DR.MOO CAN DO
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2553
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
19 มิถุนายน 2553
 
All Blogs
 
การกระทำโดยประมาทของแพทย์

            (Malpractice ) หมายถึง การกระทำที่ผิดมาตรฐานวิชาชีพ (Medical professional liability) การที่หมอคนหนึ่งถูกฟ้องในข้อหาฐานกระทำโดยประมาท ย่อมหมายความว่ามีการกระทำบางสิ่งบางอย่างที่ผิดจากมาตรฐานความระมัดระวัง (Standard of care) ซึ่งยอมรับได้และการกระทำดังกล่าวทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ป่วย


       มาตรฐานความระมัดระวังในวิชาชีพแพทย์คงไม่มีใครรู้ดีเท่ากับแพทย์ด้วยกันเอง หากจะให้พิสูจน์ว่าการกระทำของแพทย์คนหนึ่งเป็นการกระทำโดยประมาทหรือไม่น่าจะปล่อยให้แพทย์ด้วยกันเองเป็นผู้วินิจฉัย ดังนั้นในบางรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกาก่อนที่ผู้เสียหายจะยื่นฟ้องต่อศาลให้หมอรับผิดฐานประมาทได้นั้น จะต้องยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการวินิจฉัยความผิดเกี่ยวกับแพทย์ (Medical Review Panels) ก่อน


       คณะกรรมการวินิจฉัยความผิดเกี่ยวกับแพทย์ดังกล่าว ประกอบด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่มีการร้องเรียนและบางครั้งอาจมีกรรมการที่เป็นทนายความอิสระที่เป็นกลาง คณะกรรมการดังกล่าวจะทำหน้าที่ไต่สวนว่าการกระทำของหมอเป็นการกระทำโดยประมาท (Malpractice) หรือไม่


            ข้อเสนอขององค์กรแพทย์นครปฐมที่เสนอให้คดีที่มีการฟ้องหมอฐานกระทำโดยประมาท   สมควรที่ศาลจะรอการพิจารณา   เพื่อรอฟังคำวินิจฉัยจากองค์กรวิชาชีพแพทย์ที่เป็นกลาง เช่น แพทยสภาก่อนน่าจะได้รับแนวคิดดังกล่าวมา แต่ระบบของไทยแตกต่างกันคงใช้ไม่ได้


       ส่วนข้อเสนอของแพทย์สภาที่เสนอให้สำนักงานศาลยุติธรรมขึ้นทะเบียนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และให้มีการสืบพยานผู้เชี่ยวชาญทุกคดีที่เกี่ยวกับความผิดของหมอ เป็นเรื่องที่กระทำได้ภายใต้กรอบกฎหมายไทย


หลัก ‘4Ds’ ว่าด้วยการกระทำโดยประมาท


       การพิสูจน์ว่าหมอกระทำโดยประมาทหรือไม่จะต้องพิสูจน์ให้ครบองค์ประกอบ 4 ประการ ดังต่อไปนี้ จะขาดข้อหนึ่งข้อใดไม่ได้


       1. มีหน้าที่ (Duty) ผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำโดยประมาทจะต้องมีหน้าที่ต้องระมัดระวัง ( Duty of care) การที่หมอรับรักษาผู้ป่วย ถือว่าหมอมีหน้าที่ตามสัญญาเกิดขึ้นแล้ว


       2. มีการละเว้น (Derelict) ไม่กระทำตามหน้าที่ (Breach of duty of care )


       3. มีความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล (Direct cause) การละเว้นไม่กระทำตามหน้าที่ดังกล่าว ต้องเป็นผลโดยตรงที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ป่วย


       4. มีความเสียหาย ( Damages) เกิดขึ้น


       เมื่อผู้เสียหายเป็นผู้ฟ้องคดี กล่าวอ้างว่าหมอมีการกระทำโดยประมาท ภาระการพิสูจน์  (Burden of proof ) จะตกแก่ผู้เสียหาย โดยผู้เสียหายจะต้องพิสูจน์การกระทำให้ครบองค์ประกอบทั้ง 4 ประการ หากขาดข้อหนึ่งข้อใดถือว่าไม่มีการกระทำโดยประมาท ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง


            ลำพังแค่การรักษาไม่ประสบความสำเร็จ ยังถือไม่ได้ว่าหมอประมาท


       คดี Kennelly V Burgess : มีผู้ป่วยรายหนึ่งเข้ารับการผ่าตัดไซนัสกับหมอด้านโสต ศอ นาสิก หลังรับการผ่าตัดหลายครั้งผู้ป่วย ไม่สามารถฟื้นตัวได้ดีพอ แพทย์ที่ปรึกษาซึ่งเชี่ยวชาญด้านประสาทศัลยศาสตร์ลงความเห็นว่าสาเหตุที่ผู้ป่วยได้รับการกระทบกระเทือนทางสมองเพราะมีการสอดสายเข้าไปในโพรงจมูกระหว่างการผ่าตัด ต่อมาผู้ป่วยเสียชีวิต ทายาทได้ยื่นฟ้องหมอด้านโสต ศอ นาสิก เป็นจำเลย


            คณะกรรมการวินิจฉัยความผิดเกี่ยวกับแพทย์ ไต่สวนแล้วลงความเห็นว่า ไม่มีการกระทำโดยประมาท ทายาทจึงยื่นอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ ฯ ศาลได้สืบพยานซึ่งเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 2 ฝ่ายแล้ว พิพากษายกฟ้องโดยให้เหตุผลว่า ลำพังแค่การรักษาไม่ประสบความสำเร็จ ยังถือไม่ได้ว่าหมอประมาท


       คดีนี้กว่าจะตัดสินใจ ต้องใช้ทีมแพทย์วินิจฉัยถึง 2 ชุด ในชั้นคณะกรรมการ ฯ ชุดหนึ่ง และในชั้นศาลอีกชุดหนึ่ง ประกันได้ว่าคำวินิจฉัยต้องชัดเจนแน่นอนผู้มีส่วนในคดีย่อมเกิดความสบายใจไม่ว่าผลคดีจะออกมาเช่นใด


หมอผ่าไส้เลื่อนผิดข้าง


       คดี Rivers V Stare of New York : ศาลนิวยอร์ควินิจฉัยว่าการที่ศัลยแพทย์ผ่าตัดไส้เลื่อนให้ผู้ป่วยคดีรายหนึ่ง ทั้งที่เห็นแล้วว่าต้องผ่าข้างซ้าย แต่กลับไปผ่าเอาข้างขวาซึ่งผิดข้าง เป็นการกระทำโดยประมาท


            คณะกรรมการวินิจฉัยความผิดเกี่ยวกับแพทย์ไต่สวนแล้วลงความเห็นว่า หมอไม่ได้ตรวจสอบผู้ป่วยคดีโดยละเอียด  ไม่ได้ตรวจสอบประวัติ และไม่ได้ประเมินสภาพของผู้ป่วยก่อนการผ่าตัด


            การพิจารณาในชั้นศาลคดีนี้ แม้จะไม่มีการนำสืบพยานผู้เชี่ยวชาญอีก แต่ผลการไต่สวน ของคณะกรรมการ ฯ มีน้ำหนักพอที่จะวินิจฉัยได้ว่าการกระทำของหมอเป็นการกระทำโดยประมาท ผลปรากฏว่าหมอถูกเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพ


เราลองมาดูตัวอย่างคำพิพากษาของไทยบ้างนะครับ


คำพิพากษาศาลฏีกาที่ 5637/2533 : โจทก์ตั้งครรภ์และได้ไปปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการป้องกันการติดเชื้อหัดเยอรมัน จำเลยที่ 2 แพทย์ผู้ตรวจจึงได้ฉีดวัคซีน M.R.R. ให้โจทก์ ต่อมาโจทก์ทราบว่าวัคซีนดังกล่าวห้ามใช้กับหญิงมีครรภ์ โจทก์ไปขอคำปรึกษาจากแพทย์อีกแพทย์แจ้งว่าวัคซีนที่ฉีดให้โจทก์ไม่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์แต่โจทก์ยื่นยันจะทำแท้ง ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ทำแท้งเพราะกลัวไปเองว่าทารกในครรภ์จะคลอดออกมาพิการ มิใช่เพราะวัคซีน M.R.R. ที่จำเลยที่ 2 ฉีดให้โจทก์ทำให้ทารกในครรภ์ของโจทก์พิการ การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงไมเป็นละเมิดต่อโจทก์คดีนี้ศาลพิพากษายกฟ้อง เพราะโจทก์สืบไม่ได้ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล (Direct Cause)


คำพิพากษาศาลฏีการที่ 292/2542 : จำเลยที่ 2 เป็นแพทย์ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ชำนาญการพิเศษในแขนงสาขาวิชาศัลยศาสตร์ตกแต่งจากประเทศญี่ปุ่น จำเลยที่ 2 กระทำการผ่าตัดหน้าอกโจทก์ที่มีขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลงมีสภาพปกติ แต่จำเลยที่ 2 กระทำการผิดพลาดในการผ่าตัด การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมเลเซอร์ผ่าตัด มีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์เป็นพิเศษ แต่จำเลยที่ 2 ผ่าตัดโจทก์โดยไม่ใช้ความระมัดระวังในการผ่าตัด และไม่แจ้งให้ผู้ป่วยทราบถึงขั้นตอนการรักษา ระยะเวลาและกรรมวิธีในการรักษา จนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย นับว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 คดีนี้จำเลยที่ 2 เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแต่ไม่ใช่ความระมัดระวังในการรักษาเป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการกระทำโดยประมาท


Create Date : 19 มิถุนายน 2553
Last Update : 19 มิถุนายน 2553 8:00:05 น. 0 comments
Counter : 3724 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

DR.MOO CAN DO
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 42 คน [?]




ผมเป็น นิติพยาธิแพทย์ หรือ จะเรียกว่า หมอนิติเวช ก็ได้ครับ นิติพยาธิแพทย์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปีแล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง นิติพยาธิอีก 3 ปี และเมื่อสอบผ่าน ก็จะได้รับวุฒิบัตรเป็นผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ และได้เป็นนิติพยาธิแพทย์ โดยสมบูรณ์
หน้าที่ของหมอนิติเวช แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ
ส่วนแรก จะเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยคดี โดยในผู้ป่วยคดีนั้นแพทย์นิติเวชจะมีหน้าที่ในการตรวจ และให้ความเห็นกับพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับบาดแผลที่ตรวจพบ ซึ่งตำรวจจะนำไปใช้ในการตั้งข้อกล่าวหากับคู่กรณี และหน้าที่ต่อมาของแพทย์นิติเวชคือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีดังกล่าว
ส่วนที่สอง จะเกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิต โดยในกรณีผู้เสียชีวิตนั้นแพทย์นิติเวชมีหน้าที่ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุในกรณีตายผิดธรรมชาติตามที่กฎหมายกำหนด และหากมีความจำเป็นต้องผ่าชันสูตร ก็จะต้องมีการทำรายงาน และให้ความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุของการเสียชีวิต ส่งให้พนักงานสอบสวน สุดท้ายหน้าที่หลักที่สำคัญโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้คือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีนั้นๆครับ
ประวัติการศึกษา
1.แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
2.วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3.ประกาศนียบัตร “Crime Scene Investigation” โครงการร่วมระหว่าง International Law Enforcement Academy กับ Federal Bureau of Investigation Academy
4.ประกาศนียบัตร “การบริหารงานโรงพยาบาล” คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงาน
1.อาจารย์ประจำภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มศว.
2.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
3.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
4.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
5.วิทยากร หัวข้อ "ICD-10" ของกระทรวงสาธารณสุข
6.วิทยากร หัวข้อ "การตรวจสถานที่เกิดเหตุ" ของมูลนิธิร่วมกตัญญู และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
7.วิทยากรอบรมหลักสูตรนายร้อยตำรวจอบรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
8.วิทยากร หัวข้อ "KPI รายบุคคล" ให้กับโรงพยาบาลและมหาลัยวิทยาลัย ในภาครัฐ
9.วิทยากร หัวข้อ "Living will" ให้กับโรงพยาบาลในภาครัฐและเอกชน10.วิทยากร หัวข้อ "นิติเวชศาสตร์กับงานด้านโบราณคดี" ให้กับคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
11.ร่วมเขียนหนังสือ "KPI รายบุคคล"
12.ร่วมเขียนหนังสือ "มาตรฐาน ICD-10, ICD-9"
13.ที่ปรึกษารายการ "เรื่องจริงผ่านจอ" และ "Redline"
14.บทความทางวิชาการและผลงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ 15 เรื่อง
15.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตั้งแต่ ปี พศ.2553
16.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพ ฯ คณะแพทยศาสตร์ มศว. ตั้งแต่ปี พศ.2551
ผศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี (DR.MOO CAN DO)
New Comments
Friends' blogs
[Add DR.MOO CAN DO's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.