DR.MOO CAN DO
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
15 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 
การร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก

       ป้าอุ๊ มีพี่น้องรวมตนเองอยู่สี่คน พ่อแม่เสียชีวิตไปหมดแล้ว ไม่มีใครคิดถึงเรื่องการทำพินัยกรรมเพราะดูเป็นเรื่องไกลตัว โดยคิดว่าแต่ละคนไม่ได้มีทรัพย์สินอะไรมากคงไม่ต้องทำพินัยกรรมยกมรดกให้ใคร จนอยู่มาวันหนึ่งพี่ชายคนโตเกิดเสียชีวิตลง น้องๆทั้งสามก็ลงขันกันจัดงานศพหมดเงินไปแสนกว่าบาท เมื่อตรวจสอบแล้วทราบว่าพี่ชายมีเงินในบัญชีธนาคารอยู่แสนกว่าบาทเช่นกัน ป้าอุ๊จึงคิดจะไปปิดบัญชีเพื่อนำเงินมาแบ่งใช้คืนให้กับพี่น้องที่ร่วมกันจัดงานศพ
       แต่เรื่องไม่ง่ายอย่างที่คิด เมื่อป้าอุ๊ไปติดต่อขอเบิกเงินจากธนาคาร เจ้าหน้าที่แจ้งว่าต้องมีผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลก่อนจึงจะสามารถถอนเงินได้ ป้าอุ๊คนที่ไม่เคยคิดจะเป็นความกับใครต้องไปศาลเสียแล้วค่ะ และเพื่อให้ความกระจ่างแก่ท่านผู้อ่านไปด้วยกัน เราจะมาดูหลักการทางกฎหมายเรื่องการร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกกันค่ะ
       เมื่อบุคคลใดเสียชีวิตลง ทายาทของผู้นั้นต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 24 ชั่วโมง ถึงสาเหตุการตายและนายทะเบียนจะออกใบมรณะบัตรให้ ก่อนอื่นต้องดูว่าผู้ตายทำพินัยกรรมเอาไว้หรือไม่ หากไม่ได้ทำทายาทมีหน้าที่รวบรวมทรัพย์สินของผู้ตายเท่าที่ทราบและแจ้งให้ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายทราบ เมื่อแจ้งให้ทายาททราบแล้วก็ต้องตกลงกันว่าจะให้ใครร้องต่อศาลขอเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อตกลงได้แล้วให้ทำหนังสือยินยอมให้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
       เอกสารที่ใช้ประกอบการร้องขอจัดการมรดก มีดังต่อไปนี้
       1. บัญชีเครือญาติ
       2. หนังสือให้ความยินยอมของทายาทที่มีสิทธิได้รับมรดก
       3. บัญชีทรัพย์สินของผู้ตาย   ตลอดจนสมุดเงินฝากหรือโฉนดที่ดินที่เป็นชื่อของผู้ตาย หรือเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ต่างๆที่ผู้ตายมีสิทธิเหนือทรัพย์สินดังกล่าว
       4. ใบมรณะบัตรและสมุดทะเบียนบ้านของผู้ตาย
       5. สมุดทะเบียนบ้านของผู้ร้องขอจัดการมรดก
       ในการยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกนั้น จะต้องยื่นต่อศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในขณะที่ตาย แต่หากผู้ตายไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย ก็ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่ทรัพย์มรดกนั้นอยู่ ซึ่งหากมีทรัพย์มรดกอยู่หลายที่ ก็สามารถยื่นต่อศาลที่มรดกอันใดอันหนึ่งอยู่ก็ได้ 
       ยังดีที่ว่าก่อนเสียชีวิต พี่ชายของป้าอุ๊ไม่ได้ย้ายภูมิลำเนาไปที่อื่น  ยังคงอยู่ละแวกใกล้เคียงกัน การติดตามรวบรวมทรัพย์สินของพี่ชายจึงไม่ยากเท่าใดนัก แต่อย่างไรก็ดี การเขียนคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกที่ต้องยื่นต่อศาล ถ้อยคำสำนวนจะเป็นอย่างไรป้าอุ๊คงต้องพึ่งพาผู้รู้อยู่ดี ป้าอุ๊บอกว่าเมื่อผ่านพ้นเรื่องนี้ไป คงต้องหันมาศึกษาเรื่องพินัยกรรมไว้บ้าง ทำไว้ก็เป็นการดีไม่มีข้อเสียอะไร ทรัพย์สินบางอย่างจะได้ไม่ตกหล่นสูญหาย และผู้อยู่ข้างหลังจะสามารถจัดการสิ่งต่างๆให้เป็นไปตามเจตนาของเราได้
ข้อมูลจาก Lannalaw


Create Date : 15 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2553 10:56:47 น. 0 comments
Counter : 1445 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

DR.MOO CAN DO
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 42 คน [?]




ผมเป็น นิติพยาธิแพทย์ หรือ จะเรียกว่า หมอนิติเวช ก็ได้ครับ นิติพยาธิแพทย์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปีแล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง นิติพยาธิอีก 3 ปี และเมื่อสอบผ่าน ก็จะได้รับวุฒิบัตรเป็นผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ และได้เป็นนิติพยาธิแพทย์ โดยสมบูรณ์
หน้าที่ของหมอนิติเวช แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ
ส่วนแรก จะเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยคดี โดยในผู้ป่วยคดีนั้นแพทย์นิติเวชจะมีหน้าที่ในการตรวจ และให้ความเห็นกับพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับบาดแผลที่ตรวจพบ ซึ่งตำรวจจะนำไปใช้ในการตั้งข้อกล่าวหากับคู่กรณี และหน้าที่ต่อมาของแพทย์นิติเวชคือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีดังกล่าว
ส่วนที่สอง จะเกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิต โดยในกรณีผู้เสียชีวิตนั้นแพทย์นิติเวชมีหน้าที่ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุในกรณีตายผิดธรรมชาติตามที่กฎหมายกำหนด และหากมีความจำเป็นต้องผ่าชันสูตร ก็จะต้องมีการทำรายงาน และให้ความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุของการเสียชีวิต ส่งให้พนักงานสอบสวน สุดท้ายหน้าที่หลักที่สำคัญโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้คือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีนั้นๆครับ
ประวัติการศึกษา
1.แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
2.วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3.ประกาศนียบัตร “Crime Scene Investigation” โครงการร่วมระหว่าง International Law Enforcement Academy กับ Federal Bureau of Investigation Academy
4.ประกาศนียบัตร “การบริหารงานโรงพยาบาล” คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงาน
1.อาจารย์ประจำภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มศว.
2.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
3.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
4.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
5.วิทยากร หัวข้อ "ICD-10" ของกระทรวงสาธารณสุข
6.วิทยากร หัวข้อ "การตรวจสถานที่เกิดเหตุ" ของมูลนิธิร่วมกตัญญู และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
7.วิทยากรอบรมหลักสูตรนายร้อยตำรวจอบรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
8.วิทยากร หัวข้อ "KPI รายบุคคล" ให้กับโรงพยาบาลและมหาลัยวิทยาลัย ในภาครัฐ
9.วิทยากร หัวข้อ "Living will" ให้กับโรงพยาบาลในภาครัฐและเอกชน10.วิทยากร หัวข้อ "นิติเวชศาสตร์กับงานด้านโบราณคดี" ให้กับคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
11.ร่วมเขียนหนังสือ "KPI รายบุคคล"
12.ร่วมเขียนหนังสือ "มาตรฐาน ICD-10, ICD-9"
13.ที่ปรึกษารายการ "เรื่องจริงผ่านจอ" และ "Redline"
14.บทความทางวิชาการและผลงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ 15 เรื่อง
15.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตั้งแต่ ปี พศ.2553
16.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพ ฯ คณะแพทยศาสตร์ มศว. ตั้งแต่ปี พศ.2551
ผศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี (DR.MOO CAN DO)
New Comments
Friends' blogs
[Add DR.MOO CAN DO's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.