บทบาทมัสยิดในอิสลาม


บทบาทมัสยิดในอิสลาม



 



 





 





بسم الله الرحمن الرحيم



الحمد لله وحده، والصلاة والسلام على من لا



نبي بعده، نبينا محمد وعلى آله وصحبه، ومن



تبعهم بإحسان إلى يوم الدين، أما بعد:



บรรดาการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอการ



ประสาทพรและความสันติ จงประสบแด่ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ

วะสัลลัม วงศ์วานและเหล่าเศาะหาบะฮฺของท่าน ตลอดจนบรรดาผู้เจริญรอย

ตามแนวทางของชนเหล่านั้นด้วยดีจวบจนกาลอวสาน

มัสยิดถือเป็นสถาบันหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพ ัฒนาคนและ

สังคม ซึ่งจำเป็นต้องทำงานประสานสอดรับกับหน่วยอื่นๆ ทั้งหมด เช่นสถาบัน

ครอบครัวและสถานศึกษาอย่างมิอาจแยกส่วนเป็นเอกเ ทศได้ หากเราศึกษา

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ร ต ร์ ห รื อ ซี เ ร า ะ ฮฺ ข อ ง ท่ า น น บี มุ หั ม มั ด ศ็ อ ล ลั ล ล อ ฮฺ

อะลัยฮิ วะสัลลัม อย่างลึกซึ้ง ก็จะพบว่าสิ่งแรกที่ท่านได้ลงมือปฏิบัติทันทีเม ื่อ

เดินทาง(ฮิจญ์เราะฮฺ)ถึงเมื่องมะดีนะฮฺนั้นก็คือการส ร้างมัสยิดเพื่อเป็นประหนึ่งดั่ง

รากฐานรองรับการพัฒนาเปลี่ยนแปลง

หนังสือ "บทบาทมัสยิดในอิสลาม" เป็นอีกหนึ่งวิทยาทานที่ฝ่าย

วิชาการและเผยแพร่ มูลนิธิเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาสังคม ภูมิใจเสนอ โดย

หวังว่าเนื้อหาสาระต่างๆ ในหนังสือเล่มนี้จะสามารถก่อให้เกิดผลในทาง

สร้างสรรค์อย่างดีต่อสังคมมุสลิมสืบไป อินชาอัลลอฮฺ

สุดท้ายนี้ ขอเอกองค์อัลลอฮฺตะอาลา ทรงโปรดเมตตาคณะผู้เรียบเรียง

และผู้บริจาคเงินเพื่อการจัดพิมพ์ ตลอดจนผู้มีส่วนร่วมในการจัดหนังสือเล่มนี้ทุก

ท่าน และขอพระองค์ทรงรับการงานของเราด้วยเทอญ

وصلى الله على نبينا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين

ด้วยสลามและดุอาอ์

ฝ่ายวิชาการและเผยแพร่

มูลนิธิเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาสังคม

ซุลเกาะอฺดะฮฺ 1426







 



رسالة المسجد في الإسلام

บทบาทมัสยิดในอิสลาม



มัสยิด คือ บ้านของอัลลอฮฺบนพื้นพิภพแห่งนี้ เป็นสถานที่ซึ่ง

ความเมตตาของพระองค์ถูกประทานลงมา อีกทั้งเป็นสถานที่พบปะ

ของบรรดาผู้ศรัทธา และเป็นที่รวมจิตใจของบรรดาผู้ยำเกรง และเป็น

สถานที่อันดีเยี่ยมที่ถูกส่องประกายด้วยรัศมีและความ สุกใส และทำให้

ความหมายที่แท้จริงของความรักและความเป็นพี่น้องประท ุขึ้นในใจ

ทั้งหลาย

โอ ช่างประเสริฐเพียงนี้เชียวหรือ สถานที่ที่ซึ่งเป็นที่รำลึกพระ

นามของอัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่อีกทั้งสูงส่ง ในนั้นมีแต่การแซ่ซร้องสดุดี

ต่อพระองค์ทั้งยามเช้าและยามเย็น





8

K J I H G F E D C B A

T S R Q P O N M L

[ سورة النور: 37 ] U


ความว่า : "บรรดาชาย ผู้ที่การค้าและการขาย

มิได้ทำให้พวกเขาเหินห่างออกจากการรำลึก

ถึงอัลลอฮฺ และการดำรงละหมาด และการ

จ่ายซะกาต เพราะพวกเขากลัววันหนึ่งที่หัวใจ

และสายตาจะเหลือกลานในวันนั้น" (อันนูร :37)







[ سورة طه: ١١١ ] 

ความหมาย : "และใบหน้าทั้งหลายได้สยบลง

ต่อพระผู้ทรงชีวิน ผู้ทรงดำรงอยู่" (ฏอฮา :

111)

พี่น้องทั้งหลายตระหนักเถิดว่า อิสลามในสาระแล้ว ก็คือ

ศาสนาสากลอันเป็นนิรันดร์ ที่องค์อภิบาลทรงยินดีให้เป็นแนวทางชีวิต

สำหรับมนุษยชาติ เป็นหลักธรรมแห่งความเป็นอยู่ ในอิสลามไม่ยินดี

ให้ผู้ที่นับถือปฏิบัติละหมาดของพวกเขาโดยโดดเดี่ยวอ อกจากสังคมที่



9

พวกเขาใช้ชีวิตอยู่ ทว่าอิสลามเรียกร้องพวกเขาอย่างหนักแน่นที่สุด ให้

ปฏิบัติมันในลักษณะของญะมาอะฮฺ และต้องปฏิบัติในมัสยิดด้วย

จนกระทั่งถูกแสดงออกมาซึ่งภาพแห่งเกียรติยศ ภูมิฐานและน่าเคารพ

นับถือ ทำให้พวกเขาอยู่ภายใต้ร่มเงาแห่งความรักและสนิทสนมต่ อกัน

เกาะเกี่ยวเหนี่ยวยึดต่อกันประดุจตัวอาคารอันมั ่นคง

จากบันทึกของมุสลิม รายจากอิบนุ มัสอูด เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ

ว่า



"ผู้ใด้เขายินดีที่จะได้พบกับอัลลอฮฺในวันพรุ่งนี้ใน สภาพของ

มุสลิม ดังนั้นจงระวังรักษาบรรดานมาซ (ห้าเวลา) เหล่านั้น ณ

สถานที่ที่มีเสียงเรียกร้อง (อาซาน) เพราะแท้จริง อัลลอฮฺได้ทรง

กำหนดแบบฉบับต่างๆ แห่งทางนำให้กับบรรดานบีของพวก

ท่านไว้แล้ว และแท้จริงสิ่งเหล่านั้น (การละหมาด) เป็นส่วนหนึ่ง

จากบรรดาแบบฉบับแห่งทางนำ นั้น และหากพวกท่านทำ

ละหมาดที่บ้านเรือนของพวกท่าน เช่นเดียวกับผู้ที่ขัดแย้ง (คำ

สอน) โดยละหมาดที่บ้านของเขา ย่อมเท่ากับพวกท่านได้

ทอดทิ้งแบบฉบับ (ซุนนะฮฺ) นบีของพวกท่านไปแล้ว และหาก

พวกท่านทอดทิ้งแบบฉบับนบีของพวกท่านเสียแล้ว พวกท่าน

ย่อมหลงผิดอย่างแน่นอน บุรุษใดที่เขาได้ทำความสะอาด

(อาบน้ำละหมาด) โดยพยายามทำอย่างดีที่สุด ต่อมาตั้งใจเดิน

มุ่งไปยังมัสยิดหนึ่งจากมัสยิดเหล่านั้น เขาไม่ได้รับสิ่งใด นอก

จากอัลลอฮฺจะทรงบันทึกให้แก่เขาในทุกๆ ย่างก้าวที่เขาย่างไป

ซึ่งความดีงามหนึ่ง และแต่ละก้าวจะเทิดเกียรติให้เขาสูงส่งขึ้น



10

ไปในระดับหนึ่ง และลบล้างความชั่วหนึ่งออกไปจากเขา ซึ่งเรา

ได้พบว่าไม่มีใครเพิกเฉยจากการละหมาดญะมาอะฮฺเล ย

นอกจากคนมุนาฟิกที่กลับกลอกชัดแจ้ง บุรุษผู้ศรัทธานั้นเขา

จะต้องมาปฏิบัติ (ละหมาดที่มัสยิด) แม้เขาจะต้องถูกขนาบข้าง

ด้วยชายสองคน ช่วยหิ้วปีก เนื่องจากความเจ็บป่วย จนกระทั่ง

ได้มายืนอยู่ในแถวละหมาด..."

การละหมาดวันศุกร์ตามกฎเกณฑ์แล้ว จะต้องปฏิบัติใน

มัสยิดของชุมชนเท่านั้น มันจึงจะนำมาซึ่งความเป็นปึกแผ่นอันหนึ่งอัน

เดียวกันของสังคมมุสลิม ในรูปแบบที่แจ่มแจ้งชัดเจนสั่นสะเทือนจิตใจ

ที่ถูกควบคุมด้วยความสำนึกและความรูสึก ณ ที่นั้น ย่อมส่งผลให้เกิด

เป็นคุณค่าที่งดงามและศักดิ์สิทธิ์อย่างแท้จริง



นักปรัชญาชาวชาวฝรั่งเศษผู้หนึ่งชื่อ "เรนาน" ได้กล่าว

อธิบายถึงความปลาบปลื้มตื้นตันใจกับสิ่งที่เขาได้พบแ ละรู้สึก ขณะได้

ยืนอยู่ท่ามกลางบรรดามุสลิมที่พวกเขากำลังดูดดื่มอยู ่ในการละหมาด

ว่า "ไม่มีครั้งใดเลยที่ฉันได้เข้าไปในมัสยิดหนึ่งๆ ของมุสลิม ครั้นได้พบ

เห็นพวกเขารวมกันอยู่ในท่าทางของการละหมาดนอกจากมันท ำให้ฉัน

ต้องรู้สึกกับความเศร้าใจอย่างยิ่งที่ฉันเอง ไม่ได้เกิดมาเป็นมุสลิมด้วย"

การละหมาดญุมอะฮฺ (วันศุกร์) เป็นสิ่งฟัรฎูในรอบสัปดาห์

เป็นวันอีดรอบสัปดาห์ และที่อัลลอฮฺทรงกำหนดให้ทำญามะอะฮฺในวัน

11

นั้น ล้วนแสดงถึงความจำเป็นยิ่งยวด (วาญิบ มุอักกัด) ที่เพิกเฉยเสีย

มิได้





อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ตรัสว่า

I H G F E D C B A

U T S R Q P O N M L K J

[ سورة الجمعة: ٩ ] W V


ความว่า "โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย เมื่อการ

เรียกร้องเพื่อการละหมาดจากวันศุกร์ได้ถูก

ประกาศขึ้น ดังนั้น พวกท่านจงรีบเร่งไปสู่การ

รำลึกถึงอัลลอฮฺ และจงละจากการค้าขาย (ไว้

ชั่วคราว) นั้นเป็นการดีสำหรับพวกท่าน หากพวก

ท่านได้ทราบ (ถึงคุณค่าของมัน)" (อัล-ญุมุอะฮฺ: 9)

ท่านเราะซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้แสดงการ

ปฏิเสธอย่างรุนแรงต่อผู้ที่ละทิ้งการละหมาดวันศุกร์ท ี่มัสยิด โดย

ปราศจากอุปสรรคใดๆ ในฮะดีษซึ่งบันทึกโดย อิบนุคุซัยมะฮฺ และอิบนุ

หิบบานในหนังสือ "อัศ-เศาะเหี๊ยะฮฺ" ว่า แท้จริงท่านเราะซูล

ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า



12

لينتهينَّ قو ٌ م عن ودعهم أي » : () قال

تركهم ا ُ لج ُ م َ عات , أو يختمنَّ الله على قلوبهم

رواه مسلم. «... ثم ليكوننَّ من الغافلين

ความว่า : "แน่นอนกลุ่มชนหนึ่งกลุ่มชนใด

จะต้องพบกับจุดจบเนื่องจากการทอดทิ้ง

หลายๆ วันศุกร์ หรือแน่นอนอัลลอฮฺก็จะทรง

ประทับตราบนหัวใจของพวกเขา ต่อจากนั้น

พวกเขาก็จะกลายเป็นผู้ที่หลงลืมอย่าง

แน่นอน" (บันทึกโดยมุสลิม)



ในการพบปะกันในรอบสัปดาห์ มีทั้งบทเรียน แนวคิดและ

ความรู้ใหม่ๆ เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมแวดล้อม เพื่อการฟื้นฟู

ความรู้สึกที่เป็นพี่น้อง สมานความสามัคคี และเป็นการแสดงพลัง

การทำละหมาดร่วมกัน (ญะมาอะฮฺ) ในมัสยิด 5 เวลา ในวัน



หนึ่งๆ และละหมาดวันศุกร์ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ทำให้มัสยิดมีฐานะอัน

สำคัญยิ่งในอิสลาม และในความเป็นอยู่ของบรรดามุสลิม มัสยิดไม่ใช่

กุฏิหรืออาศรม และไม่ใช่สถานที่พบปะเฮฮาของบุคคลไร้งานทำ หรือ

สำนักของนักพรตนักบวช ทั้งนี้เพราะในอิสลามไม่มีระบบนักบวช และ

อิสลามในธรรมชาติของมันแล้ว เป็นศาสนาแห่งการเคลื่อนไหวมาแต่

13

เดิม มีความสะอาดบริสุทธิ์ หลีกห่างจากการใช้ชีวิตที่ชะงักอยู่กับที่

ปฏิเสธการครองสมณเพศ หรือครองตัวแบบโดดเดี่ยว ยิ่งกว่านั้น

อิสลามยังถูกประทานมาเพื่อทำลายสิ่งกีดขวางต่าง ๆ ที่กีดกันผู้คน

ออกจากสนามชีวิต ขจัดระบบต่างๆ ที่พยายามทำให้มนุษย์อยู่แต่ใน

โพรงลึกอย่างงมงาย



อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ตรัสว่า





ความว่า : "แท้จริงบรรดาผู้ที่มลาอิกะฮฺได้เอาชีวิต

ของพวกเขาไป โดยที่พวกเขาเป็นผู้อธรรมแก่

ตัวเองของพวกเขาเองนั้น มลาอิกะฮฺได้กล่าวว่า

พวกเจ้าปรากฏอยู่ในสิ่งใด พวกเขากล่าวว่า พวก

เราเป็นผู้ที่ถูกเรียกว่าอ่อนแอในแผ่นดิน พวกเขา

(บรรดามลาอิกะฮฺ) กล่าวว่า "แผ่นดินของอัลลอฮฺ

ไม่ได้กว้างขวางดอกหรือ ที่พวกเจ้าจะอพยพไปอยู่



14

ในส่วนนั้น ชนเหล่านั้นแหละที่อยู่ของพวกเขาคือ

นรกญะฮันนัม และเป็นที่กลับไปอันชั่วร้าย

นอกจากบรรดาผู้ที่ถูกนับว่าอ่อนแอไม่ว่าจะเป็น

ชายหรือหญิงและเด็กเล็ก" (อัน-นิสาอ์: 97-98)

ท่านเราะซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวแก่อบูซัรฺ

เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่า

رواه ابن « . . . عليك بالجهاد فإن ُ ه رهبانيَّة أمتي »

حبان والحاكم.

ความว่า : "ท่านจำเป็นต้องญิฮาด(ต่อสู้)เพราะ

แท้จริงมันคือระบบนักบวชแห่งประชาชาติของฉัน"

(บันทึกโดยอิบนุหิบบาน และอัลหากิม)



15

บทบาทของมัสยิดในชีวิตส่วนรวมอันครอบคลุม

ขออัลลอฮฺทรงโปรดปรานต่อท่านอุมัรฺ บิน อัล-ค็อฏฏอบ

เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ขณะที่ท่านได้เจอชนกลุ่มหนึ่งพำนักอยู่ในแต่

มัสยิดหลังจากละหมาดวันศุกร์ โดยไม่ยอมออกไปทำหน้าที่การงาน

โดยอ้างว่าเป็นการมอบหมายตน (ตะวักกัล) ต่ออัลลอฮฺ ท่านจึงกล่าว

แก่พวกเขาเหล่านั้นด้วยคำกล่าวที่กินใจว่า

"พวกท่านคนใดจงอย่าได้นิ่งเฉยดูดายต่อการแสวงหา

ปัจจัยยังชีพ(ริซกี)และเอาแต่กล่าวว่า "โอ้อัลลอฮฺโปรดประทาน

ริซกีแก่ฉันด้วยเถิด" ทั้งที่เขาทราบดีอยู่ว่าฟากฟ้านั้นมิได้ให้ฝน

ตกลงมาเป็นทองเป็นเงิน"

แท้จริงอัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ตรัสว่า



سورة الجمعة: ١٠

ความว่า : "ดังนั้น เมื่อการละหมาดได้เสร็จสิ้นลง

แล้ว ก็จงแยกย้ายกันไปตามหน้าแผ่นดิน และจง

แสวงหาความโปรดปรานของอัลลอฮฺ..." (อัล-ญุมุอะฮฺ : 10)



ที่มา



//www.bniabdullah.com/vb/showthread.php?p=28472





Create Date : 02 กุมภาพันธ์ 2554
Last Update : 2 กุมภาพันธ์ 2554 7:46:36 น.
Counter : 485 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tonyma
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ชุมพล ศรีสมบัติ

สร้างลิงค์ของโปรไฟล์ในแบบที่เป็นตัวคุณเอง

free counters

กุมภาพันธ์ 2554

 
 
1
4
5
6
7
8
9
11
12
14
15
16
17
18
19
21
22
24
25
26
27
28
 
 
All Blog