DR.MOO CAN DO
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2553
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
24 พฤษภาคม 2553
 
All Blogs
 
นิยามของ “การตาย” สำคัญไฉน

          คนทั่วไปรู้ว่า “การตาย”หมายถึงการยุติของการมีชีวิตอยู่ แต่การให้คำจำกัดความให้ลึกซึ้งและชัดเจนยิ่งขึ้นมีความจำเป็นเนื่องจากมีปัญหาในทางปฏิบัติทั้งทางด้านการแพทย์และทางกฎหมาย  ตัวอย่างที่เป็นปัญหา เช่น การนำอวัยวะออกจากร่างกาย(เพื่อนำไปปลูกถ่ายให้ผู้อื่น)ของผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุทางสมองอย่างรุนแรงไม่มีหวังว่าจะรอดชีวิต จะเป็นความผิดทางอาญาหากผู้นั้นยังไม่ตาย  ในทางกฎหมาย “การตาย”มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในสิทธิและหน้าที่ของทั้งผู้ตายรวมถึงบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องเช่น ทายาท  เจ้าหนี้  ลูกหนี้  ดังนั้นการให้คำจำกัดความของ“การตาย”จึงต้องมีความชัดเจนเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งทางวิชาชีพทางการแพทย์และทางกฎหมายได้ยึดถือเป็นหลักในทิศทางเดียวกัน


หลักของต่างประเทศ


            แต่เดิมในตำราของต่างประเทศมักให้นิยามของ“การตาย”ว่า “irreversible cessation of heart and lung function” โดยผู้เขียนขอแปลเป็นภาษาไทยว่า “การยุติการทำงานของหัวใจและปอดอย่างถาวรไม่สามารถคืนสภาพได้” แต่ก็ยังมีปัญหาเนื่องจากต่อมามีการเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์อย่างมากทำให้สามารถมียาหรือเครื่องมือสมัยใหม่เช่นยากระตุ้นหัวใจ  เครื่องช่วยหายใจที่สามารถช่วยให้ผู้ที่มีการบาดเจ็บของสมองอย่างรุนแรงและถาวรยังมีการทำงานของหัวใจและปอดได้อีกนาน  เมื่อประมาณ ค..1979 ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้จัดประชุมนักวิชาการเพื่อให้คำนิยามของ“การตาย”และต่อมานิยามดังกล่าวที่ได้จากที่ประชุมนี้ได้ถูกบัญญัติไว้ในกฎหมายที่ว่าด้วยความตาย( Death Act )ของประเทศสหรัฐอเมริกา นิยามของการตายในกฎหมายฉบับนี้คือ
           1) irreversible cessation of circulatory and respiratory  function.  or
           2) irreversible cessation of the entire brain.
ผู้เขียนขอแปลเป็นภาษาไทยว่า บุคคลถือว่าถึงแก่ความตายเมื่อ


           1) มีการหยุดทำงานของระบบไหลเวียนโลหิตและระบบการหายใจอย่างไม่สามารถฟื้นคืน สภาพได้ หรือ


           2) มีการหยุดทำงานสมองทุกส่วนอย่างไม่สามารถฟื้นคืนสภาพได้


           เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นขอยกตัวอย่างคดีที่เกิดขึ้นในต่างประเทศดังนี้ นายJohn ถูกลอบฆ่าโดยมือปืนยิงที่ศีรษะ แพทย์ตรวจร่างการพบว่ามีภาวะ brain death แล้วแต่หัวใจยังเต้นอยู่ และหายใจโดยใช้เครื่องช่วยหายใจ ญาติของผู้ป่วยได้บริจาคหัวใจของผู้ป่วย แพทย์จึงผ่าตัดนำหัวใจของ John ออกมา มือปืนตกเป็นจำเลยฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา จำเลยให้การปฏิเสธโดยอ้างว่า ศัลยแพทย์ผู้ผ่าตัดเอาหัวใจ ของ John ออกมาต่างหากที่เป็นผู้ฆ่า  คดีนี้ศาลตัดสินว่าศัลยแพทย์ทำการผ่าตัดขณะที่ผู้ป่วยถึงแก่ความตายแล้ว การตายของนาย John เป็นผลจากการกระทำของจำเลย  เห็นได้ว่าคดีนี้ศาลยอมรับหลักการที่ว่าบุคคลตายเมื่อสมองตายแล้ว


หลักของประเทศไทย


            แต่เดิมก็มีลักษณะคล้ายกับของต่างประเทศคือใช้เกณฑ์เรื่องการที่หัวใจหยุดเต้นและหยุดหายใจเป็นหลัก  แต่เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม  ..2531 ได้มีการจัดประชุมแพทย์และนักกฎหมายที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งในที่ประชุมมีมติสำคัญข้อหนึ่งว่า “เมื่อบุคคลได้รับการวินิจฉัยว่าอยู่ในภาวะสมองตายให้ถือว่าผู้นั้นถึงแก่ความตาย” และต่อมาแพทยสภาได้ออกประกาศแพทยสภาว่าด้วยเกณฑ์การวินิจฉัยสมองตาย


            โดยสรุป ในประเทศไทยถือว่าบุคคลตายเมื่อ


            1) มีการหยุดทำงานของระบบไหลเวียนโลหิตและระบบการหายใจอย่างไม่สามารถฟื้นคืนสภาพได้ หรือ


            2) มีภาวะสมองตาย(ตามเกณฑ์วินิจฉัยของแพทยสภา)


กรณีน่าคิด


            -ถ้าผู้ป่วยสูญเสียการทำงานของสมองอย่างรุนแรงแต่ไม่ถึงขั้นสมองตายเช่นอยู่ในภาวะ persistent vegetative stateแต่หัวใจยังคงเต้นเพราะได้ยากระตุ้นและใช้เครื่องช่วยหายใจ กรณีอย่างนี้ยังไม่ควรถือว่าผู้ป่วยถึงแก่ความตายเพราะสมองยังไม่ตายและหัวใจยังไม่หยุดเต้น


            -กรณีผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าสมองตายตามเกณฑ์ของแพทยสภาแล้ว แพทย์ทำการถอดเครื่องช่วยหายใจและหยุดการให้ยากระตุ้นหัวใจ แพทย์จะมีความผิดฐานฆ่าคนตายหรือไม่? กรณีนี้แพทย์ไม่มีความผิดเพราะถือว่าผู้ป่วยได้ตายไปแล้วก่อนที่แพทย์จะทำการยุติการรักษา


            -กรณีผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นและหยุดหายใจไปแล้วทำ CPR ได้ทันท่วงทีผู้ป่วยกลับมามีชีพจร แต่ยังไม่มีภาวะสมองตายแม้จะมีการหายใจโดยใช้เครื่องช่วยหายใจ กรณีอย่างนี้ยังไม่ถือว่าผู้ป่วยได้ตายไปแล้วเพราะการที่หัวใจหยุดเต้นและหยุดหายใจนั้นเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว


Create Date : 24 พฤษภาคม 2553
Last Update : 24 พฤษภาคม 2553 0:40:46 น. 1 comments
Counter : 1707 Pageviews.

 
มีปัญหาเรื่องนิติเวช


โดย: วาโย IP: 111.84.102.235 วันที่: 24 ธันวาคม 2553 เวลา:15:34:08 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

DR.MOO CAN DO
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 42 คน [?]




ผมเป็น นิติพยาธิแพทย์ หรือ จะเรียกว่า หมอนิติเวช ก็ได้ครับ นิติพยาธิแพทย์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปีแล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง นิติพยาธิอีก 3 ปี และเมื่อสอบผ่าน ก็จะได้รับวุฒิบัตรเป็นผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ และได้เป็นนิติพยาธิแพทย์ โดยสมบูรณ์
หน้าที่ของหมอนิติเวช แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ
ส่วนแรก จะเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยคดี โดยในผู้ป่วยคดีนั้นแพทย์นิติเวชจะมีหน้าที่ในการตรวจ และให้ความเห็นกับพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับบาดแผลที่ตรวจพบ ซึ่งตำรวจจะนำไปใช้ในการตั้งข้อกล่าวหากับคู่กรณี และหน้าที่ต่อมาของแพทย์นิติเวชคือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีดังกล่าว
ส่วนที่สอง จะเกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิต โดยในกรณีผู้เสียชีวิตนั้นแพทย์นิติเวชมีหน้าที่ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุในกรณีตายผิดธรรมชาติตามที่กฎหมายกำหนด และหากมีความจำเป็นต้องผ่าชันสูตร ก็จะต้องมีการทำรายงาน และให้ความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุของการเสียชีวิต ส่งให้พนักงานสอบสวน สุดท้ายหน้าที่หลักที่สำคัญโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้คือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีนั้นๆครับ
ประวัติการศึกษา
1.แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
2.วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3.ประกาศนียบัตร “Crime Scene Investigation” โครงการร่วมระหว่าง International Law Enforcement Academy กับ Federal Bureau of Investigation Academy
4.ประกาศนียบัตร “การบริหารงานโรงพยาบาล” คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงาน
1.อาจารย์ประจำภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มศว.
2.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
3.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
4.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
5.วิทยากร หัวข้อ "ICD-10" ของกระทรวงสาธารณสุข
6.วิทยากร หัวข้อ "การตรวจสถานที่เกิดเหตุ" ของมูลนิธิร่วมกตัญญู และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
7.วิทยากรอบรมหลักสูตรนายร้อยตำรวจอบรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
8.วิทยากร หัวข้อ "KPI รายบุคคล" ให้กับโรงพยาบาลและมหาลัยวิทยาลัย ในภาครัฐ
9.วิทยากร หัวข้อ "Living will" ให้กับโรงพยาบาลในภาครัฐและเอกชน10.วิทยากร หัวข้อ "นิติเวชศาสตร์กับงานด้านโบราณคดี" ให้กับคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
11.ร่วมเขียนหนังสือ "KPI รายบุคคล"
12.ร่วมเขียนหนังสือ "มาตรฐาน ICD-10, ICD-9"
13.ที่ปรึกษารายการ "เรื่องจริงผ่านจอ" และ "Redline"
14.บทความทางวิชาการและผลงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ 15 เรื่อง
15.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตั้งแต่ ปี พศ.2553
16.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพ ฯ คณะแพทยศาสตร์ มศว. ตั้งแต่ปี พศ.2551
ผศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี (DR.MOO CAN DO)
New Comments
Friends' blogs
[Add DR.MOO CAN DO's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.