คำสอนอิสลามเรื่องการบริจาคทาน

อิสลามกับการบริจาค

การ
แบ่งปันและแจกจ่ายให้แก่ผู้อื่นที่ด้อยโอกาสกว่า
ไม่เพียงแต่เป็นหน้าที่ของมุสลิมเท่านั้น
แต่ยังถือเป็นการกระทำอันสูงส่งที่สุด
ที่สามารถนำคนผู้นั้นเข้าใกล้ชิดกับพระผู้เป็นเจ้ามากยิ่งขึ้น
การบริจาคเป็นการทำให้บุคคลและสังคมได้รับประโยชน์
มันเป็นการชำระขัดเกลาจิตวิญญาณจากความตระหนี่ถี่เหนียวและคับแคบ

ในโองการจากอัล-กุรอาน อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงตรัสว่า

"(มุ
ฮัมมัด) เจ้าจงเอาส่วนหนึ่งจากทรัพย์สมบัติของพวกเขาเป็นทาน
เพื่อทำให้พวกเขาบริสุทธิ์ และล้างมลทินของพวกเขาด้วยส่วนตัวที่เป็นทานนั้น
และเจ้าจงขอพรให้แก่พวกเขาเถิด เพราะแท้จริงการขอพรของพวกเจ้านั้น
ทำให้เกิดความสุขใจแก่พวกเขา และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้"
(อัล-กุรอาน 9/103)

จาก
หลักคำสอนของอิสลาม บทบัญญัติในการจ่ายซะกาต(เงินบริจาค)
มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าบทบัญญัติในเรื่องการนมาซ
เมื่อใดก็ตามที่อัล-กุรอานกล่าวถึงผู้ดำรงการนมาซ
ก็จะกล่าวถึงผู้จ่ายซะกาตด้วยเช่นกัน

การ
บริจาคในอิสลาม ไม่ได้ถูกมองว่าเป็นของกำนัลที่มอบแก่คนยากจน
แต่มันถือเป็นสิทธิของคนยากจนต่างหาก ดังโองการจากอัล-กุรอานที่ระบุว่า "และในทรัพย์สมบัติของพวกเขาจัดไว้เป็นส่วนของผู้เอ่ยขอ และผู้ไม่เอ่ยขอ" (อัล-กุรอาน 51/19)

อิส
ลามถือว่าเงินทองหรือทรัพย์สินที่มนุษย์ขวนขวายนั้นได้มาด้วยความกรุณาจาก
พระผู้เป็นเจ้า ท่านหญิงมัรยัม (พระนางแมรี่) มารดาของศาสดาอีซา(อ.)
(พระเยซู)
ได้รับปัจจัยยังชีพจากพระผู้เป็นเจ้าผู้ยิ่งใหญ่โดยปราศจากเงื่อนไข  "แล้ว
พระเจ้าของนางก็ทรงรับมัรยัมไว้อย่างดี
และทรงให้นางเจริญวัยอย่างดีด้วยและได้ทรงให้ซะกะรียาอุปการะนาง
คราใดที่ซะกะรียาเข้าไปหานางที่อัลมิห์รอบ เขาก็พบปัจจัยยังชีพอยู่ที่นาง
เขากล่าวว่า มัรยัมเอ๋ย! เธอได้สิ่งนี้มาอย่างไร?นางกล่าวว่า
มันมาจากที่อัลลอฮฺ
แท้จริงอัลลอฮฺนั้นจะทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์โดย
ปราศจากการคิดคำนวณ" (อัล-กุรอาน 3:37)

ถึง
แม้ว่ามนุษย์ต้องทำงานเพื่อหาเลี้ยงชีพ แต่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)
คือผู้ทรงกำหนดจำนวนและรูปแบบของปัจจัยที่พวกเขาจะได้รับตลอดชั่วชีวิตของ
เขา
ดังนั้นเมื่อมนุษย์ได้รับคำสั่งให้คืนทรัพย์สินบางส่วนของพวกเขาไปในการบริ
จาค แท้จริงแล้วพวกเขาไม่ได้เสียสละทรัพย์สินของเขาแต่งอย่างไร
มันเป็นเพียงแต่การคืนสิ่งที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงให้พวกเขายืมมาเท่านั้น
อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงตรัสว่า

"บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงบริจาคส่วนหนึ่งจากสิ่งที่เราได้ให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้า..." (อัล-กุรอาน 2:254)

ปัจจัย
ยังชีพเหล่านั้นไม่ได้ถูกจัดเตรียมไว้เพื่อมนุษย์เท่านั้น
แต่เพื่อให้แก่บรรดาสิ่งถูกสร้างอื่นทั้งหมดด้วย ไม่ว่าจะเป็น พืช, สัตว์,
ต้นไม้ ฯลฯ
เงิน
ที่มาจากการบริจาค
ช่วยสร้างความมั่นคงและเสริมเกียรติยศให้แก่สังคมด้วยการช่วยเหลือต่อผู้ที่
ขาดแคลน เป็นการเติมช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน
และทำให้ความอดอยากยากจนหายไป

ศาสดามุฮัมมัด(ศ.) กล่าวว่า "ประชา
ชาติของฉันจะมีชีวิตอยู่อย่างสงบสุขถ้าพวกเขาเชื่อมั่นต่อกันและกัน
คืนสิ่งที่รับฝากไว้ให้แก่เจ้าของ และจ่ายซะกาต(เงินบริจาค) ให้แก่คนยากจน
แต่ถ้าพวกเขาไม่ปฏิบัติตามหน้าที่เหล่านี้
พวกเขาจะเผชิญกับความอดอยากยากแค้น"

อิมามอะลี(อ.) กล่าวว่า "อัล
ลอฮฺผู้ทรงเกริกเกียรติ
ได้กำหนดให้การยังชีพของคนขัดสนอยู่ที่ทรัพย์สินของคนรวย ด้วยเหตุนี้เอง
เมื่อคนขัดสนยังคงหิวอยู่
นั่นก็เป็นเพราะคนรวยบางคนไม่ยอมแบ่งปันส่วนที่เป็นสิทธิ์ของเขาให้แก่เขา"

Source : www.al-islam.org





Create Date : 31 มกราคม 2554
Last Update : 31 มกราคม 2554 17:36:35 น.
Counter : 809 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tonyma
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ชุมพล ศรีสมบัติ

สร้างลิงค์ของโปรไฟล์ในแบบที่เป็นตัวคุณเอง

free counters

มกราคม 2554

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
28
29
30