ จดหมายนั้นเพื่อนชาวอุบลเขียนแนะนำตัวผมมา พร้อมจ่าหน้าถึงคนคนหนึ่ง พ่อบุญมี - บ้านสวนโคก
ต้นปี พ.ศ. นั้นฟ้าสูงแดดใสก็จริงอยู่ ทว่าความมืดดำแฝงเร้นอย่างน่าสะพรึงกลัว
ดั่งเหตุร้ายที่ได้เกิดขึ้นในคืนหนาวปลายปี พ.ศ. 2518 หนุ่มบ้านสวนโคกสามคนถูกลอบยิงเสียชีวิตใต้ต้นตาลคู่ ริมทางสายนาไร่ใหญ่ - โพนทอง ใกล้ๆ ทางแยกเข้าบ้านโป่งหิน
ความตายของหนุ่มรุ่นเรียกร้องให้ชาวบ้านมีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง กลุ่มหนึ่งมุ่งหน้าสู่ภูโพนทอง พ่อบุญมีกับเพื่อนบ้านอีกส่วนหนึ่งเดินทางเข้ากรุงเทพ เพื่อร้องขอความเป็นธรรมกับ ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.) เพราะคนหนุ่มคนหนึ่งที่ถูกฆ่าตายเป็นลูกชายของพ่อบุญมี
ชาวบ้านย่านตำบลโพนทองปักใจเชื่อว่า สามหนุ่มตายด้วยน้ำมือของตำรวจและ อส. (อาสาสมัครรักษาดินแดน)
กลุ่มชาวบ้านที่เข้าไปดงบังอี่ (ดงกว้างใหญ่อยู่ด้านหลังภูโพนทอง) ได้กลับออกมาพร้อมกับปืนดาวแดง สหายทหารป่าประจำเขตงานภูสระดอกบัวเป็นผู้มอบอาวุธปืนให้ และมอบหมายหน้าที่สังหารเจ้าหน้าที่บ้านเมือง
ปฏิบัติการล้างแค้นบังเกิดขึ้นในอีก 2-3 เดือนถัดมา ข่าวหนุ่มเลือดร้อนบุกฆ่า อส. บนหลังคารถโดยสารประจำทางแพร่สะพัดไปทั่วถิ่นเสนางคนิคม เมื่อสิ้นเสียงปืนแห่งความเคียดแค้น หนุ่มใจตายกลุ่มนั้นพลันหายตัวไปในไพรลึก
ผมย่างก้าวเข้ามาสู่ดินแดนอันตราย หรือเขตสีแดง (จัด) ต้นปี พ.ศ. 2519 เหตุที่เข้าดงคอมมิวนิสต์ก็เพราะความอยากรู้อยากเห็นโดยแท้ ประสบกับมีการร้องเรียนเรื่องเยาวชนในหมู่บ้านถูกสังหารโหด ใครเป็นมือฆ่า.....และฆ่าทำไม......นี่ก็อยากรู้เหมือนกัน
ครั้นผมได้ใช้ชีวิตอยู่กับชาวบ้านสวนโคกในระยะแรกแล้ว จึงรู้ว่าตัวเองตกอยู่หว่างเขาควาย เขาเบื้องซ้ายเป็นทหารป่า เรียกชื่อเต็มๆ ว่า ทหารปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย และเรียกย่อๆ ว่าพวกสหาย เขาเบื้องขวาเป็นอาสาสมัครรักษาดินแดน เรียกย่อ ๆ ว่าพวก อส. (อ่านว่า ออสอ)
จริงๆ แล้วคนกลุ่มนี้เป็นคนกลุ่มเดียวกันโดยพื้นฐานชาวไร่ชาวนาร่วมบ้านร่วมตำบล บ้างเป็นพี่น้องท้องเดียวกัน บ้างเป็นเพื่อนร่วมโรงเรียน อุดมการณ์กับหน้าที่ทำให้สองฝ่ายกลายเป็นศัตรูกัน
เมื่อผมกลับมาบ้านสวนโคกหนหลังนี้ ได้เห็นภาพของพวกเขาที่กลืนเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน เป็นสามัญชน ไร้ยศไร้ตำแหน่ง ต่างดำรงชีพทำนาเช่นเดิม ว่างงานนาก็เข้าป่าไปตัดไม้มาสร้างบ้าน หรือไปถางป่าทำไร่ทำสวน
ต่างแบ่งฝักแบ่งฝ่ายต่อสู้กันมาร่วมสองทศวรรษ จนไม่มีเวลาสร้างอยู่ทำกิน ชีวิตเพิ่งเริ่มต้นเมื่อสงครามยุติ
อย่าง อส.สุนัย - นักล่ามือฉมัง สังกัดหน่วยพรานเจตบุตรและเคยมีชื่ออยู่ในบัญชีแดงของทหารป่า เขาเพิ่งถูกไล่ออกจาหน่วย อส. ประจำอำเภอเพราะขัดแย้งกับปลัดหนุ่มหน้าใหม่ที่ไม่คำนึงว่าเขาเป็นใครในอดีต
กาลเวลาผันแปร ทุกสิ่งก็ผันเปลี่ยนแน่นอนยิ่งนัก มีรุ่งโรจน์มีโรยรา มีเกิดก็ต้องมีดับเป็นกฎของโลก ดั่งชีวิตพ่อบุญมีที่พลัดพรากจากลูกหลานไปแล้ว เหลือเพียงอัฐิบรรจุในธาตุสีขาวไว้เป็นอนุสรณ์ เฉกเช่นเดียวกับธาตุของหนุ่มทั้งสามที่วางเรียงอยู่ขอบรั้ววัด
สมัยพ่อบุญมียังดำเนินวิถีชีวิตแบบเรียบง่าย ผมรู้สึกประทับใจตัวแกมาก นอกจากความโอบอ้อมอารีแล้ว แกเป็นคนสุขุมลุ่มลึกมีภูมิปัญญาแน่นพอจะเป็นที่ปรึกษาให้ชาวบ้านได้ถึง 3 หมู่บ้าน คือ บ้านหนองโน บ้านโพนทอง แล้ะบ้านสวนโคก
แปลกอย่างหนึ่งที่ผมมาทราบภายหลังว่า คนเยี่ยงพ่อบุญมีไม่ได้อยู่ในสารบบแกนนำในบ้านของสหายทหารป่า
ผมพักพิงอยู่เรือนหลังเก่าของพ่อบุญมี มีเพื่อนหนุ่มชาวสวนโคกคอยบอกสอน ทั้งการกินอยู่หลับนอน ตลอดจนการพูดจาภาษาท้องถิ่น เมื่อผมหัดพูดอีสานหนแรก พวกนั้นหัวเราะกลิ้งไปเลย เรื่องอื่นๆ ที่มากหรือลึกไปกว่านี้ ต่างฝ่ายยังสงวนท่าทีกันอยู่ ด้วยรู้หน้าไม่รู้ใจ
ความบันเทิงเริงรมย์กับหนุ่มสาวดูจะขาดจากกันเสียมิได้ ผมเริ่มเขียนเนื้อเพลงเพื่อชีวิตในเมืองให้เพื่อนร่วมบ้าน 4-5 คน ได้ฝึกร้องกันไว้ ร้องกันอยู่สองสามหน คราวต่อไปก็ออกงานกลางทุ่ง เคาะกะโหลกกะลาเป็นที่สนุกสนาน
งานหลักของผมในช่วงนั้นคือการเลี้ยงควายสลับกับขุดบ่อปลา กลางวันพวกเรามักจะต้อนควายไปปักหลักเลี้ยงแถวป่าโคก เพราะมีเถียงนา (กระต๊อบ) พอเป็นที่หลบร้อนได้ บังเอิญจุดนี้อยู่ใกล้ทางเดินเล็กๆ เชื่อมระหว่างหมู่บ้านกับภูโพนทอง ตอนบ่ายคล้อยค่ำผมจึงสังเกตเห็นหนุ่มสาวจับกลุ่มเดินกันออกมาจากป่าตีนภู ผมแอบเก็บงำความสงสัยไว้ ไม่อยากถามเพื่อนหนุ่ม ประเดี๋ยวเขาจะหาว่าเป็นคนชอบซอกแซก แล้วจะอยู่กับพวกเขาลำบากเปล่าๆ

ภูโพนทองที่เห็นในวันกลับบ้านเก่าอีกครั้งยังเป็นภูลูกเดิมที่ชาวบ้านฝากผีฝากไข้ได้ ไม่มีนาไร่ก็แบกมีดแบกขวานไปถางป่า ป่าดงบังอี่ทั้งป่ายังหนาแน่นแม้สัตว์ป่าตัวใหญ่ที่สุดเหลือแค่หนูหวาย พงไพรเป็นดั่งตลาดสด ธรรมชาติให้พวกเขาจับจ่ายอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน

ภูลูกนั้นในวันนี้ไม่มีอยู่สิ่งเดียวคือ ทหารป่า

จำได้ว่าผมคลุกคลีอยู่กับเพื่อนหนุ่มชาวสวนโคกนานร่วมเดือนทีเดียว จึงค่อยๆ ได้รับรู้ข่าวสารการเมืองจากราวไพร บทเพลงรำวงทำนองสนุกๆ เป็นสิ่งแรกที่ผมได้รับมา พวกเขาชอบร้องกันมาก

"จากท้องนา" เพลงนี้เนื้อหาเข้ากับบรรยากาศในละแวกตำบลโพนทองมาก มีเยาวชนตำบลนี้ทยอยหายไปจากเรือนชานบ้านช่องทีละคนสองคน หากใครเอ่ยถามพ่อแม่ของหนุ่มสาวว่าลูกไปไหนก็ได้คำตอบแทบจะเหมือนกันว่า "มันไปทำงานกรุงเทพ"

จริงๆ แล้ว หนุ่มสาวชาวโพนทองไปร่วมกิจกรรมการเมืองเหมือนเพลงบอกไว้

จากท้องนา จะอำลา พ่อแม่ห่างไกล
สู่เขาดงพงไพร ด้วยดวงใจ เคียดแค้นทวี
บ้านเมืองเรานั้น ถูกโจรมาร ปล้นสิทธิ์เสรี
รวมพลังเถิดเรา น้องพี่ สามัคคีช่วงชิงชาติไทย
จับมันมาตัดหัว รับกรรมแสนชั่ว ที่มันสร้างไว้
จับมันมาแขวนคอ รับกรรมที่ก่อ ให้มันสาใจ
กลับสู่ท้องนา เมื่อโจรา สูญสิ้นหมดไป
สร้างสังคมของไทย ให้สดใส รุ่งเรืองไพบูลย์

อีกเพลงหนึ่งที่ร้องแล้วออกจะให้จินตนาการอันกว้างไกลแก่คนหนุ่มสาวสมัยนั้น ด้วยทุกคนอยากเห็นเทือกเขาภูพาน อยากเป็น "ทหารลำเลียง"

เทือกเขาภูพาน สูงตระหง่าน ยอดยืนทะนง
เขตแคว้นแดนดง แสนสลับซับซ้อน ดอนไพร
ห้วยน้ำลำธาร ไหลผ่าน หนทางแสนไกล
ยากเย็นไม่เคยหวั่นไหว จะปักใจ สู้ทนลำเลียง
เหงื่อไหลโซมกาย เช้าและบ่าย ทั้งคืนและวัน
แดดฝนทนนาน สู้ไม่หวั่น หญิงชายพร้อมเพรียง
พรรคและประชา ให้เรามา ขนส่งเสบียง
แนวรบด้านการลำเลียง จะหยัดยืน ไม่มีท้อใจ

ยามที่ออกไปอยู่กลางทุ่ง พวกเรามักจะตะเบ็งเสียงร้องเพลงป่ากันสนุกสนาน แต่เวลาร้องเพลงนี้ต้องเหลียวหน้าเหลียวหลังเหมือนกัน ถ้าเห็นกลุ่มอส. ลาดตระเวนผ่านมาใกล้ ๆ ต้องหยุดร้อง เผลอๆ ก็ร้องเพลง "อส. รอรัก" ส่งไปเลย ช่วงนั้นศักดิ์สยาม เพชรชมภูร้องไว้โด่งดังสุดขีด

เพลงป่าอีกเพลงหนึ่งที่ผมได้ซึมซับไว้ในตอนแรกคือเพลง "เพื่อพรรคเพื่อมวลประชา"

เพื่อพรรคเพื่อมวลประชา พวกเราก้มหน้า ทำงานเรื่อยไป
เสียสละหยาดเหงื่อแรงกาย เพื่อผองไทย จะสุขเสรี
ทนยากตรากตรำลำเค็ญ เพื่อประชา อยู่ดีกินดี
แสงสว่างข้างหน้ายังมี ฉันขอถามที ว่าคุณทำอะไร
ผมน่ะ.....เป็นทหาร รบพุ่งประจัญ หมู่มารไพรี
ฉันเป็นสตรี เป็นหมอที่ดี ของประชาชน
เราเป็นคนลำเลียง ขนส่งเสบียง ด้วยใจอดทน
ลุงบุกเบิกมวลชน หลานเป็นเยาวชน หลานทำอะไร
หลานเป็นคนทำครัว ต้มแกงแป้งถั่ว หลานทำสุดใจ
เอ๊ะ...นั่นชื่อเรียงเสียงใด พรรคเคยมอบให้ คุณทำอิหยัง
ฉันเป็นศิลปิน สร้างชุบชีวิน ให้มีพลัง
ร้องเพลงจากใจ ไหลหลั่ง เพิ่มพูนพลังให้เรารื่นเริง

บทเพลงจากลำเนาไพรมีท่วงทำนองเรียบง่าย คนแต่งเพลงเหล่านี้คงหวังให้ร้องติดปากแบบไม่ยากนัก อีกด้านหนึ่ง บรรดานักรบปฏิวัติล้วนแต่เป็นหนุ่มลูกทุ่ง จึงชอบเพลงสนุกแถมปลุกใจรับใช้องค์กรสู้รบในเขตป่าเขาเป็นอย่างดี

ขณะเดียวกัน มันเป็นเพลงเถื่อนในสายตาของผู้ปกครองบ้านเมืองยามนั้น ภายหลังกลิ่นไอสงครามจางหายไป เพลงไพรเพลงเถื่อนถูกนำมาแต่งตัวเสียใหม่ให้เป็นเพลงถูก (กฎหมาย)

เพลง "เพื่อพรรคเพื่อมวลประชา" ในเสื้อคลุมตัวใหม่ปรากฎโฉมครั้งแรกในฐานะเพลงประกอบภาพยนต์เรื่อง ครูดอย ของ สุรสีห์ ผาธรรม ผู้ประสบความสำเร็จอย่างสูงจากเรื่อง ครูบ้านนอก เวลานั้นมี นันทิดา แก้วบัวสาย กับ วาสนา สิทธิเวช เป็นผู้ขับร้องร่วมกันในภาพยนต์เรื่องนั้น และเปลี่ยนชื่อเป็น "แรงศรัทธา" และถูกนำมาจับใส่ตลับเทปเมื่อประมาณกลางปี พ.ศ. 2516 คงมีใครสักคนได้ซื้อเทปม้วนนี้ไปฟัง อีก 6 ปีต่อมามันจึงถูกนำมาขับขานอีกครั้งโดยน้ำเสียงใสๆ ของ ศันสนีย์ นาคพงศ์ และมี ปิยะ ตระกูลราษฏร์ (พระเอกหนัง ครูบ้านนอก) ร้องคู่ด้วย

ผู้ที่แต่งโฉมใหม่ให้เพลงเถื่อนเพลงนี้คือ วิสา คัญทัพ

ส่วนนักแต่งตัวจริงนั้น ในครั้งกระโน้น ผมและเพื่อนหนุ่มอยากรู้จักตัวเขาเป็นอย่างมาก ใครหนอ......เป็นคีตกวีบ้านนา ที่จุดไฟหวัง ไฟฝันให้คนหนุ่มสาวชาวทุ่งชาวไพร


โดย: ซากอดีตแห่งสมรภูมิภูสระดอกบัว IP: 49.228.221.218 วันที่: 21 เมษายน 2554 เวลา:22:30:43 น.  

 
เพลงเมือง - เพลงป่า (จากหนังสือเสียงเพลงจากภูพานโดย แคน สาริกา หรือสหายประชา/สหายแว่น พิมครั้งแรก ปี 2534)
วสันตกาล พ.ศ. 2535 - เช้าวันนั้นผืนฟ้าอึมครึมคล้ายฝนจะหล่นโปรย ผืนนากลับแลโล่งดั่งแล้งเข็ญมายาวนาน คนอีสานเผชิญกับช่วงฝนทิ้งเสียจนชาชิน ยิ่งปีนี้แปดสองหนหรือเดือนแปดสองครั้ง ยิ่งตอกย้ำความเชื่อดั่งเดิมว่าจะแล้งแห้งเป็นสาหัส
ผมเห็นเป็นภาพแรกเมื่อแรกก้าวลงจากรถโดยสารปรับอากาศชั้นดี ครั้นรถแล่นเลยไปแล้ว คืนวันเก่ ๆ ก็ผุดพรายขึ้นมาในห้วงความคิดคำนึง
ฟากทางด้านโน้นมีทางแยกเข้าสู่ที่ว่าการอำเภอเสนางคนิคม ครั้งแรกที่ผมมาถึงแถวถิ่นนี้ มันยังมีฐานะเป็น "กิ่งอำเภอ" เล็ก ๆ ของจังหวัดอุบลราชธานี ตามเส้นทางลูกรังสายนั้นมีชุมชนน้อยใหญ่ตั้งเรียงรายเป็นระยะ ๆ เริ่มต้นจากปากทางเข้าบ้านไร่ใหญ่ ผ่านบ้านหนองทับม้า (ที่ตั้งอำเภอ) บ้านบก บ้านโป่งหิน บ้านหนองดน บ้านสวนโคก และ บ้านโพนทอง
บ้านโพนทองมิใช่บ้านสุดท้ายของทางสายนี้ แต่มันเป็นจุดพักท้ายสุดแห่งการสัญจรอีสาน หรือแสวงหาสัจจะของชายหนุ่มวัย 20 เศษเมื่อหลายปีก่อนโน้น

จำเนียรกาลผ่านเลยมา 15 ปีแล้ว ใจนั้นยังจำได้แม่นมั่น.....
เดือนสามคล้อย ลมวอยๆ พัดใบไม้อ่อน เป็นช่วงเวลาที่ผมเดินทางเข้าเหยียบดินถิ่นนี้เป็นหนแรก เวลานั้นพาหนะที่นำพาชาวบ้านออกไปติดต่อกับชุมชนเมืองมีเพียงรถโดยสารประจำทาง 2 คัน วันหนึ่งวิ่งรับส่งคนเที่ยวเดียว คือเช้าไป บ่ายกลับ ใครไม่ทันเวลาก็ตกรถ หากไม่นอนค้างในเมือง ทางกลับทางเดียวก็เห็นจะต้องย่ำเท้าเป็นระยะทางเกือบ 20 กิโลเมตร
วันนี้มีมอเตอร์ไซค์รับจ้างคอยบริการแต่เช้าจรดค่ำ จากปากทางบ้านนาไร่ใหญ่ส่งถึงบ้านใดก็ได้ ผมบอกหนุ่มมอเตอร์ไซค์เป็นภาษาถิ่นอีสานว่าจะไปบ้านสวนโคก

"อ้ายเป็นคนสวนโคก........" เขาถามคืน ดูจะงุนงงเพราะไม่คุ้นหน้า
"แม่นแล้ว ไปโลดอ้าย"
เขาหันกลับไปทำหน้าที่สารถี พลันเร่งเครื่องทะยานออกจากคิวรถนำพาผมมุ่งสู่จุดหมายปลายทางในบรรยากาศทึบทึมพิกลบนท้องฟ้า
ผิดกับช่วงก่อนโน้น ผมเป็นคนแปลกหน้านั่งบนรถโดยสารประจำหมู่บ้าน ใช้ปากถามต่างแผนที่ชี้ทาง ใช้จดหมายฉบับหนึ่งต่างบัตรประจำตัวหรือใบรับประกันความบริสุทธิ์ใจ จดหมายนั้นเพื่อนชาวอุบลเขียนแนะนำตัวผมมา พร้อมจ่าหน้าถึงคนคนหนึ่ง พ่อบุญมี - บ้านสวนโคก
ต้นปี พ.ศ. นั้นฟ้าสูงแดดใสก็จริงอยู่ ทว่าความมืดดำแฝงเร้นอย่างน่าสะพรึงกลัว
ดั่งเหตุร้ายที่ได้เกิดขึ้นในคืนหนาวปลายปี พ.ศ. 2518 หนุ่มบ้านสวนโคกสามคนถูกลอบยิงเสียชีวิตใต้ต้นตาลคู่ ริมทางสายนาไร่ใหญ่ - โพนทอง ใกล้ๆ ทางแยกเข้าบ้านโป่งหิน
ความตายของหนุ่มรุ่นเรียกร้องให้ชาวบ้านมีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง กลุ่มหนึ่งมุ่งหน้าสู่ภูโพนทอง พ่อบุญมีกับเพื่อนบ้านอีกส่วนหนึ่งเดินทางเข้ากรุงเทพ เพื่อร้องขอความเป็นธรรมกับ ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.) เพราะคนหนุ่มคนหนึ่งที่ถูกฆ่าตายเป็นลูกชายของพ่อบุญมี
ชาวบ้านย่านตำบลโพนทองปักใจเชื่อว่า สามหนุ่มตายด้วยน้ำมือของตำรวจและ อส. (อาสาสมัครรักษาดินแดน)
กลุ่มชาวบ้านที่เข้าไปดงบังอี่ (ดงกว้างใหญ่อยู่ด้านหลังภูโพนทอง) ได้กลับออกมาพร้อมกับปืนดาวแดง สหายทหารป่าประจำเขตงานภูสระดอกบัวเป็นผู้มอบอาวุธปืนให้ และมอบหมายหน้าที่สังหารเจ้าหน้าที่บ้านเมือง
ปฏิบัติการล้างแค้นบังเกิดขึ้นในอีก 2-3 เดือนถัดมา ข่าวหนุ่มเลือดร้อนบุกฆ่า อส. บนหลังคารถโดยสารประจำทางแพร่สะพัดไปทั่วถิ่นเสนางคนิคม เมื่อสิ้นเสียงปืนแห่งความเคียดแค้น หนุ่มใจตายกลุ่มนั้นพลันหายตัวไปในไพรลึก
ผมย่างก้าวเข้ามาสู่ดินแดนอันตราย หรือเขตสีแดง (จัด) ต้นปี พ.ศ. 2519 เหตุที่เข้าดงคอมมิวนิสต์ก็เพราะความอยากรู้อยากเห็นโดยแท้ ประสบกับมีการร้องเรียนเรื่องเยาวชนในหมู่บ้านถูกสังหารโหด ใครเป็นมือฆ่า.....และฆ่าทำไม......นี่ก็อยากรู้เหมือนกัน
ครั้นผมได้ใช้ชีวิตอยู่กับชาวบ้านสวนโคกในระยะแรกแล้ว จึงรู้ว่าตัวเองตกอยู่หว่างเขาควาย เขาเบื้องซ้ายเป็นทหารป่า เรียกชื่อเต็มๆ ว่า ทหารปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย และเรียกย่อๆ ว่าพวกสหาย เขาเบื้องขวาเป็นอาสาสมัครรักษาดินแดน เรียกย่อ ๆ ว่าพวก อส. (อ่านว่า ออสอ)
จริงๆ แล้วคนกลุ่มนี้เป็นคนกลุ่มเดียวกันโดยพื้นฐานชาวไร่ชาวนาร่วมบ้านร่วมตำบล บ้างเป็นพี่น้องท้องเดียวกัน บ้างเป็นเพื่อนร่วมโรงเรียน อุดมการณ์กับหน้าที่ทำให้สองฝ่ายกลายเป็นศัตรูกัน
เมื่อผมกลับมาบ้านสวนโคกหนหลังนี้ ได้เห็นภาพของพวกเขาที่กลืนเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน เป็นสามัญชน ไร้ยศไร้ตำแหน่ง ต่างดำรงชีพทำนาเช่นเดิม ว่างงานนาก็เข้าป่าไปตัดไม้มาสร้างบ้าน หรือไปถางป่าทำไร่ทำสวน
ต่างแบ่งฝักแบ่งฝ่ายต่อสู้กันมาร่วมสองทศวรรษ จนไม่มีเวลาสร้างอยู่ทำกิน ชีวิตเพิ่งเริ่มต้นเมื่อสงครามยุติ
อย่าง อส.สุนัย - นักล่ามือฉมัง สังกัดหน่วยพรานเจตบุตรและเคยมีชื่ออยู่ในบัญชีแดงของทหารป่า เขาเพิ่งถูกไล่ออกจาหน่วย อส. ประจำอำเภอเพราะขัดแย้งกับปลัดหนุ่มหน้าใหม่ที่ไม่คำนึงว่าเขาเป็นใครในอดีต
กาลเวลาผันแปร ทุกสิ่งก็ผันเปลี่ยนแน่นอนยิ่งนัก มีรุ่งโรจน์มีโรยรา มีเกิดก็ต้องมีดับเป็นกฎของโลก ดั่งชีวิตพ่อบุญมีที่พลัดพรากจากลูกหลานไปแล้ว เหลือเพียงอัฐิบรรจุในธาตุสีขาวไว้เป็นอนุสรณ์ เฉกเช่นเดียวกับธาตุของหนุ่มทั้งสามที่วางเรียงอยู่ขอบรั้ววัด
สมัยพ่อบุญมียังดำเนินวิถีชีวิตแบบเรียบง่าย ผมรู้สึกประทับใจตัวแกมาก นอกจากความโอบอ้อมอารีแล้ว แกเป็นคนสุขุมลุ่มลึกมีภูมิปัญญาแน่นพอจะเป็นที่ปรึกษาให้ชาวบ้านได้ถึง 3 หมู่บ้าน คือ บ้านหนองโน บ้านโพนทอง แล้ะบ้านสวนโคก
แปลกอย่างหนึ่งที่ผมมาทราบภายหลังว่า คนเยี่ยงพ่อบุญมีไม่ได้อยู่ในสารบบแกนนำในบ้านของสหายทหารป่า
ผมพักพิงอยู่เรือนหลังเก่าของพ่อบุญมี มีเพื่อนหนุ่มชาวสวนโคกคอยบอกสอน ทั้งการกินอยู่หลับนอน ตลอดจนการพูดจาภาษาท้องถิ่น เมื่อผมหัดพูดอีสานหนแรก พวกนั้นหัวเราะกลิ้งไปเลย เรื่องอื่นๆ ที่มากหรือลึกไปกว่านี้ ต่างฝ่ายยังสงวนท่าทีกันอยู่ ด้วยรู้หน้าไม่รู้ใจ
ความบันเทิงเริงรมย์กับหนุ่มสาวดูจะขาดจากกันเสียมิได้ ผมเริ่มเขียนเนื้อเพลงเพื่อชีวิตในเมืองให้เพื่อนร่วมบ้าน 4-5 คน ได้ฝึกร้องกันไว้ ร้องกันอยู่สองสามหน คราวต่อไปก็ออกงานกลางทุ่ง เคาะกะโหลกกะลาเป็นที่สนุกสนาน
งานหลักของผมในช่วงนั้นคือการเลี้ยงควายสลับกับขุดบ่อปลา กลางวันพวกเรามักจะต้อนควายไปปักหลักเลี้ยงแถวป่าโคก เพราะมีเถียงนา (กระต๊อบ) พอเป็นที่หลบร้อนได้ บังเอิญจุดนี้อยู่ใกล้ทางเดินเล็กๆ เชื่อมระหว่างหมู่บ้านกับภูโพนทอง ตอนบ่ายคล้อยค่ำผมจึงสังเกตเห็นหนุ่มสาวจับกลุ่มเดินกันออกมาจากป่าตีนภู ผมแอบเก็บงำความสงสัยไว้ ไม่อยากถามเพื่อนหนุ่ม ประเดี๋ยวเขาจะหาว่าเป็นคนชอบซอกแซก แล้วจะอยู่กับพวกเขาลำบากเปล่าๆ

ภูโพนทองที่เห็นในวันกลับบ้านเก่าอีกครั้งยังเป็นภูลูกเดิมที่ชาวบ้านฝากผีฝากไข้ได้ ไม่มีนาไร่ก็แบกมีดแบกขวานไปถางป่า ป่าดงบังอี่ทั้งป่ายังหนาแน่นแม้สัตว์ป่าตัวใหญ่ที่สุดเหลือแค่หนูหวาย พงไพรเป็นดั่งตลาดสด ธรรมชาติให้พวกเขาจับจ่ายอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน

ภูลูกนั้นในวันนี้ไม่มีอยู่สิ่งเดียวคือ ทหารป่า

จำได้ว่าผมคลุกคลีอยู่กับเพื่อนหนุ่มชาวสวนโคกนานร่วมเดือนทีเดียว จึงค่อยๆ ได้รับรู้ข่าวสารการเมืองจากราวไพร บทเพลงรำวงทำนองสนุกๆ เป็นสิ่งแรกที่ผมได้รับมา พวกเขาชอบร้องกันมาก

"จากท้องนา" เพลงนี้เนื้อหาเข้ากับบรรยากาศในละแวกตำบลโพนทองมาก มีเยาวชนตำบลนี้ทยอยหายไปจากเรือนชานบ้านช่องทีละคนสองคน หากใครเอ่ยถามพ่อแม่ของหนุ่มสาวว่าลูกไปไหนก็ได้คำตอบแทบจะเหมือนกันว่า "มันไปทำงานกรุงเทพ"

จริงๆ แล้ว หนุ่มสาวชาวโพนทองไปร่วมกิจกรรมการเมืองเหมือนเพลงบอกไว้

จากท้องนา จะอำลา พ่อแม่ห่างไกล
สู่เขาดงพงไพร ด้วยดวงใจ เคียดแค้นทวี
บ้านเมืองเรานั้น ถูกโจรมาร ปล้นสิทธิ์เสรี
รวมพลังเถิดเรา น้องพี่ สามัคคีช่วงชิงชาติไทย
จับมันมาตัดหัว รับกรรมแสนชั่ว ที่มันสร้างไว้
จับมันมาแขวนคอ รับกรรมที่ก่อ ให้มันสาใจ
กลับสู่ท้องนา เมื่อโจรา สูญสิ้นหมดไป
สร้างสังคมของไทย ให้สดใส รุ่งเรืองไพบูลย์

อีกเพลงหนึ่งที่ร้องแล้วออกจะให้จินตนาการอันกว้างไกลแก่คนหนุ่มสาวสมัยนั้น ด้วยทุกคนอยากเห็นเทือกเขาภูพาน อยากเป็น "ทหารลำเลียง"

เทือกเขาภูพาน สูงตระหง่าน ยอดยืนทะนง
เขตแคว้นแดนดง แสนสลับซับซ้อน ดอนไพร
ห้วยน้ำลำธาร ไหลผ่าน หนทางแสนไกล
ยากเย็นไม่เคยหวั่นไหว จะปักใจ สู้ทนลำเลียง
เหงื่อไหลโซมกาย เช้าและบ่าย ทั้งคืนและวัน
แดดฝนทนนาน สู้ไม่หวั่น หญิงชายพร้อมเพรียง
พรรคและประชา ให้เรามา ขนส่งเสบียง
แนวรบด้านการลำเลียง จะหยัดยืน ไม่มีท้อใจ

ยามที่ออกไปอยู่กลางทุ่ง พวกเรามักจะตะเบ็งเสียงร้องเพลงป่ากันสนุกสนาน แต่เวลาร้องเพลงนี้ต้องเหลียวหน้าเหลียวหลังเหมือนกัน ถ้าเห็นกลุ่มอส. ลาดตระเวนผ่านมาใกล้ ๆ ต้องหยุดร้อง เผลอๆ ก็ร้องเพลง "อส. รอรัก" ส่งไปเลย ช่วงนั้นศักดิ์สยาม เพชรชมภูร้องไว้โด่งดังสุดขีด

เพลงป่าอีกเพลงหนึ่งที่ผมได้ซึมซับไว้ในตอนแรกคือเพลง "เพื่อพรรคเพื่อมวลประชา"

เพื่อพรรคเพื่อมวลประชา พวกเราก้มหน้า ทำงานเรื่อยไป
เสียสละหยาดเหงื่อแรงกาย เพื่อผองไทย จะสุขเสรี
ทนยากตรากตรำลำเค็ญ เพื่อประชา อยู่ดีกินดี
แสงสว่างข้างหน้ายังมี ฉันขอถามที ว่าคุณทำอะไร
ผมน่ะ.....เป็นทหาร รบพุ่งประจัญ หมู่มารไพรี
ฉันเป็นสตรี เป็นหมอที่ดี ของประชาชน
เราเป็นคนลำเลียง ขนส่งเสบียง ด้วยใจอดทน
ลุงบุกเบิกมวลชน หลานเป็นเยาวชน หลานทำอะไร
หลานเป็นคนทำครัว ต้มแกงแป้งถั่ว หลานทำสุดใจ
เอ๊ะ...นั่นชื่อเรียงเสียงใด พรรคเคยมอบให้ คุณทำอิหยัง
ฉันเป็นศิลปิน สร้างชุบชีวิน ให้มีพลัง
ร้องเพลงจากใจ ไหลหลั่ง เพิ่มพูนพลังให้เรารื่นเริง

บทเพลงจากลำเนาไพรมีท่วงทำนองเรียบง่าย คนแต่งเพลงเหล่านี้คงหวังให้ร้องติดปากแบบไม่ยากนัก อีกด้านหนึ่ง บรรดานักรบปฏิวัติล้วนแต่เป็นหนุ่มลูกทุ่ง จึงชอบเพลงสนุกแถมปลุกใจรับใช้องค์กรสู้รบในเขตป่าเขาเป็นอย่างดี

ขณะเดียวกัน มันเป็นเพลงเถื่อนในสายตาของผู้ปกครองบ้านเมืองยามนั้น ภายหลังกลิ่นไอสงครามจางหายไป เพลงไพรเพลงเถื่อนถูกนำมาแต่งตัวเสียใหม่ให้เป็นเพลงถูก (กฎหมาย)

เพลง "เพื่อพรรคเพื่อมวลประชา" ในเสื้อคลุมตัวใหม่ปรากฎโฉมครั้งแรกในฐานะเพลงประกอบภาพยนต์เรื่อง ครูดอย ของ สุรสีห์ ผาธรรม ผู้ประสบความสำเร็จอย่างสูงจากเรื่อง ครูบ้านนอก เวลานั้นมี นันทิดา แก้วบัวสาย กับ วาสนา สิทธิเวช เป็นผู้ขับร้องร่วมกันในภาพยนต์เรื่องนั้น และเปลี่ยนชื่อเป็น "แรงศรัทธา" และถูกนำมาจับใส่ตลับเทปเมื่อประมาณกลางปี พ.ศ. 2516 คงมีใครสักคนได้ซื้อเทปม้วนนี้ไปฟัง อีก 6 ปีต่อมามันจึงถูกนำมาขับขานอีกครั้งโดยน้ำเสียงใสๆ ของ ศันสนีย์ นาคพงศ์ และมี ปิยะ ตระกูลราษฏร์ (พระเอกหนัง ครูบ้านนอก) ร้องคู่ด้วย

ผู้ที่แต่งโฉมใหม่ให้เพลงเถื่อนเพลงนี้คือ วิสา คัญทัพ

ส่วนนักแต่งตัวจริงนั้น ในครั้งกระโน้น ผมและเพื่อนหนุ่มอยากรู้จักตัวเขาเป็นอย่างมาก ใครหนอ......เป็นคีตกวีบ้านนา ที่จุดไฟหวัง ไฟฝันให้คนหนุ่มสาวชาวทุ่งชาวไพร


โดย: ซากอดีตแห่งสมรภูมิภูสระดอกบัว IP: 49.228.221.218 วันที่: 21 เมษายน 2554 เวลา:22:30:50 น.  

 
ผมเป็นคนบ้านบก เสนางคนิคม โดยกำเนิด เกิดและเติบโตมาตั้งแต่เล็ก ใกล้ชิดกับชลประทานห้วยม่วงมาก มีวิถีชีวิตแบบเด็กบ้านนอก ตอนนี้อายุล่วงไป 35 ปีแล้ว ทุกอย่างเปลี่ยนแปลง พ่อและแม่ทุกล่วงลับไปแล้ว คิดถึงบุญคุณท่าน คิดถึงพี่ ๆ ญาติพี่น้องที่บ้านบกมาก
ตอนนี้รับราชการครู ย้ายมาอยู่ที่จังหวัดศรีสะเกษ
อยู่อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ปัจจุบันเป็นรองผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลขุนหาญ (สิ) อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ คิดถึงเพื่อน ๆ สมัยเรียนอยู่โรงเรียนบ้านบก สมัยเรียนโรงเรียนเสนางคนิคม หากเพื่อนได้อ่านข้อความนี้ก็ให้รู้ว่า เพื่อนคนนี้ยังคิดถึงบรรยากาศเก่า ๆ คิดถึงบุญบั้งไฟช่วงวันที่ 15 - 16 พฤษภาคม 54 ที่ผ่านมา ให้เบอร์ไว้ก็แล้วกันนะ ครูจุง 083-9651785


โดย: ครูจุง บ้านบก IP: 192.168.212.154, 203.172.139.210 วันที่: 21 มิถุนายน 2554 เวลา:11:33:06 น.  

 
ดีๆคับ


โดย: ใหญ่ หน้าวัดบ้านโพนทอง IP: 180.183.242.81 วันที่: 9 กรกฎาคม 2554 เวลา:1:56:41 น.  

 
โพนทองเมืองเก่า เผ่าเทพวงษา อาชญาท่านศรี นาดีข้าวอ่อน ฟ้อนนกกาบบัว ครอบครัวอัครฮาด


โดย: ใหญ่ หน้าวัดบ้านโพนทอง IP: 180.183.242.81 วันที่: 9 กรกฎาคม 2554 เวลา:2:12:45 น.  

 
ดีมากเลยเป้นข้อมุลที่ดี สำหรับให้ลุกหลานปุถุชนรุ่นหลังได้สำนึกและหวงแหนบ้านเกิด หากมีโอกาสอย่าลืมกลับไปร่วมมือกันพัฒนาบ้านเฮาเด้อ


โดย: เชษฐ์ชัย ชมัฒพงษ์ IP: 101.51.134.108 วันที่: 14 กรกฎาคม 2554 เวลา:22:48:05 น.  

 
ดีใจมากที่มีเว็บนี้สวดยวด


โดย: Tr_118@hotmail.com IP: 182.53.204.10 วันที่: 23 สิงหาคม 2554 เวลา:19:50:25 น.  

 
วัดดีทุกๆคนชาวบ้านโพนทอง
จาก ต้น หมู่ 9


โดย: Tr_118@hotmail.com IP: 182.53.204.10 วันที่: 23 สิงหาคม 2554 เวลา:19:54:43 น.  

 
ได้อ่านประวัติความเป็นมาของบ้านตัวเองแล้วดีใจที่ยังมีคนให้ความสำคัญนำมาบอกคนรุ่นหลัง.ตอนนี้ผมทำงานที่ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ มีข้อมูลอะไรดีๆคุยได้ที่ facebook watee2526@hotmail.com หรือโทรคุยกันได้ที่เบอร์ 08-5448-4730เห็นรูปภูโพนทองแล้วคิดฮอดบ้านอยากกลับไปอยู่บ้านคิดฮอดพ่อใหญ่รัตน์ ยายไหว บ้านน้อยดอกหญ้า คิดฮอดยายมืด ยายไฟ พี่น้องทุกสุคน


โดย: ต่าย บ้านน้อยดอกหญ้า IP: 200.100.100.240, 203.146.110.52 วันที่: 27 สิงหาคม 2554 เวลา:5:10:14 น.  

 
เคยมีแฟนเป็นคนเสนางนิคม เลิกกันนานแล้วแต่ไม่เคยลืมเค้าเลย อยากรู้ว่าเค้าเป็นยังงัยบ้าง ถ้าใครรู้จักคนชื่อ ถาวร ศาตราชัย ชื่อเล่น วร แต่ก่อนทำงานแหวน อยู่ซอยโกบ้อ กรุงเทพ ช่วยติดต่อ เนียร ศรีสะเกษด้วย แค่อยากรู้ว่าเธอสบายดี มีลูกกี่คน ถ้าใครรู้จักช่วยเมล์มาบอกเราด้วย ที่ nearnnn@hotmail.com


โดย: เนียร IP: 88.174.134.38 วันที่: 3 กันยายน 2554 เวลา:14:59:42 น.  

 
เพื่อการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวคราวความรู้ ความเคลื่อนไหวบ้านเรา ติดต่อทางเฟส ได้ที่ kantaena@hotmail.com


โดย: คันแท ทุ่งทองกวาว IP: 110.49.227.18 วันที่: 5 ตุลาคม 2554 เวลา:22:28:02 น.  

 
อย่าสิไลลืมถิ่ม มูลมังตั้งแต่เก่า
อย่าสิเผามอดเมี้ยนเสียถิ่มบ่มีเหลือ
บาดว่าเทื่อมื้อหน้า สิพาเฮาให้เฮืองฮุ่ง
โพนทองเอาสิพุ่ง เจริญขึ้นก็แต่หลัง


โดย: คันแท ทุ่งทองกวาว IP: 110.49.188.120 วันที่: 15 ตุลาคม 2554 เวลา:6:51:09 น.  

 
.......คันได้กินลาบซิ้นอย่าลืมแจ่วแพวผัก ได้กินพาเงินพาคำอย่าลืมกระเบียนฮ้าง
คันเจ้าได้อยู่ยอดฟ้าผาสาทประดับมุข อย่าได้ลืมเฮียมทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า
คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า
คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มสัปทน อย่าได้ลืมคนจนผู้แห่นำตีนซ้าง.....


โดย: คันแท ทุ่งทองกวาว IP: 110.49.188.120 วันที่: 15 ตุลาคม 2554 เวลา:7:32:53 น.  

 
เราเป็นคนอำนาจเจริญ แต่ไม่ได้อยู่เสนางนะ อยู่ อ.เมือง แต่พ่อเราอยู่หนองทับม้า


โดย: เปรม IP: 223.207.97.39 วันที่: 9 เมษายน 2555 เวลา:16:58:11 น.  

 
สุดยอดครับ


โดย: นักรบขี้เมาjaitonboyตัวพ่อ IP: 27.130.16.170 วันที่: 21 เมษายน 2555 เวลา:18:47:36 น.  

 
ฟังท่านเสียงที41 เล่าประวัติ์บ้านโพนทองแล้ว คิดฮอดตาสอ(กำนันสอ พิมเสน) จากหลานตา คนรอง


โดย: นักรบขี้เมา jaitonboy ตัวพ่อ IP: 27.130.16.170 วันที่: 21 เมษายน 2555 เวลา:19:25:40 น.  

 
เท่าที่ทราบ ข้อเขียนของ ท่านที่ 41 คงจะเป็นของรองเชิดนะ เพราะเคยเห็นงานชิ้นนี้เผยแพร่ทาง e-office ของ สพป.อำนาจเจริญ


โดย: ครูแจง เสนางค์ IP: 223.206.197.249 วันที่: 24 เมษายน 2555 เวลา:14:33:52 น.  

 
ผมเป็นคนบ้านบกครับตอนนี้ทำงานอยู่สระบุรีหนองแคอยากชวนทุกคนไปเที่ยวงานบุญบั้งไฟบ้านบกวันที่5พฤษภาคมนี้ครับ0874520248โทรมาได้เลย


โดย: วัฒนามีลา IP: 27.55.4.129 วันที่: 29 เมษายน 2555 เวลา:9:09:15 น.  

 
เห็นภาพทำให้คิดฮอดบ้านเด้.....เพียว..มาบตาพุต
ภูบ้านผมเองคราฟ


โดย: ชารินทร์ จรรยากรณ์ IP: 27.55.0.209 วันที่: 7 พฤษภาคม 2555 เวลา:19:14:59 น.  

 
คนเสนางฯ บ้านหนองทับม้าคับ
คิดฮอดบ้านหลาย
มาเรียนอยู่ ลิเวอร์พูลคับ


โดย: คนเสฯ IP: 94.168.3.42 วันที่: 29 พฤษภาคม 2555 เวลา:7:27:13 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เด็กอำนาจเจริญ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]





Friends' blogs
[Add เด็กอำนาจเจริญ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.